การที่เราซื้อของกินต่างๆที่ผู้ตายชอบกิน แล้วนำไปถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญที่เราทำไปให้เพื่อต้องการให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้กิน(ตามความเชื่อ) อยากทราบว่าการที่เราทำอย่างนั้น ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้กินได้รับหรือไม่ ถ้าได้รับจะได้รับแบบใด ท่านผู้รู้โปรดช่วยอธิบายให้ด้วยจะได้สบายใจว่า สิ่งที่เราทำไปหาผู้ล่วงลับนั้นได้รับจริงๆ หรือหากไม่ได้รับจะต้องทำอย่างไรที่จะให้ผู้ล่วงลับไปนั้นได้รับได้กินจริงๆ ขอขอบคุณ
ปล. คำถามที่ถามอาจใช้ภาษาไม่ถูกต้อง แต่ก็หวังว่าผู้รู้คงเข้าใจคำถาม ขอขอบคุณอีกครั้งมากๆ
ครับ ถือว่าเป็นคำถามที่ไม่ใช่แค่คุณ ผู้สงสัย สงสัยเท่านั้นแต่อาจมีคนอื่นที่อาจมีคำ
ถามที่อยู่ในใจอยู่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าจะนำคำถามเหล่านี้ไปถามใคร ถือว่ามาถูกทาง
แล้วครับ เอาเป็นว่าผมจะขอตอบข้อสงสัยของคุณก็แล้วกันนะครับ ตัวผมเองก็มีความรู้
ทางธรรมก็เพียงน้อยนิด ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอาหารนั้นมี ๔ ประเภท
อาหารวาร
[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร
เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
๒ อาหาร คือ ผัสสะ
๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖
ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัมมาทิฎฐิสูตร อาหารวาร
ในเมื่อรู้แล้วว่าอาหารนั้นมี ๔ ประเภท ต่อมาก็คือ การที่ผู้ตายนั้นจะได้รับ
หรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าคนๆนั้นอยู่ภพภูมิไหน
ถ้าคนๆนั้นไปสู่สุคติภูมิ ในสุคติภูมิ ย่อมให้ผลเป็นสุข เพราะฉะนั้นทำบุญไป
ย่อมได้รับทันทีเลย เพราะกุศลวิบากกำลังให้ผลอยู่
ถ้าคนๆนั้นไปสู่ทุคติภูมิ ในทุคติภูมิ ย่อมให้ผลเป็นทุกข์ เพราะในทุคตินั้น
อกุศลวิบากกำลังให้ผลอยู่ กุศลวิบากจึงไม่สามารถแทรกเข้าไปได้ แต่นั่นก็ไม่ได้
หมายความว่า จะไม่ได้บุญในนส่วนนั้น แต่ถ้าเปลี่ยนภูมิไปสู่สุคติภูมิบุญก็จะได้รับครับ
แต่ผมว่าอย่ากังวลไปเลยครับว่าจะได้หรือไม่นั้น ทางที่ดีเราควรหมั่นทำบุญไว้
เยอะๆนะครับ แต่บุญที่เห็นผลทันตาเลยก็คือ ตอนที่คุณถวายอาหารแด่พระนั่นแหละ
ครับ เพราะถวายเสร็จคุณก็รู้สึกแช่มชื่น โสมนัส จิตคุณก็เป็นกุศล นี่แหละครับบุญ
เกิดตรงนี้ครับ ก็คือ จิตเป็นกุศลครับ
หมั่นทำจิตให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลานะครับ
สาธุครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ช่วยเมตตาตอบคำถาม อย่างน้อยก็ได้สบายใจและพอเข้าใจ ขอบคุณมากๆอีกครั้งครับ
การทำบุญ แบ่งเป็น3หลักใหญ่ๆ
1) ทาน - ใส่บาตร สังฆทาน สร้างวัด สงเคราะห์เพื่อนฝูง บิดามารดา etc / ใช้เงิน ได้บุญน้อยสุด***
2) ศีล - ศีล5 ศีล8 ศีล227 / ไม่ต้องใช้เงิน ได้บุญมากกว่า***
3) ภาวนา การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน / ไม่ต้องใช้เงิน ได้บุญมากที่สุด***
กับคนที่ตายไปแล้วนั้น สามารถติดต่อกันได้จริง หรืออย่างน้อยก็จะรับรู้ว่า เขาไปลำบาก หรือไปสบายแล้ว โดยการปฎิบัติกรรมฐาน การปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้บุญสูงสุดจริงๆ จะได้อานิสงค์แรงมาก ได้มากกว่าการให้ทานทั้งปวง เช่นใส่บาตร สร้างวัด ถวายสังฆทาน etc. เมื่อปฎิบัติกรรมฐานแล้ว ให้อุทิศบุญกุศลนี้ไป เค้าจะได้รับมากที่สุด
การให้ทานนั้น ก็เป็นสิ่งดีอยู่แล้ว แต่การถือศีลนั้นได้มากกว่า
และการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ได้มากที่สุด
(ศึกษาจากพระไตรปิฎก-พระปริยัติธรรม ได้ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานที่วัด
และก็ได้ลองปฎิบัติเองแล้ว) คุณพ่อก็เสียไปแล้วด้วย รู้สึกว่าท่านได้รับบุญมากจริงๆ ที่เราปฎิบัติ แล้วอุทิศไปให้ จากประสบการจริงนะคะ
ถ้าใครต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เขียนมาคุยได้ค่ะ
jewelrybangkok@yahoo.com
ขอบคุณค่ะ
มีเวปธรรมะมานำเสนอครับ ฟังแล้วรู้สึกดีอ่ะเลยเอามาฝาก
www.FM9525radio.org ลองฟังกันน่ะครับเพื่อจะติดใจ
ใครสามารถที่จะรับการอุทิศส่วนกุศลได้ ?
ในอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ชาณุสโสณีสูตร พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่มที่ ๓๘ หน้าที่ ๔๓๕ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย มีใจความว่า [๑๖๖] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านโคดมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็น
พราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่
ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภคทานนี้
ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือ
ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะแล
ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ.
ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ฐานะเป็นไฉน อฐานะเป็นไฉน.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลัก
ทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้น
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหาร
ของสัตว์นรก ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทาน
แก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นอฐานะ.
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มี
ความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น
ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่ง
ทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ
จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความ
อยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตาย
ไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพใน
มนุษยโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษย์นั้นด้วยอาหารของมนุษย์ ดูก่อน
พราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล
ก็เป็นอฐานะ.
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่า
สัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น
สหายของเทวดา เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ใน
เทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูก่อนพราหมณ์ แม้ฐานะเป็นที่ไม่
เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มี
ความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยง
อัตภาพอยู่ในเปรตวิสัย ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่า
มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัยจาก
มนุษยโลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัย
นั้น ด้วยปัตติทานมัยนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จ
แห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ.
ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่
เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของ
ทายกนั้น ที่เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น.
ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่
เข้าถึงฐานะนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น
ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับ
ไปแล้วโดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการ
หนึ่ง แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.........
จากในพระสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่า การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ผู้ที่จะสามารถ รับการอุทิศได้อย่างแท้จริงคือเปรต จำพวกเดียวเท่านั้น และในอดีตชาติช้านานหมู่ญาติที่ไปเกิดเป็นเปรตก็มีมากมาย ผู้ที่ไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา ไม่สามารถจะรับส่วนกุศลได้โดยตรง
สัตว์นรกก็มีวิบากกรรมของเขาเป็นที่หล่อเลี้ยงอัตภาพ สัตว์เดรัจฉานก็มีอาหารของสัตว์ตามอัตภาพของเขา
เช่น ใบไม้ใบหญ้าเป็นต้น มนุษย์ก็ดำรงชีพด้วยอาหารตามอัตภาพของมนุษย์ที่เราเป็นกันอยู่นี้ เทวดาท่านมีโภชนะทิพย์ตามผลบุญที่ท่านเสวย และการอุทิศนั้นบุญของผู้อุทิศก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง แต่กลับจะเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น คือได้ทำทั้งทานมัย และ ปัตติทานมัย ( การอุทิศส่วนกุศล )
ถ้าถามว่าได้รับมั้ยได้รับแน่นอนในหมวดของการให้ทานแต่ในกรณีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้ฆ่าตัวตายนั้นในหมวดนี้ไม่ได้แน่นอนครับ(ท่านหลวงพ่อจรัญกล่าวไว้โดยมีหลักฐาน)ฉะนั้นต้องนั้งสมาธิแผ่เมตตาอย่างเดียวครับ...แต่การทำบุญทุกอย่างแล้วนั้นมันขึ้นอยู่กับ2อย่างที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้คือมีความเชื่อศัทธาอย่างแรงกล้าเพื่อไห้เกิดจตนานำส่งส่วนบุญ อีกส่วนหนึ่งคือการละอายแกรงกลัวในบาปกรรมจึงหันมาทำบุญเพื่อหยุดกรรม...แต่ในที่นี้กระผมขอให้ละลึกง่ายๆคือต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์และวัตถุที่ทำต้องสุจริตครับ
ตามประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ของคนทางเหนือ เขาจะทำบุญเป็นอาหาร แยกเป็นตะกร้า กระเช้า หรือในถุง แต่ละถุงระบุชื่อคนที่จะทำบุญไปให้นั้น ส่วนใหญ่ทำในวันพระเข้าพรรษา งานทานข้าวใหม่ งานก๋วยสลาก แล้วให้พระสงฆ์ สวดส่งไปให้วิญญาณเหล่านั้น พร้อมกับคนทำทานก็กรวดน้ำแผ่เมตตาไปด้วย ขณะนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่ ทั้งในครอบครัวของดิฉัน มีพ่อแม่ และพี่สาว ซึ่งยังถือปฏิบัติ ก็ทำให้มองเห็นว่า ยังเป็นบุคคลที่มีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว บุญทานเหล่านี้สำคัญสำหรับคนที่ล่วงลับไปแล้ว และยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีก
แต่ในการปฏิบัติของดิฉันเองนั้น จะทำบุญในลักษณะของที่เป็นประโยชน์สำหรับพระสงฆ์ และ ครูบาอาจารย์ซึ่งถือบวชในบวรพระพุทธศาสนา ไม่ได้เจาะจงว่าจะทำบุญนั้นเฉพาะคนตายคนไหน อย่างไร ตั้งใจถวายบุญกับพระท่านก็ทำไป เพราะเราเป็นอุบาสิกาในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า เราก็ต้องทำหน้าที่ของเราให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ส่วนบุญกุศลมากน้อยเท่าไหร่ไม่ได้คิดถึง
แต่ถ้าหลังจากนั้น จะมีญาติที่ตายไปแล้วมาพบเจอในความฝัน ดิฉันก็จะนึกถึงบุญที่ได้ทำมาแล้วนั้นให้ญาติได้กุศลด้วย แสดงว่าสื่อถึงจิตวิญญาณที่รับรู้ได้ จึงมาหา (รู้สึกด้วยตัวเอง)
ส่วนใหญ่แล้วบุญที่จะส่งไปให้พวกเขาเหล่านั้นคือการได้ปฏิบัติ สวดมนต์ภาวนา แล้วจิตเบิกบาน ซาบซึ้งถึงอานิสงส์แห่งการภาวนา มีในจิตวิญญาณของตนเอง แล้วจะคอยส่งพลังบริสุทธิ์เหล่านั้นให้กับพวกท่านที่ล่วงลับไปแล้วนั้น
โดยปกติ ดิฉันจะสัมผัสกับวิญญาณของพวกเขาในทางความฝัน (นิมิต) ซึ่งจะชัดเจนมาก
ในทางจิตของดิฉันเอง จะมีฝัน(นิมิต) เตือนเหตุการณ์อยู่เสมอ คืนนี้ฝันถึงคนหนึ่งซึ่งไม่ได้เจอมานานแสนนาน พอวันรุ่งขึ้น คน ๆ นั้นก็จะติดต่อกลับมา เป็นโทร.หาบ้าง หรือทราบข่าวคราวของคนนั้นจากคนอื่นบ้าง
ทำบุญ ทำทาน รักษาศีล ภาวนา แล้วอธิษฐานส่งส่วนความดีที่ทำให้พวกเขา ได้รับมากแน่นอนค่ะ ถ้าทำครบวงจร และยังมีแรงศรัทธาแห่งบุญเพิ่มเข้าไปด้วยอานิสงส์มากมายค่ะ
คุณโยมศรตอบถูกที่สุด
มีเปรตเท่านั้น ที่จะรับส่วนบุญได้ เปรตก็ยังแบ่งออกเป็นอีก 4 จำพวก แล้วก็เป็นเปรตจำพวกเดียวเท่านั้น คือ เวทานตัณหิกเปรต (อ่านว่า เว -ทา -นะ-ตัน-หิ-กะ-เปด) ที่จะรับส่วนบุญได้ ถ้าคนตายไปเกิดในภพภูมินี้ ก็จะรับส่วนบุญได้ ถ้าไปเกิดเป็นอย่างอื่น ก็รับไม่ได้
แต่ไม่ใช่ว่ารับไม่ได้แล้ว บุญที่เราทำไปจะเสียเปล่า ถ้าเขาเกิดในภพภูมิที่ดี เช่น เทวดาเป็นต้น เมื่อเขารับรู้ เขาก็อนุโมทนาได้ ถึงแม้ว่าเขาไม่รู้ บุญกุศล ความกตัญญูกตเวที ก็เกิดขึ้นในใจของเราแล้ว มีแต่ดีโดยส่วนเดียว
เปรตประเภทไหนที่สามารถรับการอุทิศส่วนกุศลได้
ติโรกุฑฑสูตร พระไตรปิฎกฉบับภาไทย เล่มที่ ๓๙ ในส่วนอรรถกถา หน้าที่ ๒๙๙ แสดงไว้ดังนี้
ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่
สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะดังนี้. ทักษิณาที่สำเร็จ
ผลในฐานะนั้น อันต่างโดยประเภทมีขุปปิปาสิกเปรต วันตาสาเปรต ปรทัตตูปชีวีเปรต
และนิชฌามตัณหิกเปรตเป็นต้น ก็ตรัสว่า ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ
เหมือนผู้ให้กหาปณะ ในโลกเขาก็เรียกกันว่า ผู้นั้นให้กหาปณะ ฉะนั้น
ดังนั้นมีเปรตหลายจำพวกที่สามารถที่จะรับการอุทิศได้ เพียงแต่ว่าวิบากกรรมของเปรตเหล่าใดที่มีมาก ก็ย่อมไม่อาจสามารถรับส่วนกุศลได้ ต้องเสวยวิบากกรรมเบาบางลงก่อนเท่านั้นดังตัวอย่างเปรตพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ที่ต้องรอคอยผู้ที่จะอุทิศถึงหนึ่งพุทธันดร ครั้นในสมัยที่พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายทานแล้ว วิบากกรรมของเปรตก็ยังส่งผลให้พระเจ้าพิมพิสารยังทรงลืมการอุทิศส่วนกุศล นี้เป็นผลของวิบากที่หมู่เปรตได้เป็นผู้ริษยาในทานของผู้อื่น และตระหนี่ไม่ให้ทาน นั่นเอง ส่วนเปรตตนใดมีวิบากกรรมที่เบาบางก็ย่อมมีโอกาสที่จะรับส่วนกุศลได้ และดำรงเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ด้วยการอุทิศกุศลของผู้อื่น ย่อมสามารถอนุโมทนารับการอุทิศส่วนกุศลได้ ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการข้างต้นคือ
๑. มีทายกอุทิศส่วนกุศล ๒. มีการอนุโมทนาของเปรต ๓. ถึงพร้อมด้วยทักขิไญยบุคคล
รักษาศีล หรือ เจริญภาวนา อุทิศส่วนกุศลให้เปรต เปรตจะรับได้ไหม ? ในเปตวัตถุ เรื่องสาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหามกุฏ ฯ เล่มที่ ๔๙ หน้าที่ ๑๕๘
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงปรารภนางเปรตผู้มารดาของท่านพระสารีบุตรเถระ โดยชาติ
ที่ ๕ แต่ปัจจุบันชาตินี้ จึงตรัสคาถานี้
วันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระกัปปินะ ได้อยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง
ไม่ไกลแต่กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล ในกรุงพาราณสี มีพราหมณ์
คนหนึ่ง เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นดุจบ่อที่ดื่มกิน
ของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจก ได้ให้
สิ่งของมีข้าว น้ำ ผ้า และที่นอนเป็นต้น และเมื่อจะให้ ย่อมปฏิบัติ
ตามความพอใจทุกอย่าง ตามลำดับของการให้มีน้ำล้างเท้า และ
ผ้าเช็ดเท้าเป็นต้น ตามเวลาและตามความเหมาะสมแก่คนผู้มาถึง
แล้ว ๆ . ในเวลาก่อนอาหารได้อังคาสภิกษุทั้งหลายด้วยข้าวและ
น้ำเป็นต้น โดยเคารพ. เธอเมื่อจะไปถิ่นอื่นจึงกล่าวกะภรรยาว่า
นางผู้เจริญ เธออย่าได้ทำทานวิธีนี้ตามที่บัญญัติให้เสื่อมเสีย
จงหมั่นดำรงไว้โดยเคารพ. ภรรยารับคำแล้ว พอสามีหลีกไป
เท่านั้น ก็ตัดขาดวิธีที่บัญญัติไว้เพื่อภิกษุทั้งหลาย เป็นอันดับแรก
แต่เมื่อคนเดินทางเข้าไปเพื่ออยู่อาศัย ก็แสดงศาลาที่เก่าที่ทอดทิ้ง
ไว้หลังเรือนด้วยคำว่า พวกท่านจงอยู่ที่ศาลานี้. เมื่อคนเดินทาง
มาในที่นั้นเพื่อต้องการข้าวและน้ำเป็นต้น จึงกล่าวว่า จงกินคูถ
ดื่มมูตร ดื่มโลหิต กินมันสมองของมารดาท่าน แล้วจึงระบุชื่อ
ของสิ่งที่ไม่สะอาด น่าเกลียด แล้วถ่มน้ำลาย
สมัยต่อมา นางทำกาละแล้ว อันอานุภาพกรรมซัดไป บังเกิด
ในกำเนิดเปรต เสวยทุกข์อันเหมาะสมแก่วจีทุจริตของตน หวน
ระลึกถึงความสัมพันธ์กันในชาติก่อน มีความประสงค์จะมายัง
สำนักของท่านพระสารีบุตร จึงถึงประตูวิหาร. เทวดาผู้สิงอยู่
ที่ประตูวิหารของท่านพระสารีบุตรนั้น ห้ามเข้าวิหาร. ได้ยินว่า
นางเปรตนั้นได้เคยเป็นมารดาของพระเถระ ในชาติที่ ๕ แต่ปัจจุบัน
ชาตินี้. เพราะฉะนั้น เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเป็นมารดาของ
พระผู้เป็นเจ้าสารีบุตรเถระ ในชาติที่ ๕ แต่ปัจจุบันชาติ ขอท่าน
จงให้ดิฉันเข้าประตู เพื่อเยี่ยมพระเถระ. เทวดาได้ฟังดังนั้นจึง
อนุญาตให้นางเข้าไป นางครั้นเข้าไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สุดที่
จงกรมแสดงตนแก่พระเถระ. พระเถระครั้นได้เห็นนางเปรตนั้น
เป็นผู้มีใจอันความกรุณาตักเตือน จึงถามด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด
ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนาง
ผู้ซูบผอม มีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครหรือ จึงมายืนอยู่ในที่นี้.
นางเปรตนั้นถูกพระเถระถาม เมื่อจะให้คำตอบจึงได้กล่าว
คาถา ๕ คาถา ความว่า
เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติ
อื่น ๆ ดิฉันเข้าถึงเปตวิสัย เพียบพร้อมไปด้วย
ความหิว และความกระหาย เมื่อถูกความหิว
ครอบงำ ย่อมกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ที่เขาถ่ม
ทิ้ง และกินมันเหลวของซากศพ ที่เขาเผาที่เชิง
ตะกอน กินโลหิตของพวกหญิงที่คลอดบุตร และ
โลหิตของพวกบุรุษที่ถูกตัดมือ เท้า และศีรษะ
ที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น และข้อมือข้อเท้าเป็นต้น
ของชายหญิง กินหนองและเลือดของปศุสัตว์
และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่เร้น ไม่มีที่อยู่อาศัย
นอนบนเตียงของคนตายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูก
เอ๋ย ขอลูกจงให้ทานแล้วอุทิศส่วนบุญแก่เราบ้าง
ไฉนหนอแม่จึงจะพ้นจากการกินหนองและเลือด.
ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้สดับดังนั้นแล้ว ในวันที่สอง
จึงเรียกพระเถระ ๓ รูป มีท่านพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้นมา
พร้อมด้วยพระเถระเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
ได้ไปถึงพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร. พระราชาเห็น
พระเถระแล้ว จึงถามถึงเหตุแห่งการมาว่า ท่านขอรับ ท่านมา
ทำไม ? ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงได้ทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา
พระราชาตรัสว่า โยมรู้แล้ว แล้วจึงละพระเถระ รับสั่งให้เรียก
อำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ ทรงพระบัญชาว่า เธอจงสร้างกุฎี ๔
หลังในที่นี้อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ อันวิจิตร ไม่ไกลแต่เมือง
และในภายในพระราชวัง ให้แบ่งเป็น ๓ ส่วน โดยที่มีความพิเศษ
เพียงพอแล้วให้รับกุฎี ๔ หลัง. และพระองค์เองก็ได้เสด็จไปในที่นั้น
ได้ทรงกระทำพระราชกรณียกิจที่ควรทำ. เมื่อกุฎีสำเร็จแล้ว
จึงให้ตระเตรียมพลีกรรมทั้งหมด เข้าไปตั้งข้าวน้ำและผ้าเป็นต้น
และเครื่องบริขารทุกอย่างที่สมควรแก่ภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ โดยมี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วมอบถวายสิ่งทั้งหมดนั้น
แด่ท่านพระสารีบุตรเถระ. ลำดับนั้น พระเถระ ได้ถวายสิ่งทั้งหมด
นั้น แด่ภิกษุสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
อุทิศแก่นางเปรตนั้น. นางเปรตนั้น ได้อนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว
บังเกิดในเทวโลก เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ในวันต่อมา ก็ได้เข้าหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ไหว้แล้ว
ยืนอยู่. พระเถระสอบถามนางเปรตนั้น. นางเปรตนั้น ได้แจ้ง
เหตุที่ตนเข้าถึงความเป็นเปรต และเข้าถึงความเป็นเทวดาอีก.
ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-
ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีจิตอนุเคราะห์
ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึงปรึกษากับท่าน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านพระอนุรุทธะและ
ท่านพระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฏิ ๔ หลัง ถวาย
กุฎีทั้งข้าวและน้ำแด่พระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔
อุทิศส่วนกุศลไปให้แก่มารดา. ในทันใดนั้นเอง
วิบากคือ ข้าว น้ำ และผ้าก็เกิดขึ้น นี้เป็นผลแห่ง
ทักษิณา ภายหลังนางมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด
นุ่งห่มผ้าอันมีค่า ยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับ
ด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตร เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถามนางเปรตนั้นว่า
ดูก่อน นางเทพธิดา ท่านมีวรรณะวรรณงามยิ่ง
นัก ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ สถิตอยู่ ดุจ
ดาวประกายพรึก. ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรม
อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะ
กรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นที่
พอใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่าน เพราะกรรมอะไร.
ดูก่อน นางเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก
อาตมภาพขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ได้ทำ
บุญอะไรไว้ อนึ่งท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมี
รัศมีกายสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร.
ลำดับนั้น นางเปรตจึงตอบโดยนัยมีอาทิว่า ดิฉัน เป็น
มารดาของท่านพระสารีบุตร. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้น
ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้เข้าถึง
พร้อมแล้ว. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒
แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ท่านพระสารีบุตรเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ที่มีอยู่ในตัวท่าน ท่านยังอุทิศหรือโอนบุญด้วย ศีล และ ภาวนาของท่านให้กับหญิงเปรตก็ยังไม่ได้เลย ท่านต้องถวาย ทาน แก่สงฆ์แล้วอุทิศส่วนกุศล นางเปรตอนุโมทนา จึงได้ผลสำเร็จแห่งการอุทิศได้อย่างแท้จริง ส่วนการอุทิศศีล หรือภาวนานั้น สามารถทำให้เปรตได้สุขใจเท่านั้น ชีวิตของเปรตนั้นลำบากเนื่องด้วยความหิวโหยที่ทรมาน ขาดเสื้อผ้า ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย การให้สิ่งที่ตรงกับความต้องการของผู้รับจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก เมื่อเปรตพ้นอัตภาพจากการเป็นเปรตแล้ว หากไปเกิดเป็นเทวดาแล้วจะอนุโมทนายินดีในศีลหรือภาวนาที่ผู้อื่นอุทิศให้ในภายหลัง เทวดาก็ย่อมอนุโมทนาได้ เปรียบเหมือนคนที่กำลังหิวอาหารมานาน ได้พบโรงทานแจกน้ำและ
อาหาร กับส่วนที่แจกหนังสือธรรมะหรือมีการบรรยายธรรมะ ท่านคิดว่าผู้ที่หิวโหยอาหารจะไปที่ใดก่อน