๑. กายกรรม (กรรมทำด้วยกาย, การกระทำทางกาย — bodily action)
๒. วจีกรรม (กรรมทำด้วยวาจา, การกระทำทางวาจา — verbal action)
๓. มโนกรรม (กรรมทำด้วยใจ, การกระทำทางใจ — mental action)
M.I.373. ม.ม. ๑๓/๖๔/๕๖.
๑. อโลภะ (ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ — non-greed; generosity)
๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา — non-hatred; love)
๓. อโมหะ (ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา — non-delusion; wisdom)
D.III.275. ที.ปา.๑๑/๓๙๔/๒๙๒.
๑. โลภะ (ความอยากได้ — greed)
๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย — hatred)
๓. โมหะ (ความหลง — delusion)
D.III.275; It.45. ที.ปา.๑๑/๓๙๓/๒๙๑; ขุ.อิติ.๒๕/๒๒๘/๒๖๔.
๑. เนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)
A.III.446. องฺ.ฉกก. ๒๒/๓๘๐/๔๙๖.
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม, ความนึกคิดในทางแส่หาหรือพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยาก — thought of sensual pleasures)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยความขัดเคืองเพ่งมองในแง่ร้าย — thought full of hatred or ill-will; malevolent thought)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน, ความนึกคิดในทางทำลาย ทำร้ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น — thought of violence or cruelty; cruel thought)
A.III.446. องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๘๐/๔๙๖.
๑. อายโกศล (ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ — proficiency as to gain or progress)
๒. อปายโกศล (ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม — proficiency as to loss or regress)
๓. อุปายโกศล (ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ — proficiency as to means and method)
D.III.220; Vbh. 325. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๐๗/๔๓๙.
๑. อตีตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต, รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ — insight into the past; knowledge of the past)
๒. อนาคตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต, รู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ — insight into the future; knowledge of the future)
๓. ปัจจุปันนังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, รู้ปัจจุบัน กำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ — insight into the ; knowledge of the present)
D,III.275. ที.ปา๑๑๓๙๖๒๙๒.
๑. สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ คือ ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา — knowledge of the Truths as they are)
๒. กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ — knowledge of the functions with regard to the respective Four Noble Truths)
๓. กตญาณ (หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว — knowledge of what has been done with regard to the respective Four Noble Truths)
ดู (๑๙๘) กิจในอริยสัจ ๔.
Vin.I.11; S.V.422. วินย.๔/๑๖/๒๑; สํ.ม.๑๙/๑๖๗๐/๕๓๐; สํ.อ.๓/๔๐๙.
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า — craving for sensual pleasures; sensual craving)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ — craving for existence)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ — craving for non-existence; craving for self-annihilation)
A.III.445; Vbh.365 องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๗๗/๔๙๔; อภิ.วิ.๓๕/๙๓๓/๔๙๔
๑. วินัยปิฎก (หมวดพระวินัย, ประมวลสิกขาบท สำหรับภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ — the Basket of Discipline) แบ่งเป็น ๓ หมวด หรือ ๕ คัมภีร์ จัดพิมพ์อักษรไทยเป็น ๘ เล่มคือ
ก. วิภังค์ หรือ สุตตวิภังค์ (Vibhanga) ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ แบ่งเป็น ๒ คัมภีร์ คือ
๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก (อา) ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนัก ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต (Major Offenses) จัดพิมพ์เป็น ๑ เล่ม
๒. ปาจิตติยะ (ปา) ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถึงเสขิยะ และรวมเอาภิกขุนีวิภังค์เข้าไว้ด้วย (Minor Offenses) จัดเป็น ๒ เล่มวิภังค์ นี้ แบ่งอีกอย่างหนึ่งเป็น ๒ เหมือนกัน คือ
๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ (Rules for Monks) จัดเป็น ๒ เล่ม
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (Rules for Nuns) จัดเป็น ๑ เล่มข. ขันธกะ (khandhaka) ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ รวมเป็นบท ๆ เรียกว่าขันธกะหนึ่ง ๆ ทั้งหมดมี ๒๒ ขันธกะ ปันเป็น ๒ วรรค คือ
๓. มหาวรรค (ม; วรรคใหญ่ — Greater Section) ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น มี ๑๐ ขันธกะ จัดเป็น ๒ เล่ม
๔. จุลวรรค (จุ; วรรคเล็ก — Smaller Section) ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย มี ๑๒ ขันธกะ จัดเป็น ๒ เล่มค. ๕. ปริวาร (ป; หนังสือประกอบ; คู่มือ — Epitome of the Vinaya) คัมภีร์บรรจุคำถามคำตอบ ซ้อมความรู้พระวินัย จัดเป็น ๑ เล่ม
๒. สุตตันตปิฎก (หมวดพระสูตร, ประมวลพระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมและเรื่องเล่าต่าง ๆ อันยักเยื้องตามบุคคลและโอกาส — the Basket of Discourses) แบ่งเป็น ๕ นิกาย (แปลว่าประมวล หรือชุมนุม) จัดพิมพ์เป็น ๒๕ เล่ม คือ
๑. ทีฆนิกาย (ที) ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว — Collection of long Discourses จัดเป็น ๓ วรรค ๓ เล่ม มี ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย (ม) ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง — collection of Middle-length Discourses จัดเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๓ เล่ม มี ๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย (สํ) ชุมนุมพระสูตรที่รวมเข้าไว้เป็นหมวด ๆ เรียกว่าสังยุตหนึ่ง ๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน — collection of Connected Discourses จัดเป็น ๕๖ สังยุต แล้วประมวลเข้าอีกเป็น ๕ วรรค ๕ เล่ม มี ๗๗๖๒ สูตร
๔. อังคุตตรนิกาย (อํ) ชุมนุมพระสูตรที่รวมเข้าไว้เป็นหมวด ๆ เรียกว่านิบาตหนึ่ง ๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม — Adding-One Collection; Collection of Numerical Sayings จัดเป็น ๑๑ นิบาต (หมวด ๑ ถึง หมวด ๑๑) รวมเข้าเป็นคัมภีร์ ๕ เล่ม มี ๙๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย (ขุ) ชุมนุมพระสูตร ข้อธรรม คำอธิบายและเรื่องราวเบ็ดเตล็ด — Smaller Collection of Minor Works รวมคัมภีร์ที่จัดเข้าไม่ได้ในนิกายสี่ข้างต้นมีทั้งหมด ๑๕ คัมภีร์ จัดเป็น ๙ เล่ม คือ ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต (๑ เล่ม) วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ( ๑ ล) ชาดก (๒ ล.) นิทเทส (มหานิทเทส ๑ ล., จูฬนิทเทส ๑ ล.) ปฏิสัมภิทามรรค (๑ ล.) อปทาน (๑ ๒/๓ ล.) พุทธวงศ์ จริยาปิฎก (๑/๓ ล.)๓. อภิธรรมปิฎก (หมวดอภิธรรม, ประมวลหลักธรรมและคำอธิบายในรูปหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยเหตุการณ์และบุคคล — the Basket of Sublime, Higher or Extra Doctrine) แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ จัดพิมพ์เป็น ๑๒ เล่ม คือ
๑. ธัมมสังคณี หรือ สังคณี (สํ) รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายเป็นประเภท ๆ — Enumeration of the Dhammas (๑ ล.)
๒. วิภังค์ (วิ) อธิบายข้อธรรมที่รวมเป็นหมวดหมู่ (เรียกวิภังค์หนึ่ง ๆ) แยกแยะออกชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด — Analysis of the Dhammas (๑ ล.)
๓. ธาตุกถา (ธา) สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ — Discussion of Elements (ครึ่งเล่ม)
๔. ปุคคลบัญญัติ (ปุ) บัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่าง ๆตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้น ๆ — Description of Individuals (ครึ่งเล่ม)
๕. กถาวัตถุ (ก) แถลงวินิจฉัยทัศนะต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลายสมัยตติยสังคายนา — Subjects of Discussion (๑ ล.)
๖. ยมก (ย) ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบโดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ — Book of Pairs (๒ ล.)
๗. ปัฎฐาน (ป) หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร — Book of Relation (๖ ล.)
อนึ่ง ๓ ปิฎกนี้ สงเคราะห์เข้าในปาพจน์ ๒ คือ พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก จัดเป็น ธรรม พระวินัยปิฎก จัดเป็น วินัย
Vin. V.86. วินย.๘/๘๒๖/๒๒๔.
๑. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง — impermanence; transiency)
๒. ทุกขตา (ความเป็นทุกข์ — state of suffering or being oppressed)
๓. อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน — soullessness; not-self)
ดู (๘๕) ธรรมนิยาม ๓
S.IV.1; Dh.277-9. สํ.สฬ.๑๘/๑/๑; ขุ.ธ.๒๕/๓๐/๕๑. (**) ไตรสิกขา ดู (๑๒๓) สิกขา ๓.
๑. กายทวาร (ทวารคือกาย — the body-door; channel of bodily action)
๒. วจีทวาร (ทวารคือวาจา — the speech-door; speech as a door of action)
๓. มโนทวาร (ทวารคือใจ — the mind-door; mind as a door of action)
Dh.234. นัย. ขุ.ธ.๒๕/๒๗/๔๖; มงฺคล. ๑/๒๕๒/๒๔๓.
๑. จักขุทวาร (ทวารคือตา — eye-door)
๒. โสตทวาร (ทวารคือหู — ear-door)
๓. ฆานทวาร (ทวารคือจมูก — nose-door)
๔. ชิวหาทวาร (ทวารคือลิ้น — tongue-door)
๕. กายทวาร (ทวารคือกาย — body-door)
๖. มโนทวาร (ทวารคือใจ — mind-door)
ดู (๒๖๒) อายตนะภายใน ๖
S.IV.194. สํ.สฬ.๑๘/๓๔๒/๒๔๒. (**) ทิฏฐิ ๓ ดู (๑๔) ทิฏฐิ ๓
๑. ทุกขทุกขตา (สภาพทุกข์คือทุกข์ หรือความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ ได้แก่ ทุกขเวทนาทางกายก็ตาม ใจก็ตาม ซึ่งเป็นทุกข์อย่างที่เข้าใจสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ — painfulnessas suffering)
๒.วิปริณามทุกขตา (ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เมื่อต้องเปลี่ยนแปรไปเป็นอื่น — suffering in change)
๓. สังขารทุกขตา (ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร ได้แก่ตัวสภาวะของสังขารคือสิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ และให้เกิดทุกข์แก่ผู้ยึดถือด้วยอุปทาน — suffering due to formations; inherent liability to suffering)
D.III.216; S.IV.259; V.56. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๙; สํ.สฬ.๑๘/๕๑๐/๓๑๘; สํ.ม.๑๙/๓๑๙/๘๕.
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย — evil conduct in act; misconduct by body) มี ๓ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และ กาเมสุมิจฉาจาร
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา — evil conduct in word; misconduct by speech) มี ๔ คือ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ — evil conduct in thought; misconduct by mind) มี ๓ คือ อภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ)
ดู รายละเอียดที่ (๓๐๙) อกุศลกรรมบถ ๑๐.
D.III.214; Dhs.1305. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๗; อภิ.สํ.๓๔/๘๔๐/๓๒๗.
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย — good conduct in act) มี ๓ คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา — good conduct in word) มี ๔ คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ — good conduct in thought) มี ๓ คือ อนภิชฌา อพยาบาท และ สัมมาทิฏฐิ.
ดู รายละเอียดที่ (๓๐๘) กุศลกรรมบถ ๑๐.
D.III.215; Dhs.1306. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๗; อภิ.สํ.๓๔/๘๔๐/๓๒๗.
๑. สมมติเทพ (เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระเทวี และพระราชกุมาร — gods by convention)
๒. อุปปัตติเทพ (เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาในกามาวจรสวรรค์ และ พรหมทั้งหลายเป็นต้น — gods by rebirth)
๓. วิสุทธิเทพ (เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย — gods by purification)
Nd2 307; KhA.123. ขุ.จู.๓๐/๖๕๔/๓๑๒; ขุทฺทก.อ.๑๓๕.
๑. ชิณณะ (คนแก่ — old men)
๒. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ (คนเจ็บ, ผู้ป่วย — sick men)
๓. มตะ (คนตาย — dead men)
A.I.138. องฺ.ติก.๒๐/๔๗๕/๑๗๕. (**) เทวทูต ๔ ดู (๑๔๙) นิมิต ๔.
๑. ทหระ หรือ มันทกุมาร (เด็กอ่อน — a young baby)
๒. ชิณณะ (คนแก่ — an old men)
๓. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ (คนเจ็บ — a sick man)
๔. กรรมการณัปปัตตะ (คนถูกลงโทษ, คนถูกจองจำลงอาญา — a criminal subjected to punishment)
๕. มตะ (คนตาย — a dead man)
M.III.179. ม.อุ.๑๔/๕๐๗/๓๓๕.
๑. กุศลธรรม (ธรรมที่เป็นกุศล, สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่กุศลมูล ๓ ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ ๔ — skillful, wholesome, or profitable states; good things)
๒. อกุศลธรรม (ธรรมที่เป็นอกุศล, สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล ได้แก่ อกุศลมูล ๓ และกิเลสอันมีฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น ก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่าอกุศลจิตตุบาท ๑๒ — unskillful, unwholesome or unprofitable states; bad things)
๓. อัพยากตธรรม (ธรรมที่เป็นอัพยากฤต, สภาวะที่เป็นกลาง ๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบากแห่งกุศลและอกุศล เป็นกามาวจรก็ตาม รูปาวจรก็ตาม อรูปาวจรก็ตาม โลกุตตระก็ตาม อย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่อกุศล มิใช่วิบากแห่งกรรม อย่างหนึ่ง รูปทั้งปวง อย่างหนึ่ง อสังขตธาตุ คือ นิพพาน อย่างหนึ่ง กล่าวสั้นคือ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน — the indeterminate; neither-good-nor-bad thing)
Dhs.91,180,234. อภิ.สํ.๓๔/๑/๑; ๖๖๓/๒๕๙; ๘๗๘/๓๔๐
๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง — all conditioned states are impermanent)
๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ — all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรมคือ สังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน — all states are not-self or soulless )
หลักนี้ เรียกอีกอย่างว่า ไตรลักษณ์ หรือ สามัญลักษณะ; พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบและนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนย.
ดู (๒๑๔) นิยาม ๕.
A.I.285. องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๓๖๘.
๑. บริกรรมนิมิต (นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตตระเตรียมหรือนิมิตแรกเริ่ม ได้แก่สิ่งใดก็ตามที่กำหนดเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือ พุทธคุณที่นึกเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจเป็นต้น — preliminary sign) ได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐
๒. อุคคหนิมิต (นิมิตที่ใจเรียน, นิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั้นเพ่งหรือนึกกำหนดจนเห็นแม่นในใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น เป็นต้น — learning sign; abstract sign; visualized image) ได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐
๓. ปฏิภาคนิมิต (นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง ได้แก่ นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตนั้น แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากสัญญา เป็นเพียงอาการปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิจึงบริสุทธิ์จนปราศจากสีเป็นต้น และไม่มีมลทินใด ๆ ทั้งสามารถนึกขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา — sign; conceptualized image) นิมิตนี้ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๒๒ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ๑ และอานาปานสติ ๑
เมื่อเกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น จิตย่อมตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ จึงชื่อว่าปฏิภาคนิมิตเกิดพร้อมกับอุปจารสมาธิ เมื่อเสพปฏิภาคนิมิตนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิก็จะสำเร็จเป็นอัปปนาสมาธิต่อไป ปฏิภาคนิมิตจึงชื่อว่าเป็นอารมณ์แก่อุปจารภาวนาและอัปปนาภาวนา.
ดู (๙๘) ภาวนา ๓
Comp.203; Vism.125. สังคห. ๕๑; วิสุทธิ.๑/๕๙.
๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in giving or generosity)
๒. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย — meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)
๓. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ — meritorious action consisting in mental development)
D.III.218; A.IV.239; It.51. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๐; องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒๖/๒๔๕; ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘/๒๗๐.
๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)
๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)
D.A.III.999; Comp.146. ที.อ.๓/๒๔๖; สังคหะ ๒๙.
๑. อติชาตบุตร (บุตรที่ยิ่งกว่าบิดามารดา, ลูกที่ดีกว่าเลิศกว่าพ่อแม่ — superior-born son)
๒. อนุชาตบุตร (บุตรที่ตามเยี่ยงบิดามารดา, ลูกที่เสมอด้วยพ่อแม่ — like-born son)
๓. อวชาตบุตร (บุตรที่ต่ำลงกว่าบิดามารดา, ลูกที่ทราม — worse-born son)
It.62. ขุ.อิติ.๒๕/๒๕๒/๒๗๘.
๑. ตัณหา (ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน, ความอยากได้อยากเอา — craving; selfish desire)
๒. ทิฏฐิ (ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน, ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง — view; dogma; speculation)
๓. มานะ (ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียมหรือด้อยกว่าผู้อื่น, ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ — conceit)
Nd 280; Vbh.393; Nett. 37-38 ขุ.ม.๒๙/๕๐๕/๓๓๗; อภิ.วิ.๓๕/๑๐๓๔/๕๓๐; เนตฺติ. ๕๖-๕๗
๑. ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว, กำหนดรู้ขั้นรู้จัก, กำหนดรู้ตามสภาวลักษณะ คือ ทำความรู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นโดยตรง พอให้ชื่อว่าได้เป็นอันรู้จักสิ่งนั้นแล้ว เช่นว่ารู้ นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ดังนี้เป็นต้น — full knowledge as the known; diagnosis as knowledge)
๒. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา, กำหนดรู้ขั้นพิจารณา, กำหนดรู้โดยสามัญลักษณะ คือ ทำความรู้จักสิ่งนั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ดังนี้เป็นต้น — full knowledge as investigating; diagnosis as judgment)
๓. ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ, กำหนดรู้ถึงขั้นละได้, กำหนดรู้โดยตัดทางมิให้ฉันทราคะเกิดมีในสิ่งนั้น คือรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว ละนิจจสัญญาเป็นต้น ในสิ่งนั้น เสียได้ — full knowledge as abandoning; diagnosis as abandoning)
ปริญญา ๓ นี้ เป็นโลกียะ
มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เป็นกิจในอริยสัจข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ในทางปฏิบัติ
จัดเข้าใน วิสุทธิข้อ ๓ ถึง ๖ คือ ตั้งแต่นามรูปปริเฉท ถึง ปัจจยปริคคหะ
เป็นภูมิแห่งญาตปริญญา ตั้งแต่กลาปสัมมสนะ
ถึง อุทยัพพยานุปัสสนา เป็นภูมิแห่งตีรณปริญญา
ตั้งแต่ ภังคานุปัสสนาขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา
ดู (๑๙๘) กิจในอริยสัจ
๔; (๒๗๐) วิสุทธิ ๗; (๒๙๙) วิปัสสนาญาณ ๙.
Nd 153; Vism.606 ขุ.ม.๒๙/๖๒/๖๐; วิสุทธิ.๓/๒๓๐.
ดู (๒๘๑) ปหาน ๕; (๒๑๕) นิโรธ ๕.
Vism.693 วิสุทธิ.๓/๓๔๙
๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล — wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out)
๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน — wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others)
๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ — wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice)
D.III.219; Vbh.324. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๐๔/๔๓๘.
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ — marvel of psychic power)
๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนของจิตจนสามารถกำหนดอาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพของจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์ — marvel of mind-reading)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี, คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์ — marvel of teaching)
D.I.211;A.I.170; Ps.II.227 ที.สี.๙/๓๓๙/๒๗๓; องฺ.ติก.๒๐/๕๐๐/๒๑๗; ขุ.ปฏิ.๓๑/๗๑๘/๖๑๖.
๑. จักขุมา ตาดี (รู้จักสินค้า ดูของเป็น สามารถคำนวณราคา กะทุนเก็งกำไร แม่นยำ — shrewd)
๒. วิธูโร จัดเจนธุรกิจ (รู้แหล่งซื้อแหล่งขาย รู้ความเคลื่อนไหวความต้องการของตลาด สามารถในการจัดซื้อจัดจำหน่าย รู้ใจและรู้จักเอาใจลูกค้า — capable of administering business)
๓. นิสสยสัมปันโน พร้อมด้วยแหล่งทุนเป็นที่อาศัย (เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจในหมู่แหล่งทุนใหญ่ ๆ หาเงินมาลงทุนหรือดำเนินกิจการโดยง่าย — having good credit rating)
A.I.116. องฺ.ติก.๒๐/๔๕๙/๑๔๖. (**) ปิฎก ๓ ดู (๗๔) ไตรปิฎก (**) พุทธคุณ ๓ ดู (๒๙๓) พุทธคุณ ๓
๑. โลกัตถจริยา (พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่โลก — conduct for the well-being of the world)
๒. ญาตัตถจริยา (พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ — conduct for the benefit of his relatives)
๓. พุทธัตถจริยา (พระพุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า — beneficial conduct as functions of the Buddha)
AA.I.98; Dha.III.441. อง.อ.๑/๑๐๔; ธ.อ.๗/๙๓.
๑. สพฺพปาปสฺส อกรณํ (ไม่ทำความชั่วทั้งปวง — not to do any evil)
๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา (ทำแต่ความดี — to do good; to cultivate good)
๓. สจิตฺตปริโยทปนํ (ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ — to purify the mind)
หลัก ๓ ข้อนี้ รวมอยู่ในโอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญ เดือน ๓ ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา
D.II.49; Dh.183 ที.ม.๑๐/๕๔/๕๗; ขุ.ธ.๒๕/๒๔/๓๙.
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร, ภพของสัตว์ผู้ยังเสวยกามคุณคืออารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ อบาย ๔ มนุษยโลก และกามาวจรสวรรค์ทั้ง ๖ — the Sense-Sphere)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหมทั้ง ๑๖ — the Form-Sphere; Fine-Material Sphere)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม ๔ — the Formless Sphere; Immaterial Sphere)
D.III.215; M.I.294. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๘; ม.มู.๑๒/๔๙๘/๕๓๙.
๑. บริกรรมภาวนา (ภาวนาขั้นบริกรรม, ฝึกสมาธิขั้นตระเตรียม ได้แก่ การถือเอานิมิตในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น เพ่งดวงกสิณ หรือนึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจเป็นต้น กล่าวสั้นๆ คือ การกำหนดบริกรรมนิมิตนั่นเอง — preliminary stage) ได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐
๒. อุปจารภาวนา (ภาวนาขั้นจวนเจียน, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอุปจาร ได้แก่ เจริญกรรมฐานต่อไป ถึงขณะที่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นในกรรมฐานที่เพ่งวัตถุก็ดี นิวรณ์สงบไปในกรรมฐานประเภทนึกเป็นอารมณ์ก็ดี นับแต่ขณะนั้นไปจัดเป็นอุปจารภาวนา — proximate stage) ขั้นนี้เป็น กามาวจรสมาธิ ได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐; อุปาจารภาวนา สิ้นสุดแค่โคตรภูขณะ ในฌานชวนะ
๓. อัปปนาภาวนา (ภาวนาขั้นแน่วแน่, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอัปปนา ได้แก่ เสพปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ จนบรรลุปฐมฌาน คือ ถัดจากโคตรภูขณะในฌานชวนะเป็นต้นไป ต่อแต่นั้นเป็นอัปปนาภาวนา - concentrative or attainment stage) ขั้นนี้เป็นรูปาวจรสมาธิ ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๓๐ คือ หักอนุสสติ ๘ ข้างต้น ปฏิกูลสัญญา ๑ และจตุธาตุวัตถาน ๑ ออกเสีย คงเหลือ อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติ ๑ (ได้ถึงปฐมฌาน) อัปปมัญญา ๓ ข้อต้น (ได้ถึงจตุตถฌาน) อัปปมัญญาข้อท้ายคืออุเบกขา ๑ กสิณ ๑๐ และ อานาปานสติ ๑ (ได้ถึงปัญจมฌาน) อรูป ๔ (ได้อรูปฌาน)
ดู (๘๖) นิมิต ๓
Comp.203. สังคห.๕๑
๑. พระพุทธเจ้า (พระผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม — the Buddha; the Enlightened One)
๒. พระธรรม (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลักความจริงและหลักความประพฤติ — the Dhamma; Dharma; the Doctrine)
๓. พระสงฆ์ (หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า — the Sangha; the Order)
Kh.1. ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑.
๑. ปุพเพตกเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบจะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน — a determinist theory that whatever is experienced)
๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท (ลัทธิพระเป็นเจ้า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่ — a determinist theory that whatever is experienced is due to the creation of a Supreme Being; theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท
๓. อเหตุอปัจจัยวาท (ลัทธิเสี่ยงโชค คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ คือ ถึงคราวก็เป็นไปเอง — an indeterminist theory that whatever is experienced is uncaused and unconditioned; accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท
A.I.173; Vbh.367. องฺ.ติก.๒๐/๕๐๑/๒๒๒; อภิ.วิ.๓๕/๙๔๐/๔๙๖.
๑. สังขารโลก (โลกคือสังขาร ได้แก่สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย — the world of formations)
๒. สัตวโลก (โลกคือหมู่สัตว์ — the world of beings)
๓. โอกาสโลก (โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, จักรวาล — the world of location; the world in space; the universe)
Vism.204; DA.I.173; MA.I.397. วิสุทธิ.๑/๒๖๒; ที.อ.๑/๒๑๕; ม.อ.๒/๒๖๙.
๑. มนุษยโลก (โลกคือหมู่มนุษย์ — the world of man)
๒. เทวโลก (โลกคือหมู่เทพ, สวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ — the heavenly world)
๓. พรหมโลก (โลกคือหมู่พรหม, สวรรค์ชั้นพรหม — the Brahma world)
DA.I.173; MA.I.397. ที.อ.๑/๒๑๕; ม.อ.๒/๒๖๙.
ดู (๙๗) ภพ ๓.
๑. กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน — round of defilements)
๒. กรรมวัฏฏ์ (วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ — round of Karma)
๓. วิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น — round of results)
Vism.581. วิสุทธิ.๓/๑๙๘.
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้ — reminiscence of past lives)
๒. จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ — knowledge of the decease and rebirth of beings; clairvoyance)
๓. อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้ — knowledge of the destruction of mental intoxication)
D.III.220.275;A,V.211 ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๒; ๓๙๘/๒๙๒; องฺ.ทสก.๒๔/๑๐๒/๒๒๕.
(๑๐๖) วิโมกข์ ๓ (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — liberation; aspects of liberation)
๑. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
๒. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ — liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ — liberation through dispostionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.
ดู (๔๗) สมาธิ ๓.
Ps.II.35. Vism.657; Comp.211 ขุ.ปฏิ.๓๑/๔๖๙/๓๕๓; วิสุทธิ.๓/๒๙๙; สังคห.๕๕.
๑. สัมปัตตวิรัติ (เว้นสิ่งประจวบเฉพาะหน้า, เว้นเมื่อประสบซึ่งหน้า หรือเว้นได้ทั้งที่ประจวบโอกาส คือ ไม่ได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน ไม่ได้สมาทานสิกขาบทไว้เลย แต่เมื่อประสบเหตุที่จะทำชั่ว นึกคิดพิจารณาขึ้นได้ในขณะนั้นว่า ตนมีชาติตระกูล วัยหรือคุณวุฒิอย่างนี้ ไม่สมควรกระทำกรรมเช่นนั้น แล้วงดเว้นเสียได้ไม่ทำผิดศีล — abstinence as occasion arises; abstinence in spite of opportunity)
๒. สมาทานวิรัติ (เว้นด้วยการสมาทาน คือ ตนได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน โดยได้รับศีล คือ สมาทานสิกขาบทไว้แล้ว ก็งดเว้นตามที่ได้สมาทานนั้น — abstinence by undertaking; abstinence in accordance with one’s observances)
๓. สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ (เว้นด้วยตัดขาด หรือด้วยชักสะพานตัดตอนเสียทีเดียว, เว้นได้เด็ดขาด คือ การงดเว้นความชั่ว ของพระอริยะทั้งหลาย อันประกอบด้วยอริยมรรคซึ่งขจัดกิเลสที่เป็นเหตุแห่งความชั่วนั้นๆ เสร็จสิ้นแล้ว ไม่เกิดมีแม้แต่ความคิดที่จะประกอบกรรมชั่วนั้นเลย — abstinence by destruction (of the roots of evil))
DA.I.305; Kha.142; DhsA.103 ที.อ.๑/๓๗๗; ขุทฺทก.อ.๑๕๖; สงฺคณี อ. ๑๘๘
๑. กายวิเวก (ความสงัดกาย ได้แก่ อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี - bodily seclusion; i.e.solitude)
๒. จิตตวิเวก (ความสงัดใจ ได้แก่ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย เป็นต้น หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และอริยมรรค อริยผล - mental seclusion, i.e. the state of Jhana and the Noble Paths and Fruitions)
๓. อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่าอุปธิ หมายเอาพระนิพพาน - seclusion from the essentials of existence, i.e. Nibbana)
Nb 26,140,157,341 ขุ.ม.๒๙/๓๓/๒๙; ๒๒๙/๑๗๐
๑. กายิกเวทนา (เวทนาทางกาย — physical feeling)
๒. เจตสิกเวทนา (เวทนาทางใจ — mental feeling)
S.IV.231. สํ.ลฬ.๑๘/๔๓๑/๒๘๗.
(๑๑๐) เวทนา ๓ (การเสวยอารมณ์, ความรู้สึกรสของอารมณ์ — feeling; sensation)
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม — pleasant feeling; pleasure)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม — painful feeling pain)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา — neither-pleasant-nor-painful feeling; indifferent feeling)
D.III.216; 275; S.IV.331. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๙; ๓๙๑/๒๙๑; สํ.สฬ.๑๘/๔๓๒/๒๘๗.
(๑๑๑) เวทนา ๕ (การเสวยอารมณ์ — feeling)
๑. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
๒. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
๓. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
๔. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
๕. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)
S.IV.232 สํ.สฬ.๑๘/๔๓๓/๒๘๗.
(๑๑๒) เวทนา ๖ (การเสวยอารมณ์ — feeling)
๑. จักขุสัมผัสสชา เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา — feeling arisen from visual contact)
๒. โสต ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู — from auditory contact)
๓. ฆาน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก — from olfactory contact)
๔. ชิวหา ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น — from gustatory contact)
๕. กาย ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย — from physical contact)
๖. มโน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ — from mental contact)
S.IV.232 สํ.สฬ.๑๘/๔๓๔/๒๘๗.
๑. มนุษยสมบัติ (สมบัติในมนุษย์, สมบัติชั้นมนุษย์ — human prosperity)
๒. เทวสมบัติ (สมบัติในสวรรค์, สวรรคสมบัติ, ทิพยสมบัติ — heavenly prosperity)
๓. นิพพานสมบัติ (สมบัติคือพระนิพพาน — successful attainment of Nibbana)
Kh.7; DhA.III.183. ขุ.ขุ.๒๘/๙/๑๒; ธ.อ.๖/๔๘.
๑. เขตสมบัติ (บุญเขตถึงพร้อม คือ ปฏิคาหก หรือผู้รับทาน เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยคุณธรรม — excellence of the field of merit)
๒. ไทยธรรมสมบัติ (ไทยธรรมถึงพร้อม คือ สิ่งที่ให้เป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบธรรม และเหมาะสมเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ — excellence of the gift)
๓. จิตตสมบัติ (เจตนาถึงพร้อม คือ ให้ด้วยความตั้งใจ คิดจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้รับแท้จริง มีเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนให้ใจยินดี ขณะให้จิตผ่องใส ให้แล้วเบิกบานใจ — excellence of motive or intention)
UdA.199. อุ.อ.๒๕๑. (***) สมาธิ ๓ ดู (๔๖-๔๗) สมาธิ ๓.
การน้อมใจระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยนั้น เข้าใจความหมายอย่างถูกต้อง และยึดถือเป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติหรือเป็นเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต เรียกว่า สรณคมน์ ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์.
Kh.I. ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑.
๑. อุปฺปาโท ปญฺายติ (ความเกิดขึ้น ปรากฏ — Its arising is apparent.)
๒. วโย ปญฺายติ (ความดับสลาย ปรากฏ — Its passing away or subsidence is apparent.)
๓. ฐิตสฺส อญฺถตฺตํ ปญฺายติ (เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ — While persisting, alteration or changeability is apparent.)
A.I.152. องฺ.ติก.๒๐/๔๘๖/๑๙๒.
๑. น อุปฺปาโท ปญฺายติ (ไม่ปรากฏความเกิด — No arising appears.)
๒. น วโย ปญฺายติ (ไม่ปรากฏความสลาย — No passing away appears.)
๓. น ฐิตสฺส อญฺถตฺตํ ปญฺายติ (เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปร — While persisting, no alteration appears.)
A.I.152. องฺ.ติก.๒๐/๔๘๗/๑๙๒.
๑. กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก — bodily formation; bodily function)
๒. วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร — verbal formation; verbal function)
๓. จิตตสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญา และเวทนา — mental formation; mental function)
M.I.301; S.IV.293. ม.มู.๑๒/๕๐๙/๕๕๐; สํ.สฬ.๑๘/๕๖๑/๓๖๑.
๑. กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย — bodily formation; bodily volition)
๒. วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา — verbal formation; verbal volition)
๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ — mental formation; mental volition)
ดู (๑๒๘) อภิสังขาร ๓; ดู (๑๘๒) สังขาร ๔ ด้วย.
M.I.54; 390; S.II.4; Vbh.135. ม.มู.๑๒/๑๒๗/๙๙; ม.ม.๑๓/๘๘/๘๓; สํ.นิ.๑๖/๑๖/๑๔; อภิ.วิ.๓๕/๒๕๗/๑๘๑.
๑. ปริยัตติสัทธรรม (สัทธรรมคือคำสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธพจน์ — the true doctrine of study; textual aspect of the true doctrine; study of the Text or Scriptures)
๒. ปฏิปัตติสัทธรรม (สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา — the true doctrine of practice; practical aspect of the true doctrine)
๓. ปฏิเวธสัทธรรม (สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน — the true doctrine of penetration; realizable or attainable aspect of the true doctrine)
VinA.225;AA.V.33. วินย.อ.๑/๒๖๔; ม.อ.๓/๑๔๗,๕๒๓; องฺ.อ.๓/๓๙๑.
๑. ยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้, ยินดีตามที่พึงได้ คือ ตนได้สิ่งใดมา หรือ เพียรหาสิ่งใดมาได้ เมื่อเป็นสิ่งที่ตนพึงได้ ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหน ก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้หรือเกินไปกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้อง ชอบธรรม ไม่เพ่งเล็งปรารถนาของที่คนอื่นได้ ไม่ริษยาเขา — contentment with what one gets and deserves to get)
๒. ยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง คือ ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลัง ตนมีหรือได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกกับกำลังร่างกายหรือสุขภาพ เช่น ภิกษุได้อาหารบิณฑบาตที่แสดงต่อโรคของตน หรือเกินกำลังการบริโภคใช้สอย ก็ไม่หวงแหนเสียดายเก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ย่อมสละให้แก่ผู้อื่นที่จะใช้ได้ และรับหรือแลกเอาสิ่งที่ถูกโรคกับตน แต่เพียงที่พอแก่กำลังการบริโภคใช้สอยของตน — contentment with what is within one’s strength or capacity)
๓. ยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร คือ ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน อันสมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุไม่ปรารถนาสิ่งของอันไม่สมควรแก่สมณภาวะ หรือภิกษุบางรูปได้ปัจจัยสี่ที่มีค่ามาก เห็นว่าเป็นสิ่งสมควรแก่ทานผู้ทรงคุณสมบัติน่านับถือ ก็นำไปมอบให้แก่ท่านผู้นั้น ตนเองใช้แต่สิ่งอันพอประมาณ หรือภิกษุบางรูปกำลังประพฤติวัตรขัดเกลาตน ได้ของประณีตมา ก็สละให้แก่เพื่อนภิกษุรูปอื่นๆ ตนเองเลือกหาของปอนๆ มาใช้หรือตนเองมีโอกาสจะได้ลาภอย่างหนึ่ง แต่รู้ว่าสิ่งนั้นเหมาะสมหรือเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อื่นที่เชี่ยวชาญถนัดสามารถด้านนั้น ก็สละให้ลาภถึงแก่ท่านผู้นั้น ตนรับเอาแต่สิ่งที่เหมาะสมกับตน — contentment with what is befitting)
AA.I.45; KhA.145; UdA.229;etc. ที.อ.๑/๒๕๓; ม.อ.๒/๑๘๘; องฺ.อ.๑/๘๑; ขุทฺทก.อ.๑๕๙; อุ.อ.๒๘๘; ฯลฯ
๑. ทาน (การให้ปัน, สละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น — giving; generosity; charity; benefaction)
๒. ปัพพัชชา (การถือบวช, เว้นการเบียดเบียน ดำรงในธรรม คือ อหิงสา สัญญมะ และทมะ อันเป็นอุบายให้ไม่เบียดเบียนกัน และอยู่ร่วมกันด้วยความสุข — renunciation consisting in non-violence, restraint and self-control)
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน (การบำรุงมารดาบิดา, ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข — support of mother and father)
A.I.151. องฺ.ติก.๒๐/๔๘๔/๑๙๑. (***) สามัญลักษณะ ๓ ดู (๗๕) ไตรลักษณ์.
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง — training in higher morality)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง — training in higher mentality)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง — training in higher wisdom)
D.III.220; A.I.229. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๕๒๑/๒๙๔. (***) สุจริต ๓ ดู (๘๐) สุจริต ๓. (***) โสดาบัน ๓ ดู (๕๘) โสดาบัน ๓. (***) อกุศลวิตก ๓ ดู (๖๙) อกุศลวิตก ๓.
๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่, ถือตนเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภตนเป็นประมาณ — supremacy of self; self-dependence)
๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่, ถือโลกเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภ นิยมของโลกเป็นประมาณ — supremacy of the world or public opinion)
๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่, ถือธรรมเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริง สมควรตามธรรม เป็นประมาณ — supremacy of the Dharma or righteousness)
D.III.220; A.I.147. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๔๗๙/๑๘๖.
๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ ปัญญาอันเห็นธรรม หรืออย่างสูงสุดคือเห็นนิพพาน — ideal sight, supreme or unsurpassable vision)
๒. ปฏิปทานุตตริยะ (การปฏิบัติอันเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้ว กล่าวให้ง่ายหมายเอามรรคมีองค์ ๘ — ideal course; supreme way)
๓. วิมุตตานุตตริยะ (การพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง หรือนิพพาน — ideal freedom; supreme deliverance)
D.III.291; M.I.235. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; ม.มู.๑๒/๔๐๒/๔๓๕.
๑. ทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวกรวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ — supreme sight)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวก — supreme hearing)
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันเยี่ยม ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคตและตถาคตสาวก หรือการได้อริยทรัพย์ — supreme gain)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา — supreme training)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวก — supreme service or ministry)
๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก — supreme memory)
โดยสรุปคือ การเห็น การฟัง การได้ การศึกษา การช่วยรับใช้ และการรำลึกที่จะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ล่วงพ้นโสกะปริเทวะ ดับสูญทุกข์โทมนัส เพื่อการบรรลุญายธรรม ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
D.III.250,281; A.III.284,325,452 . ที.ปา.๑๑/๓๒๑/๒๖๒; ๔๓๐/๓๐๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๗๙/๓๑๖; ๓๐๑/๓๖๓.
๑. อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ — control of the senses)
๒. โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา— moderation in eating)
๓. ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป — practice of wakefulness)
A.I.113. องฺ.ติก.๒๐/๔๕๕/๑๔๒.
๑. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร — formation of merit; meritorious formation)
๒. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย — formation of demerit; demeritorious formation)
๓. อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน — formation of the imperturbable; imperturbability-producing volition)
อภิสังขาร ๓ นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร ๓ ดู (๑๑๙) สังขาร ๓
Ps.II.206; Vbh.135. ขุ.ปฏิ.๓๑/๒๘๐/๑๘๑; อภิ.วิ.๓๕/๒๕๗/๑๘๑.
๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ ได้แก่ความติดใจ กระสัน อยากได้ — fire of lust)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ ได้แก่ความขัดเคือง ไม่พอใจ คิดประทุษร้าย — fire of hatred)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ ได้แก่ความหลง ไม่รู้ไม่เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — fire of delusion)
ไฟ ๓ อย่างนี้ ท่านสอนให้ละเสีย
D.III.217; It.92. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๙; ขุ.อิติ.๒๕/๒๗๓/๓๐๑.
๑. อาหุโนยัคคิ (ไฟอันควรแก่ของคำนับบูชา ได้แก่บิดามารดา — fire worthy of reverential gifts, i.e. mother and father)
๒. คหปตัคคิ (ไฟของเจ้าบ้าน ได้แก่ บุตรภรรยา และคนในปกครอง — fire of the householder, i.e. children, wife and dependents)
๓. ทักขิโณยัคคิ (ไฟอันควรแก่ทักษิณา ได้แก่สมณพราหมณ์ ท่านผู้ทำหน้าที่สั่งสองผดุงธรรม ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ — fire worthy of offerings, i.e. monks and other religious men)
ไฟ ๓ อย่างนี้ เลียนศัพท์มาจากไฟบูชาในศาสนาพราหมณ์ แต่ใช้ในความหมายใหม่ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมอย่างแท้จริง.
D.III.217; A.IV.44 ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๙; องฺ.สตฺตก.๒๓/๔๔/๔๖.
๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้, ประโยชน์ขั้นต้น — benefits obtainable here and now; the good to be won in this life; temporal welfare)
๒. สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป — the good to be won in the life to come; spiritual welfare)
๓. ปรมัตถะ (ประโยชน์สูงสุด, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน — the highest good; final goal, i.e. Nibbana)
Nd1 26. ขุ.จู.๓๐/๖๗๓/๓๓๓; ๔๕๕/๓๘๙.
๑. อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน — gain for oneself; one’s own welfare)
๒. ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น — gain for others; others’ welfare)
๓. อุภยัตถะ (ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย — gain both for oneself and for others; welfare both of oneself and of all others)
Nd2 26. ขุ.จู.๓๐/๖๗๓/๓๓๓; ๗๕๕/๓๘๙.
๑. อภิญญายธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมด้วยความรู้ยิ่ง, ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงเองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่น เพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงตาม ในธรรมที่ควรรู้ยิ่งเห็นจริง — Having himself fully comprehended, he teaches others for the full comprehending of what should be fully comprehended; teaching with full comprehension)
๒. สนิทานธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมมีเหตุผล, ทรงสั่งสอนชี้แจงให้เห็นเหตุผล ไม่เลื่อนลอย — He teaches the doctrine that has a causal bias; teaching in terms of or with reference to causality)
๓. สัปปาฏิหาริยธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมให้เห็นจริงได้ผลเป็นอัศจรรย์, ทรงสั่งสอนให้มองเห็นชัดเจนสมจริงจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์ — He teaches the doctrine that is wondrous as to its convincing power and practicality; teaching in such a way as to be convincing and practical)
ข้อ ๑ บางท่านแปลว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง
M.II.9; A.I.276. ม.ม.๑๓/๓๓๐/๓๒๒; องฺ.ติก.๒๐/๕๖๕/๓๕๖.
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม — canker of sense-desire)
๒. ภวาสวะ (อาวสวะคือภพ — canker of becoming)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา — canker of ignorance)
ดู (๑๓๕) อาสวะ ๔ ด้วย
D.II.81; S.IV.256. ที.ม.๑๐/๗๖/๙๖; สํ.สฬ.๑๘/๕๐๔/๓๑๕.
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม — canker of sense-desire)
๒. ภวาสวะ (อาวสวะคือภพ — canker of becoming)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ — canker of views or speculation)
๔. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา — canker of ignorance)
ในที่มาส่วนมาก โดยเฉพาะในพระสูตร แสดงอาสวะไว้ ๓ อย่าง โดยสงเคราะห์ทิฎฐาสวะเข้าในภวาสวะ (ม.อ.๑/๙๓)
Vbh.373 อภิ.วิ.๓๕/๙๖๑/๕๐๔. (***) โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ ดู (๙๖) พุทธโอวาท ๓.