ได้ยินว่า การบวชมี 2 แบบ คือ แบบมหานิกาย และแบบธรรมยุต ถ้าบวชมหานิกายจะไปอยู่แบบธรรมยุตได้ แต่ธรรมยุตจะมาอยู่มหานิกายไม่ได้
มีข้อสงสัยข้อหนึ่งว่า บวชแบบมหานิกาย และจะไปจำพรรษาวัดแบบธรรมยุต เขาจะไม่ให้พระที่บวชแบบมหานิกายเข้าอุโบสถ ข้อความนี้จริงเท็จแค่นี้ และมีอะไรอีกหรือไม่ที่ว่า พระมหานิกาย ทำแบบ พระธรรมยุค ไม่ได้
ความจริงพิธีบวช (สังฆกรรมในโบสถ์) ตอนที่จะขอบวชเป็นพระภิกษุ (สงฺฆมฺภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลฺลุมปตุ มํ ภนฺเต ....) เหมือนกัน และที่สำคัญคำสวดกรรมวาจา (คำสวดที่จะยกสามเณรให้เป็นพระภิกษุ) เหมือนกันไม่มีผิดเพี้ยน (ผิดไม่ได้กรรมวิบัติ) จึงของสรุปว่า... การบวชแบบมหานิกายกับแบบธรรมยุติกนิกาย ไม่แตกต่างกัน ต่างกันเพียงแค่คำขอบวชเณรเท่านั้น (ย้ำ) สามเณรมหานิกาย และสามเณรธรรมยุติ ต้องรับไตรสรณคมน์และรับศีล ๑๐ เหมือนกัน (ไม่มีผิดเพี้ยน) ดังนั้น ท่านจงอย่าสงสัยเลย บวชแบบไหนก็เป็นพระภิกษุเหมือนกัน ต่างกันแค่การเข้าสังกัดตามใบสุทธิเท่านั้น
พระภิกษุสังกัดมหานิกาย กับ พระภิกษุสังกัดธรรมยุติกนิกาย นั้น ต่างก็เป็นพระภิกษุสายเถรวาท หรือ หีนยานทั้งสิ้น
การบวชพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ
- บวชแบบเถรวาท ซึ่งยึดถือตามแบบที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ หรือที่เรียกว่า บวชแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา คือ สวดตั้งญัตติให้สงฆ์ทราบหนึ่งจบ และสวดกรรมวาจาอีก ๓ จบ (บวชอย่างนี้ พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา เป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรก) (หากดูในพุทธประวัติจะเห็นว่าการบวชเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน)
- บวชแบบมหายาน ซึ่งจะใช้วิธีอธิษฐานบวช (ได้ยินมาอย่างนี้ อาจผิดก็ได้)
ขอขอบคุณท่าน ปมุตฺโต ภิกฺขุ มากครับ
ครับ ผมจะบวชช่วงเข้าพรรษา
เป็นธรรมดาของคน เมื่อเห็นไม่ตรงกันก็มักจะหนีไปที่ใหม่ ไปจัดแจงให้ถูกใจตน เพราะเห็นว่าเปลี่ยนแปลงผู้อื่นได้ยาก เป็นต้น และการมีนิกายของศาสนาเพิ่มขึ้นก็มีสาเหตุเช่นเดียวกัน ฉะนั้นถ้าหากถือพุทธได้เป็นพุทธจริงแล้วก็จะไม่มีการแบ่งนิกายภายในใจอีก