"ตบะ" เป็นตัวควบคุม "อารมณ์"
"ตบะ" เป็นตัวควบคุม "อารมณ์"
ลักษณะของอารมณ์จะเป็นกลาง เมื่อมีสิ่งใดมากระทบอารมณ์ จะเกิดความรู้สึก แล้วเราใช้ความรู้สึกตัวไหนมารับ เราควรรับด้วยปัญญา
เวทนา แปลว่า การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก
๑. สุขเวทนา คือ ความรู้สึกสุขสบาย
๒. ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึกไม่สบาย
๓. อทุกขมสุขเวทนา คือ ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา
ยกตัวอย่าง เมื่อมีใครมาด่าเรา เราได้ยินแล้วเรานำคำด่านั้นให้ใช้ปัญญาพิจารณาว่า
๑. เราเป็นไปตามคำด่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่เป็นจริงตามคำด่านั้น คิดเสียว่าเป็นธรรมดาของสัตว์โลกที่จะต้องมีการดุด่าว่ากล่าว ที่จะแสดงโทสะ นิสัยของเขาเป็นอย่างนั้น เป็นจริตธรรมชาติของสัตว์โลก จะเกิดโทสะ ด่าทอ กล่าวหา โกรธ แสดงความไม่พอใจ เป็นโทสะจริตของสัตว์โลก คน แม้ตัวเรา และถ้าหากเราเป็นไปตามคำด่านั้น เราก็พิจารณาว่า
มันจริงตามนั้น เราก็น้อมยอมรับเพราะมันคือคำจริง และต้องขอบคุณเขาที่เขาได้เตือนสติแก่เรา ถ้าเราเป็นไปตามนี้ แสดงว่าเรารับคำด่าด้วยปัญญา ก็กลายเป็นสุขเวทนา
๒. รับด้วยอารมณ์โทสะเหมือนกัน
๓. ถ้าเขาด่าเราแล้ว เราเฉยๆ ไม่ทุกข์ร้อนและไม่ดีใจ เสียใจ แสดงว่า เรารับด้วย รับด้วยปัญญา เห็นถึงธรรมชาติปกติของสัตว์โลกที่เป็นเช่นนี้ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา
บางครั้งเขาด่าเรา เราโกรธเคือง แต่ทั้งๆ ก็รู้ว่าการโกรธเคืองนั้นมันไม่ดี แสดงว่า ตบะของเราอ่อน ตอนที่เราทำใหม่ๆ ก็อาจจะโกรธเคืองบ้าง แต่เมื่อเราทำบ่อยๆ ใช้ปัญญาพิจารณาบ่อยๆ ความโกรธเคืองก็ย่อมเบาบางลง ตบะของเราก็เริ่มแข็งขึ้น
ภาวนา
๑. ฝึกฝนบ่อยๆ
๒. นำมาคิดบ่อยๆ
จะเกิดตบะ มาควบคุมอารมณ์เราได้ ตบะนี้เกิดขึ้นได้ด้วยสติสัมปชัญญะ + ปัญญา + ฝึกทำบ่อยๆ จึงเกิดความอดทนอดกลั้นได้ เขาเรียกว่าตบะ
---------------------------
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์