ถามเรื่องความตายที่สงสัยมากๆครับ

     

คนมีความรู้น้อยและเพิ่งสนใจธรรมะอย่างกระผมก็จะถามเรื่องพื้นๆที่เกี่ยวกับความตายไม่พ้น ถึงอย่างไรขอได้โปรดเมตตาคนอยาดรู้ที่มีความรู้น้อยและกำลังศึกษาธรรมเบื้องต้นด้วย อยากเรียนถาม 2 ข้อ คือ (1) ผู้ที่ตายไปแล้วตามภาษาชาวบ้านที่ว่ามาหลอกหลอนบ้าง มาเข้าฝันบ้าง มาแสดงให้ญาติๆทราบในลักษณะต่างๆบ้างแสดงว่าผู้ตายท่านนั้นยังไม่ไปผุดไผเกิดหรือยังไม่ไปไหนใช่หรือไม่ (2) ตรงกันข้ามกับข้อ 1 คือ หากผู้ที่ตายไปแล้วเหมือนสูญหรือหายไปเลยโดยไม่มาแสดงใดๆใหญาติทราบ อย่างนี้แสดงว่าท่านผู้นั้นไปเกิดแล้วหรือไปสู่ภพหรือภูมิที่ดีแล้วใช่หรือไม่ ได้โปรดเมตตาช่วยตอบให้ผู้ที่กำลังศึกษาธรรมอย่างกระผมด้วย หากทราบอาจเป็นเหตุเบื้องต้นที่จะได้ศึกษาธรรมในขั้นต่อไปได้ ขอขอบคุณมากๆครับ




เชิญฟังที่นี่ http://www.luangpee.net/forum/index.php?topic=1634.0


ตอบ คำถามที่ว่าคนเราตายแล้วไปไหน ตอบง่ายๆ แต่ถูกตรงที่สุดก็คือ คนเราตายแล้วไปไหนก็สุดแต่กรรมที่ตนทำไว้ ซึ่งมิใช่กรรมที่ทำในภพนี้เท่านั้น กรรมในภพอื่นๆ ที่ทำมาแล้วก็มีโอกาสให้ผลได้ด้วยเหมือนกัน สุดแต่ว่ากรรมไหนได้เหตุปัจจัยที่สมควรกรรมนั้นก็ให้ผลก่อน
ถ้าเป็นกรรมชั่วหรือบาปกรรมให้ผลก็ต้องเกิดในอบายภูมิ ๔ ภูมิ คือนรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานภูมิใดภูมิหนึ่ง
แต่ถ้าเป็นกรรมดีคือบุญกรรมให้ผล ก็เกิดในสุคติภูมิถึง ๒๗ ภูมิ คือถ้าเป็นกามาวจรกรรมหรือมหากุศล มีทาน ศีล ภาวนาที่ยังไม่ถึงฌานและมรรคผล เวยยาวัจจะเป็นต้น ให้ผลย่อมเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ คือมนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้น มีจาตุมมหาราชิกาภูมิเป็นต้น
ถ้าได้รูปฌานตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน คือได้ฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔ เฉพาะที่เป็นรูปฌานย่อมเกิดในรูปพรหมภูมิ ๑๖ มิ ถ้าได้อรูปฌาน ๔ ฌานมีอากาสานัญจายตนะฌานเป็นต้น ย่อมเกิดในอรูปพรหมภูมิ ๔ ภูมิ รวมเป็น ๓๑ ภูมิ ซึ่งผู้ที่ยังเกิดอยู่ในภูมิใดภูมิหนึ่งทั้งที่เป็นทุคติภูมิและสุคติภูมิ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ยังละกิเลสยังไม่ได้ทั้งสิ้น
สำหรับบุคคลที่ละกิเลส คือบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นจนถึงพระสกทาคามี แม้ยังต้องเกิดอยู่ก็ไม่เกิดในอบายเลย เกิดแต่ในสุคติเท่านั้น ถ้าได้ฌานก็เกิดในรูปพรหมหรืออรูปพรหมตามอำนาจของฌานที่ตนได้
ส่วนผู้ที่เป็นอนาคามีแล้วย่อมเกิดในพรหมโลกเท่านั้น
แต่ถ้าบรรลุเป็นพระอรหันต์ซึ่งไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลยย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ เลย แต่ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานเท่านั้น
สรุปว่า คนที่มีกิเลสตายแล้วยังต้องเกิดอีก แต่จะเกิดที่ไหน สุดแต่กรรมที่ทำไว้แล้วนำเกิด คนที่ไม่กิเลสเลยคือพระอรหันต์ ย่อมปรินิพพานเท่านั้น ไม่เกิดในที่ไหนๆ เลย
ส่วนที่ถามว่า บุญกุศลที่ทำแล้วในภพนี้ เช่นทำบุญสร้างโบสถ์เป็นต้น ผลของบุญนั้นก็ย่อมให้ผลแก่เขาผู้ทำ ในภพนี้บ้าง ในภพหน้าบ้าง ในภพต่อจากชาติหน้าๆ ไปบ้าง สุดแต่ว่า มีโอกาสเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าบุญนั้นจะให้ผลในชาติไหน ยกเว้นแต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ส่วนบรรพบุรุษของผู้กระทำกรรมดีในชาตินั้น ถ้าผู้กระทำอุทิศส่วนบุญที่ทำแล้วให้ท่าน ท่านรับรู้และอนุโมทนาก็ย่อมได้รับบุญนั้นด้วย แต่ถ้าท่านไม่รับรู้หรือรับรู้แต่ไม่อนุโมทนาท่านก็ไม่ได้บุญด้วย
สำหรับท่านที่สามารถรับรู้และอนุโมทนาด้วยนั้น ถ้าท่านเกิดเป็นเปรต ท่านอาจจะพ้นจากสภาพเปรตได้ หรืออาจจะได้รับอาหาร เสื้อผ้าเป็นต้นอันเป็นทิพย์ ในทันทีทันใดที่อนุโมทนาจบลงก็ได้
แต่ถ้าท่านเกิดเป็นเทวดา ท่านอนุโมทนาแล้ว ท่านก็ได้กุศลจิตเพิ่มขึ้นจากการอนุโมทนานั้น บางครั้งยังทำให้รัศมีกายของท่านสว่างไสวเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับบรรพบุรุษที่เกิดในอบายนั้น ท่านไม่มีโอกาสทราบและอนุโมทนาได้เลย แม้เกิดเป็นมนุษย์ท่านก็ไม่มีโอกาสทราบเช่นกัน คิดดูง่ายๆ ก็ได้ คนอยู่บ้านเดียวกัน เราไปทำบุญมาแล้ว ถ้าเราไม่บอกเขา เขาก็ไม่ทราบ เมื่อไม่ทราบจะอนุโมทนาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคนที่ตายแล้วหรือยังไม่ได้ตาย ถ้าเราทำบุญแล้ว ไม่บอกให้เขาอนุโมทนาบุญ เขาก็อนุโมทนาไม่ได้ แม้เขาอยากจะได้ส่วนบุญก็ตาม ________________________________________</B>ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ชานุสโสณีวรรค
ชาณุสโสณีสูตรhttp://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=24&A=6420&Z=6522

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
คำว่า บุญกิริยาวัตถุ 3 และบุญกิริยาวัตถุ 10http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บุญกิริยาวัตถุ
คำว่า ภูมิ 4 หรือ 31http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4_หรือ_31


สิ่งที่คนกลัวเหมือนกันและไม่อยากพบเจอกับตน เพียงแค่นึกถึงก็ให้รู้สึกสะดุ้งตกใจ สิ่งนั้นคือความตาย จริงอยู่อาจมีบางคนที่ไม่กลัวตายก็มี เช่น ถูกโรคภัยเบียดเบียนทนทุกขเวทนาต่อไปไม่ไหวเกิดเบื่อ หน่ายในชีวิตและสังขารก็อยากตาย คนที่กล้าเข้าประจัญบานกับภัยไม่กลัวอันตราย เช่น ผู้ที่เข้าสงครามหรือเล่นเกมท้าความตายต่างๆ ผู้ที่ยึดมั่นในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและในศาสนาบางศ าสนาที่ผู้นับถือเชื่อว่าหากตายเพื่อศาสนาหรือพระเจ้ าของเขาแล้วจะได้บุญ หรือผู้ที่กลัวว่าสิ่งที่ตนรักและบูชาจะเป็นอันตรายเ หล่านี้ เมื่อมีเหตุสะเทือนใจเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นอาจสละชีวิตได้ ไม่เป็นผู้กลัวตายเลย แต่ถ้าไม่มีเหตุสะเทือนใจมากระตุ้นก็อาจกลัวตายได้เห มือนกัน เป็นอันว่าเกิดเป็นคนจะพ้นจากความหวาดสะดุ้งกลัวต่อค วามตายเสียทีเดียวไม่ได้ จะกลัวมากกลัวน้อยก็สุดแต่กำลังใจที่เคยฝึกกันมาแตกต ่างกัน และเหตุสะเทือนใจมากน้อยเพียงไหน การจะหาผู้ไม่กลัวตายเลยนั้นคงยาก ถ้าคนไม่กลัวตายสำหรับคนขลาดที่ไม่กล้าต่อสู้กับความ ลำบากเดือดร้อนในชีวิตก็อาจฆ่าตัวตายกันหมด ความกลัวตายดูเหมือนจะไม่เป็นมาแต่กำเนิด ไม่เหมือนอย่างเรื่องหิวข้าวหิวอาหาร ซึ่งพอเกิดมาร้องแว้ก็เริ่มรู้จักกินเป็นแล้ว เด็กที่ยังไม่เดียงสาจะไม่กลัวความตายเลย จะเกิดกลัวก็ต่อเมื่อมีปัญญารู้คิดขึ้นมาบ้างแล้ว สัตว์ชั้นต่ำอาจมองดูเพื่อนที่ตายไปโดยไม่หวาดสะดุ้ง กลัว เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ แต่สัตว์ชั้นสูง เช่น ช้าง ม้า เมื่อเห็นความตายมาสู่พวกของตัวก็ตระหนกตกใจกลัวได้ เป็นอันว่าสัตว์ที่รู้คิดบ้างแล้วย่อมรู้สึกกลัวตาย
ความตายเป็นของลึกลับสำหรับคนเป็น คนที่เคยอยู่ร่วมกัน เห็นอยู่หลัดๆ เมื่อมาพลัดพรากตายจากไป เราก็อาลัยและใจหาย รู้สึกว่าความคุ้นเคยที่มีอยู่เกี่ยวกับความเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ สามี หรือภรรยา ต้องมาขาดสะบั้น ไม่มีวันได้พบกันอีก เมื่อหวนระลึกถึงอดีตที่ผู้ตายได้เคยพูดคุย ได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างนั้นอย่างนี้ ต่อไปนี้ไม่มีอีกแล้ว หากผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตระลึกถึงความตายมาก่อน จะเกิดโทมนัสเสียใจอย่างมาก เป็นความเศร้าเจือด้วยความอาลัยอาวรณ์คนึงหา โดยไม่รู้ว่าผู้ตายไปอยู่ ณ แห่งหนใด สุขทุกข์อย่างใดไม่ปรากฏ ยิ่งผูกพันใกล้ชิดกับผู้ตายมากเพียงใด ความเศร้าโศกจะมากเพียงนั้น
ตายแล้วเกิดหรือไม่
ในครั้งพุทธกาลเคยมีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สัตว์ที่ตายแล้วจะเกิดอีกหรือไม่ พระองค์ไม่ทรงตอบว่าตายแล้วเกิดหรือสูญ เพราะในยุคนั้นความเห็นของคนเกี่ยวกับเรื่องความตายม ี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเห็นว่าตายแล้วเกิด เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตายแล้วสูญ เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิหากพระองค์ตรัสอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะไปพ้ องกับลัทธิความเชื่อของฝ่ายนั้นๆ ไป แต่พระองค์จะตรัสเป็นกลางๆ ว่า จะเกิดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิดก็ต้องเกิด ถ้าหมดเหตุปัจจัยก็ไม่เกิด ส่วนผู้ที่ตายแล้วไม่ต้องเกิดอีก เพราะได้เข้าถึงสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดอ ีก ได้แก่พระอรหันต์จำพวกเดียวเท่านั้น นอกนั้นต้องเกิดใหม่ทั้งหมด ส่วนจะไปเกิดเป็นอะไรค่อยมาว่ากันในตอนท้ายเพราะฉะนั ้น หากสมมุติว่ามีใครมาด่าว่าเราว่า ขอให้ตายอย่าได้ผุดได้เกิดเลย ก็จงอย่าโกรธเคืองหรือโต้ตอบเขา ให้คิดว่านั่นคือคำให้พรและให้ยกมือสาธุพร้อมกล่าวว่ า ขอให้เป็นจริงเถอะ เพราะผู้ที่ตายแล้วไม่เกิดมีบุคคลจำพวกเดียว คือ พระอรหันต์
เหตุแห่งการตาย สาเหตุที่ทำให้ตายมีประเด็นใหญ่ๆ อยู่ ๔ ประการ คือ
๑. ตายเพราะสิ้นอายุ (อายุกขยมรณะ) ในสมัยครั้งพุทธกาล อายุขัยของคนในยุคนั้น คือ ๑๐๐ ปี มาปัจจุบันนี้ล่วงมาได้ ๒๕ ศตวรรษ คือ ๒,๕๐๐ กว่าปี อายุจึงลดลงมาอีก ๒๕ ปี ฉะนั้นอายุขัยของคนปัจจุบันนี้จึงมีแค่ ๗๕ ปี วิธีคำนวณคือนับแต่ปีพุทธปรินิพพานมา ๑๐๐ ปี (๑ ศตวรรษ) ลดไป ๑ ปี เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาล่วงไป ๒๕ ศตวรรษ จึงเท่ากับ ๒๕ ปี ใครที่ตายในช่วงอายุ ๗๔ หรือ ๗๕ ปี ถือว่าตายเพราะสิ้นอายุขัย แต่ถ้าใครอยู่เกินไปกว่านั้นจัดว่าเป็นบุญ
๒. ตายเพราะสิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) ผู้ที่จะไปเกิดในภพภูมิใด จะดีเลวหรือประณีตอย่างไร กรรมที่แต่ละคนสร้างเป็นผู้ลิขิตให้เป็นไปอย่างเช่น การจะมีสิทธิ์มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างน้อยต้องเคยมีศีล ๕ หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการมาก่อน และเมื่อเกิดมาเป็นคนแล้วยังแตกต่างกันด้วยรูปร่าง ผิวพรรณ ฐานะ ตระกูล อุปนิสัย อายุสั้นหรืออายุยืนเป็นต้น เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ใครทำกรรมอันใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น การที่ตายเมื่อยังไม่ถึงวัยอันควรเป็นเพราะกรรมฝ่ายก ุศลที่ส่งให้เขาเกิดมาเป็นคนนั้นหมดไปเหมือนคำพูดที่ ว่า สิ้นบุญหรือหมดบุญนั่นแหละ
๓. ตายเพราะสิ้นทั้งอายุและกรรม (อุกบัลขยมรณะ) คนที่มีอายุบางคนร่างกายยังแข็งแรงดีและไม่มีโรคภัยป ระจำตัว แต่พอถึงคราวตายก็ตายไปเฉยๆ เหมือนว่าหลับแล้วไปเลยไม่ตื่น อย่างนี้ก็เข้าลักษณะนี้ คือหมดทั้งอายุและกรรม
๔. ตายเพราะถูกกรรมตัดรอนหรืออุบัติเหตุ (อุปัจเฉทกกรรมขยมรณะ) ปัจจุบันคนที่ตายเพราะเหตุนี้มีมาก มีทั้งตายเดี่ยวและตายหมู่ อันเนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ รวมทั้งโรคภัยที่รักษาไม่หายด้วยเป็นที่น่าเสียดายว่ าเขายังไม่ถึงวัยอันควรต้องตาย แต่มาตายไปเสียก่อน เกี่ยวกับเรื่องนี้ในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสาเห ตุไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไปจะเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น หากตายไปยังไม่เข้าถึงอบาย เกิดมาก็จะเป็นคนมีอายุสั้น คนที่เกิดมามีอายุสั้นเพราะผลแห่งปาณาติบาต"

ปัจจัยนำให้ไปเกิด ตามที่กล่าวข้างต้นว่า คนที่ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี แต่ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะผู้ที่ต้องเกิดอีกว่ามีสาเห ตุมาจากอะไร ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสาเหตุไว้ ๓ ประการ คือ
๑. กัมมัง เขตตัง มีกรรม คือการกระทำทางกาย วาจา และใจ เป็นเสมือนเนื้อนาหรือดินไว้เพาะพืชพันธุ์ต่างๆ
๒. วิญญาณัง พีชัง มีวิญญาณ คือความรู้สึกนึกคิด เสวยอารมณ์ต่างๆ ที่เรียกว่า จิตหรือใจ เปรียบเสมือนเมล็ดหรือหน่อพืช
๓. ตัณหา สิเนหัง กิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น เปรียบเหมือนยางเหนียวที่อยู่ในเมล็ดพืชนั้น
การที่เมล็ดพืชจะงอกใหม่ได้ ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งคือ ยางเหนียวที่มีอยู่ในเมล็ดพืชนั้น ได้แก่ ตัณหา หรือกิเลสทั้งหลาย เมื่อมีกิเลสตัณหาจึงสร้างกรรมซึ่งเป็นเสมือนเนื้อนา ที่มีธาตุอินทรีย์อุดมสมบูรณ์ให้พืชพันธุ์ต่างๆ งอกงามต่อไป เพราะฉะนั้น การตัดยางเหนียวคือตัณหาออกเสียได้ คือการตัดต้นเหตุของการเกิดได้โดยแท้จริง เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นปฐมพุทธพจ น์ หลังจากตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ ว่า "เราเมื่อแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสาร นับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
ดูกรช่างผู้ทำเรือน คือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือน คืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้วยอดแห่งเรือนคืออวิชชาเรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้วเพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นท ี่สิ้นตัณหาทั้งหลายแล้ว"
นิมิตปรากฏก่อนตาย
ก่อนที่จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต จิตที่เรียกว่าจุติจิตหรือตายนั้น จะมีอาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำในเวลาจวนเจียนใกล้ตายมาปรากฏ ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็ไปสู่สุคติ ถ้าเป็นอกุศลก็ไปทุคติ ท่านอุปมาอาสันนกรรมเหมือนโค แม้จะทุพพลภาพ แต่อยู่ใกล้ประตูคอก เมื่อเจ้าของโคเปิดประตูคอก โคตัวนั้นก็ออกได้ก่อนตัวอื่น คตินี้คนไทยได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณว่า เมื่อเห็นปูชนียบุคคลของตนเช่น พ่อ แม่ ป่วยหนัก ท่าจะไม่รอดแน่ ลูกหลานก็จะหาดอกไม้ ธูป เทียน มาใส่ไว้ในซองมือแล้วบอกเตือนสติให้ท่านนึกถึงบุญกุศ ลคุณความดีที่เคยสร้าง หรือให้ภาวนาว่า อรหังๆ หรือ พุทโธๆ แล้วแต่กรณี แต่ปัจจุบันนี้ คนส่วนมากมักตายในห้องไอซียู ไม่ได้อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ แต่อยู่ท่ามกลางแพทย์และพยาบาล ซึ่งไม่ได้รู้จักมักคุ้นกันมาก่อนและไม่ได้บอกทางสวร รค์ให้ บุคคลเหล่านี้เพียงแต่คอยดูแลช่วยปั๊มหัวใจให้ออกซิเ จนหรืออื่นๆ ตามวิธีรักษาของเขา ก็ไม่แน่ใจว่าผู้ที่ตายเช่นนี้จะมีสติระลึกถึงกรรมที ่เป็นฝ่ายกุศลได้หรือไม่ โดยอารมณ์ของคนที่ใกล้จะตายจะมีนิมิตมาปรากฏทางมโนทว าร ๓ อย่าง ดังนี้
๑. กรรมารมณ์ เคยทำกรรมอะไรมาเป็นประจำ ทั้งดีหรือไม่ดี จิตก็จะเหนี่ยวนึกเอาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ หรือจะเรียกว่าอาสันนกรรม คือกรรมที่จวนเจียนใกล้ตายกำลังให้ผลก็ได้ ภาษาพระท่านเรียกวิถีจิตตอนนี้ว่า มรณาสันนชวนะ คือกระแสจิตที่แล่นไปสู่ความตาย
๒. กรรมนิมิตตารมณ์ เมื่อจิตไปยึดเกาะกรรมใดมาเป็นอารมณ์แล้วจะเกิดนิมิต หรือภาพเกี่ยวกับกรรมนั้นให้เห็นทางมโนทวารในลำดับต่ อมา เช่น เคยฆ่าคน ฆ่าสัตว์หรือทรมานสัตว์ ภาพเหล่านั้นจะมาปรากฏหรืออาจจะเห็นคนหรือสัตว์ที่ถู กฆ่าเหล่านั้นมาทวงเอาชีวิตไป ส่วนกรรมดี เช่นเคยทำบุญ ให้ทาน รักษาศีลหรือฟังธรรม เป็นต้น ภาพเหล่านั้นจะมาปรากฏทำให้จิตแช่มชื่นเบิกบานแจ่มใส
๓. คตินิมิตตารมณ์ ลำดับจิตขั้นตอนนี้จะเห็นคติ คือ ภพหรือภูมิที่จะไปเกิดว่าจะไปสู่สุคติหรือทุคติ อาจจะเห็นเป็นรูปวิมาน เป็นนรก เป็นเหว เป็นไฟนรก เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดคนตายจะเคยเห็นอาการของคนใก ล้จะตายแตกต่างกัน ตามอารมณ์ที่ปรากฏแก่จิต ผู้จะตายในขณะนั้นๆ บางคนแสดงถึงความทุกข์ทรมาน หวาดกลัว ประหวั่นพรั่นพรึงให้ปรากฏก่อนจิตจะดับ บางคนก็ตายด้วยอาการอันสงบใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
อารมณ์ทั้ง ๓ นี้ จะเกิดทางมโนทวาร คือ เฉพาะทางใจของผู้ที่ใกล้จะตายเท่านั้น บุคคลอื่นจะไม่เห็นนิมิตที่ปรากฏทางใจของเขา เช่น ในครั้งพุทธกาล ท่านธรรมิกอุบาสกก่อนจะดับจิตฟังพระสวดมหาสติปัฎฐานส ูตรอยู่ นิมิตตารมณ์ที่ปรากฏแก่ท่าน คือ เทวดานำราชรถมารอรับท่านไปสู่วิมานสวรรค์ ท่านเกรงว่าจะรบกวนพิธีที่พระกำลังเจริญพระพุทธมนต์อ ยู่จึงห้ามเทวดาว่า หยุดก่อนๆ พวกลูกๆ ของท่านเข้าใจว่าพ่อตัวเองคงจะเพ้อ พระยังสวดไม่จบจะให้หยุดทำไม ธรรมิกอุบาสกบอกว่า พ่อไม่ได้เพ้อ แต่เป็นเพราะเทวดาเอาราชรถมารอรับพ่ออยู่ พ่อจึงห้ามไว้รอให้พระสวดจบก่อนแล้วจึงค่อยไปแล้วชี้ ให้ลูกดูราชรถที่จอดรออยู่บนอากาศ พวกลูกไม่เห็น ท่านจึงให้ลูกโยนพวงมาลัยไปบนอากาศ พวงมาลัยนั้นไปคล้องที่ปลายงอนราชรถแขวนอยู่บนอากาศอ ย่างนั้นพวกลูก ๆ จึงเชื่อ
เมื่อตายแล้วเกิดทันทีหรือล่องลอยเป็นสัมภเวสีหาที่เ กิดอยู่
ตามความรู้สึกของคนทั่วไปมักเชื่อว่า คนที่ตายแล้ววิญญาณออกจากร่างและวิญญาณนั้นจะล่องลอย ไป เพื่อแสวงหาที่เกิดใหม่ ในระหว่างนี้เรียกว่าเป็นสัมภเวสี ต่อเมื่อเวลาล่วงไปได้ ๗ วัน จึงจะได้เกิด ตามความเชื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าจะว่ากันตามหลักพุทธศาสนาแล้ว ช่องว่างระหว่างจุติจิตกับปฏิสนธิจิตนั้น เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ตามธรรมชาติของวิถีจิตมันเป็นเช่นนั้น จึงเท่ากับว่าคนที่ตายแล้วจะต้องเกิดทันที ส่วนจะเกิดเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมที่จะเป็นชนกก รรมอยู่ในจุติจิตจะชักนำไปเกิด ส่วนคำว่า สัมภเวสี นั้น แปลว่า ผู้แสวงหาภพ หมายถึง สัตว์ที่รอคอยการปฏิสนธิอันแน่นอน โดยเฉพาะคือ บุคคลและสัตว์ทั่วไป จนถึงพระอนาคามีบุคคลเป็นที่สุด โดยมีคำอธิบายเป็น ๒ นัย ดังนี้
๑. หมายเอาคน สัตว์ เทวดา เป็นต้น จนถึงพระอนาคามี ซึ่งท่านเหล่านี้ยังต้องเกิดอีกจะน้อยหรือนานเพียงไห นขึ้นอยู่กับการละกิเลสที่แต่ละคนละได้เพียงไร
๒. หมายเอาสัตว์ที่ตายแล้ว ไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่ง เช่น เป็นสัตว์นรกเสวยวิบากกรรมจนครบแล้ว กำลังรอคอยการเกิดใหม่ เช่น จะไปเกิดเป็นสัตว์ แต่ยังไม่ถึงฤดูที่สัตว์เหล่านั้นผสมพันธุ์ ปฏิสนธิวิญญาณดวงนั้นก็ยังไม่เกิด จนกว่าจะได้ปัจจัยพร้อมมูลจึงได้เกิด
ลักษณะกำเนิดของสัตว์
ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์โดยทั่วไป เมื่อตายหรือละสังขารจากอัตภาพนั้นๆ แล้ว หากมีปัจจัยที่จะต้องเกิดก็ต้องไปเกิดในภพใดภพหนึ่งใ นกำเนิดทั้ง ๔ คือ
๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คนหรือสัตว์บางประเภท
๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น ไก่ นก เป็ด เป็นต้น
๓. สังเสทชะ เกิดในของสกปรก เช่น หนอนบางชนิด
๔. โอปปาติกะ เกิดโดยผุดขึ้นเป็นตัวตนเลย เช่น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือ พรหม เป็นต้น
ภูมิที่จะไปเกิด
คราวนี้มาถึงประเด็นสำคัญของคำถามที่ว่า ตายแล้วไปไหน หากไม่ตอบเล่นสำนวนเหมือนที่พูดกันว่า "ตายแล้วก็ไปวัดนะซี" ก็ต้องขอยกเอาพระพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับการเกิดของ สัตว์มาอ้าง ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ย่อมเกิดในครรภ์ บางจำพวกทำกรรมลามก ย่อมเกิดในนรก บางจำพวกทำกรรมดีแล้ว ย่อมเกิดในเทวโลก ส่วนผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังจะขอแยกประเภทของภพภูมิใหญ่ๆ ที่สัตว์จะไปเกิดให้เห็นชัดๆ คือ
๑. นรก ไปเกิดเพราะอำนาจของโทสะ
๒. เปรตและอสุรกาย ไปเกิดเพราะอำนาจของโลภะ
๓. สัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเพราะอำนาจของโมหะ
๔. มนุษย์ ไปเกิดเพราะรักษาศีล ๕ และกุศลกรรมบถ ๑๐
๕. เทวดา ไปเกิดเพราะมหากุศลจิต ๘ ดวง อันประกอบด้วย หิริ และโอตตัปปะ เป็นต้น เช่น การบริจาคทาน การฟังธรรม หรือการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
๖. พรหม ไปเกิดเพราะการเจริญฌาน ในอารมณ์ของกรรมฐาน ๔๐ มีการเพ่งกสิณ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์
การที่จะทราบว่าคนที่ตายจากอัตภาพนี้ไปเกิดในภูมิไหน นั้น จึงขึ้นอยู่กับชนกกรรมในขณะจุติจิต เช่น จิตประกอบด้วยโทสะก็ไปนรก ประกอบด้วยโลภะก็ไปเป็นเปรต อสุรกาย เป็นต้น โดยมีพุทธพจน์รองรับเกี่ยวกับวาระจิตขณะจุติจิตเกิดข ึ้นว่า จิตเต สังกิลิฏเฐทุคคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นที่หวังได้ และจิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติภพเป็นที่หวังได้ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ก่อนจะตายว่าจิตเศร้าหมองหรือผ่อ งใส จึงไม่แน่นอนเสมอไปว่า คนที่สร้างกรรมดีมาจะไปสู่สุคติ หรือคนที่สร้างกรรมชั่วจะไปทุคติสถานเดียว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวาระจิตก่อนจะดับเป็นเกณฑ์ว่า เศร้าหมองหรือผ่องใส ถึงกระนั้น คนที่สร้างกรรมดีมามากแม้จะตายด้วยจิตที่เศร้าหมองแล ้วไปทุคติ ก็อาจไปเสวยทุกข์ไม่นาน ผลแห่งกรรมดีย่อมให้ผลเป็นสุคติภพในภายหลัง และหลักความจริงอีกอย่างหนึ่งคือว่า เมื่อจิตเคยเสพคุ้นคุณความดีอย่างใดมาตลอดชั่วชีวิตก ็อาจเป็นแรงชักนำไปในทางดีหรือปิดกั้นอกุศลอื่นๆ มิให้เกิดขึ้นได้ ส่วนผู้ที่สร้างความชั่วพึงทราบในทางตรงข้าม
ทำไมคนตายจึงไม่มาบอกญาติที่อยู่ข้างหลังว่าอยู่ในภพ ภูมิไหน สุขหรือทุกข์อย่างไร
ทุกคนย่อมมีบรรพบุรุษคือ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ หรือแม่ ที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไมท่านเหล่านั้นจึงไม่มาบอกลูกหลานว่า ขณะนี้เป็นอยู่อย่างไร สุขหรือทุกข์เพียงไหน โดยมากไปแล้วไปเลยไม่ย้อนกลับมาบอกลูกหลานหรือบางท่า นอาจเคยฝันเห็นญาติคนนั้นคนนี้ว่า ท่านเป็นอยู่อย่างนี้ๆ ได้พูดคุยกันอย่างนี้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่พอจะยืนยันให้เชื่อถืออย่างแน่ช ัดว่าเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ อาจเป็นเพราะผู้ฝันนั้นมีจิตกระหวัดถึงใครเป็นพิเศษจ นฝังลึกในห้วงจิตใต้สำนึก พอหลับแล้วสัญญาคือความจำในจิตใต้สำนึกนั้น จึงแสดงออกมาเป็นความฝัน ในเรื่องนี้พึงเทียบเคียงกับความฝันว่าได้เห็นภาพสถา นที่ที่เคยเล่นหรือเคยเห็นเมื่อตอนวัยเด็กว่าได้ไปเด ินหรือวิ่งเล่นตรงโน้นตรงนี้ ทั้งๆ ที่ความจริงสถานที่นั้นเป็นภาพเดิมซึ่งไม่มีอยู่แล้ว เปลี่ยนแปลงใหม่หมดไปตามกาลเวลา แล้วทำไมเราจึงฝันเห็นภาพเก่าๆ อยู่
อนึ่ง คนที่ตายไปหากเกิดเป็นคนหรือสัตว์เดรัจฉานจะมาบอกญาต ิที่อยู่ข้างหลังได้อย่างไร เนื่องจากสัญญาขันธ์ คือความจำในอดีตชาติมันดับไปแล้ว จึงทำให้ระลึกไม่ได้ แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบางคนที่จำอดีตชาติบางตอนของตนไ ด้ หรือผู้ที่ได้บรรลุบุพเพนิวาสนานุสสติญาณ คือระลึกชาติหนหลังได้ เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงคนโดยทั่วไป อย่าว่าแต่ระลึกชาติหนหลังเลย ขอเพียงแค่ให้ระลึกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของตนที่ ผ่านมาเมื่อตอนเช้าของวันนี้ว่า ได้ทำอะไร ได้พูดกับใครว่าอย่างไร พูดไปกี่คำ ได้กินข้าวไปกี่คำ หรือได้เดินไปกี่ก้าว เป็นต้น คงไม่มีใครไปจดจำได้หมดเป็นแน่ เพราะขาดมนสิการ คือความตั้งใจด้วยเหตุที่สติยังมีไม่สมบูรณ์นั่นเอง หากผู้ตายไปเกิดเป็นสัตว์นรกในภูมินี้จะมีแต่ทุกข์ทร มานไม่มีเวลาช่วงว่างให้คิดถึงหรือไปหาใครได้ง่ายๆ แม้แต่ในโลกมนุษย์หากใครถูกจับกุมคุมขัง ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งแม้ผู้ถูกจับนั้นจะอ้อนวอนผู้จับว ่าขอให้ปล่อยตัวไปชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมญาติหรือบอกล าญาติก่อนเช่นนี้ คงไม่มีใครอนุญาตให้แน่ หรือถ้าไปเกิดในสุคติภูมิ เช่น เป็นเทวดา ภูมินี้เขาจะอิ่มเอมกับความสุขที่เป็นทิพย์ทุกอย่างเ พลิดเพลินอยู่กับความสุขนั้นอย่าว่าแต่เทวดาเลย ลองนึกถึงตัวเราเองเป็นเกณฑ์ก่อนก็ได้ว่า คราใดที่เรากำลังรู้สึกดื่มด่ำกับความสุขอย่างใดอย่า งหนึ่งมากเหลือล้น ในขณะนั้นเราจะคิดถึงคนโน้น อยากไปเยี่ยมคนนี้บ้างไหม ท่านเปรียบคนที่ไปเกิดเป็นเทวดาเหมือนบุรุษผู้หนึ่งเ ดินไปตกบ่ออุจจาระและเปื้อนอุจจาระไปทั้งตัว แล้วมีคนมาช่วยเขาให้ขึ้นจากบ่อนั้นพาไปอาบน้ำชำระล้ างร่างกายจนสะอาดดีแล้ว มีเสื้อผ้าใหม่สวยงามราคาแพงให้สวมใส่แล้วพากันแห่แห นให้อยู่บนปราสาทอันสวยงาม มีอาหารอันประณีตให้บริโภค พร้อมมีหญิงสาวสวยหลายนางมาคอยปรนนิบัติพัดวีรับใช้ หากจะถามชายผู้นั้นว่า อยากลงไปแช่อยู่ในบ่ออุจจาระเหมือนเดิมไหม ชายผู้นั้นคงตอบไม่อยากไปเป็นแน่ เพราะเขากำลังเพลิดเพลินอยู่กับความสุข อุปมานี้ฉันใดพวกเทวดาทั้งหลายเขาก็รู้สึกฉันนั้น คือ เทวดาชั้นสูงจะรู้สึกรังเกียจและเหม็นสาปกลิ่นมนุษย์ ที่สร้างแต่บาปอกุศลกันเป็นส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใก ล้ ข้อนี้จะเห็นตัวอย่างที่พวกเทวดามาทูลถามปัญหากับพระ พุทธเจ้าต้องเป็นเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้วเท่านั้น และจัดเป็นพุทธกิจหนึ่งในพุทธกิจ ๕ คือ แก้ปัญหาเทวดาด้วย ทั้งนี้เพราะเทวดาต้องรอให้มนุษย์หลับกันหมดก่อน ไม่มาพลุกพล่านให้เป็นที่เหม็นสาบของพวกเขานั่นเอง
การสื่อสารที่ไม่เข้าใจระหว่างมนุษย์กับอทิสสมานกาย
ผู้เกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานเท่านั้นที่มีกาย หยาบ นอกนั้นเป็นกายละเอียดหมด เช่นเปรต อสุรกาย เทวดา หรือพรหม เป็นต้น เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อ แต่สัมผัสรู้ได้ทางใจ คือปัญญา ฉะนั้นการที่พวกอทิสสมานกายเหล่านั้นจะสื่อสารกับพวก มนุษย์จึงไม่ง่าย เพราะอยู่กันคนละมิติ แต่เขาสามารถสื่อสารให้มนุษย์ได้รู้ในสิ่งที่เขาต้อง การเป็น ๓ ลักษณะ คือ ทางรูป ทางเสียง และทางกลิ่น คนโบราณเชื่อว่า สุนัขมันมีประสาทสัมผัสพิเศษที่สามารถรับรู้จิตวิญญา ณของ อมนุษย์หรือผีได้ โดยสังเกตจากการเห่าหอนในยามค่ำคืน ดึกสงัด บางทีมันหอนรับกันเป็นช่วงๆ ชวนน่าขนลุก และจำเพาะช่วงเวลาที่มีคนตายในละแวกนั้นด้วย ขอเสนอแนะว่าหากผู้ใดถูกผีหลอกไม่ควรตกใจหรือตื่นเต้ นจนขวัญหนีดีฝ่อ ให้คิดว่าผู้ที่มาแสดงอาการต่างๆ หรือผีที่มาหลอกนั้น เขาอาจจะเป็นบรรพบุรุษหรือญาติมิตรของเรา เขากำลังมีความทุกข์เดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือด้ วยการทำบุญอุทิศให้เขา จึงมาบอกให้รู้ แต่การสื่อสารมันคนละมิติกัน หากใครประสบเข้าจังๆ คงต้องวิ่งหนีไม่ก็สลบหรือถึงกับช็อกไปเลยก็ได้ ทางที่ดีควรตั้งสติ รวบรวมกำลังใจให้เข้มแข็งไว้แล้วลองสื่อสารไต่ถามกัน ดูว่าเป็นใครมาจากไหน ต้องการอะไร อาจจะได้ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้พบเจอมาเล่าสู่ให้ผู้อื่นได้ฟั งบ้าง ถ้าจะว่ากันตามความจริงแล้วเรื่องกลัวผีนี้ จิตของเราเองนั่นแหละสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเองว่าผีต้ องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นผีจริงๆ เลยสักครั้งเดียว โดยความกลัวผีนี้เราปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว
ความต่างแห่งกาลเวลาระหว่างมนุษยโลกกับเทวโลก
มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งพุทธกาลมีเทพธิดาตนหนึ่ง ซึ่งเป็นมเหสีของท้าวมาลาภารีเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้ นดาวดึงส์ เช้าวันหนึ่งท้าวมาลาภารีเทพบุตรชวนเหล่ามเหสีออกไปช มสวน ในระหว่างเดินชมสวนอยู่นั้น เทพธิดาตนนั้นต้องการไปเกิดเป็นคน จึงจุติคือตายจากความเป็นเทพธิดาไปเกิดเป็นมนุษย์ในต ระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี พอเติบโตรู้ความ นางระลึกชาติหนหลังได้ว่าเคยเกิดเป็นเทพธิดาตนนั้น จึงปรารถนาที่จะไปเกิดเป็นมเหสีของท้าวมาลาภารีเทพบุ ตรอีก เวลาทำบุญทุกครั้งก็อธิษฐานจิตว่าขอให้ไปเกิดในสวรรค ์ชั้นนั้นอีก นางจึงได้ชื่อว่า ปติปูชิกา แปลว่า หญิงผู้บูชาสามี พอนางอายุได้ ๑๖ ปี จึงแต่งงานและมีลูกหลานหลายคน นางใฝ่ในการสร้างกุศลและอธิษฐานจิตเช่นนั้นอยู่เนือง ๆ พออายุได้ ๖๐ ปี นางจึงสิ้นชีพแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สมปรารถ นา ระหว่างนั้นเป็นเวลาเที่ยงวันของสวรรค์ชั้นนั้น ท้าวมาลาภารีเทพบุตรยังไม่กลับจากการเดินชมสวนพอเห็น เทพธิดาที่ชื่อ ปติปูชิการนี้เดินไปหา พระองค์จึงถามว่า เมื่อเช้าเธอไปไหนมา นางจึงตอบตามความจริงว่าไปเกิดเป็นมนุษย์ มีอายุได้ ๖๐ ปี ท้าวมาลาภารีเทพบุตรจึงถามต่อไปว่า ตอนนี้มนุษย์เป็นอยู่กันด้วยความไม่ประมาทในชีวิตหรื อไม่ นางตอบว่า มนุษย์ทุกวันนี้เป็นอยู่กันด้วยความประมาทมัวเมาเป็น อย่างยิ่ง อายุน้อยก็สำคัญว่าอายุยืน ไม่ใส่ใจในการสร้างกุศล พอท้าวมาลาภารีเทพบุตรได้ทราบข่าวเช่นนี้จึงเกิดความ สังเวชสลดในเป็นอย่างมาก จึงชวนกันกลับวิมาน จากเรื่องที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าเพียงครึ่งวันของสวร รค์ชั้นดาวดึงส์ เท่ากับเมืองมนุษย์ ๕๐-๖๐ปีทีเดียว และจะขอนำเอาอายุของสวรรค์ ๖ ชั้น ว่าแต่ละชั้นมีอายุเทียบเท่าเมืองมนุษย์เท่าไหร่ ลดหลั่นกันอย่างไรมาให้ทราบ ดังนี้
๕๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา ประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์
๑,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประมาณ ๔ เท่า จาก ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
๒,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นยามา ประมาณ ๔ เท่า จาก ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี
๔,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นดุสิต ประมาณ ๔ เท่า จาก ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
๘,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทดาสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ประมาณ ๔ เท่า จาก ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี
๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัสตี ประมาณ ๔ เท่า จาก ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๙,๒๑๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
เพราะฉะนั้นหากใครมีญาติที่ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมญาติคนนั้นคนนี้จึงไม่มาบอกว่ ากำลังเกิดเป็นอะไรอยู่ เพราะผู้ที่กำลังดื่มด่ำกับความสุขไม่คิดถึงใครง่ายๆ หรอก และอีกอย่างหนึ่งอายุของเขายาวนานกว่าเรามาก เพียงเขาไปอยู่แค่ ๑ วัน พวกเราก็คงไม่เหลืออยู่รอให้ใครมาบอกแล้ว บางทีอาจไปเจอกันบนนั้นหรือไม่ก็ไปอยู่เป็นเพื่อนกับ พระเทวทัตก็เป็นได้
บุญที่ญาติทำอุทิศผู้ตายจะได้รับหรือไม่
เมื่อมีบุคคลในครอบครัวตายโดยเฉพาะถ้าผู้นั้นเป็นปูช นียบุคคลของเขา เช่นเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา หรือยาย ย่อมสร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ลูกหลาน ผู้อยู่เบื้องหลังเป็นอย่างมาก โดยญาติของผู้ตายนั้นจะขวนขวายสร้างกุศลอย่างเต็มที่ ตามประเพณีนิยมปฏิบัติของท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อหวังจะอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้กับผู้ตาย แม้จะไม่ทราบว่าผลบุญที่ทำอุทิศให้ไปนั้นผู้ตายจะได้ รับหรือเปล่าแต่ญาติก็เต็มใจทำ หากไม่ได้ทำตามประเพณีงานศพให้ผู้ตาย จะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม ญาติจะรู้สึกไม่สบายใจ และต้องหาโอกาสทำบุญให้ในภายหลังจนได้ นี่คือความเชื่อของชาวพุทธไทยโดยทั่วไป และมีคนอีกจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ที่ชอบคิดว่าบุญที่ญาติทำอุทิศให้ผู้ตายไปนั้นจะถึงผ ู้ตายหรือไม่ และจะทราบได้อย่างไรว่าผู้ตายได้รับแล้ว ปัญหานี้ทำความเข้าใจได้ไม่ยากเลยคือ ต้องคำนึงถึงความจริงอย่างหนึ่งว่า การที่เราจะมอบของอะไรแก่ใครผู้รับต้องอยู่ในฐานะที่ จะมารับได้ ไม่ใช่ไปอยู่ในถิ่นกันดารไม่มีโอกาสติดต่อกับบุคคลภา ยนอกเลยแล้วเราส่งของไปให้เขา เช่นนี้นอกจากผู้รับจะไม่ได้รับสิ่งของแล้ว โอกาสที่ของนั้นจะสูญหายยังมีมากอีกด้วย คราวนี้ย้อนมากล่าวถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หากผู้นั้นไปเกิดเป็นเทวดา เทวดาก็มีอาหารอันเป็นทิพย์ของเขา ไปเกิดเป็นสัตว์นรกเขาก็มีความทุกข์ทรมานหรือบริโภคเ ลือดเนื้อกันเองเป็นอาหารถ้าไปเกิดเป็นช้าง ม้า วัว ควาย หรือแม้กระทั่งเป็นคน เขาก็มีอาหารของเขาโดยเฉพาะทั้งนั้นรวมความคือ ผลบุญที่ญาติอุทิศส่งไปนั้นไม่ถึงผู้รับ เพราะผู้รับไม่อยู่ในวิสัยที่จะรับได้ แต่ตำราท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ตายแล้วไปเกิดเป็น ปรทัตตูปชีวีเปรต ประเภทเดียวเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้รับส่วนบุญที่ญาต ิอุทิศส่งไปให้ เพราะเปรตประเภทนี้ เป็นอยู่ได้เพราะผลบุญที่ผู้อื่นให้นอกนั้นหมดสิทธิ์ เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้อาจทำให้หลายท่านเกิดความท้อแท ้หรือหมดกำลังใจในการทำบุญ ประเด็นนี้มีคำอธิบายว่า สมมติว่า เราเตรียมอาหารไว้คอยต้อนรับแขก แต่บังเอิญว่าแขกไม่มาตามนัด อาหารนั้นย่อมตกเป็นของเราผู้เป็นเจ้าของอยู่ดี การทำบุญก็เช่นกัน เมื่ออุทิศให้ใครไปแล้ว แต่ไม่มีใครรับ บุญก็คงอยู่กับผู้ให้นั่นเอง หรือหากมีผู้รับก็ใช่ว่าบุญนั้นจะหมดไปจากผู้ให้ก็หา มิได้ ท่านเปรียบเหมือนกับการต่อเทียนจากเล่มหนึ่งไปอีกหลา ยๆ เล่ม มีแต่เพิ่มแสงสว่างมากขึ้น โดยเทียนเล่มเดิมหาได้มอดแสงดับลงไปไม่ ขอให้ทำความเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับการให้ส่วนบุญนี้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีผู้ให้แล้ว ผู้รับจะต้องได้อนุโมทนาส่วนบุญนั้นเป็นสำคัญจึงจะสำ เร็จประโยชน์การให้และการรับส่วนบุญ
ทำบุญสูญเปล่าจริงหรือ
สิ่งที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เชื่อมั่นอยู่อย่างหนึ่งว่าให ้ผลเป็นความสุข คือ บุญ ทั้งๆ ที่ไม่เคยพบตัวบุญจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร แต่เพราะเชื่อตามพุทธพจน์ที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากลัวบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" และว่า "บุญ เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า" แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยเหมือนกันที่ยังมีความลั งเล สงสัยเกี่ยวกับเรื่องผลของบาปบุญว่าอาจจะไม่มีจริงก็ ได้เพราะเห็นคนที่ทำชั่วบางคนกลับได้ดีมีสุข ส่วนคนที่ทำดีมาเกือบชั่วชีวิตยังต้องลำบากอยู่ เลยเกิดความท้อแท้ในการสร้างบุญ ต้องขอทำความเข้าใจว่าอย่ามองเรื่องผลบุญให้เป็นเหมื อนกับการซื้อขายสินค้า ที่เมื่อจ่ายเงินไปก็ต้องได้สินค้ามา อย่างที่กล่าวตอนต้นว่า บุญเป็นชื่อของความสุข เป็นนามธรรมไม่ใช่เป็นวัตถุโดยขณะที่ทำบุญหรือสร้างค วามดีต่างๆ จิตของผู้ทำจะรู้สึกปลอดโปร่ง ปราศจากความเห็นแก่ตัว ไม่มีอกุศลแทรกอยู่ในจิต นี่คือตัวบุญหากทำบุญด้วยกิเลสหรือหวังผลตอบแทน ไม่จัดเป็นบุญแท้ ส่วนบุญที่แท้คือการทำบุญเพื่อบุญหรือทำดีเพื่อความด ี มิใช่หวังอะไรอื่น ส่วนการจะได้วัตถุหรือเกียรติอย่างใดอย่างหนึ่งตามมา ภายหลังจากการทำบุญนั้น นั่นคือบริวารของบุญอีกอย่างหนึ่งต้องไม่ลืมในเรื่อง ของกฎแห่งกรรมที่มันจะให้ผลไปตามลำดับของกรรมหนักหรื อเบาด้วย สำหรับกรรมฝ่ายดี ท่านกล่าวว่า หากผู้ใดได้ถวายอาหารแก่พระอรหันต์ผู้ออกจากสัญญาเวท ยิตนิโรธสมาบัติใหม่ๆ จะได้เห็นอานิสงส์ตามปรารถนาในปัจจุบันชาตินี้ทีเดีย วดังตัวอย่างครั้งพุทธกาลที่ชาวนาผู้หนึ่งถวายอาหารแ ก่พระอรหันต์ซึ่งเพิ่งออกจากสมาบัติใหม่ๆ แล้วไปไถนา ขี้ไถได้กลายเป็นทองคำมาแล้ว บุญเหมือนของหอม บาปเหมือนของเหม็น โดยมากบาปมักจะให้ผลเร็วกว่าบุญ เพราะทำด้วยจิตที่เป็นอกุศลอย่างแรงกล้า อย่างน้อยก็ให้ผลเป็นความเศร้าหมองของจิตในขณะที่ทำแ ล้ว เพราะฉะนั้นในทางพุทธศาสนา ท่านจึงกล่าวว่าความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า และมีคำกลอนสอนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
อย่าดูหมิ่นบาปกรรมจำนวนน้อย
จักไม่คอยตามต้องสนองผล
แม้ตุ่มน้ำเปิดหงายรับสายชล
ย่อมเต็มล้นด้วยอุทกที่ตกลง

อันคนโง่สั่งสมบ่มบาปบ่อย
ทีละน้อยทำไปด้วยใหลหลง
ย่อมเต็มด้วยบาปนั้นเป็นมั่นคง
บาปย่อมส่งสู่นรกตกต่ำพลัน

ผลแห่งการกระทำกรรมดีชั่วหรือบุญบาปนั้น มีแน่นอน ไม่สูญหายไปไหน ตัวอย่างที่พอพิสูจน์ได้กับตัวของเราเองเช่น เมื่อย้อนคิดถึงบาปที่เคยทำ จะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ จิตเศร้าหมอง แต่ถ้าคิดถึงกุศล คุณความดีที่เคยสร้างขึ้นมาครั้งไร ทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส แช่มชื่น โสมนัส สิ่งนี้คือหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ผลแห่งบาปบุญนั้นมีจริงแน่ พระพุทธศาสนาจะเน้นหนักให้ศาสนิกหมั่นสร้างบุญกุศลไว ้เนืองๆ เพราะอย่างน้อยจะได้ความอุ่นใจ ๔ ประการ คือ
๑. ถ้าโลกหน้าไม่มีอยู่จริง ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง เป็นฐานะที่เป็นไปได้ว่า หลังจากตายไปแล้ว ตนจะยังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๒. ถ้าโลกหน้าไม่มีอยู่จริง ผลแห่งการทำดีทำชั่วไม่มี ในปัจจุบันเราก็สามารถรักษาตนให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์มีแต่ความสุข
๓. ถ้าบาปที่บุคคลทำชื่อว่าเป็นอันทำเมื่อเราไม่ได้คิดบ าปหรือทำบาปกับใครๆ ไหนเลยบาปจะมาพ้องพานเราผู้ไม่ได้ทำบาป
๔. ถ้าบาปที่คนทำชื่อว่าไม่เป็นบาป เราพิจารณาเห็นความบริสุทธิ์ของตนทั้ง ๒ ทาง คือสบายใจได้ ไม่ว่าผลบาปจะมีหรือไม่ก็ตาม เมื่อเราไม่ทำบาปอะไร ก็ไม่ต้องเดือดร้อนใจ
ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง คือบันเทิงทั้งในโลกนี้ และเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงด้วยเช่นกัน ในโลกนี้ก็บันเทิงว่าเราได้ทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติยอมบันเทิงยิ่งขึ้น
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายผู้บำเพ็ญบุญทั้งในโล กนี้และในโลกอื่น
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อยๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในภพหน้า
การสั่งสมบุญนำสุขมาให้ ญาติและมิตรสหาย ผู้มีใจดีทั้งหลายย่อมยินดีกับบุรุษผู้จากไปเสียนานแ ล้วกลับมาโดยสวัสดิภาพ แต่ที่ไกลฉันใด แม้บุญทั้งหลายย่อมรับรอง ผู้มีบุญอันทำแล้วไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า เหมือนญาติทั้งหลายรับรอง ญาติอันเป็นที่รักที่กลับมาแล้วฉันนั้น
เตรียมตัวก่อนตาย
ความตายเป็นธรรมชาติที่ทุกคนไม่สงสัยว่าตัวเองจะตายห รือไม่ เพราะรู้โดยสัญชาตญาณ และมีบุคคลอื่นตายให้เห็นเป็นประจักษ์พยานอยู่ทุกเมื ่อเชื่อวัน ส่วนใหญ่มักคาดการณ์รู้ว่าสักวันหนึ่งสภาพนี้ต้องมาถ ึงลำดับตนบ้าง แต่ที่ทุกคนมักไม่ค่อยคิดถึงความตายของตนเองเท่าใดนั ก เป็นเพราะความประมาทมัวเมาในชีวิต ในความไม่มีโรคและในความเป็นหนุ่มสาวของตนเป็นสำคัญ จึงทำให้ลืมนึกถึงความตายเช่นนี้ ถือว่าไม่ดีเลยเป็นความประมาทอย่างยิ่ง ใครเล่าที่จะรู้ว่าความตายจะมาถึงตนในวันพรุ่งนี้ คนที่จะเดินทางไกลเขายังต้องเตรียมเสบียงหรืออุปกรณ์ ปัจจัยต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง แต่การเดินทางของชีวิตไปสู่ปรโลกนั้น สำคัญยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด ไม่มีใครมาช่วยใครได้ นอกจากตนของแต่ละคนที่จะแสวงหาเกาะอันเป็นที่พึ่ง หรือเสบียงเดินทางไปภพเบื้องหน้าเอง สิ่งนั้นคือ บุญ วิธีการสร้างบุญเมื่อกล่าวโดยย่อมี ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา จงอย่าได้ประมาทในกิจ ๓ อย่างนี้ และใคร่ขอเสนอแนะ อุบายวิธีพิจารณา เพื่อให้มีสติระลึกถึงชีวิตและความตายไว้จะได้ไม่ประ มาท เพราะไม่แน่ว่าหลับแล้ว จะได้ตื่นหรือเปล่า โดยอย่างน้อยก่อนหลับนอน ให้สวดมนต์ไหว้พระ เจริญพระกรรมฐานแล้วพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณะ ๕ ประการ ดังนี้
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ (ชราธัม โมมหิ ชรัง อนตีโต)
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ (พยาธิธัมโมมหิ พยาธิอนตีโต)
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ (มรณธัมโมมหิ มรณัง อนตีโต)
๔. เราจักต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งส ิ้น (ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินา
ภาโว)
๕. เราจักทำกรรมใดๆ ไว้ดีก็ตาม ชั่วก็ตามจักต้องรับผลแห่งกรรมนั้นๆ (กัมมัสสโกมหิ กัม
มทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสร โณ ยัง กัมมัง กริสสามิ กลยาณัง วา ปาปกัง
วา ตัสส ทายาโท ภวิสสามิ)
อายุของมนุษย์นี้น้อยนัก คนดีไม่พึงดูหมิ่นอายุนั้น พึงรีบประพฤติความดีปานดั่งคนมีศรีษะอันไฟติดทั่วแล้ ว เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี หากผู้ใดได้ตระหนักถึงความจริงแห่งชีวิตหรืออายุตามท ี่กล่าว จะเกิดความไม่ประมาทแล้วเร่งรีบบำเพ็ญเพียร สร้างเกาะอันเป็นที่พึ่งสำหรับตน เช่นนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตายแล้วไปไหน



(1) ผู้ที่ตายไปแล้วตามภาษาชาวบ้านที่ว่ามาหลอกหลอนบ้าง มาเข้าฝันบ้าง มาแสดงให้ญาติๆทราบในลักษณะต่างๆบ้างแสดงว่าผู้ตายท่านนั้นยังไม่ไปผุดไปเกิดหรือยังไม่ไปไหนใช่หรือไม่
ตอบ ไม่ใช่ครับ ขออธิบายดังนี้นะครับ...ปุถุชนเราพอตายลงแล้ว มีที่ไป 2 ที่ ครับ 1.สุคติ (มนุษย์ เทวดา) 2. ทุคติ (เปรต สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย สัตว์นรก) ตายปุ๊บ เกิดปั๊ป...แต่จะเกิดเป็นอะไรก็อีกเรื่องหนึ่ง ในกรณีข้อ 1 ที่ ท่านกำลังสงสัย แสดงให้เห็นว่าเขาเกิดแล้ว...เกิดเป็น เปรต(มาขอส่วนบุญ) หรือไม่ก็อสุรกาย(มาหลอกหลอน) น่ะครับ...


(2) ตรงกันข้ามกับข้อ 1 คือ หากผู้ที่ตายไปแล้วเหมือนสูญหรือหายไปเลยโดยไม่มาแสดงใดๆให้ญาติทราบ อย่างนี้แสดงว่าท่านผู้นั้นไปเกิดแล้วหรือไปสู่ภพหรือภูมิที่ดีแล้วใช่หรือไม่

ตอบ ไม่ใช่เสมอไปครับ...1. ไม่มาเพราะไม่รู้ (เกิดเป็นมนุษย์ หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ) (เหมือนอย่างที่คุณไม่รู้จะไปหาญาติในอดีตชาติที่ไหน) 2. ไม่มาเพราะไม่อยากมา(ไปสู่เทวดา) 3. ไม่มาเพราะมาไม่ได้ (ตกนรก)




หลักฐานจากพระไตรปิฎกค่ะ

http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=24&A=6420&Z=6522

     


เจริญในธรรมครับ


 4,146 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย