โมหะคือ ความไม่รู้ หลงอยู่ในสภาพที่ตนคิด
เหมือนปลาที่เกิดมาก็อยู่แต่ในน้ำจนตายไป ก็ยังไม่รู้ว่าข้างบนมีท้องฟ้าอันกว้างใหญ่
ขอบคุณ คุณนาคราช ครับ
แต่ผมคิดว่า ....
ปลาอยู่ในน้ำจนตาย เป็นเรื่องธรรมดา
ปลาไม่จำเป็นต้องรู้ว่า ข้างบนมีท้องฟ้า หรือไม่มี
แบบว่าไกลตัวเกินไปครับ
ไม่ใช่เหตุแห่งทุกข์ ( บางทีความอยากรู้เกินความจำเป็น จะเป็นเหตุแห่งทุกข์ก็ได้นะครับ )
จึงไม่น่าจะใช่ความหมายของคำว่า โมหะ
...........
มีคำอธิบายที่ใกล้ๆตัว
ที่ทำให้เข้าใจง่ายกว่านี้ไหมครับ
............
สวัสดีค่ะ คุณภูวนารถ
ขอยกโมหะ ในพระไตรปิฎก มาให้โยนิโสฯ นะคะ
จาก ...พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ติกนิเทศ
โมหะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต
ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต
ความไม่รู้ในธรรมอันเป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ
ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์
ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด
ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงไหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา
อกุศลมูลคือโมหะ อันใด มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ
คงมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยเจ้าค่ะ
สวัสดีคุณ ภูวนารถ
ผมหมายถึง คุณขึ้นมาอยู่บนน้ำได้เมื่อไหร่เมื่อนั้น
คุณจะรู้ว่าที่ๆเคยว่ายอยู่นั้นมันคือน้ำ ถ้าไม่ขึ้นมาแล้ว
อธิบายว่าน้ำเป็นอย่างไรๆ ปลาก็ไม่มีทางรู้
หมายถึงแบบนี้อ่ะครับ
สาธุ ครับ
ขอบคุณ แม่หิ่งห้อยน้อย และ คุณนาคราช มากๆครับ
ขออนุญาติเสริม คคห. ของท่าน หิ่งห้อยน้อย DT0018
[๓๐๐] โมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความ
เป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า โมหะ มีในสมัยนั้น.
โมหะก็คือความหลงวนเวียนอยู่ในสิ่งทั้งปวง หลงในความดี หลงในความชั่ว หลงในความเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น สวย หล่อ รวย อำจาจยศศักดิ์ต่าง ๆ หลงในความสุข ติดอยู่ในความทุกข์ นี่แหล่ะคือความหลง หรือตัวโมหะ
และตัวโมหะนี้แหล่ะ ที่จะทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้นสักที
เพราะการจะไปถึงนิพพาน ความหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัด (ก็ทุกข์และสุขทั้งหลายที่พวกเรา ๆ ประสบกันอยู่ทุกวัน ๆ นี่แหล่ะ) จะต้องอาศัยการสลัดตัวโมหะนี่ให้ออกไป โดยไม่คิดถึงอดีต ไม่คิดถึงปัจจุบัน และก็ไม่คิดถึงอนาคตด้วย
เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดมานั้น จริง ๆ แล้วหาได้มีแก่นสารสาระสำคัญแต่อย่างใดไม่ ไม่ว่าจะเป็นความดี หรือความชั่ว ทั้งสรรพสิ่งหลายทั้งปวง
เพื่อประโยนช์ แก่ผู้ศึกษาจากกระทู้นี้ ตามสภาพธรรมของแต่ละท่านต่อไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาของเราทั้งหลายนั้น ได้ทรงรู้จัก
พระธรรมคือธรรมที่เป็นตัวจริงปรากฏแจ่มชัดด้วยพระองค์เอง จึงได้พระนาม
ว่า อรหํ หรือ อรหันต์ ซึ่งแปลว่าเป็นผู้ควร คือควรเคารพนับถือบูชากราบไหว้
และเชื่อฟัง, ก็แหละศัพท์ว่า อรหํ หรือ อรหันต์ นี้ เป็นศัพท์ที่มีมาก่อนพุทธกาล
คือก่อนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ในถิ่นนั้นเขาใช้เรียกคนที่เขานับถือเคารพนบนอบจนถึงผู้นั้นเองก็อาจจะเข้าใจว่า ตนเป็นพระอรหํ หรืออรหันต์. ดังมีเรื่องแสดงไว้ว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
เสด็จไปสั่งสอนพระชฎิล ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งมีพระอุรุเวลกัสสปะ เป็นหัวหน้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ คือแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏ,
ท่านชฎิลเหล่านั้นสรรเสริญ แต่ก็เห็นว่าไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนตน ดังคำบาลี
ว่า น เตฺวว จ โข อรหา ยถา อหํ แปล
ว่า ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนดังเรา ดังนี้ ต่อเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง
ให้เห็นว่า ท่านชฎิลเหล่านั้น อย่าว่าแต่จะเป็นพระอรหันต์ เพียงแต่อรหัตตมรรค
ทางที่จะดำเนินไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ก็ยังไม่รู้, ท่านชฎิลได้ฟังพิจารณาดูตัว
เห็นตามเป็นจริงก็เกิดสังเวชสลดใจ จึงได้ตั้งใจฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธจึงได้พระคุณนามอันเป็นคุณว่า อรหํ ผู้ควร. โดยนัยหนึ่ง
ว่าเพราะทรงกำจัดข้าศึกเสียได้. อะไรที่เป็นข้าศึก ? ท่านแสดงว่า ข้าศึกอย่าง
ใหญ่ก็ได้แก่กิเลสหรือความชั่ว ที่ทำบุคคลให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส หรือให้เป็นคนชั่วไม่ให้คนดีได้. ทุก ๆ คนตั้งต้นแต่เด็ก
เมื่อได้รู้เนื้อความของถ้อยคำแล้ว ย่อมต้องการเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น เช่นเด็ก
ถูกผู้ใหญ่กล่าวติเตียนว่าเป็นคนไม่ดีก็เสียใจ แต่ถ้าได้รับคำชมจากผู้ใหญ่ว่าเป็นคน
ดีก็ชอบใจ, ไม่ต้องป่วยกล่าวไปถึงคนผู้ใหญ่ที่โต ๆ รู้เรื่องแล้ว. คนทั้งหลายต้อง
การเป็นคนดี ไม่ต้องการเป็นคนไม่ดีหรือเป็นคนชั่ว มีอยู่ด้วยกันทั้งนั้น. เมื่อถาม
ตนเองด้วยตนเองว่า ตนต้องการเป็นคนดีหรือต้องการเป็นคนไม่ดี คือเป็นคนชั่ว
ก็คงจะตอบตัวเองได้ว่า ต้องการเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น, แต่ถึงเช่นนั้น ทำไมคนจึง
ไม่เป็นคนดีไปทั่วถึงกัน, ก็เพราะข้าศึกคือกิเลส เกิดขึ้นครอบงำจิต แล้วทำจิต
ให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลสอย่างหยาบบ้าง อย่างกลางบ้าง จึงถึงอย่างละเอียด.
คนที่ฆ่าเขาบ้าง ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้ด้วยอาการที่เป็นโจรปล้นบ้าง ด้วย
อาการที่เป็นโจรวิ่งราวบ้าง ด้วยอาการที่เป็นโจรลักของเขาบ้าง ด้วยอาการที่ยก
เอาอำนาจที่มีอยู่บังหน้า แล้วขู่เข็ญบุคคลผู้อื่นด้วยอำนาจนั้นบ้าง เป็นต้น, เมื่อเป็นเช่นนี้
บุคคลผู้นั้นจะเป็นคนดีได้อย่างไร,แม้ตนจะเข้าใจว่าเป็นคนดี ก็คงเป็นดีใน
จำพวกของตนที่เป็นเช่นเดียวกัน แต่คนอื่นที่ไม่เป็นเช่นนั้นก็ไม่เห็นว่าเป็นดีเป็น
ชอบไปได้. แม้จะได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ยินยอมให้ ด้วยอำนาจอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ตนได้ทรัพย์นั้นมา จะถือว่าเป็นดีเพราะได้ทรัพย์นั้น ก็เป็นเพราะความเห็น
ผิด, แต่ถ้าพิจารณาลงไปว่า ทรัพย์ที่ตนได้มานั้นด้วยสุจริตหรือทุจริต, ถ้าเห็นว่า
ได้มาด้วยสุจริต ทรัพย์นั้นก็จะทำให้ปลาบปลื้มใจได้, แต่ถ้าเห็นว่าทรัพย์นั้นได้มา
ด้วยทุจริต ก็จะรู้สึกด้วยใจตนเอง ติเตียนตนเองได้ ถึงจะปิดผู้อื่นอย่างไร ๆ ก็ปิด
ตัวเองไม่ได้ มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า
" นตฺถิ โลเก รโห นาม ชื่อว่ามี่ลับไม่มีในโลก " เพราะตนเองรู้ตนเองอยู่ ดังนี้.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกเลสเสียได้ด้วยประการทั้งปวง.
กิเลส เครื่องที่ทำให้บุคคลเศร้าหมองนั้นท่านจัดไว้เป็นชั้น ๆ ชั้นหยาบได้แก่
อภิชฌา ความมุ่งที่จะให้ได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน, พยาบาท ความมุ่งร้ายผู้อื่น
มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด, เพราะมุ่งที่จะให้ได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่เลือกดี
ชั่วผิดถูกอย่างไร มุ่งแต่จะให้ได้ก็แล้วกัน, มุ่งจองล้างผู้อื่น จะดีชั่วผิดถูกอย่างไรไม่
คำนึง นึกในใจมุ่งแต่จะล้างผลาญให้ได้ก็แล้วกัน, เพราะมีความเห็นผิดจากคลองธรรม คือ เห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด. เพราะ
อภิชฌา พยาบาท อันสืบมาจากมิจฉาทิฏฐินี่แหละ จึงเป็นเหตุให้บุค8ลประพฤติชั่ว
ทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ด้วยความตั้งใจ, เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลผู้นั้นจะเป็นอย่างไร
จะเป็นคนดีหรือเป็นคนชั่ว ตัวเราเองพิจารณาดูตัวว่า เป็นคนดีหรือเป็นคนชั่ว
ก็จะตอบตัวเองได้ตามความเป็นธรรมว่าเป็นคนชั่ว, ถึงเช่นนั้น บุคคลก็ยังยอมอยู่
ในอำนาจของความชั่วมีเป็นอันมาก, พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดกิเลส เครื่องที่
ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบเสียได้, นี่ประการหนึ่ง.
กิเลสเหล่านี้สืบเนื่องมาจากอะไร ? เมื่อพิจารณาไปก็จะเห็นได้ว่า อภิชฌา สืบ
เนื่องมาจากโลภะ ความอยากได้ หรือราคะ ความยินดีชอบใจติดอยู่ในสิ่งที่
ชอบ. พยาบาท มุ่งร้ายจองล้างจองผลาญสืบมาจากโทสะ ความโกรธแค้นที่เกิดขึ้น
กลุ้มรุมใจ ทำใจให้เดือดร้อนกระวนกระวาย. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดสืบเนื่อง
มาจากโมหะ ความหลง หลงงมงาย เพราะไม่ใช่ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามเป็น
จริง. เมื่อราคะความยินดี ความติดอยู่ในสิ่งที่ชอบ หรือโลภะ ความอยากได้ เกิด
ขึ้นในใจ ใจจะเป็นอย่างไร. พิจารณาดูตัวเองจะเห็นได้ว่า ทำใจให้เดือดร้อน
กระวนกระวาย เพราะอำนาจราคะหรือโลภะ, เมื่อโทสะเกิดขึ้นในใจย่อมประทุษร้ายใจ ทำให้ใจเดือดร้อนงุ่นง่านด้วยอำนาจโทสะ เมื่อโมหะความหลงงมงาย
เพราะไม่ใช้ปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงเกิดขึ้นครอบงำใจ ใจก็โง่งุนมึน
ไม่รู้ตามเป็นจริงได้, เมื่อราคะหรือโลภะก็ตาม โทสะก็ตาม โมหะก็ตาม เกิดขึ้น
ที่ใจ ครอบงำใจ ทำใจให้เดือดร้อนกระวนกระวาย มีอาการต่าง ๆ ถ้า
แรงกล้าก็ให้แสดงออกมาทางสีหน้า, แม้ผู้อื่นที่พิจารณาเห็นก็อาจจะรู้ได้, โลภะ
หรือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในใจ ครอบงำใจ ทำใจให้เดือดร้อน ชักใจให้
เป็นไปตามอำนาจของโลภะ หรือ ราคะ โทสะ โมหะ เช่นนี้ ใจก็อยู่ไม่ได้ดี เดือด
ร้อนกระวนกระวาย, ใครต้องการให้ตนเป็นผู้มีใจไม่ดี เป็นผู้มีใจเดือดร้อนกระวน
กระวายบ้าง ถามตัวเองก็คงตอบได้ว่า ไม่ต้องการเช่นนั้น ต้องการแต่จะให้ใจอยู่
เป็นสุขสงบ, เพราะฉะนั้น ราคะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่เกิดขึ้นในใจ ครอบงำใจ จึงเป็นข้าศึกของบุคคล เพราะทำใจให้เดือดร้อนกระวนกระวาย. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดข้าศึกเหล่านี้เสียได้
นี่ประการหนึ่ง.
ราคะ หรือ โลภะ ก็สืบเนื่องมาจากราคะที่เป็นอนุสัยอันได้แก่ความยินดี
ชอบใจที่นอนจมอยู่ในจิต, โทสะ ก็สืบเนื่องมาจากปฏิฆะ ความไม่ชอบใจที่นอน
นิ่งอยู่ในจิต, โมหะ ก็สืบเนื่องมาจากอวิชชาความไม่รู้หรือความไม่รู้ตามเป็น
จริง, ราคะ ความชอบใจ, ปฏิฆะความไม่ชอบใจ มีอาการเป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะ
อวิชชา ความไม่รู้หรือไม่รู้ตามเป็นจริง, เช่นบุคคลเข้าไปอยู่ในที่มืดก็รู้แต่ว่ามืด แต่
ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรหรือมีอะไรบ้าง นี่เป็นอาการของอวิชชา, เมื่อมีแสงสว่างเข้ามา
เป็นทาง ๆ เห็นสิ่งของเข้าได้, ถ้าสิ่งของหรือวัตถุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ ราคะความ
ยินดีที่มีอยู่ก็แสดงอาการออกมายินดีในวัตถุสิ่งนั้น, ถ้าสิ่งนั้น ๆ หรือวัตถุนั้น ๆ
ที่มาประสบไม่เป็นที่ชอบใจ ปฏิฆะที่นอนอยู่ภายในก็แสดงอาการไม่ชอบออกมาให้
ปรากฏ, เพราะฉะนั้น ราคะจึงเป็นกิเลสอย่างละเอียด แสดงอาการออกมาเป็น
ราคะที่ปรากฏอาการยินดีในวัตถุที่ชอบหรือโลภะอยากได้, ปฏิฆะแสดงอาการ
หยาบออกมาก็เป็นโทสะประทุษร้ายใจ, อวิชชาแสดงอาการออกมาเป็นโมหะ
ความหลง, ราคะ หรือ โลภะ เมื่อแสดงอาการหยาบออกมาอีก ก็เป็น อภิชฌา,
โทสะ เมื่อแสดงอาการหยาบออกมาอีกก็เป็นพยาบาท, โมหะ เมื่อแสดงอาการ
หยาบออกมาอีกก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ, เพราะฉะนั้น ราคะ ปฏิฆะ อวิชชา ที่เป็น
อนุสัยนอนนิ่งอยู่กับจิต ซึ่งเป็นเหมือนดังตะกอนที่นอนอยู่ในภายใต้ของน้ำที่ใส เมื่อ
ไม่มีอะไรมากระทบ ตะกอนก็จมอยู่ที่ก้นน้ำอยู่ข้างบนก็ใส, แต่ถ้ามีอะไรมากระทบ
ภาชนะให้น้ำกระเทือนหวั่นไหว ตะกอนที่นอนอยู่ในภายใต้ก็ฟุ้งซ่านระคนกับน้ำทำ
ให้น้ำขุ่นมัว, เมื่อสิ่งที่มากระทบ ๆ แรงกล้าก็ทำให้กระฉอกหกออกจากภาชนะ
ข้อนี้ฉันใด, กิเลสอันเป็นอนุสัยอันนอนอยู่กับจิต เมื่อไม่มีอะไรกระทบก็คงนอนอยู่กับจิต ไม่แสดงอาการให้ปรากฏ,
เมื่อมี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและ ธรรม คือเรื่องราวมากระทบ ก็
ทำให้กิเลสที่เป็นอนุสัยนั้นกระเพื่อม หรือฟุ้งขึ้น ทำจิตซึ่งเปรียบประดุจน้ำให้เศร้า-
หมอง ขุ่นมัว เพราะอำนาจ ราคะ หรือโลภะ และ โทสะ โมหะ, ถ้าสิ่งที่มา
กระทบคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งมากระทบแรง ราคะ หรือ โลภะ ก็มีอาการอันหยาบออกไปเป็นอภิชฌา มุ่งถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้, โทสะก็มีอาการ
หยาบออกไปเป็นพยาบาทมุ่งล้างผลาญผู้อื่นที่ไม่ชอบ, โมหะก็แสดงอาการอัน
หยาบออกไปเป็นมิจฉาทิฏฐิ. กิเลสอย่างละเอียดที่นอนนิ่งอยู่กับจิต ท่านเรียกว่า
อนุสัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดเสียได้จึงเป็นพระ อรหํ หรือ อรหันต์ ซึ่ง
แปลว่า กำจัดข้าศึกอันหมายถึงกิเลสที่มีอยู่ภายใน. กิเลสเหล่านี้ไม่ใช่มีแต่ในจิต
ของพระสัมมาสัมพุทธะ เมื่อยังไม่ได้ตรัสรู้
เท่านั้น, ในเราทั้งหลายถ้วนหน้าหรือตลอดทุก ๆ คนด้วยกันหมดโลก ก็มีกิเลส
เหล่านี้อยู่ด้วยกัน แต่ว่าบางท่านอ่อนบาง
ท่านแรงกล้า, คนที่มีกิเลสอ่อนไม่สามารถจะทำชั่วออกไปให้ปรากฏได้, คนที่มีกิเลส
อันหยาบคายสามารถจะทำให้ชั่วปรากฏ. เมื่อกิเลสเหล่านั้นเกิดขึ้นที่ใจ ครอบงำใจ
ชักใจหรือจิตให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลสให้เสื่อมจากความเป็นคนดี, เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกกิเลสเหล่านี้ว่าข้าศึก. ข้าศึกไม่มุ่งทำความดีให้แก่ใคร มุ่งแต่ทำ
ความชั่วร้ายให้, กิเลสก็เป็นเช่นเดียวกันเกิดขึ้นที่จิตของใครก็มีแต่จะประทุษร้ายจิต
ทำจิตให้เศร้าหมองขุ่นมั่ว จนถึงถ้าแรงกล้าก็ให้ล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา
ด้วยความตั้งใจ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดกิเลสทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง
อย่างละเอียดเสียได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้กำจัดกิเลสและเป็นผู้ควร ดังนี้. การกำจัด
ข้าศึกคือกิเลสเหล่านั้น จะสำเร็จได้ก็อาศัยเหตุ. เหตุที่จะกำจัดข้าศึกคือกิเลสเหล่านี้
ท่านก็แสดงไว้โดยนัยต่าง ๆ กัน, บางแห่งก็แสดงว่าทรงกำจัดกิเลสอย่างหยาบด้วย
บารมีสามัญ ๑๐ ประการ ทรงกำจัดกิเลสอย่างกลางด้วยอุปบารมี ทางกำจัดกิเลส
อย่างละเอียดด้วยปรมัตถบารมี, หรือกำจัดกิเลสอย่างหยาบด้วยศีล กำจัดกิเลส
อย่างกลางด้วยสมาธิ กำจัดกิเลสอย่างละเอียดด้วยปัญญา และโดยนัยอื่น ๆ อีก
แต่แม้จะมีชื่อต่าง ๆ กัน รวมความลงก็คงเป็นอย่างเดียวกัน ดังพระพุทธภาษิต
ที่แสดงไว้ว่า ธรรม แม้จะมีปริยาย คือทาง มากมายเท่าไรก็ตาม เมื่อรวมลงไป
หาผลก็คือ วิมุตติ ความหลุดพ้นจากความไม่รู้ตามเป็นจริง, เหมือนดังทาง
ของน้ำที่แม้จะมีมากมายหลายทาง แต่เมื่อไหลรวมลงไปสู่มหาสมุทรแล้ว ก็มี
รสอันเดียวคือเค็มเหมือนกันหมดฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้
พระนามว่า อรหํ ด้วยประการฉะนี้.
( โอ. ๒/๑๒-๑๙ ).
ความกระวนกระวายที่เรียกว่า
อาดูร นั้น ในชั้นต้นก็เกิดขึ้นในจิตหรือเกิดขึ้นที่จิต ทำจิตให้กระวนกระวาย, เมื่อ
แรงกล้าขึ้นก็เป็นเหตุให้กระวนกระวายออกไปทางกาย, กระวนกระวายออกไป
ทางวาจา, ทำตนเองให้กระวนกระวายอยู่ด้วยตนเองด้วย, เมื่อเกี่ยวข้องกับผู้อื่น
ก็ทำให้ผู้อื่นต้องกระวนกระวายไปด้วย จึงไม่เป็นสุข ( เหมือนตกนรกทั้งเป็น ).
กิเลสที่ทำให้กระวนกระวายหรือความกระวนกระวายนั้น เมื่อแยกตามชั้น ในชั้น
ต้นก็คือ โลภะ มุ่งอยากได้, แรงออกไปก็ถึงอภิชฌา มุ่งให้ได้ถ่ายเดียวไม่เลือกว่า
ดีหรือชั่วผิดหรือถูก อย่างหนึ่ง. โทสะความโกรธที่ประทุษร้ายใจ ทำให้เดือดร้อนกระวนกระวาย, เมื่อแรงขึ้นก็ให้
พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นด้วย ไม่เลือกว่าผิดหรือถูก ให้ล่วงออกไปทางกายบ้าง ทางวาจา
บ้าง ( เหมือนตกนรกทั้งเป็นเช่นเดียวกัน ) อย่างหนึ่ง. โมหะ ความหลง เมื่อเกิด
ขึ้นครอบงำใจ ก็ทำใจให้หลงงมงาย เมื่อแรงขึ้นก็ให้เกิดมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด
คือเห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด เห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี. เพราะเหตุนี้แหละ
คนเราเมื่อปล่อยให้ความกระวนกระวายเกิดขึ้นครอบงำ และไม่รู้จักพิจารณาให้
รู้จักหน้าตาของความกระวนกระวายที่เกิดขึ้น ไม่ห้ามความกระวนกระวายที่เกิดขึ้น
ครอบงำ ปล่อยให้ความกระวนกระวายเข้าครองจิต และบังคับให้จิตคิดที่จะประพฤติ
ชั่วออกไปทางกาย ทางวาจา อันเป็นความกระวนกระวายทางกายทางวาจา เช่น
โลภะ จนถึง อภิชฌา ความอยากได้และมุ่งให้ได้มาโดยไม่นึกถึงดีชั่วผิดถูกเข้า
ครอบงำ, บุคคลผู้ถูกความกระวนกระวายอันเป็นส่วนโลภะครอบงำ จึงปล้น
เขาบ้าง แย่งชิงเขาบ้าง ลักขโมยเขาบ้าง ฉ้อฉลเขาบ้าง เอากิจการงานมาบังหน้า
และหลอกลวงผู้อื่นเอาสมบัติของเขามาบ้าง เป็นต้น, เพราะความกระวนกระวาย
ที่เกิดขึ้นครอบงำจิตนั่นแหละ และก็ไม่รู้จักว่า ความกระวนกระวายเกิดขึ้นครอบ
งำจิต ปล่อยให้ความกระวนกระวายเป็นเจ้าของจิต และบังคับให้กาย ให้วาจา
ทำไปตามอำนาจโลภะ, ความกระวนกระวายก็ออกไปทางกาย ทางวาจา ตัวเองต้อง
กระวนกระวายเดือดร้อนอยู่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นเช่นนั้น, เพราะมุ่งออกไปด้วยอำนาจโลภะ
จึงไปปฏิบัติคือทำกิจการทางกาย ทางวาจาด้วยอำนาจโลภะ, เมื่อเกี่ยวข้องกับ
คนอื่น ก็ทำให้คนอื่นกระวนกระวายไป
ด้วย นี่อย่างหนึ่ง.
โทสะ ความโกรธที่เกิดขึ้นประทุษร้ายใจ ก็ทำให้กระวนกระวาย, โทสะ
เกิดขึ้นประทุษร้ายใจผู้ใด ก็ทำให้ผู้นั้นมใจกระวนกระวายอยู่ในตัวเอง และก็ไม่รู้
เพราะไม่ได้ดู, เมื่อปล่อยให้โทสะเกิดขึ้นครอบงำใจ ทำใจให้กระวนกระวายเช่นนี้
แล้ว โทสะก็เป็นเจ้าของจิต บังคับจิตให้จิตบังคับกายวาจา ให้ทำชั่วออกไปทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง เช่นให้ฆ่าเขาให้ประทุษร้ายเขา เป็นต้น, เมื่อความกระวนกระวายด้วยอำนาจโทสะออกไปทาง
กาย ทางวาจา ก็ทำผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วยให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ต้องตายบ้าง ต้องเจ็บช้ำลำบากบ้าง.
โมหะ ความหลงไม่รู้เท่าความเป็นจริง เพราะไม่พิจารณาให้รู้จัก เกิดขึ้น
ครอบงำใจ ก็ทำใจให้หลง ให้งมงาย, เมื่อแรงกล้าออกไป ก็ให้เห็นผิดเป็นถูก
เห็นถูกเป็นผิด เห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี. เพราะเหตุนี้ แม้ตัวเองมุ่งจะเป็นคนดี
แต่ก็ไม่ทำดี มุ่งจะไม่เป็นคนชั่ว แต่ก็ทำชั่ว, เมื่อทำอยู่ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ ความกระวน
กระวายที่มีอยู่ในตน ก็แผ่ออกไปถึงบุคคลผู้อื่นเพราะความเห็นผิด ทำให้ผู้อื่นต้อง
กระวนกระวายเดือดร้อน.
พึงพิจารณาดูตัวเราเองก่อนว่า ถ้าโลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นครอบงำใจ
มีอยู่ในใจเรา ใจเราจะเป็นอย่างไร จะอาดูรกระวนกระวายหรือไม่ ก็จะเห็นได้
ตามเป็นจริง, แต่เมื่อไม่ดูก็ไม่รู้ไม่เห็น, เมื่อไม่ดูไม่รู้ไม่เห็นแล้ว ก็ยังปล่อยให้
ความกระวนกระวายแสดงออกไปทางกาย ทางวาจา ไปเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ทำให้ผู้อื่น
เดือดร้อนกระวนกระวายปรากฏเห็นกันอยูเห็นได้ง่าย ๆ เกือบจะไม่มีปิดบัง, ทำตาม
ชอบใจด้วยอาศัยอำนาจคิดเห็นว่า เป็นดีเป็นชอบ ไม่พิจารณาดูตัวให้รู้ว่า ตัวเอง
เป็นทาสของกิเลสที่ทำใจให้กระวนกระวายเป็นเบื้องต้นจนถึงปล่อยให้ความกระวน
กระวายแสดงออกไปทางกายทางวาจา ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน แต่กลับเข้าใจว่าดี ว่า
ชอบ ว่าถูกถ้าพิจารณาดูที่ตัวเอง ก็จะเห็นได้ตามเป็นจริง.
การทำจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ดีที่ชอบนั้น ในชั้นต้นยากที่จะทำได้ เพราะ
จิตเคยซัดส่ายฟุ้งซ่านมานานแล้ว, แต่ถึงเช่นนั้น เมื่อพิจารณาดูให้รู้แล้ว อาศัย
ฉันทะ ความพอใจ วิริยะ ความบากบั่น จิตตะ ความตั้งใจ วิมังสา ความพิจารณา
สอบสวน ประกอบกันไป ก็อาจทำจิตให้ตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียวได้, เมื่อ
จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นอันเดียวได้แล้ว ก็กำจัดความฟุ้งซ่านของจิตที่แส่ส่ายไปรับ
อารมณ์ต่าง ๆ ให้เข้ามายึดมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ดีที่ชอบอันเดียว, เมื่อเป็นเช่นนี้
จิตก็สงบจากความกระวนกระวาย, เมื่อจิตสงบ ก็ไม่กระวนกระวายออกไปทาง
กาย ทางวาจา, เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้
จึงเป็นผู้ไม่มีความอาดูรกระวนกระวายอีกชั้นหนึ่ง.
แต่ถึงเช่นนั้น เมื่อยังไม่รู้จริงเห็นจริง ถ้าหยุดความตั้งจิตมั่นมีอารมณ์เป็น
อันเดียวเสีย จิตก็จะฟุ้งซ่านไปรับอารมณ์ต่าง ๆ อีก, เพราะกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิด
ความกระกระวายที่ละเอียดยังนอนอยู่กับจิต. เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ จึงทรงน้อมจิตที่ตั้งมั่นมาทรงพิจารณาดูเหตุที่ทำให้เกิดความกระวนกระวาย ก็ทรงพิจารณาเห็น
ได้ว่าเพราะกามาสวะ อาสวะคือกาม ความใคร่อันนอนจมอยู่ อย่างหนึ่ง, ภวาสวะ
อาสวะ คือภพ ความเป็นตัวตน อันนอนจมอยู่ อย่างหนึ่ง, อวิชชาสวะ อาสวะ
คืออวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงความรู้ไม่ถูกต้อง อันนอนจมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง, เมื่อทรงรู้จักสัจจธรรมที่เป็นส่วนชั่วชั้นละเอียดตามเป็นจริงเช่นนี้แล้ว, กิเลส
ทนปัญญาที่พิจารณาดูไม่ได้ก็เสื่อมหายไป.ท่านแสดงไว้ว่า พระปัญญาที่เกิดแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัญญาที่มีกำลังแรงกล้า จึงกำจัดกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความ
กระวนกระวายเสียได้ ด้วยประการทั้งปวง.
กิเลส ที่เป็นเหตุให้เกิดความกระวนกระวายตั้งแต่ชั้นต้น หรือชั้นหยาบ
และชั้นกลางถึงชั้นละเอียดเป็น มาร ซึ่งหมายความว่าเป็นผู้ฆ่า คือฆ่าคุณความดี
ของตัวเองด้วย ฆ่าผู้อื่นคือทำผู้อื่นให้เดือดร้อนด้วย. เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฆ่ามาร
คือกิเลสซึ่งเป็นเหตุทำให้จิตกระวนกระวายซึ่งเรียกว่าอาดูรเสียได้เป็นชั้น ๆ พระ-
องค์ก็เป็นมารชินะ ผู้ชนะมาร คือชนะกิเลส. ที่จริงกิเลสก็เป็นกิเลส ไม่ใช่ตัว
ตน, ตัวตนก็ไม่ใช่กิเลส แต่ว่าเพราะคนไม่รู้จักกิเลสที่เกิดขึ้นที่ตน, กิเลสก็เข้ามา
ครอบงำตน มาเป็นตน เป็นตัวให้บุคคลเห็นว่ากิเลสเป็นตัวตน, เมื่อเห็นว่ากิเลส
เป็นตัวเป็นตน ก็ทำตามอำนาจของกิเลสซึ่งมีอยู่ในตัวตน. เพราะฉะนั้น ความ
อาดูร คือความกระวนกระวายก็ย่อมเกิดขึ้นที่ตนเป็นเบื้องต้นก่อน แล้วก็ทำความ
กระวนกระวายให้แก่บุคคลผู้อื่น. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดมาร คือกิเลส
ได้ทุกขึ้น เป็นมารชินะ ผู้ชนะมารเช่นนี้จึงเป็น อนาตุระ ผู้ไม่กระวนกระวาย,
เมื่อคนทั้งหลายยังกระวนกระวายอยู่ พระองค์ก็เป็นผู้ไม่กระวนกระวาย จึง
ทรงอยู่เป็นสุข.
คนที่มีจิตประกอบด้วยความกระวนกระวาย แม้จะอยู่ที่ไหน ก็จะหาความ
สบายจริงไม่ได้ เพราะจิตกระวนกระวาย, จะไปอยู่ที่ไหนก็กระวนกระวายที่นั่น,แต่ถ้าจิตปราศจากความกระวนกระวาย
แล้ว อยู่ที่ไหน ๆ ก็ไม่กระวนกระวาย
อยู่เป็นสุข. ( วชิร. ๓๐๗-๓๑๒ ).
โมหะ ความหลง = ความไม่รู้ ไม่รู้ตามที่เป็นจริง จึงเข้าไปยึดถือ... ถือเอาโดยเข้าใจว่า... ทึกทักเอาเองว่า... คิดเอาเองว่า... เข้าใจผิดว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้
เช่น +++++
หลงในวัตถุ = เช่น ข้าวของเงินทอง ทรัพย์สมบัติ บ้านเรือนว่า เป็นของตน หรือยึดถือเอาว่าเป็นของตน เมื่อหายไปหรือสูญสลายไป ก็เกิดความทุกข์ เป็นสิ่งที่แสวงหามาได้ด้วยความยากลำบาก ใครจะมาแย่งชิง ต้องสู้กัน บางครั้งปกป้องทรัพย์สิ้นจนตัวตาย ด้วยความไม่รู้
หลงในรูป = เช่น ยึดเอาถือเอาว่าร่างกายเป็นของตน เห็นร่างกายของตนและผู้อื่นว่าสวยว่างาม ไม่แก่ไม่เฒ่า ไม่เจ็บไม่ป่วย ไม่ตาย ต้องยั่งยืน มีอายุเป็นร้อยปี พันปี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ต่อต้าน ยื้อยุด เมื่อต้านไม่ไหวก็เกิดเป็นทุกข์ขึ้น
หลงในทิฐิ (ความเห็น) = เช่น เห็นว่าบาปไม่มี บุญไม่มี เห็นว่าทานไม่มีผล ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดี เห็นว่าคุณของมารดาบิดาไม่มี เป็นต้น
ทั้งหมดนี้รวมลงใน โมหะ (ความหลง) และมิจฉาทิฐิ (ความเห็นผิด) เห็นไม่ตรงตามความเป็นจริง
ทำอย่างไร ? จึงจะไม่หลง จึงจะไม่เป็น มิจฉาทิฐิ
ก็ต้องทำความรู้ ความเห็นให้ถูกต้อง ให้ตรงตามความเป็นจริง ให้เป็น สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ด้วยการพัฒนาสติ สร้างปัญญาของตนเองให้เกิดขึ้นให้ได้
สุตมัยปัญญาและจินตามัยปัญญานำมาศึกษาหัวข้อธรรมต่าง ๆ ให้แยบคาย คิดเป็นระบบมีขั้นตอน คิดอย่างมีเหตุผล คิดบ่อย ๆ พิจารณาบ่อย ๆ หรือที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
จนเกิดสมาธิจิตตั้งมั่น ปัญญาตัวที่สามก็จะเกิดคือ ภาวนามัยปัญญา เกิดความเข้าใจ หายสงสัย รู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามหลัก ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ภาวนามัยปัญญานี่ละ ตัวที่จะตัด จะละ จะปล่อย จะวาง จากความหลง ความยึดมั่นถือมั่น จากความเห็นผิด เข้าใจผิด แล้วจะได้รู้เห็นในสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
เจริญธรรม
ความรู้ในเรื่อง
-ทุกข์
-เหตุแห่งทุกข์
-ความดับทุกข์
-ทางเข้าถึงความดับทุกข์(มรรคมีองค์8)
คือสัมมาทิฏฐิ
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ
ขอบคุณ คุณมิตรตัวน้อยครับ
สวัสดีค่ะ ที่เราเรียนมานั้นนี่คือ
อกุศลมูล3 คือต้นตอของความชั่วทั้งปวงมีโลภะคือความโลภโลภอยากได้เงินทองอยากได้ของแพงๆอยากได้นู้นอยากได้นี่ส่วนโทสะคือความโกรธแค้นโกรธเพื่อนโกรธครูพ่อแม่เป็นต้น และสุดท้ายความโมหะ คือความหลงเช่นหลงตัวเองว่าตัวเองเก่งว่าตัวเองหล่อเท่หรือสวยน่ารักเป็นต้น
รู้ว่าตนโลภ รู้ว่าตนโกรธ ก็ใช้ได้แล้วครับ
เมื่อรู้แล้วว่าโลภไม่ดี โกรธไม่ดี และหาวิธีจัดการอาการเหล่านั้นได้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดอาการเหล่านั้นได้อีก ก็ไม่โมหะแล้วครับ
โมหะ ความหลง
ความหลง ก็คือ การไม่รู้ การโง่
ที่เรียกว่า หลง คือ หลงโกรธ หลงโลภ หลงทุกข์ อยู่นั่นแหละ
พิจารณาดีๆคับอันแรก โลภะ คือความโลภเรารู้จักมันแค่ชื่อและลักษณะแค่ผิวเผลิญเท่านั้นเองแค่นั้นยังไม่ละเอียดพอคับยังใช้การไม่ได้อันที่จริงแล้ว โลภะจะมีลักษณะจิตรเหมือนดึงเข้ามาหาตัวแลจิตรก็จะน้อมเก็บกักเอาไว้เรียกว่าโลภะ โมหะจะเป็นลักษณะจิตรผลักดันออกไป ส่วนโมหะจะมีลักษณะวนไปวนมาจะเข้าก็ไม่ใช่จะออกก็ไม่เชิงทำให่เราไม่รู้ได้แน่ชัดตัวนี้จะดูยากหน่อยว่าเป็นจิตรประเภทใหนเรียกว่าโมหะคือความไม่รู้ แต่ก็ให้เราตามดูอันที่มันเข้าๆออกนั่นแหละคับเห็นให้ชัดแล้วโมหะจะค่อยๆจางคลายไปเอง^^
ก่อนจะเข้าใจโมหะ เราต้องเข้าใจตัวเราเองก่อนว่ามีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
ถ้าเรามองออก ก็จะเข้าใจโมหะไม่ยาก แต่ถ้ามองไม่ออกต่อให้รู้จักโมหะ ก็เอาไปใช้ไม่เป็นอยู่ดี
โมหะ คือกิเลส ตัวหนึ่ง จุดดำเล็กๆ เท่าเหา นอนนิ่งอยู่ในใจเรา ความสุขความเอิบอิ่มกดทับมันไว้อยู่
เมื่อไหร่ที่เศร้าขึ้นมา โมหะ ตัวเท่าเหานี่ก็จะใหญ่ขึ้นมาเท่าช้าง .
อาการ . โมโห อยากจะด่าผู้คนไปทั่ว เจอใครก็อยากด่า อยากหาเรื่อง