ได้อะไรในงานศพ

 lc-kukko    21 เม.ย. 2555

ได้อะไรในงานศพ
๑. ได้แสดงความเคารพนับถือผู้ตาย
๒. ได้เห็นใจท่านเจ้าภาพ
๓. ได้ซึมซาบสัจธรรม
๔. ได้หม่ำข้าวต้ม
๕. ได้ชื่นชมของชำร่วย
๖. ได้รวยทางลัด (เอาอายุคนตายไปเล่นหวย)


สีที่ไว้ทุกข์ในสมัยโบราณ
สีดำ – สำหรับผู้ใหญ่ที่แก่กว่าคนตาย
สีขาว – สำหรับผู้อ่อนอายุกว่าคนตาย
สีม่วงแก่หรือน้ำเงินแก่ – สำหรับผู้ที่มิใช่เป็นญาติกับคนตาย
ตกมาปัจจุบัน คงใช้สีดำเป็นส่วนใหญ่ แปลกตรงที่ว่าเรานิยมใช้สีม่วงเป็นสีไว้ทุกข์ เช่นเดียวกับชาวโรมันคาทอลิก นิยม


วันห้ามเผาศพ
๑. วันพระ – เพราะเป็นวันรักษาอุโบสถ ผู้คนย่อมไม่สะดวกในการเผาศพ ลำบากแก่ผู้จะไปและการแต่งกาย
๒. วันพฤหัสบดี – เพราะถือว่าเป็นวันครู ถ้าเผาศพในวันนี้ก็เท่ากับเผาครู เป็นการไม่ดี
๓. วันศุกร์ – โบราณถือมาก ถือว่าเป็นวันแห่งความสุข ไม่ควรจะมีงานอันเกี่ยวแก่ความทุกข์ จึงต้องงดเว้นอย่างเด็ดขาด


ทักษิณานุปทานคืออะไร
ตามประเพณีนิยมเมื่อเผาศพ จะต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับ พิธีนี้เรียกว่า “ทักษิณานุประทาน” หรือที่เรียกว่า ทำบุญ ๗ วัน(สัตตมวาร) ทำบุญ ๕๐ วัน (ปัญญาสมวาร) ทำบุญ ๑๐๐ วัน(สตมวาร)


เทียนทำน้ำมนต์เมื่อดับแล้วห้ามจุดอีก
เมื่อพระท่านทำพิธีทำน้ำมนต์และดับเทียนแล้ว มีเคล็ดอยู่ว่าอย่านำเทียนนั้นมาจุดอีก เพราะเวลาท่านทำพิธีดับนั้น เป็นการดับทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวง


วันโบราณห้าม
๑. ขึ้นบ้านวันเสาร์
๒. เผาผีวันศุกร์
๓. โกนจุกวันอังคาร
๔. แต่งงานวันพุธ


ทำไมจึงห้าม
วันเสาร์ – เป็นวันทุกข์โศก ขึ้นแล้วจะไม่มีความสุข
วันศุกร์ – เป็นวันโชคลาภ รื่นเริง มีสุข จึงมิควรเผาศพคนอยู่จะเดือดร้อน ดังคำที่ว่า “เผาผีวันศุกร์ให้ทุกข์คนยัง” ที่จังหวัดเพชรบุรี มีคำกลอนสอนไว้ว่า “วันศุกร์ห้ามขึ้นเขา วันเสาร์ห้ามลงทะเล”
วันอังคาร – เป็นวันแรง มักมีอุปัทวเหตุ เลือดตกยางออก หากโกนจุกวันนี้อาจเผลอพลาด ทำมีดบาดได้ง่าย
วันพุธ – เป็นวันเรรวน ไม่แน่นอน หากแต่งงานหรือหมั้นหมาย มักจะไม่ยั่งยืน


ทำไมจึงห้ามข้ามด้ายสายสิญจน์
เวลาพระเจริญพระพุทธมนต์ ท่านโยงด้ายสายสิญจน์มาจากฐานพระประธาน หากข้ามด้ายก็เท่ากับข้ามพระ (เป็นการเสียมารยาทและขาดความเคารพ)


พระพิจิตรธรรมพาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน)



ส่งเสริมคุณธรรม พัฒนาชีวิต นึกถึงธรรมะ คิดถึง พุทธะดอทคอม
www.พุทธะ.com
   


ที่มา : หนังเสือ “เทศนา วาไรตี้ หน้า ๙๔-๙๖”


 4,275 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย