อนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ให้ยืนยงคงอยู่คู่อริยมรรคกันเถิด

 ตรงประเด็น    


ชวนกันอนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ให้ยืนยงคงอยู่คู่อริยมรรคที่มีองค์แปด....สืบไป

ในยุคนี้ จะได้ยินการกล่าวเช่นนี้กันบ่อยขึ้น
เวลาภาวนาให้ระวังน่ะ...โดย

 “ระวังน่ะ จะเป็นสมถะเข้า.....
.ระวังน่ะ เดี๋ยวจิตสงบ จะติดสุขจากสมาธิเข้า.....และ จะเสียเวลาในการเจริญวิปัสสนา....
.ระวังน่ะ จะกลายเป็นฤาษี.... ” 

ดังนั้นบางท่านจึงกล่าวว่า ควรเลือกเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว โดยต้องระวังไม่ให้มีส่วนของ สมถะเข้ามาเจือปน!!!

ประเด็นคำกล่าวเหล่านี้ ดูจะเป็นที่กล่าวถึงกันมากขึ้นในสังคมชาวพุทธไทย
ซึ่ง ถ้าคงเป็นเช่นนี้ต่อไป
 “สัมมาสมาธิ” ที่เป็นอริยมรรคข้อสุดท้าย ที่เป็นจุดประชุมรวมแห่งอริยมรรคทั้งหลาย(มรรคสมังคี) ....ก็คงจะถูกตีค่าเท่ากับ “ฌานฤาษี” ซึ่งเป็นสิ่งอันตราย ควรหลีกเลี่ยง  
และ ต่อไปคงไม่มีชาวพุทธไทยรุ่นใหม่ใส่ใจจะเรียนรู้ และ ปฏิบัติในอริยมรรคข้อนี้

การที่ชาวพุทธบางท่าน “ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา” ก็เป็นปัญหาระดับหนึ่งจริง
แต่ การที่ชาวพุทธบางท่าน   “แยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเอาแต่เพียงวิปัสสสนา100%เท่านั้น”   กลับ เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเสียอีก..... เพราะนั่น หมายถึง ไตรสิกขาข้อสมาธิจะต้องถูกตัดออกข้อหนึ่ง หรือ อริยมรรคที่มีองค์แปดคือ"สัมมาสมาธิ"จะต้องถูกทอนออกจากอริยมรรค ให้เหลืออริยมรรคที่มีองค์เจ็ด.

จึง อยากเชิญชวนชาวพุทธมาทบทวน เรื่อง “สัมมาสมาธิ” กันครับ
เพราะ เราคงไม่สามารถอนุรักษ์ สิ่งที่เราไม่รู้จักอย่างดีได้....






ขออภัยครับ

ผม ตรงประเด็น เป็นผู้ตั้งกระทู้ครับ

สมาชิกใหม่ ใช้ระบบไม่คล่อง

ลืมลงชื่อตนเอง หาทางแก้ไขก็ไม่เจอ



“สัมมาสมาธิ” คือ อย่างไร?


สัมมาสมาธิ ที่อยู่ในพระสูตรโดยตรง มีกล่าวถึงคุณสมบัติไว้สำคัญ2ประการ คือ

1. เป็นสมาธิที่มีกำลังแห่งสมาธิในระดับ(หรือ เทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔

จาก http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา
สมาธิ ฯ


2.สัมมาสมาธิในองค์มรรคนี้ เป็นสมาธิที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีก7อย่างแวดล้อม(เป็นบริขาร)

เช่น ที่ทรงแสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ



[color=violet]ฌานฤาษี (เช่น การเพ่งกสิณ)ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับรูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ได้ก็จริง..... แต่ขาด คุณสมบัติข้อ2 ตามมหาจัตตารีสกสูตร. จึงไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค และ ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเห็นธรรม..... เว้นเสียแต่ จะนำฌานนั้นมาเจริญวิปัสสนาดังที่มีพระสูตรแสดงกล่าวเอาไว้

สัมมาสมาธิ เป็นจุดรวมขององค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด ก่อนที่จะบังเกิดผลเป็น สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ
ถ้า ปฏิบัติถูกตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... ต่อให้ปฏิบัติแบบแนวทางไหน....สัมมาสมาธิ ก็จะต้องบังเกิดขึ้นแน่นอน.

เพราะ ถ้าหากปราศจาก สัมมาสมาธิ เสียแล้ว มรรคย่อมไม่ครบองค์ประกอบ และมรรคสมังคี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น......





ลองพิจารณาความเข้าใจ ในเรื่องนี้กันทีล่ะประเด็นน่ะครับ

โดยขอให้ พิจารณาตามแนวทางในพระสูตรโดยตรง.... ในจุดเหล่านี้ พระสูตรแสดงไว้ชัดเจนอยู่แล้ว จึงควรเลือกศึกษาจากพระสูตรโดยตรงเป็นอันดับแรกก่อน

แม้นแต่การศึกษาตาม บุคคลที่ชื่อว่าเป็น"อาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฎก" ก็อาจจะคลาดเคลื่อนจากพระสูตรดั้งเดิมได้ ถ้าหากอาจารย์ท่านนั้นได้ชื่อว่า”ทรงพระไตรปิฎก”แต่กลับไปใช้การอ้างอิงจากคัมภีร์รุ่นหลัง(เช่น ในแนวทางที่พม่าถือตาม)เข้า.....ด้วยว่า คัมภีร์รุ่นหลัง ในหลายจุด ไม่ไปในทิศทางเดียวกันกับพระสูตร


ประเด็น
การภาวนา ระวังจะเป็นสมถะเข้า


# ในระดับพระสูตร ท่านพระอานนท์ท่านได้สรุปประมวล แนวทางการเจริญ สมถะ-วิปัสสนา ไว้ดังนี้


ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒


จาก http://www.84000.org/true/220.html


ถ้าพิจารณา จาก ที่ ท่านพระอานนท์กล่าวนี้
จะแยก แนวทาง การเจริญกรรมฐาน(ภาวนา) เป็น 3แบบ คือ

1.เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

ข้อ1. .เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า.... คือ ใช้ปัญญานำหน้าสมาธิ. แนวทางนี้ ปัญญาเด่น

ข้อ2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า..... คือ ใช้ สมาธินำหน้าปัญญา. แนวทางนี้ สมาธิเด่น

ข้อ3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป..... คือ เจริญทั้งสมาธิ และ ปัญญา ในระดับพอๆกัน ไม่มีสิ่งใดเด่นกว่าสิ่งใด

สังเกต จาก ที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้.... ทั้ง 3แนวนี้
ไม่มีแนวทางไหน ที่ปราศจากสมถะ100%เลย
เพราะ ทั้ง3แนวทางนี้ ต่างล้วนแต่ ต้องมีส่วนของ สมถะด้วยกันทั้งสิ้น อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปบ้างเท่านั้น


ที่ท่านพระอานนท์กล่าวนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ทางคัมภีร์ชั้นหลัง(และทางพม่าถือตาม)จัดแบ่ง วิธีการเจริญภาวนา คือ แบ่งเป็น
1.สมถะยานิกะ ซึ่งหมายถึงต้องได้ฌานเสียก่อน แล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งในความหมายที่ผู้ศึกษาแนวทางนี้กล่าวถึง คือ การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยต้องไม่มีส่วนของสมถะเข้ามาเจือปนเลย


ลองเปรียบเทียบที่คัมภีร์ชั้นหลังแบ่ง กับ ในระดับพระสูตรที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้น่ะครับ

1.สมถะยานิกะ ก็คือ ตรงกับที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในแนวทางที่2(เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า )นั่นเอง.

และ พระอานนท์ท่านได้กล่าวถึง การใช้องค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งการเจริญวิปัสสนา โดยตรง .ในลักษณะ ได้เจริญสมถะล้วนๆเต็มรูปแบบมาก่อน และ นำองค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งการเจริญวิปัสสนา. แบบนี้ จะตรงกับที่ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า เป็นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

ลองอ่านน่ะครับ
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=13&start_byte=23985


รูปฌาน ๔

ขอเสนอ ให้ความสำคัญตรงที่กล่าวว่า

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌาน(....ทุยฌาน.... ตติยฌาน... จตุถฌาน)นี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
.

เป็น คำบรรยาย ถึงการใช้องค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง ในระดับพระสูตร ที่มีรายละเอียดชัดเจนมาก จุดหนึ่ง

และ ผลที่กล่าวไว้ในที่นี้ คือ หากไม่สิ้นอาสวะ(เป็นพระอรหันต์) ก็จะบรรลุอนาคามีผล

แต่วิธีในแนวทางนี้ คงไม่เหมาะกับฆราวาสทั่วไปที่ไม่ได้ปลีกตัวไปภาวนาในสถานที่อันเหมาะสม.วิธีการนี้ ก็คือ วิธีการที่พระสาวกที่ท่านได้เคยบำเพ็ญสมถะ100%(เช่น กสิณ)มาก่อน ใช้ต่อยอดเจริญวิปัสสนา






2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งถ้าเป็นในความหมายของการที่ต้องปราศจากส่วนของสมถะ(ซึ่งให้ผลเป็นสมาธิ)100%แล้ว ก็ไม่น่าจะตรงกัย วิธีที่1(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า )ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้. เพราะท่านพระอานนท์ก็กล่าวไว้ชัดเจนว่า เจริญวิปัสสนา"มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"..... คือ ก็ยังคงต้องมีส่วนของสมถะ(ซึ่งมีผลคือสมาธิ)มาประกอบอยู่ดี



อนึ่ง ในไตรสิกขา มี ศีล สมาธิ ปัญญา..... ถ้าสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเป็นตัวถ่วงให้เสียเวลาในการเจริญวิปัสสนาจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปสอนสมาธิไว้ในไตรสิกขา ทำไม

และ ในอริยมรรคที่มีองค์แปด มี"สัมมาสมาธิ"เป็นองค์แห่งมรรคในข้อสุดท้าย เป็นที่ประชุมรวมลงแห่งองค์แห่งอริยมรรคอีกทั้งเจ็ด. ถ้า สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเป็นตัวถ่วงให้เสียเวลาในการเจริญวิปัสสนาจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปสอนสัมมาสมาธิไว้ในองค์แห่งอริยมรรค ทำไม.....


การเจริญภาวนา จึงมิใช่ว่า จะต้องระมัดระวังว่าจะมีส่วนแห่งสมถะ(ซึ่งมีผลคือ สมาธิ)..... ประเด็นที่แท้จริง จะอยู่ตรงที่ว่า สมาธิที่บังเกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็น”สัมมาสมาธิ” คือ สมาธิที่นำไปสู่ปัญญา ตามหลักไตรสิกขา





ประเด็น การติดสุขจากสมาธิ เป็นเหตุให้ไม่เดินมรรคสู่ขั้นปัญญา

# ตรงจุดนี้ มีส่วนถูกในบางส่วน..... เพราะ สุขในสมาธิ อาจจะมีส่วนให้ติดตันอยู่แค่นั้นได้จริง..
แต่ พระพุทธองค์ ท่านไม่ได้ตรัสให้กลัวสุขจากสมาธิ.


สุขจากสมาธิ ไม่ใช่ของน่ากลัว ดังที่มีบางท่านเข้าใจผิดกันน่ะครับ
พระพุทธเจ้า ท่านตรัสเองว่า อย่ากลัวสุขจากสมาธิ

จาก http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl?book=13&lstart=3253&lend=3507


[๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุข
เกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพ
ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก

ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้. ….”



ที่พระองค์ทรงตรัสเตือน ต่อจากพระพุทธวจนะบาทนี้
คือ ไม่ให้ติดตันยินดีหรืออาลัยอยู่เพียงสุขจากสมาธิ เพราะมีวิมุตติสุขที่เหนือกว่านั้นขึ้นไปอีกต่างหาก

ไม่ใช่ตรัสห้ามไม่ให้ฝึกสมาธิ อย่างที่มีบางท่านเข้าใจผิดกันครับ

การฝึกสมาธิ ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์น่ะครับ
อย่าประเมินค่าของสมาธิต่ำกว่าความเป็นจริง

โดยเฉพาะในภาวะที่ เราคิดวน และสมองประสาท เริ่มล้าจากการคิดวน ....สมองและระบบประสาทจะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ...สติจะเบลอร์

จิตลหุตา จิตปัสสัทธิ ที่เป็นอานิสงส์ของสมาธิจิต เอื้อให้สติทำงานได้คล่องตัวขึ้น

มีการทดลองของมหาวิทยาลัยเพนซินวาเนีย โดยให้ชาวอเมริกันที่ไม่เคยศึกษาพุทธศาสนามาก่อน ทดลองฝึกอานาปนสติช่วงยาวๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอช่วงหนึ่ง โดยพบว่า อาสาสมัครมีความจำ การเรียนรู้ และความคิดแบบเป็นระบบ ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

อยากเสนอให้ เพื่อนสมาชิก ถ้าพอมีเวลาว่าง....ลองฝึกอานาปนสติกันดูเหมือนกัน

และ
ก่อนที่จะกลัว การติดสุขจากสมาธิ ควรทำให้สมาธิบังเกิดเสียก่อน....
อย่าเพิ่งกลัวสิ่งที่ยังไม่เกิด จนเป็นเหตุให้ละเลยการฝึกสมาธิ.... และไม่ได้รับประโยชน์จากที่ควรจะได้






ประเด็น การฝึกสมาธิอาจทำให้กลายเป็นฤาษี


# ความเห็นนี้ก็มีบางส่วนที่ถูกอยู่เหมือนกัน.... เพราะถ้าติดตันอยู่เพียง สุขจากสมาธิ ก็จะคล้ายๆกับพวกฤาษี ที่ติดตันอยู่ในรูปภพ หรือ อรูปภพ

อนึ่ง ที่ฌานของฤาษี ให้เพียงความสุข และ ความสามารถทางจิตบางประการ แต่ ไม่เอื้อต่อการเห็นธรรม นั้น.... เป็นเพราะ สมาธินั้นไม่ใช่”สัมมาสมาธิ” ด้วยว่า ไม่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการ เช่น ที่สัมมาสมาธิ มี....

ถ้าเราเข้าใจตรงจุดนี้ไว้ตั้งแต่ต้น เราก็สามารถจะระมัดระวังในจุดนี้ได้

และ ก็คงไม่เป็นเหตุผลอันสมควรที่ชาวพุทธในไทยปัจจุบันจะเลิกการฝึกสมาธิกัน






ประเด็น ไม่จำเป็นต้องได้ฌานในขั้นตอนตั้งแต่ต้นของการเดินมรรค ก็สามารถเตริญวิปัสสนาไปได้เลย

# ความเห็นนี้ ถูกต้องครับ.....

ในการเจริญ สมถะ-วิปัสสนา 3แนวทาง ที่ท่านพระอานนท์ท่านสรุปไว้นั้น มีเพียง แนวทางที่2(เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า)เท่านั้น ที่ต้องได้ฌาน และ ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา

ส่วนที่เหลือ อีก2วิธีนั้น ไม่จำเป็นต้องได้ฌานก่อน สามารถเจริญวิปัสสสนาได้โดยตรงเลย

อนึ่ง ถึงแม้น สัมมาสมาธิ จะมีกำลังแห่งสมาธิ อยู่ในระดับ(หรือเทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ก็จริง..... แต่ ผู้ที่ดำเนินมรรคตามแนวทางที่1นี้ ไม่จำเป็นต้องได้ฌานมาก่อน (ผู้ที่ได้ฌานก่อน แล้วค่อยมาเจริญวิปัสสสนาจะเป็น แนวทางที่2ครับ). ผู้ดำเนินมรรคตามแนวทางที่1นี้ สามารถเจริญวิปัสสสนาได้โดยตรงเลย โดยไม่ต้องไปกังวล เรื่องฌานแต่อย่างใด
ส่วน เมื่อบังเกิดมรรคสมังคีเมื่อใด .....สัมมาสมาธิ จะต้องบังเกิดมีขึ้นเช่นกัน(มีสมถะเป็นเบื้องหน้า)


# ใน แนวทางที่1 เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า

ก็มีพระสาวกจำนวนมากมายในครั้งพุทธกาล ที่มาในแนวนี้ เช่น ท่านที่ไม่เคยออกบวชบำเพ็ญฌาน หรือ เจริญสติปัฏฐานมาก่อนเลย แต่ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระศาสดา ส่งจิตตามพระธรรมเทศนา และบรรลุอรหัตผลไปเลย ณ ที่นั้น. แต่ ผมเองมองว่า ท่านเหล่านั้น เป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม ที่มีพื้นฐานของจิตที่สงบในระดับหนึ่งอยู่แล้ว.... เรียกว่า ไม่จำเป็นต้องมาฝึกสมาธิเลยเสียด้วยซ้ำ .... อาจจะเป็นเพราะ ท่านเหล่านั้นมีบารมีแต่หนหลังอยู่แล้ว หรือ เป็นเพราะ สิ่งแวดล้อมบ้านเมืองในสมัยนั้น ไม่ได้สับสนวุ่นวายเหมือนในสมัยนี้. แต่ในยุคสมัยนี้ สังคมเป็นเช่นนี้ ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีบุคคลที่มีจิตสงบอยู่แล้วโดยพื้นฐาน เช่น ท่านเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน.....

แต่ ผมก็เห็นด้วยทุกประการน่ะครับ ถ้าใครจะกล่าวว่า "สามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยตรงเลย โดยไม่ต้องได้ฌานเสียก่อน".เพราะ มีหลักฐานปรากฏจริงๆ ให้เห็นในครั้งพุทธกาล


อนึ่ง แนวทางนี้ ในตอนขั้นดำเนินมรรค ก็ยังคงต้องมีสมาธิระดับหนึ่ง(ที่ยังไม่ถึงขั้น สัมมาสมาธิ)อยู่ดี เช่นที่ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวไว้ใน หนังสือพุทธธรรม

"....วิธีการที่มุ่งเฉพาะด้านปัญญา คือการปฏิบัติอย่างที่กล่าวไว้บ้าง
แล้วในเรื่องสัมมาสติ เป็นวิธีปฏิบัติที่สติมีบทบาทสำ คัญ คือ ใช้สมาธิแต่
เพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำ เป็นสำ หรับการปฏิบัติ หรือใช้สมาธิเป็นเพียงตัวช่วย
แต่ใช้สติเป็นหลักสำคัญ สำหรับยึดจับหรือมัดสิ่งที่ต้องการกำ หนดไว้ ให้
ปัญญาตรวจพิจารณา นี้คือวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนา
แท้จริงนั้น ในการปฏิบัติวิธีที่ ๑ นี้ สมถะก็มีอยู่ คือการใช้สมาธิขั้น
ต้นๆ เท่าที่จำเป็น...."


ท่านผู้รู้ ท่านจัดสมาธิที่จำเป็นต้องใช้ในขั้นการดำเนินมรรคตรงนี้ว่า เป็น สมาธิระดับ ขณิกสมาธิ หรือ อุปจาระสมาธิ เท่านั้น .ดังนั้น “การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า”นี้ ในขั้นการเดินมรรค ก็ยังคงต้องมีส่วนของสมถะในระดับหนึ่งปะปนอยู่ดี



# ในแนวทางที่3 คือ การเจริญ สมถะ และ วิปัสสสนา ควบคู่กันไป

ก็คือ กรรมฐานส่วนใหญ่ใน มหาสติปัฏฐาน นั่นเอง

แต่ แนวทางในมหาสติปัฏฐาน เช่น กายคตาสติ นี้ ก็ยังคงถูกมองจากบางท่านว่า เป็นเพียงอุบายแห่งสมถะอย่างเดียวอีกตามเคย และ กล่าวเหมือนว่าไม่ควรเสียเวลามาฝึกเจริญกัน....

ในขณะที่ท่านพระอานนท์ผู้เป็นพระโสดาบันที่ทรงพหูสูตรกลับเลือกกรรมฐานนี้เป็นกรรมฐานในคืนที่ท่านมุ่งอรหัตตผลในเวลาที่จำกัด

ในพระวินัยปิฎก เล่ม 7 จุลวรรคภาค 2 ขันธกะ
ระบุถึงการบรรลุพระอรหันต์ของท่าน ดังนี้

[617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน
แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ


ท่านพระอานนท์ ตอนที่ตั้งใจเจริญกายคตาสตินั้น ท่านบรรลุเป็นพระโสดาบันมานานแล้ว(ท่านบรรลุโสดาบัน ตั้งแต่ ฟังธรรมจากท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อคราวอุปสมบทใหม่ๆ).

ในคืนก่อนวันปฐมสังคายนาที่ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล ท่านเจริญกรรมฐานส่วนใหญ่ด้วยกายคตาสติ.... คือ ท่าน เร่งภาวนาเพื่อให้บรรลุอรหัตตผลในคืนนั้น เพื่อที่จะได้ทันเข้าร่วมปฐมสังคายนา.

กรรมฐานที่พระโสดาบันที่ทรงพหูสูตรที่สุดเลือกในการมุ่งอรหัตตผล ย่อมน่าสนใจมากครับ... และ ไม่น่าจะเป็นเพียงแค่ อุบายแห่งสมถกรรมฐานอย่างเดียว โดยไม่มีส่วนของวิปัสนาอย่างที่บางท่านเข้าใจ.....

ท่านพระอานนท์ ที่เป็นผู้ฟังและทรงจำพระพุทธพจน์มามากที่สุด คงไม่เลือกกรรมฐานที่เป็นแต่เพียงสมถกรรมฐานอย่างเดียว มาใช้ภาวนาให้เสียเวลา ในคืนที่สำคัญขนาดนั้นแน่









โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท


เกี่ยวกับ สมถะ-วิปัสสนา

จาก

http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_11


ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก

ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม

หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา

เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย

เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง





อนุโมทนาสาธุครับ...

^_^


สวัสดีครับ ท่าน “ตรงประเด็น” เช่นนั้นอนุโมทนากับหัวข้อที่ท่านตั้งขึ้นมา และอยากจะร่วมแลกเปลี่ยนธรรมทัศน์ เพื่อความรู้ความเจริญในธรรมครับ

ประเด็นสมถะ กับวิปัสสนา รวมกันหรือแยกกัน นั้น ก็น่าจะพิจารณากันเสียก่อน ในกระเด็นว่า สมถะคืออะไร
วิปัสสนา คืออะไร

สมถะ คือ สภาวะธรรมที่จิตมีความตั้งมั่น
วิปัสสนา คือ สภาวะธรรมทีเป็นปัญญา มีความรู้ประกอบ

ถ้าพิจารณา ในพระอภิธรรม สังคณีปกรณ์ เล่มที่ 1 แห่งพระไตรปิฏกเล่มที่34 เรืองจิตตุปาทกัณฑ์
ได้กล่าวแสดง เรื่องจิตโดยสังเขปว่า
จิตอันเป็นกามาวจรกุศลจิต มี 8 ดวง
รูปปาวจรกุศลจิจ 1
อรูปกวจรกุศลจิต 1
มัคคจิต 4
อกุศลจิต 12
ซึ่งในจิตแต่ละดวงก็มีวิบากจิตตามดวงนั้นไป

สมถะ จิตที่ตั้งมั่น จดจ่อนั้น เกิดได้ทั้งใน จิตทุกประเภทดังกล่าว ยกเว้นเพียงแต่ อกุศลจิตอันประกอบไปด้วยความลังเลสงสัย(ในอกุศลจิตดวงที่ 11)
วิปัสสนา ไม่เกิดได้ในอกุศลจิตทุกดวง และเกิดได้ในกุศลจิตบางดวง และเกิดร่วมกับสมถะ

ดังนั้นในรูปวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต มัคคจิต กามาวจรกุศลจิตบางดวง
องค์ประกอบของจิตอันเป็นสมถะและวิปัสสนา นั้นครบ ขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ครับ

จะเห็นได้ว่า ถ้าหากกล่าวถึงประเด็นของการเจริญภาวนาเพื่อการพ้นทุกข์แล้ว สมถะวิปัสสนา ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกันเสมอ

ถ้ากล่าวถึง สมถะ ก็จะกล่าวร่วมกับวิปัสสนา
ถ้ากล่าวถึง ฌาน ก็จะกล่าวร่วมกับ ญาณ

ถ้าจะกล่าวถึงวิมุติ ก็จะกล่าวร่วมกับวิชชา

การจะกล่าวว่า สมถะ เกิดได้ในเฉพาะ สัมมาสมาธิ ก็ไม่ถูกต้อง
และสัมมาสมาธิจะกล่าวว่า เกิดได้เฉพาะมัคคจิต ก็ไม่ถูกต้อง

ฤาษีทั้งหลาย ผู้ที่เจริญ รูปฌาน ก็ดี อรูปฌานก็ดี ต่างก็ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิทั้งสิ้น
เพียงแต่ว่า ท่านขาดองค์ประกอบของจิต คือ สัมมาทิฏฐิ
ท่านไม่ยอมรับแนวทางในอริยมรรค ท่านจึงไม่รู้เรื่องอริยะสัจจ์ ท่านวางความเห็นของท่านไว้เป็นอื่นจากพระธรรมวินัยนี้
ความสำเร็จของท่านฤาษีทั้งหลายจึงเกิดวิบากจิตเพียง รูปพรหม หรือ อรูปพรหม เป็นอย่างสูง






ยินดีที่ได้สนทนา กับ ท่านเช่นนั้น ครับ


....................................................................

ประเด็น ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

"....ฤาษีทั้งหลาย ผู้ที่เจริญ รูปฌาน ก็ดี อรูปฌานก็ดี ต่างก็ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิทั้งสิ้น
เพียงแต่ว่า ท่านขาดองค์ประกอบของจิต คือ สัมมาทิฏฐิ....."

.............................



ตรงนี้ อยากเสนอให้อ่าน ใน มหาจัตตารีสกสูตร

".....พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ


[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน....."



พระสูตรนี้ ตรัสแสดง สัมมาสมาธิ.....รวมทั้งแสดงเหตุ และ องค์ประกอบแห่งสัมมาสมาธิ
โดยระบุว่า สัมมาสมาธิ มีอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม(ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ ๗)

ใน อริยมรรคเจ็ดอย่างที่ห้อมล้อมสัมมาสมาธินั้น มีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน

ในพระสูตรนี้ ได้ตรัสแสดงสัมมาทิฏฐิอย่างละเอียดในตอนต่อมา
โดยแสดงว่า สัมมาทิฏฐิ มี 2ระดับ คือ สาสวสัมมาสทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ

สาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นความเห็นชอบในเรื่อง ของ กรรม และ การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งมีพระพุทธพจน์ตรัสว่า "....เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ...."

ส่วน สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรคโดยตรงนั้น คือ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "....สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค...."



มาสู่ ประเด็นที่ว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลที่บำเพ็ญได้ฌาน จัดว่ามี สัมมาสมาธิไหม?

ถ้า พิจารณาจาก มหาจัตตารีสกสูตร
ผมเห็นว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลอาจจะมีสัมมาทิฏฐิเพียงระดับสาสวะสัมมาทิฏฐิ..... แต่ ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิในระดับอนาสวะสัมมาทิฏฐิครับ ....
เพราะ อนาสวะสัมมาทิฏฐินี้มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่มาประกาศให้ชาวโลกรู้ตาม .....ก่อนหน้าที่พระพุทธองค์จะมาตรัสรู้ ยังไม่มีใครในสามโลกกล่าวสอนในเรื่องอนาสวะสัมมาทิฏฐิมาก่อนเลย.....

ดังนั้น ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลจึงถือว่า มีสัมมาทิฏฐิที่ไม่บริบูรณ์ และ ไม่จัดว่ามีสัมมาสมาธิ ถึงแม้นจะได้ฌานต่างๆก็ตาม


จึงเสนอมาดังนี้ครับ

ขอบคุณครับ







ประเด็นที่ว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลที่บำเพ็ญได้ฌาน จัดว่ามี สัมมาสมาธิไหม?

ถ้า พิจารณาจาก มหาจัตตารีสกสูตร
ผมเห็นว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลอาจจะมีสัมมาทิฏฐิเพียงระดับสาสวะสัมมาทิฏฐิ..... แต่ ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิในระดับอนาสวะสัมมาทิฏฐิครับ ....
เพราะ อนาสวะสัมมาทิฏฐินี้มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่มาประกาศให้ชาวโลกรู้ตาม .....ก่อนหน้าที่พระพุทธองค์จะมาตรัสรู้ ยังไม่มีใครในสามโลกกล่าวสอนในเรื่องอนาสวะสัมมาทิฏฐิมาก่อนเลย.....

ดังนั้น ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลจึงถือว่า มีสัมมาทิฏฐิที่ไม่บริบูรณ์ และ ไม่จัดว่ามีสัมมาสมาธิ ถึงแม้นจะได้ฌานต่างๆก็ตาม

ตรงประเด็น DT06651 [30 มิ.ย. 2551 16:55 น.] คำตอบที่ 10


[color =blue]

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



ปริพาชกสูตร



ดูกรปริพาชกทั้งหลาย
บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็น
ประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด
บทแห่งธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บทแห่งธรรมคืออนภิชฌา ๑ บทแห่งธรรม
คือ อพยาบาท ๑ บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ ๑ บทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑
ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้แล บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ
เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย
ไม่เคยกระจัดกระจาย ..........




เจริญในธรรมครับ








ลืมก๊อปมาใส่ ในคำตอบที่ 11 ครับ

คือผมต้องการทราบว่า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นของเก่า เป็นของมีมานาน

หมายถึง มีก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ใช่หรือไม่ครับ ?


..........


เจริญในธรรมครับ




"ท่านจะนอนตายอยู่ในสมาธิอยู่นั้นเหรอ สุขในสมาธิเปรียบเหมือนเนื้อติดฟัน ติดในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขมากหรืออย่างไรเนิ้อติดฟัน สมาธิทั้งแท่งคือสมุทัยทั้งแท่ง (ถ้าว่าสมาธิคือสมุทัยสัมมาสมาธิจะให้เดินทางไหนครับ) มันไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่กับสมาธิอย่างนี้หรอก สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธิแบบนอนตายอยู่อย่างนี้นะเหรอจะเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า" (หลวงปู่มั่น)


ที่คุณ ภูวนาทยกมากล่าวถึง ปริพาชกสูตร น่าสนใจมากครับ

จากพระสูตร

ดูกรปริพาชกทั้งหลาย
บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็น
ประเพณีของพระอริยะ
เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด
บทแห่งธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บทแห่งธรรมคืออนภิชฌา ๑ บทแห่งธรรม
คือ อพยาบาท ๑ บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ ๑ บทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑



ตามความเข้าใจของผม
คำว่า "เป็นของเก่า" นั้น ตามหลังคำว่า"เป็นประเพณีของพระอริยะ"
ซึ่ง หมายถึงว่า พระอริยะยุคไหนๆ ท่านก็ทำกันพากันประพฤติอย่างนี้ คือเป็นธรรมเนียมที่พระอริยะท่านทำกันมาอย่างนี้ตลอด เช่น พระอริยะในยุคสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในช่วงที่แผ่นดินว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ท่านก็ล้วนแต่กระทำเช่นนี้. คือ สัมมาสมาธิ เป็นประเพณีที่บรรดาพระอริยะในยุคก่อนๆ ท่านก็ล้วนแต่ถือปฏิบัติกันมานานแล้ว

ไม่น่าจะใช่ว่า ฤาษีชีไพรสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ไม่ใช่พระอริยะ(ไม่นับรวมพระปัจเจกๆน่ะครับ)ต่าง ก็มีสัมมาสมาธิกันอยู่แล้ว....แต่อย่างใด


อนึ่ง จาก มหาจัตตารีสกสูตร เริ่มจาก สัมมาทิฏฐิ ไปจนถึง สัมมาสมาธิ
โดยอริยมรรคองค์ก่อนหน้า เป็นเหตุให้อริยมรรคองค์ต่อไป"พอเหมาะ"
และ บังเกิดผล คือ สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติขึ้น ดังนี้

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ




และ จากหนังสือ พุทธธรรม ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านให้ความเห็น คำว่า "สัมมาสมาธิ"ไว้ดังนี้ครับ

".....เป็นจุดบรรจบ หรือ เป็นสนามรวมของภาคปฏิบัติ..."

ก็คือ ก่อนที่จะเข้าสู่เขตโลกุตระนั้น สัมมาสมาธิเป็นจุดบรรจบของอริยมรรคเจ็ดข้อต้น(ซึ่งสืบทอดต่อกันมาตามลำดับ ดังในมหาจัตตารีสกสูตร)

ซึ่ง แม้นแต่ มหาฤาษี เช่น ท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบส ก็ไม่มีสัมมาสมาธิ
เพราะถ้าท่านมีสัมมาสมาธิ ท่านคงไม่ต้องไปอยู่ในอรูปโลก นานแสนนาน เช่นนั้น






พระพุทธเจ้าตรัสว่า

สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นของเก่า เป็นของมีมานาน

หมายถึง มีก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ใช่หรือไม่ครับ ?


ภูวนารถ - 202.149.24.129 [30 มิ.ย. 2551 19:21 น.] คำตอบที่ 12


*****************



เคยอ่าน ในอรรถกถา จากพระไตรปิฎก นะคะ เช่น ........


"ธรรมเป็นของเก่า" นั้น อธิบายว่า ธรรมเก่าก่อน คือ สภาวะที่เป็นไปตลอดกาลนาน.


จากอรรถกถา "ทีฆีติโกสลชาดก"




น หิ เวเรน เวรานิ
สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
อเวเรน จ สมฺมนฺต
เอส ธมฺโม สนนฺตโน

“ในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย
ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร,ธรรมนี้เป็นของเก่า”


*************************

บาทพระคาถาว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า
ธรรมนี้ คือที่นับว่า ความสงบเวร ด้วยความไม่มีเวร

เป็นของเก่า คือ เป็นมรรคาแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพทั้งหลาย
ทุกๆ พระองค์ดำเนินไปแล้ว.



จาก อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ

     



ประเด็น ที่ คุณguest ยกมา ใน คห.ที่13นั้น


.....................................................


"ท่านจะนอนตายอยู่ในสมาธิอยู่นั้นเหรอ สุขในสมาธิเปรียบเหมือนเนื้อติดฟัน ติดในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขมากหรืออย่างไรเนิ้อติดฟัน สมาธิทั้งแท่งคือสมุทัยทั้งแท่ง (ถ้าว่าสมาธิคือสมุทัยสัมมาสมาธิจะให้เดินทางไหนครับ) มันไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่กับสมาธิอย่างนี้หรอก สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธิแบบนอนตายอยู่อย่างนี้นะเหรอจะเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า" (หลวงปู่มั่น)


.....................................................................


ผมเห็นว่า หลวงปู่มั่น ท่านกำลังกล่าวถึง "โทษจากการติดสุขในสมาธิ แล้ว ไม่เดินมรรคด้านปัญญาต่อ"......

ซึ่ง การเจริญสมาธิในลักษณะที่ติดตันอยู่แค่สุขจากสมาธิ นี้ก็คือ มิจฉาสมาธิ นั่นเอง

ต่างกับ สัมมาสมาธิ ที่ใช้ประโยชน์จาก "จิตอันอ่อนควร แก่การงาน" มาเดินมรรคด้านปัญญาต่อไป


เป็นความเห็น ส่วนตัวน่ะครับ
ถูก-ผิด ประการใด โปรดไตร่ตรองด้วยความรอบครอบกันเองครับ









สาธุ กับ คำอธิบาย ของคุณ หิ่งห้อยน้อย

ใน คห ที่ 15ครับ






สาธุครับ

ขอบคุณครับ

:)


ประเด็น ที่ คุณguest ยกมา ใน คห.ที่13นั้น

.....................................................

"ท่านจะนอนตายอยู่ในสมาธิอยู่นั้นเหรอ สุขในสมาธิเปรียบเหมือนเนื้อติดฟัน ติดในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขมากหรืออย่างไรเนิ้อติดฟัน สมาธิทั้งแท่งคือสมุทัยทั้งแท่ง (ถ้าว่าสมาธิคือสมุทัยสัมมาสมาธิจะให้เดินทางไหนครับ) มันไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่กับสมาธิอย่างนี้หรอก สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธิแบบนอนตายอยู่อย่างนี้นะเหรอจะเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า" (หลวงปู่มั่น)

.....................................................................

ผมเห็นว่า หลวงปู่มั่น ท่านกำลังกล่าวถึง "โทษจากการติดสุขในสมาธิ แล้ว ไม่เดินมรรคด้านปัญญาต่อ"......

ซึ่ง การเจริญสมาธิในลักษณะที่ติดตันอยู่แค่สุขจากสมาธิ นี้ก็คือ มิจฉาสมาธิ นั่นเอง

ต่างกับ สัมมาสมาธิ ที่ใช้ประโยชน์จาก "จิตอันอ่อนควร แก่การงาน" มาเดินมรรคด้านปัญญาต่อไป


เป็นความเห็น ส่วนตัวน่ะครับ
ถูก-ผิด ประการใด โปรดไตร่ตรองด้วยความรอบครอบกันเองครับ


ตรงประเด็น DT06651 [30 มิ.ย. 2551 21:55 น.] คำตอบที่ 16

ผมนำเสนออีกแง่มุม เนื่องจากจริตนิสัยของผู้ปฏิบัติมีหลากหลายครับ
ขอบคุณ คุณตรงประเด็นครับ




มีประเด็น เพิ่มเติมมานำเสนอครับ

จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)

หลักของสมถะและวิปัสสนา

หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย



# ผมเห็นว่า สมาธิ ที่ให้ผลเพียงควาทสงบเยือกเย็น แต่ ไม่นำไปสู่การรู้ธรรมหรือเกิดปัญญานั้น
นี่ คือ มิจฉาสมาธิ ต่างหากครับ
เป็นคนล่ะอย่างกับ สัมมาสมาธิ ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แน่นอนครับ
จึงไม่สมควรที่จะไปยกเอามิจฉาสมาธิมาเป็นประเด็น แล้ว เหมาสรุปว่า สมาธิ เป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงทุกประการ



หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมาธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ

# นี่ ก็เช่นกันครับ....ท่านกำลังกล่าวถึง มิจฉาสมาธิ ครับ

ลอง เปรียบเทียบ กับ ความเห็นของคณาจารย์ท่านอื่นดูครับ
จาก หนังสือพุทธธรรม หน้า 365
ท่านเจ้าคุณกล่าวดังนี้ครับ

ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง
แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก
ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118
กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี
องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีก
มาก (อภิ.สํ. 34/196/83) วินย.ฎีกา.2/271 และวิสุทธิ. ฎีกา.1/254 ขยายความหมายของ
ข้อความอย่างที่พบใน ปฏิสํ. อ. 159, วิสุทฺธิ. 1/190
และ นิท. อ. 1/164 ให้ เห็นชัดว่า สมาธิและปัญญาเกิด ขึ้นได้ โดยเป็นธรรมควบคู่กันในฌานจิต

ส่วนที่ว่า ไม่มีวิตกและวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร นั้น

พึงเข้าใจว่า ที่ไม่มีวิตกและวิจาร ก็เพราะจิตตั้งมั่น มีกำลังแน่วแน่อย่างมากแล้ว จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (วิตก แปลว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์)
ไม่ต้องคอยประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์ (วิจาร แปลว่า เคล้าอารมณ์) ต่อไปอีก จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามี วิตกวิจาร







สวัสดีครับ คุณตรงประเด็น
สาธุกับการยกมหาจัตตารีสกสูตร อันเป็นการแสดงมัคคอันเป็นอริยะ ครับ
เช่นนั้น ก็จะสนทนาต่อล่ะครับ
เพื่อความเข้าใจ เรื่อง สัมมาสมาธิ อันเนื่องในโลกีย์ และสัมมาสมาธิอันเนื่องในโลกุตตรธรรมพอสังเขปครับ

เมื่อ คุณตรงประเด็น อ้างถึง
“มหาฤาษี เช่น ท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบส ก็ไม่มีสัมมาสมาธิ
เพราะถ้าท่านมีสัมมาสมาธิ ท่านคงไม่ต้องไปอยู่ในอรูปโลก นานแสนนาน เช่นนั้น”

เช่นนั้น ก็เข้าใจแล้วว่าทำไมคุณตรงประเด็น จึงเข้าใจว่า รูปฌาน และอรูปฌานอันเป็นโลกียะนั้น จัดเป็นมิจฉาสมาธิ
ท่านมหาฤาษี อาฬารดาบส และ ท่านอุทกดาบส ก็ยังคงมีสัมมาสมาธิ แต่ไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ

เมื่อเช่นนั้น กล่าวถึงสมาธิจิต หรือสมาธิอันเป็นองค์ประกอบของจิต จึงหมายเอาถึงจิตอันเป็นสมาธิ
สมาธิจิตซึ่งเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสภาวะแห่งจิตของปุถุชนที่ยังพัวพันอยู่ในกามประกอบไปด้วยอกุศล
สมาธิจิตซึ่งเป็นสัมมาสมาธิ คือสภาวะที่สงัดจากกามจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

ถ้าจะกล่าวเฉพาะ สมาธิจิตอันเป็นกุศล หรือสัมมาสมาธิ ก็ยังจำแนกออกได้เป็น

โลกียฌาน ซึ่งในชั้นหลัง ให้คำจำกัดความว่า เป็นอารัมมณูปนิชฌาน อันได้แก่รูปาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลวิบากจิต อรูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลวิบากจิต

โลกุตตรฌาน ในชั้นหลังก็ได้ให้คำจัดกัดความเช่นเดียวกันว่า ลักขณูปนิชฌาน
อันได้แก่ มัคค 4 ผล 4 คือ โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล สกทามิมัคค สกทาคามิผล
อนาคามิมัคค อนาคามิผล อรหัตมัค อรหัตผล
โดยการเจริญอนิมิตตสมาธิ สุญญตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ

ดังนั้นฌานจึงมีอรรถเดียวกันกับสัมมาสมาธิ ในขณะที่สมถะเป็นได้ทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ
ก็เพราะเหตุว่า ฌานคือสมาธิจิต จิตอันสงัดจากกาม จากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เมื่อกล่าวถึงโลกกุตรฌาน มัคคสมังคี มีองค์ 8 จึงจะนำไปสู่นิพพาน

เมื่อกล่าวถึงโลกีย์ฌาน มัคคสมังคี มีองค์ 5 บ้าง มีองค์ 4 บ้าง ไม่อาจนำไปสู่นิพพาน

ด้วยเหตุที่โลกีย์ฌาน เมื่อใดมัคคสมังคีไม่ประกอบด้วยความเห็นในการละอันเป็นโลกุตตรแล้ว โลกียฌานนั้น ก็จัดว่าไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ แต่เนื่องจากจิตนั้น สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม ตั้งอยู่ในองค์ฌาน จึงจัดเป็นสัมมาสมาธิ

ฌานฤาษีตามที่เข้าใจโดยทั่วไป นั้นถ้าประกอบด้วยกุศล แล้วก็เป็นโลกียฌานนั่นเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงแก่ผู้เป็นฤาษีเท่านนั้น รูปฌานอรูปฌาน เป็นโลกียฌานโดยทั่วไปมีสัมมาสมาธิเป็นองค์ประกอบครับ แต่มัคคสมังคีนั้น ประกอบด้วยองค์ 5 หรือ4 เท่านั้น

(อ้างถึง พระไตรปิฏก เล่มที่34 พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่1 ธรรมสัคณีปกรณ์ จิตตุปาทกัณฑ์)

เจริญธรรม



สัมมาสมาธิ ก็คือ ความมีสติ สัมปชัญญะครบถ้วน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิด ไม่เกิด วิตก ไม่เกิด วิจาร ไม่เกิดสุข ไม่เกิด ปีติ

ก็เท่านี้ แหละขอรับ สั้นดีไหม



ขอบคุณ คุณเช่นนั้น ที่สละเวลาให้ข้อคิดเห็นครับ



เรื่อง อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ อาจจะเข้าใจไม่ตรงกันครับ
ใน มหาจัตตารีสกสูตร ไม่ได้บรรยายว่า อย่างไรเรียก มิจฉาสมาธิ ไว้ครับ(ผมหาไม่พบ)

แต่ผมมีข้อมูล จากแหล่งอ้างอิงอื่น ดังนี้ครับ

จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=334

8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือ เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น — wrong concentration)


ท่านเจ้าคุณๆ ท่านประมวลไว้ว่า
มิจฉาสมาธินอกจากจะนับในส่วนที่เป็นอกุศล คือ "ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท"แล้ว
มิจฉาสมาธิยังนับในส่วนของ "เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น"

ปะเด็น อยู่ตรงที่ว่า การหลงเพลินติดตันอยู่ในฌานสมาบัตินั้น เข้าข่ายแห่งสมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นไหม....
ถ้าใช่ สมาธินั้นถึงจะเป็นฝ่ายกุศลก็เป็นมิจฉาสมาธิครับ
ถ้าไม่ใช่ สมาธินั้นก็ไม่ใช่มิจฉาสมาธิครับ

พระพุทธองค์ ทรงตรัสถึงพระอาจารย์ทั้งสอง เวลาที่ทราบว่าท่านอาจารย์ทั้งสองทำกาละแล้วว่า "ฉิบหายเสียแล้ว จากมรรคผล"..... แล้ว สมาธิที่ทำให้พลาดจากมรรคผล น่าจะเข้าข่าย สัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ ครับ

ลองพิจารณาดูน่ะครับ








ประเด็น การฝึกสมาธิอาจทำให้กลายเป็นฤาษี


# ความเห็นนี้ก็มีบางส่วนที่ถูกอยู่เหมือนกัน....



ตรงประเด็น DT06651 [29 มิ.ย. 2551 20:05 น.] คำตอบที่ 5





คำตอบนี้เป็นการเข้าใจผิด ของท่าน
ท่านมีความรู้ ความเข้าใจในคำว่าสมาธิและสภาวะธรรมที่ชื่อว่าสมาธิมาไม่ถูกต้องตามพระพุทธศาสนา


ในทางพระพุทธศาสนาสัมมาสมาธิคือกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

สัมมาสมาธิเป็นได้ทั้งจิตที่เป็นเหตุ ( กุศล ) และจิตที่เป็นผล ( กุศลวิบาก )

สัมมาสมาธิเป็นได้ทั้งจิตที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ



สมาธิไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับการเป็นฤๅษีหรือไม่เป็นฤๅษีครับ
แต่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของจิตครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





ประเด็น ไม่จำเป็นต้องได้ฌานในขั้นตอนตั้งแต่ต้นของการเดินมรรค ก็สามารถเจริญวิปัสสนาไปได้เลย

# ความเห็นนี้ ถูกต้องครับ.....


ตรงประเด็น DT06651 [29 มิ.ย. 2551 20:07 น.] คำตอบที่ 6





คำตอบนี้เป็นการเข้าใจผิดของท่าน ความเห็นนี้ไม่ถูกต้องครับ
เข้าใจสภาวะธรรมที่เรียกว่าสมาธิหรือฌานเสียใหม่ครับ
สัมมาสมาธิในศาสนานี้คือฌานครับ


สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบแห่งจิต สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งจิตไว้ชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.


การพิจารณาธรรมต้องมีการตั้งอยู่แห่งจิต ต้องมีจิตเกิดขึ้น ปัญญาต้องเกิดขึ้นในจิตเท่านั้นครับ จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายเรียกว่าฌานครับ การเจริญวิปัสสนาเพื่อละกิเลสให้จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





ตรงประเด็น DT06651 [29 มิ.ย. 2551 20:16 น.] คำตอบที่ 7



สมถะและวิปัสสนาที่ถูกต้องคืออย่างนี้ครับ


[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญา เหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.




สรุป
สมถะ คือสมาธิ
และวิปัสสนา คือปัญญาครับ




เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





มาสู่ ประเด็นที่ว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลที่บำเพ็ญได้ฌาน จัดว่ามี สัมมาสมาธิไหม?

ถ้า พิจารณาจาก มหาจัตตารีสกสูตร
ผมเห็นว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลอาจจะมีสัมมาทิฏฐิเพียงระดับสาสวะสัมมาทิฏฐิ..... แต่ ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิในระดับอนาสวะสัมมาทิฏฐิครับ ....
เพราะ อนาสวะสัมมาทิฏฐินี้มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่มาประกาศให้ชาวโลกรู้ตาม .....ก่อนหน้าที่พระพุทธองค์จะมาตรัสรู้ ยังไม่มีใครในสามโลกกล่าวสอนในเรื่องอนาสวะสัมมาทิฏฐิมาก่อนเลย.....

ดังนั้น ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลจึงถือว่า มีสัมมาทิฏฐิที่ไม่บริบูรณ์ และ ไม่จัดว่ามีสัมมาสมาธิ ถึงแม้นจะได้ฌานต่างๆก็ตาม


จึงเสนอมาดังนี้ครับ

ขอบคุณครับ





ตรงประเด็น DT06651 [30 มิ.ย. 2551 16:55 น.] คำตอบที่ 10




ธรรมะแม้โดยชื่อว่าเป็นธรรมของพระอริยเจ้าก็จริงอยู่ แต่ไม่ได้นำมาสอนหรือนำมาใช้แก่พระอริยะเจ้าหรอกครับ ยิ่งเป็นพระอรหันต์ด้วยแล้วไม่ต้องสอนกันอีกแล้วครับ

ธรรมะของพระอริยะเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำมาสอนปุถุชนนี่แหละให้บรรลุธรรมเป็นพระอริยะเจ้าครับ


สมาธินั้นมี 2 ประเภท คือสมาธิที่เป็นเหตุ ( กุศล ) และสมาธิที่เป็นผล (กุศลวิบาก หรืออัพพยากตาธรรม )

ฌานอันเป็นสัมมาสมาธิ จึงเป็นเหตุหรือมัคคที่เป็นบาทฐานเพื่อการตรัสรู้ ไม่ใช่ฌานที่เป็นผลตามที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจกันผิด ๆ สืบ ๆ กันมาอย่างยาวนาน


ดังนั้นสัมมาสมาธิจึงพึงมีเป็นเหตุเพื่อจิตของปุถุชน ให้เปลี่ยนคุณภาพเป็นจิตที่หลุดพ้นของพระอริยะเจ้าครับ

การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญฌานเพื่อน้อมจิตไปสู่นิพพานจิตของท่านทั้งหลายเหล่านี้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิแล้วทุกดวงครับ


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทาน
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานอันไม่มีภพอีกต่อไปโดยส่วนเดียว


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รักษาศีลเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมรักษาศีล
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานอันไม่มีภพอีกต่อไปโดยส่วนเดียว


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเจริญฌาน
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานอันไม่มีภพอีกต่อไปโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นมุ่งนิพพาน
มีจิตเอนไปในนิพพาน
น้อมจิตไปในนิพพาน
ย่อมให้ทาน ย่อมรักษาศีล ย่อมเจริญฌาน

บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
เหมือนแม่น้ำทั้งหลาย
ย่อมไหลไปสู้ทะเล ..ฉะนั้น





เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





"ท่านจะนอนตายอยู่ในสมาธิอยู่นั้นเหรอ สุขในสมาธิเปรียบเหมือนเนื้อติดฟัน ติดในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขมากหรืออย่างไรเนิ้อติดฟัน สมาธิทั้งแท่งคือสมุทัยทั้งแท่ง (ถ้าว่าสมาธิคือสมุทัยสัมมาสมาธิจะให้เดินทางไหนครับ) มันไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่กับสมาธิอย่างนี้หรอก สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธิแบบนอนตายอยู่อย่างนี้นะเหรอจะเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า" (หลวงปู่มั่น)

guest - 125.26.147.101 [30 มิ.ย. 2551 20:22 น.] คำตอบที่ 13



สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ หรือฌาน 1-2-3-4 ในมรรคมีองค์ 8 เป็นสมาธิที่เป็นเหตุเป็นองค์ประกอบของจิตเพื่อการตรัสรู้หรือเพื่อการบรรลุธรรมครับ แม้แต่ผลจิตของพระอริยะเจ้าก็จะต้องมีฌานหรือสัมมาสมาธิมาเป็นบาทฐานรองรับครับ


ทำความเข้าใจในเรื่องฌานและสมาธิในพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องตรงกันเสียใหม่ครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





และ จากหนังสือ พุทธธรรม ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านให้ความเห็น คำว่า "สัมมาสมาธิ"ไว้ดังนี้ครับ

".....เป็นจุดบรรจบ หรือ เป็นสนามรวมของภาคปฏิบัติ..."

ก็คือ ก่อนที่จะเข้าสู่เขตโลกุตระนั้น สัมมาสมาธิเป็นจุดบรรจบของอริยมรรคเจ็ดข้อต้น(ซึ่งสืบทอดต่อกันมาตามลำดับ ดังในมหาจัตตารีสกสูตร)

ซึ่ง แม้นแต่ มหาฤาษี เช่น ท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบส ก็ไม่มีสัมมาสมาธิ
เพราะถ้าท่านมีสัมมาสมาธิ ท่านคงไม่ต้องไปอยู่ในอรูปโลก นานแสนนาน เช่นนั้น





ตรงประเด็น DT06651 [30 มิ.ย. 2551 21:35 น.] คำตอบที่ 14




คำตอบนี้ของท่าน แสดงให้เห็นชัดว่าท่านเข้าใจเรื่องสัมมาสมาธิไม่ถูกต้อง

รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 ไม่ใช่ฌานของฤๅษีครับ ไม่ใช่การผูกขาดของฤๅษีครับ
แต่เป็นฌานของผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนที่พึงมีพึงบรรลุตามสมควรแก่ฐานะและอินทรีย์


กุศลจิตที่มีรูปสัญญา ( นิมิต ) เป็นอารมณ์ จิตนั้นสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตอย่างนี้เป็นสัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า รูปฌานครับ

กุศลจิตที่มี อรูปสัญญา ( เช่นสัญญาจำว่า จำได้แต่ทำเป็นจำไม่ได้ ) เป็นอารมณ์ จิตนั้นสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วบรรลุจตุตถฌาน จิตอย่างนี้เป็นสัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า อรูปฌานครับ


กุศลจิตที่มีอนิจจสัญญา ( อนิมิตตะ ) หรือทุกขังสัญญา ( อัปปณิหิตตะ ) หรืออนัตตาสัญญา ( สุญญตะ ) เป็นลักษณะ จิตนั้นสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตอย่างนี้เป็นสัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า โลกุตตระฌานครับ



ไม่ว่าฤๅษี หรือภิกษุ หรือภิกษุณี หรืออุบาสก หรืออุบาสิกา หรือคนนอกพระพุทธศาสนา ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ หนุ่มสาว หรือเฒ่าชรา มีโอกาสบรรลุสัมมาสมาธิที่เป็น รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และโลกุตตระฌาน 4 กันได้โดยเสมอภาคทุกคนครับ


การมีสัมมาสมาธิกับการไปสู่ ภพภูมิต่าง ๆ มันคนละเรื่องกันครับ
บรรลุฌานสมาบัติ 8 ถ้าเวลาก่อนจะตายทรงฌาน 2 หรือทุติยฌานละเอียดเอาไว้ ตายแล้วไปสู่รูปพรหมชั้นอาภัสสระพรหมครับ

บรรลุฌานสมาบัติ 8 ถ้าเวลาก่อนจะตายทำฌานให้เสื่อมแล้วยินดีในมนุษย์สมบัติ จิตเป็นกามาวจรกุศลวิบาก ตายแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ครับ


บรรลุฌานสมาบัติ 8 ถ้าเวลาก่อนจะตายทำฌานให้เสื่อมแล้วยินดีในสวรรค์สมบัติ จิตเป็นกามาวจรกุศลวิบาก ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ 6 ชั้นครับ


ท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบส มีสัมมาสมาธิครับ
ท่านอาฬารดาบส มีสัมมาสมาธิ เวลาก่อนจะตายทรงฌานอากิญจัญญายตนะฌานอันเป็นวิบากเอาไว้ จิตที่มาทำหน้าที่จุติและปฏิสนธิ จึงเป็นอากิญจัญญายตนะฌานอันเป็นวิบาก ส่งผลให้ท่านไปเกิดในอรูปพรหมชั้น อากิญจัญญายตนะฌาน


และ อุทกดาบส มีสัมมาสมาธิ เวลาก่อนจะตายทรงฌานเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานอันเป็นวิบากเอาไว้ จิตที่มาทำหน้าที่จุติและปฏิสนธิ จึงเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานอันเป็นวิบาก ส่งผลให้ท่านไปเกิดในอรูปพรหมชั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะฌานครับ


การบรรลุธรรมในมัคค 4 ผล 4 และการไปสู่ภพภูมิใด ๆ ขึ้นอยู่กับปัญญา และความพอใจของแต่ละคนครับ ไม่เกี่ยวข้องกับสัมมาสมาธิ


ปัญญาเฉียบคมมากย่อมทำลายกิเลสสังโยชน์ได้มากหมดสิ้นอาสาวกิเลส
ปัญญาน้อยย่อมทำลายกิเลสสังโยชน์ได้น้อย
ผู้มีธุลีในจักษุมากเกินกำลังปัญญาจะกำจัดกิเลสสังโยชน์ได้ จิตผู้ปฏิบัติธรรมย่อมเป็นกุศล เป็นกามาวจรกุศล หรือบรรลุรูปฌาน หรือบรรลุอรูปฌาน หรืออภิญญา 5 รอวันตรัสรู้บรรลุธรรมในภพต่อ ๆ ไปเมื่อพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ในกาลข้างหน้า หรืออาจบรรลุธรรมด้วยปัจเจกโพธิญาณ หรือสัมมาสัมโพธิญาณของตนเองครับ



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ



"ท่านจะนอนตายอยู่ในสมาธิ อยู่นั้นเหรอ สุขในสมาธิเปรียบเหมือนเนื้อติดฟัน ติดในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขมากหรืออย่างไรเนิ้อติดฟัน สมาธิทั้งแท่งคือสมุทัยทั้งแท่ง (ถ้าว่าสมาธิคือสมุทัยสัมมาสมาธิจะให้เดินทางไหนครับ) มันไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่กับสมาธิอย่างนี้หรอก สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธิแบบนอนตายอยู่อย่างนี้นะเหรอจะเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า" (หลวงปู่มั่น)

guest - 125.26.147.101 [30 มิ.ย. 2551 20:22 น.] คำตอบที่ 13



สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ หรือฌาน 1-2-3-4 ในมรรคมีองค์ 8 เป็นสมาธิที่เป็นเหตุเป็นองค์ประกอบของจิตเพื่อการตรัสรู้หรือเพื่อการบรรลุ ธรรมครับ แม้แต่ผลจิตของพระอริยะเจ้าก็จะต้องมีฌานหรือสัมมาสมาธิมาเป็นบาทฐานรองรับ ครับ


ทำความเข้าใจในเรื่องฌานและสมาธิในพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องตรงกันเสียใหม่ครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ

Apipanyo DT05479 [2 ก.ค. 2551 12:51 น.] คำตอบที่ 28

กราบนมัสการท่าน อ.อภิปัญโญ

ผมเข้าใจเรื่องสมาธิคลาดเคลื่อนตรงไหน ขอท่านโปรดกรุณาชี้แนะครับ

กราบนมัสการ





มีประเด็น เพิ่มเติมมานำเสนอครับ

จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)

หลักของสมถะและวิปัสสนา

หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย


# ผมเห็นว่า สมาธิ ที่ให้ผลเพียงควาทสงบเยือกเย็น แต่ ไม่นำไปสู่การรู้ธรรมหรือเกิดปัญญานั้น
นี่ คือ มิจฉาสมาธิ ต่างหากครับ
เป็นคนล่ะอย่างกับ สัมมาสมาธิ ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แน่นอนครับ
จึงไม่สมควรที่จะไปยกเอามิจฉาสมาธิมาเป็นประเด็น แล้ว เหมาสรุปว่า สมาธิ เป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงทุกประการ


ความรู้นี้เป็นความรู้ผิดครับ
จิตที่นิ่งไม่มีจริงในโลกครับ จิตไม่เที่ยงต้องเกิดและดับไปในอัดตราที่เท่ากัน ถ้าจิตนิ่งได้จริงก็จะกลายเป็นของเที่ยงจิตเที่ยงไม่แปรเปลี่ยน

สัมมาสมาธิที่ถูกต้องคือจิตเป็นกุศล สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายครับ


พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง) แต่งหนังสือพุทธวิทยาน่ารู้ โดยความไม่รู้ โดยความไม่เจ้าใจเรื่องสมาธิที่ถุกต้องครับ


ขอให้ทุกท่านยึดพระไตรปิกเป็นปทัฏฐานครับ อย่ายึดถือความเห็นหรือนิยามศัพท์จากหนังสือที่คนรุ่นหลังแต่งขึ้นมาเลยครับ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ครับ
.



หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมาธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ

# นี่ ก็เช่นกันครับ....ท่านกำลังกล่าวถึง มิจฉาสมาธิ ครับ


ความเห็นนี้เป็นความเข้าใจผิดของท่านครับ
กำลังสมาธิมาก ( สมาธิพละ ) กำลังปัญญากมาตามครับไม่ได้ลดน้อยถอยลงแต่ประการใดครับ เพราะสมาธิและปัญญาอิงอาศัยเกิดขึ้นพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันครับ


ความเห็นนี้ของท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิครับ พึงละเสียนะครับ เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาครับ.




ลอง เปรียบเทียบ กับ ความเห็นของคณาจารย์ท่านอื่นดูครับ
จาก หนังสือพุทธธรรม หน้า 365
ท่านเจ้าคุณกล่าวดังนี้ครับ

ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง
แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก
ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118
กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี
องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีก
มาก (อภิ.สํ. 34/196/83) วินย.ฎีกา.2/271 และวิสุทธิ. ฎีกา.1/254 ขยายความหมายของ
ข้อความอย่างที่พบใน ปฏิสํ. อ. 159, วิสุทฺธิ. 1/190
และ นิท. อ. 1/164 ให้ เห็นชัดว่า สมาธิและปัญญาเกิด ขึ้นได้ โดยเป็นธรรมควบคู่กันในฌานจิต

ส่วนที่ว่า ไม่มีวิตกและวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร นั้น

พึงเข้าใจว่า ที่ไม่มีวิตกและวิจาร ก็เพราะจิตตั้งมั่น มีกำลังแน่วแน่อย่างมากแล้ว จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (วิตก แปลว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์)
ไม่ต้องคอยประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์ (วิจาร แปลว่า เคล้าอารมณ์) ต่อไปอีก จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามี วิตกวิจาร


ตรงประเด็น DT06651 [1 ก.ค. 2551 17:12 น.] คำตอบที่ 20




สัมมาสมาธิทำหน้าที่คือตั้งมั่นครับไม่ได้ทำหน้าที่รู้แจ้งแทงตลอด

การรู้แจ้งแทงตลอดเป็นหน้าที่ขององค์ธรรมที่เป็นปัญญาต่าง ๆ ครับ

1.ปัญญินทรีย์ ทำหน้าที่รู้แจ้งละเอียดลึกซึ้งในธรรมทั้งปวง
2.ปัญญาพละ ทำหน้าที่รู้แจ้งละเอียดลึกซึ้งในธรรมเพื่อกำลังแห่งอภิญญาต่าง ๆ
3.สัมมาทิฏฐิ ทำหน้าที่รู้แจ้งละเอียดลึกซึ้งในธรรมที่เป็นกุศลและอริยะสัจ 4
4.วิปัสสนา ทำหน้าที่รู้แจ้งละเอียดลึกซึ้งในธรรมที่เป็นโลกุตตระ
5. ฯลฯ


ใช้ชื่อว่าตรงประเด็น หวังว่าท่านพึงอย่าหลงประเด็นเสียเองนะครับ


ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ.





กราบนมัสการท่าน อ.อภิปัญโญ

ผมเข้าใจเรื่องสมาธิคลาดเคลื่อนตรงไหน ขอท่านโปรดกรุณาชี้แนะครับ

กราบนมัสการ

guest - 125.26.147.235 [2 ก.ค. 2551 14:03 น.] คำตอบที่ 30





ลองอ่านข้อสรุปดังนี้นะครับว่าท่านเข้าใจเรื่องสมาธิถูกต้องหรือไม่

ถ้าเข้าใจตรงกันตามนี้ ก็ขออนุโมทนาส่วนกุศลแห่งปัญญาของท่านด้วยนะครับ



" " ความรู้เรื่องสมาธิ และปัญญา " "


สมาธิเป็นชื่อของจิตประเภทหนึ่ง มีหลายลักษณะ มีหลายคุณภาพแตกต่างกัน


สมาธินั้นมี 2 อย่าง

1.มิจฉาสมาธิ คือสภาวะของจิตปุถุชน ที่ยังพัวพันอยู่ในกามหรือยังประกอบอยู่ด้วยอกุศลธรรม
2.สัมมาสมาธิ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เรียกจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่า จิตพรหมจรรย์


1.มิจฉาสมาธิ ไม่ได้หมายถึงสมาธิที่ไม่ดีเสมอไป เป็นสมาธิที่ดีก็มีเช่นสมาธิในการเขียนหนังสือตัวบรรจง
สมาธิในการขับรถ สมาธิในการทำงานของปุถุชน สมาธิในการร้องเพลง สมาธิในการอ่านหนังสือ...ฯลฯ..

สมาธิเหล่านี้เป็นสมาธิที่ดีของปุถุชน มีประโยชน์ต่อปุถุชน แต่จิตนั้นยังประกอบด้วยกามยังประกอบด้วยอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ จึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์



2.สัมมาสมาธิ หรือจิตพรหมจรรย์ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ได้แก่ฌานสมาบัติ 8 และมัคค 4 ผล 4

สัมมามสมาธินั้นมี 2 อย่าง

2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ เรียกว่ากุศล
สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง
2.1.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ที่เป็นโลกียะ
ได้แก่รูปาวจรกุศลจิต ในจตุถฌาน หรือปัญจมฌาน
และอรูปาวจรกุศลจิต ในอรูปฌาน 4
แม้รูปฌาน และอรูปฌานจะได้ชื่อว่าโลกียะก็จริงอยู่ แต่คุณสมบัติของจิตเหล่านั้นเป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเป็นจิตพรหมจรรย์

2.1.2.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ที่เป็นโลกุตตระ
ได้แก่ โสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค
อริยมัคคทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌานเดียวกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสต่างกัน

โสดาปัตติมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 )และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส

สกทาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 ) และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส และความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบา

อนาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 ) และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้น

อรหัตตมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 ) และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้น

สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ 8 ในฌาน 1 - 4 คือสัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ และเป็นโลกุตตระฌาน โลกุตตระกุศล


การบรรลุธรรมโดยไม่เอาฌาน ไม่เอาเหตุ ไม่ทำจิตให้สงัดจากกาม จิตไม่สงัดจากอกุศลธรรม ไม่ปฏิบัติไปตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ให้ครบถ้วน แล้วกล่าวว่าตนบรรลุธรรมย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะองค์ธรรมคือปัญญาต้องเกิดร่วมเกิดพร้อมกับสัมมาสมาธิคือฌานเท่านั้น

ปัญญาวิมุติก็ต้องมีฌานเป็นบาทฐาน เช่นเดียวกันกับเจโตวิมุติ



2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผล เรียกว่ากุศลวิบาก
สัมมาสมาธิที่เป็นผล ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง

2.2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นผล ที่เป็นโลกียะ
ได้แก่ผลจากการบรรลุจตุตตถฌาน หรือปัญจมฌาน ในรูปฌาน เรียกว่า รูปาวจรกุศลวิบาก
และผลจากการบรรลุอรูปฌาน 4 เรียกว่า อรูปาวจรกุศลวิบาก


2.2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผล ที่เป็นโลกุตตระ

ได้แก่ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล และอรหัตตผล
อริยผลทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌาน ต่างกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เหมือนกัน

โสดาปัตติผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสได้เหมือนกัน

สกทาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสและความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้เหมือนกัน

อนาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน

อรหัตตผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน



คนที่บรรลุธรรมก็คือคนที่จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ
จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าจิตนั้นเป็นสัมมาสมาธิและเป็นฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปเป็นบาทฐาน

การเจริญวิปัสสนาให้ได้ปัญญาญาณต่าง ๆ จึงต้องใช้สัมมาสมาธิคือฌานเป็นเหตุหรือเป็นบาท
เพราะปัญญาญาณย่อมเกิดในจิตที่เป็นกุศลเท่านั้นและเป็นจิตพรหมจรรย์ด้วย
ถ้าไม่เป็นฌานไม่เป็นสัมมาสมาธิญาณปัญญาทางธรรมย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้.



มีหลาย ๆ คนที่ปฏิบัติธรรมผิดแนวทางสืบ ๆ กันมา โดยไม่ได้เรียนปริยัติควบคู่กันไปด้วย เพราะ

1.เชื่อผิดเข้าใจผิดคิดว่าสมาธิไม่ใช่ฌาน ฌานไม่ใช่สมาธิ
แต่ความจริงสมาธิคือชื่อเรียก รวม ๆ ของฌาน ฌานเป็นความละเอียดอ่อนที่แตกต่างกันของสมาธิแต่ละชั้นแต่ละระดับนั่นเอง
เหมือนกับคำว่า ป.1 ป.2 เป็นชื่อของความต่างของเด็ก นักเรียนเป็นชื่อรวมของเด็กที่ได้รับการศึกษาชั้นต่าง ๆ

2.เชื่อผิดเข้าใจผิดคิดว่าสมาธิ ไม่ใช่คุณภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไป ตามหลักไตรลักษณ์
แต่เข้าผิดคิดว่าสมาธิ คือสภาวะธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องมีการเข้าการออก

ความจริงคือ สมาธิคือคุณภาพจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นจิตที่เป็นกุศลหรือกุศลวิบาก

การออกจากสมาธิ ก็คือการเปลี่ยนคุณภาพจิตที่เป็นกุศลให้กลับมาสู่จิตที่เลวคือพัวพันในกามหรือพัวพันในอกุศลธรรม ซึ่งสอนขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า....
จงละบาปอกุศลทั้งปวง
จงยังกุศลให้ถึงพร้อม
จงทำจิตใจให้ผ่องแผ้วจากกิเลส

เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ได้ฌานแล้ว เป็นกุศลแล้วต้องรักษาเอาอย่าให้เสื่อมเพราะกุศลจิตนั้นเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่จะต้องรักษาเอาไว้

ส่วนการออกจากสมาธิของพระอริยเจ้านั้นหมายถึง การออกจากสมาธิชั้นละเอียดมาทรงอยู่ในสมาธิระดับหยาบคือฌาน 1 - 2 เท่านั้น

3.ต้องการบรรลุธรรมโดยไม่ปฏิบัตติไปในแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8
เช่น ไม่เอาฌานในสัมมาสมาธิ ไม่ทำจิตให้ตั้งในกุศล ไม่ทำจิตให้สงัดจากกาม และอกุศลธรรม
แต่คิดค้นวิธีปฏิบัติธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาตามความเชื่อความเห็นของตน ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมบรรลุธรรมจริง ๆ ไม่ได้


ปฏิบัติไปด้วยศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วยควบคู่กันไปครับ
แล้วท่านจะได้รู้จักเหตุที่ถูกต้อง และผลที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร

ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





ขอกราบขอบพระคุณ พระคุณเจ้า อภิปัญโญ อย่างสูงครับ



ผมเข้าใจ เจตนาที่พระคุณเจ้าเมตตาสื่อแสดงน่ะครับ
แต่ อาจจะมีบางจุดอาจจะเข้าใจไม่ตรงกันครับ

ผมขอ อนุญาตเรียนถามท่านเป็นวิทยาทานดังนี้ครับ




ประเด็น ที่1

เท่าที่อ่านดู เหมือนพระคุณเจ้าจะกล่าวสัมมาสมาธิว่า มีการจัดแบ่งเป็นสัมมาสมาธิที่เป็นสาววะ(โลกียะ) และ สัมมาสมาธิที่เป็นอนาสวะ(โลกุตระ) เช่นเดียวกับ มรรค5ข้อแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงจัดแบ่ง เป็น สาสวะ และ อนาสวะ ในมหาจัตตารีสกสูตร ...ใช่หรือไม่ครับ
โดยเหมือน พระคุณเจ้าเห็นว่า รูปฌาน แล อรูปฌาน ที่ถึงแม้นจะไม่นำไปสู่ขั้นการเจริญปัญญา ก็ยังจัดว่าเป็นสัมมาสมาธิระดับโลกียะ(สาสวะ) ไม่น่าจะถูกจัดเป็นมิจฉาสมาธิ ใช่ไหมครับ?

ไม่ทราบว่า ผมพอจะอ่าน เรื่อง สาสวะสัมมาสมาธิ หรือ โลกียะสัมมาสมาธิ ได้จากพระสูตรไหนโดยตรง
(ผมเคยพยายามหาอ่านมานานแล้ว แต่ ผมหาไม่พบครับ)

เพราะ ถ้าได้อ่านระดับพระสูตร ตรงจุดนี้โดยตรง
ประเด็น ฌานที่ไม่นำไปสู่ปัญญาจะได้จัดเป็น "สาสวะสัมมาสมาธิ"... แทนที่จะจัดเป็น "มิจฉาสมาธิ" ดังที่มีผู้รู้ท่านได้กล่าวไว้

ความเข้าใจ ในประเด็นนี้ ก็จะตรงกันทุกฝ่ายทันที



ประเด็น2

ในเรื่องที่ว่า "ไม่จำเป็นต้องได้ฌานในขั้นตอนตั้งแต่ต้นของการเดินมรรค ก็สามารถเจริญวิปัสสนาไปได้เลย "

คือ ผมถือตามพระสูตรที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้น่ะครับ

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒

จาก http://www.84000.org/true/220.html

คือในระดับพระสูตร มี การเจริญวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นเบื้องหน้า อยู่จริง
ซึ่ง ตรงนี้ ก็มีเหตุการณ์ในครั้งพุทธกาลหลายครั้ง ที่ ผู้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์สามารถบรรลุอริยผลต่อหน้าพระพักตร์เลย ทั้งๆที่ ไม่เคยบำเพ็ญสมถะกรรมฐานได้ฌานมาก่อนเลย เช่น นายขมังธนูที่พระเจ้าอชาตศัตรูส่งไปหมายปลงพระชนม์พระพุทธองค์(บรรลุโสดาปฏิผล) หรือ ท่านสันตตืมหาอำมาตย์(บรรลุอรหัตผล)

และ ท่านผู้รู้หลายท่าน ในปัจจุบัน ก็กล่าวไว้เช่นนั้น

จาก พุทธธรรม หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."


ประเด็นที่3


3.1 สัมมาสมาธิ ถ้าพิจารณาจากพระสูตรโดยตรง มีกำลังแห่งสมาธิอยู่ในระดับฌาน แน่ๆ....จึงเป็นอันแน่นอนว่า ฌานไม่ได้จำกัดเฉพาะสำหรับฤาษีนอกพระพุทธศาสนาเท่านั้น .จุดนี้ น่าจะเข้าใจตรงกัน

3.2 ฌานของฤาษีที่ไม่นำไปสู่การเจริญปัญญานั้น จะถูกจัดเป็น สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ ก็เป็นประเด็นที่ผมกำลังหาหลักฐานระดับพระพุทธพจน์และกราบเรียนถามท่านอยู่ครับ


นมัสการมาด้วยความเคารพ













ตรงประเด็น DT06651 [2 ก.ค. 2551 14:35 น.] คำตอบที่ 33


ลองอ่านเรื่องจิตประเภทต่าง ๆ ในพระอภิธรรมปิฎกเล่ม 34 ดูนะครับ


http://www.tipitaka.com/tipitaka34.htm



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ



กราบนมัสการท่าน อ.อภิปัญโญ

ความเข้าใจเรื่องสมาธิกับเรื่องฌาณของท่านกับกระผมมีบางส่วนไม่ตรงกันดังนี้ครับ

1. โสดาปัตติมรรคชั้นต้นไม่จำเป็นต้องบรรลุปฐมฌาณขึ้นไปครับ เป็นแต่เพียงฌาณอ่อน ๆ ก็ได้ครับ เมื่อเจริญสมถะวิปัสสนาไปเรื่อย ๆ ฌาณจะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ ครับ (ตรงนี้เป็นสันทิฏฐิโกครับตรวจสอบพระไตรปิฎกได้ครับ) และเมื่อถึงโสดาปัตติผลต้องบรรลุฌาณแน่นอนครับ เพราะละสักกายทิฏฐิขณะใดขณะนั้นเป็นฌาณครับ

2."ความจริงคือ สมาธิคือคุณภาพจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นจิตที่เป็นกุศลหรือกุศลวิบาก

การออกจากสมาธิ ก็คือการเปลี่ยนคุณภาพจิตที่เป็นกุศลให้กลับมาสู่จิตที่เลวคือพัวพันในกาม หรือพัวพันในอกุศลธรรม ซึ่งสอนขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า....
จงละบาปอกุศลทั้งปวง
จงยังกุศลให้ถึงพร้อม
จงทำจิตใจให้ผ่องแผ้วจากกิเลส

เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ได้ฌานแล้ว เป็นกุศลแล้วต้องรักษาเอาอย่าให้เสื่อมเพราะกุศลจิตนั้นเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่จะต้องรักษาเอาไว้ "

Apipanyo DT05479 [2 ก.ค. 2551 14:35 น.] คำตอบที่ 32

สมาธิและฌาณแบบที่ท่านว่า ผมคิดว่าผู้คนคงได้สมาธิได้ฌาณกันเกือบหมดโลกเพราะแค่คิดให้เป็นกุศลจิตก็ได้สมาธิได้ฌาณแล้ว

สมาธิท่านว่าคือความสงบระงับจากทั้งกุศลและอกุศล แต่ท่านจัดความสงบในสมาธิเป็นกุศลครับ ความหยาบความละเอียดของธรรมมีเป็นขั้น ๆ ครับ ต้องปฏิบัติครับจะรู้เห็นเหมือนกันครับ


การเข้าออกจากสมาธิแค่การเปลี่ยนกลับไปกลับมาจากกุศลจิตไปอกุศจิต แล้ว ขณิก อุปจาระ อัปปนา สมาธิ ในสมาธิวิธีของท่านจะปรากฏที่ตรงไหนล่ะครับ

สมาธิวิธีของท่านแค่คิดดีขณะใดก็เป็นสมาธิแล้วซิครับ ง่ายดีครับ

ฌาณท่านว่าคือความเพ่ง ถ้าอย่างนั้นแค่คิดดีไม่เห็นต้องเพ่งอะไรเลยครับ

ผมขอถามอีกข้อนะครับท่านรู้มั้ยว่าจิตรวมจากการทำสมาธิเป็นยังไงครับ อาการเป็นยังไงครับ

ขอกราบนมัสการครับ


ขอขยายความที่ว่าเพิ่มเติมนะครับบางท่านอาจอ่านแล้วสับสนได้

สมาธิและฌาณแบบที่ท่าน อ.อภิปัญโญว่า ผมคิดว่าผู้คนคงได้สมาธิได้ฌาณกันเกือบหมดโลกเพราะแค่คิดให้เป็นกุศลจิตก็ได้สมาธิได้ฌาณแล้ว

สมาธิท่านผู้รู้ว่าคือความสงบระงับจากทั้งกุศลและอกุศล แต่ท่านผู้รู้จัดความสงบในสมาธิเป็นกุศลครับ ความหยาบความละเอียดของธรรมมีเป็นขั้น ๆ ครับ ต้องปฏิบัติครับจะรู้เห็นเหมือนกันครับ


การเข้าออกจากสมาธิแค่การเปลี่ยนกลับไปกลับมาจากกุศลจิตไปอกุศจิต แล้ว ขณิก อุปจาระ อัปปนา สมาธิ ในสมาธิวิธีของท่าน อ.อภิปัญโญจะปรากฏที่ตรงไหนล่ะครับ

สมาธิวิธีของท่าน อ.อภิปัญโญ แค่คิดดีขณะใดก็เป็นสมาธิแล้วซิครับ ง่ายดีครับ

ฌาณท่านผู้รู้ว่าคือความเพ่ง ถ้าอย่างนั้นแค่คิดดีไม่เห็นต้องเพ่งอะไรเลยครับ

ผมขอถามอีกข้อนะครับท่าน อ.อภิปัญโญ รู้มั้ยว่าจิตรวมจากการทำสมาธิเป็นยังไงครับ อาการเป็นยังไงครับ


กราบขอบพระคุณ ท่านอธิปัญโญครับ




คือ ที่ผมถาม เรื่อง สัมมาสมาธิที่เป็นสาวะ(โลกียะ) และ สัมมาสมาธิที่เป็นอนาสวะ(โลกุตระ) ว่า มีระบุในระดับ " พระสูตร " ไหม นั้น
ด้วยว่า ถ้ามีระบุชัดโดยตรงในระดับพระสูตร ว่า มีสัมมาสมาธิที่เป็นสาวะจริงโดยไม่จัดว่าเป็น มิจฉาสมาธิ....ประเด็นนี้จะตกไปทันที

[ลองสังเกตุเปรียบเทียบ กับ สัมมาทิฏฐิ(รวมทั้งมรรค5ข้อแรก) ที่พระพุทธองค์บรรยายแยกและ สาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสทิฏฐิ อย่างชัดเจนในมหาจัตตารีสกสูตร]


อนึ่ง สมาธิระดับฌานที่ไม่เอื้อต่อการเดินมรรคด้านปัญญานั้น พระสุปฏิปันโนจำนวนมากในไทยที่ท่านชำนาญการภาวนา ท่านไม่สรรเสริญ ท่านเรียกว่า "สมาธิหัวตอ" คือ เข้าไปสงบนิ่งอยู่เฉยๆ. ซึ่งก็คล้ายกับที่ท่านเจ้าคุณๆกล่าวว่า สมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ครับ. จึง ตรงกันทั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านปริยัติ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติ




ต้องกราบขอบพระคุณท่านอภิปัญโญ อีกครั้งหนึ่ง ที่เสียสละเวลาให้วิทยาทานกับผู้ร่วมสนทนา และ ร่วมศึกษาในกระทู้นี้ครับ







คือ เรื่องฌาน ในสังคมชาวพุทธขณะนี้
มีความเห็น แตกต่างกันสุดขั้ว เป็นสองกลุ่ม คือ

1.ANTIฌานทุกกรณี

กับ

2.RESPECTฌานทุกกรณี



#กลุ่ม ANTIฌานทุกกรณี.... กลุ่มนี้ จะเข้าใจความหมายของคำว่า ฌาน ในพระสูตรต่างๆ เป็น"อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ" กับฌานฤาษี. เมื่อเขามีความรู้สึกที่เป็นลบต่อฌานฤาษี เขาก็เลยพากัน ปฏิเสธฌานในส่วนที่เป็นสัมมาสมาธิของพระอริยะไปด้วย.
จึงมักจะได้ยินคำกล่าวเหล่านี้กันหนาหูขึ้น
“ระวังน่ะ จะเป็นสมถะเข้า.....
.ระวังน่ะ เดี๋ยวจิตสงบ จะติดสุขจากสมาธิเข้า.....และ จะเสียเวลาในการเจริญวิปัสสนา....
.ระวังน่ะ จะกลายเป็นฤาษี.... ”
กลุ่มนี้ เลยพากันต่อต้านสมถะไปเลย


#กลุ่ม RESPECTฌานทุกกรณี....กลุ่มนี้ จะยกย่องฌานฤาษีว่าเป็น "อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ"กับ สัมมาสมาธิของพระอริยะ .และ ก็จะเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก


สองกลุ่มนี้ ทะเลาะกันแน่นอนครับ




ผมเห็นเช่นใด ในประเด็นนี้?

ผมไม่ใช่ทั้งสองกลุ่ม คือ ผมไม่ANTIฌานทุกกรณี และ ไม่RESPECTฌานทุกกรณี

แต่...ส่วนตัวผม RESPECTสัมมาสมาธิของพระอริยะ ทุกกรณี ครับ

จึงตั้งกระทู้นี้ขึ้น เพื่อชวนเพื่อสมาชิก สนทนา และ ศึกษาร่วมกัน






สวัสดีครับ คุณตรงประเด็น

แป๊ปเดียว 38 คห.แระครับ เช่นนั้น ก็ตามอ่านดู จึงเข้าใจว่า คุณตรงประเด็นมีความเข้าใจว่า ถ้า สัมมาสมาธิ นั้น ต้องเป็น อนาสวะ ถ้า และ มิจฉาสมาธิ คือสมาธิที่เป็นสาสวะ
ตรงนี้เป็นการเข้าใจที่ผิดพลาดอ่ะครับ

อนาสวะ = หาอาสวะไม่ได้
สาสวะ = ยังมี อาสวะ (โลกียะนั่นเอง)

การเจริญสมาธิ หากยังไม่สิ้นอาสวะ ก็ยังเป็น สาสวะนะครับ และสมาธิที่เจริญนั้น ก็ยังเป็นสัมมาสมาธิอยู่ครับ

คุณตรงประเด็น ครับ การเจริญพรหมวิหาร 4 เป็นการเจริญสมาธิอันเป็นกุศล สัมมาสมาธิก็เป็นกุศล
แต่ถ้ายังไม่อาจสิ้นอาสวะได้ สัมมาสมาธินั้น ก็ไม่ใด้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นโลกุตตร ปัญญานั้นก็เป็นโลกีย์
สัมมาสมาธินั้นจึงเป็นโลกีย์

เช่นนั้น ขออนุญาต ยกพระสูตรประกอบนะครับ อาจจะยาวไปหน่อย ก็ขอเชิญให้คุณตรงประเด็นพิจารณาดูอ่ะครับ




เช่นนั้น ขออนุญาต ยกพระสูตรประกอบนะครับ อาจจะยาวไปหน่อย ก็ขอเชิญให้คุณตรงประเด็นพิจารณาดูอ่ะครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เมตตสูตร
พรหมวิหาร ๔
[๕๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะ
อย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
กรุณาเจโตวิมุตติ ... มุทิตาเจโตวิมุตติ ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอ
ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเป็นปัญหา ที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ที่จะยัง
จิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต
หรือจากสาวกของตถาคต.



[๕๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยเมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว
วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่งเธอย่อมเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุติว่า มีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัย ปัญญาของเธอจึงยังเป็น
โลกีย์.



๕๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยกรุณา อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวงเพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สุดย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุติ ว่ามีอากาสานัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.


[๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยมุทิตาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ก็ย่อมวางเฉยมีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ
เสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนะอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุติว่า มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.


[๖๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้า
หวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่งไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนะอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุติว่า มีอากิญจัญญายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงเป็นโลกีย์.


รูปฌาน ในพรหมวิหาร มีสุภวิโมกข์
อรูปฌาน ในพรหมวิหาร มี อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญญจัญญายตนะ

รูปฌานถ้าประกอบด้วยปัญญา ก็จะละอาสวะได้ เป็นอนาสวะ(โลกุตตร)
รูปฌานถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ยังมีอาสวะอยู่ เป็นสาสวะ(โลกียะ)

อรูปฌานก็เช่นเดียวกัน




การที่คุณตรงประเด็น กล่าวว่า
"#กลุ่ม RESPECTฌานทุกกรณี....กลุ่มนี้ จะยกย่องฌานฤาษีว่าเป็น "อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ"กับ สัมมาสมาธิของพระอริยะ .และ ก็จะเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก ."

จึงไม่เป็นความเห็นที่ถูกต้อง
ฌานฤาษี นั้นไม่มี มีแต่โลกียฌาน และ โลกุตตรฌาน
และ สัมมาสมาธิอันเป็นของพระอริยะนั้น ก็ต้องแยกล่ะครับว่า เมื่อไหร่ยังประกอบด้วยอาสวะอยู่ ท่านก็ยังคงเป็นเสขะบุคคล ยังเป็นโลกีย์ ครับ
เมื่อใดพ้นจากอาสวะแล้วสัมมาสมาธิอันเป็นอนาสวะ ก็เป็นโลกุตตร เป็นอเสขะบุคคลครับ

เจริญธรรม




สมาธิหัวตอ" คือ เข้าไปสงบนิ่งอยู่เฉยๆ. ซึ่งก็คล้ายกับที่ท่านเจ้าคุณๆกล่าวว่า สมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ครับ.

สาธุครับ สมาธิหัวตอเป็น มิจฉาสมาธิครับ เป็นอกุศลจิตดวงที่ อันมีอุเบกขาโง่ เกิดร่วมเกิดพร้อมกับอุทธัจจะ ครับ

แต่ต้องทำความเข้าใจให้ดีครับ ว่าไม่ใช่ สมาธิอันเกิดจากกุศล ตราบใดที่ จิตตั้งอยู่ในกุศล จิตเป็นสัมมาสมาธิ แต่จะประกอบด้วยญาณ หรือไม่ ก็อีกประการหนึ่ง
ถ้าประกอบด้วยญาณ ก็จะเป็นวิปัสสนาด้วย ถ้าไม่ประกอบด้วยญาณ ก็เป็นสมถะ (อย่าลืมนะครับ สมถะเกิดได้ทั้งมิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ จุดแยกคือ ตั้งอยู่ในกุศลหรืออกุศล ครับ)

แต่อีกประการหนึ่งที่พึงรู้คือ สัมมาสมาธินั้นความสงบแห่งจิต คือการที่จิตตั้งมั่นไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้ง จิตนั้น ไม่ได้สงบอยู่เฉยๆครับ

เจริญธรรม


คุณ guest
"สมาธิวิธีของท่าน อ.อภิปัญโญ แค่คิดดีขณะใดก็เป็นสมาธิแล้วซิครับ ง่ายดีครับ

ฌาณท่านผู้รู้ว่าคือความเพ่ง ถ้าอย่างนั้นแค่คิดดีไม่เห็นต้องเพ่งอะไรเลยครับ

ผมขอถามอีกข้อนะครับท่าน อ.อภิปัญโญ รู้มั้ยว่าจิตรวมจากการทำสมาธิเป็นยังไงครับ อาการเป็นยังไงครับ"

ฌาน หรือ สัมมาสมาธิ เกิดได้ทุกขณะตราบใดที่จิตนั้นสงบจากกาม สงบจากอกุศลธรรม ง่ายจริงๆ ด้วยครับ
ส่วนฌาน ท่านผู้รู้ว่าคือความเพ่ง ก็ให้ท่านผู้รู้ท่านนั้นเพ่งต่อไปเถอะครับ ถ้าผู้รู้เหล่านั้น อยากจะเพ่งด้วยอุเบกขาโง่ ก็ช่างเค้าเถอะครับ

ฌาน หรือ สมาธิในอริยะวินัยนี้นะครับ คือ เอกัคคตาจิต ครับ เมื่อไรจิตเป็นเอกัคคตา จิตนั้นก็ตั้งมั่นในระดับองค์ฌานนั้นๆ

ส่วนขนิกะ อุปจาระ อัปปนา เป็นคำบัญญัติขึ้น และตีความกันไปตามแต่ละสำนัก คุณguest ไม่ต้องใส่ใจให้ปัญญาเสื่อมถอยเลย

พิจารณา เพียงว่า ละสังโยชน์ ด้วยปัญญา ละนิวรณ์ด้วยสมถะ สมถะวิปัสสนา อันเป็นอริยะก็เป็นดั่งนี้ครับ

เจริญธรรม


ถ้าสติเป็นสัมมา

สมาธิ ก็จะเป็นสัมมา

จบ..............


ผมต้องไปต่างจังหวัด กลับมาจะตอบอีกรอบครับ
ขอบคุณ ตุณเช่นนั้นครับ




คุณ เช่นนั้นครับ คห ที่39

สัมมาสมาธิก็เป็นกุศล
แต่ถ้ายังไม่อาจสิ้นอาสวะได้ สัมมาสมาธินั้น ก็ไม่ใด้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นโลกุตตร ปัญญานั้นก็เป็นโลกีย์
สัมมาสมาธินั้นจึงเป็นโลกีย์


ประเด็น
สัมมาสมาธิที่เป็นสาวะ(โลกียะ) เป็น อย่างเดียวกับ สมาธิระดับฌานที่ไม่พาสู่ขั้นการเดินปัญญา หรือ สมาธิหัวตอไหม....
และ มีพระพุทธวจนะโดยตรงตรัสถึง สาสวะสัมมาสมาธิ ไว้ไหม?

และที่สำคัญที่สุด คือ
สาสวะสัมมาสมาธิ(ถ้ามีจริง) จัดเป็นองค์อริยมรรคไหม

ก็คงต้องรอข้อมูล จากทุกท่านอยู่




ลองดู ในมหาจัตตารีสกสูตรโดยตรง ถึง มรรคในส่วนที่เป็นอนาสวะ

สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์อริยมรรคโดยตรงนั้น คือ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ"ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค"

ส่วน สาสวะสัมมาทิฏฐินั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสว่าเป็นองค์อริยมรรค ท่านตรั้สว่า สัมมาทิฏฐินั้น"เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ "

(แต่ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ ก็ต้องมี สาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นบุพภาค)


ส่วน สัมมาสมาธิ ในมหาจัตตารีสกสูตรนี้ ก็ทรงตรัสระบุจำเพาะ ถึง "สัมมาสมาธิของพระอริยะ"ซึ่งเป็นองค์มรรค

ดังนั้น ต่อให้มี สาสวะสัมมาสมาธิจริง ก็ไม่ใช่องค์อริยมรรคโดยตรงเช่นกัน.... แต่ เป็นสัมมาสมาธิที่"เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์"เท่านั้น เช่นที่ ท่านดาบสที่เป็นอดีตอาจารย์ของพระพุทธองค์ได้รับบุญนั้นไปเกิดในอรูปภพนานแสนนาน



ปล...
อยากให้สังเกตุ คำว่า "อนาสวะ"ในมหาจัตตารีสกสูตร
ตามรากศัพท์คำแปล อนาสวะนี้หมายถึง ปราศจากอาสวะ ซึ่งหมายถึงเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น
แต่ในพระสูตรนี้ คำนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะสำหรับ พระอรหันต์เท่านั้น แต่รวมถึงพระเสขะบุคคลขั้นโสดา-สิทาคา-อนาคา ที่จะมุ่งสู่อรหัตตผลด้วย...
เช่น ที่ตรัสถึง อนาสวะสัมมาทิฏฐิ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะพระอรหันต์ เท่านั้น.... เพราะ เรา-ท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระโสดาบันเองท่านก็มี"ทิฏฐิสมบูรณ์"แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิของพระโสดาบันนั้นสมบูรณ์แล้ว คือ สมบูรณ์ทั้งระดับสาวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ... "ทิฏฐิสมบูรณ์(ทั้งสองระดับ)" ซึ่งครอบคลุมอนาสวะสัมมาทิฏฐิด้วย จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะพระอรหันต์แต่อย่างใด และ สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วตั้งแต่ระดับพระโสดาบัน






คุณตรงประเด็น ต้องกลับไปศึกษา ดูนะครับ ว่า อาสวะ สาสวะ อนาสวะ ต่างกันอย่างไรนะครับ และต้องพิจารณาพระสูตรที่ยกมาประกอบให้ดีก่อน ตอบนะครับ

เพราะในมหาจัตรารีสกสูตร ไม่ได้แสดงธรรมอันขัดแย้งกับพระสูตรที่ยกมาให้ดู
และ ในพระสูตรที่ยกมาให้อ่าน ก็แสดงธรรมอันเป็นนัยยะเดียวกันกับ ที่แสดงไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร เช่นกัน

ค่อยๆ ศึกษาให้ดี นะครับ
เจริญธรรม



อีกฝ่ายยกตำราอาจารย์ของสำนักตน (อาจาริยวาท)

อีกฝ่ายยกพระไตรปิฎกพุทธพจน์

ตกลงนี่พุทธศาสนา อันมีพระศาสนาเดียวกันหรือเปล่าคะ?

"ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน"

จำได้ว่าประโยชน์ก็พุทธพจน์นะคะ


แต่ทั้งหมด มันก็เป็นเพียงแค่ชื่อเรียก มิใช่หรือครับ

ตรงชื่อเรียก มันยุ่งยาก และก็ขัดแย้งกัน

แต่ธรรมกับธรรม มันก็อันเดียวกัน ย่อมไม่ขัดกันครับ




ประเด็น การนำคำแปลสำเร็จรูป มาแทนคำในพระสูตรต่างๆ แบบถอดสมการ นี้ควรพิจารณารอบครอบครับ

กรณีนี้คือ "สัมมาสมาธิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค"...
อยู่ที่ว่า คำว่า" พระอริยะ"ในประโยคนี้ หมายเอาเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น หรือ หมายเอา พระอริยะอื่นๆ(โสดา-สกิทาคา-อนาคา)นับเนื่องเข้ามาด้วย
ถ้า คำว่า" พระอริยะ"ในประโยคนี้ หมายเอาเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น สัมมาสมาธิของพระอริยะในที่นี้จะนับเฉพาะอรหัตตมรรคเท่านั้นหรือ?.... สัมมาสมาธิของ พระเสขะบุคคลอื่น ต้องจัดเป็น สาสวะสัมมาสมาธิ หมดเลยหรือ?
แต่ถ้า คำว่า " พระอริยะ"ในประโยคนี้ หมายเอา พระอริยะอื่นๆ(โสดา-สกิทาคา-อนาคา)ด้วย สัมมาสมาธิของพระเสขะบุคคลทั้งหลายก็จะนับเข้าข่ายนี้ด้วย

ก็ คงต้องพิจารณาหลายๆๆด้าน



การนำคำแปลสำเร็จรูป มาแทนคำในพระสูตรต่างๆ โดยไม่อ่านในเนื้อหาแห่งพระสูตรนั้นๆ ให้ละเอียด อาจจะเข้าใจผิดได้

เช่น ใน สอุปาทิเสสสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=สอุปาทิเสส&book=9&bookZ=33

คำว่า สอุปาทิเสส แปลว่า ยังมีอุปาธิ หรือ อุปาทาน อยู่

ซึ่ง ถ้าแปลแบบไม่ดูในเนื้อหาพระสูตร อาจจะแปล สอุปาทิเสสบุคคล ว่าเป็น บุคคลผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ทุกประเภท...ซึ่งต้องนับรวม ทั้ง ปุถุขน และ พระเสขะบุคคล ที่ยังไม่สิ้นอุปาทาน

แต่ ในสอุปาทิเสสสูตร นั้น... สอุปาทิเสสบุคคล นับเฉพาะ พระอริยบุคคล9ประเภท(เว้นพระอรหันต์) ไม่นับรวมปุถุชน(ที่ยังมีอุปาทานอยู่เช่นกัน)

ลองพิจารณาดูน่ะครับ






ลอง พิจารณา ที่ท่าน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ สรุปประเด็น ของ มหาจัตตารีสกสูตร


มหาจัตตาฬีสกสูตร

(แปลตามศัพท์ได้ว่า สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด 40 หมวดใหญ่)

จากพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน
อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ

พระผู้มีพระภาพประทับ ณ เชตวนาราม.
ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย มีใจความสำคัญ 3 ตอน คือ :-

1) ทรงแสดงสัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
ที่มีที่อาศัย มีคุณธรรมอื่นๆ(องค์มรรคที่เหลือ)อีก 7 ข้อเป็นเครื่องประกอบ (บริขาร)
คือ สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ

2) ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ว่าเป็นหัวหน้า
และว่า (ให้) รู้จักทั้งผ่ายเห็นชอบและฝ่ายเห็นผิด
ทรงอธิบายความเห็นผิดว่า ได้แก่เห็นว่า ผลทานที่ให้ไม่มี ผลกรรมดีกรรมชั่วไม่มี เป็นต้น
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิว่ามี 2 อย่าง คือ ที่มีอาสวะ กับที่ไม่มีอาสวะ
(ชั้นต่ำสำหรับปุถุชน ชั้นสูงสำหรับพระอริยะ)
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิในฐานะเป็นหัวหน้า ในการแจกรายละเอียดให้มรรคข้ออื่นๆ

3) ทางแสดงว่า ธรรมปริยายที่เรียกว่า มหาจัตตาฬีสกะ - หมวด 40 หมวดใหญ่ . นี้
คือเป็นฝ่ายกุศล 20 ฝ่ายอกุศล 20

(ตั้งหลักมรรค 8 เติมสัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นโดยชอบ รวมเป็น 10
กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์
เพราะธรรมผ่ายถูกทั้ง 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายกุศล 20

ตั้งหลักมิจฉัตตะ ความผิด มีความเห็นผิด เป็นต้นมีความหลุดพ้นผิดเป็นทีสุด เป็น 10
อกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์ เพราะธรรมฝ่ายผิด 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายอกุศล 20)






คุณตรงประเด็น
การกลับไปศึกษา ในธรรม ให้ดี ระหว่าง อาสวะ สาสวะ อนาสวะ
เช่นนั้น ให้ท่านไปศึกษา และพิจารณาให้ดี
เช่นนั้น ไม่ได้ให้ท่านไปแปลตามตัวอักษร

ศึกษาธรรม พิจารณาธรรม ในพระสูตรที่ยกมาระหว่างมหาจัตารีสกสูตร และ เมตตสูตร

เจริญธรรม


คุณ guest
"สมาธิวิธีของท่าน อ.อภิปัญโญ แค่คิดดีขณะใดก็เป็นสมาธิแล้วซิครับ ง่ายดีครับ

ฌาณท่านผู้รู้ว่าคือความเพ่ง ถ้าอย่างนั้นแค่คิดดีไม่เห็นต้องเพ่งอะไรเลยครับ

ผมขอถามอีกข้อนะครับท่าน อ.อภิปัญโญ รู้มั้ยว่าจิตรวมจากการทำสมาธิเป็นยังไงครับ อาการเป็นยังไงครับ"

ฌาน หรือ สัมมาสมาธิ เกิดได้ทุกขณะตราบใดที่จิตนั้นสงบจากกาม สงบจากอกุศลธรรม ง่ายจริงๆ ด้วยครับ
ส่วนฌาน ท่านผู้รู้ว่าคือความเพ่ง ก็ให้ท่านผู้รู้ท่านนั้นเพ่งต่อไปเถอะครับ ถ้าผู้รู้เหล่านั้น อยากจะเพ่งด้วยอุเบกขาโง่ ก็ช่างเค้าเถอะครับ

ฌาน หรือ สมาธิในอริยะวินัยนี้นะครับ คือ เอกัคคตาจิต ครับ เมื่อไรจิตเป็นเอกัคคตา จิตนั้นก็ตั้งมั่นในระดับองค์ฌานนั้นๆ

ส่วนขนิกะ อุปจาระ อัปปนา เป็นคำบัญญัติขึ้น และตีความกันไปตามแต่ละสำนัก คุณguest ไม่ต้องใส่ใจให้ปัญญาเสื่อมถอยเลย

พิจารณา เพียงว่า ละสังโยชน์ ด้วยปัญญา ละนิวรณ์ด้วยสมถะ สมถะวิปัสสนา อันเป็นอริยะก็เป็นดั่งนี้ครับ

เจริญธรรม

เช่นนั้น DT03623 [3 ก.ค. 2551 01:15 น.] คำตอบที่ 48

โอ้โห...คุณเช่นนั้นคุณเล่นลบสมาธิ ลบฌาณเลยเหรอครับ ถ้าอย่างนั้นก็ลบ บาป บุญ นรก สวรรค์ พรหมโลก นิพพาน ไปเลยซิครับ เอาให้หมดเลย

ถ้าต้องเชื่ออย่างที่คุณเช่นนั้นว่า ผมยอมโง่ ยอมปัญญาเสื่อมถอยดีกว่าครับ


ในเมื่อพูดถึง มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗
(อธิบาย มรรคมีองค์ 8) ก็ขอยกมาให้อ่านกัน จะจะเลยนะขอรับ

ผู้มีบุญเท่านั้นครับ ที่อ่านแล้วเข้าใจรู้เรื่อง แล้วปฏิบัติตาม..สาธุครับ


[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมา- *สมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา- *สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี นี้มิจฉาทิฐิ ฯ

[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน

คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ

[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร
คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่า มิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น สัมมาทิฐิ ฯ

[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน
คือ ความดำริ ในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ

[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน
คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่ พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะ ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมา- *สติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ

[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉา- *วาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน
คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ

[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความ พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ

[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะ รู้จักสัมมากัมมันตะว่า สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมากัมมันตะของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน
คือ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะ ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติ- *ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ

[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่า มิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น สัมมาทิฐิ ฯ

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน
คือ การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ

[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละ มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความ พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของ เธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง พอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ

[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือ ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็น ปัจจัย ฯ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้... ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้... ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้... ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้... ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้... ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้... ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้... ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้... ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ สลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมา- *วิมุตติเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย อกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ


[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึง ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้อง บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา- *อาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียน สัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มี วิมุตติผิด ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะ ติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่ จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะ กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ



ดูนะครับ ทั้ง "สาสวะ " และ "อนาสวะ" ในพระสูตรนี้ก็ล้วนเป็น "สัมมา" ล้วนอยู่ในมรรคมี
องค์8ที่ต้องเจริญ



สัมมาสมาธิที่เป็นสาวะ(โลกียะ) เป็น อย่างเดียวกับ สมาธิระดับฌานที่ไม่พาสู่ขั้นการเดินปัญญา หรือ สมาธิหัวตอไหม....
และ มีพระพุทธวจนะโดยตรงตรัสถึง สาสวะสัมมาสมาธิ ไว้ไหม?

ตรงประเด็น DT06651 [3 ก.ค. 2551


สมาธิหัวตอ ใช้กับคนที่ได้สมาธิแบบนั่งนิ่งไม่ได้ฌาน
คือสักแต่ฉันจะนั่ง คือทนนั่งเสียมากกว่าครับ ย่อมไม่เกิดประโยชน์
และไม่ได้เป็นบาทฐานให้เกิดปัญญา เพราะสมาธิแบบนี้ จิตยังคงนิวรณ์อยู่
และเป็นจิตที่ยังไม่ได้สงบจากกาม สงบจากอกุศล (สงบ ไม่ได้หมายถึง หายไปนะครับ..ยังครับ ยัง)
..อีกประการคือ พระพุทธองค์ทรงให้เจริญฌาน แม้ว่าสัมมาสมาธินั้นจะยังมีสาสวะก็ตาม
เพราะยังอยู่ในการเจริญมรรคนั่นเองครับ พระองค์ให้ทำให้มากคือเจริญจนให้เต็ม
เปี่ยมสมบูรณ์ (สัมมาวายามะ) นั่นหมายถึงการสั่งสม ด้วยการเจริญ ทำให้มาก


ปล...
อยากให้สังเกตุ คำว่า "อนาสวะ"ในมหาจัตตารีสกสูตร
ตามรากศัพท์คำแปล อนาสวะนี้หมายถึง ปราศจากอาสวะ ซึ่งหมายถึงเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น
แต่ในพระสูตรนี้ คำนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะสำหรับ พระอรหันต์เท่านั้น แต่รวมถึงพระเสขะบุคคลขั้นโสดา-สิทาคา-อนาคา ที่จะมุ่งสู่อรหัตตผลด้วย...
เช่น ที่ตรัสถึง อนาสวะสัมมาทิฏฐิ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะพระอรหันต์ เท่านั้น.... เพราะ เรา-ท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระโสดาบันเองท่านก็มี"ทิฏฐิสมบูรณ์"แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิของพระโสดาบันนั้นสมบูรณ์แล้ว คือ สมบูรณ์ทั้งระดับสาวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ... "ทิฏฐิสมบูรณ์(ทั้งสองระดับ)" ซึ่งครอบคลุมอนาสวะสัมมาทิฏฐิด้วย จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะพระอรหันต์แต่อย่างใด และ สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วตั้งแต่ระดับพระโสดาบัน

ตรงประเด็น DT06651 [3 ก.ค. 2551 11:01 น


พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดง ล้วนแสดงให้ผู้ปุถุชน หรือเทวดา พรหม ก้าวสู่ความเป็นอริยะบุคคลได้ครับ ไม่ใช่ทำไม่ได้ครับ
ทุกคนมีสิทธิปฏิบัติก้าวไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างพระอริยะสาวกทั้งหลาย สั่งสมไว้
เพียงแต่อย่างติด อย่างหลงไปทิฏฐิอื่น อันเป็นมิจฉาทิฐฏิ คือความไม่รู้จัก
"ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์" ครับ


[๘๕] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ
สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ฯ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น
สัมมาทิฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้ท่าน กล่าวว่า สัมมาทิฐิ ฯ

***

[๑๓๘] ก็สมัยนั้น ปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา ……
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะ พระผู้มีพระภาคทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือบูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมด ไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิด ดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว สุภัททปริพาชกทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี- *พระภาคได้ตรัสว่า

@ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔

ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระ- *อรหันต์ทั้งหลาย ฯ @

[๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว ตามแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้ เป็นไปในประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก ไม่มีในภายนอก แต่ธรรมวินัยนี้ ฯ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะ ผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ



จำเริญในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ


สาธุ คุณ aa1234

เป็นเช่นนั้น ตามพุทธพจน์ ในมหาจัตตารีสกสูตร

สาธุ สาธุ


คุณ guest

ครับ ถ้าท่านเสื่อมถอยทางปัญญาจาก ขณิก อุปจาระ อััปปนา บัญญัติได้ เช่นนั้น ก็อนุโมทนาครับ

เจริญธรรม




guest - 125.26.147.235 [2 ก.ค. 2551 17:59 น.] คำตอบที่ 35

guest - 125.26.147.235 [2 ก.ค. 2551 21:01 น.] คำตอบที่ 36




ขณิก อุปจาระ อัปปนา สมาธิ เป็นจิตชนิดใดท่านยังไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลยครับ คำว่า ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิำไม่มีในพระไตรปิฎกครับ มีแต่คำว่าอุปจาระฌาน และคำว่าอัปปนาฌานครับ

และคำว่าจิตรวมก็ไม่มีจริงในโลกหรอกครับ จิตมันรวมกันไม่ได้ครับ จิตไม่ใช่หยดน้ำ

มีแต่จิตที่เกิดแล้วดับไป ดับแล้วเกิดใหม่ เกิดดับ ๆๆ

อ่านทบทวนที่อธิบายไว้อีกหลาย ๆ รอบทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน ก่อนจะตัดสินใจตำหนิหรือคัดค้านครับ


ท่านยังต้องศึกษาพระไตรปิฎกและปฏิบัติให้มากกว่านี้ครับ



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





อนึ่ง สมาธิระดับฌานที่ไม่เอื้อต่อการเดินมรรคด้านปัญญานั้น พระสุปฏิปันโนจำนวนมากในไทยที่ท่านชำนาญการภาวนา ท่านไม่สรรเสริญ ท่านเรียกว่า "สมาธิหัวตอ" คือ เข้าไปสงบนิ่งอยู่เฉยๆ. ซึ่งก็คล้ายกับที่ท่านเจ้าคุณๆกล่าวว่า สมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ครับ. จึง ตรงกันทั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านปริยัติ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติ




ต้องกราบขอบพระคุณท่านอภิปัญโญ อีกครั้งหนึ่ง ที่เสียสละเวลาให้วิทยาทานกับผู้ร่วมสนทนา และ ร่วมศึกษาในกระทู้นี้ครับ



ตรงประเด็น DT06651 [2 ก.ค. 2551 21:20 น.] คำตอบที่ 37



การกล่าวว่า ฌาน เป็นสมาธิหัวตอ บุคคลคนนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิครับ
ถ้าฌาน 4 เป็นสมาธิหัวตอ แล้วเขาจะใช้ฌานเป็นบาทแสดงฤทธิ์กันได้อย่างไรครับ ??


ฌานคือจิตที่เกิดดับ
ฌานคือจิตที่เป็นกุศล สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
บ้างเป็นจิตมีรูปสัญญาเป็นอารมณ์ เรียกว่าอารัมมณูปณิชฌาน
บ้างเป็นจิตมี อรูปสัญญาเป็นอารมณ์ เรียกว่าอารัมมณูปณิชฌานเช่นกัน

บ้างเป็นจิตประกอบด้วยอินทรีย์ 9 มรรคมีองค์ 8 พละ 7 เรียกว่าลักขณูปณิชฌานครับ

ในฌานทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีจิตชนิดไหนที่เป็นหัวตอเลยครับ เกิดแล้วดับ เกิดดับ ๆ ๆ



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ



ขณิก อุปจาระ อัปปนา สมาธิ เป็นจิตชนิดใดท่านยังไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลยครับ คำว่า ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิำไม่มีในพระไตรปิฎกครับ มีแต่คำว่าอุปจาระฌาน และคำว่าอัปปนาฌานครับ

และคำว่าจิตรวมก็ไม่มีจริงในโลกหรอกครับ จิตมันรวมกันไม่ได้ครับ จิตไม่ใช่หยดน้ำ

มีแต่จิตที่เกิดแล้วดับไป ดับแล้วเกิดใหม่ เกิดดับ ๆๆ

อ่านทบทวนที่อธิบายไว้อีกหลาย ๆ รอบทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน ก่อนจะตัดสินใจตำหนิหรือคัดค้านครับ


ท่านยังต้องศึกษาพระไตรปิฎกและปฏิบัติให้มากกว่านี้ครับ



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ

Apipanyo DT05479 [4 ก.ค. 2551 02:35 น.] คำตอบที่ 62

กราบนมัสการท่าน อ.อภิปัญโญ

ผมกับท่านมีวิธีปฏิบัติต่างกันครับ ถึงจะสนทนาธรรมยังไงก็ไม่เข้าใจกันครับ
กราบขอบพระคุณท่านครับ

กราบนมัสการครับ





ผมกับท่านมีวิธีปฏิบัติต่างกันครับ ถึงจะสนทนาธรรมยังไงก็ไม่เข้าใจกันครับ
กราบขอบพระคุณท่านครับ

กราบนมัสการครับ

guest - 58.8.192.30 [4 ก.ค. 2551 07:54 น.] คำตอบที่



ใช่ครับ แตกต่างกันจริง ๆ เป็นเช่นนี้จริง ๆ ครับ
เพราะการปฏิบัติธรรมของอาตมาปฏิบัติไปตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามพระไตรปิฎกเท่านั้น
ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
ไม่เอาคำสอนจากตำรานอกพระไตรปิฎกมาใส่ใจครับ


การเจริญฌานของอาตมาค่อย ๆ ฝึกไปเป็นดังนี้ครับ

                 รูปวาจรกุศล กสิณ ฌาน
                       จตุกกนัย
[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


[๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติ ผุดขึ้นดวงเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ


[๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌานนั้น ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ


[๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น


                 อรูปาวจรกุศล
[๑๙๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
                 อรูปาวจรกุศล จบ
------------

                 โลกุตตรกุศลจิต
                 มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล




[๒๑๕] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปััญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคย ทำให้แจ้งนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

                  มรรคจิตดวงที่ ๒
[๒๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
                  มรรคจิตดวงที่ ๒ จบ
------------


                 มรรคจิตดวงที่ ๓
[๒๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ มีอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
                 มรรคจิตดวงที่ ๓ จบ
------------
                 มรรคจิตดวงที่ ๔
[๒๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๒๗๔] อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างเหมือนปัญญา ความสว่าง
คือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
                 มรรคจิตดวงที่ ๔ จบ.
                 โลกุตตรกุศลจิต จบ.


http://www.tipitaka.com/tipitaka34.htm

เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ



ตำราเดินกระย่องกระแย้ง
ตามรู้-ตามเก็บกิเลส ไล่งับอุปาทานขันธ์๕เพื่อเพิ่มพูนสักกายะทิฏฐิ (ฮ่า)
ให้พยายามหยิบพุทธพจน์มาให้อ่านยังไง๊ ยังไง ก็ไม่เก็ตกะสักเขาสักที
ทิฏฐินอกศาสนา(ก็ไม่เชื่อพุทธพจน์นินะ) เมื่อไปยึดติดคำสอนเขาเข้าให้แล้ว
ให้เอาคำสอนแบบตรงๆ ยังไง๊ ยังไง ก็จะเฉไฉไปจนได้ซิน่า. ไม่คิดจะอ่านให้เข้าใจเหมือนคนไม่รู้ความไปเสียทั้งหมดน้านนหระ

กรรมย่างหนอ วิบากมาหนอ วัฏฏะย่ะยาววววหนอ...อิอิ

นางึซึด์/สุตะ





ขอบคุณ ผ้ร่วมสนทนาทุกท่านน่ะครับ

ขอน้อมรับฟังทุกความเห็นไว้พิจารณาครับ

ความเห็นในหลักการใหญ่ คือ จะตัดสมาธิออกจากไตรสิกขาไม่ได้ และ จะตัดสัมมาสมาธิ ออกจากอริยมรรคไม่ได้.... ก็ถือว่าตรงกัน

แต่ ในรายละเอียดปลีกย่อย ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่อาจจะเห็นตรงกันบ้าง เห็นไม่ตรงกันบ้าง.... ไม่ควรจะซีเรียสเกินไป.
วันนี้เห็นไม่ตรงกัน วันหน้าอาจเห็นตรงกัน....วันนี้เห็นตรงกัน วันหน้าอาจเห็นไม่ตรงกัน

อ.ประเวศ วสี ท่านจะกล่าวบ่อยๆว่า สังคมไทยตอนนี้มีปัญหาเรื่อง การฟัง... คือ เราชอบที่จะพูดให้ผู้อื่นฟัง แต่เรามักจะไม่ชอบฟังที่ผู้อื่นพูด

บ่อยครั้ง ที่"การฟังอย่างลึก"กลับมีประโยชน์กว่า การพูด


ขอขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง ที่ทุกท่านเสียสละเวลาให้กระทู้นี้

ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมครับ





หลังจาก มีเวลาได้ทบทวนอ่านหลากหลายความเห็นจากเพื่อนสมาชิกแล้ว

พอจะเห็นบางจุด ที่อาจทำให้เข้าใจไม่ตรงกันได้ครับ

ไม่ทราบว่า มีเพื่อนสมาชิกท่านใด คิดแบบนี้ไหมน่ะครับ
คือ เมื่อก่อน ผมเคยมีความเห็น ถึงธรรม40ประการ(กุศล20 อกุศล20)ในมหาจัตตารีสกสูตรดังนี้ คือว่า
เมื่อ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ก็มีทั้ง ที่เป็นสาสวะ และ เป็นอนาสวะได้(ตามพระพุทธวจนะที่ตรัส ตรงๆในจุดนี้) ... ดังนั้น มรรคอีก3ข้อ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และ ผลอีก2ข้อ คือ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ ก็ควรที่จะมีทั้งที่เป็นสาสวะ และ เป็นอนาสวะได้ เช่นกัน ..
กุศล20 ก็อาจจะเป็นเช่นนี้ คือ เป็น "สัมมาทั้ง10" แล้วคูณด้วยสอง=20

แต่ คิดแบบนั้ อาจไม่ถูกน่ะครับ เพราะ
ถ้า คิดว่า กุศล20ในที่นี้ คือ การที่"สัมมาทั้ง10" แล้วคูณด้วยสอง เพราะมีสองระดับ=20 .... อกุศล20 ก็ต้องเป็น "มิจฉาทั้ง10" แล้วคูณด้วยสอง=20 ด้วยเช่นกัน...ใช่ไหมครับ

แต่ ในพระมหาจัตตารีสกสูตร ไม่ได้แยก ฝ่ายมิจฉาเป็น สาสวะมิจฉา และ อนาสวะมิจฉา แต่อย่างใด.

เห็นชัด ก็ตรง หัวข้อทิฏฐิ ที่ บรรยายถึงว่า อย่างไรคือ มิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการแบ่งเป็น สาสวะมิจฉาทิฏฐิ และ อนาสวะมิจฉาทิฏฐิ เลย...
กล่าวคือ เมื่อ ตรัสแสดง มิจฉาทิฏฐิแล้ว ก็ แสดงสาสวะสัมมาทิฏฐิที่เป็นธรรมตรงข้ามกับมิจฉาทิฏฐิ และ ตามด้วยการตรัสแสดงอนาสวะสัมมาทิฏฐิของพระอริยะ

ดังนั้น เกี่ยวกับทิฏฐิ ในมหาจัตตารีสกสูตร จึงมีพระพุทธวจนะตรัสถึง3 หัวข้อ คือ
1.มิจฉาทิฏฐิ(ไม่มีการแยกเป็น สาสวะ และ อนาสวะ)
2.สาสวะสัมมาทิฏฐิ
3.อนาสวะสัมมาทิฏฐิ



ต่อมา ผมมาพบ คำอธิบาย ของท่านอาจารย์สุชีพ (ลงใน คห ที่56 ในกระทู้นี้) จึงเข้าใจในประเด็น 20+20 ชัดขึ้น

ที่ท่านกล่าวว่า

.....ตั้งหลักมรรค 8 เติมสัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นโดยชอบ รวมเป็น 10
กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์ เพราะธรรมผ่ายถูกทั้ง 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายกุศล 20

ตั้งหลักมิจฉัตตะ ความผิด มีความเห็นผิด เป็นต้นมีความหลุดพ้นผิดเป็นทีสุด เป็น 10
อกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์ เพราะธรรมฝ่ายผิด 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายอกุศล 20)...."


ผมจึงเข้าใจว่า ที่แท้แล้ว ไม่ใช่ว่า นำ"สัมมาทั้ง10" แล้วคูณด้วยสอง (เพราะ เชื่อว่า สัมมาทุกข้อต้องมีสองระดับ=20)

แต่ ที่เป็น20ฝ่ายถูก เพราะ....มี ธรรมฝ่ายถูกทั้ง10ข้อ นับรวมกับ กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์เพราะธรรมผ่ายถูกทั้ง 10ข้อนั้นเป็นปัจจัย...
(สัมมาทิฏฐิ และ กุศลที่เกิดจากสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ และ กุศลที่เกิดจากสัมมาสังกัปปะ
...ๆลๆ
ไปจนถึง
สัมมาวิมุติ และ กุศลที่เกิดจากสัมมาวิมุติ)
จึงเป็น 10+10=20

และ ที่เป็น20ฝ่ายผิด เพราะ...มี ธรรมฝ่ายผิดทั้ง10ข้อ นับรวมกับ อกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์เพราะธรรมฝ่ายผิด10ข้อนั้นเป็นปัจจัย ...
(มิจฉาทิฏฐิ และ อกุศลที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ และ อกุศลที่เกิดจากมิจฉาสังกัปปะ
...ๆลๆ
ไปจนถึง
มิจฉาวิมุติ และ อกุศลที่เกิดจากมิจฉาวิมุติ)
จึงเป็น 10+10=20


เมื่อ กล่าวแสดงที่งฝ่ายถูก และ ฝ่ายผิด ....ทั้ง ที่เป็นเหตุ และ เป็นผล
(เหตุถูก10 นำไปสู่ผลถูก10 และ เหตุผิด10 นำไปสู่ ผลผิด10)
จึง นับรวมเป็น40



ลองอ่าน พระพุทธพจน์ ตรงนี้อีกครั้งน่ะครับ

[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือ ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็น ปัจจัย ฯ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้... ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้... ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้... ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้... ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้... ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้... ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้... ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้... ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ สลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมา- *วิมุตติเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย อกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ






ยกมา :..

"...ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ

"...ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมา- *สติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ





แสดงถึง "จิตที่เป็นมรรค" + จิตที่เป็นผล" ครับคุณตรงประเด็น
....ดูนะครับ >>



@ ฝ่ายกุศล 20

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาทิฏฐิ" ..>> ผล(จิต) คือบรรลุ "สัมมาทิฏฐิ"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาสังกัปปะ" ..>> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาสังกัปปะ"

มรรค(จิต)คือ "ละสลัดมิจฉาวาจา"....>> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาวาจา"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาอาชีวะ"...>> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาอาชีวะ"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉากัมมันตะ ..>> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมากัมมันตะ"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาวายามะ ...>> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาวายามะ"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาสติ" ..>> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาสติ"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาสมาธิ" >> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาสมาธิ"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาญาณะ" >> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาญาณะ"

มรรค(จิต)คือ "ละมิจฉาวิมุตติ" >> ผล(จิต)คือบรรลุ "สัมมาวิมุตติ"

รวมเป็น 20 ครับ (อันมีสัมมาทิฏฐิ เป็นประธาน สัมมาทิฏฐิจึงสำคัญยิ่ง
ธรรมเหล่านี้ เมื่อเกิดมาเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมกันพอเหมาะจึงสมบูรณ์)


@ฝ่ายอกุศล ...ก็ตรงข้ามกันทุกประการครับ รวมเป็น 20 ครับผม

(..คือ ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว ..")

@ ทวนดูครับ

ให้เข้าใจครับว่าจะมี จิตที่เป็นมรรค และ จิตที่เป็นผล
พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องการทำเหตุ และ วิบาก(ผล) ครับ
(ทำเหตุที่เป็นกุศล >>> วิบาก(ผล)คือ กุศล
ทำเหตุที่เป็นอกุศล >>>วิบาก(ผล)คือ อกุศล)


ก็อริยะบุคคลมี มรรค๔ ผล๔ ไงหระครับ
เมื่อมรรคจิตดวงนั้นสมบูรณ์พร้อม ผลจิตจึงเกิดต่อเนื่องครับ

ส่วนเรื่อง "สาสวะ" "อนาสวะ" นั้นเป็นการแสดงธรรมให้พิศดาร(ละเอียด)ของ
พระพุทธองค์เท่านั้นครับ

จำเริญในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ



คุณ aa1234

สาธุ ต่อข้อสรุป ในมหาจัตตารีสกสูตร

เช่นนั้น เห็นว่า คุณตรงประเด็นคงจะเข้าใจในพระสูตรบทนี้อย่างแจ่มแจ้งนะครับ

เจริญธรรม




ขอบคุณความเห็นเพิ่มเติมน่ะครับ



ประเด็น เรื่องของกุศล20 ในมหาจัตตารีสกสูตร ถึงแม้นอาจจะไม่เห็นตรงกันทั้งหมดในรายละเอียด
แต่ หลักใหญ่ใจความ ก็คงน่าจะออกจากประเด็น "การใช้สัมมาX2" แล้วสรุปว่า สัมมาสมาธิ ต้องมี สาสวะสัมมาสมาธิ และ อนาสวะสัมมาสมาธิ ไปได้... น่ะครับ


ขอเรียนถาม ทบทวน ในประเด็นที่ว่า

มีเพื่อนสมาชิกท่านใด มีข้อมูลเพิ่มเติมจากระดับพระสูตร ที่ระบุโดยตรงว่า สัมมาสมาธิ ถูกแบ่งเป็น สาสวะสัมมาสมาธิ และ อนาสวะสัมมาสมาธิ ... เช่น เดียวกับมรรค5ข้อแรกในมหาจัตตารีสกสูตรไหมครับ

เพราะถ้ามี ฌานฤาษีที่ถึงแม้นไม่นำไปสู่การเดินมรรคด้านปัญญา ก็ไม่น่าถูกจัดเป็นมิจฉาสมาธิ






โอ้โห...คุณเช่นนั้นคุณเล่นลบสมาธิ ลบฌาณเลยเหรอครับ ถ้าอย่างนั้นก็ลบ บาป บุญ นรก สวรรค์ พรหมโลก นิพพาน ไปเลยซิครับ เอาให้หมดเลย

ถ้าต้องเชื่ออย่างที่คุณเช่นนั้นว่า ผมยอมโง่ ยอมปัญญาเสื่อมถอยดีกว่าครับ


สวัสดีค่ะคุณguest และกัลยาณมิตรทุกๆท่าน
ผ่านเข้ามาอ่าน คห.ของคุณguest ดิฉันเห็นว่าไม่ถูกต้องตรงที่คุณกล่าวว่า คุณเช่นนั้นลบสมาธิ ลบฌาณ คุณอ่านคห.คุณเช่นนั้นผ่านไปโดยไม่ได้อ่านด้วยรายละเอียดหรอกหรือคะ?
((( ฌาน หรือ สมาธิในอริยะวินัยนี้นะครับ คือ เอกัคคตาจิต ครับ
เมื่อไรจิตเป็นเอกัคคตา จิตนั้นก็ตั้งมั่นในระดับองค์ฌานนั้นๆ )))

ในวงเล็บนี่คุณเช่นนั้นกล่าวไว้เรื่องสมาธิและฌาณ อย่างชัดแจ้ง ทำไมคุณguest จึงไปกล่าวตู่ คห.กัลยาณมิตรท่านอื่นแบบนั้น? สนทนาธรรมเพื่อกุศลธรรมมิใช่เพื่อเพิ่มพูนกิเลส จึงจะเรียกว่าสัมมาทิฐิ ค่ะ


สวัสดีค่ะท่านเจ้าของกระทู้นามว่าท่าน ตรงประเด็น

เพราะถ้ามี ฌานฤาษีที่ถึงแม้นไม่นำไปสู่การเดินมรรคด้านปัญญา ก็ไม่น่าถูกจัดเป็นมิจฉาสมาธิ





ตรงประเด็น DT06651 [5 ก.ค. 2551 00:57 น.] คำตอบที่ 71

ฌาณของฤาษีนั้นเป็นสัมมาสมาธิ เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม จึงไม่จัดเป็น มิจฉาสมาธิ
แต่ที่ไม่นำไปสู่การเดินมรรคด้านปัญญานั้น เหตุเพราะ รู้เพียงเหตุแห่งทุกข์
ว่าอกุศลธรรมเป็นเหตุแห่งทุกข์ แต่ไม่รู้จักหนทางดับทุกข์ นี่คือเหตุค่ะ จึงมีผลเพียงแค่ชั้นพรหมเท่านั้นที่จะไปปฏิสนธิได้
เจริญในธรรมค่ะ



สนทนากันต่อครับ

มาทำความเข้าใจในเรื่องของ "สัมมาสมาธิ"(ฌาน)
ในความหมายของพระพุทธองค์กันครับ ที่หลงประเด็นก็เพราะไปยึดเอา
ความเห็น เนื้อหาของต้นตำราที่มาจาก 9ปริเฉทที่กำลังเผยแพร่อยู่ขณะนี้
ว่าฌานถูกผูกขาดเป็นของฤาษีเท่านั้น.. ไม่ใช่ครับ

ในพุทธกาล จะเห็นว่า ฤษี หรือไม่ว่าใครผู้มีความเพียรตะบะ เพียรเพ่ง(มีฌาน-รักษาฌาน)เท่านั้นจึงจะแสดงฤทธิ์ได้ แต่ไม่อาจจะบรรลุธรรมได้ครับ
พระพุทธองค์เมื่อครั้งอยู่สำนักอาฬารดาบทและอุทกดาบท ก็ปฏิบัติจนได้ฌานชั้นสูง
(สัมมาสมาธิ)เป็นบาทฐาน ได้วิชา


สัมมาสมาธิ" หรือฌาน นั่นมีอยู่ครับ เป็นธรรมหรือจิตที่ผู้ปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นฤษี หรือ
ผู้มีความเพียร ล้วนปฏิบัติให้เข้าสู่สภาวะจิต ที่มีกำลังนั้นได้ครับ
แล้วใช้กำลังของฌานนั้น เป็นบาทฐานให้เกิดวิชชา 3 แต่ถ้าฌานจิตเช่นนี้ยังไม่ประกอบ
ด้วย "สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน"
จึงไม่ประกอบมรรคที่จะเกิดผลสู่ปัญญาญาณแห่งการหลุดพัน บรรลุธรรมเป็นอริยะบุคคลได้ครับ
(เหมือนตั้งเข็มทิศผิด ก็หลงครับ..)


ยกตัวอย่างชัดเช่น พระเทวทัต แม้จะสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้ว ปฏิบัติได้ฌานได้
วิชชาแสดงฤทธิ์ได้ แต่ก็ยังไม่บรรลุธรรมสักที เพราะยังประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
..ฝ่ายอกุศลธรรมชั่วที่รออยู่ จึงให้(ส่ง)ผลให้กระทำความชั่ว
อกุศลชั่วดังกล่าวคือ เคยตั้งความพยายาบาทอาฆาตพระพุทธเจ้า
ทั้งในอดีตตั้งอธิษฐานจิตของจองเวรตั้งหลายภพหลายชาติต่อพระพุทธเจ้ามาก่อน

(เสริม..จะเห็นว่า การอธิษฐาน ถ้าอธิษฐานที่เป็นบุญกุศล ก็ส่งผลได้ในอนาคตต่อ
เนื่องสู่ทิศทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนบารมี บุญกุศลครับ
ในทางตรงข้าม ถ้าอธิษฐานจิตที่เป็นอกุศล ก็ส่งผลได้ในอนาคตต่อเนื่องไปสู่
เจตนาในทางเสื่อม..ก็เป็นดั่งเช่นพระเทวทัตแล
แบบนี้เหมือนกับ "การตั้งโปรแกรม" ของเราไว้ล่วงหน้าแล้วนั้นแหละครับ .. อิอิ)

อีกตัวอย่าง พระพุทธองค์ทรงไปแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่ฤาษี 500 ตนให้
ตั้งตนในสัมมาทิฏฐิ แล้วนำไปปฏิบัติต่อโดยใช้ฌานที่ฤาษีมีอยู่นั้นหระเป็นบาทฐาน
จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมดครับ

@ให้เอาพระไตรปิฎกพุทธพจน์เป็นปทัสฐานครับ
อรรถตำราที่อื่นๆหากลงใน พระธรรมวินัยไม่ได้
ให้ตกไปครับ

ทั้งๆที่พระพุทธองค์ล้วนแสดงฌานไว้มากพระสูตร
..แต่ปัจจุบันกลับดื้อ ปฏิเสธกันจัง.. (พาคนหลงมากมายเหลือเกิน
จูงๆพาหลงกันต่อๆไป
..เฮ้ยย! เจอตำราที่เป็นกัลยาณมิตรผิด.. ก็ประการฉะนี้)


อ่านเสริมครับ
..ยกตัวอย่างพระสูตรหนึ่ง ในหลายๆมากมายพระสูตร ให้ไปอ่านดู
ฌาน หรือสัมมาสมาธินี้ล้วนเป็นบาทฐาน เน้นครับว่าเป็น บาทฐาน
ในการปฏิบัติ

อย่างเช่นใน "ฌานสูตร"
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต)
http://www.tipitaka.com/tipitaka23.htm

และ ลำดับก่อนตรัสรู้ ตั้งแต่อยู่ในสำนักอาฬารดาบท อุทกดาบท

[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราชกุมาร ก่อนแต่ตรัสรู้ แม้เมื่ออาตมภาพยังไม่ได้ ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ...

อยู่ในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์)
http://www.tipitaka.com/tipitaka13.htm



และที่กล่าวว่า ในเมื่อ ฝ่ายอกุศล 20 ในมหาจัตตารีสกสูตร
"สมาธินั้นมีสาสวะ" สมาธินั้นก็เป็น "มิจฉาสมาธิ" ในความหมายที่คุณกำลังโยงไปนั้น ..
อันนี้ ก็ไม่ใช่ครับ เพราะ ในธรรมอันเป็นฝ่ายกุศล และในธรรมอันเป็นฝ่ายอกุศลนั้น
ต่างก็มีความหยาบ ปราณีต แตกต่างกัน ดังเช่น...

ในฝ่ายกุศล ก็ยังแบ่งเป็น
กามาวจรกุศล
รูปาวจรกุศล
อรูปาวจรกุศล
โลกุตตระ
(ในแต่ละ กุศลเหล่านี้ ยังมีความปราณีตแตกต่างกันไปอีกนะครับ..โอ้ยาวเชียวครับ)

ใน " มหาจัตตารีสกสูตร " นั้นเป็นธรรมที่พระพุทธองค์มุ่งทรงแสดง"สัมมาสมาธิ"
โดยบทพิศดาร เพราะเป็นเรื่องของความละเอียดปราณีตธรรมที่เป็นมรรคจิต-ผลจิต
เป็นลำดับๆไป ไม่ได้มุ่งแสดงถึง มิจฉาสมาธิ ครับ


อย่างเช่น พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
ที่ยังต้องละสังโยชน์ อันเป็นกิเลสที่ละเอียดเป็นลำดับๆ
กระทั่งละสิ้นไปหมด บรรลุเป็นพระอรหันต์
จึงเห็นว่า ขนาดเป็นอริยะบุคคล 3 ชั้นต้นแล้ว ยังกล่าวว่ายังมีกิเลส(สังโยชน์)


ดังนั้น ถ้า "สัมมาสมาธิอันมีอยู่ของสาสวะ" และ "สัมมาสมาธิอันไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ" ก็ตาม
ทั้งสองอย่างนี้ ก็กล่าวว่าเป็น สัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิประการแรก(ที่มีสาสวะ) ".... เป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์..."
เช่น ต้องสั่งสม กระทำความเพียร กระทั่งมีปัจจัยสมบูรณ์ เข้าสู่การบรรลุธรรม

ส่วน " สัมมาสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ" ก็ต้องประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8
ที่มี "สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน"
จึงยังอาศัยในการทำเหตุปัจจัยอันเพื่อจะนำไปสู่การหลุดพ้นบรรลุธรรมได้ครับ

(ตรงที่ว่า...."กุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์"..
หมายถึงเหตุปัจจัยบุญบารมี ทั้งที่เป็นในอดีตที่สั่งสมมา กอบกับ
บุญบารมีในปัจจุบันที่มีความเพียรอันมี "สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน" กอบด้วย สัมมาฯ อื่นๆใน
อริยมรรคเป็นปัจจัยกันและกันอย่างสมบูรณ์


@ ถึงแม้ว่าการเจริญฌาน ยังไม่บรรลุธรรมเป็นอริยะบุคคลในปัจจุบัน.. อกุศลวิบาก
และกิเลส ก็ยังมีอยู่เป็นเหตุปัจจัยที่จะส่งผลได้ มีโอกาสนำไปสู่เจตนาในการกระทำความเสื่อมได้
แต่กำลังของฌานนี้ ยังเป็นบุญมาก เป็นกุศลมาก สั่งสมไว้ให้มากครับ เพื่อเป็นกำลังสืบต่อไป
เจริญต่อๆไปให้สมบูรณ์ในอนาคตครับ" @

******

แม้สุขที่เป็นฌานสุข พระองค์ก็ทรงแสดงความสุขอันปราณีต เป็นลำดับไป


สุขในรูปฌานและอรูปฌาน

[๑๐๑] ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า
และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.

ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส
มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่งข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติฌาน..ตติยฌาน..จตุตถฌาน ...
นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
......ฯลฯ...- -->>บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ...บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....



จำเริญในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ


โอ้โห...คุณเช่นนั้นคุณเล่นลบสมาธิ ลบฌาณเลยเหรอครับ ถ้าอย่างนั้นก็ลบ บาป บุญ นรก สวรรค์ พรหมโลก นิพพาน ไปเลยซิครับ เอาให้หมดเลย

ถ้าต้องเชื่ออย่างที่คุณเช่นนั้นว่า ผมยอมโง่ ยอมปัญญาเสื่อมถอยดีกว่าครับ


สวัสดีค่ะคุณguest และกัลยาณมิตรทุกๆท่าน
ผ่านเข้ามาอ่าน คห.ของคุณguest ดิฉันเห็นว่าไม่ถูกต้องตรงที่คุณกล่าวว่า คุณเช่นนั้นลบสมาธิ ลบฌาณ คุณอ่านคห.คุณเช่นนั้นผ่านไปโดยไม่ได้อ่านด้วยรายละเอียดหรอกหรือคะ?
((( ฌาน หรือ สมาธิในอริยะวินัยนี้นะครับ คือ เอกัคคตาจิต ครับ
เมื่อไรจิตเป็นเอกัคคตา จิตนั้นก็ตั้งมั่นในระดับองค์ฌานนั้นๆ )))

ในวงเล็บนี่คุณเช่นนั้นกล่าวไว้เรื่องสมาธิและฌาณ อย่างชัดแจ้ง ทำไมคุณguest จึงไปกล่าวตู่ คห.กัลยาณมิตรท่านอื่นแบบนั้น? สนทนาธรรมเพื่อกุศลธรรมมิใช่เพื่อเพิ่มพูนกิเลส จึงจะเรียกว่าสัมมาทิฐิ ค่ะ

ผู้อ่านเพื่อศึกษา - 85.177.117.122 [5 ก.ค. 2551 04:41 น.] คำตอบที่ 72

แล้วคุณทำไมกล่าวหาว่าผมกล่าวตู่คุณเช่นนั้นล่ะครับ คุณแน่ใจแล้วเหรอครับที่กล่าวหาผมอย่างนี้ คุณเข้าใจคำพูดผมดีขนาดไหนครับ

มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ มีแค่นี้ล่ะครับ ไม่เห็นจะวิเศษตรงไหน


คุณ guest

บทอุปมาการรวมจิต จากพระสูตร โดยพุทธพจน์

[๖๘๗] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ผู้เร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่าดุษณี
ภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ ดังนี้ ดุษณีภาพอันประเสริฐเป็นไฉน
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความดำริได้มีแก่เราดังนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าสู่ทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
นี้เรียกว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้น เพราะระงับ
วิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าสู่ทุติยฌานเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเรานั้น
อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิตก ย่อมฟุ้งขึ้น ดูกร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยฤทธิ์
ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า โมคคัลลานะๆ ผู้เป็นพราหมณ์อย่าประมาทดุษณีภาพอัน
ประเสริฐเธอจงรวมจิตตั้งไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงตั้งจิตมั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ สมัยต่อมาเรานั้น เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าสู่ทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ หมายถึงบุคคลใด พึงกล่าวว่าสาวกผู้
อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าว
โดยชอบ พึงกล่าวหมายถึงเรานั้นว่า สาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้
บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว ดังนี้ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=7192&Z=7219

เอกัคคตาจิต ในฌานแต่ละฌาน ก็เป็นไปตามพระสูตร
เจริญธรรม


ขอบคุณ คุณเช่นนั้นครับ

ผมจะขอพูดสิ่งที่เป็นสันทิฏฐิโกนะครับ สุดแล้วแต่ท่านใดจะเชื่อหรือไม่ครับ

ในขณะที่จิตรวม ก็คือกระแสของจิตไม่ส่งออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายครับ ตามปกติเราจะรู้สึกถึงร่างกายของเราทุกส่วนใช่มั้ยครับ แต่ในขณะจิตรวมนั้นความรู้สึกต่าง ๆของร่างกายจะไม่มีเลยครับ ดังนี้เรียกว่าจิตรวมครับ คือจิตไม่ส่งกระแสไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จิตขณะนั้นทรงตัวอยู่ด้วยกำลังของตนเองครับ ไม่ต้องยึดคำบริกรรมเพื่อพยุงจิตไว้ครับ จึงเรียกว่าระงับ วิตก วิจาร เสียได้

ขออนุโมทนาเมตตาธรรมในใจของคุณเช่นนั้นครับ


อนุโมทนากับทุกท่านที่สนทนาธรรมเพื่อเป็นธรรมทานค่ะ

ขออภัยค่ะคุณguest ดิฉันเองก็อ่านและเข้าใจตามเนื้อผ้าค่ะ
เห็นคุณสนทนาโต้ตอบกัน เห็นอย่างไร
ดิฉันก็สนทนาไปตามที่เห็นในคห.ของแต่ละท่าน
การที่คุณถามว่าดิฉันเข้าใจคำพูดคุณดีแค่ไหน
ขอตอบว่าเข้าใจเท่าที่เห็นข้อความตามสัจจธรรมที่เห็นค่ะ
คงไม่สามารถเข้าใจนอกเหนือไปจากนี้ได้ เพราะไม่ได้มี สังขาร ปรุงแต่งจนฟุ้งค่ะ
หวังว่าคุณคงเข้าใจที่ดิฉันกล่าวมานะคะ
ดิฉันเองมิได้กล่าวหาหรือต่อเติมถ้อยคำนอกเหนือจากที่เห็นเลย
ด้วยมโนสุจริต วจีสุจริต กายสุจริตค่ะ
**ถ้าถ้อยความที่ดิฉันกล่าวไปทำให้คุณมีโทสะ ก็ขออโหสิกรรมค่ะ **

เจริญในธรรมค่ะ



มีประเด็น เพิ่มเติมมานำเสนอ


ใน อริยมรรคที่มีองค์แปด

สรุป เข้าสู่ ไตรสิกขา ได้ดังนี้

1.อธิศีลสิกขา(ศีล) ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

2.อธิจิตตสิกขา(สมาธิ) ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

3.อธิปัญญาสิกขา(ปัญญา) ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ



สังเกตุ... สัมมาสติ ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ก็เป็นองค์มรรคที่ถูกจัดไว้ในหมวดสมาธิ (เช่นเดียว กันกับ สัมมาสมาธิ)

และจาก มหาจัตตารีสกสูตร ที่ตรัสว่า

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ




การมีสัมมาสติ(เจริญสติปัฏฐาน) จึงนำไปสู่ สัมมาสมาธิที่พอเหมาะ

แล้ว จะไปจัดให่ สติปัฏฐานเป็นวิปัสสสนาล้วนๆ(100%)ตามอาจารย์รุ่นหลัง ได้อย่างไรกันครับ...ลองพิจารณาดู

วิปัสสนาล้วนๆ(100%) ไม่อยู่ในหลักอริยมรรคเสียด้วยซ้ำ





ขออนุญาต สรุปประมวล การเจริญ สมถะ-วิปัสสสนา เป็นดังนี้


1.เจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของสมถะมาเจือปน

2.เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า

3.เจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา

4.การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า


5.เจริญสมถะล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของวิปัสสนามาเจือปน


ข้อ1 เจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของสมถะมาเจือปน...ก็คือ ประเด็นที่เป็นปัญหาของกระทู้นี้

ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ก็คือ แนวทางที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในพระสูตร ซึ่งต่างล้วนก็ต้องมีส่วนประกอบทั้ง สมถะ และ วิปัสสสนา ทั้งสิ้น...ต่างกันแต่ว่า แนวทางไหนจะใช้สมถะ หรือ วิปัสสสนานำหน้า หรือ เป็นจุดเด่น

ข้อ5 ก็คือ ฌานฤาษี ที่ไม่นำไปสู่การเดินมรรคด้านปัญญา นั่นเอง





อนุโมทนากับทุกท่านที่สนทนาธรรมเพื่อเป็นธรรมทานค่ะ

ขออภัยค่ะคุณguest ดิฉันเองก็อ่านและเข้าใจตามเนื้อผ้าค่ะ
เห็นคุณสนทนาโต้ตอบกัน เห็นอย่างไร
ดิฉันก็สนทนาไปตามที่เห็นในคห.ของแต่ละท่าน
การที่คุณถามว่าดิฉันเข้าใจคำพูดคุณดีแค่ไหน
ขอตอบว่าเข้าใจเท่าที่เห็นข้อความตามสัจจธรรมที่เห็นค่ะ
คงไม่สามารถเข้าใจนอกเหนือไปจากนี้ได้ เพราะไม่ได้มี สังขาร ปรุงแต่งจนฟุ้งค่ะ
หวังว่าคุณคงเข้าใจที่ดิฉันกล่าวมานะคะ
ดิฉันเองมิได้กล่าวหาหรือต่อเติมถ้อยคำนอกเหนือจากที่เห็นเลย
ด้วยมโนสุจริต วจีสุจริต กายสุจริตค่ะ
**ถ้าถ้อยความที่ดิฉันกล่าวไปทำให้คุณมีโทสะ ก็ขออโหสิกรรมค่ะ **

เจริญในธรรมค่ะ

ผู้อ่านเพื่อศึกษา - 85.177.171.85 [6 ก.ค. 2551 04:58 น.] คำตอบที่ 78

ถ้าผมไม่มีโทสะก็คงไม่ต้องอโหสิกรรมให้คุณซิครับ

ผมไม่มีอารมณ์ข้อข้องใจอันใด
ขอให้คุณเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
ด้วยเมตตาธรรมครับ




นำ พระพุทธวจนะมาฝากครับ เรื่อง ผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน

พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”


แสดงถึงความสัมพันธ์ ของฌาน และ ปัญญา เป็นเครื่องส่งเสิมให้ใกล้พระนิพพาน

ฌาน ในอรรถนี้ ย่อมหมายเอา สัมมาสมาธิของพระอริยะ แน่นอน...คงไม่น่าจะใช่ฌานฤาษี ทั่วๆไป

คำว่า ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา สื่อถึง สัมมาสมาธิของพระอริยะ(ฌาน) ต้องมีปัญญาในอริยมรรค(ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ)เป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบ

คำว่า ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน สื่อถึง ปัญญาที่เป็นอริยผล(สัมมาญาฌะ) ย่อมสืบเนื่องไปจากสัมมาสมาธิของพระอริยะ(ฌาน)นั่นเอง





คำว่า ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา สื่อถึง สัมมาสมาธิของพระอริยะ(ฌาน) ต้องมีปัญญาในอริยมรรค(ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ)เป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบ

คำว่า ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน สื่อถึง ปัญญาที่เป็นอริยผล(สัมมาญาฌะ) ย่อมสืบเนื่องไปจากสัมมาสมาธิของพระอริยะ(ฌาน)นั่นเอง



ตรงประเด็น DT06651 [6 ก.ค. 2551 17:41 น.] คำตอบที่ 82




รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 เป็นปัจจัยให้เกิดญาณทัสสนะเล่านี้คือ

วิปัสสนาญาณ
มโนมยิตธิญาณ
อิทธิวิธีญาณ
ทิพยโสตญาณ
ทิพยจัขุญาณ
เจโตปริยญาณ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ

ญาณเหล่านี้เกิดได้ในผู้บรรลุโลกียะฌานคือรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
ญาณนั้นเป็นญาณทัสสนะก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นอาสาวขยญาณเสมอไป



[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีลหมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิดดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ [และ] เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร ๑

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

**************************************************************

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

*************************************************************

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือ
สมถะและ วิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

**************************************************************

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

************************************************************

ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ
เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ
เจริญสมถะมี วิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและ วิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น
ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

**************************************************************

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อม
เป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ ๑- ของภิกษุ
ผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี
นิพพิทา ๒- และวิราคะ ๓- ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาด
แล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ๔- ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและ
วิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบ
วิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความ
บริบูรณ์ แม้กะพี้ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ฉันนั้น
๑. หมายถึงอาสวักขยญาณ ๒. วิปัสสนาชั้นสูง ๓. มรรค
๔. ผลวิมุตติและปัจจเวกขณญาณ เหมือนกันแล


[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว ย่อม
เป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และเป็นธรรมมีปัญญา-
วิมุติ ๑- เป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ องค์ ๕ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว อันการ
ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว อันการ
สนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว อัน วิปัสสนาอนุเคราะห์
แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญา
วิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ.





ผมขอถามอีกข้อนะครับท่านรู้มั้ยว่า จิตรวมจากการทำสมาธิเป็นยังไงครับ .อาการเป็นยังไงครับ

ขอกราบนมัสการครับ

guest - 125.26.147.235 [2 ก.ค. 2551 17:59 น.] คำตอบที่ 35




เธอจงรวมจิตตั้งไว้ .ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงตั้งจิตมั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ สมัยต่อมาเรานั้น เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าสู่ทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ หมายถึงบุคคลใด พึงกล่าวว่าสาวกผู้
อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าว
โดยชอบ พึงกล่าวหมายถึงเรานั้นว่า สาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้
บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว ดังนี้ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=7192&Z=7219

เอกัคคตาจิต ในฌานแต่ละฌาน ก็เป็นไปตามพระสูตร
เจริญธรรม

เช่นนั้น DT03623 [6 ก.ค. 2551 01:34 น.] คำตอบที่ 76



เหมือนกันหรือต่างกันครับท่านเช่นนั้น



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ



จิตรวมจากการทำสมาธิเป็นยังไงครับ

เธอจงรวมจิตตั้งไว้ .ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงตั้งจิตมั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ

เหมือนกันหรือต่างกันครับท่านเช่นนั้น
---------
กราบนมัสการ ท่านอภิปัญโญ ภิกขุ

จิตรวม และ รวมจิตตั้งไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ มีความแตกต่างกัน ในความหมายดังนี้ครับ

จิตรวม ในลักษณะที่ ส่งจิตรู้ไปตามผัสสะต่างๆ ทางร่างกาย และ ให้รู้เวทนา ให้รู้อาการ นั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดในทางวิปัสสนาครับ
เพราะ แต่ละขณะจิตนั้นเป็นจิต เพียง ดวงเดียว ครับ เมื่อผัสสะเกิด เวทนา ก็เกิด สัญญาก็เกิด วิญญาณ ก็เกิด จิตไม่อาจแยกจากกัน ไม่อาจบอกว่า เป็นจิตรวม ในลักษณะนี้ครับ

ดังนั้น ในความเห็นของสหายธรรม ที่กล่าวว่า
"ในขณะที่จิตรวม ก็คือกระแสของจิตไม่ส่งออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายครับ ตามปกติเราจะรู้สึกถึงร่างกายของเราทุกส่วนใช่มั้ยครับ แต่ในขณะจิตรวมนั้นความรู้สึกต่าง ๆของร่างกายจะไม่มีเลยครับ ดังนี้เรียกว่าจิตรวมครับ คือจิตไม่ส่งกระแสไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จิตขณะนั้นทรงตัวอยู่ด้วยกำลังของตนเองครับ ไม่ต้องยึดคำบริกรรมเพื่อพยุงจิตไว้ครับ จึงเรียกว่าระงับ วิตก วิจาร เสียได้"

การที่จิตรวม เมื่อจิตไม่รับรู้ถึงความรู้สึกต่างๆ ของร่างกาย ว่า เป็นจิตรวม จึงไม่ถูกต้อง เพราะขณะจิตนั้นความรู้สึกปรากฏ ผัสสะปรากฏ เวทนาปรากฏ สัญญาปรากฏ สังขารปรากฏ แต่ไม่ประกอบด้วยญาณครับ จิตไม่เป็นเอกัคคตาจิต
เมื่อฌานและญาณไม่ปรากฏ การอบรมจิตเพื่อความหลุดพ้นย่อมเป็นไปไม่ได้


รวมจิต ตามพุทธพจน์ พระพุทธองค์ ทรงตรัสถึง การอบรมจิตที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้ทุติยฌาน ตั้งขึ้นไม่เสื่อมไม่คลาย อันเป็นการระงับ วิตกวิจาร เป็นธรรมเอกผุดขึ้นได้ โดยไม่เสื่อมเพราะความฟุ้งซ่านรำคาญ อันเนื่องมาจากสัญญามนสิการ ในรูปหรือนิมิตอันเป็นอารมณ์ในขณะแห่งปฐมฌาน

ในทุติยฌาน นั้น
“ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.”

“เป็นธรรมเอกผุดขึ้น”

ขณะที่พระโมคคัลลานะเจริญทุติยฌานอยู่นั้น จริงอยู่ที่วิตกวิจาร ในกรรมฐานของท่านระงับไป
แต่ด้วย เวทนาและสัญญา ในกรรมฐานของท่านยังปรากฏ ท่านจึงเกิดความฟุ้งในอารมณ์กรรมฐานนั้นกล่าวคือ ตัววิตกวิจาร เองกลับเป็นสัญญาที่ทำให้เกิดความฟุ้ง จิตท่านเคลื่อนจากทุติยฌานกลับสู่ปฐมฌาน ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงกล่าวแก่ท่านโมคัลลานะว่า อย่าประมาทในดุษณีภาพอันเประเสริฐ เพื่อให้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาและมีทุติยฌานอันตั้งมั่นเป็นธรรมเอก ระงับวิตกวิจาร มีปิติสุขอันเกิดแต่สมาธิ


เจริญธรรม



ก็อย่างที่ผมบอกครับ "สุดแล้วแต่ท่านใดจะเชื่อหรือไม่"

แต่ขอเรียนให้ทุกท่านทราบครับ ผมปฏิบัติธรรมมาอย่างนี้แล้วเจอมาอย่างนี้ก็บอกอย่างนี้
ผมไม่ได้ยกตำรามาบอก แต่บอกผลการปฏิบัติอ้างอิงตำราครับ

การปฏิบัติธรรมจะมาตีความตามตำรา เหมือนตีความกฎหมายไม่ได้ครับ เพราะจะทำให้หลงทางได้ครับ ขนาดผู้ปฏิบัติตามตำราแท้ ๆ ยังหลงทางได้เลยครับ

ต้องมีทั้งปริยัติ และปฏิบัติ จึงจะมีปฏิเวธครับ เป็นสันทิฏฐิโก และ ปัจจัตตังครับ




ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อรูปาวจรกุศล จบ
------------

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล .




ท่านเช่นนั้นและท่านผู้อ่านครับ

ภาษาในถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกความเป็นปริยัติ ได้ไหมครับ ?
ภาษาในถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกความเป็นการปฏิบัติ ได้ไหมครับ ?
ภาษาในถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกความเป็นสันทิฏฐิโก ได้ไหมครับ ?
ภาษาในถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกความเป็นปัจจัตตัง ได้ไหมครับ ?
ภาษาในถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกความเป็นญาณ ได้ไหมครับ ?
ภาษาในถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกความเป็นวิมุตติ ได้ไหมครับ ?
ภาษาในถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกความเป็นวิมุตตญาณทัสสนะ ได้ไหมครับ ?



เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ.



ก็อย่างที่ผมบอกครับ "สุดแล้วแต่ท่านใดจะเชื่อหรือไม่"

แต่ขอเรียนให้ทุกท่านทราบครับ ผมปฏิบัติธรรมมาอย่างนี้แล้วเจอมาอย่างนี้ก็บอกอย่างนี้
ผมไม่ได้ยกตำรามาบอก แต่บอกผลการปฏิบัติอ้างอิงตำราครับ

การปฏิบัติธรรมจะมาตีความตามตำรา เหมือนตีความกฎหมายไม่ได้ครับ เพราะจะทำให้หลงทางได้ครับ ขนาดผู้ปฏิบัติตามตำราแท้ ๆ ยังหลงทางได้เลยครับ

ต้องมีทั้งปริยัติ และปฏิบัติ จึงจะมีปฏิเวธครับ เป็นสันทิฏฐิโก และ ปัจจัตตังครับ

guest - 125.26.143.252 [8 ก.ค. 2551 00:34 น.] คำตอบที่ 86


ร่วมสนทนาด้วยครับ

ไม่แปลกสำหรับนักปฏิบัติในปัจจุบันครับที่คิดอย่างคุณ guest เพราะส่วนใหญ่ จะไม่เข้าใจสภาวะธรรม ที่ถูกต้อง ไม่เข้าใจว่า จิต นั้น มี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นเจตสิกอยู่ในจิต เป็นปัจจัยกันและกัน และเกิดร่วมเกิดพร้อมกันใน
จิตดวงเดียวครับ...

การศึกษา หากละทิ้งการปริยัติ ที่ถูกต้อง ไม่มีนำพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกมาเป็น
เข็มทิศแล้ว ก็หลงไปตามความไม่รู้นั้นแหระครับ
เท่ากับเข้าใจสภาวะธรรมที่ผิด การปฏิบัติ แม้ว่าจะได้ความสุข ความศรัทธาเพิ่มขึ้น
แต่ก็ไม่อาจจะสอนใคร หรือแนะนำใครได้อย่างถูกต้องครับ

ที่สำคัญคือ หลง ครับ..และ แป๊ก !! (ตัน)
ไม่อาจปฏิบัติไปสู่ทางมรรค-ผลนิพพานได้ครับ

เรื่องปัจจัตตัง ใครก็กล่าวเช่นนั้นได้ครับ

ปัจจัตตังนั้น เป็นความรู้สึกด้วยสัญญาที่ยังไม่ประกอบด้วย ปัญญาญาณก็มีมากครับ ใครก็ปัจจัตตังได้ครับ(เป็นสภาวะหนึ่ง) จะเห็นว่า ในแต่ละศาสนาอื่นของเขาก็
มีปัจจัตตัง เพียงแต่ใช้คนละภาษา...ไม่เช่นนั้น เขาก็คงไม่ฆ่าฟัน ทำลายล้างกันมาเป็นพันปี
เพราะปัจจัตตังของใครของมันนี่หระครับ...ก็มันศรัทธานี่ครับ คิดว่าพระเจ้า คำสอน
ของพระเจ้าตนนั้น เมื่อข้าฯได้ปฏิบัติแล้วเกิดความสุข ความศรัทธาที่ไม่เคยมีมาก่อน
เลยไม่ฟังกัน นี่หระครับ เกิดการยัดเยียดข่มขู่ด้วยอำนาจเพื่อให้มาศรัทธพระเจ้า
ของตนเอง...ก็เพราะไปยึดปัจจัตตังนี่หระครับ

คำว่า "ปัญญาญาณ" ในที่นี้ หมายถึงญาณทัสนะ อันเกิดจากอริยสัจ๔นะครับ
คือต้องรู้ว่า อะไรคือทุกข์ ที่ควรกำหนดรู้
ต้องรู้ว่า อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ ที่ควร"ละ"
ต้องรู้ว่า อะไรคือความดับทกุข์ ที่ควรนำไปทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
ต้องรู้ว่า อะไรคือทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ ที่ควรนำไปเจริญ(ปฏิบัติ ทำให้มาก)

จำเริญในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ





คำว่า "ปัญญาญาณ" ในที่นี้ หมายถึงญาณทัสนะ อันเกิดจากอริยสัจ๔นะครับ
คือต้องรู้ว่า อะไรคือทุกข์ ที่ควรกำหนดรู้
ต้องรู้ว่า อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ ที่ควร"ละ"
ต้องรู้ว่า อะไรคือความดับทกุข์ ที่ควรนำไปทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
ต้องรู้ว่า อะไรคือทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ ที่ควรนำไปเจริญ(ปฏิบัติ ทำให้มาก)

จำเริญในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ

aa1234 DT02104 [8 ก.ค. 2551 15:54 น.] คำตอบที่ 88

ถ้ามีญาณทัสนะแล้ว ก็ขออนุโมทนาด้วยครับ


ขอเพิ่มเติมความหมายครับ

สันทิฏฐโก หมายถึง รู้เองเห็นเองครับ

ปัตจัตตัง หมายถึง รู้จำเพาะตน คือตอนรู้รู้คนเดียวคนอื่นไม่ได้มารู้ด้วย แต่รู้เหมือนกันครับในหลักสำคัญเช่น อริยสัจ ๔

แต่ที่ต่างกันบ้างก็มีเช่น พระอรหันต์วิปัสสโก พระอรหันต์เตวิชโช พระอรหันต์ฉฬภิญโญ พระอรหันต์ปฏิสัมภิโท ท่านรู้ต่างกันครับ และพระพุทธองค์ซึ่งเป็นโลกวิทู ความรู้ของพระองค์รู้แจ้งหมดครับประมาณไม่ได้ครับ แค่ที่บัญญัติไว้ 84,000 พระธรรมขันธ์ แค่พอประมาณรื้อขนสัตว์โลกเท่านั้นครับ นิดเดียวครับเมื่อเทียบกับความรู้ของพระพุทธองค์


สาธุ





--------------------------------------------------------------------------------------
http://nintendo3dsblackfridaysale.com
http://theblackfridayipodtouch.us
http://www.blackfridayund8000.com
http://astore.amazon.com/bestvacuumcleanerforhardwoodfloors-20
http://astore.amazon.com/best-upright-vacuum-cleaner-20
http://astore.amazon.com/best-vacuum-for-pet-hair-20
http://astore.amazon.com/mielevacuumreviews-20



 4,132 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย