เจตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ
เจตสิกหมายถึงอาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต รับอารมณ์เดียวกับจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต แยกโดยละเอียดแล้วมี 52 ประการ จัดเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ 3 หมวด คือ
หมวดอัญญสมานาเจตสิก มี 13 เช่น ผัสสะ เวทนา เจตนา มนสิการ วิตก วิจาร
หมวดอกุศลเจตสิก มี 14 เช่น โลภะ โทสะ โมหะ มัจฉริยะ ถีนะ มิทธะ วิจิกิจจา
หมวดโสภณเจตสิก มี 25 เช่น สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สัมมาวาจา กรุณา มุทิตา
เจตสิกจัดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎกซึ่งมี 4 เรื่องคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และจัดเป็นเรื่องสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งด้วย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81
อนุโมทนาครับท่าน 8q
กราบขอบพระคุณครับ
..แล้วที่ผ่านมากระผมเข้าใจอารมณ์ต่างๆ เช่น พอใจ ดีใจ เสียใจ ชื่นชอบ โมโห เศร้าใจ สงสาร ว่าอารมณ์เหล่านี้เป็นเจตสิกถูกหรือผิดครับ ขอบคุณครับ
จิต คือ ผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ส่ายแส่ ในสารพัดเรื่อง
ใจ คือ ผู้ไม่นึก ไม่คิด อยู่กลาง ๆ รู้อยู่เฉย ๆ
เจตสิก คือ ผู้ปรุงแต่งจิต (จิตสังขาร) ผู้สนับสนุนจิต ปรุงแต่งทั้งกุศล อกุศล ทั้งโลภ โกรธและหลง
หากเปรียบเทียบกับน้ำก็จะได้เป็น :---
น้ำที่สงบก็คือ ใจ
ระลอกคลื่น เป็นต่อม เป็นฟองฝอยก็คือ จิต
คลื่นที่น้อยใหญ่ ก็คือ เจตสิก ปรุงแต่งมากคลื่นก็ใหญ่ ปรุงแต่งน้อยคลื่นก็น้อย
เจตสิกนี้เกิดขึ้นและก็ดับพร้อมกับจิต ซึ่งเป็นไปตามไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป)ทุกขัง อนัตตา
(เช่น คิดเรื่องโลภก็ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ปรุงแต่งมากความโลภก็มาก เมื่อเลิกคิดหยุดคิด การปรุงแต่งก็หยุดก็ดับ ฯลฯ)
"จิต" ที่ดับเพราะรู้เห็นในไตรลักษณ์ ก็คือ "ใจ" (น้ำที่สงบไมมีคลื่น)ไม่นึกไม่คิด เป็นกลาง ๆ ไม่เอนเอียง รู้อยู่เฉย ๆ เป็นอุเบกขา ไม่ปรุงแต่งกับสิ่งใด ๆ เรียกว่า "ธาตุรู้ หรือ ธรรมธาตุ" ก็ได้
"จิตก็คือใจ" เพราะ "จิตอันใด ใจอันนั้น" ที่เรียกต่างกันเพราะอาการเกิดที่ต่างกันเท่านั้น
เจริญธรรม
คำว่า "เจตสิก" หมายถึงอะไร ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
โดย : mama [DT09370] 23 พ.ค. 2552 17:09 น.
ขอนำความหมายของ "เจตสิกธรรม" จากพระอภิธรรมในพระไตรบิฎกมาเป็นคำตอบเจ้าค่ะ
จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.
ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=34&item=768&items=1&preline=0
น่าจะลองดูจากพระอภิธรรมจริงๆนะคะ ไม่ใช่จากตำราที่ปุถุชนแต่งขึ้นเอง เขียนขึ้นเองค่ะ
ยกเว้นผู้เรียนอภิธรรมจากตำราที่ทางสถาบันกำหนดนะคะ เพราะจะต้องเอาคะแนนจาก
การตอบให้ตรงตามตำราที่กำหนดให้เรียน
แต่ผู้ต้องการศึกษาธรรม เพื่อความรู้ความเข้าใจในพระสัทธรรมจริงๆ
เพื่อประโยชน์ในการสร้างบารมี และเพื่อการสู่ความหลุดพ้น
ขอเสนอให้ศึกษาจากพระไตรปิฎกเจ้าค่ะ
แต่ถ้าจะยืดความหมายจากคัมภีร์ที่ท่านพระอนุรุทธเถระ รจนาขึ้นคือแต่งขึ้น
เมื่อราว พศ.700 และใช้เป็นตำราเรียนกันในพระอภิธรรม 9 ปริเฉท ถึงปัจจุบันนี้
ก็จะแบ่งเจตสิกเป็น 52 จัดเป็นหมวดหมู่ขึ้นดังพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ซึ่งท่านก็แสดงไว้ว่านำมาจากคัมภีร์ สังคห 7
ตามที่ลิงค์ให้ค่ะ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355
[355] เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
ฯลฯ
4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)