การกรวดน้ำควรกรวดอย่างไร

 soommeerpheen    

การกรวดน้ำนั้น เรามักเห็นว่าจะทำหลังจากการกระทำดีหรืองานบุญพิธีต่างๆนาๆ แต่มีใครรู้บ้างว่าเราควรกรวดน้ำอย่างถูกวิธีที่สุดควรทำอย่างไร

ใครเป็นผู้ที่มีความรู้ช่วยตอบด้วยนะครับ




การกรวดน้ำควรกรวดอย่างไร

ถ้ามีสมาธิ ใช้ตั้ง นะโมสามจบ แล้วนึกเอาว่าจะอุทิศส่วนบุญให้ใคร
ใช้ภาษาไทยที่เรารู้จักคุ้นเคยนี้แล....

ถ้าไม่มีสมาธิก็ใช้น้ำ ทำตามอย่างโบราณที่ทำนั้นแล....แล้วอุทิศบุญไป
ที่สำคัญคือ นะโมสามจบ บุญจะถึงเร็วปานว่าโทรศัพท์ไป...


เคยเข้าไปใน web www.samyaek.com มั๊ยคะ การกรวดน้ำหรือการอุทิศบุญที่ได้ผลลองเข้าไปดูซิคะ ไม่อยากบอก ต้องให้ไปศึกษาเอาเอง ได้ความรู้ที่แปลกใหม่ เพราะท่านหลวงปู่เกษม ท่านสอนไม่เหมือนใครและเหตุผลท่านต้องพิจารณาเองทั้งหมด


เข้าใจก่อนครับว่า การกรวดน้ำเดิมเป็นพิธีของพราหมณ์

แต่เมื่อมานิยมกันมาก ก็ไม่ผิดหรือเป็นอกุศลอันใดครับ
เพราะจิตขณะที่กรวดน้ำนั้น ขอให้มีความยินดีอิ่มเอิบในกุศลที่ได้กระทำ

วิธีแบบง่ายๆครับ เมื่อได้กระทำกุศลบุญอันใดแล้ว ก็ให้เอาน้ำใส่แก้ว(ที่เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว)หาภาชนะ(เช่นจานรองน้ำ)มารองน้ำครับ ระหว่างพระสวดให้พรนั้น คุณก็ยกน้ำที่แก้วนั้น ค่อยๆเทลงในภาชนะรองน้ำ แล้วระลึกถึงบุญนี้ว่า จะอุทิศนี้ให้กับพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ..ฯ..เจ้ากรรมนายเวร เทวดาที่รักษาคุ้มครองเราอยู่ แล้วขอให้พญายมราชเป็นสักขีพยานในบุญครั้งนี้ จากนั้นก็ระลึกอธิษฐานให้ได้เข้าสู่พระนิพพานในภายภาคหน้า

เคยเห็นชาวบ้าน มักจะแตะตัวต่อๆกันโยงไปถึงผู้ที่กำลังกรวดน้ำ(เทน้ำ)
ซึ่งไม่จำเป็นครับ เพียงแต่ยกมือพนม แล้วตั้งจิตเป็นสมาธิระลึกอิ่มบุญที่ได้ร่วม
กระทำ หรือร่วมรู้เห็นยินดีในบุญที่เขาทำ(อนุโมทนา แสดงมุทิตาจิต)
แล้วแผ่นกุศลให้พ่อแม่..ฯลฯ

หรือผมเคยเห็น บางคนใช้นิ้วแตะขอบภาชนะที่รองน้ำ นั้นก็ไม่ต้องครับ
เพียงค่อยๆรินน้ำจนหมดแก้ว จากนั้นก็นำไปรดที่โคนต้นไม้ใหญ่ หรือลงดินก็ได้ครับ

หรือ ถ้าใครนั่งอยู่ใกล้ๆดิน ใกล้ต้นไม้ ก็ใช่น้ำรินลงดิน หรือโคนต้นไม้ได้เลยครับ
(กล่าวกันว่าให้แม่ธรณีเป็นสักขีพยานในบุญนั้น)

ที่สำคัญคืออยู่ที่จิตระลึกอยู่ขณะนั้นครับว่า ยินดี(เอิบอิ่มในบุญ)นั้น แล้วระลึกถึง
พ่อแม่ญาติ..ฯลฯให้มาร่วมยินดีด้วย



สามแยก ไม่เหมือนใคร ฆ่าเชื้อโรคก็ยังบาปแล้ว งงมากๆ ไม่ถูกต้องตามหลักอภิธรรมเลย


 3,976 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย