กรรม ๗ สาย


กรรม ๗ สาย

๑. กรรมโลภะ โลภะ แปลว่า ความอยากได้ไม่เป็นไปตามภาวะแห่งธรรม หมายถึง

ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น

ความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น


ลำดับขั้นของความโลภ
๑. โลภเพราะความจำเป็น
๒. โลภ ละโมบมากขึ้นไป ทั้งที่มีกินแล้ว มีใช้แล้ว
๓. โลภ เพราะกลัวเสียเปรียบ มีความตระหนี่ถี่เหนียว


๒. กรรมโทสะ โทสะ แปลว่า ความไม่ได้ดั่งใจ หมายถึง ความคับข้องใจ อาฆาต แค้น พยาบาท โกรธ
โทสะ หมายถึง แรงปรารถนาที่ควบคุมไม่อยู่อย่างยิ่งยวด


ก. สายมุ่งทำร้ายคนอื่น

๑. เคืองใจกัน (ปฏิฆะ) คือ การขัดใจกัน หมองใจกัน เช่น เรามีคติไม่ชอบอย่างหนึ่ง แต่เขาดันมาทำสิ่งที่เราไม่ชอบ แม้จะเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรามองว่ามันไม่ธรรมดา เช่น เรากำลังกินข้าวอยู่ แล้วมีเพื่อนมาจักจี้ บีบที่หัวไหล่ ทำให้เราแทบจะสำลัก รู้สึกล่วงล้ำสิทธิตนเอง ทำให้ไม่พอใจ แสดงความไม่พอใจออกมา และอีกกรณีหนึ่ง เขาหยิบปากกาของเราไปโดยไม่บอกเรา แล้วเราไม่ชอบใจ ขัดเคืองใจ ทั้งๆ เรื่องนิดเดียว แต่เป็นเพราะว่าเรามีอคติที่ไม่ชอบเรื่องแบบนี้ เราจึงเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ จึงแสดงความไม่พอใจออกมา ไม่ว่าเรื่องอะไรแต่ละคนมักจะมีอคติที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อเราเห็นว่าเพื่อนหรือใครไม่ชอบสิ่งใด เราก็ไม่ควรที่จะไปแหย่ หรือไปทำสิ่งนั้น แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม แต่ในความคิดของเขาแล้วเป็นเรื่องใหญ่

๒. คับข้องใจ คือ เกิดจากความหงุดหงิดกระวนกระวายใจ กลุ้มใจ ต่อต้านซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อมีผู้ขัดขวางไม่ให้เราดำเนินงานให้สำเร็จ เราอาจคับข้องใจและแสดงความก้าวร้าวออกมาได้ทางสีหน้า กิริยา และวาจาน้ำเสียง และอีกกรณีหนึ่ง เขาบอกว่าใช่ แต่ฉันบอกว่าไม่ใช่

๓. จูงครอบงำ บังคับให้เป็นไปตามความคิดของตน เอาตามความต้องการของตนเอง คือ เมื่อตนตัดสินใจสิ่งใดแล้ว ก็จะพยายามจูงชักนำให้คนอื่นเห็นคล้อยตามความคิดของตน

๔. มุ่งร้ายกัน คือ คิดที่จะเอาคืน หรือคิดที่จะทำร้ายแต่ยังไม่ได้ลงมือ เพียงแต่วางแผนที่จะทำร้าย

๕. พยายาท คือ ความปองร้ายผู้อื่น ความผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น คิดหาอุบาย วิธีการ แผนการที่จะทำให้ผู้อื่นประสบความพินาศ ย่อยยับ โดยความคิดปองร้ายของผู้มุ่งจะทำร้ายชีวิตของผู้อื่น เช่น สาปแช่งต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้, ผมจะฆ่าคุณให้ได้สักวัน, ครอบครัวคุณจะต้องเดือดร้อนเพราะผม คอยดูนะ..., ฉันจะเล่นงานคุณคอยดูนะ

๖. อาฆาต คือ กล่าวโทษจะทำร้าย

๗. แค้น คือ ่ควบคุมไม่อยู่จะทำร้าย, เจ็บใจไม่หายจะเอาคืน

๘. กล่าวร้าย ทำร้าย คือ ทำร้ายเลย ลงมือทุบ ตี เล่นงาน

๙. วางแผน ให้ร้ายฝ่ายตรงข้าม อย่างต่อเนื่อง

๑๐. จองเวร คือ กัดไม่ปล่อย

๑๑. ผูกพัน ทำร้าย สังเวย (ข้ามภพข้ามชาติ)



ข. สายมุ่งทำร้ายตนเอง

๑. คับข้องใจ คือ ตนเองทำไมต้องเป็นเช่นนี้

๒. คร่ำครวญ คือ ร้องไห้ ไม่ใคร่หยุด, ร้องร่ำรำพัน การคิดตัดสินใจแล้วเกิดความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจ คิดซ้ำ ๆจนคิดหนักขึ้นก็จะร้องไห้ พร่ำบ่น ยิ่งคร่ำครวญ ใจยิ่งเหนื่อย ในสมองจะคิดอะไรไม่ออก จะรู้สึกเหมือนอับจนปัญญา เจอปัญหาก็เหมือนหมดหนทางแก้ไข มืดแปดด้าน ๑ นาทีแห่งการคร่ำครวญ คือ ๑ นาทีแห่งการนับถอยหลัง

การคร่ำครวญก็เหมือนกับการปิดกั้นตนเอง ปิดกั้นความเจริญทางสติปัญญา ยิ่งคร่ำครวญมากเท่าไหร่ก็ยิ่งบิดเบือนการรับรู้ความจริง ซึ่งทำให้เสียเวลา กว่าจะหลุดออกมา บางทีก็เสียเวลานานมาก เหมือนหลงทางตอนมืดๆ เราต้องหากัลยาณมิตรหรือครูบาอาจารย์ฉุดดึงเราออกมาจากมุมมืดวังวนแห่งการคร่ำครวญนั้น เช่น ทำไมเป็นเช่นนี้ด้วย ทำไมเราต้องโดนอย่างนี้ด้วย

๓. รันทด คือ สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด เช่น กล่าวตนเองว่าบุญน้อย, กล่าวร้ายตนเอง, แช่งตนเอง

๔. แช่งตนเอง คือ ทำอะไรก็ไม่ขึ้น

๕. เบื่อภพ เบื่อชาติ คือ เบื่อหน่ายเพราะอารมณ์ อยากเปลี่ยนภพชาติของตน ฆ่าตัวตาย ซึ่งการเบื่อหน่ายในที่นี่แตกต่างจาก นิพพิทา ความเบื่อหน่ายทางโลก เพราะเป็นการเบื่อหน่ายเพราะเกิดปัญญา เพื่อจะหลุดพ้นจากภาวะภูมิต่ำไปสู่ภูมิที่สูง

เช่น รำคาญเมียคนนี้ แต่อยากได้เมียอีกแบบ

๖. ทำร้ายตัวเอง เพื่อเปลี่ยนภพภูมิตนเอง

๗. ต่อเนื่องหลายชาติ บางคนฆ่าตัวตาย ๓ ชาติ ๑๐ ชาติ เรื่อยๆ ถ้าไม่มีปัญญาเข้าใจภาวะของตน


ประเภทของโทสะ
๑. ไฟกำลังโมโห โกรธา
๒. โทสะเงียบ กดเงียบ โกรธแบบเงียบ
๓. ประชดประชัน ดีผิดปกติ ดีผิดสังเกต


๓. กรรมโมหะ โมหะ แปลว่า ความหลงในอารมณ์ คือ ความหลงไม่รู้ ไม่เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงของธรรม หมายถึง ความหลงในอารมณ์ที่น่ารักใคร่ ชอบใจ (อิฏฐารมณ์) หลงในอารมณ์ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ (อนิฏฐารมณ์)

กล่าวสรุป หลง คือ การยึดมั่นถือมั่น และการหลงเป็นอุปสรรคของอนัตตา มิจฉาทิฏฐิที่จะนำเราไปสู่ความหลงใหล แม้แต่การทำความดี ถ้าเราหลงในดีแล้วก็ไม่ใช่ความดี เรียกว่า หลงดี หลงชั่ว

หลักธรรมที่ป้องกันไม่ให้เราเกิดความโลภ โกรธ หลง คือ อกเขาอกเรา



๔. กรรมราคะ ราคะ แปลว่า ความกำหนัด, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่, ความติดใคร่ในอารมณ์ ซึ่งราคะนี้อยู่ในจิตใจของเรา ถ้าหากแสดงออกมาจะทางโลภะ โทสะ และหลงใหล

กำหนัด คือ ความอยากได้ อยากเป็นเจ้าของ อยากสมสู่


การสมสู่ คือ ล่วงล้ำสิทธิเขา
๑.๑ สมสู่สัมมา คือ ขออนุญาต เขาให้ความยินยอม
๑.๒ สมสู่มิจฉา เขาไม่ยินยอม


กรรมที่เกิดจาก "ราคะ"

กรรมที่เกิดจากราคะ คือ กรรมที่ได้เสวยผลวิบากกรรมเกี่ยวกับคู่ครอง แฟน สามี ภรรยา การนอกใจ ชู้ เป็นต้น ซึ่งนำมาให้เราเกิดความทุกข์ร้อนใจ ครอบครัวมีปัญหา ซึ่งผู้ที่ได้รับกรรมวิบากทางราคะนี้ เกิดจากอดีตเคยก่อวิบากกรรม ๓ ประเภทนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

๑. อดีตเคยถูกกระทำ ปัจจุบันจึงยิ้ม ได้เสียกับคนอื่น เป็นชู้กับคนอื่น มีน้อยมีหลวง เป็นต้น เพื่อแก้แค้นคืน นี่คือ ตัวพยาบาทแสดงออกทางราคะ

๒. อดีตเคยกระทำเขา ปัจจุบันเขาทำคืน ตนเองจึงต้องเสวยกรรมวิบาก ต้องเจ็บช้ำน้ำใจ มีเรื่องทุกข์ร้อนใจเกี่ยวกับสามี ภรรยา คู่ครองเรื่อยๆ

๓. กรรมปัจจุบัน คือ โดนยก ยั่ว ยุ โดนพลัง รับพลังที่ไม่ดี จึงก่อกรรมทางราคะ (กรรมในข้อนี้ก็มีวิบากที่เคยทำมาอยู่ แต่เป็นเพียงเหตุปัจจัยร่วมเท่านั้น)


๕. กรรมอกตัญญู อกตัญญู แปลว่า ไม่รู้คุณ ไม่รู้ในคุณของผู้มีคุณ เช่น ปู่ ย่า ตายาย พ่อแม่ ต้นไม้ สิ่งของ เสื้อผ้า เป็นต้น


๖. กรรมโกหกหลอกหลวง คือ การโกหก พูดจาในสิ่งที่ไม่มีจริง เพื่อให้เขาหลงเชื่อ บำเรอตน


๗. กรรมลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ มีพฤติกรรมไปในทางดูหมิ่น เหยียบหยาม กล่าวร้าย ให้ร้าย

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ องค์เทพ เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

การด่าฝน ด่าลม ด่าแดด ก็จัดเป็นลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฝนมีเทวดาพระพิรุณดูแล ลมมีพระวายุดูแล แสงตะวันมีพระสุริยเทพดูแล

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,531







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย