ฆ่าอัตตาไม่ได้
ฆ่าอัตตาไม่ได้
ตัวอัตตานี้เป็นของธรรม แต่ถ้าเป็นตัวของเราเรียกว่า อัตภาพ คือ ภพภูมิของเรา เพราะเรามีอวิชชาขึ้นมาเป็นของธรรม แต่เราสำคัญว่าเป็นของเรา พอเป็นของเราก็จะเกิดภพภูมิขึ้นมา นี่แหละปฏิจจสมุปบาท อวิชชาจึงเกิดภพภูมิมากมายตามมา
อัตตาเป็นหนึ่งในธรรม เราจะไปทำลายไม่ได้ เราทำลายระบบของธรรมไม่ได้ ถ้าทำลายระบบของธรรมก็จะปั่นป่วนไปหมด ซึ่งเราไม่สามารถไปทำลายระบบของธรรมได้ แค่ชั่วครู่ได้
เช่น โคลนิ่งได้ออกมาไม่นานก็ตาย สืบพันธุ์ต่อไม่ได้
สมมติว่าอัตตาเข้ามาที่ตัวเราล่ะ แล้วเราจะให้อัตตาไปทางไหน เราจะเอาปัญญาแห่งมิจฉาหรือปัญญาแห่งสัมมา ปัญญาสัมมาก็จะเข้าใจธรรม เป็นไปตามภาวะแห่งธรรม เป็นไปตามวาระแห่งธรรม ความจริงแห่งธรรม ถ้าเราเอาปัญญามิจฉา เราก็จะเอาทำตามใจเรา ตรงนี้เราชอบเราก็จะเอาเยอะๆ ตรงนี้ไม่ชอบก็จะเอาน้อยๆ
ชีวิตก็ทำดีมา ทำไมถึงมีปัญหาต่างๆ
ชีวิตที่มีปัญหาเพราะว่ามีมูลฐานเหตุ เหตุตรงนี้เราเรียกว่า กรรมวิบาก เรามีชีวิตมา แต่ไม่ได้ว่าอยู่ดีๆ ชีวิตโผล่ขึ้นมามีชีวิต
สมมติว่า ตรงนี้เป็นแก้วเซรามิค ไม่ได้อยู่ดีๆ ก็มีแก้วขึ้นมาได้ ต้องมีดินมาผสม พอผสมแล้วทำไมถึงร้าวง่าย ก็เพราะว่าดินมันไม่ดี
๑. ดินดีหรือไม่ดี
๒. ใช้ถูกโอกาสหรือไม่ถูกโอกาส เช่น สมมติว่าเป็นแก้ว แก้วอย่างดี เขาเอาไว้สำหรับใส่น้ำเย็น เราดันเอาน้ำร้อนไปใส่ บางครั้งเราเอาน้ำร้อนเทออกแล้วเอาน้ำเย็นเทใส่เลยทันที ใช้ผิดวิธี
ชีวิตก็เหมือนกัน บางอย่างพื้นฐานก็ดี แต่ถ้าเรามาใช้ผิดวิธีก็มีปัญหาเยอะ บางครั้งก็เกี่ยวกับวัตถุที่มาทำแล้ว วัตถุที่มาผสมมันไม่ดี อันนี้ก็ต้องวิเคราะห์
ทุกสิ่งทุกอย่างหนีไม่พ้น มีเหตุเช่นใด ย่อมมีผลเช่นนั้น ตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ นี่คืออริยสัจจ์
ถ้าเรารู้แล้วว่าเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องมาวิเคราะห์ เป็นแก้ว อันนี้มันมาด้วยดินอะไร วิเคราะห์ด้วยเหตุ ต้นเหตุมาจากไหน เหมือนอริยสัจ ๔ อันนี้เป็นแก้วเซรามิค ทำมาจากดินอะไร อะไรต่ออะไรต้องวิเคราะห์กลับ ถึงจะมาเห็นผลปัจจุบัน สมมติว่าใช้ดินที่ไม่ดี ดินที่ไม่ดีพอใส่ข้างนอกก็ซึมออกมา แต่ถ้าทำดีเป็นเซรามิคก็แข็งขึ้น อะไรก็ดีขึ้น
แก้วใบนี้ก็เปรียบเสมือนชีวิตของเรา ถ้าชีวิตของเรา หรือแก้วใบนี้เขาไม่ได้ทำแบบปราณีตขึ้นมา ทำแล้วมีรูมดเราใส่น้ำ น้ำก็รั่ว เราก็มาคิดว่าเอ... เราใส่น้ำแต่ทำไมไม่ยอมเต็ม ก็เพราะว่ามีรูรั่วก็รั่วไปเรื่อยๆ คนก็บอกว่ากูทำบุญเยอะแยะ ก็เปรียบเสมือนเอาน้ำใส่เยอะแยะเลย แต่ดันมีรูมด เคยเห็นหรือไม่ทำแท้งค์น้ำที่มีรูมด เราใส่น้ำเยอะแยะเลยเดี๋ยวก็หายหมด แล้วเราไม่ได้ไปดูว่ามีรูมดน้ำมันออกมา เรามัวแต่ไปเติมน้ำแล้วจะได้มั้ย
แล้วมาบอกว่า กูทำดีเยอะแยะแล้วมันหายไปไหน เพราะว่าไม่ได้ไปตรวจสอบว่ามันมีรูรั่วหรือเปล่า
สมมติว่าแก้วนี้ผลิตออกมาดีมากเลย แต่ทำไมแก้วนี้ถึงแย่ได้ล่ะ เพราะอะไรแก้วนี้ถึงแย่ได้ แต่ถ้าเรานำแก้วนี้มาใช้ แต่ถ้าเรานำเอาไปใช้ผิดประเภทก็เสียหายได้ เราจะเอามาใช้ก็อยู่ที่ปัญญา เรามีปัญหาแล้วเราเข้าใจมั้ย แล้วเรามีตัวทิฏฐิหรือเปล่า เพราะเราไม่ว่าไปด้วยตามธรรม ไม่ทำตามวิถีแห่งธรรม ก็ผิด เราใช้ไม่ถูกวิธีก็เสียใช่มั้ย
สมมติว่าเรามีรถหนึ่งคัน ในธรรมให้เราบรรทุกแค่ ๓๐ กิโลกรัม แต่เราดันไปบรรทุกสิ่งของ ๑๐๐ กิโลกรัม แล้วรถของเราจะเสียง่ายมั้ย ตายแน่นอน แนบอะไรเสียหมด เพราะว่าใช้ผิดวิธี ชีวิตของเราก็เปรียบเมือนรถคันนี้มาแล้วดีไม่ดีก็รู้ พอดีแล้วเราก็มาตรวจสอบเราใช้ชีวิตดีหรือยัง เหมือนกับรถคันนี้เรานำมาใช้ถูกวิธี
สมมติว่า จริตนิสัยของเราทำอะไรช้าๆ แต่ถ้าไปทำธุรกิจเร็วๆ ไวๆ ก็เสียหายได้ เจ๊ง แล้วก็มาถามว่า ทำไมทำธุรกิจแล้วต้องเจ๊ง เพราะว่าเราไม่เหมาะสม
เช่น เราทำอะไรค่อยๆ คิด แล้วไปเล่นหุ้นเราจะไหวมั้ย ก็เจ๊งลูกเดียวเพราะว่าเราทำไม่รู้เรื่อง เราต้องมาพิจารณา ๓ ส่วน
๑. เราทำมาดีมั้ย
๒. ไปใช้ให้ถูกวิธีหรือเปล่า ของดีแต่นำไปใช้ผิดวิธีก็มีปัญหา
นี่คืออริยสัจ ใช้หลักของพระพุทธเจ้ามาพิจารณา
สมมติว่าแก้วเซรามิคนี้ทำมามีรูมด ไม่ดี ใส่น้ำยังไงก็ยังรั่วอยู่อีก เราก็ปะ
สมมติว่า รถคันนี้บรรทุกได้แค่ ๓๐ กิโล แต่เราดันไปบรรทุก ๑๐๐ กิโล รถก็ต้องเสียบ่อย ก็ต้องซ่อมบ่อย แล้วถามว่า รถคันนี้จะให้บรรทุกเลย ๓๐ กิโลได้หรือไม่ ได้ ธรรมก็เปิดช่องให้ เรามีวิชชาปัญญามั้ย ถ้าเราไปหาช่างเขาก็จะเสริมแหนบให้ก็สามารถบรรทุกได้มากขึ้น ก็ใช้ได้ พัฒนาเพิ่มเข้าไป อย่างน้อยไม่ถึงร้อยกิโล ก็ได้ ๕๐ กิโล ก็ยังดี
เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ยอมรับความจริงก่อนว่าสิ่งนี้คืออะไร คุณภาพอะไร วิธีใช้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ไม่พิจารณาด้วยเหตุและผล ไม่ใช้อริยสัจ ๔ ว่าด้วยเหตุและผลอย่างนี้ ก็แก้ไม่ได้ แล้วเราจะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เราก็ต้องถามผู้รู้
๓. รู้จักเสริมและบำรุงมั้ย ตรงไหนมีจุดอ่อน ตรงไหนมีจุดแข็ง เรารู้ล่ะตรงนี้ใช้แล้วมันดี มันถูกวิธี อย่างที่สามรู้จักทนุบำรุงได้ ผลออกมาก็ดี
เพราะอะไรที่ทำให้เราก่อปัญหา ก็คืออวิชชา ฉะนั้น เราต้องมาเรียนรู้วิชชา ขจัดอวิชชา
๑. ดูองค์ประกอบของรถว่าทำมาถูกต้องมั้ย องค์ประกอบของรถถูกต้องหรือยัง
๒. รู้วิธีใช้
๓. ทนุบำรุง
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์