Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g72.php on line 7 Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g72.php on line 7 Warning: include(): Failed opening 'google_analytics.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g72.php on line 7
พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า หมวดที่ ๗ - พุทธอิทธานุภาพ แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฏิล

"แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฏิล"

          เมื่อพระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกชุดแรกจำนวน ๖๐ องค์ออกเผยแผ่ พระพุทธศาสนา อันมีพระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ พระยสะ และภิกษุอดีตสายบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีทั้งสี่รวมเป็น ๕ องค์ พร้อมด้วยภิกษุอดีตสหายของพระยสะ ซึ่งเป็นชาวชนบทอีก ๕๐ องค์แล้วพระบรมศาสดาได้เสด็จถึงไร่ฝ้ายระหว่างทางจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันมายังตำบลอุรุเวลา ทรงแสดงธรรมโปรดมาณพ ๓๐ คนในราชตระกูลแห่งราชวงค์โกศลซึ่งเรียกว่า "ภัททวัคคีย์" ได้ดวงตาเห็นธรรมทรงประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ แล้วทรวสั่งสอนให้บรรลุอริยผลเบื้องสูงทรงส่งไปประกาศพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสาวก ๖๐ องค์แรกพระอริยสงฆ์คณะนี้ได้กราบทูลลาเดินทางไปยังเมืองปาวา
          จากนั้นพระบรมศาดาทรงเสด็จตรงไปยังตำบลอุรุเวลา อันตั้งอยู่ในเขตเมืองราชคฤห์ ราชคฤห์มหานครนั้นเป็นครหลวงแห่งแคว้นมคธเป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ตลอดจนการค้าขายเป็นที่รวมอยู่แห่งคณาจารย์เจ้าลัทธิมากมาย

          ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้นท่านอุรุเวลกัสสปเป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครราชคฤห์เป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสปเป็นนักบวชจำพวกชฏิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปโคต ท่านอุรุเวลเป็นพี่ชายใหญ่มีชฏิล ๕๐๐ เป็นบริวาร ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชราตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่าอุรุเวลกัสสป
          ส่วนน้องคนกลางมีชฏิลบริวาร ๓๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสป ส่วนน้องคนเล็กมีชฏิลบริวาร ๒๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่คุ้งใต้แห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้นต่อไปอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะ จึงได้นามว่า คยากัสสป ชฏิลคณะนี้ทั้งหมดมีลัทธิหลักในการบูชาเพลิง
          จากนั้นพระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอาศรมสถานของท่านอุรุเวลกัสสปในเวลาเย็น ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสัก ๑ ราตรี อุรุเวลกัสสปรังเกียจ ทำอิดเอื้อนไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระศาสดาเป็นนักบวชต่างลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก ครั้นพระบรมศาสดาตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเพลิงของชฏิลด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปได้ทูลว่า พระองค์อย่าพอใจพักที่โรงไฟเลย ด้วยเป็นที่อยู่ของพระยานาคมีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อ พระบรมศาสดารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย ท่านอุรุเวลกัสสปจึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรก
          ลำดับนั้น พระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปในโรงไฟประทับนั้งดำรงพระสติต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพญานาคเห็นพระบรมศาสดาเสด็จเข้ามาประทับในที่นั้นก็มีจิตคิดขึ้งเคียดจึงพ่นพิษตลบไป ในลำดับนั้น พระบรมศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ควรที่ตถาคตจะแสดงอิทธานุภาพให้เป็นควันไปสัมผัสมังสฉวี และเอ็นอัฐิแห่งพญานาคนี้ระงับเดชพญานาคให้เหือดหาย แล้วก็ทรงสำแดงอิทธาสังขารดังพระดำรินั้น พญานาคมิอาจจะอดกลั้น ซึ่งความพิโรธได้ ก็บังหวนควันพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น พระบรมศาสดาก็สำแดงเตโชกสิณสมาบัติบันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ และพลิงทั้งสองฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสดงแดงสว่างดุจเผาฟลาญซึ่งโรงไฟนั้นให้เป็นเถ้าธุลี ส่วนชฎิลทั้งหลายก็แวดล้อมโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้มีสิริรูปงามยิ่งนักเสียดายที่เธอมาวอดวายเสียด้วยพิษแห่งพญานาคในที่นี้
          ครั้นล่วงสมัยราตรีรุ่งเช้า พระบรมศาสดาก็กำจัดฤทธิ์เดชพญานาคให้อันตรธานหาย บันดาลให้นาคนั้นขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป ตรัสบอกว่า พญานาคนี้สิ้นฤทธิ์เดชแล้ว อุรุเวลกัสสปเห็นดังนั้นก็ดำริว่า พระสมณะนี้มีอานุภาพมาก ระงับเสียซึ่งฤทธิ์พญานาคให้อันตรธานพ่ายแพ้ไปได้ ถึงดังนั้นไซร้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา อุรุเวลกัสสปมีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิดข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหารให้ฉันทุกวันเป็นนิตย์
          พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่งใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปชฏิลนั้น ครั้นสมัยราตรีเป็นลำดับ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมโลกนาถ ถวายอภิวาทและยืนอยู่ใน ๔ ทิศ มีทิพยรังสีสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง ๔ ทิศ ครั้งเวลาเช้าอุรุเวลกัสสปจึงเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลว่า นิมนต์พระสมณะไปฉันภัตตาหารเถิด ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้เห็นรัศมีสว่างไปทั่วพนัสมณฑลสถาน บุคคลผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง ๔ พระบรมศาสดาจึงตรัสบอกว่า
" ดูกรกัสสป นั้นคือท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม" อุรุเวลกัสสปได้สดับดังนั้นก็ดำริว่า พระมหาสมณองค์นี้มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก ถึงกระนั้นก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
          ครั้นรัตติกาลสมัย ท้าวสหัสสนัยน์ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา ถวายนมัสการแล้วยืนอยู่ที่อันควรข้างหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่างดุจกองอัคคีใหญ่ไพโรจน์ยิ่งกว่าราตรีก่อน ครั้นเพลารุ่งเช้ากัสสปชฏิลทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน พระบรมศาสดตรัสบอกว่า
" ดูกรกัสสปเมื่อคืนนี้ท้าวโกสีย์สักเทวราชลงมาสู่สำนักตถาคต เพื่อจะฟังธรรม" ชลิฏได้สดับดังนั้นก็ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจนัยก่อน
          ครั้นเข้าสมัยอีกราตรีหนึ่งถัดมา ท้ายสหัมบดีพรหมก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปกว่าสองราตรีก่อน ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปก็ไปทูลอาราธนา ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามอีกพระบรมศาสดาตรัสบอกว่า
" เมื่อคืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหมลงมาสู่สำนักตถาคต" กัสสปดาบสก็ดำริดุจนัยก่อน
          ในวันรุ่งขึ้นชนชาวอังครัฐทั้งหลายจะนำเอาขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมากมาถวายแด่อุรุเวลชฏิล อุรุเวลชฏิล จึงดำริแต่ในราตรีว่ารุ่งขึ้นมหาชนจะนำเอาอเนกนานาหารมาสู่สำนักอาตมา หากพระสมณะรูปนี้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ลาภสักการะก็จะบังเกิดแก่เธอเป็นอันมากอาตมาจักเสื่อมสูญจากสรรพสักการบูชา ทำไฉน ณ วันพรุ่งนี้อย่าให้เธอมาสู่ที่นี้ได้
          พระบรมศาสดาทรงทราบความดำริของชฏิลด้วยเจโตปริยญาณ(ญาณหยั่งรู้ใจผู้อื่น) ครั้นเพลารุ่งเช้าก็เสด็จออกไปสู่อุตตรกุรุทวีปทรงปิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้วก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้ทรงยับยั้งอยู่ ณ ทิวาวิหารในที่นั้น ต่อมาเพลาสายัณห์สมัยจึงเสด็จมาสู่วณสณฑ์สำนัก ครั้นรุ่งขึ้นกัสสปชฏิลไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหารและทูลถามว่า "วานนี้พระองค์ไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าระลึกถึงพระองค์อยู่" จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสบอกวาระจิตของชฎิลที่วิตกนั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปได้สดับก็ตกใจดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีอำนาจมากแท้ เธอล่วงรู้จิตอาตมาถึงดังนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ดังอาตมา
          ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระบรมศาสดา พระองค์เสด็จไปซักผ้าบังสุกุลซึ่งห่อศพนางปุณณาทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้าผีดิบ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นกษัตริย์เสด็จจากขัตติยราชสกุลอันสูงด้วยเกียรติศักดิ์ ทรงตรัสรู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ลดพระองค์ลงมาซักผ้าห่อศพนางปุณณทาสีที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้ เป็นที่สุดวิสัยของเทวดาและมนุษย์ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้ มหาปฐพีใหญ่ก็กัมปนาทหวั่นไหวเป็นมหัศจรรย์ถึง ๓ ครั้ง ตลอดระยะทางที่พระบรมศาสดาทรงพระดำริว่าตถาคตจะซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ใด?
          ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัยน์อมรินทราธิราชทรงทราบในพุทธปริวิตจึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยเทวฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยอุทกวารี แล้วกราบทูลให้ซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น ขณะที่ทรงซักก็ทรงพระดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวโกสีย์ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัสถ์จนหายกลิ่นอสุภ แล้วก็ทรงพระดำริว่าจะห้อยผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุขเทพยดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก ก็น้อมกิ่งไม้ลงมาถวายให้ทรงห้อยตากจีวรครั้นทรงห้อยตากแล้วก็ทรงพระจินตนาว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าย สหัสสนัยน์ก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่มาทูลถวายให้แผ่ผ้ามหาบังสกุลนั้น
          เพลารุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปไปเผ้าพระบรมศาสดา เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้ปรากกฏมีในนั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถาม พระบรมศาสดาตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่อกัสสปได้ฟังก็สะดุ้งตกใจดำริว่า พระสมณะองค์นี้มีเดชานุภาพมากยิ่งนักแม้ท้าวมัฆวานยังลงมากระทำไวยาวัจกิจถวาย แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
          ครั้นวันรุ่งขึ้นในวันถัดเป็นลำดับ กัสสปชฏิลไปทูลนิมต์ฉันภัตตาหาร จึงตรัสว่า "ท่านจงไปก่อนเถิด ตถาคตจะตามไปภายหลัง" เมื่อส่งชฏิลไปแล้ว จึงเสด็จเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์มา แล้วก็เสด็จมาถึงโรงไฟก่อนหน้าชฎิลจะมาถึง ครั้นชฏิลทูลถามว่า พระองค์มาทางใดจึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสประพฤติเหตุแล้วตรัสว่า
" ดูกรกัสสป ผลหว้าประจำทวีปนี้มีวรรณสัณฐานสุคันธรเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา"
          ในวันต่อมาได้ทรงทำปาฏิหาริย์เช่นนั้นอีก ๔ ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง เก็บผลขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง เสด็จขึ้นไปดาวดึงส์เทวโลกนำเอาผลไม้่ปาริฉัตรตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปอยู่ที่โรงไฟ ให้ชฏิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง

          วันหนึ่งชฏิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟมิอาจผ่าฟืนออกได้ จึงดำริว่าที่เป็นดังนี้เพราะฤทธิ์พระสมณะทำโดยแท้ พระบรมศาสดาจึงตรัสถาม ครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิด ในทันใดนั้นชฏิลก็ผ่าฟืนออกตามประสงค์
          วันหนึ่งชฏิลทั้ง ๕๐๐ ปรารถนาจะบูชาเพลิง ก่อเพลิงไม่ติดจึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้วก็ทรงอนุญาตให้ก่อเพลิงได้ เพลิงก็ติดขึ้นทั้ง ๕๐๐ กอง พร้อมกันในขณะเดียวชฏิลทั้งหลายบูชาเพลิงสำเร็จแล้ว จะดับเพลิง เพิงก็ไม่ดับจึงดำริดุจหนก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ดับเพลิงเพลิงก็ดับพร้อมกัน ทั้ง ๕๐๐ กอง
          วันหนึ่งในเวลาหนาว ชฏิลทั้งหลายลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลงในแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า เมื่อชฏิลขึ้นจากน้ำจะหนาวมากจึงทรงนิรมิตเชิงกราน ๕๐๐ อันมีเพลิงติดไว้ทั้งสิ้น ครั้นชฏิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราน แล้วก็คิดสันนิษฐานว่าพระมหาสมณะคงจะนิรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
          วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ฝ่ายอุรุเวลกัสสปนั้นคิดว่า พระมหาสมณะนี้น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด จึงลงเรือพร้อมกับชฏิลทั้งหลายรีบพายไปดูโดยด่วน ถึงสถานที่ซึ่งพระบรมศาสดาทรงสถิตก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงอยู่โดยรอบ แลเห็นพระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ จึงส่งเสียงร้องเรียก พระพุทธเข้าขานรับว่า "กัสสป ตถาคตอยู่ที่นี้" แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศเลื่อนลอยลงสู่เรือของกัสสปชฏิล กัสสปชฏิก็ดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีฤทธิ์เป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้นก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
          แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันแรมค้ำหนึ่ง เดือนกัตติกมาส (เดือน ๑๒) มาประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาจนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลาจนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลกัสสปโดยอเนกประการ แต่อุรุเวลกัสสปก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะยังให้ชฎิลสลดจิตคิดสังเวชตนเอง
          พระบรมศาสดาจึงมีพระวาจาตรัสแก่อุรุเวลกัสสปว่า "กัสสปตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งทางปฏิบัติของท่านก็ยังห่างไกลมิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่าท่านจึงถือตนว่าเป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตนเองทั้ง ๆ ที่ท่านก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใดยังทำตนลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก กัสสป! ถึงเวลาอันควรแล้วที่ท่านจะสารภาพ แก่ตัวของท่านเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสป! แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ในกาลไม่นาน"
          เมื่ออุรุเวลกัสสปได้สดับพระโอวาทก็รู้สึกตัวละอายแก่ใจซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอพรรพชาอุปสมบทในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์ และพระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง"
          พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "กัสสป ! ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่เป็นประธานแก่หมู่ชฏิล ๕๐๐ ท่านจงชี้แจงให้ชฏิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคตจึงจะยอมให้บรรพชาอุปสมบท"
          อุรุเวลกัสสปก็กราบถวายบังคมลามายังอาศรมและบอกกับชฏิลผู้เป็นศิษย์ ศิษย์ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชาในสำนักพระบรมศาสดาทั้งสิ้น แล้วชฏิลทั้งหลายก็พร้อมใจกันลอยเครื่องบริขารและเครื่องตกแต่งผม ชฎา สาแหรก คาน เครื่องบูชาเพลิง ทั้งน้ำเต้า หนังเสือ ไม้สามง่ามลงในแม่น้ำทั้งสิ้น แล้วก็พากันมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน

          ครั้นนั้น ท่านนทุกัสสปผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอยน้ำมาก็ดำริว่า ชรอยอันตรายจะมีแก่ดาบสทั้ง ๓๐๐ อันเป็นศิษย์มาสู่สำนักของท่านอุรุเวลกัสสป ถามเหตุนั้น ครั้นทราบความแล้วก็เลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องดาบสบริขารลงในแม่น้ำนั้น แล้วพากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้น
          ฝ่ายคยากัสสปผู้เป็นน้องคนสุดท้อง เห็นเครื่องบริขารของพี่ชายลอยน้ำลงมาก็จำได้ จึงส่งศิษย์ไปสืบความ เมื่อรู้เหตุแล้วก็พาดาบสทั้ง ๒๐๐ อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักของอุรุเวลกัสสป ไปถามความทราบกระจ่างแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขารลงในกระแสชลแล้วเข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

          พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดำเนินพาภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ นั้นไปสู่ตำบลคยาสีสะ ตรัสพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร อันเป็นพระสูตรแสดง อายตนะภายใน อายตนะภายนอกวิญญาณ สัมผัส เวทนาเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ เพื่ออนุโลมตามอัธยาศัยของปุราณชฏิลที่นิยมบูชาไฟเป็นวัตร โปรดภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ นั้นให้บรรลุพระอรหัตด้วยกันทั้งสิ้น


<
>

  สารบัญ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป
• บำเพ็ญบุญอุทิศให้อดีตเจ้าอาวาส งานประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดศรีทวี (๒๖ เม.ย. ๒๕๖๗)
• ✨บุญใหญ่ปิดทองพระประธาน✨
• ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญสมทบทุนถมดินถวายวัด ณ วัดท่าทองน้อย หลวงพ่อโต (ซำปอกง) ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
• ตักบาตรวันฉัตรมงคล (๔ พ.ค. ๒๕๖๗)
• สถานปฏิบัติธรรม วัดชลประทาน นนทบุรี (ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์)
• ✨ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะห้องผู้มาปฏิบัติธรรม 12 ห้อง ✨
• ร่วมทำบุญบูรณะซ่อมแซมพื้นรอบอุโบสถที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ณ วัดไทยลอสแอลเจลิส
• “ตักบาตรในสวน” วันจักรี (๖ เม.ย. ๒๕๖๗)

  กระทู้ธรรมะไทย
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป0.
• นาฏมวยไทย ประเพณีไทย
• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
• พระเจ้านั่งโก๋น เชียงใหม่
• บวชพระ ฟรี 2567 นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัคร บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย พระป่า พระกรรมฐาน วัดป่า ปฏิบัติธรรม สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• ประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย
• ประเพณีไทยตักบาตรดอกไม้
• ด่วน เจ้าภาพปิดยอด เหลือ 3 กองบุญ


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย