ปฐมปาราชิก ๔

 thamma-nayorm    8 ก.พ. 2557

นำมาจาก http://www.puwadham.com/?p=792

ในรอบปีที่ผ่านมานี้ข่าวในแวดวงพระสงฆ์มีเป็นระยะแต่ละเรื่องล้วนสร้างความมัวหมองให้แก่วงการเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่ำรวยผิดปกติ ทะเลาะวิวาท มีวิวาทะระหว่างสำนัก ท้าพูดดวลไมค์กันราวกับนักเลงหัวไม้ ที่ร้ายแรงสุดข่าวการยักยอกทรัพย์สินของวัด และเสพเมถุนอันเป็นที่มาของบทความนี้ที่จะกล่าวถึงเรื่องปฐมเหตุแห่งปาราชิก ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที แต่ผู้ที่ก่อให้เกิดความผิดร้ายแรง ๔ ประการนี้ พระพุทธองค์ไม่ลงโทษเนื่องจากเป็นต้นบัญญัติหรือปฐมเหตุจึงเป็นเรื่องน่าศึกษาอย่างยิ่ง
ปาราชิก ๔ คือ ความผิดร้ายแรงประกอบด้วย
๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ และ ๔. อวดคุณอันวิเศษที่ไม่มีในตน


๑. เสพเมถุน

พระสุทินนะเป็นบุตรเศรษฐีหมู่บ้านกลันทะ เมืองเวสาลี ออกบวชด้วยความศรัทธา ต่อมามารดาท่านอยากให้มีคนสืบสมบัติจึงไปอ้อนวอนให้ท่านสึก แต่ท่านไม่ยอมสึกตั้งสัจจะมั่นจะไปถึงพระนิพพาน ในที่สุดทำอะไรไม่ได้แล้วมารดาจึงขอพืชพันธุ์จากท่านเพื่อให้มีผู้สืบสกุล โดยให้ภรรยาเก่า (ก่อนออกบวช) มาอ้อนวอนขอให้มีบุตรด้วย สุดท้ายพระสุทินนะท่านจำยอมตามมารดาร้องขอ ยอมเสพกามกับอดีตภรรยา ต่อมามีบุตรชื่อว่า พีชกะ (เจ้าพืช)

ภายหลังพระสุทินนะเกิดไม่สบายใจจนผ่ายผอม พระรูปอื่นจึงสงสัยสอบถามจนได้ความจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า และพระองค์ไต่สวนจนได้ความจริง จึงกล่าวติเตียน และบัญญัติพระวินัยให้พระภิกษุเสพเมถุน หากมีผู้ล่วงละเมิดจะต้องปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระภิกษุ ส่วนพระสุทินนะนั้นถือว่าเป็นต้นบัญญัติไม่ต้องอาบัติ เพราะการปรับอาบัติจะไม่ปรับย้อนหลัง

พระพุทธองค์จึงกำหนดให้ปรับอาบัติสังฆาทิเสสกับพระสุทินนะโดยให้อยู่ปริวาสกรรม ให้หมู่พระภิกษุมาสวดอัพภานต่อสงฆ์วีสติวรรค (การสวดเพื่อรับกลับเข้าหมู่คณะ โดยจะต้องมีพระภิกษุสงฆ์อย่างน้อย ๒๐ รูป เป็นผู้สวด) ส่วนอดีตภรรยาและบุตรชายของท่านต่อมาได้ออกบวชตลอดถึงสำเร็จอรหัตตผลในบั้นปลาย

ต่อมาเกิดมีพระภิกษุวัชชีบุตร กรุงเวสาลีไปเสพเมถุนกับลิง จนพระภิกษุอื่นทราบเข้าจึงติเตียน และนำไปกราบบังคมทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ เมื่อไต่สวนแล้วพระภิกษุดังกล่าวอ้างว่าพระพุทธองค์ทรงบัญญัติห้ามไม่ให้เสพเมถุนกับมนุษย์เท่านั้นไม่ได้ห้ามการเสพเมถุนกับสัตว์

คราวนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยเรื่องที่ใกล้เคียงกันถึง ๗๒ เรื่อง และบัญญัติเพิ่มเติมเรียกว่า อนุบัญญัติ เพื่อให้ครอบคลุมสัตว์เดรัจฉาน พร้อมทั้งกำหนดภิกษุ ๕ ประเภทที่ไม่ต้องอาบัติปาราชิก คือ ๑. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัวหรือถูกบังคับ ๒. ภิกษุผู้เป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้ฟุ้งซ่านหรือบ้าชั่วขณะ (ไม่ใช่บ้าโดยปกติ) ๔. ภิกษุผู้มีเวทนากล้าไม่รู้ว่าทำอะไรลงไป และ ๕. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ

แต่ปัจจุบันนี้คงยากที่จะมีผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเหตุการณ์ไหนเป็นปาราชิกหรือว่าเป็นภิกษุ ๕ ประเภท ดังนั้นการเสพเมถุนถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงเข้าข่ายปาราชิกทั้งหมดทั้งสิ้น

อ่านต่อ http://www.puwadham.com/?p=792   




 4,250 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย