อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า

 แมงปอหลงลม    

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือ

ติเตียนพระสงฆ์ ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุ่นเคือง ไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น  เพราะ

ถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์

นั้น อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้นก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง   ถ้าท่านทั้งหลายโกรธ


เคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม ติเตียนพระสงฆ์ จะรู้ได้ละหรือว่า คำ

กล่าวของคำเหล่าอื่นนั้น เป็นคำกล่าวที่ดี (สุภาษิต) หรือไม่ดี (ทุพภาษิต) ? "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า " "ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายพึงชี้แจง (คลี่คลาย) เรื่องที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าไม่เป็นจริง ในข้อที่

คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นไม่จริง ข้อนั้นไม่

แท้ ข้อนั้นไม่มีในพวกเรา ข้อนั้นไม่ปรากฎในพวกเราดังนี้ "  

ที่มา : พรหมชาลสูตร ๙/๓ พระไตรปิฎกฉบับประชาชน





กราบนมัสการเจ้าค่ะพระคุณเจ้า .....

ไหน ๆ ท่านจะยกพระไตรปิฎกมา ก็น่าจะยกฉบับเต็มมานะเจ้าคะ และควรจะยกให้ครบความในหัวข้อนั้น
การยกมาครึ่ง ๆ กลาง ๆ และเน้นสีเฉพาะส่วน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้เจ้าค่ะ

โยมเข้าใจในกุศลเจตนาของท่านที่ท่านเน้นสีในส่วนนั้น
แต่อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ และผิดไปจากเจตนาของท่านที่นำมาลง

จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ใน "พรหมชาลสูตร" เรื่อง สุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ ..... ดังนี้ค่ะ


กราบขอขมาที่ต้องล่วงเกินท่านเจ้าค่ะ







ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้
เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
พระพุทธเจ้าข้า ณ ที่นี้ เมื่อพวกข้าพระพุทธเจ้าลุกขึ้น ณ เวลาใกล้รุ่ง
นั่งประชุมกันอยู่ที่ศาลานั่งเล่นเกิดสนทนากันขึ้นว่า

ท่านทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา
ความจริง สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย
ส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์
โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง ฉะนี้
เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ พระพุทธเจ้าข้า เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระพุทธเจ้า
พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.





พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม
เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์
ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น
อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์
ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น
เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น
คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้
นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย






ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์
เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจในคำชมนั้น
อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลายเพราะเหตุนั้นเป็นแน่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น
คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้
นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ในเราทั้งหลาย



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ


                

     


ก็ถูกต้อง ด้วยกันทั้ง 2 ท่าน นั่นแหละ...
ท่านที่ 1 หยิบที่สุดมาพูด
ส่วนท่านที่ 2 หยิบเบื้องต้นและท่ามกลางมาพูด
โดยเว้นส่วนที่สุดไว้
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.

โดยสรุปเนื้อหาสาระก็หมายความว่า
ไม่พึงยินดียินร้ายในคำสรรเสริญ หรือในคำติเตียน


โดยสรุปเนื้อหาสาระก็หมายความว่า
ไม่พึงยินดียินร้ายในคำสรรเสริญ หรือในคำติเตียน


อรุณ DT06943 [20 ส.ค. 2551 07:12 น.] คำตอบที่ 2


************************

คุณอรุณต้องอ่านพระสูตรนี้ใหม่แล้วค่ะ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น
คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้
นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย




ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น
คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้
นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ในเราทั้งหลาย



เจริญในธรรม เจ้าค่ะ


     


ขอแสดงความนับถือ คุณหิ่งห้อยน้อย DT0018 [20 ส.ค. 2551 15:03 น.] คำตอบที่ 3

********************************************************

อ่านแล้วครับ....ผมเห็นว่าคุณยังยึดส่วนเบื้องต้นและท่ามกลางอยู่ดี...

พระพุทธ์พจน์ที่ว่า ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น
คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้
นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น
คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้
นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ในเราทั้งหลาย ดังนี้.

พระองค์ทรงหมายถึงเบื้องต้นและท่ามกลาง...
เบื้องต้นคือ....ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน หรือได้รับรู้มาโดยทางใดๆก็ตาม
ท่ามกลางคือ...จงใช้สติปัญญาพิจารณาเรื่องราวนั้นว่าเป็นจริงเป็นเท็จอย่างไร (แก้ให้ประจักษ์แก่ใจตน)


ส่วนตอนที่ว่า...ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม
เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์
เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น ดังนี้.

พระองค์ทรงหมายถึงที่สุด คือ...ไม่พึงยินดียินร้าย ในคำสรรเสริญ หรือในคำติเตียน ( เพราะมันเป็นโลกธรรม )

พระสูตรนี้พระองค์ตร้สที่สุดไว้ก่อน แล้วจึงตรัสเบื้องต้นและท่ามกลางไว้ทีหลังน่ะครับ.*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
คุณหิ่งห้อยน้อยคิดเห็นเป็นประการใด ขอความกรุณาแลกเปลี่ยนกันอีกนะครับ....


ขอให้เจริญในธรรมเช่นกันครับ




ขออนุญาต ไม่กล่าวคำว่า "เบื้องต้น .. ท่ามกลาง และที่สุด" นะคะ
เพราะว่า ปัญญาของดิฉันไม่บังอาจไปพิจารณาและตัดสินพระปัญญาของพระพุทธองค์ และคาดการณ์เองตามปัญญาปุถุชนของดิฉันค่ะ ว่าอะไรคือเบื้องต้น
อะไรคือท่ามกลาง และอะไรคือที่สุด

เพียงแต่วิเคราะห์ความในพระสูตรว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น
ซึ่งความคิดของดิฉันในพระสูตรนี้ ... เป็นอย่างนี้ค่ะ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์


1. มีผู้กล่าวติเตียน/ชมพระรัตนตรัย




ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น
อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่

2. พระพุทธองค์ทรงตรัสไม่ให้ไหวหวั่นด้วยยินดีหรือยินร้าย





ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์
ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น
เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?

3.โดยให้เหตุผลว่าการยินดีและยินร้ายนั้นจะทำให้ไม่สามารถพิจารณาความ
ที่ถูกกล่าวติเตียน หรือ ชมได้



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น
คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้
นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้
แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย
และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย

4. และสุดท้าย พระพุทธองค์ทรงให้หมู่ภิกษุกระทำดังนี้...
     4.1 คำที่ไม่จริง ให้แก่ด้วยคำที่จริง พร้อมเหตุผลว่า ไม่จริงเพราะเหตุใด
     4.2 ความที่ไม่แท้ ให้ชีแจงว่าไม่แท้ด้วยเหตุใด
     4.3 คำที่ไม่จริงเหล่านั้น ไม่มีในสาวกของพระพุทธองค์
     4.4 คำที่ไม่จริงเหล่านั้น จะหาไม่ได้ในหมู่ภิกษุของพระพุทธองค์








นั่นคืออารมณ์ยินดี และยินร้าย ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ยิน ได้ฟัง
ทรงให้ระงับเวทนาที่เกิดขึ้นนั้นๆ ก่อน
แล้วจึงพิจารณาคำกล่าวที่ผิดนั้น เพื่อแก้ให้ถูกต้องต่อไป


ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น
เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?


ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า.



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ

     


ขอแสดงความนับถือ คุณหิ่งห้อยน้อย DT0018 [21 ส.ค. 2551 10:46 น.] คำตอบที่ 5

********************************************************

สาธุครับ สาธุ...



 4,119 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย