ขอความอนุเคราะห์จากคุณ 123... ด้วยครับ

 ilbd    

เรียน คุณ 123....
ผมขอรบกวน คุณ 123.... ด้วยครับ
คือผมมีความไม่รู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบางประการ
เลยอยากขอคำแนะนำจากคุณ 123.... เป็นการส่วนตัว

หากคุณ 123.... อนุเคราะห์ โปรดแจ้งรายละเอียดการติดต่อให้ด้วยครับ
(ขอสอบถามทางอีเมลก็ได้ครับ)

ขอบคุณครับ




เรียน คุณ 123....
ผมขอรบกวน คุณ 123.... ด้วยครับ
คือผมมีความไม่รู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบางประการ
เลยอยากขอคำแนะนำจากคุณ 123.... เป็นการส่วนตัว

หากคุณ 123.... อนุเคราะห์ โปรดแจ้งรายละเอียดการติดต่อให้ด้วยครับ
(ขอสอบถามทางอีเมลก็ได้ครับ)

ขอบคุณครับ

โดย : ilbd [DT06330] 30 พ.ค. 2551 15:33 น.

อยากจะช่วยอยู่เหมือนกัน แต่ไม่อยากเปิดเผยที่อยู่ จะทำไงดีครับ...


คุณ 123

อยากให้คุณ 123 เปิดเว็บสอนธรรมะอีกแห่ง


คุณ 123

อยากให้คุณ 123 เปิดเว็บสอนธรรมะอีกแห่ง


ก็อยากอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีความรู้เรื่องคอมพ์จ้า...


ตามอ่านคุณ 123 มานาน ธรรมะไทย น่าจะเปิดห้องให้คุณ 123 สักห้องไว้ให้
สมาชิกได้ ปรึกษาธรรม... ใจกว้างๆหน่อย


ตามอ่านคุณ 123 มานาน ธรรมะไทย น่าจะเปิดห้องให้คุณ 123 สักห้องไว้ให้
สมาชิกได้ ปรึกษาธรรม... ใจกว้างๆหน่อย

น้องนุ่น DT02129 [30 พ.ค. 2551 19:19 น.] คำตอบที่ 4

ขอบใจจ้า...ที่เชื่อใจ 123...

แต่แบบนี้ก็ดีอยู่แล้วจ้า...คนสนใจศึกษาธรรมมา จะรู้ได้ ว่าสิ่งไหนเป็นธรรมจ้า...อะ อะ อะ อะ




จึงวิสัชนาว่า สมาธินี้มีประการเป็นอันมากมิใช่น้อย ถ้าจะแสดงให้สิ้นเชิงนั้นจะฟุ้งซ่านไป บมิได้สำเร็จประโยชน์ที่จะต้องประสงค์ เหตุดังนั้นสมาธิที่จะแสดงบัดนี้ จะยกขึ้นว่าแต่สมาธิที่สัมปยุตต์ด้วยกุศลจิตอย่างเดียว ในข้อปฐมปุจฉาว่า สิ่งดังฤๅได้ชื่อว่าสมาธินั้น วิสัชนาว่าสมาธินี้ใช่อื่นใช่ไกล ได้แก่เอกัคคตาเจตสิกที่มีกำลังกล้าบังเกิดพร้อมด้วยกุศลจิต แลข้อทุติยปุจฉาว่า สิ่งดังฤๅจึงได้ชื่อว่าสมาธินั้น วิสัชนาว่าเอกกัคคตาเจตสิกที่มีกำลังกล้าบังเกิดพร้อมด้วยกุศลจิต ได้นามบัญญัติชื่อว่าสมาธินั้นด้วยอรรถว่าตั้งจิตแลเจิตสิกทั้งปวงไว้ ให้แน่วแน่เป็นอันหนึ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว แลข้อตติยปุจฉาว่า ลักษณะแลกิจแลผลแลอันสันนการณ์แห่งสมาธิเป็นดังฤๅนั้น วิสัชนาว่าสมาธินั้น มีสภาวะบมิได้กำเริบเป็นลักษณะ มีกิริยาขจัดเสียซึ่งฟุ้งซ่านเป็นกิจ มีกิริยาอันตั้งจิตไว้ให้มั่น บมิได้หวาดหวั่นไหวเป็นผล

มีความสุขอันติดในกายแลจิตเป็นอาสันนการณ์ อธิบายว่าสุขนั้นเหตุอันใกล้ที่จะให้บังเกิดสมาธิ แลข้อปุจฉาคำรบ ๔ ที่ว่า สมาธิมีประมาณเท่าดังฤๅนั้นวิสัชนาว่าพระสมาธินี้ ถ้าแสดงโดยเอกะนั้น มีประมาณ ๑ ด้วย สามารถลักษณะที่บมิได้กำเริบ พระสมาธินี้แม้ว่าจะจำแนกแจกออกไปโดยประเภทต่าง ๆ ก็ดี ที่จะพ้นจากลักษณะที่ไม่กำเริบนี้หามิได้เหตุฉะนี้

เมื่อแสดงโดยลักษณะนั้น ท่านจึงรวมพระสมาธิทั้งปวงเข้าไว้เป็น ๑ แสดงในเอกะว่าสมาธิมีประการอันหนึ่งดังนี้ จึงวิสัชนาสืบต่อออกไปอีกเล่าว่า พระสมาธินั้นถ้าจะแสดงโดยทุกะต่างออกเป็น ๘ ด้วยสามารถทุกะทั้ง ๔ ในปฐมทุกะนั้นต่างออกเป็น ๒ คือ อุปจารสมาธิประการ ๑ อัปปนาสมาธิประการ ๑ ในทุติยทุกะนั้นก็ต่างออกเป็น ๒ คือ เป็นโลกียสมาธิประการ ๑ เป็นโลกุตตรสมาธิประการ ๒ ในตติยทุกะนั้นก็ต่างออกเป็น ๒ คือเป็นสมาธิประกอบไแด้วยปีติประการ ๑ เป็นสมาธิหาปีติมิได้กระการ ๑ ในจตุตถทุกะนั้นก็ต่างออกเป็น ๒ คือ เป็นสมาธิเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาประการ ๑

ถ้าแสดงโดยติกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๑๒ ด้วยสามารถติกะทั้ง ๔ ในปฐมติกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๓ คือ เป็นหีนสมาธิอย่างต่ำอย่างน้อยประการ ๑ มัชฌิมสมาธิอย่างมัธยมประการ ๑ ปณีตสมาธิอย่างยิ่งประการ ๑ ในทุติยติกะนั้นต่างออกเป็น ๓ คือ สมาธิประกอบวิตกวิจารประการ ๑ สมาธิหาวิตกบมิได้มีแต่วิจารนั้นประการ ๑ สมาธิปราศจากวิตกวิจารนั้นประการ ๑

ในตติยติกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๓ คือ สมาธิกอปรไปด้วยปีติประการ ๑ สมาธิกอปรไปด้วยสุขประการ ๑ สมาธิกอปรไปด้วยอุเบกขาประการ ๑ ในจตุตถติกะนั้นต่างออกเป็น ๓ สามารถปริตตสมาธิ แลมหัคคตสมาธิแลอัปปมาณสมาธิ อธิบายว่าสมาธินั้นเป็นกามาพจรอย่าง ๑ เป็นรูปาพจรอย่าง ๑ เป็นโลกุตรอย่าง ๑ ถ้าจะแสดงโดยจตุกะนั้น

สมาธิต่างออกเป็น ๒๔ ด้วยสามารถจตุกะ ๖ ในปฐมจตุกะนั้น ต่างออกเป็น ๔ คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ปฏิบัติได้ด้วยยากตรัสรู้ช้าอย่าง ๑ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ปฏิบัติได้ด้วยยากตรัสรู้พลันนั้นอย่าง ๑ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิปฏิบัติได้ด้วยง่ายตรัสรู้ช้านั้นอย่าง ๑ สุขาฏิปทาทันธาขิปปภิญญาสมาธิ ปฏิบัติได้ด้วยง่ายตรัสรู้พลันนั้นอย่าง ๑ ในทุติยจตุกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถปริตตปริตตารมณ์ คือ สมาธิมิได้ชำนาญ มิได้เป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน แลอารมณ์มิได้จำเริญออก ๑ เป็นปริตตอัปปมาณารมณ์ คือ สมาธิมิได้ชำนาญ มิได้เป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน

แลอารมณ์มิได้จำเริญออก ๑ เป็นอัปปมาณอัปปมาณอัปปณารมณ์ คือสมาธิอันชำนาญเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน แลมีอารมณ์จำเริญออก ๑ ในตติยจุกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถ ปฐมฌาณ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ที่จัดโดยจตุกนัย ในจตุตถจตุกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถเป็นหานภาคิยสมาธิ คือ สมาธินั้นโยคาพจรจำเริญได้แล้ว มีส่วนข้างจะเสื่อมสูญไปอย่าง ๑ เป็น ฐิติภาคิยสมาธิ คือจำเริญได้อยู่เพียงใด มีส่วนใดที่จะตั้งอยู่เพียงนั้นบมิได้ยิ่งขึ้นไป แลบมิได้เสื่อมลงนั้นอย่าง ๑ เป็นวิเสสภาคิยสมาธิคือโยคาพจรจำเริญได้ มีส่วนข้างวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยลำดับแห่งฌานนั้นอย่าง ๑ เป็นนิพเพทภาคิยสมาธิ มีนิพพิทาญาณบังเกิดพร้อมให้เหนื่อยหน่ายจากสังขาร

ธรรมนั้นอย่าง ๑ ใ นปัญจมจตุกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถ เป็นกามาพจารสมาธิอย่าง ๑ รูปาพจารสมาธินั้นอย่าง ๑ อรูปาพจรสมาธิอย่าง ๑ โลกุตตรสมาธิอย่าง ๑ ในฉัฏฐมจตุกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถฉันหาธิปติสมาธิ กอปรไปด้วยความรักความปรารถนากล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑ วิริยาธิปติสมาธิ ิกอปรไปด้วยความเพียรกล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑ จิตตาธิปติสมาธิมีกุศลจิตกล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑

วิมังสาธิปติสมาธิกอปรไปด้วยปัญญากล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑ สิริสมาธิในจตุกะทั้ง ๖ นี้จึงเป็นสมาธิ ๒๔ อย่างด้วยกัน ถ้าจะแสดงโดยปัญจกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๕ ด้วยสามารถเป็นปฐมฌานสมาธิ ทุติยฌานสมาธิ ตติยฌานสมาธิ จตุตถฌานสมาธิ ปัญจมฌานสมาธิ แสดงเอกะ ๑ ทุกะ ๔ ติกะ ๔ จตุกะ ๖ ปัญจกะ ๑ จำแนกแจกออกซึ่งสมาธิ ๕๐ ทัศ

วิสัชนาในข้อปุจฉาเป็นคำรบ ๕ ที่ว่าสมาธิมีประมาณเท่าดังฤๅนั้นเสร็จแล้ว จึงวิสัชนาในข้อปุจฉาคำรบ ๕ ที่ว่าสมาธิจะเศร้าหมองด้วยสิ่งดังฤๅนั้นต่อไปว่า สมาธิจะเศร้าหมองนั้น อาศัยแก่มีสัญญาแลมนสิการที่เกิดพร้อมด้วยความรัก ความปราถนา ในปัญจพิธกามคุณแล้วกาลใด สมาธิก็จะเศร้าหมองเสื่อมสูญไปในกาลนั้น

แลข้อปุจฉาเป็นคำรบ ๖ ที่ว่าสมาธิจะบริสุทธิ์ด้วยสิ่งดังฤๅนั้น มีคำวิสัชนาว่า สมาธิจะบริสุทธิ์นั้น อาศัยแก่มีสัญญาแลมนสิการที่บมิได้ปราศจากวิตกตั้งอยู่ในภาวนาวิธี เป็นวิเสสภาคิยะแล้วกาลใด ก็เป็นปัจจัยให้สมาธิบริสุทธิ์ในกาลนั้น แลข้อปุจคำรบ ๗ ที่ว่าโยคาพจรจะจำเริญสมาธิ จะจำเริญเป็นดังฤๅนั้น

วิสัชนาว่าพิธีที่จำเริญโลกุตตรสมาธินั้น สงเคราะห์เข้าในปัญญาภาวนา ในที่อันนี้จะประสงค์ว่าแต่พิธีที่จำเริญโลกิยสมาธิ เมื่อแรกจะจำเริญสมาธินั้น พระโยคาพจรกุลบุตรพึงชำระศีลแห่งให้บริสุทธิ์แล้วพึงตัดเสียซึ่งปลิโพธใหญ่น้อยทั้งปวง
อย่าให้มีธุระกังวลอยู่ ด้วยปลิโพธสิ่งใดสิ่งหนึ่ง


 4,062 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย