อุเบกขาอย่างเข้าใจ


อุเบกขาอย่างเข้าใจ

เราจะปฏิบัติอุเบกขาได้อย่างไรจึงจะถูกต้อง อุเบกขา คือ เข้าใจธรรม ไปตามธรรม

อุเบกขา แปลว่า "ปล่อยวาง" แปลอย่างนี้ "ผิด" เพราะว่าไม่ทันไรแล้วบอกว่าเราทำได้ แล้วเราทำได้มั้ย ถ้าเราไม่รู้จักธรรม ถ้าบอกว่าเป็นกลาง แล้วก็จะมาถามว่าตรงไหนเป็นกลาง เอาอะไรมาวัด ก็ต้องแปลว่า "รู้ธรรม เข้าใจธรรม เป็นไปตามธรรม วิถีแห่งธรรมนั้นๆ"

ถ้าเราคิดว่านี่คงเป็นไปตามธรรมแล้วจะทำยังไงให้รู้ว่าเป็นธรรม เราก็มาดูที่ผล ผลออกมาเป็นอย่างไร ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ใช่ธรรม เราก็ต้องทุกข์ของเรา ถ้าเราบอกว่าไฟไม่ร้อน แล้วลองเอามาจี้มือของเราดู เราจะไปตามธรรมมั้ย ถ้าไปตามธรรม มันร้อนเราก็หลีกเลี่ยงมัน ถ้าเราบอกว่าไม่ร้อนเราก็เอาไฟจี้ไปที่มือสิ ก็จะเจ็บปวด นี่แหละ ง่ายนิดเดียว เรารู้ว่ามันร้อน เราไม่เอามือไปจับ นี่แหละ อุเบกขา เราไม่บ้า ไม่ทู่ซี้ไปจับ

นี่แหละอุเบกขาที่แท้จริง อันนั้นแหละอุเบกขาโม้ ทำเป็นตัวเองมีอุเบกขาแล้วจะขึ้นภูมิจะสำเร็จภูมิ นี่แหละติ้งต้อง ใส่ชุดสีขาวกันหมด พอเอาหนูมาวางกลางวง ร้องกรี๊ดกร๊าดกันหมด วิ่งกันหมด นี่แหละวิ่งกันทำไม วิ่งเพราะขาดอุเบกขาใช่มั้ย พอมีคนมาต่อว่าอย่างนี้ ก็เสแสร้งกลับมาล่ะ ทำเป็นวางมาดอย่างดีไม่กลัว วิธีแก้วางมาดทำอย่างไง ก็จับหนู แมลงสาบโยนใส่เลย ถ้าแน่จริงอย่าเต้น แค่ยกเท่านั้นแหละ บอกเลย อย่านะ!! อย่านะ!

เรากลัวเพราะไม่รู้ ถ้าเรารู้ก็ไม่กลัว เพราะเราไม่รู้เลยอุเบกขา เราจึงทำไม่ได้ ถ้ารู้ ต้องรู้ให้ถูกต้อง เพราะเขารู้อุเบกขา รู้อุเบกขาแบบปลอมๆ ไม่รู้จริง ถ้าถามว่าไม่ทำตามธรรมจะได้มั้ย ก็ได้ ก็ไฟตามธรรมมันร้อน ถ้าเขาแน่จริงก็ลองไปจับไฟดูสิ ถ้าทู่ซี้ไปจับก็จะเผามือเรา

เราอยู่ภูมิชั้นไหนควรปฏิบัติตามภูมินั้น ถ้าไม่ทำตามภูมิ สับสนตัวเองตายเลย ตัวนี้สำคัญมาก คือ ภูมิธรรมต้องถึง ถ้าไม่ถึงก็จะเอามายุ่งเกี่ยวอยู่เรื่อยแล้วจิ๊กซอว์วุ่นวายตายห่า จิ๊กซอว์คนละแผ่น ถ้าเอามายัดรวมกันก็คนละเรื่อง มันเข้าล๊อคเดียวกันแต่มันคนละภาพ ออกมาคนละเรื่อง แต่ลงตัวหมด แต่กลายเป็นจิ๊กซอว์ผิดคิว มันผิดแผ่น จิ๊กซอว์เป็นของแผ่นC แล้วเราเอามาเป็นแผ่นA แล้วเอาแผ่นCมายัดแผ่นAแต่มันตัดเท่ากันหมด ตัดรูปแบบเดียวกัน เข้าได้หมดแต่พอมาดูภาพกลับไม่ได้เรื่อง นี่แหละคนหลงกลเยอะที่สุด หลงรูปธรรม เพราะตัดจิ๊กซอว์เหมือนกันแต่ภาพไม่เหมือนกัน

สมมติว่าเราเอาภาพสัตว์ เอาภาพหมี อันนี้เป็นภาพวิว เราตัด ๑๒ ชิ้นเหมือนกัน ทั้งสองอย่าง เหมือนกันเป๊ะเลย แล้วเราเอาต่อกันได้หมดเลย แต่รูปออกมาไม่เหมือนกัน ตรงนี้แหละหลอกชาวบ้านทั้งหลาย เราทั้งหลายหลงกลตรงนี่แหละทั้งนั้น มารจะมาหลอกก็เอาตัวนี้มาหลอกเรา เราจะหลงกลอันนี้ จิ๊กซอว์ต่อเหมือนกันหมดแต่ผลออกมาไม่เหมือนกัน แล้วก็คุยว่าเราก็ทำนะ เราเอามาต่อนะ แต่ต่อมารูปคนละอย่าง แต่ในเนื้อไม่เหมือนกัน พอผลออกมาจิ๊กซอว์เหมือนกันแต่ภาพคนละอย่าง พอเราดูภาพตรงนี้สับสนมากเลย เพราะเอาจิ๊กซอว์คนละอย่าง

ถ้าเอาตรงยัก ยักเท่ากันหมด มี ๑๒ ชิ้น ทั้ง ๑๒ ชิ้นนี้เข้ากันได้หมดเลย พอเข้าไปได้หมด แต่ถ้าเราไปเอามาผิด นี่แหละเป็นที่มาของคำว่า รู้ แต่ไม่รู้เนื้อ ไม่รู้ซึ้ง เห็นเป็นจิ๊กซอว์ขนาดเดียวกัน แต่ไม่รู้ว่าจิ๊กซอว์มีเนื้อ มีความหมายอะไร

การปฏิบัติธรรมหลงทางตรงนี้มากเลยเวลานี้

ยกตัวอย่าง การอธิบายตัณหา กับกิเลส เวลานี้ก็ปวดหัวมากแล้ว เพราะอธิบายไม่ถูก (ต้องตัดตัณหา ทำลายตัณหา อย่างนี้ไม่ถูก เพราะว่าเราไม่สามารถจะไปทำลายหรือฆ่าตัณหา ฆ่ากิเลสได้ เพราะตัณหากับกิเลสเป็นของธรรม ต้องส่งคืนสู่ธรรม) เห็นหรือไม่จิ๊กซอว์เหมือนกัน แต่ถ้าอธิบายไม่ตรงกับธรรมแล้วเราจะไม่เข้าใจ ทำให้ฝรั่งงงเลย ถ้าเราจัดจิ๊กซอว์ถูกต้อง ฝรั่งเข้าใจเลย

ทำไมตรงนี้ยังไม่ยอมเข้าใจ เพราะว่าเราหลงรูปไง

บางคนก็บอกว่า ฉันทำดีมาตลอดทำไมต้องรับผลไม่ดีอย่างนั้น แล้วคำว่าทำดีตลอดของเขามันดียังไง มันดีแต่ตัวจิ๊กซอว์เหมือนกัน แต่ภาพมันคนละอย่าง มันไม่ถูกในเหตุผล เช่น คนอยากรวย แล้วเราสายยางไปถวายวัดแล้วจะรวย อย่างนี้รวยไม่ได้ ถ้าอยากรวยต้องเอาสายยางไปขาย ถึงจะรวย นี่แหละ จิ๊กซอว์คนละตัว

เหมือนกับคุณสมหญิงตื่นเช้าตี ๔ ขึ้นมาสวดมนต์ไปถึง ๗ โมงเช้า อยากหลับแล้ว พอลูกค้ามาซื้อของก็นั่งสัปหงก แล้วใครอยากจะมาซื้อของ ซื้อสินค้า

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,537







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย