อะไร..ที่จะทำให้ความอิจฉาริษยาบรรเทาเบาบางลงค่ะ

 puaw    

ภายในจิตใจ...เมื่อเห็นคนๆ นึงมีความสุขกว่า มีทรัพย์มากกว่า สวยกว่า หรือเขาประสบความสำเร็จ
ทำไมจะต้องร้อนรน รู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อย บุญน้อย และไม่อยากเห็นใครดีกว่าตัวเอง
(แต่ไม่ได้แสดงออกมาให้เขารู้ เขาเห็น) แบบนี้เรียกว่าความอิจฉา ใช่ไหมค่ะ
และจะต้องทำยังไงให้ให้เลิกอิจฉาคนอื่น และรู้สึกยินดีกับผู้อื่นอย่างจริงใจ แนะนำด้วยค่ะ   




สำหรับผมนะครับ เคยได้ฟัง ถ้าจำไม่ผิดจากวิทยุ

พรหมวิหาร4

1.เมตตา ถ้าเรามีเมตตา หรือมีจิตต้องการให้คนๆนึงนั้นมีความสุข ถ้าทำบ่อยๆเข้า จะเหมือนช่วยแก้เรื่องความไม่พอใจ ไม่ชอบใจกับคน กึ่งๆเป็นตัวช่วยให้เบาบางเรื่องความแค้น

2.กรุณา เช่นเดียวกันครับ ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ถ้าเราหมั่นทำเช่น การทำทาน หรือช่วยเหลือกัน ก็จะช่วยให้เบาบางเรื่อง ความอาฆาต (เหมือนกับเมตตาเปล่าน๊า)

3.มุทิตา (อันนี้น่าจะเกี่ยวกับกระทู้นี้) ยินดีเมื่อผู้อื่นใดดี ถ้าเราหมั่นยินดีเมื่อมีคนเขาได้ดี ก็จะเบาบางเรื่องอิจฉา ริษยา

4.อุเบกขา วางเฉย ข้อนี้สำหรับบุคคลที่ยังประพฤติทางโลกอยู่ เราไม่ควรจะวางเฉยกับคนที่เรารู้จักหรือสามารถช่วยได้ โดยทันที ควรจะมี เมตตา และ กรุณา นำทางก่อน ถ้าเราทำทุกอย่างแล้ว ยังไม่สามารถมีอะไรดีขึ้นมาได้แต่วางเฉยครับ

เคยได้ยินคนอุปมาไว้ว่า พรหมวิหาร 4 เหมือนเลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน

1.เมตตา เมื่อเด็กคนนั้นยังไม่สามาช่วยตนเองได้เท่าที่ควร ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายๆเรื่อง เช่นเด็กเล็กๆ
เราควรมีความตั้งใจให้เขามีความสุข

2.กรุณา เมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้นมาในระดับนึงแล้ว อาจจะช่วง 12-20 เราก็อยู่ดูเขาห่างๆระดับนึงแค่คอยประคอง
ไม่เห็นเจอความทุกข์ เช่น ซื้อจักรยานยนต์โดยไม่สาเหตุที่สมควร

3.มุทิตา อาจจะเป็นคนวัยกลางคนแล้ว เมื่อลูกเริ่มทำงานได้ระดับนึง เราก็ควรห่างเขาอีกระดับนึง แค่สอบถาม
อะไรเล็กๆน้อยๆ ให้ข้อคิดเขายามเมื่อเขาเจอทางที่ลำบาก และยินดีเมื่อเขาได้ดี

4.อุเบกขา เมื่อลูกๆโตได้ระดับที่สมควรแล้ว อาจจะเช่น 40-50 อะไรจะกต้องเกิด เขาสามารถดูแลตนเองได้
ระดับนึงแล้ว ไม่ต้องคอยจ่ำจี้ จำไช อะไรเขานักหนา

สำหรับอีกวิธีนึงที่พอจะแก้เรื่องนี้ได้ ผมได้ฟังได้่อ่านมา แล้วนำมาปฏิบัติระดับนึง ก็ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ที่เรารู้สึก ที่เราสัมผัส นั้น เป็นกรรมของเรา ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสุขหรือทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นกับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นคือกรรมของเรา ส่วนกรรมใหม่ที่เราจะสร้าง คือสิ่งที่เรากำลังจะทำหรือทำอยู่ ก็มี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ถ้าผมกล่าวอะไรผิดพลาด ตกหล่นประการรบกวรผู้รู้ชี้แนะด้วยนะครับ


• "เรื่องของตนผู้เดียว" (สมเด็จพระญาณสังวร)

• นํานั่งสมาธิ/นั่งสมาธิ 10 นาทีก่อนนอน

• อานิสงส์การแผ่เมตตา (อรกชาดก)

• ฝึกอานาปานสติกรรมฐาน เข้าสู่ฌาม 1- 4 #หลวงพ่อฤาษีลิงดำ #วัดท่าซุง

• ดาวน์โหลด Ebook เรื่อง " ลุงยุทธสะดุดคิด" โดย อาจารย์ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง

• เหตุใดจึงห้ามฆ่า

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย