เรื่องการชดใช้หนี้แห่งกรรม

 wasawaum    

ในทางศาสนาพุทธมีหนทางเลี่ยงกรรมไหมครับ   




การหนีกรรม

อ่านให้ละเอียดนะครับ
แล้วจะรู้ว่า ที่บอกว่ามีวิธีการ "หนีกรรม" นั้น สามารถทำได้
จริงๆ แล้ว "กรรม"นั้น เป็นเหมือน "เงา" ยิ่งหนี ก็จะยิ่งติดตาม ยิ่งพยายามหลบเลี่ยง มันก็จะยิ่งวิ่งเข้ามาหาเรา
"กรรม" สามารถติดตามเราได้ (ในกรณีที่เป็นการกระทำของเราเอง) ไม่มีขีดขั้นของสถานะ บุคคล หรือแม้แต่
กาลเวลา
ให้กี่ภพกี่ชาติ กี่แสนกี่ล้านปีชาติ ก็ไม่มีทางหนีหมด หรือไม่ต้องชดใช้
มีตัวอย่างมากมาย ที่คนเราในชาติปัจจุบันนี้ ต้องตามรับ "กรรม"จากอดีตชาติ ที่ติดตามมาทั้งเป็นการกระทำ
และบางทีต้องตามรับ "กรรม" จากบุคคลที่ยังมีความอาฆาตจากอดีตชาติ เมื่อตามมาเกิดกันจนเจอในชาติปัจจุบัน ก็ยัง
ต้องมาชดใช้รับ "กรรม" กันอีก
คนบางคน….เมื่อในอดีตชาติเกิดก่อเวรก่อกรรมกับบุคคลหนึ่งเอาไว้
เมื่อเวลาผ่านไป..และผ่านมาถึงชาติปัจจุบัน
บุคคลทั้งสองที่ได้เคยก่อกรรมกันเอาไว้ ก็ต้องมาชดใช้กัน
แม้ว่าจะต่างภพกันก็ตาม
จึงมีเรื่องราวให้ได้รับรู้เสมอว่า
คนกับวิญญาณ โคจรกันมาเจอกัน อาฆาตกัน ร่วมกระทำเรื่องราวต่อกัน ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี
ที่จะบอกท่านก็คือ ..

"กรรม" นั้น เมื่อมีการสร้างกรรมร่วมกัน ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ต้องมีการชดใช้กันเสมอ
ไม่เกี่ยงเรื่องเวลา หรือสถานะทางสังคมแต่อย่างใด
"กรรม" นั้นจะเกิดขึ้น หรือจะมีการชดใช้ ต้องมีเงื่อนไข และองค์ประกอบหลายอย่าง
เงื่อนไขของเวลา เป็นประการสำคัญ
แต่ที่สำคัญกว่า ก็คือเรื่องของความหนักเบาของ "กรรม" ที่ได้กระทำไว้
สมมติว่า วันที่ 1 คุณไปทำร้ายคนอื่นจนเลือดตกยางออก
วันที่ 2 คุณไปขโมยของชาวบ้าน
วันที่ 3 คุณทำสังฆทานด้วยจิตที่ศรัทธาในเรื่องการทำบุญกุศล
วันที่ 4 คุณได้ศึกษาธรรมะ..จนได้ธรรมระดับสูง (อริยบุคคล)
4 วันนี่ คุณว่า ผลของ "กรรม" (ซึ่งหมายถึงทั้งการกระทำดีและไม่ดี) จะส่งผลอย่างไร ?
ได้รับผลกรรมนั้นอย่างไร ?
ถ้าเป็นไปตามความเข้าใจทั่วไปของคนที่ยังไม่เข้าใจในเรื่อง "กรรม" อย่างถ่องแท้นั้น คงจะเข้าใจว่า ก็ต้อง
รับกรรม ตามวัน คือได้รับกรรมจากการกระทำเรียงตามลำดับ
จากวันที่ 1 ก่อน (ทำร้ายคน) แล้วตามด้วยวันที่ 2 (ขโมยของ) วันที่ 3 (ทำสังฆทาน) และวันที่ 4 (ศึกษาธรรม)
จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น ..
ต้องได้รับกรรมตามการเรียงอย่างนี้
ได้รับกรรม (การกระทำ) วันแรกก่อน ก็ต้องได้จากการกระทำวันที่ 4 คือการศึกษาธรรม จนได้ธรรมะดับสูง ก่อน
อื่นเลย
แล้วตามด้วยข้อ 3 ทำสังฆทานด้วยจิตศรัทธา
ตามด้วยข้อ 1 คือการทำร้ายคนจนเลือดตกยางออก
จากนั้นก็เป็นข้อ 2 คือการมขโมยของ
เรียงตามข้อก็คือ 4 3 12
ไม่ใช่ได้รับกรรมตามวันเวลา 1 2 3 4
ถ้าพิจารณาก็จะเห็นว่า การรับกรรมนั้นไม่ได้รับตามวันเวลาที่กระทำกรรมเอาไว้
แต่รับตามความหนักเบาของกรรมที่ได้กระทำเอาไว้
ถ้าเป็นกรรมหนัก ก็ต้องได้รับก่อน
เป็นกรรมเบา ก็จะรับทีหลัง
คำว่าหนักเบานั้น หมายถึงทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว
เอามารวมกันได้ แล้วเปรียบเทียบกันดูว่าอะไรหนัก หรือเบามากกว่ากัน (เอามาเปรียบกันนะครับ ไม่ใช่เอา
มาหักล้างกัน เพราะกรรมดีไม่สามารถหักบ้างกรรมไม่ดีได้)
หลักง่ายๆ ก็คือ กรรมหรือการกระทำใดก็ตามทำให้คนเรามีสติ มีปัญญามาก ให้เกิดมรรคผลมาก สร้างให้
คนอื่นได้รับความสุข ทั้งทางกายและใจมาก ไม่สร้างความเดือดร้อน หรือความไม่ดีให้กับคนอื่น ฯลฯ อย่างนี้เป็นกรรม
ดีมากกว่าไม่ดี
เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป
เพราะฉะนั้นเวลาเรารับกรรม ก็ต้องรับตามความหนักเบา
จึงตอบข้อสงสัยได้ว่า ทำไมคนบางคนทำดีมาตั้งนานเป็นสิบๆ ปี ไม่เคยได้รับผลดีเลย
นั่นแสดงว่า ในอดีตที่ผ่านมา ได้ทำกรรมที่หนักหนาสาหัสไว้มาก
กรรมหนักนั้นย่อมส่งผลก่อน
แต่พอกรรมหนักที่เคยทำนั้นหมด (ต้องชดใช้จนหมด) ก็ถึงเวลาที่ต้องได้รับกรรมดีบ้าง
จำไว้ไห้ดีนะครับว่า กรรมต้องชดใช้ตามความหนักเบาที่ได้เคยกระทำเอาไว้
เคยได้ข่าวหรือไม่ครับ ว่าคนที่ยากจนมาทั้งปีทั้งชาติ….เป็นสิบๆ ปี พอบทจะโชคดี กลับถูกรางวัลได้เงิน
เป็นสิบๆ ล้านในชั่วพริบตา
วิเคราะห์ได้ว่า ก่อนหน้านี้ได้ทำกรรมหนักเอาไว้ แต่ก็เคยทำกรรมดีไว้มากเช่นกัน
กรรมหนักทำมากกว่ากรรมดี พอกรรมหนักหมด ผลของกรรมดีก็ได้รับ
กรรมนั้น ไม่ว่าจะดีจะชั่ว จะร้ายจะดี จะหนักจะเบา จะมากจะน้อย อย่างไร ก็ต้องได้รับทุกกรรมที่ได้เคย
ทำเอาไว้ โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
แต่..
แต่ก็มีบางอย่างที่หนีได้
ในที่นี้จะพูดแต่เรื่องการหนีกรรมที่ไม่ดี
เพราะผลของกรรมดี..ไม่ค่อยมีใครอยากหนีเท่าไหร่ มีแต่อยากจะได้รับผลกรรมดีกันทั้งทั้งนั้น
ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้อยู่เหนือกรรมนั้น ก็คือ พระอรหันต์
เพราะในภาวะจิตที่ท่านอยู่สูงสุดนั้น กรรมมันตามไปไม่ถึง
เพราะท่านหลุดพ้น และอยู่เกินกำลังของกรรมที่จะตามไปถึง
แต่ที่เราเห็นว่า พระอรหันต์ (ตามที่เราเข้าใจจากตัวเราเอง และจากปากของคนอื่น) ต้องรับกรรมนั้น มันก็
ต้องมีเหตุบางอย่าง
แต่ผมคงตอบไม่ได้ละเอียดในนี้ เนื่องด้วยผมยังมีกิเลสครบในตัว
ไม่ควรเข้าไปล่วงเกินเรื่องของคนที่สูงกว่าเช่น พระอรหันต์
เอาไว้คุยกับคนที่อยากรู้จริงๆ นอกรอบดีกว่าครับ
ท่านผู้รู้หลายท่าน ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ หลักการที่ "กรรม" ตามพระอรหันต์ไม่ทันเอามาใช้
ก็คือ "กรรม" มันจะวิ่งตามท่านผู้ประเสริฐ หรือพระอรหันต์ไม่ทัน
เพราะพระอรหันต์ท่านทำความดี จิตท่านดี
เป็นเหตุเป็นผลอย่างหนึ่งว่า ความชั่วจะตามความดีไม่ทัน (ในปริมาณความดีความเลวเท่าๆ กัน)
เพราะฉะนั้น เมื่อเราไม่อยากให้กรรรมไม่ดีตามเราทัน เราก็ต้องทำกรรมที่ดีๆ ให้มากกว่ากรรมที่ไม่ดีที่เรา
เคยทำ
เพื่อให้กรรมดีเป็นตัวผลักดันให้เรามีกรรมดีมากกว่ากรรมไม่ดี
เมื่อเราทำกรรมดีให้มากๆ และมากๆ จนมากที่สุด ก็จะมีแรงผลักดันให้เราห่างกรรมไม่ดีมากขึ้น แต่เราก็
ต้องทำกรรมให้ดีมากกว่า ให้เยอะกว่ากรรมไม่ดีที่เราได้ทำเอาไว้
แต่ปัญหามันอยู่ที่ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราต้องกรรมดีให้มากกว่ากรรมไม่ดี….เพราะเราไม่รู้ว่าเราเคยทำกรรม
ไม่ดีเอาไว้แต่ไหน อย่างไร รุนแรงหนักหนาแค่ไหน (ยกเว้นท่านที่ "ปฎิบัติ" จนรู้เรื่องราวในอดีต)
ทางแก้ก็ไม่ยาก
ก็พยายามทำความดีให้มากๆ ทำให้มากๆ ทำไปโดยที่ไม่ต้องรู้นั้นแหละครับดี เพราะยิ่งทำความดี บุญ
กุศลมากๆ จะได้อุ่นใจว่ามีมาก พอที่เจ้ากรรมไม่ดีจะตามเราไม่ทัน
เข้าใจตรงนี้ก่อนนะครับ
ว่ายิ่งทำกรรมดีมากๆ ก็จะยิ่งหนีกรรมไม่ดีได้
แต่ถ้าเราทำกรรมดีไม่เพียงพอ กรรมไม่ดีก็จะตามทัน ตอนนั้นเราก็ต้องรับกรรมไม่ดี
เหมือนวิ่งแข่งนั่นแหละครับ ยิ่งวิ่งหนี (ทำกรรมดี) คนที่วิ่งตามเรา (กรรมไม่ดี) ก็ตามไม่ทัน แต่ถ้าเราหยุดวิ่ง
(หยุดทำความดี) คนที่วิ่งตามเรา (กรรมไม่ดี) ก็ตามมาทำร้ายเราได้
นั่นคือกุศโลบายว่า ..เวลาที่ผ่านไปทุกวันนั้น อย่าหยุดทำความดี ไม่อย่างนั้นกรรมไม่ดีก็จะตามทันเรา มา
เอาคืน
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะหนีอย่างไร ก็ไม่สามารถจะพ้นได้ เพราะความเป็นจริงไม่มีใครสามารถทำความดี
ได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ความจริงมีครับ แต่น้อยมาก..ส่วนใหญ่มักจะเป็น "ผู้ปฏิบัติ")
แล้วอย่างนี้..อาจจะมีคนถามว่า แล้วเราจะหนีกรรมไปทำไม
ก็ต้องบอกว่า
บางครั้งนั้น คนเรายังไม่สามารถจะรับกรรมได้ในเวลาบางเวลา
ยังไม่พร้อม หรือกรรมมันหนักมาก ขืนรับพร้อมกันทีเดียว จะตายเอาง่ายๆ ถ้า "จิต" ไม่เข้มพอ
ก็ทำความดีมากๆ ให้มากๆ และมากๆ แล้วค่อยๆ ทยอยรับกรรมไม่ดีที่ได้เคยทำเอาไว้ทีละเล็กทีละน้อย จน
หมด แล้วเราจะได้รับกรรมดีไว้เอง
ทำความดีให้มากๆ สามารถ "ผ่อน" กรรมไม่ดีได้
แต่ไม่สามารถไม่ต้องชดใช้ได้
พูดง่ายๆ ก็คือ ยังงัยๆ ก็ต้องรับกรรม
แต่ถ้ามีกรรมดีเป็นตัวหนุนหลัง เราก็จะได้รับกรรมทีละเล็กละน้อย
ถ้าบอกอย่างนี้ แล้วดูผิวเผินก็จะเห็นเพียงว่า เอาหลักการการวิ่งหนี (โดยการทำความดีให้มากๆ เผื่อ
ไว้ว่าให้มากกว่ากรรมไม่ดี ที่เราไม่อาจรู้ได้) มาหนีกรรมที่กำลังจะมาส่งผล (คือจากกรรมที่ไม่ดีที่เราได้เคย
ทำเอาไว้)
แต่ความจริง มีกุศโลบายมากกว่านั้น กับการบอกให้ทำความดี ทำบุญกุศลให้มากๆ
เป็นกุศโลบาย 2 ต่อ
ต่อแรก เพราะเมื่อเราทำความดี ทำบุญกุศลมากๆ ใจเราก็จะเบิกบาน มีความสุขกับการทำบุญทำกุศล
เอาเถอะ ไม่ว่าคุณจะทำบุญทำกุศลด้วยเจตนาอย่างไร ด้วยความรู้สึกอย่างไร ก็ตาม คุณก็ได้บุญกุศลนั้นแล้ว
ต่างกันที่ว่า ถ้าคุณทำบุญทำกุศลด้วยใจที่บริสุทธิ์ ด้วยการไม่หวังผลตอบแทน อานิสงส์จะมากตามไปด้วย
แต่ถ้าทำบุญทำกุศลด้วยการหวังผลตอบแทน หรือยังไม่ศรัทธาในเรื่องการทำบุญทำกุศล อานิสงส์ก็จะน้อย
กว่าแบบข้างบน
แต่ไม่ว่าจะทำบุญทำกุศลอย่างไร แบบไหน..ได้หมดครับ ต่างกันที่มากหรือน้อย
เมื่อเราได้ทำบุญทำกุศลแล้ว ใจเราเบิกบานแล้ว ก็จะมีความสุขในระดับหนึ่ง
คนเราเมื่อมีความสุข ความสบายใจแล้ว การรับกรรมก็จะมีความเต็มใจ ยินดีรับกรรมนั้นอย่างหน้าชื่นตาบาน
เพราะใจเรามีความสุข (จากการทำบุญทำกุศล)
กรรมที่เราคิดว่าหนัก สาหัส และรุนแรงในตอนที่ยังไม่ได้ทำบุญทำกุศล ก็จะดูลดความหนักลงเพราะเราได้
ทำบุญทำกุศล (จนจิตแจ่มใส เลิกบาน และมีความเข้มแข็ง)
ต่อที่ 2 ก็คือ การที่เราทำบุญทำกุศลไว้นั้น ก็คือการสะสมบุญกุศลเอาไว้ อย่างไรก็
ตาม บุญกุศลที่ได้ทำไว้นั้นก็ไม่ไปไหน รอเวลาที่หมดกรรมหนักที่ทำรุนแรงไว้ก่อน ก็จะได้รับกรรมที่เราทำบุญทำกุศล
ไว้มาตอบแทนอีกที
มีหลายคนครับ ที่ในขณะกำลังรับกรรมไม่ดีอยู่ แล้วก็ทำบุญทำกุศลหนักๆ ตามไปด้วย
พอดีไปทำกรรมดีหนักๆ ที่มีอานิสงส์สูงกว่ากรรมไม่ดี ที่หนักที่เราเคยทำเอาไว้ ยังไม่ทันที่กรรมหนักจะหมด
เลย ก็ได้รับกรรมดีก่อน
เพราะกรรมดีนั้นได้รับผลจากความหนักเบาของการกระทำกรรมนั้นๆ
เพราะฉะนั้นทำกรรมดีไว้ให้หนักๆ บ่อยๆ มากๆ ด้วยจิตศรัทธาในเรื่องทำบุญทำกุศลให้ตลอด จะเป็นผลดี
ส่วนจะทำบุญทำกุศลใดเพื่อให้ได้อานิสงส์มากๆ นั้น ให้ดูในบทความที่ผมเขียนนะครับ
แต่ที่จะบอกคร่าวๆ ก็คือ อานิสงส์ของการทำบุญทำกุศลที่ได้รับมากๆ นั้น ก็คือการปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนา
กรรมฐาน

และอีกอย่างที่จะแนะนำก็คือ การขอให้คนที่มีกรรมผูกพันกับเรา "อภัย" ให้
กรรมจะมี 2 อย่าง ก็คือ กรรมที่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ กับกรรมที่มีเจ้าของ หรือที่เราเรียกว่าเจ้ากรรมนายเวร
ยกตัวอย่าง ถ้าเราไปขโมยของคนอื่น กรรมก็จะเกิดขึ้น 2 แบบแล้ว
นั่นก็คือ กรรมที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ก็คือกรรมที่เกิดจาก "การขโมย"
และคนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เราขโมยไปนั้น คือเป็นกรรมแบบที่มีเจ้าของ
พูดง่ายๆว่าจ้าของทรัพย์สินก็เป็น "เจ้ากรรมนายเวร"
ถ้าเราต้องรับกรรมทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน ก็หนัก เป็น 2 เท่า
แต่ถ้าเรา "ขอโทษ ขออภัย" จน "เจ้ากรรมนายเวร" ใจอ่อน ยกโทษให้
ก็เท่ากับว่าจะเหลือเพียง "กรรมอัตโนมัติ" อย่างเดียว
ลดไปตั้งมากมาย
เพราะฉะนั้น ครูบาอาจารย์ ท่านผู้รู้จึงมักขับอกให้เราแผ่เมตตา หรืออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร
ให้ใจอ่อน ยกโทษให้ (แต่ต้องทำบ่อยๆ มากๆ และด้วยจิตที่ศรัทธา)
และ…เมื่อเรารู้ว่า เราอยากให้เจ้ากรรมนายเวร "อภัย" ให้ (เพราะรู้ว่าเมื่อได้รับการ "อภัย" แล้ว กรรมจะลด
น้อยลง)
เราเองก็ต้องให้ "อภัย" คนอื่นด้วย
เพราะเราเองก็เป็นทั้งคนที่มีเจ้ากรรมนายเวร และเราเองก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรของคนอื่นด้วย
เป็นกฎธรรมชาติอย่างหนึ่งว่า ถ้าเราให้ "อภัย" คนอื่น คนอื่นก็จะยิ่งให้ "อภัย" เรามากขึ้น ง่ายขึ้นเท่านั้น
การให้ "อภัย" นั้น ถือว่าเป็นทานอย่างหนึ่ง มีอานิสงส์มหาศาล
สุดท้ายนี้ก็อยากจะบอกว่า
- กรรมนั้นจะหมดไปได้ ก็ต้องมีการชดใช้
- กรรมดีกรรมชั่ว แบ่งแยกกันอย่างเด็ดขาด ไม่มีการเอากรรมดีมาแบ่งเบากรรมชั่วให้ลดน้อยลง
- กรรมนั้นจะได้รับตามเงื่อนไขความหนักเบาของกรรม ไม่ใช่รับเรียงลำดับตามวันเวลาที่ทำกรรม
- กรรมมี 2 อย่าง คือกรรมอัตโนมัติ และกรรมที่มีเจ้ากรรมนายเวร ถ้าลดกรรมที่มีเจ้ากรรมนาย
เวร (ด้วยการ "ขออภัย") ก็จะทำให้กรรมนั้นลดน้อยลง
- การทำบุญทำกุศลเพื่อหนีกรรมนั้น เป็นการ "หนี" เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการ "ชดใช้" วันใดเวลาใดก็ตามที่หยุด
ทำความดี หยุดทำบุญทำกุศล กรรมก็จะตามทัน
ยังมีเรื่องอีกมากมายเกี่ยวกับกับ "กรรม" ที่อธิบายให้หมด ก็ไม่สามารถอธิบายได้ เพราะเป็นเรื่องละเอียด
ลึกซึ้ง ซับซ้อน
ต้องอธิบายเป็นเรื่องๆ ไป


ที่มา: http://www.extrasoul.com/old6.html


• หยดฝนในจักรวาล

• พระวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า

• ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี บริวารปัจจัยตามกำลัง

• อาสาฬหปุรณมี ... ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา

• บรรยายธรรมแก่นักเรียน สอนนั่งสมาธิ โดย #พระอาจารย์ต้น #ธรรมนาวา #dhammanava ๒๒/๐๗/๒๕๖๕

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย