เราเป็นปุถุชน ที่ยังมีกิเลสอยู่ อยากรู้จะเริ่มต้นแก้อย่างไร จนถึงการเข้าสู่ความเป็นโสดานได้
การมีใจก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วครับ
แล้วก็พยายามรักษาศีล5ใว้ ต่อจากนั้นก็หัดสวดมนต์
ภาวนา ศึกษาธรรม ฟังธรรม เจริญกรรมฐานให้มาก
บอกแค่นี้แต่อาจต้องใช้เวลาหน่อยอาจประมาณ
7วัน 7เดือน 7ปีหรือ7ชาติแล้วแต่ละบุคคล
ขึ้นอยู่กับบุญเก่า อย่าพึ่งท้อครับเพราะอย่างน้อย
เราได้เริ่มต้นเดินตามรอยพระพุทธองค์ที่ทรงเดินนำใว้
โสดาบันก็ยังมีความว้าวุ้นอยู่นะครับ
เพียงแต่ท่านจะมีน้อยกว่าเพราะท่านละสังโยชได้สามอย่างแล้ว
... การเข้าสู่โสดาบัน หรือพระอนาคามี หรือขั้นต่างๆ ตลอดจนการบรรลุได้ถึงพระอรหัตผล ล้วนได้รับมาจากการปฏิบัติดีทั้งทางกาย วาจา และใจนำพาตัวเองผ่านสถานการณ์ต่างๆ ในขณะปัจจุบัน ด้วยความไม่ท้อถอย เผชิญกับความยากลำบากของผู้ที่อยู่รอบข้างที่อาจทำเราไขว้เขว เป็นเหตุให้จิตใจเศร้าหมอง แล้วอาจเกิดความลังเล สงสัย แต่หากพิจารณาให้ดีแล้ว สิ่งใดในโลกจะใช้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาโดยไม่อยู่บนพื้นฐานของธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ไว้ เห็นเป็นไม่มี การจะได้บรรลุธรรมขั้นต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนานั้น น่าจะเปรียบได้ง่ายกับการรับประทานอาหารเมื่อหิว ก็คือเมื่อเกิดความทุกข์ จึงหาทางดับทุกข์ เพื่อพ้นทุกข์ เมื่อหิวแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือหาอาหาร เลือกอาหาร ประกอบอาหาร ผู้รู้ใช้สติ เลือกแต่อาหารที่สมบูรณ์ สะอาด ให้ประโยชน์กับร่างกาย ผู้ไม่รู้เลือกที่สีสรร หรือสักแต่ว่ามีอาหารอยู่ตรงหน้า ก็บริโภคโดยไม่คิดถึงประโยชน์ไม่มีประโยชน์ การเลือกอาหารนั้น เปรียบเสมือนการเลือกใช้วิธีแก้ปัญหา หรือดับทุกข์ ผู้ไม่รู้ใช้อารมณ์แก้เพื่อดับทุกข์เฉพาะหน้า แต่ผู้รู้ใช้ธรรมมะแก้ให้พ้นทุกข์ตลอดไป หากปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังว้าวุ่นใจ ก็น่าจะลองพิจารณาเมื่อเวลาเราหิว กว่าจะผ่านขั้นตอนการรับประทานอาหารเพื่อให้หายหิว ทีมีใครบ้างเมื่อรับประทานอาหารด้วยคำแรกแล้วจะอิ่มท้องเลย ก็หาไม่มีเลย ล้วนต้องมีคำที่สอง สามสี่ จนกว่าจะรู้สึกเองว่าอิ่ม การปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมในขั้นต่างๆ ก็เช่นการต้องอดทนรับประทานอาหารทีละคำนั้น เมื่ออยากปฏิบัติเพื่อให้ได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ แล้วปฏิบัติวันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ผ่านไปหลายปีแล้ว แต่ยังไม่รู้สึกอะไร ก็อาจเป็นเพราะยังไม่ได้ถึงเวลาตรงนั้น ที่ควรจะปฏิบัติต่อไป เหมือนเมื่อรับประทานอาหารที่แม้แต่ทานข้าวหมดไปสองจานก็ยังรู้สึกว่าไม่พอ จึงต้องรับประทานต่อไปจนกว่าจะหายหิว และการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมในขั้นต่างๆ นี้ ก็อาศัยการประกอบเหตุให้ได้ผลแห่งขั้นธรรมต่างๆ ที่เมื่อได้เวลาแล้วก็จะรู้สึกถึงผลแห่งธรรมขั้นต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง เหมือนเมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว รู้สึกอิ่มเองแล้ว ก็มีความสุขเอง แต่อย่ายึดติดกับชื่อของธรรมในขั้นต่างๆ เลย เพราะอาจทำให้กังวล หมกมุ่น แต่ตราบใดที่ทุกขณะจิต ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานแห่งศีลไว้อบรมให้ตัวเองมีสมาธิรับรู้ เผชิญกับเรื่องราวต่างๆ ได้ จนนำปัญญาใช้แก้ปัญหาได้แล้ว อาจไม่ต้องอยากรู้เลยว่าตัวเองอยู่ในขั้นใด.. เพราะสิ่งต่างๆ ที่กระทำผ่านมาด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาแล้ว คือยอดบรมสุขในปัจจุบัน ที่ระลึกถึงเมื่อใด ก็สะอาดบริสุทธ์ และสุขใจเสมอ และยังถูกสะสมไว้เป็นปัจจัยเพื่อตัวเองสำหรับภพหน้า... แน่นอน
พระอาจารย์อิทธิธโร ภิกขุ มักกล่าวว่า
" พระพุทธศาสนาไม่ใช่ของง่าย ถ้าง่ายไม่ใช่พระพุทธศาสนา "
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑ โสดาปัตติมัคค.
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล .
โลกุตตรวิบาก
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑ โสดาปัตติผล .
มหานัย ๒๐
สุทธิกปฏิปทา
[๔๒๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน สมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิด สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต .
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
[๑๔๓๒] ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้ โสดาบันเป็นไฉน?
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า พระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
[๑๔๓๓] พ. ถูกละๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค ๘ นี้ เรียกว่า โสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๕
[๑๖๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๒๒] ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็น
ธรรม ดังนี้.
จบ สูตรที่ ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๖๖๘ - ๙๖๘๑. หน้าที่
พระธรรมวินัย แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แจ่มแจ้งแก่บุคคลทั้งหลาย
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีบไว้ในที่มืด
โสดาบันบุคคลเป็น อริยบุคคลผู้ทวนกระแสแห่งโลก แต่เป็นผู้เข้ากระแสแห่งธรรม
ถึงแม้ว่าท่านจะยังเป็นกามโภคีอยู่ตาม หรือออกเรือนเป็นบรรพชิตก็ตาม ท่านก็ยังไม่อาจละกิเลสได้ เพียงแต่ท่านมีความเห็นถูกต้อง คือท่านรู้เข้าใจเรื่องสักกายะทิฏฐิ และละสักกายะทิฏฐิได้ ท่านไม่สงสัยในคำสอน(ธรรม)ของพระพุทธองค์ ท่านวางศรัทธาในพระรัตนไตร และท่านไม่ปฏิบัติศีลวัตรนอกพระศาสนาว่าเป็นหนทางอันบริสุทธิ์อีกทั้งท่านไม่ลูบคลำศีลวัตรในพระศาสนานี้ด้วยความอยากเป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านเจ้าของกระทู้ ผู้เป็นปุถุชน แต่เห็นโทษภัยในการดำเนินชีวิต
ท่านก็สามารถขัดเกลาตนเองได้ทุกเมื่อ
หากท่านวางศรัทธาอย่างจิงจังในพระรัตนไตร และมีทิฏฐิอันถูกต้อง
ไม่ต้องรอ 7 วัน 7 เดือน 7ปี
ท่านอาจจะใช้เวลาเพียง 7 นาที
ไม่ยากและไม่ง่าย อยู่ที่จิตของท่านและปัญญาของท่าน และความตั้งใจจริงของท่าน
"ทำไงใจถึงจะไม่ว้าวุ่นและเข้าสู่ความเป็นโสดาบันได้"
หาเหตุของความวุ่น หาจนถึงที่สุด มันมีเหตุจากอะไร พิจารณาด้วยตนเองโดยแยบคาย
องค์ธรรมนำมาซึ่งปัญญา วิธีที่จะได้องค์ธรรมคือบุญ วิธีที่จะได้ปัญญาคือบุญ บางคนสั่งสมมามากก็เข้าถึงได้ไว บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ จึงต้องหมั่นเจริญไว้ก่อน ทำบุญ รักษาศีลถ้าศีลแปดได้จะดีมากคือลดการดูทีวี ลดการเที่ยวกลางคืน เหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย เช่น คบมิตรชั่ว เป็นต้น เมื่อมีศีลครบจิตจะสงบ โอกาสเสี่ยงแห่งสิ่งล่อให้ใจโอนไปเอนมาน้อยลง (จะมีโอกาสเช่นนี้ได้ก็ต้องมาจากบุญ) ควรศึกษาบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ และตั้งจิตอธิษฐานก่อนทำบุญ นะโมตัสสะนอบน้อมพระสัมสัมพุทธเจ้า 3 ครั้ง อิทานังด้วยเหตุแห่งบุญที่ข้าพเจ้าให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม สวดมนต์ และบุญกุศลอื่นใดขอให้ข้าพเจ้าได้มีดวงตาเห็นธรรมะของพระพุทธเจ้าจนเข้าสู่บรรลุความเป็นโสดาบันในอนาคตกาลนี้ด้วยเถิด สาเหตุที่ต้องอธิษฐานก่อนทำบุญถ้าเชื่อว่าการทำบุญแล้วผลของบุญมี จะมีอานิสงค์มาก บุคคลที่ไม่อธิษฐาน ไม่เชื่อผลบุญ ลำดับผลบุญ บุญนั้นก็ให้ผลอยู่เหมือนดังคนตาบอดเขวี้ยงลูกศรโอกาสบุญจะส่งก็น้อย ต้องเชื่อเรื่องบุญได้ มีจริง บาปได้ มีจริง กรรมมี ชาติหน้ามี เพียรทำบุญเพราะรู้ว่าผลมี ช้าบ้าง เร็วบ้างแต่ก็ได้ ก็ควรทำ
"ทำไงใจถึงจะไม่ว้าวุ่นและเข้าสู่ความเป็นโสดาบันได้"
ก็วุ่นวายให้เสร็จซิจ๊ะ....อะ อะ อะ อะ....เรื่องหมูๆ
ดูหัวข้อธรรมที่จะนำไปสู่ การเป็นพระอริยะก่อนนะ
สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา
วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน
มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน
อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
อวิชชา มีความคิดเห็นไม่ตรงกับความเป็นจริง
ท่านใดละ ข้อ ๑ - ๓ อย่างหยาบ ท่านเรียก พระโสดาบัน
ท่านใดละ ข้อ ๑ - ๓ อย่างละเอียด ท่านเรียก พระสกิทาคามี
ท่านใดละ ข้อ ๑ - ๕ ท่านเรียก พระอนาคามี
ท่านใดละ ข้อ ๑ - ๑๐ ท่านเรียก พระอรหันต์
เมื่อใจยังว้าวุ่นอยู่ ก็ต้องทำให้สงบเสียก่อน
ด้วยการจับลมหายใจเข้าออก พร้อมกับภาวนาหรือไม่ก็ได้ เมื่อสงบระงับได้บ้างแล้ว
ก็ให้นำธรรมบทใดบทหนึ่งมาพิจารณา เช่น
- ร่างกายของเรา ไม่ได้สวยไม่ได้งาม ตามที่เห็น
- พระรัตนะตรัย คือที่พึ่งอันเกษมไม่มีที่พึ่งอื่นอันพึ่งได้ยิ่งกว่า
- ศีลคือชีวิต จะรักษาศีลยิ่งกว่า สิ่งอันเป็นที่รัก อวัยวะ หรือชีวิต
แหะ แหะ ประมาณนี้แหละ
เจริญธรรม