Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g410.php on line 7 Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g410.php on line 7 Warning: include(): Failed opening 'google_analytics.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g410.php on line 7
พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า หมวดที่ ๔ พุทธสถาน ถ้ำและภูเขา

"ถ้ำและภูเขา"

ถ้ำและภูเขาต่าง ๆ ในชมพูทวีปในสมันพุทธกาล ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า และถูกบันทึกลงในพระพุทธประวัติที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้มีดังนี้

          ๑. คาราโครัม ภูเขาคาราโครัมอยู่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป มียอดเขาสูงเป็นอันดับ ๒ ของโลกชื่อกอดวินออสเตน สูง ๘,๔๗๕ เมตร (ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐแคชเมียร์ของประเทศอินเดีย)

          ๒. คิชฌกูฏ ภูเขาคิชฌกูฏเป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งเรียกกันว่า เบญจครี ภูเขาคิชฌกูฏเป็นสถานที่สำคัญที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธ และพระพุทธประวัติดังนี้
          พระคันธกุฏี คือเรือนที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนภูเขาคิชฌกูฏ พระคันธกุฏีมีฝาเป็นไม้เนื้อหอม หลังคามุงด้วยใบไม้ใหญ่ ๆ พระพุทธเจ้าโปรดที่ประทับบนเขาคิชฌกูฏีมาก เพราะเป็นที่สงบมีอากาศเย็นสบาย พระองค์ทรงดำเนินขึ้นลงเขาเพื่อบิณฑบาตทุกวัน (คันธกุฏี แปลว่า กุฏีอบกลิ่นหอม เป็นชื่อเรียกพระกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้า)
          กุฏิของพระอานนท์ ที่ซึ่งพระเทวทัตกลิ้งหินทับพระพุทธเจ้าด้วยหวังจะประหารพระบรมศาสดาในเวลาเสด็จขึ้นบนภูเขาคิชฌกูฏก็ไม่อาจทำอันตรายพระพุทธเจ้าได้ เป็นเพียงสะเก็ดศิลาได้กระเด็นไปกระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่พระพุทธเจ้าต้องประสบอันตรายถึงเสียพระโลหิตจากพระกาย
          ถ้ำสุกรขาตา ณ ที่นี้ พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาได้สำเร็จพระอรหัต หลังจากอุปสมบทได้กึ่งเดือน พระสารีบุตรได้สดับพระธรรมเทศนาขณะนั่งถวายงานพัดอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพาชก ชื่อ ฑีฆนขะผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร           ทีฆนขะได้ดวงตาเห็นธรรม แสดงตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนา
          ที่ประทับของพระเจ้าพิมพิสาร ก่อนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
          เหวทิ้งโจร ณ ที่นี้ ทรงแสดงนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
          มาตะกุฉิ สถานที่ซึ่งพระนางโกศลเทวีพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร จะทำการรีดพระครรภ์เพื่อกำจัดโอรสในพระครรภ์ทิ้งเนื่องจากเมื่อพระนางเสวย โหรทำนายว่า พระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสียแต่ไม่สำเร็จ ครั้นจะรีดพระครรภ์ ณ ที่นี้ พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงห้ามไว้ ในที่สุดพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารคือ พระเจ้าอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าประราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้
          ที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ ณ ที่ราบเชิงเขาคิชฌกูฏ เมื่อพระเจ้าอชาติศัตรูจับพระราชบิดามาคุมขังไว้ไม่ให้อาหารเสวย แต่พระเจ้าพิมพิสารยังทรงมีชีวิตอยู่ได้ ณ ที่นี้ เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏทุกวัน เพื่อบิณฑบาตทำให้เกิดปีติเบิกบานพระทัยเสด็จเดินจงกรม เจริญกรรมฐาน เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเห็นพระราชปิดายังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ได้ จึงสั่งให้ช่างตัดผมเอามีดกรีดพระบาทแล้เอาเกลือกับน้ำมันทาแผลย่างไฟ ในที่สุดพระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จสวรรคต ณ ที่นี้ ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรูในภายหลังทรงสำนึกถึงความผิดทั้งปวงและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและได้เป็นพุทธศาสนูปถัมกในการสังคายนาครั้งที่ ๑

          ๓. จาลิยบรรพต ภูเขาลูกนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๓ และพรรษาที่ ๑๘ และ ๑๙ ภายหลังจากตรัสรู้ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ

          ๔. ทักขิณาคีรี ณ ภูเขาลูกนี้ ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลาพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๑ ภายหลังจากตรัสรู้ ในระหว่าง เวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ

          ๕.เบญจคีรี พระนครราชคฤห์เมืองหลวงของแคว้นมคธนั้น ตั้งอยู่ในเขตที่ภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบ อันเรียกว่าเบญจคีรี ซึ่งประกอบไปด้วยภูเขาคิชฌกฏ ภูเขาปัพภาระ ภูเขาเวลปุระ ภูเขาเวภาระ และภูเขาอิสิคิริ

          ๖. ปัพภาระ เป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่าเบญจคีรี ลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกกำแพงเมืองราชคฤห์ อยู่ ณ เชิงเขาปัพภาระแห่งนี้

          ๗. ปิปพลิคูหา ถ้าปิปผลิคูหาอยู่ ณ เชิงเขาภารบรรพต เป็นที่พักอาศัยของพระมหาสาวกกัสสปะ ผู้เป็นเลิศสุดด้านธุดงค์ และเป็นองค์ประธานสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก ถ้ำปิปผลิคูหาอยู่ใต้ถ้ำสัตตบรรณคูหาลงมาประมาณ ๑๒๐ เมตร

          ๘. มกุลพรรพต ภูเขากุลพรรพตหรือกุฏบรรพต เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๖ ภายหลังตรัสรู้ ในระหว่าง ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ (สันนิษฐานกันว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือปริเวณใกล้เคียง) แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" "เสด็จไปสถิตบนมกุฏบรรพต ทรงทรมานหมู่อสูร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้ว และให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา"

          ๙. วินทัย ภูเขาวินทัยตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของแคว้นมคธ และอยู่ทางทิศใต้ของแคว้นอัวันตี

          ๑๐. เวปุลละ ภูเขาปุลละ เป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่า เบญจคีรี

          ๑๑. เวภาระ ภูเขาภาระ หรือเวภารบรรพตเป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่า เบญจคีรี บ่อน้ำตโปธารหรือตโปทา ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่อาบน้ำของพระสงฆ์บ่อน้ำแร่นี้ไหลตลอดปีตลอดชาตินับแต่สมัยพุทธกาล จวบจนปัจจุบันมิเคยเหือดแห้งเลย ตโปธารอยู่เชิงเขาเวภารบรรพต เช่นเดียวกับตโปทารามสวนซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ ถ้ำปิปผลิคูหาและถ้ำสัตตบรรณคูหา อยู่ ณ เวภารบรรพตเข่นกัน

          ๑๒. สัจจพันธ์ ภูเขาสัจจพันธ์อยู่ในแคว้นสุนาปรันตะเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะพร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์สาวกจำนวนมากระหว่างทางทรงหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบสที่ภูเขาสัจจพันธ์ จากนั้นพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุพระอรหัตตผลแล้วมาในขบวนด้วย หลังจากทรงแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะ และประทับรอยพระบาทรอยแรกไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาแล้ว จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจทันธ์ตรัสสั่งพระสัจจพัธ์ให้อยู่สั่งสอนประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา พระพุทธเจ้าทรงประทับรอบพระบาทไว้ที่ภูเขาสัจจพันธ์นั้น อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทสองรอยแรก

          ๑๓. สัตตบรรณ ถ้ำสัตตบรรณคูหาอยู่ที่ภูเขาเวภารบรรพต ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ ถ้ำสัตตบรรณคูหา อยู่เหนือถ้ำปิปผลิคูหาที่พักอาศัยของพระมหากัสสปะขึ้นไป ๑๒๐ เมตร เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน การประชุมสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอุบาลี เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก สิ้นเวลา ๗ เดือน จึงเสร็จ

          ๑๔. สัตตบริภัณฑ์ หรือเขาล้อมทั้ง ๗ เป็นคำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบภูเขาพระสุเมรุ คือ ภูเขายุคนธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตก และภูเขาอัสสกัณณ์

          ๑๕. สุกรขาตา ถ้ำสุกรขาตาอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ อันได้กล่าวถึงมาแล้วในเรื่องราวของภูเขาคิชฌกูฏ

          ๑๖. สุเมรุ คือภูเขาพระสุเมรุหรือสิเนรุหรือเมรุ เป็นภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนาในชั้นอรรถกถายอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมทุรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้งสองนั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่น ๆ และโลกมนุษย์ ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้าง ต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุแห่งนี้

          ๑๗. หิมพานต์ คือภูเขาหิมาลัย เป็นภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของชมพูทวีป บริเวณป่าที่อยู่โดยรอบภูเขาหิมพานต์ หรือภูเขาหิมาลัยนี้เรียกกันว่าป่าหิมพานต์ ภูเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่ยาวและสูงใหญ่มากมีความยาวถึงประมาณ ๙๓๗ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑๒๕ กิโลเมตร มียอดเขาสูง ๆ และหุบเขาลึก ๆ เป็นจำนวนมาก ยอดสูงที่สุดในโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์หรือที่เรียกกันว่า ภูเขาสุเมรุ มีความสูงประมาณ ๘,๗๐๐ เมตร (ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนประเทศเนปาล)

          ๑๘. อิสิคิลิ ภูเขาอิสิคิลิ เป็นภูเขา ๑ ใน ๕ ที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ซึ่งเรียกกันว่า เบญจคีรี ที่กาฬสิลาซึ่งอยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

          ๑๙. อุสีรธชะ ภูเขาอุสีรธชะเป็นภูเขาที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบทหรือถิ่นกลางที่มีความเจริญรุ่งเรือง กับปัจจันตชนบทหรือหัวเมืองชั้นนอกถิ่นที่ยังไม่เจริญ ทางด้านเหนือนับจากภูเขาอุสีรธชะเข้ามาถือเป็นมัชฌิมชนบท


<
>

  สารบัญ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์
• (ทางวัดขอความอนุเคราะห์เจ้าภาพเร่งด่วน)
• ขอเชิญร่วมบุญไถ่ชีวิตโคกระบือแม่ลูกวัดมณฑป 4-22พ.ค.67
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป
• บำเพ็ญบุญอุทิศให้อดีตเจ้าอาวาส งานประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดศรีทวี (๒๖ เม.ย. ๒๕๖๗)
• ✨บุญใหญ่ปิดทองพระประธาน✨
• ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญสมทบทุนถมดินถวายวัด ณ วัดท่าทองน้อย หลวงพ่อโต (ซำปอกง) ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
• ตักบาตรวันฉัตรมงคล (๔ พ.ค. ๒๕๖๗)
• สถานปฏิบัติธรรม วัดชลประทาน นนทบุรี (ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์)
• ✨ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะห้องผู้มาปฏิบัติธรรม 12 ห้อง ✨

  กระทู้ธรรมะไทย
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป0.
• นาฏมวยไทย ประเพณีไทย
• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
• พระเจ้านั่งโก๋น เชียงใหม่
• บวชพระ ฟรี 2567 นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัคร บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย พระป่า พระกรรมฐาน วัดป่า ปฏิบัติธรรม สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• ประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย
• ประเพณีไทยตักบาตรดอกไม้
• ด่วน เจ้าภาพปิดยอด เหลือ 3 กองบุญ


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย