ใครรู้คำตอบบ้างครับว่า "มรรคนอกมรรคใน" คืออะไร
พอดีได้ฟังประวัติหลวงปู่สังวาร ท่านได้ให้อาจารย์ของท่านปราบแม่ชีที่เคร่งปริยัติ จำแม่นด้วยให้ถามคำ
ถามนี้แม่ชีจึงจนปัญญาตอบไม่ได้ เพราะเจอคำถามนอกตำรานี้ (ตอนแรกตอบโต้กันนานยังไม่รู้แพ้รู้ชนะ)
แต่หลวงปู่ไม่ได้เฉลยเอาไว้ จึงอยากถามว่าใครรู้คำตอบบ้างครับ
รบกวนผู้รู้ด้วยนะครับ
โดย : ผู้อยากรู้ [58.136.58.6] 2 เม.ย. 2551 17:30 น.
ใครรู้คำตอบบ้างครับว่า "มรรคนอกมรรคใน" คืออะไร ?
คำถามนี้เป็นคำถามในตำราเจ้าค่ะ ไม่ใช่คำถามนอกตำราหรอกเจ้าค่ะ
" ทั้งมรรคนอกและมรรคใน" ก็คือเหตุเจ้าค่ะ
แต่เป็นเหตุที่ต่างกันดังนี้
1.มรรคนอกคือเหตุที่เป็นโลกียะธรรม
ได้แก่ อกุศลจิต กามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต สภาวะธรรมเหล่านี้เรียกว่า มรรคนอก หรือเหตุภายนอกมรรคมีองค์ 8 เพราะในจิตเหล่านี้มีมรรคไม่ครบ 8 องค์ธรรม
ในอกุศลจิตไม่มีองค์ธรรมแห่งมรรคมีองค์ 8 เลย ในกามาวจจรกุศลจิต และปฐมฌานมีองค์ธรรมแห่งมรรคมีองค์ 8 เพียง 5 องค์ธรรม ในทุติยฌานไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีองค์ธรรมแห่งมรรคมีองค์ 8 เพียง 2 องค์ธรรมเท่านั้น
ตัวอย่างมรรคนอกอันเป็นเหตุของโลกียะธรรม
รูปวาจรกุศล กสิณ ฌาน
จตุกกนัย
[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล .
[๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติ ผุดขึ้นดวงเดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌานนั้น ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
อรูปาวจรกุศล
[๑๙๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็น
อย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็น จิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ
เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ
เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ
เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ
เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ
เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อรูปาวจรกุศล จบ
2.มรรคใน คือเหตุที่เป็นโลกุตตระธรรม
ได้แก่ โลกุตตระกุศล 4 คือ โสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค
ในมัคคจิตที่เป็นโลกุตตระกุศลทั้ง 4 ดวงนี้มีองค์ธรรมแห่งมรรคมีองค์ 8 ครบถ้วนทั้ง 8 องค์ธรรมทุกดวงจิต ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ตัวอย่างมรรคในคือเหตุที่เป็นโลกุตตระธรรม .
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
มรรคจิตดวงที่ ๑ จบ
------------
มรรคจิตดวงที่ ๒
[๒๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อัญญินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
มรรคจิตดวงที่ ๒ จบ
------------
มรรคจิตดวงที่ ๓
[๒๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ มีอยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อัญญินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
มรรคจิตดวงที่ ๓ จบ
------------
มรรคจิตดวงที่ ๔
[๒๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ มีอยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อัญญินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
มรรคจิตดวงที่ ๔ จบ.
โลกุตตรกุศลจิต จบ.
พอดีได้ฟังประวัติหลวงปู่สังวาร ท่านได้ให้อาจารย์ของท่านปราบแม่ชีที่เคร่งปริยัติ จำแม่นด้วยให้ถามคำ
ถามนี้แม่ชีจึงจนปัญญาตอบไม่ได้ เพราะเจอคำถามนอกตำรานี้ (ตอนแรกตอบโต้กันนานยังไม่รู้แพ้รู้ชนะ)
แต่หลวงปู่ไม่ได้เฉลยเอาไว้ จึงอยากถามว่าใครรู้คำตอบบ้างครับ
รบกวนผู้รู้ด้วยนะครับ
โดย : ผู้อยากรู้ [58.136.58.6] 2 เม.ย. 2551 17:30 น.
ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ
คำถามนอกตำราชื่อก็บอกอยู่แล้วว่านอกตำรา ความรู้ย่อมนอกตำราไปด้วย
เมื่อเป็นความรู้นอกตำรา ย่อมอาจเป็นความรู้นอกพระพุทธศาสนาก็เป็นได้
ศาสนานี้ยึดตำราคือพระไตรปิฎกเป็นหลัก
ปริยัติและปฏิบัติ คือหลักอันหนึ่งอันเดียวกัน
ภิกษุในศาสนานี้ต้องปฏิบัติตามตรงปริยัติเท่านั้น จึงจะได้ชื่อว่าปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าครับ
คนที่จนปัญญาตอบไม่ได้ จึงน่าจะเป็นอาจารย์ของท่านหลวงปู่สังวาร เพราะจนปัญญาสู้ความรู้ของแม่ชีไม่ได้
ที่แม่ชีไม่ตอบนั่นทำถูกต้องแล้ว
เป็นการรักษาหน้าของอาจารย์ของท่านหลวงปู่สังวารเอาไว้
เป็นอาตมา ๆ ก็ไม่ตอบเพราะตอบไปก็ไร้ประโยชน์
เพราะภูมิปัญญาของผู้ถามอาจารย์ของท่านหลวงปู่สังวาร รู้ทั่วไม่ถึงอรรถถึงธรรมครับ
เขาเอาความรู้ในพระไตรปิฎกมา อาจารย์ของท่านหลวงปู่สังวาร ควรเอาความรู้ในพระไตรปิฎกมาว่ากันครับ จึงจะยุติธรรม
นี่แสดงว่าอาจารย์ของท่านหลวงปู่สังวาร แพ้...
เพราะออกนอกประเด็น ออกนอกพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เจริญพรครับ
อภิปัญโญ ภิกขุ
มรรคนอก มรรคใน
กายนอก กายใน
เวทนานอก เวทนาใน
จิตนอก จิตใน
มันง่าย ใช่ครับมันง่ายมาก ง่ายจนคนฉลาดทางปริยัติมองไม่เห็น หลงกอดตำรา ก็เลยมีความรู้อยู่เฉพาะในตำรา
ถ้าจะถามว่า ในโลกนี้ มีอะไรบ้างที่ไม่ใช่ธรรมะ ก็ตอบได้ว่าไม่มี เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมด พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า "ใบไม้ในป่ามีจำนวนมากมาย แต่ธรรมะที่ตถาคตนำมาสอนมนุษย์นั้น เปรียบเท่าใบไม้ในมือตถาคตเท่านั้น" ฉะนั้น ในตำราก็คือใบไม้กำมือเดียวเท่านั้น ใบไม้ที่นอกเหนือจากในกำมือ ก็คือธรรมะนอกตำราทั้งสิ้น เข้าใจหรือยังล่ะ อย่ามัวแต่กอดตำราแล้วมาถกเถียงกันไม่สิ้นสุด ลองปฏิบัติสมาธิจงกรมภาวนาให้ถูกทางดูซิ แล้วจะเห็นว่าในตำราก็เป็นเพียงตัวหนังสือที่อยู่ในตำราเท่านั้น แต่ธรรมะที่ปฏิบัติได้จากการพิจารณาวิปัสสนานั้น มันลึกซึ้งมากกว่าในตำราอย่างเทียบกันไม่ได้ คำว่า "เวทนา" เพียงคำเดียว คุณอ่านเท่าไร คุณก็ไม่รู้จักคำว่าเวทนาที่แท้จริง เหมือนคุณไม่เคยเห็นเสือตัวจริง คุณเห็นแต่ในรูป คุณก็บรรยายความรู้สึกขณะเจอเสือจริงๆไม่ถูก แต่พอคุณเจอเสือตัวจริงเข้า คุณก็จะสามารถรู้ความรู้สึกขณะนั้นทันที แต่คุณก็ไม่สามารถบรรยายให้คนอื่นเข้าใจได้ว่าในขณะนั้นคุณมีความรู้สึกอย่างไรต่อเสือ เหมือนคุณได้กินอาหารที่อร่อย คุณจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างไรว่าอาหารอร่อยอย่างไร อย่างไรที่เรียกว่าอร่อยมาก มันอธิบายไม่ได้ แต่พอให้เขากินเท่านั้น เขาก็จะบอกได้ทันทีว่า อาหารนั้นอร่อยอย่างไร ธรรมะปฏิบัติก็เป็นเช่นนั้นแหละท่านเอ๋ย
ฉะนั้น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
มันก็คือ กายนอก กายใน เวทนานอก เวทนาใน จิตนอก จิตใน ธรรมนอก ธรรมใน ก็เท่านั้นเอง แต่คนที่จะถึงภายในได้นั้น ไม่ใช่อยู่ที่การอ่าน แต่อยู่ที่การปฏิบัติ ฉะนั้นการที่แม่ชีตอบไม่ได้ เพราะแม่ชีไม่เคยปฏิบัติเลย ไม่เคยรู้เรื่องของจิตสงบแม้แต่ขณะจิตเดียว แม่ชีจึงตอบไม่ได้
ต่ออีกนิด คำว่ามรรค หมายถึงสำเร็จ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
โสดาปฏิมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
ดังนั้น มรรคนอกคืออะไร คงสรุปได้แล้วนะ มรรคในคืออะไร ก็น่าจะสรุปได้เช่นกันนะครับ
ต่ออีกหน่อย (เขียนแล้ว..มันส์)
หลวงตามหาบัว ท่านเขียนลงในประวัติท่านว่า
ท่านเรียนจนเป็น "มะหา" รู้สึกว่ายิ่งเรียน..ยิ่งโง่ เพราะความรู้มันกว้างขวางมาก ยิ่งเรียน ตำราก็ยิ่งมาก จึงไปกราบหลวงปู่มั่น เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นก็บอกว่า "ท่านมหา ตำราที่เรียนมานั้น ท่านมหาเอาใส่ตู้ ปิดหีบปิดกุญแจให้สนิท อย่าให้มันเล็ดลอดออกมา มันจะเป็นตัวขัดขวางการปฏิบัติ เพราะมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ มันอวดรู้ทั้งๆที่ไม่รู้ ให้ตั้งหน้าปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติสำเร็จเมื่อไร มันจะเข้ามาสวมกันเองโดยธรรมะแท้ๆ"
เอ..วัง..
มรรคมี ๒ คือ ๑ปุพพภาคมรรค ได้แก่มรรคในส่วนเบื้องต้น หมายถึงผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาโดยลำดับ ๒. อริยมรรค ได้แก่มรรคอันประเสริฐ
คือถึงญาณที่๑๔ ตัดกิเลสได้เด็ดขาด มีนิพพานเป็นอารมณ์
มันง่าย ใช่ครับมันง่ายมาก ง่ายจนคนฉลาดทางปริยัติมองไม่เห็น หลงกอดตำรา ก็เลยมีความรู้อยู่เฉพาะในตำรา
ถ้าจะถามว่า ในโลกนี้ มีอะไรบ้างที่ไม่ใช่ธรรมะ ก็ตอบได้ว่าไม่มี เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมด พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า "ใบไม้ในป่ามีจำนวนมากมาย แต่ธรรมะ .ที่ตถาคตนำมาสอนมนุษย์นั้น เปรียบเท่าใบไม้ในมือตถาคตเท่านั้น" ฉะนั้น ในตำราก็คือใบไม้กำมือเดียวเท่านั้น ใบไม้ที่นอกเหนือจากในกำมือ ก็คือธรรมะนอกตำราทั้งสิ้น เข้าใจหรือยังล่ะ อย่ามัวแต่กอดตำราแล้วมาถกเถียงกันไม่สิ้นสุด.......
ทิพย์อักษร DT05630 [4 เม.ย. 2551 20:07 น.] ความคิดเห็นที่ 3
ยึดตำราดีกว่าแน่นอน
ไม่ยึดตำราก็แสดงธรรมผิดอย่างนี้นี่เอง
ใบไม้ในกำมือ
สีสปาสูตร
เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น
เล่มที่ ๑๙
[๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.
พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.
[๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบสูตรที่ ๑
ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต หมายถึงการเห็นมัคค ผล นิพพานเจ้าค่ะ
ไม่ใช่การเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเจ้าค่ะ เพราะธรรมะที่ถูกต้องไม่ใช่ทุสิ่งทุกอย่างตามที่คนส่วนมากเข้าใจ
ปริยัติคือคำสอนเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องถูกทางเจ้าค่ะ
คนทิ้งตำราคือคนโง่เขลาเจ้าค่ะ
การปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติให้ตรงกับปริยัติจึงจะได้ผลสำเร็จจริง
วิธีการปฏิบัติโดยไม่เอาปริยัติเป็นของปลอมเจ้าค่ะ
พระพุทธศาสนาไม่มีของง่ายเจ้าค่ะ
ถ้าง่ายไม่ใช่พระพุทธศาสนาเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
คุณน้ำเค็ม
คุณหาโอกาสเข้าทางจงกรมบ้างนะ แล้วคุณจะรู้เองนั่นแหละ
ฉันเคยพบกับคำว่า"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต"บนทางจงกรมเจ้าค่ะ
ไม่ใช่เห็นในหนังสือนะเจ้าคะ น่าสงสารคนฉลาดจังงงง
กุหลาบไร้หนาม - 124.121.18.36 [5 เม.ย. 2551 23:49 น.] ความคิดเห็นที่ 6
น้ำเค็มนั้น เดินจงกรม อยู่เป็นนิจ
มีดวงจิต ทรงฌานไว้ ไม่เหินห่าง
โลกุตตระ กุศลตั้ง ยังเส้นทาง
ทุกก้าวย่าง เกิดญาณ บนฌานใจ
ปฏิบัติ ตามหนังสือ คือทางตรง
พระพุทธองค์ ทรงตรัส บอกทางไว้
อันมัคคสี่ ผลสี่ อยู่ที่ใจ
ประคองให้ จิตหลุดพ้น บนบาทฌาน
รักษาฌาน เป็นบาทตั้ง ยังญาณเกิด
จิตแพรวเพริด สุกสว่าง สร้างรากฐาน
ญาณและฌาน รวมเป็นหนึ่ง ในดวงมาลย์
นี่คือการ เดินจงกรม น้ำเค็มมี
ปฏิบัติ ิปริยัติ ต้องตรงกัน
มิฉะนั้น เรียกผิดทาง ค่ะคุณพี่
ประมาทธรรม พระสัมมา ผู้มุนี
ย่อมมิมี ดวงตาเห็น เป็นองค์ธรรม
ณ สำนัก ของน้ำเค็ม เข้มปฏิบัติ
ปริยัติ ปฏิสัมภิทา มาทางสัมม์
กสิณแปด สมาบัติแปด เป็นฐานนำ
อุปถัมภ์ แด่มัคคสี่ ที่เป็นฌาน
แปดชั่วโมง ต่อวัน นั้นปฏิบัติ
ปริยัติ อีกแปด สร้างแก่นสาร
ตบะมั่น ตามถ้อยคำ พระอาจารย์
สุขสำราญ จิตใส ในป่าดง
ณ สำนัก ของน้ำเค็ม เข้มตบะ
เป็นผู้ละ เหย้าเรือน เคลื่อนความหลง
มาสู่ป่า อาศรมน้อย ดอยไพรพง
สิบเอ็ดองค์ สมันน้อย เป็นมุนี
ณ สำนัก ของน้ำเค็ม เข้มโลกุตตระ
ฌานตบะ นั้นบำเพ็ญ เป็นวสี
โลกุตตระฌาน เพื่อละออก จากโลกีย์
จงกรมนี้ มีแต่ฌาน มัคคผลธรรม
ขอขอบพระคุณที่กรุณาสงสาร..กุหลาบมีหนาม..อย่างน้ำเค็มเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
คุณหาโอกาสเข้าทางจงกรมบ้างนะ แล้วคุณจะรู้เองนั่นแหละ
ฉันเคยพบกับคำว่า"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต"บนทางจงกรมเจ้าค่ะ
ไม่ใช่เห็นในหนังสือนะเจ้าคะ น่าสงสารคนฉลาดจังงงง
กุหลาบไร้หนาม
คำตอบนี้เป็นทางที่ดีที่สุด เพราะทางพระนิพพานเป็นทางของการรู้กายรู้ใจ ไม่ใช่รู้คัมภีร์ เปรียญ 9 ไปมีเมียถมไป พระไม่มีเปรียญ ไปนิพพาน กระดูกเป็นพระธาตุมากมาย จะเอาอะไร เกิดหรือไม่เกิด เห็นธรรม ไม่ใช่เห็นคัมภีร์
อนุโมทนาอย่างยิ่ง กับคุณกุหลาบไร้หนาม
อ้อมค้อมเสียนานสองนานที่แท้ก็มาโฆษณา พระสายพม่าที่สอนให้ทิ้งพระไตรปิฎก
ไม่เอาปริยัติมาปฏิบัติ แล้วจะมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์กันไว้ทำไม
ไม่เอาปริยัติมาปฏิบัติ อย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิตั้งแต่เริ่มต้นแล้วครับ
ไทยพุทธ - 203.113.111.157 [10 เม.ย. 2551 16:15 น.] คำตอบที่ 11
เมื่อข้าพเจ้าคิดผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิไปแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอความกรุณาเมตตาอนุเคราะห์ท่านไทยพุทธ ช่วยส่งเสริมให้เข้าพเจ้าสู่หนทางของสัมมาทิฏฐิด้วยเถิด
ข้าพเจ้าไม่รู้จริง ๆ ว่าสัมมาทิฏฐิ เขาทำ เขาเป็นกันอย่างไร ความคิดภายในก็ไม่ได้บอกด้วยสิ ว่าฉันเป็นสัมมา หรือ มิจฉาทิฏฐิ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นชาวพุทธก็อยากเป็นผู้ปฏิบัติตามแนวพุทธ ท่านผู้รู้ไทยพุทธได้โปรดชี้แนะทางสว่างแก่ข้าพเจ้าด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
พระศาสดา รุ้ได้อย่างไรว่าเป็นพระศาสดา
พระธรรม รู้ได้อย่างไรว่าเป็นพระธรรม
พระสงฆ์ รู้ได้อย่างไรว่าเป็นพระสงฆ์
เอาอะไรมาเป็นตาชั่ง ระหว่าง
สมมติสงฆ์ กับ อริยะสงฆ์
เอาอะไรมาตวง มาวัด กับอริยะบุคคล 4 คู่ 8 บุรุษ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า
คนเดินถนน ใครเป็นผู้ทรงไว้ซึ่ง
โสดาปฏิมรรค โสดาปฏิผล
สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล
อนาคามีมรรค อนาคามีผล
ขอความกรุณาชี้แนะแนวทางสว่างด้วย จะเป็นพระคุณยิ่งกับคนไม่รู้อะไรคนหนึ่ง
ขออนุโมทนาบุญกุศลที่ท่านทำแล้วด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์
เพราะ อัตตา อัตนียา มี มากล้น
เรา เขา จึง(คิด)ค้นคำ ต่อว่า
พุทธองค์ทรงมีพุทธ วจนา
ละ อาสวะกิเลส สิ้น เศษกรรม
ขันธ์ห้าด่าขันธ์ห้า น่าขำ
ต่างเรียนรู้หลักธรรม ล้ำล้น
ไฉนไม่อาจละซึ่ง ตัวตน
หวังหลุดพ้นวัฏสงสาร(อีก) นานเอย