Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g34.php on line 7 Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g34.php on line 7 Warning: include(): Failed opening 'google_analytics.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g34.php on line 7
พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า หมวดที่ ๓ พุทธบริษัท ภิกษุณีสงฆ์ ในสมัยพุทธกาล

"ภิกษุณีสงฆ์ ในสมัยพุทธกาล"

      ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่กูฏาคาร อันเป็นศาลาเรือนยอดในป้ามหาวันบนฝั่งตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะ กรุงเวสาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชีในขณะที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็ได้ทรงทราบข่าวประชวรของพระพุทธบิดาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบข่าวการประชวรก็ได้รีบเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ๋และได้เข้าเฝ้าพระพุทธบิดา พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และได้ทูลลาพระพุทธเจ้าเข้านิพพานโดยยังมิทันจะได้อุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอยู่ร่วมถวายพระเพลิงศพระพุทธบิดา

     ขณะที่พระพุทธเจ้ายังคงประทับอยู่ที่นิโครธาราม ซึ่งเป็นอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์นั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะพระราชสวามีสิ้นพระชนม์แล้วก็ทรงหมดภาระ จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาและได้ทูลขออนุญาตให้สตรีสละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย แต่การณ์นั้น มิใช่เรื่องง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสีย ๓ ครั้ง

     ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังกูฏาคารศาลาในป่ามหาวันกรุงเวสาลี พระนางมหาปชาบดีดคตมีไม่ละความพยายามได้ทรงชักยวนเจ้าหญิงศากยะจำนวนมากปลงพระเกศา ทรงผ้ากาสาวะคือผ้าย้อมน้ำฝาดแล้วเสด็จดำเนินด้วยพระบาททั้งหมดไปยังกรุงเวสาลี โดยต่างมีพระบาทบวมแตกและมีพระกายที่เปรอะเปื้อนธุลีเหน็ดเหนื่อยลำบาก พากันมายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา

     พระอานนท์ได้เห็นก็เข้าไปถาม พระนางก็ได้รับสั่งบอกเล่าแก่พระอานนท์ พระอานน์ขอให้ประทับรออยู่ที่นั้นก่อน และก็ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลขอให้สตรีได้บวชในพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าได้ตรัสปฏิเสธแก่พระอานนท์ พระอานนท์ก็ได้ทูลขอถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้วจะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เป็นผู้สมควรที่จะทำให้แจ้งได้

     พระอานนท์จึงได้กราบทูลว่า ถ้าสตรีเป็นผู้ที่สมควรอย่างนั้น และพระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็เป็นผู้มีอุปการะมากแด่พระพุทธเจ้ามาในเบื้องต้น เพราะทรงเป็นทั้งน้าและมารดาเลี้ยง ผู้เลี้ยงดูทะนุถนอมพระองค์สืบต่อจากพระพุทธมารดาซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไป เพราะฉะนั้น ก็ขอให้พระนางได้บวชในพระธรรมวินัยตามที่ทรงตั้งพระหฤทัย

     พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีจะรับครุธรรม คือธรรมที่หนัก ๘ ข้อได้ ก็ให้อุปสมบทได้ ครุธรรม ๘ ข้อนั้นคือ

     ๑. ภิกษุณีที่อุปสมบทมาตั้งร้อยพรรษาก็พึงทำการกราบไหว้การลุกรับ การกระทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม (การแสดงความเคารพ) แก่ภิกษุที่อุปสมบทใหม่แม้ในวันนั้น
     ๒. ภิกษุณีจะต้องอยู่จำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุ
     ๓. ภิกษุณีจะต้องพึงหวังธรรม ๒ ประการจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือการถามวันอุโบสถและการเข้าไปฟังโอวาท
     ๔. ภิกษุณีออกพรรษาและพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายคือ ในภิกษุสงฆ์และในภิกษุณีสงฆ์
     ๕. ภิกษุณีเมื่อต้องครุธรรมคือต้องอาบัติหนักก็พึงประพฤติมานัด (ระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติหนัก) ๑๕ วัน ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณี)
     ๖. สตรีที่ศึกษาอยู่ในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี (กล่าวคือรักษา ศีล ๑๐ ของสามเณร ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๖ โดยไม่ขาดตลอดเวลา ๒ ปี) อันเรียกว่า นางสิกขมานา เมื่อได้ศึกษาแล้วดั้งนี้จึงอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายได้
     ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุโดยปริยายใด ๆ
     ๘. ภิกษุทั้งหลายสั่งสอนห้ามปรามภิกษุณีทั้งหลายได้ แต่ว่าภิกษุณีทั้งหลายจะสั่งสอนห้ามปรามภิกษุทั้งหลายไม่ได้

     ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยินดีรับครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้จึงให้อุปสมบทได้ พระอานนท์ได้ไปทูลให้พรนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางทรงยินดีรับครุธรรม ๘ ประการนั้น พระอานนท์ได้กลับเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลให้ทรงทราบว่า พระนางได้รับครุธรรมทั้ง ๘ ได้อุปสมบทแล้ว ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

     ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวชจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่ยั่งยืน จะมีอายุสั้นเข้า เปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุตรน้อยมีสตรีมาก ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่ายหรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา เหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป (พระศาสนาจักอยู่ใต้ยั่งยืนเช่นเดิม)

     พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนา อื่นทั้งหลายไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคม - ศาสนาแล้วจะไม่ทรงให้สตรีบวชได้

     เมื่อแรกการบวชภิกษุณีไม่ได้กำหนดจำนวนคือบวชกันตามสบายมีการบวชเข้ามาเป็นหมู่จำนวนถึง ๑,๐๐๐ ก็มี เช่นพระนางอโนชากับบริวาร ประวัติชีวิตของพระเถรีทังหลายส่วนมากพิสดารเฉพาะก่อนท่านบวช หลังจากบวชแล้วไม่ค่อยมีผลงานเด่นมากนัก นอกจากพระเถรีระดับเอตทัคคะ ๑๓ รูป

     หลังจากจำนวนภิกษุณีเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็วระยะหนึ่งปรากฏว่าเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่นภิกษุณีถูกคนบางพวกรังแกทำให้ที่อยู่อาศัยของท่านก็ดี การจะไปในที่ต่าง ๆ ก็ดีต้องเกี่ยวข้องกับหมู่คณะ คือ จะไปไหนคนเดียว เดินทางคนเดียว อยู่คนเดียวไม่ได้ การจะอยู่ป่าเขาแบบพระจึงไม่ได้เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสวัสดิภาพของภิกษุณีเองทำให้เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) ซึ่งชาวบ้านสร้างด้วยศรัทธาทำไม่ทัน ชาวบ้านได้แสดงความเดือดร้อนให้ปรากฏ จนต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในการบวชภิกษุณีไว้ดังนี้

     สตรีอายุยังน้อยให้บวชเป็นสามเณรีก่อน จนกว่าอายุครบ ๑๘ เมื่ออายุครบ ๑๘ ให้บวชเป็นนางสิกขมานา โดยรักษาศีลข้อ ๑ - ๖ ไม่ให้พกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี จึงขอรับฉันทานุมัติจากสงฆ์บวชเป็นภิกษุณี ถ้าในระหว่างประพฤติตนเป็นนางสิกขมานา หากมีความบกพร่องในศีลก่อน ๖ ปี ต้องนับวันกันใหม่ เมื่อได้สิกขาสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา เธอต้องถืออุปัชฌาย์เช่นเดียวกับภิกษุ แต่เรียกว่าปวัตตินี ซึ่งจะต้องมีพรรษาไม่ต่ำกว่า ๑๒ พรรษา และเป็นผู้ที่ได้รับสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ให้เป็นปวัตตินี ปวัตตินีรูปเดียวจะอุปสมบทให้แก่สหชิวินี (ผู้อยู่ร่วม) ได้พียง ๒ ปี ต่อหนึ่งครั้งและอุปสมบทให้ได้ครั้งละ ๑ รูปเท่านั้นเมื่อเป็นภิกษุณีแล้วต้องรักษาสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ (ศีล ๓๑๑)

     ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ภิกษุณีเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในตอนปลายพุทธกาลไม่ค่อยได้ยินชื่อเสียงของท่าน อาจจะเป็นเพราะมีพระวินัยห้ามการคลุกคลีกับภิกษุณีอยู่หลายข้อ ทำให้พระสังคีติกาจารย์ก็ไม่ค่อยทราบชีวิตและผลงานของภิกษุณีต่าง ๆ มากนัก ทั้งภิกษุณีก็ไม่ได้เข้าร่วมในการสังคายนาพระธรรมวินัย เรื่องของภิกษุณีสงฆ์จึงไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

     อย่างไรก็ตาม ภิกษุณีนั้นจัดว่าเป็นบริษัท ๑ ใน ๔ ของพระพุทธเจ้าที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นพยานแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ช่วยเผยแผ่ศาสนธรรม จากชีวประวัติของพระเถรีทั้งหลายในเถรีคาถาและอรรคกถาบอกให้ทราบว่าสตรีที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุณีนั้นมีตั้งแต่เจ้าหญิงธิดาเศรษฐี ไปจนถึงโสเภณี คนขอทาน และการเข้ามาบวชของท่านส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับความรักความพลัดพราก และศรัทธาเป็นหลักฐานะของภิกษุณี อาจสรุปได้ดังนี้

     ๑. ท่านเป็นอุปสัมพันในหมู่ของท่านและคนอื่น แต่เป็นอนุปสัมบันในหมู่ภิกษุคือไม่มีฐานะเท่ากัน
     ๒. จะร่วมสังฆกรรมต่าง ๆ กับภิกษุไม่ได้ จึงไม่มีสิทธิจะห้ามอุโปสถปวารณาแก่ภิกษุทุกกรณี
     ๓. ภิกษุณีมีสิทธิโดยชอบตามพระวินัย ที่จะไม่ไหว้ภิกษุที่กล่าวคำหยาบคายต่อตน
     ๔. ในกรณีมีสิทธิโดยชอบตามพระวินัย ที่จะไม่ไหว้ภิกษุที่กล่าวคำหยาบคายต่อตน
     ๕. เมื่อภิกษุณีจะถามปัญหาแก่ภิกษุให้บอกก่อนว่าจะถามในเรื่องพระสูตร พระวินัย หรือพระอภิธรรม เมื่อบอกไว้อย่างหนึ่ง แต่กลับถามอีกอย่างหนึ่งเป็นอาบัติ

     สำหรับสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ภิกษุณี ซึ่งมีจำนวนมากกว่าของภิกษุนั้น ส่วนมากแล้วเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นสตรีเพศของท่านเพื่อป้องกันรักษาตัวท่านเองให้ปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ

      ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย


<
>

  สารบัญ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป
• บำเพ็ญบุญอุทิศให้อดีตเจ้าอาวาส งานประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดศรีทวี (๒๖ เม.ย. ๒๕๖๗)
• ✨บุญใหญ่ปิดทองพระประธาน✨
• ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญสมทบทุนถมดินถวายวัด ณ วัดท่าทองน้อย หลวงพ่อโต (ซำปอกง) ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

  กระทู้ธรรมะไทย
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป0.
• นาฏมวยไทย ประเพณีไทย
• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
• พระเจ้านั่งโก๋น เชียงใหม่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย