การบ้านครับการบ้านไม่มีส่งอาจารย์ครับ
ช่วยตอบให้หน่อยครับ
ขอบคุณครับ
ก็...ความไม่ประมาท และความมีสติ...งัย
หารายละเอียดใน google ดู
ก็บอกมาจิว่าเป็นธรรมะข้อไหนอ่ะ
ป้อนแล้ว...ยังต้องให้ช่วยเคี้ยวด้วยหรือ...
เด็กดี..อย่างเดียงยังไม่พอ..ต้องขยัน และใฝ่รู้ด้วยนะ.
ธรรมะที่เกี่ยวกับความประมาท คือ ความไม่ประมาท ครับ คุณเด็กดี ดี
ธรรมเอกในพระศาสนา คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ มีความเพียรที่จะดำเนินชีวิต โดยมีสติเป็นเครื่องกำกับ ความประพฤติปฏิบัติ และการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม ไม่ยอมพลาดโอกาศอันดีงาม และความเจริญก้าวหน้า ตระหนักในสิ่งที่พึงทำ และพึงเว้น ใส่ใจสำนึกในหน้าที่ อันจะต้องรับผิดชอบ จริงจัง รอบคอบ
สาวัตถีนิทาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสรรเสริญความไม่ประมาทไว้ว่า....
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงิน แสงทอง ฉันใด ความบังเกิดขึ้นแห่ง อริยะมรรคมีองค์ ๘ ของภิกษุ คือความถึงพร้อมที่กระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ซึ่งความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น
ความมีมิตรดี ความถึงพร้อมแห่งศีล ความถึงพร้อมแห่วฉันทะ ความถึงพร้อมแห่งจิต ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยะมรรคมีองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง ..........
มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (ความหมายอ่านได้ในเรื่องย้อนหลัง) อันกำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด
เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้มรรคมีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่าง ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย
รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย จะชนิดใดๆก็ตาม ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาททั้งหมด ความไม่ประมาท จึงเรียกได้ว่าเป็น ธรรมเอก เป็น ยอดของธรรม ฉันนั้น....
แม้ในปัจฉิมวาจา คือพระวาจาครั้งสุดท้าย ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธองค์ยังตรัสเตือน ภิกษุทั้งหลายว่า เธอทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
ความไม่ประมาทจึงเป็น ธรรมเอก ในพระศาสนานี้ เพราะความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ คือประโยชน์ในการดำรงชีวิตปัจจุบัน และประโยชน์เบื้องหน้า คือการได้บรรลุคุณธรรม เพื่อความดำรงมั่น ความไม่เสื่อมสูญ และความไม่อันตรธานแห่ง "พระสัทธรรม" ดังนี้....
(สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้า ๗๔-๙๘ ปฐมกัลยาณมิตรสูตร)
ขอให้เจริญในธรรมครับ
อปฺปมาโท อมตํปทํ
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
เย ปมตฺตา ยถา มตา . . . ฯ ๒๑ ฯ
ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย
ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว
Heedfulness is the way to the Deathless;
Heedlessness is the way to death.
The heedful do not die;
The heedless are like unto the dead
เอตํ วิเสสโต ญตฺวา
อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
อริยานํ โคจเร รตา . . . ฯ ๒๒ ฯ
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง
ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
จึงยินดีในความไม่ประมาท
อันเป็นแนวทางของพระอริยะ
Realizing this distinction,
The wise rejoice in heedfulness,
Which is the way of the Noble.
อุฏฺฐานวโต สติมโต
สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ . . . ฯ ๒๔ ฯ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด
ทำงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท
Of him who is energetic, mindful,
Pure in deed, considerate, self-restrained,
Who lives the Dharma and who is heedful,
Reputation steadily increase.
อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน
สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี
ยํ โอโฆ นาภิกีรติ . . . ฯ ๒๕ ฯ
ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความสำรวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง
ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) แก่ตน
ที่ห้วงน้ำ (กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้
By diligence, vigilance,
Restraint and self-mastery,
Let the wise make for himself an island
That no flood can overwhelm.
ปมาทมนุยุญฺชนฺติ
พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี
ธนํ เสฏฺฐํว รกขติ . . . ฯ ๒๖ ฯ
คนพาล ทรามปัญญา
มักมัวประมาทเสีย
ส่วนคนฉลาด ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ
The ignorant, foolish folk
Indulge in heedlessness,
But the wise preserve heedfulness
As their greatest treasure.
มา ปมาทมนุยุญฺเชถ
มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต
ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ . . . ฯ ๒๗ ฯ
พวกเธออย่ามัวประมาท
อย่ามัวเอาแต่สนุกยินดีในกามคุณอยู่เลย
ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจตามเป็นจริงเท่านั้น
จึงจะบรรลุถึงความสุขอันไพบูลย์ได้
Devote not yourselves to negligence;
Have no intimacy with sensuous delights.
The vigilant, meditative person
Attain sublime bliss.
ปมาทํ อปฺปมาเทน
ยทา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญา ปาสาทมารุยฺห
อโสโก โสกินึ ปชํ
ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ
ธีโร พาเล อเวกฺขติ . . . ฯ ๒๘ ฯ
เมื่อใดบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่ "ปราสาทคือปัญญา"
ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เหมือนคนยืนบนยอดเขา
มองลงมาเห็นฝูงชนที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น
When banishing carelessness by carefulness,
The sorrowless, wise one ascends the terrace of wisdom,
And surveys the ignorant, sorrowing folk
As one standing on a mountain the grounding.
อปฺปมาเทน มฆวา
เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
ปมาโท ครหิโต สทา . . . ฯ ๓๑ ฯ
ท้าวมฆวานได้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ
เพราะผลของความไม่ประมาท
บัณฑิตจึงสรรเสริญความไม่ประมาท
และติเตียนความประมาททุกเมื่อ
By vigilance it was that
Indra attained th lordship of the gods.
Earnestness is ever praised,
Carelessness is ever despised.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ
ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ . . . ฯ ๓๑* ฯ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้
เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด
The bhikkhu who delights in earnestness
And discerns dangers in negligence,
Advances, consuming all fetters,
Like fire burning fuel, both small and great.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย
นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก . . . ฯ ๓๒ ฯ
ภิกษุผู้ไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ไม่มีทางเสื่อม
ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้
The bhikkhu who delights in earnestness
And discerns dangers in negligence,
Is not liable to fall away;
He is certainly in the presence of Nibbana.
ถ้ามันมีนะจะไม่มาถามเลย
น้องครับ
พี่ช่วยหามาแล้ว
แล้วไหงน้องจึงพูดแบบนี้ล่ะครับ
น่าเห็นใจคุณวิศวะเซนต์จอห์นนะคะ(แซวเล่นนะคะ) สงสัยจะตอบลึกและละเอียดไป คุณเด็กดีคะ...ลองตอบสั้นๆ..ว่าปัจฉิมโอวาทซิคะ ถ้ายังไงอย่าว่านะเพราะคุณพี่พ้นน้ำกับคุณวิศวะเซนต์จอห์ก็ปูนนี้แล้ว ก็ใช้ภาษาแบบนี้ แต่ถ้าจะเอาคำตอบภาษาวัยรุ่นก็รอคนอื่นล่ะกัน คุณพี่พ้นน้ำกับคุณวิศวะเซนต์จอห์นคงต้องจับมือกันกลับไปหาตำราใหม่ ยุคภาษาปี51
คุณพี่พ้นน้ำก็ไม่แน่ใจ อาศัยพลิกตำราลูกชาย ...พระพุทธศาสนา..ม.6...