บรรทัดฐาน การปฏิบัติ สมาธิ 2

     

ตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่หนึ่ง ถึงลักษณะ และความหมายของสมาธิ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับระบบสรีระร่างกาย และหลักวิชาการด้านต่างๆ ในตอนนี้จะกล่าวถึง สาเหตุของการที่จำเป็นต้องมีบรรทัดฐานในการปฏิบัติสมาธิ อันเป็นการพัฒนาพุทธศาสนา ในยุคสมัยนี้ เนื่องด้วย ศาสนาใดใด ก็ตาม ย่อมมีหลักปฏิบัติ เพียงหนึ่ง เดียว ในนิกายแห่งศาสนานั้นๆ ไม่มีการนำหลักปฏิบัติ ออกไปแบ่ง
แยก หรือนำหลักปฏิบัติ ไปคิดเอาเอง โดยที่ไม่รู้จริง ไม่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ หรือไม่เป็นไปตามระบบของสรีระร่างกาย สิ่งแวดล้อม
ในพระไตรปิฎก ย่อมมีการสอนวิธีปฏิบัติสมาธิ เพียงรูปแบบเดียว ไม่ใช่ต่างคน ต่างสำนัก หรือต่างลัทธิ ที่แอบอ้างว่าเป็นศาสนาพุทธ นำเอาวิธีปฏิบัติ ไปคิดเอาเอง ไปทำกันเอง หรือต่างคนต่างความคิด ต่างคนต่างทำ จนทำให้หลักปฏิบัติ สมาธิ ไม่มีอยู่ในรูปแบบเดียว แตกต่างรูปแบบกันออกไป เพียงเพื่อใช้ความแปลก เป็นเครื่องดึง ดูดผู้คน ทำนองเป็นการพาณิชย์
ดังนั้น หากจะพัฒนาพุทธศาสนา ต้องแก้ไขให้มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ สมาธิ เพียงรูปแบบเดียว ตามหลักการของข้าพเจ้าเท่านั้น (อ่านแล้วคิดพิจารณา อย่าเพิ่งเชื่อ และอ่านให้จนจบบทความ ทุกตอน แล้วค่อยว่ากัน)

หลักการปฏิบัติ สมาธิ ตามแนวทางของข้าพเจ้า ย่อมเป็นหลักปฏิบัติ สมาธิในทางศาสนาพุทธ อันได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทดลองปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติ จนได้ผลที่พิสูจน์ได้ ว่าเป็นจริง มีจริง ตามหลักธรรมชาติ ตามหลักสรีระร่างกาย และเป็นไปตามหลักวิชาการด้านต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับ ระบบการทำงานของสรีระร่างกายมนุษย์
อีกทั้ง หลักปฏิบัติ สมาธิ ตามแนวทางของข้าพเจ้านี้ ยังเป็นหลักการที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ ในชั้นอริยะบุคคลอันมีชื่อตามศาสนาพุทธ ตั้งแต่ ชั้น โสดาบัน จนถึงชั้น อรหันต์ เป็นอย่างต่ำ
ดังนั้น หลักการปฏิบัติ ตามแนวทางของข้าพเจ้า จึงแบ่ง การปฏิบัติสมาธิ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. การปฏิบัติ สมาธิ ขั้นพื้นฐาน
2. การปฏิบัติ สมาธิ ขั้นพิจารณาร่างกาย
3. การปฏิบัติ สมาธิ ขั้น พิจารณาธาตุทั้ง 4
4. การปฏิบัติ สมาธิ ขั้น พิจารณาหลักวิชชาหรือหลักธรรมคำสอน

จบตอน
   




ขอบคุณคร๊าบ....

ขอบคุณนี้ เพื่อบอกท่านทั้งหลายว่า เมื่อสมัยแรกๆ 123...
เคยใช้ชื่อว่า "เทวดา" และ "เงาเทวดา" แต่กระทู้นี้ มิใช่เทวดาคนเก่าจ้า...


• นาฏมวยไทย ประเพณีไทย

• "ศีลจะครบบริบูรณ์" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

• "มนุษย์ธรรมที่ ๔" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

• ดนตรีบำบัดหัวใจและหลอดเลือด 🌿 ดนตรีที่สงบ ฟื้นฟูระบบประสาท ทำให้ผ่อนคลาย

• "รักษาศีลแบบทาสของกิเลส" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

• พระครูภาวนารังสี ( เปลื้อง วิสฏฺโฐ ) วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา (2445 - 2536)

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย