สวัสดีครับ คุณกฤษฎา
การสวดมนต์ทุกครั้ง ตั้งนโมครั้งเดียว จากนั้นก็สวดบทต่อๆไปได้เลย ไม่ต้องตั้งนโมใหม่
ยกเว้นเราทำพิธีและเริ่มขั้นตอนใหม่
ในคาถาชินบัญชร ผมใช้เกสะโตครับ
ตอบคุณกฤษฎาค่ะ
ในฐานะที่เคยท่องเป็นประจำทุกวัน วิสัชนาดังนี้ค่ะ
ก่อนสวดมนต์ที่เป็นมงคลทั้งหลายนั้น ผู้สวดควรจะทราบความหมาย
ของแต่ละบท เพื่อให้เข้าใจ และจิตได้รำลึกถึงแต่สิ่งที่เป็นมงคลในขณะที่
สวดด้วยนะคะ เป็นการเพิ่มศรัทธา จิตจะได้อิ่มเอิบ เกิดปิติได้ด้วยนะค่ะ
ก่อนการสวดมนต์อันที่เป็นมงคลนั้น เริ่มจาก..คำบูชาพระรัตนตรัย..
(เพราะคำสวดที่หลวงปู่โตเขียนขึ้นนี้ ก็ด้วยศรัทธาในพระศาสดาและพระ
อริยะเจ้า เทพเทวดา ทั้งหลายที่เป็นผู้ได้รับรสแห่งพระธรรมของพระศาสดา
ให้มาปกปักษ์รักษาผู้สวด)
@ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
พุทธัง ภะคะวะตา อะภิวาเทมิ
(ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)
***กราบ***
@ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
(พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม)
***กราบ****
@ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโน สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์)
***กราบ****
จากนั้น ก็สวดบูชานอบน้อมพระศาสดา ...3 จบ
(เป็นการระลึกขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็น
องค์พระศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย)
@ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
***กราบ 3 ครั้ง***
จากนั้นก็ท่องบทสวดชินบัญชร นะค่ะ
(อยากจะให้หาหนังสือบทสวดที่มีคำแปลประกอบด้วยนะคะ ..ตั้งข้อสังเกตว่า
ปัจจุบัน ได้มีการพิมพ์ซ้ำจากผู้ที่มีศรัทธาแจกจ่ายกันมาก การตรวจสอบ
คำสวดจากต้นฉบับ ก็จะมีผิดเพี้ยนไปบางคำนะค่ะ ..ก็อย่างที่คุณเจอนี่หละ
แล้วยังมีประกอบคำไวยกรศัพท์บาลีที่ถูกต้องด้วย)
อย่างคำที่คุณถาม ดิฉันได้ดูจากหนังสือบทสวดที่มีพระตรวจสอบแล้ว
ทั้งให้ถูกไวยกรศัพท์บาลีด้วย จะเป็น "เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง.."
****แนะนำอีกเรื่องนะคะ **ถ้าหากจะสวดมนต์ ขอแนะให้สวดคาถา(ธรรม)
ที่เป็นพุทธพจน์ ซึ่งเป็นมงคลที่สุดค่ะ เป็นคาถาที่ตรัสจากพระโอษฐ์ ซึ่งมี
บันทึกไว้ เรียกว่า "คาถาธรรมบท" ลองหาอ่านนะคะ
อ้อ..แล้วอย่าลืมแผ่เมตตา หลังสวดมนต์เสร็จแล้วนะคะ
เจริญในธรรมค่ะ
เป็น เกสโต ปิฏฐิภาคสฺมึ
ณ ส่วนหลัง แต่ (เส้น) ผม (น่าจะเป็นท้ายทอย หรือปล่าว)
หรือจากเส้นลงมา ส่วนหลัง ตรง ตรง นี้ ขออ้าง ....
..... ท่อนนักพูด
...... เต กับ โต แม้จะเป็นครุ เหมือนกัน แต่ก็ต่างความกัน (สฺมา สฺมึ)
เกส เส้นผม+โต (โต เป็นบัญจมีวิภัตติ ในความหมายว่า จาก จากตรงนั้น)