เราจะเอาชนะมารได้อย่างไร

     

คือดิฉันอายุ 25ปีแต่เป็นคนชอบทำบุญ ตักบาตร นุ่งขาวห่มขาวนั่งสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระทุกวันเช้า กลางวัน เย็น แต่ไม่ได้ถือศีล 8นะค่ะเพราะยังกินมือเย็นอยู่แต่ไม่ได้ดูทีวี ไม่ได้ฟังเพลง ถือเพศพรหมจรรย์ ตอนเย็นก็กินอาหารเป็นมังสวิรัติ ที่ปฎิบัติแบบนี้เพราะเคยโดนผู้ชายทำของใส่ก็เลยต้องปฎิบัติถ้าไม่ทำก็เหมือนจะมีอาการปวดหัว นอนก็จะนอนไม่ค่อยหลับเป็นมาตั้งแต่โดนของตอนอายุ 20ปีแล้วไปถอนของก็ยังไม่หายขาดอาการเป็นๆหายๆ คนแถวบ้านดิฉันพอเห็นไปใส่บาตร ไหว้พระภูมิ เจ้าที่ เค้าก็หาว่าดิฉันบ้าๆบอๆสติไม่ดี คนทั้งซอยก็มองแล้วก็หัวเราะ บางคนก็ยิ้ม ผู้ชายก็มองเราแปลกๆ ดิฉันไม่รู้จะทำอย่างไรดี
เพราะสิ่งที่เราทำมันก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว ตอนนี้ก็ยังทุกข์ใจอยู่อยากไปตักบาตรทุกเช้าแต่ก็ไม่อยากเสียอารมณ์ไปโกรธคนพวกนี้    




ศัพท์ว่า มาร มาจาก มรฺ ธาตุ
แปลว่า ตาย, มาร แปว่าผู้ให้ตาย
หมายความว่าผู้ฆ่า, คนเราไม่สามารถ
ทำทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ก็เพราะมาร
จึงตั้งตัวไม่ได้, คนไม่สามารถปฏิบัติ
สัมปรายิกัตถประโยชน์ก็เพราะมาร จึง
ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อกัน, คนไม่ได้
ปฏิบัติในปรมัตถประโยชน์ก็เพราะมาร,
มารเป็นผู้คอยทำลายล้าง เป็นผู้ฆ่าคุณ
ความดี ตามภูมิตามชั้น. มารนั้นท่าน
แจกเป็น ๕ คือ :-
ขันธ เรียกว่าขันธมาร ได้แก่กาย
อันนี้ที่แยกออกโดยอาการเป็นขันธ์ ๕,
เป็นมารอย่างไร ? คนมุ่งที่จะทำดีทำ
ชอบและจะทำได้ก็ต้องอาศัยกายอันนี้
กายอันนี้ถ้าเจ็บไข้ได้พยาธิอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ก็ทำไม่ได้ เช่นคนเจ็บอยู่ จะ
ทำกิจการอย่างใด ในทิฏฐธัมมิกัตถะ
หรือสัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ ก็
ทำไม่ได้ หรือได้บ้างก็ไม่สะดวก, เพราะ
ฉะนั้น ขันธ์ ๕ อันรวมเข้าเป็นกายอันนี้
จึงเรียกว่ามาร, อีกอย่างหนึ่งขันธ์ ๕
เป็นที่ยึดถือของสัตว์ ที่ยังข้องอยู่, เมื่อ
สัตว์ยึดถือข้องอยู่ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕
ก็เป็นมาร ทำลายล้างคุณงามความดี
เรียกว่าขันธมาร มารคือขันธ์ อย่าง ๑.
อภิสังขาร ความคิดนึกอันประกอบกับ
อารมณ์ ท่านแยกเป็น ๓ คือ อปุญญา-
ภิสังขาร คิดนึกเรื่องที่ชั่วอันปรุงแต่งจิต
ให้ชั่วอย่างหนึ่ง, ปุญญาภิสังขาร คิดนึก
เรื่องที่ดี อันปรุงแต่งจิตให้ดีอย่างหนึ่ง,
อเนญชาภิสังขาร คิดนึกอยู่ในอารมณ์อัน
เดียวจนจิตแน่วแน่ไม่หวั่นไหวอีกอย่าง
หนึ่ง; อปุญญาภิสังขาร เป็นมารของ
ปุญญาภิสังขาร, ปุญญาภิสังขารก็เป็นมาร
ของอเนญชาภิสังขาร, อเนญชาภิสังขาร
ก็เป็นมารของความตรัสรู้ เป็นมารกันเป็น
ชั้น ๆ, รวมเข้าก็เรียกว่าอภิสังขารมาร
มาร คือ อภิสังขาร, นี่อย่าง ๑.
มัจจุ แปลว่า ความตาย ความตายมี
แก่อะไร ? มีแก่ร่างกายอันนี้ที่แยกออก
เป็นขันธ์ ๕, กายอันนี้ยังมีอยู่ ก็สามารถ
จะช่วยให้ทำกิจการงานได้ ถ้ากายอันนี้
สลาย แม้จะตั้งใจทำกิจการงานก็ไม่สำเร็จ
เพราะไม่มีกายที่เป็นเครื่องมือ, มัจจุความ
ตายของกายอันนี้จึงเป็นมาร เรียกว่ามัจจุ-
มาร มารคือความตาย อย่าง ๑.
เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร, แต่
ก่อนท่านแสดงกันว่าได้แก่พระยามาร ที่
มาผจญพระพุทธเจ้า ขี่ช้างนาฬาคีรี สูง
๑๕๐ โยชน์ เท้าหน้ายันบัลลังก์ เท้าหลัง
ยันขอบจักรวาล, แต่เมื่อพิจารณาแล้ว
อาจสำเร็จสันนิษฐานว่า อารมณ์ คือ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี่เอง, รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นสำคัญ
ก็รวมลงที่คนหรือตลอดถึงสัตว์ด้วย, รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของคนตลอด
จนถึงของสัตว์ ควรจัดเข้าว่าเป็นเทว-
ปุตตมาร เพราะมีรูปร่างมีเสียงมีกลิ่นมีรส
มีโผฏฐัพพะ, คนมุ่งจะทำดีทำชอบ แต่
ถ้ามี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่
ชอบใจเข้ามาประสบ ก็ไปยินดี ใน รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบ เพราะ
ฉะนั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่
ชอบที่เป็นที่ตั้งของราคะ จึงเป็นมาร, ถ้า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้ง
ของความยินร้าย คือโกรธแค้นขัดเคือง
คนก็ไปโกรธแค้นขัดเคืองต่อ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่รวมเข้าเป็นรูป
เป็นร่างเป็นคนเป็นสัตว์ นี้ก็ป้องกันหรือ
ทำลายความดี, ถ้ารูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้งของความหลง คน
ก็หลงต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
เช่น หลงกลัวผี กลัวสัตว์ร้าย กลัวอะไร
ต่าง ๆ ตลอดถึงกลัว แต่ เจ็บ ตาย นี้ก็
ป้องกันหรือทำลายความดี, รวมความว่า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นที่ตั้ง
แห่งความยินดี ก็ยั่วให้เกิดความยินดี ที่
เป็นที่ตั้งแห่งความยินร้าย ก็ยั่วให้เกิดความ
ยินร้าย เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ก็ยั่วให้
เกิดความหลงงมงาย ไม่กล้าทำคุณความดี
ได้ จึงเป็นมาร เรียกว่า เทวปุตตมาร
มารคือเทพบุตร อย่าง ๑.
อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสำคัญก็คือกิเลส
เครื่องเศร้าหมองใจ หรือเครื่องที่ทำใจ
ให้เศร้าหมอง เคยแสดงกันมาแล้ว, เมื่อ
กล่าวโดยย่อ กิเลสอย่างละเอียดอย่างกลาง
อย่างต่ำเป็นมารของกันและกันเป็นชั้น ๆ :
กิเลสอย่างต่ำ เป็นมารของกิเลสอย่างกลาง,
กิเลสอย่างกลาง เป็นมารของกิเลสอย่างสูง,
กิเลสอย่างสูง เป็นมารของการตรัสรู้, แต่
ว่าโดยนัย ตามพระพุทธภาษิตที่แสดงถึง
กิเลสมีอาการต่าง ๆ ท่านแยกเป็น ๔
คือ :-
กามะ ความใคร่ที่นอนเนื่องอยู่กับจิต
เมื่อมีอารมณ์มาประสบ ก็ออกมาใคร่
อารมณ์ นี่อย่างหนึ่ง.
ภวะ ความเป็นที่นอนเนื่องอยู่กับจิต
เมื่อได้รู้ความเป็นอะไรต่าง ๆ ก็ออกมา
เป็นนั่นเป็นนี่ อีกอย่างหนึ่ง.
ทิฏฐิ ความเห็นที่มีอยู่ในจิต มุ่งเอา
ความเห็นผิดอยู่, แต่ถ้ามีอารมณ์มาประสบ
ความเห็นที่มีอยู่ก็ออกมาเห็นอารมณ์ แล้ว
ก็เห็นผิดจากความจริงไป นี่อีกอย่างหนึ่ง.
อวิชชา ตามศัพท์ แปลว่า ความไม่รู้
จะพึงแยกออกได้เป็น ๒ คือ อวิชชาเดิม
ได้แก่ความไม่รู้ คือไม่รู้อะไร ๆ ออกไป
เหมือนดังคนอยู่ในห้องมืด ไม่รู้ว่าในห้อง
นั้นมีอะไร มืด ท่านจึงเรียกว่า ตโม หรือ
ตมะ แปลว่า มืด, เมื่อมีอารมณ์มาประสบ
อวิชชานั้นออกไปรู้จักอารมณ์ อวิชชาก็มี
อาการคือรู้ผิดจากความจริง, ความจริง
เป็นอย่างหนึ่ง แต่รู้ผิดจากความจริงไป
เป็นอีกอย่างหนึ่ง, นี่เป็นอวิชชามีอาการ
หรืออาการของอวิชชา, เหมือนดังคนอยู่
ในห้องมืด ไม่รู้ว่าในห้องมีอะไร เมื่อมี
แสงสว่างเข้าไปในช่องหนึ่ง ก็เห็นสิ่งที่อยู่
ในห้องนั้นช่องหนึ่ง ก็นึกว่ามีเท่านี้แหละ,
ครั้นมีแสงสว่างเข้าไปอีกช่องหนึ่ง ก็เห็น
ว่ามีเท่านี้แหละ ไม่เห็นตลอด, เช่นเห็น
เกิดแล้วก็ดีใจ เห็นตายก็เสียใจ สำหรับ
คนที่รักใคร่กัน แต่ถ้าคนที่เกลียดกัน เกิด
ขึ้นก็ไม่ชอบใจ ตายไปก็ยินดี.
กาม ภพ ( ภวะ ) ทิฏฐิ อวิชชา ทั้ง ๔ นี้
ที่นอนเนื่องครอบงำจิตอยู่ ยังไม่แสดง
ออกมาให้ปรากฏ ท่านเรียกว่า อัณณวะ
อัณณพ แปลว่า ทะเล เหมือนดังน้ำใน
ทะเลที่นอนอยู่ไม่ไหลก็ท่วมปกปิดของที่
อยู่ภายใต้ไว้, เรียกว่า โอฆะ บ้าง, โอฆะ
แปลว่ากระแส หมายความว่า กระแสน้ำ
ที่ไหลไปพัดพานท่วมทับสิ่งที่อยู่ในกระแส
นั้น, กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา ที่แสดง
อาการออกไป ก็ท่วมทับไหลพัดพานใจ
สัตว์ จึงเรียกว่า โอฆะ ; กาม ภพ ทิฏฐิ
อวิชชานี้ ที่มีอาการผูกใจสัตว์ไว้ให้ติดอยู่
ในอารมณ์ต่าง ๆ หรือในภพ เรียกว่า
โยคะ ; แปลว่า เครื่องประกอบร้อยรัดใจ
สัตว์ไว้ เรียกว่าคันถะ ; แต่ก็ ๔ อาการ
นี้แหละ : ถ้ามีอาการที่ท่วมทับให้จมอยู่
ก็เปรียบด้วยทะเล เรียกว่าอัณณพ, ที่ไหล
พัดพานท่วมทับใจเรียกว่า โอฆะ, ที่ผูกใจ
ไว้ เรียกว่า โยคะ, ที่ร้อยรัดใจไว้ก็เรียก
ว่า คันถะ. สังโยชน์ก็ศัพท์เดียวกับโยคะ
แปลว่าประกอบพร้อม, แม้พระอริยบุคคล
ชั้นต้นก็ละได้เพียงสังโยชน์บางอย่าง ต่อ
ขั้นสูงสุดจึงละสังโยชน์ได้หมด, เหล่านี้
แหละเป็นกิเลส เป็นมารทำลายล้างคุณ
ความดีที่ไม่ให้คนทำถูกต้องตามคลอง
ธรรม จึงเรียกว่า กิเลสมาร มาร คือ กิเลส.
เมื่อคนอยู่ในอำนาจของมาร มารทำลาย
ล้างความดี ใช้ไปให้ทำชั่วต่าง ๆ, คน
หรือสัตว์ก็ทำตามอำนาจมาร นี่แหละมัน
จึงเกิดยุ่งกันขึ้น, คนตั้งตัวไม่ได้ก็เพราะ
มาร อยู่ด้วยกันไม่เป็นสุขก็เพราะมาร
ไม่รู้ตามเป็นจริงก็เพราะมาร, แม้เราจะยัง
ละมารกำจัดมารไม่ได้ แต่ก็ควรจะรู้จัก
หน้าตาของมารไว้, เมื่อมารอะไรเกิดขึ้น
ครอบงำใจ ก็มีสติระลึกได้และรู้ตัว.
ท่านแสดงว่าพระพุทธเจ้าชนะมารก็ด้วย
ผจญมาร ผจญก็ต่อสู้มาร, ต่อสู้มารด้วย
อะไร ? ด้วยบารมี คือ ทานบารมี สีล
บารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี นี่เป็น
ข้อปฏิบัติโดยตรง, วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เป็นอุปการะ
ช่วยอุดหนุน, ชนะมารชั้นต้นก็เป็นด้วย
บารมีสามัญ, ชนะมารชั้นกลางก็ด้วยอุป-
บารมี บารมีที่จวนใกล้, ชนะมารสูงสุด
ก็ด้วยปรมัตถบารมี จึงได้เป็นพระพุทธเจ้า.
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าชนะขันธ์
เพราะท่านไม่ยึดถือขันธ์ ไม่อยู่ในอำนาจ
ของขันธ์, ชนะอภิสังขารเพราะท่านไม่อยู่
ในอำนาจของความนึกคิด, ชนะมัจจุมาร
คือความตาย เพราะท่านอยู่เหนือความ
ตาย ความตายไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับท่าน
ชนะเทวปุตตมาร คือ ชนะ รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ, ชนะกิเลสมาร มารคือ
กิเลส เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่ามารชิโน
ผู้ชนะมาร หรือ ชิตมาโร มีมารอันพระองค์
ชนะแล้ว.
เรายังตกอยู่ในอำนาจหรือวิสัยของมาร
เพราะบำเพ็ญบารมียังไม่เต็มที่ แต่ถึง
เช่นนี้ เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระ-
พุทธเจ้าแล้ว ก็ควรจะนำคำสั่งสอนของ
่พระพุทธเจ้าเข้ามาบำเพ็ญให้เป็นบารมีไป,
ชั้นต้นก็ปฏิบัติทิฏฐธัมมิกัตถะ ชั้นที่ ๒ ก็
ปฏิบัติสัมปรายิกัตถะ, ส่วนปรมัตถะแม้จะ
ยังไม่เห็นทาง หรือเห็นว่าไม่สามารถจะ
ปฏิบัติได้ ก็พึงรู้ไว้ตามเรื่องตามราว และ
ก็ควรปฏิบัติในข้อที่พอสามารถปฏิบัติได้
ถึงยังจะไม่ได้บรรลุปรมัตถะในชาตินี้ ก็จัก
เป็นบุญกุศลให้ผลดีทั้งในชาตินี้และต่อไป
กว่าจะถึงที่สุด. เพราะคนเราเกิดมาแล้ว
ก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย เมื่อไม่มีที่
ยึดเหนี่ยวของใจ ใจก็ว้าเหว่, ถ้ามีที่
ยึดเหนี่ยวของใจแล้ว ใจก็อุ่นหนาฝาคั่ง
ตายไปด้วยใจที่อุ่นหนาฝาคั่งก็เป็นสุข ตาย
ด้วยใจที่ว้าเหว่ก็เปล่าเปลี่ยวไม่เป็นสุข.
( โอ. ๑/๒๑๓-๒๑๙ ).
อีกนัยหนึ่ง มาร คือ ผู้ทำลายล้าง
ความดี ได้แก่โลภะ คือความอยากได้
หรือราคะ คือความยินดี ติดอยู่ในอารมณ์
ที่ชอบ ๑, โทสะ ความประทุษร้ายใจ
เพราะโกรธในอารมณ์ที่ไม่ชอบ ๑, โมหะ
ความหลงเพราะไม่พิจารณาดูให้รู้อารมณ์
ตามเป็นจริง ๑, เกิดขึ้นที่จิต ทำจิต
ให้กระวนกระวาย จนถึงให้ทำชั่วทางกาย
บ้าง ทางวาจาบ้าง เพราะความจงใจ,
โลภะ หรือ ราคะ โทสะ โมหะ จึงเป็น
อกุศลมูล ที่ตั้งแห่งอกุศลด้วย เป็น
อกุศลด้วย และเป็นมารผู้ทำลายล้าง
ความดี. ( วชิร. ๒๑๕ ).

ใช้ปัญญา พินิจ พิจารณา ปฎิบัติ ศรัทธา ศึกษาอ่านดูให้รอบคอบนะครับ


• ปฏิบัติธรรมวันสงกรานต์ แบบเจโตวิมุติ 12 - 15 เมษายน 2567 ณ ปัณฑิตารมย์สระบุรี

• บรรยายธรรมแก่นักเรียน สอนนั่งสมาธิ โดย #พระอาจารย์ต้น #ธรรมนาวา #dhammanava ๒๒/๐๗/๒๕๖๕

• วัดวังผาแดง ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

• "ความสิ้นกรรม"

• ๑๖.ปางจงกรมแก้ว

• บูรณาการเวลากับสถานที่

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย