มาฆะบูชา วันแห่งความรัก รักยังไงถึง"รักแท้"


มาฆะบูชา วันแห่งความรัก รักยังไงถึง"รักแท้"

วันมาฆะบูชา ถือว่าเป็นวันแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์ ของพระพุทธศาสนา แต่เราจะรักกันได้เราจะต้องให้อภัย และให้โอกาส
เพราะ ๒ ตัวนี้ สังคมไทยของเราขาดมาก

วันแห่งความรัก เราจะรักยังไง? รักกันด้วยการให้อภัยและให้โอกาส

ให้อภัย ให้โอกาส ตนเองและผู้อื่นยังไง?

เราทำผิด เราให้โอกาสตนเองไหม? คนบางคนไม่ให้อภัยตนเอง เขาเลยจมปลักอยู่กับความผิดนั้นตลอด เขาก็จะจมปลักอยู่กับความคิดที่ว่า เขาผิด ตอกย้ำ ซ้ำเติมว่าตนเองผิดๆ อยู่ตลอด

เราให้อภัยตนเอง ยังไง?

ถ้าเราทำผิด ให้คิดว่า "ผิด" เป็นสิ่งที่ทุกคนย่อมมีผิดพลาด แต่อยู่ที่ว่าบุคคลนั้นยอมรับ สำนึกผิดไหม แล้วยอมแก้ไข อยู่ตรงนี้

แต่ถ้าเราไม่สำนึกผิดแล้วแก้ไข นั่นแหละ คุณบาปหนา เป็นมิจฉา

ถ้าคุณสำนึกผิดแล้วแก้ไข นั่นแหละเป็นสัมมา เป็นสิ่งที่ถูกต้อง

ฉะนั้น เราต้องให้อภัยตนเอง ถ้าไม่ให้อภัยตนเอง ตอกย้ำความผิดตนเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อันตรายมาก จะเป็นไปก่อเรื่องใหญ่ได้

อย่างเช่น เราก็จะคิดว่า เอ๊า!! เมื่อเราทำผิดแล้ว ก็จะทำผิดต่อไป ก็จะขออีกซะหน่อยหนึ่ง พอทำไปก็จะขอทำผิดมากๆ ขึ้น ในเมื่อๆ ผิดๆๆ ก็ขอผิดต่อไป ดังที่มีในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ก็จะเอาปืนกราดยิงผู้คนตายเป็นเบลอ ก็ขอให้ตายไปด้วยกัน เผาบ้านเผาเมือง ฯลฯ

เราอย่าไปจมปลักกับสิ่งที่เราผิดมา

ทำไมเราต้อง "ให้โอกาส" ตนเอง?

เราไม่อยากเป็นคนใหม่ขึ้นมาเหรอ ถ้าเราไม่ให้โอกาสตนเองเราจะทำได้ไหม?

เราจะให้โอกาสตนเองเป็นคนใหม่ขึ้นมายังไง?

เราก็เข้าหาครูบาอาจารย์ สำนึกผิด แล้วขอให้ครูบาอาจารย์ช่วยเหลือ เดี๋ยวชีวิตของเราก็จะเจริญขึ้นตามลำดับ

ให้อภัยคนอื่น ทำยังไง?

ถ้าคนอื่นทำผิดต่อเรา เราไม่ให้อภัยแก่คนอื่น ก็จะกลายเป็นว่า เราบีบคั้ันเขา ก็จะทำให้เขาเป็นหนักขึ้น

ถ้าเราไม่ให้โอกาสเขา เขาก็จะบอกว่า เขาหมดสิ้นโอกาสแล้ว เขาก็จะทำอย่างประเภทคนสิ้นคิดได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายคนอื่น

ฉะนั้น เราอย่าไปบีบคั้นเขา ถ้าบีบคั้นเขาจนเหมือนกับหมาจนตรอก เขาก็จะสิ้นคิด แล้วก็จะนึกทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายผู้อื่น

ถ้าเราไตร่ตรองเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยดีๆ ก็เป็นเพราะว่า เขาขาด ๒ ตัวนี้คือ "ไม่ให้อภัย และไม่ให้โอกาส" จึงเกิดความสิ้นคิด แล้วก่อเรื่องใหญ่ น่ากลัวไหม!!...?

"ชำระจิตของตนให้ "สะอาด" "บริสุทธิ์" "ผ่องใส" ควรใช้ศัพท์นี้หรือไม่?

ทำจิตของตนให้สะอาด

คนทั่วไปก็จะคิดว่าจะล้างด้วยผงซักฟอกหรือล้างด้วยซันไลน์

ควรใช้ศัพท์ว่า "ให้อภัยและให้โอกาส" จิตใจเราก็จะผ่องใสไหม? จิตใจของเราก็จะไม่เคียดแค้น ไม่จองเวร เราไม่จองอยู่ในมิจฉา

เราไม่ควรใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ผ่องใส" หรือ "ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์"

ควรใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ปราศจากอคติ"

ตามสโลแกนหัวใจของวันมาฆะบูชา ก็คือ
๑. ไม่ทำชั่ว
๒. ทำดี
๓. ชำระจิตของตนให้ปราศจากอคติต่อธรรม

ถ้าเราไม่ให้อภัย ไม่ให้โอกาส เราก็จะอคติต่อธรรม เพราะว่าทุกคนเคยผิดพลาดมาทั้งนั้น นั่นชัดเจนเลยว่าเราควรทำอะไร

เพราะอะไรเราไม่ใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ผ่องใส หรือบริสุทธิ์" เพราะว่า "ผ่องใส" และ "บริสุทธิ์" เป็นศัพท์ที่กว้างเกินไป เป็นศัพท์ที่หลากหลายเกินไป พอพูดออกมาแล้ว ข้างในแปลได้ร้อยแปดพันเก้า คนก็จะงง เราจะต้องจี้ให้ชัดเจนไปเลย ตัวเดียวขอให้ทำให้ได้ไปเลย

"อคติ" แปลว่า ลำเอียง หรือ เข้าข้างตามใจตนเอง มี ๔ อย่างคือ
๑. ลำเอียงเพราะรัก
๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะกลัว
๔. ลำเอียงเพราะหลง

เพราะเรามีความลำเอียง เราจึงไม่ให้อภัย ไม่ให้โอกาส ถ้าเราไม่ลำเอียงเราก็ให้อภัยให้โอกาสได้

อย่าอคติต่อธรรม

คำว่า "ธรรม" นี้ หมายถึง ขบวนการก่อเกิดทุกสรรพสิ่งในธรรม หรือทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งธรรมชาติ ทั้งมนุษย์สรรสร้างและธรรมชาติสรรค์สร้าง คือ ธรรม ทุกสรรพสิ่งหนีไม่ออกจากธรรม

^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต   

7,679







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย