ขอถวายความรู้เรื่องสังขารุเปกขาญาณ ที่ถูกต้องแด่พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี

 Apipanyo    


 
ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ

สังขารุเปกขาญาณ = ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ฯ

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้งพิจารณา หาทางและวางเฉยอยู่
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเป็นไป ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจาก สังขารนิมิต ฯลฯ .....
.....จากกรรมเครื่องประมวลมา
.....จากปฏิสนธิ
.....จากคติ
.....จากความบังเกิด
.....จากความอุบัติ
.....จากชาติ
.....จากชรา
.....จากพยาธิ
.....จากมรณะ
.....จากความโศก
.....จากความรำพัน
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง แลวางเฉยอยู่ว่า.....
..... ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์
..... ความเป็นไปทุกข์
..... สังขารนิมิตเป็นทุกข์ ฯลฯ
..... ความคับแค้นใจเป็นทุกข์

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า.....
..... ความเกิดขึ้นเป็นภัย
..... ความเป็นไปเป็นภัย ฯลฯ
..... ความคับแค้นใจเป็นภัย

..... ความเกิดขึ้นมีอามิส
..... ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ
..... ความคับแค้นใจมีอามิส

..... ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร
..... ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ
..... ความ คับแค้นใจเป็นสังขาร

ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ
.....นิมิตเป็นสังขาร
.....กรรมเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร
.....ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร
.....ความบังเกิดเป็นสังขาร
.....ความอุบัติเป็นสังขาร
.....ชาติเป็นสังขาร
.....ชราเป็นสังขาร
.....พยาธิเป็นสังขาร
.....มรณะเป็นสังขาร
.....ความโศกเป็นสังขาร
.....ความรำพันเป็นสังขาร
.....ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ


การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วย อาการ ๒ คือปุถุชน...
.....ย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑
.....ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ คือ พระเสขะ...
.....ย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑
.....ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
.....พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย อาการ ๓ คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ...
.....ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
.....พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑
.....วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็น อย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้
......ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป
.....พระเสขะยินดีสังขารุเปกขา ก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนามีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัย แห่งปฏิสนธิต่อไป

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้
.....ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
.....พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
.....ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็น สังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและ อัพยากฤตอย่างนี้
.....สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล
.....สังขารุเปกขาของพระเสขะก็เป็นกุศล
.....สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้
.....สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญ วิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย
.....สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏ ดีในการนิดหน่อย
.....สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้
..... ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
..... พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
..... ท่านผู้ปราศจาก ราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละ กิเลสไม่ได้อย่างนี้
.....ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อต้องการ ได้โสดาปัตติมรรค
..... พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง ขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว
.....ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณา สังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง ได้แล้ว

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและของท่านผู้ ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพ แห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
.....พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง
.....ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ


สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อม เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ

สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ ตติยฌาน
..... ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ


สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ

ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
.....เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
.....เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค
..... เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
.....เพื่อต้องการได้อนาคามิผล สมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้อรหัตมัค
.....เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ
..... เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ

สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย ...
.....เป็นโคจรภูมิของสมาธิ-จิต ๘
.....เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒
.....เป็นโคจรภูมิของพระเสขะ ๓
.....เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓
.....เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘
.....เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐

สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา

พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณา หาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ 



ศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระไตรปิฎกออนไลน์เล่มที่ 31

http://www.tipitaka.com/tipitaka31.htm


 เจริญในธรรมครับ 






ประมาณ ๑๕ วันต่อมา (ตอนนั้นข้าพเจ้าถึงญาณที่ ๑๑แล้ว) เวลาประมาณ ๓ ทุ่มครึ่ง ข้าพเจ้ากำลังเตรียมตัวจำวัด ก็ได้ยินเสียงคล้ายเด็กร้องให้ สะอื้นเบา ที่ระเบียงใกล้หน้าต่าง บางครั้งก็ร้องให้ บางครั้งก็หัวเราะบ่นพึมพำสลับกันไป ทำให้ข้าพเจ้าขนพองสยองเกล้าขึ้นมาทันที "เราโดยผีหลอกเข้าให้แล้ว" แต่ก็พยายามแข็งใจเดินออกไปดูให้เห็นกับตาว่าผีจริงหรือเปล่า (อยากเห็นมานานแล้ว จะได้นำไปเทศน์ให้โยมฟังได้เต็มปากเต็มคำว่า ผีมีจริง) พอออกไปดู เห็นหลวงพี่(ที่ชอบพูดอวดแสงสีของตนนั่นแหละ) กำลังนั่งร้องให้อยู่ ก็เลยนึกสงสาร เข้าไปตามว่า "หลวงพี่ มีอะไรหรือเปล่า ทำไมมานั่ง(ร้องให้)อยู่ตรงนี้" ท่านก็เดินกลับพร้อมกับพูดว่า " วันนี้จะร้องให้เป็นวันสุดท้ายแล้ว ต่อไปจะไม่ร้องอีกแล้ว" ข้าพเจ้าฟังแล้วก็งงว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ไม่กล้าถาม ท่านก็เดินร้องให้พึมพำเดินเข้ากุฏิไป นอนร้องให้ต่อ เวลาประมาณ ตี ๒ เสียงร้องก็ดังแรงขึ้นๆ จนได้ยินชัดเจน นึกสงสารอยากช่วย( .... ) จึงลุกขึ้นไปดู ได้ยินเสียงท่านบ่นพึมพำว่า "ไอ้เฮีย? กูเคยเห็นมึงแล้วมึงมาทำไมอีกวะ มึงไม่ต้องมาหรอก กูเคยเห็นมึงแล้ว ท้อง(พอง-ยุบ)ทำไมมันเบานักวะ" พร้อมกับเอากำมือทุบหน้าท้องไปด้วย ข้าพเจ้าบอกท่านว่า "กำหนดตามที่มันเป็นซิ เดี๋ยวมันก็ดับไปเอง รู้ก็ให้กำหนดว่ารู้ เห็นก็ให้กำหนดว่าเห็น" เสียงท่านก็เบาลงพักหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าหลังจากนั้นจะดังขึ้นอีกหรือเปล่า



รุ่งเช้า ท่านไปส่งอารมณ์ สยาดอบอกว่า "ไม่ต้องกลัว มันเป็นเพียงสภาวของภยญาณ (ญาณที่ ๖) สาเหตุเกิดจากการไม่ยอมกำหนดแสงสีตั้งแต่ต้น ปล่อยให้จิตเข้าไปยึดมั่นยินดีกับสิ่งที่เห็นจนปัญญา ญาณอ่อนกำลัง กำหนดเท่าไรก็ไม่ดับซะที บวกกับท่านเป็นคนขี้กลัวอยู่ด้วยจึงทำให้เป็นเช่นนี้"


ตั้งแต่บัดนั้น ข้าพเจ้าไม่เคยนึกอยากเห็นแสงสีอีกเลย ถ้าเห็นแล้วเป็นแบบนี้ขอไม่เห็นดีกว่า ต่อมาแม้จะเห็นอยู่บ้างในบางบัลลังก์ ก็พยายามเบี่ยงหน้าหนี และรีบกำหนดให้ดับไปในทันที .. ไม่อยากนั่งร้องให้ขี้มูกโป่ง..?


พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.216.185 [13 มิ.ย. 2551 05:21 น.] คำตอบที่ 20






ท่านยังไม่ผ่านสังขารุเปกขาญาณหรอกครับท่าน
จิตของท่านขณะนั้นเป็นอกุสล ให้ผลเป็นทุข์

การปฏิบัติธรรมเป็นการยัง/หรือสร้าง กุศลจิตให้เกิดขึ้น
กุศลให้ผลเป็นสุขครับ ปฏิบัติธรรมแล้วทุกข์ ไม่ใช่ลักษณะของ กุศลจิตครับ

แต่ขณะปฏิบัติท่านมีความทุกข์ แสดงว่าจิตท่านเป็นอกุศล
เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ท่านต้องการความสุข ต้องการความหลุดพ้น แต่ท่านทำเหตุให้เกิดทุกข์ด้วยอกุศลิจต
เป็นการปฏิบัติที่สวนทางกันกับมัคคผลนิพพานครับท่าน
การปฏิบัติธรรมของท่านเป็นการปฏิบัติผิดแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ครับ
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารุเปกขาญาณ ที่ถูกต้องเป็นดังนี้ครับ



สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อม เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ

สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ ตติยฌาน
..... ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ


สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ

ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
.....เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
.....เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค
..... เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
.....เพื่อต้องการได้อนาคามิผล สมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้อรหัตมัค
.....เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ
..... เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ

สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย ...
.....เป็นโคจรภูมิของสมาธิ-จิต ๘
.....เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒
.....เป็นโคจรภูมิของพระเสขะ ๓
.....เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓
.....เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘
.....เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐

สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา

พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณา หาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ

เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ




สังขารุเปกขญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว จิตเป็นกลางต่ออารมณ์ เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้ ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์

เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจสงบวางเฉยไม่มีทุกขเวทนารบกวน และสามารถกำหนด สภาวะต่าง ๆ ได้ดียิ่ง ผู้ปฏิบัติได้เห็นคุณค่าของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก

ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้น เป็นธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพานเลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรคอันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึดหรืออกจากสังขาร

สภาวะของญาณนี้ : สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูป-นาม คือ เมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติ ในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเห็นทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้ สภาวะของจิตใจจะดิ้นรน ไม่ต้องการจะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติ จริง ๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้า แล้วไม่มีทาง ก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้น มันก็ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจ มันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๑๒


อ่านหลักฐานอ้างอิงได้ที่

http://www.wattamaoh.com/download/วิปัสสนานัย/เล่ม2/วิปัสสนานัย-เล่ม2-part3.pdf

coppy ไปวางได้เลยครับ








จากประสบการณ์....ขอให้ผู้รู้ช่วยตัดสินให้หน่อยก็แล้วกัน....หรือต้องการพิสูจน์ด้วยตนเองก็ติดต่อได้...จะแนะนำสถานที่ปฏิบัติให้



ปฏิบัติย่างเข้าเดือนที่ ๕

...............วันต่อมา ขณะที่กำลังนั่งบัลลังก์สุดท้าย นั่งไปได้ประมาณ ๑ ชั่วโมงครึ่ง รู้สึกเจ็บที่หัวใจ แล้วอาการค่อย ๆ แรงขึ้นๆ รู้สึกเหมือนกับมีบางสิ่งบางอย่างที่เล็กมากกำลังรุมกัดกินหัวใจอยู่ กำหนด "ปวดหนอๆๆ"ไป เรื่อยๆ ยิ่งกำหนดอาการปวดก็ยิ่งกระจายออก รู้สึกปวดๆ คันๆ จั๊กจี๊เล็กน้อย กระจายไปทั่วตั้งแต่ราวนมขึ้นมาจนถึงศีรษะ ทันใดนั้นก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า "นี่มันหนอนชัด ๆ " แต่ก็ไม่มั่นใจมากนัก อาการค่อย ๆ ชัดขึ้น ๆๆ มีอยู่ตัวหนึ่งไต่มาที่แก้มทำให้รับรู้ถึงสัมผัสของจังหวะการกระตึ๊บตัวของมันได้ชัดเจนขึ้น "นี่มันหนอนจริงๆ..หนิ?"

....... ความรู้สึกรังเกียจตัวเองค่อยๆเข้าเกาะกุมหัวใจ ยิ่งอาการปรากฎชัดก็ยิ่งรู้สึกรังเกียจ จึงบ่นรำพันอยู่ในใจว่า "เรายังไม่ตายเลยนะ เน่าแล้วหรือนี่?" ด้วยความที่ยังยึดร่างกายว่าเป็นของเราอยู่ จึงอยากจะสบัดให้ตัวหนอนเหล่านี้หลุดออกไปให้หมด แต่ยังมีสติรู้อยู่ว่า นี้เป็นเพียงสภาวะธรรม มิใช่ของจริง บางขณะจิตก็นึกอยากจะเปิดตาออกดูว่าเป็นหนอนจริงหรือเปล่า? แต่ก็กลัวว่า ถ้าเห็นเข้าจริงๆ คงจะเป็นบ้าไปแน่ จึงไม่กล้าเปิดตาออก พอออกจากบัลลังก์ อาการต่าง ๆ ก็หายไป แต่ความรู้สึกรังเกียจตนเองยังมีอยู่และรุนแรงขึ้นทุกครั้งที่เผลอคิดถึงความรู้สึกในช่วงนั้น เข้าใจเอาเองว่า เราน่าจะถึงนิพพิทาญาณแล้ว และเกิดอัศจรรย์ใจขึ้นมาว่า "ลำดับญาณ ๑๖ ที่มีอยู่ในตำรามันของจริงทั้งนั้น มิใช่พระสมัยก่อนเขียนขึ้นเอาเอง ในเมื่อประสบเข้ากับตนเองเช่นนี้ ถึงไม่อยากเชื่อก็จำเป็นต้องเชื่อแล้ว....." แต่ก็ยังนึกสงสัยอยู่ว่า "แล้วมรรคผล นิพพานละ เราจะไปถึงขึ้นนั้นได้หรือเปล่า?" จึงเร่งความเพียร่ขึ้นไปอีก กำหนดถี่ ๆ แรง ๆ อาการปวดก็ยังมีอยู่ จะรุนแรงขึ้นในชั่วโมงที่ ๒-๓ แทบทุกบัลลังก์ อาการปวดรัดซ่า ๆ บนศีรษะก็ปรากฎรุนแรงขึ้นบ้างในบางบัลลังก์ พยายามกำหนดไปเรื่อยๆ ช่วงนี้แทบไม่พูดคุยกับใครเลย กำหนดอย่างเดียวทุกอริยาบถแบบถี่ยิบ.. ที่เผลอสติหลุดกำหนดมีน้อยมาก

ปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนครบ ๑ เดือนเต็มพอดี สยาดอบอกว่า "ท่านถึงญาณที่ ๑๑ แล้วนะ เข้าสังขารุฯเป็นรูปแรกด้วย" ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจ ผสมดีใจและสงสัยว่า ท่านเอาอะไรมาตัดสิน แต่ไม่ได้สอบถาม ด้วยเข้าใจว่าท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้ชำนาญคงจะมีหลักในการตัดสินของท่าน"




นอนลอยอยู่ในอวกาศ

หลังจากเข้าสังขารุเปกขาญาณไปแล้ว มีอยู่หลายครั้งที่ข้าพเจ้าเอนหลังพักผ่อนหลังเที่ยงประมาณ ๔๐ นาที ทันทีที่ศีรษะถึงหมอนแล้วหลับตาลง รู้สึกเหมือนมีพัดลมตัวใหญ่เป่าใส่แผ่นหลังอยู่ตลอดเวลา เป่าแรงขึ้นเรื่อยๆ จนตัวค่อยๆลอยขึ้นๆ ครั้งแรกลอยขึ้นเฉพาะขาทั้งสองข้าง แต่แผ่นหลังยังติดพื้นอยู่ แล้วอาการต่างๆก็ดับหายไป วันต่อ ๆ มาลอยขึ้นได้ทั้งตัว มีอยู่วันหนึ่งลอยไปในอวกาศเห็นดวงดาว และอุกกาบาตมากมาย บางครั้งเห็นภาพแปลก ยิ่งลอยไปไกลก็ยิ่งรู้สึกกลัว ๆ เสียว ๆ จากนั้นตัวก็ค่อย ๆ หมุนลอยคว้างอยู่ในอวกาศ หมุนเร็วขึ้น ๆ ทั้งกลัวทั้งเสียวผสมกัน(บรรยายไม่ถูก..) จึงกำหนดในใจว่า "กลัวหนอๆๆ" เสียวหนอๆๆๆ" "รู้หนอๆๆ" เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สักพักหนึ่งอาการหมุนก็ค่อย ๆ ช้าลง ๆ จนนิ่งแล้วเงียบไป รู้สึกตัวอีกที ตื่นจำวัด ตรงเวลาแทบทุกวัน คือ ก่อนบ่ายโมง ๕ นาที แล้วย้อนไปพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า คิดว่า น่าจะเกิดจากกำลังสมาธิที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องกว่า ๑ เดือน ทำให้จิตและสภาวะธาตุในร่างกายรู้สึกเบาสบายมากว่า มิใช่ลอยไปในอวกาศจริง ๆ และมีอยู่หลายครั้งเช่นกันที่รู้สึกเหมือนกับนอนตกลงไปในเหวลึก แผ่นหลังปะทะกับลมอยู่ตลอดเวลา ยิ่งตกไปลึกลมที่ปะทะแผ่นหลังก็ยิ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ กำหนดในใจว่า "กลัวหนอๆๆ" เสียวหนอๆๆ" ตกไปนานเท่าไหร่ก็ไม่ถึงก้นเหวสักที ทำให้เกิดสติระลึกขึ้นมาว่า นี่ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงสภาวะเบาสบายของธาตุลมเท่านั้น จากนั้นสภาวะต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ หายไป รู้สึกตัวอีกที ตื่นก่อนบ่ายโมง ๕ นาที



ประมาณ ๒ เดือนต่อมา (รวมเป็น ๓ เดือน) คนแปลภาษาก็เฝ้าแต่จะถามว่า "ขณะนั่งอยู่มีอาการวูบไป ดับไปบ้างมั๊ย?" ก็ตอบไปว่า "มีนั่งโงกหลับบ้างในบางบัลลังก์ ส่วนมากจะนั่งมีสติดี ตัวตรง ไม่โงก ไม่ง่วงเลย บางบัลลังก์นั่งสว่างไสว สติคมชัดมาก" แต่มีเพื่อนหลายรู้ส่งอารมณ์ว่า บัลลังก์นี้ดับไป ๑๐ นาที บัลลังก์นี้ ๒๐ นาที บางรูปดับไม่รู้ไป ๑ ชั่วโมงก็มี มีอยู่รูปหนึ่งบอกว่า นั่งได้สัก ๔-๕ นาทีแล้วลุกขึ้น หันไปดูนาฬิกาปรากฏว่า เวลาผ่านไปแล้ว ๑ ชั่วโมงกว่าแล้ว พอข้าพเจ้าได้ยินเช่นนั้นทำให้ต้องย้อนกลับมามองตนเองว่า ข้าพเจ้าถึงสังขารุเปกขาญาณ(ญาณ ๑๑)เป็นรูปแรก แต่ตอน นี้เขาล้ำหน้าไปไกลแล้ว ทำไมเรายิ่งนั่งยิ่งสว่างไสวกลางคืนเหมือนกลางวันอยู่ ไม่มีทีท่าว่าจะวูบ จะดับเลย พอย่างเข้าเดือนที่ ๔ ก็ทำให้รู้สึกท้อแท้ และเข้าใจเอาเองว่า ตนเองคงไม่มีบุญกับเขาหรอก ชาตินี้คงจะบรรลุมรรคผลไม่ได้ หรือไม่ก็คงปรารถนาพุทธภูมิเอาไว้ กำหนดเท่าไหร่รูป-นามสังขารธรรมก็ยังไม่ดับเสียที ทำให้คิดจะเลิกปฏิบัติอยู่หลายครั้ง พอเข้าเดือนที่ ๕ รู้สึกท้อมากจึงนำความไปเรียนสยาดอ





อ่านหลักฐานอ้างอิงได้ที่

http://www.wattamaoh.com/download/วิปัสสนานัย/เล่ม2/วิปัสสนานัย-เล่ม2-part3.pdf

coppy ไปวางได้เลยครับ




จากประสบการณ์....ขอให้ผู้รู้ช่วยตัดสินให้หน่อยก็แล้วกัน....หรือต้องการพิสูจน์ด้วยตนเองก็ติดต่อได้...จะแนะนำสถานที่ปฏิบัติให้


ท่านเป็นถึงพระมหาเปรียญ จบการศึกษาจาก มจร..สิ่งที่ท่านใช้อ้างอิงน่าจะเป็นพระไตรปิฎก แต่ท่านไม่ใช้มาอ้างอิง แต่กลับไปอ้างตำราที่แต่งขึ้นมาจากเว็ปไซด์อื่นที่แต่งเอง แสดงถึงภูมิปัญญาอันอ่อนด้อยของท่านครับ แสดงว่าท่านมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาน้อยอย่างยิ่งครับ จิตแบบนี้เป็นโมหะเป็นอกุศลจิตครับท่าน อย่าไปภูมิใจว่าดีนะครับ จิตแบบนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไปครับ




ปฏิบัติย่างเข้าเดือนที่ ๕

...............วันต่อมา ขณะที่กำลังนั่งบัลลังก์สุดท้าย นั่งไปได้ประมาณ ๑ ชั่วโมงครึ่ง รู้สึกเจ็บที่หัวใจ แล้วอาการค่อย ๆ แรงขึ้นๆ รู้สึกเหมือนกับมีบางสิ่งบางอย่างที่เล็กมากกำลังรุมกัดกินหัวใจอยู่ กำหนด "ปวดหนอๆๆ"ไป เรื่อยๆ ยิ่งกำหนดอาการปวดก็ยิ่งกระจายออก รู้สึกปวดๆ คันๆ จั๊กจี๊เล็กน้อย กระจายไปทั่วตั้งแต่ราวนมขึ้นมาจนถึงศีรษะ ทันใดนั้นก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า "นี่มันหนอนชัด ๆ " แต่ก็ไม่มั่นใจมากนัก อาการค่อย ๆ ชัดขึ้น ๆๆ มีอยู่ตัวหนึ่งไต่มาที่แก้มทำให้รับรู้ถึงสัมผัสของจังหวะการกระตึ๊บตัวของมันได้ชัดเจนขึ้น "นี่มันหนอนจริงๆ..หนิ?"

....... ความรู้สึกรังเกียจตัวเองค่อยๆเข้าเกาะกุมหัวใจ ยิ่งอาการปรากฎชัดก็ยิ่งรู้สึกรังเกียจ จึงบ่นรำพันอยู่ในใจว่า "เรายังไม่ตายเลยนะ เน่าแล้วหรือนี่?" ด้วยความที่ยังยึดร่างกายว่าเป็นของเราอยู่ จึงอยากจะสบัดให้ตัวหนอนเหล่านี้หลุดออกไปให้หมด แต่ยังมีสติรู้อยู่ว่า นี้เป็นเพียงสภาวะธรรม มิใช่ของจริง บางขณะจิตก็นึกอยากจะเปิดตาออกดูว่าเป็นหนอนจริงหรือเปล่า? แต่ก็กลัวว่า ถ้าเห็นเข้าจริงๆ คงจะเป็นบ้าไปแน่ จึงไม่กล้าเปิดตาออก พอออกจากบัลลังก์ อาการต่าง ๆ ก็หายไป แต่ความรู้สึกรังเกียจตนเองยังมีอยู่และรุนแรงขึ้นทุกครั้งที่เผลอคิดถึงความรู้สึกในช่วงนั้น เข้าใจเอาเองว่า เราน่าจะถึงนิพพิทาญาณแล้ว และเกิดอัศจรรย์ใจขึ้นมาว่า "ลำดับญาณ ๑๖ ที่มีอยู่ในตำรามันของจริงทั้งนั้น มิใช่พระสมัยก่อนเขียนขึ้นเอาเอง ในเมื่อประสบเข้ากับตนเองเช่นนี้ ถึงไม่อยากเชื่อก็จำเป็นต้องเชื่อแล้ว....." แต่ก็ยังนึกสงสัยอยู่ว่า "แล้วมรรคผล นิพพานละ เราจะไปถึงขึ้นนั้นได้หรือเปล่า?" จึงเร่งความเพียร่ขึ้นไปอีก กำหนดถี่ ๆ แรง ๆ อาการปวดก็ยังมีอยู่ จะรุนแรงขึ้นในชั่วโมงที่ ๒-๓ แทบทุกบัลลังก์ อาการปวดรัดซ่า ๆ บนศีรษะก็ปรากฎรุนแรงขึ้นบ้างในบางบัลลังก์ พยายามกำหนดไปเรื่อยๆ ช่วงนี้แทบไม่พูดคุยกับใครเลย กำหนดอย่างเดียวทุกอริยาบถแบบถี่ยิบ.. ที่เผลอสติหลุดกำหนดมีน้อยมาก

ปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนครบ ๑ เดือนเต็มพอดี สยาดอบอกว่า "ท่านถึงญาณที่ ๑๑ แล้วนะ เข้าสังขารุฯเป็นรูปแรกด้วย" ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจ ผสมดีใจและสงสัยว่า ท่านเอาอะไรมาตัดสิน แต่ไม่ได้สอบถาม ด้วยเข้าใจว่าท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้ชำนาญคงจะมีหลักในการตัดสินของท่าน"


ตรงนี้ก็อกุศลจิตครับท่าน อกุศลให้ผลเป็นทุกข์
อกุศลมูลเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ เห็นได้จากยิ่งทุกข์ยิ่งกระวนกระวายใจ
ที่ท่านเกิดอาการเบื่อนั่นเรียกว่าวิภาวะตัณหาครับ คืออยากไม่มีไม่เป็นอย่างที่มันจะต้องมีจะต้องเป็นครับ ไม่ใช่นิพพิทาญาณหรอกครับ สยาดออาจารย์ผู้สอนของท่านไม่มีความรู้ในสภาวะธรรมนี้หรอกครับท่าน.




นอนลอยอยู่ในอวกาศ

หลังจากเข้าสังขารุเปกขาญาณไปแล้ว มีอยู่หลายครั้งที่ข้าพเจ้าเอนหลังพักผ่อนหลังเที่ยงประมาณ ๔๐ นาที ทันทีที่ศีรษะถึงหมอนแล้วหลับตาลง รู้สึกเหมือนมีพัดลมตัวใหญ่เป่าใส่แผ่นหลังอยู่ตลอดเวลา เป่าแรงขึ้นเรื่อยๆ จนตัวค่อยๆลอยขึ้นๆ ครั้งแรกลอยขึ้นเฉพาะขาทั้งสองข้าง แต่แผ่นหลังยังติดพื้นอยู่ แล้วอาการต่างๆก็ดับหายไป วันต่อ ๆ มาลอยขึ้นได้ทั้งตัว มีอยู่วันหนึ่งลอยไปในอวกาศเห็นดวงดาว และอุกกาบาตมากมาย บางครั้งเห็นภาพแปลก ยิ่งลอยไปไกลก็ยิ่งรู้สึกกลัว ๆ เสียว ๆ จากนั้นตัวก็ค่อย ๆ หมุนลอยคว้างอยู่ในอวกาศ หมุนเร็วขึ้น ๆ ทั้งกลัวทั้งเสียวผสมกัน(บรรยายไม่ถูก..) จึงกำหนดในใจว่า "กลัวหนอๆๆ" เสียวหนอๆๆๆ" "รู้หนอๆๆ" เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สักพักหนึ่งอาการหมุนก็ค่อย ๆ ช้าลง ๆ จนนิ่งแล้วเงียบไป รู้สึกตัวอีกที ตื่นจำวัด ตรงเวลาแทบทุกวัน คือ ก่อนบ่ายโมง ๕ นาที แล้วย้อนไปพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า คิดว่า น่าจะเกิดจากกำลังสมาธิที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องกว่า ๑ เดือน ทำให้จิตและสภาวะธาตุในร่างกายรู้สึกเบาสบายมากว่า มิใช่ลอยไปในอวกาศจริง ๆ และมีอยู่หลายครั้งเช่นกันที่รู้สึกเหมือนกับนอนตกลงไปในเหวลึก แผ่นหลังปะทะกับลมอยู่ตลอดเวลา ยิ่งตกไปลึกลมที่ปะทะแผ่นหลังก็ยิ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ กำหนดในใจว่า "กลัวหนอๆๆ" เสียวหนอๆๆ" ตกไปนานเท่าไหร่ก็ไม่ถึงก้นเหวสักที ทำให้เกิดสติระลึกขึ้นมาว่า นี่ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงสภาวะเบาสบายของธาตุลมเท่านั้น จากนั้นสภาวะต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ หายไป รู้สึกตัวอีกที ตื่นก่อนบ่ายโมง ๕ นาที


แม้แต่ความฝันด้วยจิตที่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจของโมหะอันน่าละอาย ท่านยังเอามาอ้างอิง เอามาโม้มาอวดกระนั้นหรือครับ ??




ประมาณ ๒ เดือนต่อมา (รวมเป็น ๓ เดือน) คนแปลภาษาก็เฝ้าแต่จะถามว่า "ขณะนั่งอยู่มีอาการวูบไป ดับไปบ้างมั๊ย?" ก็ตอบไปว่า "มีนั่งโงกหลับบ้างในบางบัลลังก์ ส่วนมากจะนั่งมีสติดี ตัวตรง ไม่โงก ไม่ง่วงเลย บางบัลลังก์นั่งสว่างไสว สติคมชัดมาก" แต่มีเพื่อนหลายรู้ส่งอารมณ์ว่า บัลลังก์นี้ดับไป ๑๐ นาที บัลลังก์นี้ ๒๐ นาที บางรูปดับไม่รู้ไป ๑ ชั่วโมงก็มี มีอยู่รูปหนึ่งบอกว่า นั่งได้สัก ๔-๕ นาทีแล้วลุกขึ้น หันไปดูนาฬิกาปรากฏว่า เวลาผ่านไปแล้ว ๑ ชั่วโมงกว่าแล้ว พอข้าพเจ้าได้ยินเช่นนั้นทำให้ต้องย้อนกลับมามองตนเองว่า ข้าพเจ้าถึงสังขารุเปกขาญาณ(ญาณ ๑๑)เป็นรูปแรก แต่ตอน นี้เขาล้ำหน้าไปไกลแล้ว ทำไมเรายิ่งนั่งยิ่งสว่างไสวกลางคืนเหมือนกลางวันอยู่ ไม่มีทีท่าว่าจะวูบ จะดับเลย พอย่างเข้าเดือนที่ ๔ ก็ทำให้รู้สึกท้อแท้ และเข้าใจเอาเองว่า ตนเองคงไม่มีบุญกับเขาหรอก ชาตินี้คงจะบรรลุมรรคผลไม่ได้ หรือไม่ก็คงปรารถนาพุทธภูมิเอาไว้ กำหนดเท่าไหร่รูป-นามสังขารธรรมก็ยังไม่ดับเสียที ทำให้คิดจะเลิกปฏิบัติอยู่หลายครั้ง พอเข้าเดือนที่ ๕ รู้สึกท้อมากจึงนำความไปเรียนสยาดอ



พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.186.195 [15 มิ.ย. 2551 15:48 น.] คำตอบที่ 45


สภาวะธรรมอย่างนี้เขาเรียกว่าหลับครับ ไม่ใช่ดับ
ยังไม่บรรลุกำลังแห่งอภิญญาอยู่ตราบใด การที่พวกท่านจะดับนามขันธ์คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ย่อมเป็นไปไม่ได้ครับ

จิตแบบนี้เรียกว่าจิตทำหน้าที่เป็นภวังค์ คืออกุศลวิบาก หรือกามาวจรกุศลวิบาก อันวิปปยุตจากญาณมาให้ผล จึงทำให้หลับขณะปฏิบัติธรรมครับ


จิตหลับครับ ไม่ใช่จิตดับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ.




ท่านมานั่งวิจารย์ผม..ยังก็เป็นพระอรหันต์เลยนะครับ....

ช่วยอธิบายวิธีปฏิบัติ..และสภาวะญาณจากประสบการณ์จริงของท่านให้ผมอ่านบ้างซิครับ


...ผมชักจะเริ่มศรัทธาในภูมิธรรมของท่านบ้างแล้วนะนี่...แต่ขอจากประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง..นะครับ...

แค่ coppy มาวาง ไม่เอานะครับ


แล้วที่ท่านให้ร้ายว่า..หนังสือที่ผมนำมาอ้าง..เป็นหนังสือแต่เอง...แล้วท่านอ่านเขิงอรรถของข้อความในหนังสือแล้วหรือยัง....ว่า แต่ละข้อความนำมาจากคัมภีร์ไหนบ้าง

สาธุครับ



ผมแค่เล่าประสบการณ์จากการณ์ปฏิบัติ..ให้ฟัง..เพื่อให้ผู้รู้จริงช่วยวิจารย์

...แต่ท่านกลับให้อคติว่า...ผมโม้ โอ้อวด...

ในเมื่อท่านมีอคติอยู่ในจิตสันดานเช่นนี้..แล้ว...จะให้ผมเกิดศรัทธา..เชื่อตามข้อแนะนำตามท่านได้อย่างไร..ละครบ

...จากการปฏิบัติของผม...ผมไม่มั่นใจ..ว่าผมได้มรรคแรกหรือปล่าว...แต่ผมมั่นใจ ล้าน % ว่าผมได้เคยสัมผัสกับสังขารุเปขาญาณ...แล้ว

.....จนกว่าผมจะได้พบกับผู้แนะนำด้วยภูมิรู้(ที่ไม่ใช่ภูมิจำ..หรือภูมิ coppy) มาแนะนำด้วยจิตกุศล ปราศจากอคติ จริง...ผมจึงจะยอมเชื่อ...ว่าที่แท้...ผมยังไม่ได้วิปัสสนาญาณใด ๆ เลย

....สาธุครับ.....




นิพพานัง ปรมัง สุขัง
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

การที่จะมีความสุขได้ต้องทำเหตุเกิดความสุขครับ
เหตุให้เกิดความสุขในการปฏิบัติธรรมมีในจิตประเภทไหนบ้าง ??
ได้แก่ กุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมเหล่านี้คือ
1.ปฐมฌาน มีปีติ สุข
2.ทุติยฌาน มีปีติสุข
3.ตติยฌาน มีสุขและอุเบกขา
4.จตุตถฌาน มีอุเบกขาและมีสติบริสุทธิ์
5.อากาสานัญจายตนะฌาน มีอุเบกขาและมีสติบริสุทธิ์
6.วิญญานัญจายตนะฌาน มีอุเบกขาและมีสติบริสุทธิ์
7.อากิญจัญญายตนะฌาน มีอุเบกขาและมีสติบริสุทธิ์
8.เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน มีอุเบกขาและมีสติบริสุทธิ์

9.โสดาปัตติมัคค มีสุขเพราะปีติสุขในปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ
10.สกทาคามีมัคค มีสุขเพราะปีติสุขในปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ
11.อนาคามีมัคค มีสุขเพราะปีติสุขในปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ
12.อรหัตตมัคค มีสุขเพราะปีติสุขในปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ


ปกิบัติธรรมได้ถูกทางจิตเป็นกุศล ไม่เกิน 20 นาที ปีติสุขก็บังเกิดแก่ผู้ปฏิบัติธรรมแล้วครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ.



จากการเล่าประสบการณ์ของท่านมหาฯดูคล้ายๆการอวดอุตตริมนุสธรรมยังไงไม่รู้เพราะท่านบอกว่าได้ญาณที่เท่านั้น เท่านี้ครับ ลองพิจารณาดูนะครับ


สาธุครับ




ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ครับ

http://www.wattamaoh.com/download/วิปัสสนานัย/เล่ม2/วิปัสสนานัย-เล่ม2-part3.pdf

coppy ไปวางได้เลยครับ

อย่างลืมตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล..ของแต่ละข้อความด้วยนะครับ...จะได้รู้ว่าไม่ใช่เขียนขึ้นลอย ๆ




ท่านมานั่งวิจารย์ผม..ยังก็เป็นพระอรหันต์เลยนะครับ....

ใครที่ไม่เป็นพระอรหันต์ก็วิจารณ์ได้ท่านครับ ถ้าผู้วิจารณ์นั้นนำคำสอนของพระอรหันต์มาเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติของท่าน ผมก็เป็นผู้หนึ่งที่นำคำสอนของพระอรหันต์มาแสดงเปรียบเทียบ หรือท่านจะกล่าวว่าคำสอนในพระไตรปิฎกไม่ใช่คำสอนของพระอรหันต์ก็กล่าวคัดค้านมานะครับ.

ช่วยอธิบายวิธีปฏิบัติ..และสภาวะญาณจากประสบการณ์จริงของท่านให้ผมอ่านบ้างซิครับ

...ผมชักจะเริ่มศรัทธาในภูมิธรรมของท่านบ้างแล้วนะนี่...แต่ขอจากประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง..นะครับ...

แค่ coppy มาวาง ไม่เอานะครับ

คำสอนที่ผม coppy มาวาง ผู้มีปัญญาย่อมอ่านแล้วเข้าใจถือปฏิบัติตามได้ในทันทีครับ การปฏิบัติของผมปฏิบัติตาม coppy ที่ยกมาให้ท่านอ่านนี่แหละครับ ไม่ต้องคิดค้นวิธีการใหม่ให้ยุ่งยากเสียเวลาครับ.



แล้วที่ท่านให้ร้ายว่า..หนังสือที่ผมนำมาอ้าง..เป็นหนังสือแต่เอง...แล้วท่านอ่านเขิงอรรถของข้อความในหนังสือแล้วหรือยัง....ว่า แต่ละข้อความนำมาจากคัมภีร์ไหนบ้าง

สาธุครับ

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [15 มิ.ย. 2551 20:13 น.] คำตอบที่ 4


ผมตามไปอ่านมาแล้วครับ ไม่มีส่วนใดที่ทรงไว้ซึ่งพระธรรมเทศนาเดิมเลย แต่งเติมขึ้นมาใหม่ล้วน ๆ อ่านตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อยแล้วมาใส่ความคิดเห็นของผู้แต่งลงไป เป็นการแต่งเติมบิดเบือนพระธรรมเทศนา ท่านยังไม่ยอมรับความจริงอีกหรือครับ ??.



ผมแค่เล่าประสบการณ์จากการณ์ปฏิบัติ..ให้ฟัง..เพื่อให้ผู้รู้จริงช่วยวิจารย์

...แต่ท่านกลับให้อคติว่า...ผมโม้ โอ้อวด...

ในเมื่อท่านมีอคติอยู่ในจิตสันดานเช่นนี้..แล้ว...จะให้ผมเกิดศรัทธา..เชื่อตามข้อแนะนำตามท่านได้อย่างไร..ละครับ


ผมและท่านไม่รู้จักกัน ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน ไม่มีความแค้นเคืองต่อกัน ไม่มีผลประโยชน์ใดที่ขัดแย้งกัน ผมจะไปมีอคติกับท่านได้อย่างไร ท่านยกผลการปฏิบัติมาผมก็วิจารณ์ไป มีพระไตรปิฎกเป็นปทัฏฐานในการวิจารณ์ แสดงเปรียบเทียบสภาวะธรรมให้เห็นอย่างกระจ่างเปิดเผย ท่านปฏิบัติผิดผมก็ชี้ให้เห็นว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

พระไตรปิฎกนั้นพระอรหันต์ท่านได้แสดงวิธีการที่ถูกต้อง แสดงเหตุที่ถุกต้อง แสดงผลที่ถูกต้องเอาไว้ชัดเจนแล้ว คนที่มีจิตอคติคือท่านครับ ไม่ใช่ผมแน่นอน เพราะท่านไม่ยอมรับความผิดพลาด ไม่ยอมรับความจริง ไม่ยอมรับข้อท้วงติงของผู้อื่นเองต่างหากเล่าครับ.



...จากการปฏิบัติของผม...ผมไม่มั่นใจ..ว่าผมได้มรรคแรกหรือปล่าว...แต่ผมมั่นใจ ล้าน % ว่าผมได้เคยสัมผัสกับสังขารุเปขาญาณ...แล้ว

.....จนกว่าผมจะได้พบกับผู้แนะนำด้วยภูมิรู้(ที่ไม่ใช่ภูมิจำ..หรือภูมิ coppy) มาแนะนำด้วยจิตกุศล ปราศจากอคติ จริง...ผมจึงจะยอมเชื่อ...ว่าที่แท้...ผมยังไม่ได้วิปัสสนาญาณใด ๆ เลย

....สาธุครับ.....

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [15 มิ.ย. 2551 20:22 น.] คำตอบที่ 5


ถ้าท่านได้สังขารุเปขาญาณแล้วจริง ๆ แล้วไฉนท่านจึงยังหวั่นไหวในคำวิจารณ์ท้วงติงของผมอยู่อีกเล่าครับ หรือเป็นการแสดงว่าสังขารุเปขาญาณที่ท่านได้เป็นของปลอมกันแน่

สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ ตติยฌาน
..... ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

สังขารุเปขาญาณถ้าเป็นของจริง ผมว่าท่านไม่น่าจะหวั่นไหวโวยวายมากมายถึงปานนี้หรอกครับ ผู้ได้ฌานย่อมได้สังขารุเปขาญาณ ผู้ได้ฌานได้สังขารุเปขาญาณเขาไม่หวั่นไหวแบบท่านหรอกครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ.




ถ้าท่านได้สังขารุเปขาญาณแล้วจริง ๆ แล้วไฉนท่านจึงยังหวั่นไหวในคำวิจารณ์ท้วงติงของผมอยู่อีกเล่าครับ

******************************************************

ท่านไม่รู้จริง..หรือ...

.....พระโสดาบันร้องให้คร่ำครวญมีหรือไม่.... ชำแหละเนื่อสัตว์ขาย.มีหหรือไม่....

พระอรหันต์...ไม่ยอมลงอุโบสถเพราะคิดว่าหมดกิจแล้ว..มีหรือไม่.....ถ้าเป็นนัก coppy จริงก็น่าจะรู้นะครับ


ถามจริง ๆ....ท่านไม่รู้จริง ๆ หรือว่า...ผู้ที่ไม่ได้ฌานใด ๆ เลย..ก็เข้าถึงสังขารุเปกขาญาณได้....

...หรือรู้แต่ข้อความที่ coppy ได้ในอินเตอร์เนตเท่านั้น...








ขอให้ท่านปฏิบัติแบบพอง-ยุบอย่างถูกวิธีดู....ภายในหนึ่งเดือน...หากไม่เกิดวิปัสสนูปกิเลส....ท่านจะเอาอะไร.....????....เพราะวิปัสสนูปกิเลสจะเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกวิธีเท่านั้น

....แต่เมื่อเกิดวิปัสสนูปกิเลสแล้วก็อย่ายึดติด..จึงจะข้ามเข้าสุ่ญาณต่อไปได้ครับ


คน"มี"ธรรมะ กับคน"รู้"ธรรมะ มันต่างกันนะ

เพราะคนรู้ธรรมะ มักย่อมเอาชนะผู้อื่น

...แต่คนมีธรรมะ มักเอาชนะใจตนเอง

แต่ที่เห็นอยู่เนี่ย คงจะรู้ธรรมะกันเสียมากกว่า



ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ครับ

http://www.wattamaoh.com/download/วิปัสสนานัย/เล่ม2/วิปัสสนานัย-เล่ม2-part3.pdf

coppy ไปวางได้เลยครับ

อย่างลืมตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล..ของแต่ละข้อความด้วยนะครับ...จะได้รู้ว่าไม่ใช่เขียนขึ้นลอย ๆ

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [15 มิ.ย. 2551 21:38 น.] คำตอบที่ 8




[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ท่านพระมหาครับ คนมีปัญญานั้นเขายอมรับความจริงครับ
ตำราแต่งใหม่ที่อ้างอิงพระไตรปิฎกเล็กน้อยกับพระไตรปิฎกล้วน ๆ นั้นอรรถ ธรรม นิรุติและปฏิภาณมันต่างกันครับ


ผมศึกษาพระพุทธศาสนาอ่านพระไตรปิฎกล้วน ๆ ก็สามารถปฏิบัติธรรมตามข้อความในพระไตรปิฎกได้เลยครับ ไม่ต้องแสวงหาตำราภายนอกมาให้วุ่นวายหรอกครับ


จากข้อความในพระไตรปิกข้างบนนี้นะครับ
กล่าวว่า....โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ....ผมก็ทำตามโดยดูรูป จำได้แล้วหลับตามเจริญรูปสัญญาตามนั้น

กล่าวว่า....สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ....ผมก็ทำตามโดยไม่ยินดีในกามสัญญาทั้งปวงคือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ผมไม่ใส่ใจ สนใจใส่ใจแต่รูปสัญญา โยนิโสมนสิการในรูปสัญญานั้นประการเดียว....2 ประโยคนี้เป็นเหตุที่ถูกต้องครับ

กล่าวว่า....บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ.....ประโยคนี้เป็นผลที่ถูกต้องทำตาม 2 ประโยคแรกครับ ใครทำตามได้ย่อมบรรลุปฐมฌาน มีปีติสุขแน่นอนครับ

ผมยืนยันได้เหมือนเดิมครับ coppy ที่ผมยกมาคือแนวทางปฏิบัติได้จริงและถูกต้องด้วยครับ
.






สุญญตะ
[๒๖๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


กล่าว่า....โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น ......ผมก็ปฏิบัติตามโดยเจริญฌานเป็นโลกุตตระ คือละรูปสัญญาไปเสีย

แล้วเจริญอนัตตาสัญญา....มีนิพพานเป็นที่หมายเพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น ละเหตุอันก่อให้เกิดสักกายทิฏฐิ โดยไม่ตามเห็นรูปขันธ์ ไม่ตามเห็นเวทนาขันธ์ ไม่ตามเห็นสัญญาขันธ์ ไม่ตามเห็นสังขารขันธ์ และไม่ตามเห็นวิญญาณขันธ์ สักกายทิฏฐิย่อมไม่เกิดขึ้น วิจิกิจฉาและสีลพตปรามาทย่อมสงบระงับตามมาในขณะจิตแห่งโลกุตตระกุศลนั้น....

กล่าวว่า....สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว....ผมก็ทำตามโดยไม่ยินดียินร้ายในนามรูปดังเดิม


กล่าวว่า.....บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ....ตรงนี้ก็แสดงผลการปฏิบัติ ใครปฏิบัติตามนี้ย่อมบรรลุปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ สมาธิที่ได้เรียกว่า สุญญตสมาธิ....

การปฏิบัติของผมไม่จำเป็นต้องใช้ตำราใดมาอธิบายให้ไขว้เขวผิดทางแต่ใดเลยครับ


ทำตามพระไตรปิฎกของแท้ล้วน ๆ ก็เรียกว่าการปฏิบัติแล้วครับท่าน


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ.




ยอมรับครับว่า..โทสะ...และความรำคราญ...กำลังกลุ้มรุมจิตผมอยู่.....

กำลังเกิด ๆ ดับๆ ...อยู่ในจิตผม.....ทุกครับที่เข้ามาแวบนี้...

แต่ก็ชอบที่จะเข้ามา....เพราะได้ความรู้..ดี.....ช่วยให้กระตือลือล้น...มากชึ้น



ขอให้ท่านปฏิบัติแบบพอง-ยุบอย่างถูกวิธีดู....ภายในหนึ่งเดือน...หากไม่เกิดวิปัสสนูปกิเลส....ท่านจะเอาอะไร.....????....เพราะวิปัสสนูปกิเลสจะเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกวิธีเท่านั้น

....แต่เมื่อเกิดวิปัสสนูปกิเลสแล้วก็อย่ายึดติด..จึงจะข้ามเข้าสุ่ญาณต่อไปได้ครับ

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [15 มิ.ย. 2551 22:16 น.] คำตอบที่ 11



อธิบายหลายครั้งแล้วท่านไม่เคยอ่านเลย วิปัสสนูกิเลสไม่มีในพระไตรปิฎกครับ
เป็นความเข้าใจผิด เป็นความรู้ผิด ๆ ของท่านครับ

ฐานะ 10 ประการที่พวกท่านเรียกว่าวิปัสสนูกิเลสกันนั้นเป็นองค์ธรรมที่เป็นกุศล ในกุศลจิตครับ
รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 มัคค 4 ผล 4 ก็มีองค์ธรรมที่เป็นกุศลในจิตเหล่านี้ครับ



นมัสการครับท่านอิทธิปัญโญภิขุ ขอน้อมอนุโมทนาครับ

นมัสการครับท่านมหาประเสริฐ ขอกราบเรียน คห.ดังนี้ขอรับ

ท่านมหาประเสริฐ ถูกคำสอนอื่นครอบงำเสียแล้วครับท่าน
สิ่งที่ท่านแสดงนั้น มิได้บอกเลยว่าท่านได้ญาณ ถูกโมหะปรุงแต่ง แล้วจะเป็น
กุศลได้อย่างไร

การเฝ้าดู ตรึกแต่อยู่ในความฟุ่งซ่าน(ตามที่ท่านเล่านั้นคือความฟุ่งซ่าน
ความลังเลฯ) ย่อมถูกกิเลสครอบงำ กิเลสตัวนี้คือ ปปัญจธรรม

เพระจิตยังไม่มีความตั้งมั่นในสมาธิ(ฌาณ)นั้น จึงเป็นการตรึก(วิตก)มีส่วน
แห่งสัญญาอันสัมปยุตด้วย ปปัญจธรรม (กิเลสเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ)
จึงไม่ต้องพูดถึงเลยว่า กิเลสยังอยู่ครบๆ สังโยชน์มิได้พร่องหายเลยแม้แต่นิด

จากที่ท่านเล่าในการปฏิบัติ
จะเห็นว่า ตัวท่านเอง ยัง "งง" ที่ สะยาดอได้อุปโลกน์ ว่าท่านสำเร็จญาณนั้นญาณนี้
แล้วคำว่า "ปัจจัตตัง" ไปไหนกันเล่า?

**---***
จาก คห.10 ของท่านมหาประเสริฐ
กระผมของเปลี่ยนเป็นดังนี้ครับ

พระโสดาบัน ไม่เคยโวยวาย ตีโพยตีพายด้วยการแย้งข้อธรรม โดยไม่ทบทวน
พระโสดาบัน ชำแหละเนื้อที่ได้ถูกผู้อื่นปาณาฯมาแล้ว นั้นก็มีอยู่
พระอรหันต์ จะลงอุโบสถหรือไม่ นั้นเป็นได้ เพราะท่านเสร็จกิจแล้ว

นมัสการครับ




ถ้าท่านได้สังขารุเปขาญาณแล้วจริง ๆ แล้วไฉนท่านจึงยังหวั่นไหวในคำวิจารณ์ท้วงติงของผมอยู่อีกเล่าครับ

******************************************************

ท่านไม่รู้จริง..หรือ...

.....พระโสดาบันร้องให้คร่ำครวญมีหรือไม่.... ชำแหละเนื่อสัตว์ขาย.มีหหรือไม่....

พระอรหันต์...ไม่ยอมลงอุโบสถเพราะคิดว่าหมดกิจแล้ว..มีหรือไม่.....ถ้าเป็นนัก coppy จริงก็น่าจะรู้นะครับ


ถามจริง ๆ....ท่านไม่รู้จริง ๆ หรือว่า...ผู้ที่ไม่ได้ฌานใด ๆ เลย..ก็เข้าถึงสังขารุเปกขาญาณได้....

ผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ย่อมไม่สามารถบรรลุสังขารุเปกขาญาณได้อย่างแน่นอนครับท่านพระมหา ฯ.

...หรือรู้แต่ข้อความที่ coppy ได้ในอินเตอร์เนตเท่านั้น...


ความรู้ของผมมีครบถ้วนทุกทางครับท่านพระมหา ฯ.


พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [15 มิ.ย. 2551 22:00 น.] คำตอบที่ 10





ท่านมหาเปรียญครับ ท่านแน่ใจหรือครับว่าท่านรู้จักกับคำว่า สังขาร และอุเบกขาน่ะครับ ถ้าท่านมีอุเบกขาจริงท่านรู้จักคำว่า.... ตบะ....ไหมครับ


ตกลงเราจะกล่าวถึงญาณหรือจะกล่าวถึงพฤติกรรมของคนบางคนกันแน่ครับท่าน
ท่านพระมหากำลังหลงประเด็นแล้วครับ


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ





ยอมรับครับว่า..โทสะ...และความรำคราญ...กำลังกลุ้มรุมจิตผมอยู่.....

กำลังเกิด ๆ ดับๆ ...อยู่ในจิตผม.....ทุกครับที่เข้ามาแวบนี้...

แต่ก็ชอบที่จะเข้ามา....เพราะได้ความรู้..ดี.....ช่วยให้กระตือลือล้น...มากชึ้น

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [15 มิ.ย. 2551 22:41 น.] คำตอบที่ 14



ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น
และพึงเข้าไปตัดความตรึก
ตลอดจนธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ


กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งไป
กิเลสเครื่องกังวลจงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
จักเป็นผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ




ทานมีปํญญา ถึงขั้น....แค่อ้านพระไตรปิฎก..ก็ปฏิบัติจนบรรลุธรรมได้เลยหรือครับ...

ผมยังไม่เคย...พบ,ได้ยิน..ผุ้ที่ แค่อ่านพระไตรปิฎกอย่างเดียว...แล้วปฏิบัติถึงขึ้นลรรลุธรรมได้เลยครับ...

..น่าเลื่อมใสครับ...โปรดแนะนำวิธีปฏิบัติอย่างละเอียดด้วยครับ...และเพือให้ผมมันใจ..

ขอให้ท่านและนำลูกศิษย์ท่านที่น่าเลื่อมใสสักท่านหนึ่งให้ผมรู้จักได้ไหมครับ...



ผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ย่อมไม่สามารถบรรลุสังขารุเปกขาญาณได้อย่างแน่นอนครับท่านพระมหา ฯ.

************************************************

ขอให้ท่านยืนยันอีครั้งง่า....สิ่งที่ท่านตอบ ถูกต้อง ๑๐๐ % ....ถ้าท่านยืนยัน....แสดงว่าท่านขาดความรู้ในเรื่องนี้..อย่างรุณแรง

อุตส่าสนทนามาตั้งนาน..นึกว่าเจอผู้รู้เข้าแล้ว...ที่แก้ก็แค่นัก coppy จริง ๆ


ท่านมหาประเสริฐขอรับ

ผู้ที่อ่านพระไตรปิฎก และปฏิบัติตามนั้นครับ
ดังนั้นท่านได้ปรามาท ประมาททั้ง ธรรมและผู้ปฏิบัติด้วยแล้วขอรับ


ผู้นั้น สามารถกล่าวปรับวาทะท่านให้อยู่ในพระธรรมคำสอนอย่างถูกต้อง
ตามอรรถ ธรรม นิรุติ ปฏิภาณ เช่นนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงอวดอุตริฯ

ย่อมแสดงว่า ตัวท่านเองนั้นแหละครับ ที่ไม่เคยลิ้มรสแห่งพระสัทธรรมมาก่อน
ท่านมหาฯจึงยังมองไม่เห็น ยังไม่รู้ชัดถึงเพียงนี้ไงเล่าขอรับ






ผมไม่เคย..ปฏิเสธสิ่งที่ท่าน coppy มาวางว่าผิด....แต่ผมยืนยึนว่า..ที่ที่ผมรู้ และประสบมาก็ไม่ผิดเช่นกัน...

.....แต่ท่านกำลัง...ปฏิฌส และให้ร้าย..ในสิงที่ท่านยังไม่ได้ประสบและเรียนรู้อยู่ท่าเดียว....



ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ครับ

http://www.wattamaoh.com/download/วิปัสสนานัย/เล่ม2/วิปัสสนานัย-เล่ม2-part3.pdf

coppy ไปวางได้เลยครับ

อย่างลืมตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล..ของแต่ละข้อความด้วยนะครับ...จะได้รู้ว่าไม่ใช่เขียนขึ้นลอย ๆ



สรุปคือ กรอบความรู้ของเรานั้นต่างกัน...จึงพูดกันคนละกรอบ ....แต่ผมไม่ได้ปฏิเสธว่าพระไตรปิฎกผิด(แต่ก้ไม่ตัดสินใจเชื่อโดยทันที) และผมยอมรับในตำราอื่น ๆ อีกด้วย...พร้อมทั้งประสบการณ์ตรง....

ฉะนั้น...กรอบในการมองเรือ่งนี้ จึงกว้างกว่า....

เพราะกรอบในการมองปัญหาในเป็นอย่างนี้นี่เอง...ความขัดแย้งในการสนทนาจึงเกิดขึ้น



......"ขัดกันเข้า".....เดี๋ยวเงาก็เกิดนะจ๊ะ....อะ อะ อะ อะ

.....ถ้าขัดถูกที่.....มีญาณและญาฌเป็นของแถมด้วยนะ....จะบอกให้.....อะ อะ อะ อะ

ฌาณและญาณมีในผู้ใด....ผู้นั้นอยู่ใกล้พระนิพพาน....ดีไม่ดีถึงนิพพานเลยนะจ๊ะ..อะ อะ อะ อะ

.....แต่จนบัดนี้ยังไม่เห็นเงาจากที่ขัดกันเท่าไรเลยน้า....ขัดให้ถูกที่ซิจ๊ะ....อะ อะ อะ อะ

จะเป็นกำลังใจห้าย....ขัดไม่ดีได้นิวรณ์ธรรมกลับบ้านน้า....อะ อะ อะ อะ....แวะมาเชียร์จ้า....



ครับ..กำลังเงาได้ที่เลยครับ...

....ไม่ร่วมสนุกด้วยกันหรือครับ...




ผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ย่อมไม่สามารถบรรลุสังขารุเปกขาญาณได้อย่างแน่นอนครับท่านพระมหา ฯ.

************************************************

ขอให้ท่านยืนยันอีครั้งง่า....สิ่งที่ท่านตอบ ถูกต้อง ๑๐๐ % ....ถ้าท่านยืนยัน....แสดงว่าท่านขาดความรู้ในเรื่องนี้..อย่างรุณแรง

อุตส่าสนทนามาตั้งนาน..นึกว่าเจอผู้รู้เข้าแล้ว...ที่แก้ก็แค่นัก coppy จริง ๆ

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [15 มิ.ย. 2551 23:18 น.] คำตอบที่ 20



ถ้าท่านเข้าใจอย่างนี้ตัวท่านพระมหานี่แหละครับที่รู้จักพระพุทธศาสนาน้อยอย่างยิ่ง
แต่สำคัญตนว่ารอบรู้อย่างยิ่งครับท่าน


ผมยังยืนยันตามเดิมครับท่าน

ผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ย่อมไม่สามารถบรรลุสังขารุเปกขาญาณได้อย่างแน่นอนครับท่านพระมหา ฯ.



ญาณย่อมไม่มีในผู้ไม่มีฌาน
ฌานย่อมไม่มีในผู้ไม่มีญาณ

.....( ฌานคือจิตที่เป็นกุศล สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายครับ

จิตที่ไม่สงัดจากกาม ไม่สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายได้แก่กามาวจรกุสลจิต และอกุศลจิต ในเมื่อพระมหายืนยันว่าจิตของของท่านตั้งอยู่ในกามวจรกุศลและอกุศล แล้วมีญาณเกิดขึ้น ความรู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิของท่านครับ

สังขารุเปกขาญาณ ไม่ตั้งอยู่บนกามจิตหรอกครับท่าน ถ้ากามาวจรกุศลและอกุศลจิตเป็นที่ตั้งของญาณปัญญาได้ พระอริยะเจ้าคงเต็มบ้านเต็มเมืองแล้วล่ะครับท่าน)

ขอน้อมเตือนด้วยความปรารถนาดีนะครับ ท่านเดินผิดทางแล้วครับ


และขอยุติการสนทนากับท่านแต่เพียงเท่านี้ครับ


เป็นศัตรูกับคนที่เป็นบัณฑิต
ยังดีเสียกว่าเป็นมิตรกับคนที่โง่เขลา
เพราะถ้าได้สหายที่เป็นบัณฑิต
ก็ควรอยู่กับท่านผู้เป็นเช่นนั้น
หากหาไม่ได้แล้วไซร้
อยู่มันซะคนเดียวประเสริฐกว่า


เจริญในธรรมครับ


อภิปัญโญ ภิกขุ




แหม..โดน..ด่าส่งท้าย..เลยหือนี้...ดีครับ..รู้สึกวูปวามในจิตใจดี...แต่ก็มีอายุของมัน แล้วอาการวูบวาบนั้นก็ดับไป..

ผมก็คิดอยู่เหมือนกันครับว่า....ถาท่านยังยืนยันอยุ่ว่า..ผู้ได้ฌานเท่านั้นจึงจะเข้าถึงวิปัสสนาญาณได้....

ถ้าผมรู้ว่าท่านคิดอย่างนี้ตั่งแต่แรก...ก็คงไม่ตองเสียเวลาขนาดนี้......

ลาครับ....สาธุ

เอ่อ....ขอฝากอกนิดครับ...ฝากให้ท่านไปศึกษาเรื่องพระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมตติ (วิปัสสนาล้วน) หน่อยนะครับ...จะได้มีความเข้าใจอะไรมากขึ้นกว่านี้



กราบนมัสการท่าน อภิปัญโญ ภิกขุ และ พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี

ติดตามอ่านการุจฉา วิสัชนาของท่าน มาถึงตอนจบ


ต้องกราบอนุโมทนาท่าน อภิปัญโญ ที่นำความรู้ในพระไตรปิฎกมาให้อ่าน
และคงจะต้องพยายามทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพราะไม่ง่ายอย่างที่เขานำมาสอนกัน
แต่ก็ได้ข้อคิดนะครับว่า......
ปัญญาของพระพุทธองค์ ซึ่งในคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่แต่งเติมกันยังแต่งให้
พุทธคุณ 3 นั้น มี ปัญญาคุณ (ซึ่งในพระไตรปิฎกจะกล่าวพุทธคุณถึง 9 ประการ)
นนี่ก็เป็นเหตุหนึ่งทำให้ความในพระไตรปิฎกถูกบิดเบือนไป เพราะเอาปัญญาปุถุชน มาสรุปพระปัญญาของพระพุทธองค์)



ติดตามไปดูวัดตะโม่ที่บางระกำ จ.พิษณุโลก ของท่านมหาประเสริฐ ก็เป็นแบบมหาประเสริฐกล่าว
เพราะสอนหลักสูตรเดียวกัน ที่อาจารย์สายวิปัสสนาแต่งกันขึ้นมา
มีการประเมินผลแบบทางโลก ที่ใช้ปัญญาของปุถุชน (อีกนั่นแหล่ะ) มาเป็นตัวชี้วัดว่า
คนนั้น คนนี้ ได้ ญาณนั้น ญาณนี้ สร้างกิเลส สร้างอุปาทาน ให้เกิดอุปธิกันต่อไบ
จนลืมคำที่สวดกันในธรมมคุณอยู่เสมอๆ

ท่านมหาประเสริฐครับ ในฐานะที่ท่านเป็นมหาเปรียญนะครับ และมาแสดงธรรมเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็น
ได้ประจักษ์ ท่านช่วยอ้างอิงความในพระไตรปิฎกบ้างสิครับ อย่าไปคิดว่าเป็นนัก coppy เลย
เพราะท่านก็ไม่ต่างกับท่านอภิปัญโญ ที่ coppy พระไตรปิฎกมา
แต่ท่านกลับ coppy จากที่โน่นที่นี่ ซึ่งผมไม่เถียงว่ามีเชิงอรรถ
แต่การอ้างอิงเชิงอรรถเหล่านี้ ผมตามไปเปิดดูแล้วครับ เป็นการอ้างชนิดอ่านแล้วสรุปมาตามความเข้าใจของตนเอง
เหมีอนเวลาทำรายงานระดับปริญญา ที่จะส่งอาจารย์ไงครับ ต้องอ่านและประมวลความรู้ออกมา

แต่เรื่องนี้เป็นการประมวลพระปัญญาของพระพุทธองค์ โดยปัญญาของผู้ทำรายงาน เช่นท่าน
แล้วทึกทักว่า ฉันอ้างอิงแล้ว ดูเชิงอรรถเอาเองสิ

กระผมดูแล้วครับ ตามไปเช็คแล้วครับ เพราะผมก็นักวิชาการเหมือนกัน

ไม่ชอบให้ใครมาแหกตา และโดยเฉพาะจะมาแหกตาในเนื้ออรรถ เนื้อธรรมน่ะ "นรก" นะครับ
พาผู้อื่นเข้าสู่ "มิจฉาทิฏฐิ" น่ะ มอมเมา ให้ยาพิษ หรือให้ขนมที่ปนเปื้อนสารพิษแก่ผู้อื่น
ระมัดระวังกันหน่อยครับ


ถ้าเป็นผมนะครับท่านมหาประเสริฐ ท่านฝากให้ท่านอภิปัญโญ ไปอ่าน
พระอรหันต์ ชนิด ปัญญาวิมุติน่ะ ท่านยกมาเลยครับ

แต่ยกในพระไตรปิฎกมานะครับ ในตำราวิสุทธิมรรค ที่แต่งโดยชาวสิงหล หรือคัมภีร์ 9 ปริเฉท
ที่ท่านเรียนมาน่ะไม่เอานะครับ


แต่ผมก็เชื่อภูมิธรรมท่านพระพรหมคุณาภรณ์นะครับ และเชื่อในความเป็นพระนักวิชาการของท่าน
ที่เวลาท่านแต่งและสรุปอะไรออกมา ท่านอ้างอิงในเชิงอรรถอย่างชัดเจน


เช่นการแบ่งพระอรหันต์ท่านก็อ้างใน วิสุทธิมรรค และในฎีกาวิสุทธิมรรคมา เช่น
วิสุทธิ. 3/373; วิสุทธิ.ฏีกา 3/657.

[62] อรหันต์ 4, 5, 60 (an Arahant; arahant; Worthy One)


ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น 2 คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น
เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน 5 ประเภท)

วิสุทธิ. 3/373; วิสุทธิ.ฏีกา 3/657.


นี่คือตัวอย่างที่ท่านกล่าวมา ว่านำมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค


*******************

ในพระไตรปิฎกก็มีครับที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง ปัญญาวิมุตติ
แต่การที่จะให้มาและได้ใน ปัญญาวิมุตติ ในพระไตรปิฎกน่ะ

อยากฝากท่านมหาประเสริฐลองหามาแสดงเพื่อยืนยัน การแสดงธรรมของท่านหน่อยสิครับ

อย่าให้เสียชื่อพระมหา หรือ มหาเปรียญไป ว่า เป็นมหาที่จบโดยไม่เอาพระไตรปิฎก






ในทัศนะของผม...ที่ได้ศึกษามา..พระไตรปิฎก อรรถกถา ฏีกา วิสุทธิมรรค..มีแต่เสริมกัน...ช่วยอุดช่องโหว่..หรืออธิบายซึ่งกันและกัน..ไม่มีขัดแย้งกัน...มีแต่เสริมกันให้ผู้ศึกษาเข้าใจในพุทธประสงค์..ได้อย่างละเอียด ครบถ้วน..และชัดเจนยิ่งขึ้นครับ

อ่านบทความ..เกี่ยวกับพระอรหันต์ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้ที่นี่ครับ :

http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?page=1&club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788


อ้างอิงจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ฏีกา ชัดเจน


coppy ไปวางได้เลยครับ










ขอความกรุณา คุณชาวพุทธ
..
ช่วยอธิบายเรื่อง..พระอริยบุคคล ปัญญาวิมุตติ ๕ ประเภทหน่อยนะครับ....

มีหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนครับว่า..มีอยู่ถึง ๕ ประเภท


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสมทบทุนสร้างอาคารปฏิบัติธรรมทรงไทยเฉลิมพระเกียรติที่สำนักสงฆ์ป่าวิเวกสามัคคีธรรม บ้านโคกตาสิงห์ ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับศรัทธาสาธุชนที่มีความประสงค์จะร่วมในกองบุญกองกุศลร่วมกันในครั้งนี้ก็ขอเชิญที่สำนักสงฆ์ได้โดยตรงครับ ทำบุญร่วมกันครับ สาธุ





ท่านมหาประเสริฐครับ ผมเชื่อแล้วครับว่าท่านอ่านภาษาไทย ไม่แตกฉาน

ท่านอ่านและจับใจความในข้อความธรรมดายังไม่ได้

แล้วท่านจะอ่านธรรม ในพระไตรปิฎกได้อย่างไร

ท่านกลับไปอ่านกระทู้ของกระผมใหม่นะครับ ใจเย็นๆ
อ่านแบบมีสติกำกับตามที่ท่านเรียก



อ่านบทความ..เกี่ยวกับพระอรหันต์ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้ที่นี่ครับ :

http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?page=1&club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [16 มิ.ย. 2551 08:19 น.] คำตอบที่ 28



ท่านนี่เป็นนัก coppy ตัวยงเลยนะเนี่ย และเป็นนัก coppy ที่ไม่มีค่า
แทนที่จะให้ไป coppy ในพระไตรฯ ที่พระอรหันต์เจ้าท่านจารไว้

และบรรดาบัณฑิตผู้รู้ภาษาบาลี ช่วยกันแปล ร่วมกันตรวจทาน
กลับไปให้อ่าน บทความ ที่ปุถุชน เขียน โดยเฉพาะบทความของท่านเอง

เฮ้ออออออ ............. กรรม




ขอความกรุณา คุณชาวพุทธ
..
ช่วยอธิบายเรื่อง..พระอริยบุคคล ปัญญาวิมุตติ ๕ ประเภทหน่อยนะครับ....

มีหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนครับว่า..มีอยู่ถึง ๕ ประเภท

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.218.45 [16 มิ.ย. 2551 08:42 น.] คำตอบที่ 29




แต่ผมก็เชื่อภูมิธรรมท่านพระพรหมคุณาภรณ์นะครับ และเชื่อในความเป็น
พระนักวิชาการของท่าน
ที่เวลาท่านแต่งและสรุปอะไรออกมา ท่านอ้างอิงในเชิงอรรถอย่างชัดเจน

เช่นการแบ่งพระอรหันต์ท่านก็อ้างใน วิสุทธิมรรค และในฎีกาวิสุทธิมรรคมา เช่น
วิสุทธิ. 3/373; วิสุทธิ.ฏีกา 3/657.


[62] อรหันต์ 4, 5, 60 (an Arahant; arahant; Worthy One)


ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น 2 คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น
พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง
(ในจำนวน 5 ประเภท)

วิสุทธิ. 3/373; วิสุทธิ.ฏีกา 3/657.


นี่คือตัวอย่างที่ท่านกล่าวมา ว่านำมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค


ชาวพุทธ - 61.7.143.11 [16 มิ.ย. 2551 08:03 น.] คำตอบที่ 27



ท่านมหาประเสริฐครับ

อ่านแล้วไม่เข้าใจจริงๆ หรือครับ งั้นลองเข้าไปในเว็ปนี้นะครับ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=62


ผมไม่เคยกล่าวว่าในพระไตรปิฎกมีพระอรหันต์อยู่ ๕ ประเภท

แต่กระผมกล่าวถึงท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ครูบาอาจารย์ของท่าน
ที่อ้างถึงพระอรหันต์ ๕ ประเภท

และผมก็ชื่นชมท่านว่า ท่านบอกที่มีที่ไปว่าอยู่ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค และฎีกา
นี่สิครับสุภาพบุรุษทางวิชาการ

ไม่ใช่มั่วนิ่มแบบท่าน แล้วก็อ้างพุทธพจน์ อ้างพระไตรปิฎก

ไอ้ที่ท่านเที่ยวยกของชาวบ้านมาน่ะ
ทางวิชาการเขาไม่ห้ามหรอกครับ แต่ผู้อ้างอย่างเราๆ ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีจริงหรือไม่


ท่านมหาประเสริฐครับ ก่อนจะโต้อะไร กับใครควรอ่านให้เข้าใจก่อนครับ
ไม่งั้น รุก แล้ว เสียม้า ครับ


ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริง ที่ไม่อยากให้ท่านทำให้เสื่อมเสียสถาบันสงฆ์น่ะครับ
โดยเฉพาะสถาบันพระมหาเปรียญ ที่เขามีความรู้จริง และความรู้ที่ถูกต้องมากกว่าท่าน




เป็นพระสงฆ์ ได้ชื่อว่าสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้ากลับไม่คิดที่จะอ่าน ที่จะอ้าง
ที่จะนำพระธรรม จากพระไตรปิฎกมาเผอแผ่

แต่กลับจะเขียนคำสอนอวดปัญญาของตนเทียมพระพุทธองค์..... กรรม





ขอถาม เหตุใด ครู บา อาจารย์ ที่ ระบุ ว่า วิปัสสนูปกิเลส มี ๑๐ อย่าง คือ แสงสว่าง(โอภาส) ความรู้(ญาณ) ความเอิบอิ่มใจ(ปีติ) ความสงบ(ปัสสัทธิ) ความสุข(สุข) ความน้อมใจเชื่อ(อธิโมกข์) ความเพียร(ปัคคาหะ) การตั้งสติไว้(อุปัฏฐานะ) ความวางเฉย(อุเบกขา) และความใคร่ยินดีในสภาวะ(นิกันติ)
เป็นกิเลส และ เหตุใด ท่าน อภิปัญโญ ถึงได้คัดค้าน ครับ


สวัสดีครับคุณเปา
ผมได้สนใจติดตามอ่าน และทบทวนเรื่องนี้เช่นกันครับ

เมื่อได้ตรวจสอบจากพระไตรปิฎกแล้ว
จึงได้รู้ว่าปัจจุบันเป็นอรรถธรรมสำคัญๆ ได้ถูกทำให้คลาดเคลื่อน และผิดเพี้ยน
ไปมากนะครับ กึ่งพุทธกาลยังเป็นขนาดนี้ เดาได้เลยครับว่า อายุของ
พระศาสนาคงจะค่อยๆจางหายไป (ก็ด้วยมือของพุทธศาสนิกชนเองแท้ๆ )

คำอธิบายของท่านอภิปํญโญ อยู่ตรงนี้ครับ

http://dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=313

จำเริญในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ



ถึงตอนนี้..ท่านยังยืนยันอยู่อีกหรือปล่าวละครับ..ว่า ผู้ที่ได้ฌานเท่าเท่านั้น จึงจะเจริญวิปัสสนา...ให้เกิดวิปัสสนาญาณได้



๑. ภิกษุ เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป
๒. ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะอันมี วิปัสสนานำหน้าอยู่มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป
๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป
๔. ภิกษุมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นถึงคราวเหมาะที่จิตนั้นตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้นสังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป


พระอานนท์กล่าวย้ำว่า ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัตต์ในสำนักของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้

องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๗๐/๒๓๘; ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๓๔/๔๑๓ , วิสุทธิ.ฎีกา๓/๕๑๐





......ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ มิได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา

อ้างอิง..องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑






พระอริยที่เป็นสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติมีจำนวนมากกว่าพระอริยที่เป็นฌานลาภีบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจโตวิมุตติ นั้นมากมาย ดังใน สังยุตตพระบาลี แสดงไว้ว่า

อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฎฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ ภิกฺขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา

ดูกร สารีบุตร ในพระภิกษุ ๕๐๐ องค์, ๖๐ องค์ เป็นเตวิชชบุคคล, ๖๐ องค์เป็นฉฬาภิญญาบุคคล, ๖๐ องค์เป็นอุภโตภาควิมุตติบุคคล เหลือนอกนั้นทั้งหมดเป็นปัญญาวิมุตติบุคคล

อ้างอิง.สํ.สคา.(บาลี) ๑๕/๒๑๕/๓๑๓








สภาวะจิตของผู้เจริญวิปัสสนาล้วน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ(1) จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อมนสิการถึงความดับสักกายะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความดับสักกายะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้วเจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ”(2)

อ้างอิง..

....(1) หมายถึง วิธีการที่พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ส่งจิตในอรหัตตผลสมาบัติไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตา ยังมีอยู่หรือไม่’ (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓)

....(2) องฺ.ปญฺจก.(ไทย)๒๒/๒๐๐/๓๔๑








..............สุกขวิปัสสกบุคคล คือ ผู้ที่ไม่ได้ฌานก่อน เริ่มเจริญวิปัสสนากำหนดพิจารณารูปนามที่ปรากฏเฉพาะหน้าเลย โดยใช้สมาธิระดับขณิกเพียงเท่านั้น แต่เมื่อวิปัสสนาญาณสูงขึ้นตามลำดับ การเพ่งลักษณะอารมณ์ก็จะแนบแน่นขึ้นตามลำดับเช่นกัน เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นก็ย่อมบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) จัดว่าเป็นปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นตามที่ปรากฎในคัมภีร์อรรถกถาว่า

วิปสฺสนานิยเมน หิ สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ สมาปตฺติลาภิโน ฌาน  ปาทก อกตฺวา อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปมชฺฌาน ปาทก กตฺวา ปกิณฺณกสงฺขาเร สมฺมสิตฺวา อุปฺปาทิตมคฺโคปิ ปมชฺฌานิโกว โหติ สพฺเพสุ สตฺต โพชฺฌงฺคานิ อฏฺ มคฺคงฺคานิ ปฺจ ฌานงฺคานิ โหติ ฯ

มรรคที่เกิดขึ้นแก่พระสุกขวิปัสสกโดยกำหนดวิปัสสนา ก็ดี, มรรคที่ไม่ทำฌานให้เป็นบาทเกิดขึ้นแก่ผู้ได้สมาบัติก็ดี, มรรคที่ภิกษุทำปฐมฌานให้เป็นบาทแล้วพิจารณา สังขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เกิดขึ้นก็ดี, ในมรรคทั้งหมดนั้น มี โพชฌงค์ ๗ องค์มรรค ๘ องค์ฌาน ๕ อยู่ด้วย

อ้างอิง.. อรรถกถาสทฺธมฺมปกาสินี ๑ หน้า ๓๒๔ , อรรถกถาธมฺมสงฺคณีวณฺณนา (อฏฺสาลินี)หน้าที่ ๔๔๓






สภาวะจิตของผู้เจริญวิปัสสนาล้วน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ(1) จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อมนสิการถึงความดับสักกายะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความดับสักกายะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้วเจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ”


พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.185.77 [16 มิ.ย. 2551 18:38 น.] คำตอบที่ 35


********************

เห็นท่านมหาประเสริฐพยายามจะยกพระไตรปิฎก แต่ก็ยังไม่ไปดูพระไตรปิฎกจริงๆ
ก็เลยต้องยกข้อความที่ท่านมหายกมาอ้างน่ะ

ในพระไตรปิฎก มิได้กล่าวว่าเป็นสภาวจิตของผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ
แต่อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. นิสสารณียสูตร


ซึ่งกล่าวถึง ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการ อันได้แก่
๑.กาม
๒.พยาบาท
๓.วิหิงสา
๔.รูป
๕.สักกายะ

และในฐานะท่านเป็นมหาเปรียญ ย่อมเข้าใจในบาลี ของคำว่า
นิสฺสารณิยา ซึ่งหมายถึง การสลัดออกไป หรือพรากไปได้

แต่กลับไม่ใช้วิชาความรู้ด้านการเป็นมหาเปรียญให้เกิดประโยชน์เอนกอนันต์ต่อพุทธศาสนา
กลับไปเอาบทความที่เขียนกันขึ้นมา ยกกันขึ้นมาตามความพอใจ ตามความเข้าใจของตน
แล้วมาเป็นตุเป็นตะว่า นี่แหล่ะืคือสภาพของพระวิปัสสนาล้วนๆ

อ่านตามลิ้งค์นะครับ จะได้เกิดปัญญา และซาบซึ้งในพระไตรปิฎกว่าเหนือกว่าตำราที่สะยาดอทั้งหลาย
ของท่านเขียนขึ้นมา จะได้รู้ว่ามั่วกันเหลือเกิน มั่วกันตามความเข้าใจของตน

ท่านผู้อ่านครับ ขอยกพระสูตรเต็มๆ มาให้อ่านนะครับ จะได้รู้ว่าท่านมหาประเสริฐของเรานั้นท่านมั่วมาโดยไม่ตรวจสอบแหล่งอ้างอิงให้ชัดเจนเสียก่อน



************************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๑๐. นิสสารณียสูตร
[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้
มนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย
อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และ
ความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งกามทั้งหลาย ฯ


อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่
ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส
ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท
อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อน เหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งพยาบาท ฯ

อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่
ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่
ย่อมน้อมไปในอวิหิงสา จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา
อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และ
ความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งวิหิงสา ฯ


อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่
ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่
ย่อมน้อมไปในอรูป จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย
อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และ
ความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งรูปทั้งหลาย ฯ

อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่
ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส
ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ
อาสวะทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และ
ความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งสักกายะ ฯ


ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี
ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่เธอ
เพราะความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี
ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว
คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้แล ฯ





ลืมลิ้งค์ให้อ่านครับ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=22&item=200&items=1&preline=0






กราบนมัสการท่าน อ.มหาประเสริฐ

ผมไม่เข้าใจจริง ๆ ท่านจะทำให้คนมาด่ามาว่าท่านทำไม สิ่งที่ท่านทำกราบเรียนตามตรงผมไม่เห็นมีใครได้ประโยชน์จากการกระทำของท่าน มีแต่ผลเสีย ท่านสร้างบารมีประเภทไหน พระพุทธองค์ทรงสร้างบารมีด้วยการเป็นนักเสียสละเพือประโยชน์ผู้อื่น แต่ท่านสร้างบารมีให้ผู้อื่นโกรธขุ่นใจแล้วมาด่าท่าน ใครที่ได้ประโยชน์มีมั้ยครับ สิ่งที่ท่านทำลงไปไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับของใครทั้งนั้นแม้แต่ตัวท่านเอง

ผมว่าท่านไปนั่งบริกรรมยุบพองจะเกิดประโยชน์กว่า

อยู่ดี ๆ ก็มาให้คนอื่นด่าฟรี ๆ ท่านนี่ก็แปลก

กราบนมัสการครับ


คุณguestค่ะ
สำหรับดิฉันได้ประโยชน์มากค่ะ การปรับวาทะธรรมให้ตรงตามคำสอน
ซึ่งเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ควรช่วยกันสืบทอดพระศาสนาอย่างตรงไปตรงมา
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสก่อนกำหนดวันปรินิพพาน ว่าชาวพุทธต้องมี
ควรมีหน้าที่อย่างไรตอนที่พญามารมาทูลขอให้ปรินิพพานอยู่หลายครั้ง
แล้วก็ยังไม่มีการด่าใครต่อใครเลยนะค่ะเท่าที่อ่านมา
การปรับวาทะก็ต้องมีการกระทบกระทั่งผู้หนึ่งผู้ใดนั้น เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกค่ะ
แต่ผู้อ่านได้ประโยชน์แน่นอนค่ะ เพราะได้สอบทาน ทบทวน หาแหล่งที่มาตรงไหม
สิ่งที่ไม่เคยอ่าน ไม่เคยรู้ ก็ได้เห็น ได้อ่านก็คราวนี้ค่ะ เป็นการสุตะอย่างหนึ่งนะค่ะ
ก็ทำให้เกิดปัญญาความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้นนะค่ะ
ขออนุโมทนาทุกท่านที่ได้รับประโยชน์ในทางกุศลครั้งค่ะ




พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทางหรือส่งประทีปในที่มืด

พระพุทธองค์ทรง นำพระธรรมที่กว่าจะรู้แจ้งนั้น ช่างยากเสียเหลือเกิน
และนำสิ่งที่ยากนั้น มาทำให้เป็นของง่าย เพราะท่านหงายให้เราได้ดูแล้ว ทำไมเราจึงต้อง ไปหาในสิ่งที่ยากกัน ในเมื่อพระพุทธองค์วางไว้ในที่แจ้งให้เราแล้ว



กระผมก็ได้ประโยชน์ขอรับ ในระหว่างที่อ่านก็ทำให้ได้รู้สภาวะจิตใจของตัวเองไปด้วย
ว่า การควบคุมจิตให้วางเฉยนั้นทำได้ยากยิ่งแต่ก็ต้องฝึก ขณะที่กระผมคิดจะว่าคนอื่น
ความคิดหนึ่งก็แว๊ปขึ้นมาว่า ไม่เอาทั้งดี..และไม่ดี..กลัวบาป... กราบขอบพระคุณขอรับ
ขอให้ทุกท่านเจริญในกุศลยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะขอรับ




อยู่วัด..สอนพระสอนเณร...มีแต่คนชม...บางครั้งนึกว่า..บรรลุไปแล้ว

...ถูกด่าบ้างก็ดีครับ...จะได้รู้ว่า กิเลสของตนยังมีอยู่มากขนาดไหน...


พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ(1)

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า ..หมายถึง วิธีการที่พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ส่งจิตในอรหัตตผลสมาบัติไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตา ยังมีอยู่หรือไม่’ (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓)


และที่สำคัญ...ขอให้ท่านพิจารณาเนื้อหาของนิสสารณียสูตร ให้ดีนะครับ...จะไม่ได้กล่าวถึงองค์ฌานใด ๆ เลย....แต่กลับกล่าวถึง..การสลัด หลุดพ้นออกไป ..การบรรลุมรรค ผล



เชื่อผมเต๊อะ....นัตถิโลเก.....โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน

พระที่ "ไม่ได้้ฌาณ" ก่อนบรรลุธรรมมี พระที่ "ได้้ฌาณ"ก่อนบรรลุธรรมก็มี

แต่ที่แน่ๆ .....หลังจากบรรลุแล้ว....ทั้งฌาณ และ ฌาณ มีตลอดเวลาเลยจ้า....




***กราบเรียนพระมหาประเสริฐดังนี้ครับ***

มีหลักเกณฑ์ในการวินิจัยพระธรรมวินัยเพื่อดำรงรักษาพระศาสนาตลอดมาจนบัดนี้
และต่อไป ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

1. สุตตะ คือพระไตรปิฎก(บาลี)
2. สุตตานุโลม คือ มหาปเทศ(ยอมรับอรรถกถาด้วย)
3. อาจาริยวาท คือ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกา)
4. อัตตโนมติ คือ มติ ทัศนะ ความเห็นของท่านผู้รู้ เป็นต้น
.............
พิจารณาคือ..ข้อ 1 ตัดสินข้อ 2-3-4
ข้อ 2 ตัดสินข้อ 3-4
ข้อ 3 ตัดสินข้อ 4

ในอรรถกถาที่แทรกอยู่พระไตรปิฎกนั้น จะมีเพื่ออธิบายขยายความ
ซึ่งถูกนำมาสอดแทรกไว้ในยุคหลังหลายร้อยปี พันกว่าปีก็ปรากฎ
ดังนั้น ในพระไตรปิฎกบาลี เมื่อนำมาแปลตรงตามนั้นแล้ว หากว่า อรรถกถากล่าว
ไม่ตรงบาลี ก็ให้ยึดบาลีขอรับ

กระผมของนำอนาคตสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ด้วยพยากรณ์ล่วงหน้าไว้
แล้ว เผื่อท่านจะได้หันมาศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจังบ้างนะขอรับ
เพราะปัจจุบัน ฆาราวาส อุบาสก อุบาสิกา จำนวนมากครับที่ได้ศึกษาและปฏิบัติ
ตามนั้นอยู่


อนาคตสูตรที่ ๓

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้
ยังไม่บังเกิดในปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น
ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ ........


อีกประการหนึ่ง ในอนาคต
ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก

เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้
ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ


*****************************

(๙)อีกประการหนึ่ง ในอนาคต
ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ
ประกอบด้วยสูญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรม
เหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน

แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิตเมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับจักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน
เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


[url]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=22&item=79&items=12&preline=0 [/url]


 4,145 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย