ถามเรื่องจิต

 kakas    

อ่านพบคำว่า "จิตเกิดที่ไหนดับที่นั่นจะไม่ไปไหน" หมายความว่าอย่างไรครับ




จิตคืออะไร


จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น

จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์

จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

สถานที่เกิดของจิต มีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ
. ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูป
ที่ปรากฏทางตา
จิตนี้มีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จักขุ = ตา)
. ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียง
ที่ปรากฏทางหู
" โสตวิญญาณ (โสต = หู)
. ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่น
ที่ปรากฏทางจมูก
" ฆานวิญญาน (ฆาน = จมูก)
. ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รส
ที่ปรากฏทางลิ้น
" ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา = ลิ้น)
. ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึก
ต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย
" กายวิญญาณ
. ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก
นึก คิด ทางใจ
" มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)



ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง



จิตเกิดทางตาดับทางตา

เกิดทางหูดับทางหู

ที่ลิ้นดับที่ลิ้นครับ


ศึกษาดูครับ

http://www.buddhism-online.org/ContentSect02A.htm



อ่านพบคำว่า "จิตเกิดที่ไหนดับที่นั่นจะไม่ไปไหน" หมายความว่าอย่างไรครับ


โดย : kakas [DT09333] 22 พ.ค. 2552 13:54 น.



"จิต" คือ วิญญาณขันธ์ ค่ะ
เป็นส่วนที่รู้แจ้งอารมณ์


[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


เมื่อ จิต คือ วิญญาณขันธ์ เป็นส่วนที่รับรู้อารมณ์
ที่ตั้งแห่งอายตนะที่รับรู้อารมณ์คืออายตนะทั้ง 6
อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
เมื่อจะดับจึงดับที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเองค่ะ

เกิดที่ใดก็ดับที่นั่น
ส่วนที่รู้สึกว่ายังไม่ดับยังติดค้างต่อเนื่องมา
นั่นเป็นเพราะเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม

เวทนา รับรู้สิ่งใด       สัญญา ก็จำสิ่งนั้น
สัญญา จำสิ่งใด       วิญญาณ (จิต) ก็รู้แจ้งสิ่งนั้น






เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้

เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น

ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=12&item=495&items=1&preline=0



 4,062 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย