อย่าปรปักษ์ความชั่ว ควรเคารพให้เกียรติความชั่ว


อย่าปรปักษ์ความชั่ว ควรเคารพให้เกียรติความชั่ว

ทั้งๆ พระเสาร์ขี้โมโห แต่ทำไมเราถึงไหว้บูชาท่าน?

เพราะว่า สิ่งที่ท่านเป็น เราก็ต้องเคารพ ถ้าไม่เคารพก็จะเป็นเหตุหนึ่งให้เขาจะมาจงเกลียดจงชังเราได้

ถ้าอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักเลง หรืออัธพาล เราก็ต้องเคารพเขาอย่างนั้นหรือ?

เราก็ต้องเคารพเขา ไม่ว่าจะเป็นทางธิเบต สายวัชรยาน (Vajrayana) หรือแม้แต่บาหลี ฮินดูก็คิดเช่นนี้ ถ้าหากว่าเราไปผิดใจกับเขา เราจะได้รับโทษมากกว่า ถ้าเราไปต่อว่าเขาไม่ดีอย่างนั้นไม่ดีอย่างนี้ เขาก็จะแค้นเราได้ แต่ถ้าเราเคารพเขาก็จะไม่มี

พระเสาร์ท่านก็มีหน้าที่ แต่จิตใจท่านเป็นคนใจร้อน แต่ท่านก็มีหน้าที่หนึ่งในทางสายเทพ

แม้แต่องค์พ่อราหู ก็มีแนวคิดคล้ายกัน ทำไมชะตาเราเข้าสู่ราหู แล้วทำไมเราต้องเคารพราหู ก็เหมือนกัน

ก็เหมือนกับเราอยู่ในเขตอัธพาล ถ้าเราเคารพเขา เขาไม่เป็นศัตรูของเรา ย่อมดีกว่าที่จะเป็นศัตรูกัน

พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก แสดงว่าเรามีเคราะห์ เราจะต้องเคารพสิ่งนั้นเหรอ เคารพเคราะห์นั้นเหรอ?

ใช่แล้ว ถ้าเราไม่ปฏิเสธ และเราไม่เป็นปรปักษ์กัน เราย่อมดีกว่า ใช่ไหม?

ยกตัวอย่าง เราเดินไปเจอก้อนหินที่ใหญ่ เราหลบก้อนหินนั้นดีกว่าไหม หรือว่าเราจะทุบก้อนหินนั้น เราจะไปบอกว่าคุณมาขวางทางฉันทำไม คุณต้องหลีกทางให้ฉันสิ

ถ้าเราไปเตะก้อนหินนี้ ขาเราก็จะเจ็บ

หรือแม้แต่มีดที่จะมาบาดเรา เราเคารพเขา มีดก็ไม่มาบาดเรา ก็เหมือนกับโควิด เราเคารพเขา เขาก็ไม่มาทำอันตรายต่อเรา

"มีด" เรารู้ว่ามันจะบาดเรา ถ้าเราวางระเกะระกะ หรือนำมาควงเล่นอย่างหวาดเสียว อย่างนี้อาจจะบาดเราสักวันหนึ่ง เมื่อเรารู้อย่างนี้ เราก็ไม่นำมาเล่น ถ้าจะใช้ ก็ใช้อย่างระมัดระวัง นี่แหละ เราเคารพมีด หรือเคารพในคุณสมบัติของเขา ถ้าจะใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท ความหมายของคำว่าเคารพ ณ ที่นี้ หมายถึงอย่างนี้

นี่คือวิถีแห่งธรรมที่ถูกต้อง

นี่แหละ เราเคารพซึ่งกันและกัน

แม้ความชั่วร้าย เราก็ต้องเคารพเขาเหมือนกัน

แล้วเราจะเคารพความชั่วร้าย ยังไง?

เราก็ต้องเคารพความชั่วร้ายว่า

ความชั่วร้ายเขาก็มีสิทธิ์อย่างหนึ่ง ที่จะอยู่ในโลกใบนี้
และธรรมชาติเขาสร้างมา

คำว่า "เคารพ" ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเราต้องบูชาความชั่ว อย่างนี้ไม่ใช่ หรือไปทำตามความชั่วอย่างนี้ก็ไม่ใช่

เราเคารพความชั่ว แต่ว่าเราไม่ได้นอบน้อมสวามิภักดิ์ต่อความชั่ว


เป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันดีกว่า เป็นสัตว์โลกเดียวกัน
หรือว่าอยู่ในธรรมชาติเดียวกัน คิดอย่างนี้จะดีกว่า ย่อมจะดีกว่า
ซึ่งเราไม่เป็นปรปักษ์ต่อกัน ไม่เป็นศัตรูกัน
เราไม่เป็นปรปักษ์ต่อความชั่ว ต่อความไม่ดี และเราไม่สวามิภักดิ์ต่อความไม่ดี

ยกตัวอย่าง เราเป็นปรปักษ์ต่อความชั่วความไม่ดี เช่น เราไปเตะก้อนหิน

รู้ว่าเตะก้อนหิน จะทำให้ขาเราเจ็บเลือดออก พฤติกรรมเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ดี แต่เรายังเป็นปรปักษ์อยู่ เราก็จะไปเตะ ขาเราเจ็บแน่ๆ แต่ถ้าเรารู้ว่าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่ดี เป็นความชั่ว เราเคารพเขา ให้เกียรติเขา ไม่ไปเตะ ขาเราก็ไม่ต้องเจ็บ

ยกตัวอย่าง เหล็กร้อนๆ แดงๆ เรารู้ว่ามันร้อน เรายอมรับในสิทธิ์ของเขาว่าเขาร้อนจริง เราไม่เอามือไปจับ มือเราก็ไม่ต้องเจ็บ แต่ถ้าเรามีความคิดเป็นปรปักษ์ คือ คิดตรงกันข้ามว่า จับแล้วไม่เจ็บ ถ้าเราไปจับจริง ร้อนมือแน่ มือพุพองแน่นอน

7,528







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย