โอม (ॐ) คำนี้มีความเป็นมาอย่างไร?
โอม (ॐ) คำนี้มีความเป็นมาอย่างไร?
คำว่า "โอม" (ॐ) (AUM) นี้ มาจากเสียงท้ายพยางค์ ๓ เสียง คือ "มะ" "อะ" "อุ" มาจากเทพเจ้า ๓ พระองค์ ได้แก่ พ่อพรหมธาดา พ่อศิวะ (Shiva) และพ่อวิษณุนารายณ์ (VishnuNarai) เมื่อ ๓ คำนี้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว จึงประกอบสำเร็จเป็นโอม ซึ่ง ๓ คำนี้แยกแยะได้ดังนี้
มะ (म) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (ब्रह्मा) (มะ) – พลังแห่งการก่อเกิดทุกสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
อะ (अ) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (शिव) (อะ) – พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
อุ (उ) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (विष्णु नारायण) (อุ) – พลังแห่งการดำรงรักษา
ซึ่งคำว่าโอมนี้ ทางพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าเป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ถือว่าเป็นมนตร์เป็นคาถาสำหรับสวด ก่อนที่จะสวดคาถาหรือมนต์อะไร ก็มักจะขึ้นต้นด้วยโอมก่อน เช่น โอม พรหมมา รามะ มะสะ ยังติ เป็นต้น
สำหรับทางฝ่ายพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ได้นำคำเหล่านี้มาเลียนแบบใช้ ให้หมายถึงพระรัตนตรัย คือ
อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า)
อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด)
ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์)
เหล่าพุทธบริษัทนับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ใช้สวดมนต์และท่องเป็นคาถาปัดเป่าเคราะห์ภัย และสิ่งต่างๆ เช่น โอมเพี้ยงขอให้หายเร็ว ๆ นะลูก, โอมเพี้ยง จงปลอดภัย เป็นต้น
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต