อภัยทาน...มีระดับมั้ย??????

     

     ถูกด่าว่าด้วยวาจาหยาบๆอยู่ประจำก็อภัยเขาไป....
     ต่อมาถูกกลั่นแกล้งเพื่อให้ทนอยู่ไม่ได้...ด้วยต้องการให้ออกจากบ้านนี้ไปเอง
แต่ก็ยังทนได้ ที่ยังด้านอยู่เพราะสามีห้ามไว้ถ้าออกไปก็เหมือนไม่เชื่อฟัง ไม่ให้เกรียติเขา
     และต่อมายื่นข้อเสนอว่าให้เซ็นชื่อว่าไม่ต้องการบ้านนี้...
ถ้าเ็ซ็นแล้วเรื่องจะจบหรือ?ในเมื่อทุกวันนี้คอยหาเรื่องเรา แต่ไม่เคยมีเรื่องหรอกเพราะเราเป็นฝ่ายหลีกก่อนเสมอ....ที่ไม่เซ็นไม่คิดว่าอยากได้หรอกคะแต่มีความจำเป็นต้องอยู่อีกสองปี
     สามีบอกกะลูกสะใภ้ว่าถ้าไม่พอใจให้ออกไป..สามีไม่ชอบใจเขาใช้วาจาหยาบด่าว่าสามีไม่มีเด็กผู้ใหญ่แม้กับสามีผู้เป็นเจ้าของบ้าน....บ้านนี้เริ่มวุ่นวายเมื่อมีคนนี้เข้ามาอยู่... เขามองเราเป็นศัตรูพร้อมจะทะเลาะทุกเมื่อสามีบอกให้เราระวังตัว...บ้านนี้เคยมีสมาชิกเพียงสามอยู่อย่างสงบก็เปลี่ยนไป
           ตกอยู่ในสภาพนี้จะแก้ไขอย่างไรละคะ....เรียนถามกัลยาณมิตรขอคำแนะนำคะ
ในเมื่อการปฏฺบัติทางธรรมก็ยังละตัวตนไม่ได้เลย...ยังมีเขามีเรา..ยังมีเด็กมีผ้ใหญ่ฯ
   




อภัยทาน คืออย่างไร ?


อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้
คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย

ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก

ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้รถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางที่ไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกรธแล้วจะหายโกรธไปเอง

โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น

ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน

ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่ และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป

ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน

อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย...

:: การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่
:: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



• พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ (2399 - 2475)

• รักความดีในตัวเอง เคารพความดีในตัวเอง เพิ่มพูนความดีในตัวเอง แล้วความรักใครสักคนมาหรือไม่มาก็มีความสุขที่ไว้ใจได้

• นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่

• เผชิญความตายด้วยใจสงบ

• "ศีล คือเจตนางดเว้น" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

• บำเพ็ญบุญอุทิศให้อดีตเจ้าอาวาส งานประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดศรีทวี (๒๖ เม.ย. ๒๕๖๗)

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย