การนั่งกรรมฐาน

 บุญประสาน    

อยากนั่งกรรมฐาน แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นกำหนดจิตอย่างไร ขอท่านผู้รู้แนะนำเพื่อเป็นธรรมทานด้วยคะ   






ถ้าเริ่มฝึกใหม่ให้ใช้วิปัสสนากัมมัฏฐานนำสมถะเจ้าค่ะ

ให้นั่งขัดสมาด หรือนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบ หรือนั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้หรือบนเตียงก็ได้ แล้วนั่งตัวตรงหายใจแรง ๆ เต็มปอดให้สม่ำเสมอ ให้แรงพอรู้สึกกระทบเย็นที่ช่องจมูก กระทบเย็นที่ด้านหลังระหว่างคิ้ว และกรทบเย็นถึงลำคอ 3 จุด จากนั้นอบรมจิตอย่างนี้ว่า ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ๆ ๆ ๆ ๆ

หายใจแรง ๆ และอบรมจิตว่า " ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ๆ ๆ ๆ ๆ " ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเกิดองค์ธรรมสมถะเจ้าค่ะ

องค์ธรรมสมถะได้มาจากเหตุคือการอบรมจิตละนิวรณ์ 5 ได้แก่ละกามราคะ ละพยาบาท ละความลังเลไม่มั่นใจในตนเอง ละความท้อถอยหดหู่โงกง่วง และละความฟุ้งซ่านหงุดหงิดรำคาญใจเสียได้เจ้าค่ะ

และเกิดองค์ธรรมที่เป็นกุศล 5 ประการได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์ขึ้นในจิตเจ้าค่ะ
องค์ธรรมที่เป็นกุศล 5 ประการได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์นี้เรียกว่าองค์ฌานหรือสมาธิหรือองค์ธรรมที่เป็นสมถะนั่นเองเจ้าค่ะ

วิปัสสนาก่อนสมถะเกิดภายหลังในจิตดวงเดียวกันอย่างนี้เรียกว่าการเจริญกัมมัฏฐานมีวิปัสสนานำสมถะเจ้าค่ะ

1.การหายใจแรง ๆ ให้สม่ำเสมอ และอบรมจิตว่า " ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ๆ ๆ ๆ ๆ " อย่างนี้เรียกว่ามี " วิตก มีวิจาร " เจ้าค่ะ

2.เกิดอาการเย็นซาบซ่าน หรือขนลุก หรือน้ำตาไหล หรือตัวสูง ตัวพอง ตัวใหญ่ หรือตัวโยก ตัวโคลง ตังสั่น หรือตัวแน่นตัวคับ อย่างนี้เรียกว่ามี " ปีติ " เจ้าค่ะ

3.เกิดอาการเบาสบายในร่างกายมาก ๆ อิ่มใจปลื้มใจ โล่งใจสบายใจมาก ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างนี้เรียกว่ามี " ความสุข "เจ้าค่ะ

4.วิตก วิจาร ปีติ และสุข 4 อย่างนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเหมือนสายน้ำที่ไหลไม่ขาดตอน มีความตั้งอยู่ ดำรงค์อยู่อย่างมั่นคง อย่างนี้เรียกว่ามี " เอกคตารมณ์ " เจ้าค่ะ


ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นให้จับแล้วก็วางนะเจ้าคะ ไม่ต้องใส่ใจ ไม่ต้องกลัวไม่ต้องลังเลสงสัย หน้าที่ของเราคือหายใจแรง ๆ ให้สม่ำเสมอ และอบรมจิตว่า " ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ๆ ๆ ๆ ๆ " กระทำเหตุอย่างนี้อย่างเดียวเจ้าค่ะ




                 " ธุลีในใจ "

ราคะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
คำว่าธุลีเป็นชื่อของราคะ
บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี


โทสะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
คำว่าธุลีเป็นชื่อของโทสะ
บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศสานาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี


โมหะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
คำว่าธุลีเป็นชื่อของโมหะ
บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ


• พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) วัดเลียบ อุบลราชธานี (2402 - 2485)

• คิดส์ ออฟ เดอะ เวิลด์ 2012 ( Kids of the world 2012 )

• หนูกัดผ้า (มงคลชาดก)

• "ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย" (สมเด็จพระญาณสังวร)

• เผชิญความตายด้วยใจสงบ

• ๘.ปางรับมธุปายาส

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย