ท่านกล่าวผิดแล้วครับ
เป็นการเข้าใจที่สับสนของท่าน
ท่านอย่าได้กล่าวตู่ ว่าศาสนาพุทธ ไม่ได้สอนให้คนเป็นคนดี
ท่านจะมุ่งเอาแก่นอย่างเดียว โดยทิ้งความดีไปไม่ได้
คำว่า "ศีล" ก็คือความดีไงครับ
แม้พระพุทธองค์ ยังทรงกล่าวว่า
นี่คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา"
ท่านอย่าได้เอาทิฏฐิของท่าน มาหักล้างกับที่พระองค์กล่าวเลยครับ
ด้วยความหวังดี
ถ้าไม่มีศีลจะเกิดสมาธิได้ไงคิดดูดีๆๆๆและกว่าที่จะบรรลุอรหันต์ได้นั้นไม่ใช่วันสองวันหรือชั่วโมงสองชั่วโมงต้องแลกมาด้วยการปฏิบัติที่ยอมละทิ้งได้แม้กระทั่งชีวิตกว่าจะเอาชนะกิเลสได้ไม่งั้นคนบรรลุอรหันต์ก็เต็มบ้านเต็มเมืองอย่าว่าแต่พระอรหันต์เลยแค่ธรรมขั้นต้นระดับโสดาบันยังยากแล้วท่านอย่ามุ่งเอาแต่แก่นโดยละเลยการปฏิบัติและศึกษาทางเข้าสู่แก่นนั้นเดี๋ยวอวิชชาจะทำให้หลงผิดนะจงพิจารณาให้ดี
นั่งสมาธิสั่นหัวจนคอเคล็ดแล้วพ้นทุกข์ตรงไหน เวรกรรมแต้ๆ
ศีล สมาธิ ปัญญา
ไม่มีศีล ก็จะนั่งสมาธิไม่ได้
กินเหล้าเมา ก็จะนั่งสมาธิไม่ได้
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ที่เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นั้นได้แก่ อริยมรรค
ซึ่งแปลว่า มรรค หรือ หนทางอันประเสริฐ
มีองค์ประกอบอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบหรือการกระทำที่ชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ
อนึ่ง อริยมรรคซึ่งมีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าว สามารถย่อให้สั้น ลงในไตรสิกขา(ข้อควรศึกษา ๓) ตามที่นักปราชญ์ยุคใหม่เรียบเรียงไว้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
หากเรียงตาม มรรค ๘ ที่พระองค์ตรัสไว้ ดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ = ปัญญา
๓.สัมมาวาจา
๔.สัมมากัมมันตะ
๕.สัมมาอาชีวะ = ศีล
๖.สัมมาวายามะ
๗.สัมมาสติ
๘.สัมมาสมาธิ = สมาธิ
สิกขา ๓ หรือไตรสิกขา ตาม มรรค ๘ ในเบื้องต้นต้องเรียง ดังนี้ คือ
ปัญญา ศีล สมาธิ
ไม่ใช่
ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ
สมาธิ ศีล ปัญญา
เจริญธรรม
ตอนนี้ก็มีความทุกข์เหมือนกันค่ะ ทุกข์จากสิ่งที่เรา สุนัขที่เลี้ยงไว้ไม่สบาย และคาดว่าคงจะไม่หาย แต่อาจจะดูแลให้เขามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ตอนนี้ก็พยายามที่จะทำใจอยู่ แต่อยากขอคำแนะนำด้วยเถอะค่ะ ว่าควรจะต้องทำใจอย่างไร
คุยกันเรื่องสมาธิ กันนั้น ต่างก็จะมีความหมายของสมาธิกันเป็นคนละอย่าง บางคนรู้จักสมาธิว่า คือ การนั่งนิ่งๆ บางคนก็รู้ว่าเป็นการที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสองอย่างนี้ค่อนข้างต่างกัน
ดังนั้นผู้ตั้งกระทู้ จึงควรอธิบาย สมาธิ ให้เข้าใจตรงกัน หรือ สื่อให้รู้ว่าจะพูดถึงสมาธิในความหมายอย่างไร เป็นฐานในการแสดงความคิดเห็น
สำหรับการเรียงลำดับก่อนหลังของข้อศึกษาหรือสิกขา3 นั้น คงจะแล้วแต่บุคคลว่าใครจะมีสิ่งใดเป็นฐานอยู่แล้ว เช่น บางท่านก็ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยเป็นปกติอยู่แล้ว ผู้นั้นก็จะไปฝึกฝนในเรื่องอื่นต่อไป บางท่านเป็นผู้มีสมาธิเป็นปกติอยู่แล้วผู้นั้นก็จะเรียนรู้ในวิธีปฏิบัติตนให้เป็นปกติ(ศีล)หรือแสวงหาหนทางให้เกิดปัญญาต่อไป เป็นต้น
ดังนั้นผมไม่เห็นว่าการเรียงลำดับอะไรก่อนหลัง จะผิดหรือถูกอย่างไร แต่ควรจะขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละบุคคล ครับ
ไม่ขอตอบไปมากกว่านี้ดีกว่านะครับ เพราะว่าแต่ละความเห็นของท่านทุกคนก็มีความแตกต่างกันออกไป และถูกต้องในส่งที่ท่านเชื่อ และผมอาจตอบผิดจากสิ่งที่ท่านเข้าใจ ต้องขออภัยอย่างสูงนะครับมา ณ ที่นี้ด้วย เพราะว่าธรรมะนั้นไม่มีภาษา ภาษาหยาบไป เจตนาของผมคือต้องการให้คนเข้าปฏิบัติกัน ไม่มีอะไรไปมากกว่านี้ เอาเป็นว่าเราเร่งปฏ่บัติเพื่อให้ไปถึงจุดเดียวกันดีกว่า ขอขอบคุณมากทุก ๆ ความเห็นนะครับ
ทำไปพร้อม ๆ กันนั่นแหละ เขาแบ่งตามขั้นตอนเฉย ๆ
แต่เวลาทำต้องทำไปพร้อม ๆ กัน
เคยสงสัยเหมือนกันนั่งสมาธิแล้วพ้นทุกข์ยังงัย จนกระทั่งได้อ่านอานาปานสติสูตร และสติปัฐฐานสูตรในพระไตรปิฎกน่ะจ้ะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอธิบายได้มีเหตุผลและขั้นตอนทุกๆ ระดับจิตไม่เคยได้ยินมาก่อน เหมือนได้ฟังจากพระโอษฐ์จริงๆ เลย ทำให้เข้าใจอีกอย่างว่าทำไมทำบุญกับภิกษุและสร้างพระไตรปิฎกถึงได้อานิสงค์มากก็คราวนี้แหละ เดี๋ยวหามาให้มีทั้งคำแปลและบาลีจ้ะ คนไทยผู้มีบุญทั้งหลาย
ท่านเจ้าของกระทู้ ท่านแสดงตามที่ท่านปฏิบัติแล้วท่านได้ผลเท่านั้นครับ
ซึ่งผู้ปฏิบัติแต่ละท่านมักไม่ค่อยเหมือนกันครับ
แต่ ธรรมทั้งปวงมีที่รวมลง คือ พระนิพพานครับ
ดังที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้กล่าวว่า พอปฏิบัติไป ศีล สมาธิ และปัญญา ก็มาครบนะครับ
-----------------------
ปัญญาชำระศีล ศีลชำระปัญญาครับ ** ท่านที่สงสัยว่าควรทำตัววางตัวอย่างไร ลองพิจรณานะครับ
ขอให้ทุกๆท่าน มีความเจริญในธรรมครับ