การพัฒนาเด็ก


การพัฒนาเด็ก

เด็กมีอารมณ์ไหม? มีแน่นอน

เด็กมีอารมณ์ตั้งแต่เกิดก็แหกปากแล้ว อารมณ์ทั้งนั้น บ่งบอกไปถึงอารมณ์เด็กคนนี้เขา ถ้าหากว่าวิบากเก่า หรือระหว่างตั้งครรภ์ แม่มันเจอกับสิ่งเลวร้ายก็จะปลูกฝัง ออกมา โอ้โห้ เขาแรง

งั้นจะพัฒนาเด็ก พัฒนาอะไรล่ะ คนเดี๋ยวนี้บอกพัฒนาเด็ก ยังไม่รู้ว่าพัฒนาอะไรเลย เราว่าพัฒนาอะไรสำคัญที่สุด ก็พัฒนาอารมณ์นี่แหละ

โอ้ ... ไม่เกี่ยว!!! ต้องให้เขา “รู้จักใช้ความคิดพิจารณา” อารมณ์ไปพัฒนาไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้มีความคิดพิจารณา แล้วเราจะเอาอะไรไปพิจารณา ดูแลอารมณ์

ดูแลอารมณ์ไม่ได้ เพราะอารมณ์เป็นตัวหนึ่ง ไปตามสัญชาตญาณแห่งการทะยานอยาก เขาเกิดมาต้องมีสัญชาตญาณในการอยาก อยากเพื่ออยู่รอด พออยากแล้วมันละโมบเกิน

ฉะนั้น จะเอาตัวอะไรล่ะ ก็ต้องเอาตัวความคิดสัมปชัญญะ รู้จักคิดพิจารณาให้มันพอเหมาะ สมดุล

นี่คือ หัวข้อหลักการในธรรม เอ็งรู้หลักการในธรรม เรียบร้อย ง่าย กี่หมื่นคำถามก็ง่ายนิดเดียว แต่ถ้าไม่รู้หลักการในธรรมตรงนี้ มันจอด มันถามคำถามมา ๓ คำถาม ก็จอด แต่ถ้าเข้าใจหลักธรรม หนีไม่ออกจากหลักธรรม เข้าใจ? เราต้องรู้จักความเป็นมาของเขา

รู้ต้นเหตุ ตามที่พระพุทธเจ้าบอก รู้ว่ามันเป็นอะไร เหตุ มันทำไมจึงเป็นเหตุเช่นนี้ได้ ธรรมชาติจริตเป็นเช่นนี้

ธรรมชาติจริตตัวนี้ ทำไมต้องมีทะยานอยาก ทุกอย่างจะมีสัญชาตญาณอยู่รอด อยากอยู่รอด อะไรที่ทะยานอยาก แล้วมันเกิน ทีนี่ ทุกคนอยากอยู่รอด อยากได้ เหมือนกันทุกคน อยากหาเงิน แต่วิธี มีไหม? คนนี้ใช้วิธีอะไร มันก็ต้องมีตัวสติสัมปชัญญะ มาเป็นตัวพิจารณา วินิจฉัย

๓ วอ.
๑. วิจัย คือ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ แยกแยะ จำแนก
๒. วินิจฉัย คือ นำข้อมูลที่วิจัยนั้นมาทำความเข้าใจอย่างปราณีตให้ถ่องแท้และประจักษ์
๓. วิจารณ์ คือ นำข้อมูลที่วินิจฉัยมาเปรียบเทียบ เทียบเคียง วิเคราะห์ความแตกต่างกันว่า ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิดประการใด

๓ พอ.
๑. พิจารณา คือ เราต้องการสิ่งไหน ไม่เอาสิ่งไหน ได้แค่ไหน จะเอายังไง จะทำอย่างไรดี
๒. มหาพิจารณา คือ จะหาข้อมูล ธรรมะ ปรัชญา วิชาการ อื่นๆ มาสนับสนุนหรือบั่นทอน
๓. พิจารณาอย่างรอบคอบ คือ เอาสิ่งที่เราพิจารณานั้นมาทบทวนให้ละเอียดถี่ถ้วน จะส่งผลถึงปัจจุบัน และอนาคตจะเป็นอย่างไร ตรงนี้ควรทำ แค่ไหน อย่างไร

๑ ยอ.
๑. โยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาตั้งแต่ต้นเหตุไปถึงผล ผลไปถึงเหตุ ให้ครบวงจรตามภาวะจริงแท้แห่งธรรม และนำทั้ง ๖ ข้อข้างต้นนี้มารวมกันและทำให้สมบูรณ์

เราต้องมีตัวพวกนี้ จึงจะไปพัฒนากลไกการควบคุมอารมณ์ อารมณ์เป็นตัวเฉยๆ นะ ตัวรับรู้เฉยๆ เราเอาอะไรไปเติมต่างหาก สมมติเราเติมตัวทะยานอยาก เขาก็จะทยานอยาก อยากเพื่อละโมบ เขาก็จะยิ่งละโมบ ถูกมั้ย

แต่ถ้าเรา มีตัวสัมปชัญญะตัวนี้ มาเติมตัวคำว่า ชอบธรรม สมควร เหมาะสม พอดี เขาก็จะเกิดความสมดุลตามวาระแห่งภูมิ วิบากแห่งธรรมนั้นๆ แห่งวาระธรรมนั้นๆ

เราต้องจำหลักตรงนี้ หลักนี้อยู่ในไหน อยู่ในธรรม ทีนี้เรารู้ตรงนี้ เราสามารถที่จะทำกับเด็ก อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่ก็ได้ แม้แต่สัตว์

ในหลวงเข้าใจ ในหลวงจึงบอกว่าหมาจรจัดนี้เอามาฝึกได้ ในหลวงเข้าใจข้อนี้ เขาถึงรู้มองเห็นหมาว่า ทำได้ เอาหมามาฝึก เป็นหมาที่มีคุณภาพ ทั้งๆ เป็นหมาจรจัด­

พอเราเข้าใจหลักตรงนี้นะ เราเอาไปใช้ไม่เฉพาะเด็กนะ ใช้ได้ทุกสัตว์โลก ทุกสัตว์โลกหมายความว่าอะไร หมายความว่า มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ยักษ์ มาร ได้หมดนะ เข้าใจมั้ย?

สามารถเปลี่ยนแปลงมารกลับใจอะไรได้ นี่คือ ภาวะหนึ่งของหลักธรรม หลักธรรมต้องมีข้อนี้ ถ้าไม่มีข้อนี้ ทุกสิ่งที่เกิดมา ก็จะไปทะยานตามจริต หรือเรียกว่า สันดานดิบก็ได้ มันไปหมดเลย แต่ถ้ามีหลักธรรมตรงนี้ ก็จะดึง บุคคลตรงนั้นดึงได้ก่อน ที่ไม่มีโอกาสอย่างองคุลิมาล ไปเจอก่อน ต้องเป็นมารใช่มั้ย พระพุทธเจ้าจึงไปปลุกตัวนี้ขึ้นมา ใส่ตัวนี้ให้เขา เขาก็รู้จักพิจารณา เขาก็ดึงกลับ เข้าใจยัง

นี่กลไกแห่งการเกิด พัฒนา คำว่า ยักษ์ มาร ตัวเลวร้าย หรือตัวดี เอาง่ายๆ ว่า เป็นตัวหนึ่งที่สร้างคำว่า สัมมามากขึ้น มิจฉามากขึ้น นี่คือหัวใจของหลักธรรม ของธรรม

ซึ่งเรารู้ตรงนี้ ตรงนี้คือธรรมะที่แท้จริง ที่ไปปฏิบัติโน้นนี่ เป็นธรรมะด้านนอก เปลือกทั้งนั้นเลย อยากเก่งได้หนึ่ง สอง ก็ตันล่ะ ถ้าไม่เข้าใจหลักถึงตรงนี้ เอ็งต้องเข้าใจหลักตรงนี้ ถึงจะเข้าใจสอง ถึงสิบสองได้ ให้ครบวงจร ไม่งั้นเอ็งไปไม่ได้ มันตัน

แม้แต่เด็กก็ต้องสอนการพิจารณา เขาจะได้เอาไปใช้ควบคุมอารมณ์ ไปดูอารมณ์ อารมณ์จะใช้ยังไง มันเกินไปจะเอาออกยังไง อารมณ์น้อยไปก็ไม่ได้ เอาอะไรไปเติม

สมมติว่าเราเอาความเฉื่อยชาเติมลงไป อารมณ์เฉื่อยชาไม่อยากทำ เหมือนกับน้องสาใหม่ๆ (เจออุบัติเหตุ) เราต้องเติมความกระตือรือร้นลงไป เห็นมั้ย เราต้องดูภาวะธรรม วาระธรรม หรือภาวะตรงนั้น เขาขาดอะไร เขาต้องการอะไร

เห็นหรือยัง คนทั่วไปไม่เข้าใจถึงหลักตรงนี้ แล้วเขาไปเข้าใจแต่ข้างนอก เขาตัน ไม่เชื่อลองไปดู ไม่ว่าสำนักไหนจะตันอยู่เรื่อย ถ้าไม่เข้าใจหลักตรงนี้ คือ ต้องสอนการพิจารณามาใช้กับอารมณ์

ทุกครั้งเด็กเกิดมาปุ๊บนี่ ทุกคน ทุกธรรมชาติ ทุกจริต ต้องการความอยากรอด ต้องการความอยาก อยากที่จะอยู่รอด จึงเอาความอยากที่จะอยู่รอดมาเติมใส่อารมณ์ของเขา อารมณ์ของเขาก็จะเต็มไปด้วยความอยากได้ ละโมบต่างๆ แต่ถ้าเติมมากไปก็จะเป็นคนละโมบ โลภมาก

ที่นี้ เราจะทำยังไง คือ ให้เด็กมีสัมปชัญญะ ให้เด็กมีความคิดพิจารณาขึ้นมา พอพิจารณาทำให้เกิดความสมดุล ให้มันพอดี ทุกคนมันต้องมีความอยาก แต่อยากให้มันอยู่ในความชอบธรรม สมควร เหมาะสม ฉะนั้น ก็จะไม่อยากเกิน ไม่ต้องเข่นฆ่า

อะไรที่อยากเกิน มันจะต้องแย่งชิง แข่งกัน นี่คือหลักธรรม

แล้วเราต้องเอาอะไรไปปรุงอารมณ์ ต้องมีสัมปชัญญะ รู้จักการพิจารณา มีอกเขาอกเรา จิตอารมณ์ตัวนั้นก็จะกลายเป็นสัมมา ก็จะไม่เป็นมิจฉาล้วนๆ เห็นยัง ก็จะไม่เป็นจิตอารมณ์ที่ร้ายกาจ จะเอาแต่แย่งชิง จะเป็นจิตที่มีอารมณ์เผื่อแผ่ เห็นใจ นี่คือขั้นตอน

ตรงนี้คือหลักการใหญ่ สำคัญ

อารมณ์คือ ตัวรับรู้ธรรมชาติ จะเอาอะไรไปปรุงอารมณ์ก็จะเป็นตัวนั้น เช่น ต้องการอยู่รอด ทุกคนเกิดมาต้องการอยู่รอด เกิดความต้องการ “ตัวอยาก” แย่งชิง ทุกอย่างได้มาเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ตัวนี้เขาก็จะปรุงต่อ คนอยู่รอดจะต้องโลภมาก ละโมบ ก็จะเอามากๆ ก็จะแย่งชิงกัน เราจะแก้ตัวนี้คือ ต้องให้มันเกิด ต้องเอาสัมปชัญญะเข้ามา เอาสัมปชัญญะมาทำไม เอาไว้เพื่อการพิจารณาความชอบธรรม สมควร เหมาะสม ความเห็นอกเห็นใจ มีอกเขาอกเรา มีพรหมวิหาร ๔ จะเอาสายสัมมาต่อ

เด็กเราต้องสอนให้รู้จักคิดตรงนี้ เอามาใส่อารมณ์ของเขา พอตัวนี้เข้าไปในอารมณ์ของเขา จึงไม่ถูกตัวอยากล้วนๆ ครอบครองไป ก็จะมีตัวนี้พิจารณา เด็กคนนี้ก็จะอยู่รอด แต่ไม่ถึงกับเลวร้าย ไม่ถึงกับที่จะต้องฆ่าคน ต้องแก่งแย่งชิงกัน เพราะเขามีตัวนี้เข้าไปป้องกันรู้จักคิด

ฉะนั้นเราต้องมาพัฒนาตัวนี้ ตัวสัมมาตัวนี้ ให้อีมีมากๆ ขึ้นๆ ในใจเขา พอเข้าไปมากๆ ขึ้นในจิตของเขา เขาก็จะควบคุมอีกฝั่งหนึ่งได้

คือยังเป็นธรรมชาติอยู่ ยังต้องกิน ต้องใช้ ต้องละโมบอยู่ ยังต้องอยาก ต้องมีกิเลสอยู่ แต่เขาจะไม่ใช้เกินไป เกินความชอบธรรมสมควรเหมาะสม อีก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย

เราต้องมีตัวแม่ให้เขาก่อน เวลานี้เราสอน ส่วนใหญ่ไปยัดตัวลูก เด็กเอ๋ย เด็กดี จงทำดี ดีอะไรไม่รู้เรื่อง จงทำดีๆ แต่เวลานั้นกูท้องหิว ต้องขโมย เขาใช้วิธีง่ายๆ

แต่ถ้าเด็กคนนี้ถูกปลูกฝังวัคซีนลงไป ท้องหิว ฉันต้องไปทำงาน ฉันจะต้องไปขอ เห็นมั้ยเด็กจะมีความคิดอีกอย่างไปในทางดี อย่างนี้เด็กรู้จักปรุงแต่งความคิดไปในทางดี เขารู้จักพิจารณา รู้จักตัดสินใจ ถ้าเราไม่สอนอย่างนี้ เขาไม่มีเหตุอันควร เขาไม่มีระบบความคิด เขาต้องไปตามทะยานอยากตัวนั้น เข้าใจมั้ย

เราต้องรู้จักตนสายไปปลายเหตุให้เรียบร้อยก่อน ถึงเราจะต้องมาหาหนทาง หามรรค ตรงนี้เราเข้าใจถ่องแท้มั้ย มีคำถามไหม

อันนี้คือต้นเหตุ ต้นตอ ของคน จนไปถึงผู้ใหญ่

ตรงนี้เป็นคัทเอาท์ในการพิจารณาในทางบวก ทางดี

โดยธรรมชาติตัวลบจะแรงกว่า ตัวบวกนิดเดียว ทีนี้เราจะเสริมตัวบวกเขายังไง ให้รู้จักคิดเป็น เวลานี้เอาเด็กเป็นศูนย์กลางให้รู้จักคิด ไม่รู้จักสอนเขายังไงว่า รู้จักคิด เลยกลายเป็นว่าเด็กเกิดอหังการกันไปหมด ใหญ่กว่าครูแล้ว เห็นมั้ย นี่อยากได้ แต่ไม่ศึกษาอย่างถ่องแท้ ตัวอริยสัจ ๔ เอาแต่เป็นวิธีไปเลย แต่ต้นแห่งเหตุมันไม่รู้ กลายเป็นว่า เอาวิธี แต่เอาอะไรไปเสริมวิธีที่ผิด และผิดวิธี

เหมือนกับคนบอกว่า ไปนั่งสมาธิแล้วมีปัญญา เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ฉันไม่ไปโรงเรียน ไปเรียนทำไม ฉันนั่งสมาธิดีกว่า ปัญญาฉันจะมีเยอะแยะ

ฉะนั้น เราจะไปรู้ต้นตอก่อน เหตุการเกิดอะไรต่างๆ นี่คืออริยสัจ ที่แท้จริงเลย สมุทัย คือ ต้องรู้ว่ามันคืออะไร หลังจากนั้น เราจะต้องดูว่า เอาวิธีอะไรไปแก้ ต้องเข้าใจตรงนี้

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,521







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย