หลักธรรม เหตุแห่งทุกข์ ข้อที่หนึ่ง

 sriariya    10 ม.ค. 2555

"หลักธรรม เหตุแห่งทุกข์ ข้อที่หนึ่ง"
ท่านทั้งหลาย หลักธรรมคำสอนนี้ จำต้องใช้ศัพท์ภาษาที่คล้ายคลึงในศาสนาแต่ละศาสนา ด้วยเหตุที่ว่า ศัพท์ภาษาย่อมต้องใช้ได้ในทุกกาลเวลา และใช้ได้ตามกาลเวลา แลใช้ได้กับมนุษย์ทุกคนทุกแห่งที่ แม้ศัพท์ภาษาที่ได้เขียนนี้เป็นศัพท์ภาษาไทย ท่านผู้รู้ภาษาอื่นใด ก็ย่อมสามารถแปลเป็นภาษานั้นๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจรรโลงพัฒนา ป้องกันมิให้โลกเสื่อมสลาย
ท่านทั้งหลาย จงได้สดับ จงได้อ่านแล้วพิจารณาให้ดีว่า
ทุกข์ คือ ความยากลำบากทั้งทางกายทางใจ
ทุกข์ เหล่านั้น เกิดจาก อะไรกันหรือ
ทุกข์ เกิดจากความยากจน ไม่มีปัจจัยสี่ อย่างพอเพียงใช่ไหม
ทุกข์ เกิดจาก ความไม่มีทรัพย์ศฤงคาร ตามที่ต้องการใช่หรือไม่
ทุกข์ เกิดจาก ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ทรัพย์สินเงินของ สิ่งของเครื่องใช้ แต่ไม่ได้ดังตัองการใช่หรือไม่
ทุกข์ เกิดจาก ความอยากอยู่ร่วม กับสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่ไม่ได้อยู่ร่วม แล ความไม่อยากอยู่ร่วมกับสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ แต่ต้องอยู่ร่วม ใช่หรือไม่
ทุกข์ เกิดจาก การพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ พลัดพรากจากสิ่งทึ่รักใช่หรือไม่
ฯลฯ
แล้วท่านทั้งหลายลองคิดพิจารณาให้ดีสิว่า ความจริงแล้ว ความทุกข์มันเกิดจากอะไรกัน
เกิดจาก "ดำริ คือ ความคิด" เมื่อได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย ใช่หรือไม่ เกิดจาก "การระลึกคือนึกถึงคือความหวนคิดถึง" เมื่อได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งหลายใช่หรือไม่
ท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีซิว่า
ความทุกข์ เกิดจาก " ระลึก ดำริ "ใช่หรือไม่

ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ "ดำริ คือ คิด" ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนคิดถึง " ท่านจะเกิดทุกข์หรือไม่
แล้ว "ดำริ คือ คิด" "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนคิดถึง" ทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างไรกันละ ก็เพราะ
ความยากลำบากทั้งกายและใจ ทำให้เกิด "ดำริ คือ คิด" "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนคิดถึง" ว่ายากลำบากทั้งกายและใจ ด้วยเห็นผู้อื่นดีกว่าสบายกว่า มีทรัพย์ศฤงคารมากมาย มีปัจจัยสี่บริบูรณ์ จึงเกิด "ดำริ คือ คิด จึงเกิด"ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง" ว่ายากลำบากทั้งกายและใจ คือทุกข์ ฉะนี้

ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ทรัพย์สินเงินทอง สิ่งของเครื่องใช้ แต่ไม่ได้ไม่มีดังต้องการ ทำให้เกิด "ดำริ คือ คิด"จึงเกิด "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนคิดถึง" ว่า อยากมี อยากเป็น อยากได้ แต่ไม่ได้ไม่มีดังต้องการ เป็นทุกข์ ฉะนี้

ความอยากอยู่ร่วม กับสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่ไม่ได้อยู่ร่วม แล ความไม่อยากอยู่ร่วมกับสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ แต่กลับต้องอยู่ร่วม
จึงเกิด "ดำริ คือ คิด" จึงเกิด "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนคิดถึง" ว่า อยากอยู่ร่วม กับสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่ไม่ได้อยู่ร่วม แลความไม่อยากอยู่ร่วมกับสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ แต่ต้องอยู่ร่วม คือ ทุกข์ ฉะนี้

การพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ พลัดพรากจากสิ่งที่รัก จึงเกิด "ดำริ คือ คิด "จึงเกิด "ระลึก คือนึกถึง ความหวนคิดถึง ว่าพลัดพรกจากสิ่งที่ชอบ พลัดพรากจากสิ่งที่รัก คือ ทุกข์ ฉะนี้
ถ้าไม่ "ดำริ คือ คิด" ถ้าไม่ "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง" จะเป็นทุกข์เพราะเหตุเหล่านั้นหรือไม่

เฉกเช่น บิดา,มารดา มีความรัก ในตัว บุตร นั่นก็คือ บิดา,มารดา มี "ดำริ คือ คิด"และมี "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง" ต่อตัวบุตรแห่งตน ด้วยต้องการให้บุตรแห่งตนได้ดี ได้สุข ได้สบาย บิดา,มารดา หามีทุกข์ ในการเลี้ยงดูบุตรไม่ แต่ถ้าหาก บิดา,มารดา ไม่มีความรัก ในตัวบุตรนั่นแล้ว บิดา,มารดา ย่อมมี "ดำริ คือ คิด แลมี"ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง" ในทางที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ต่อการเลี้ยงดูบุตรฉะนี้

เฉกเช่น ผู้ศรัทธา ทั้งหลาย มีความถือมั่นมีความยึดมั่นในพระเจ้าแห่งตน ย่อมมี "ดำริ คือ คิด และมี "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง" ในพระเจ้าแห่งตนเป็นที่ตั้ง จึงไม่มีทุกข์ หาก ผู้ศรัทธา ทั้งหลาย ไม่มีความถือมั่นไม่มีความยึดมั่นในพระเจ้าแห่งตน แล้ว ย่อมมี "ดำริ คือ คิด แลมี "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง" อันไม่ถือพระเจ้าแห่งตนเป็นที่ตั้ง ย่อมจักทำให้เกิดทุกข์ฉะนี้

เฉกเช่น ผู้ศรัทธา ในหลักธรรม คำสอน ทั้งหลายเหล่านั้น มี "ดำริ คือ คิด" แลมี "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง"หลักธรรม คำสอน เหล่านั้น จึงได้ชื่อว่า ผู้ไม่มีทุกข์
หาก ผู้ศรัทธา ในหลักธรรม คำสอน ทั้งหลายเหล่านั้น มี "ดำริ คือ คิด" แลมี "ระลึก คือ นึกถึง ความหวนนึกถึง "ว่าไม่เชื่อ ไม่จริง ไม่รู้ ไม่สนใจ ในหลักธรรม คำสอน เหล่านั้น ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้มีทุกข์ ฉะนี้

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๐ มกราคม ๒๕๕๕
   




ขอบคุณข้อมูลดีดี มากครับบ



http://www.job2easy.com


• การปฏิบัติธรรม สังคหวัตถุ 4

• บรรยายธรรมแก่นักเรียน สอนนั่งสมาธิ โดย #พระอาจารย์ต้น #ธรรมนาวา #dhammanava ๒๒/๐๗/๒๕๖๕

• ทำวัตรเย็น (วัดป่านาคำน้อย)

• พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระกายพระพุทธเจ้า

• เผชิญความตายด้วยใจสงบ

• บรรยายธรรมแก่นักเรียน สอนนั่งสมาธิ โดย #พระอาจารย์ต้น #ธรรมนาวา #dhammanava ๒๒/๐๗/๒๕๖๕

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย