การไม่ยินดียินร้าย ฝึกทำยังงัยครับ??

 Wanchai.pb    

ถ้าเวลามีปัญหาที่เราต้องเจออยู่บ่อยๆในที่บ้านหรือที่ทำงาน
เราจะไม่ยินดียินร้ายได้อย่างไรครับ
บางทีเวลาหรือขณะที่เราปฎิบัติธรรมหรือฟังธรรมอยู่อาจช่วยให้เราไม่มีความทุกข์ในเรื่องนั้นๆได้
แต่หลังจากนั้นปัญหาก็ยังคงมีอยู่และไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป
ขอความเมตตาจากผู้รู้ช่วยชี้ทางสว่างให้ด้วยครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
จาก..ผู้เริ่มสนใจธรรมะ






ถ้าเวลามีปัญหาที่เราต้องเจออยู่บ่อยๆในที่บ้านหรือที่ทำงาน
เราจะไม่ยินดียินร้ายได้อย่างไรครับ
บางทีเวลาหรือขณะที่เราปฎิบัติธรรมหรือฟังธรรมอยู่อาจช่วยให้เราไม่มีความทุกข์ในเรื่องนั้นๆได้
แต่หลังจากนั้นปัญหาก็ยังคงมีอยู่และไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป
ขอความเมตตาจากผู้รู้ช่วยชี้ทางสว่างให้ด้วยครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
จาก..ผู้เริ่มสนใจธรรมะ


โดย : Wanchai.pb [DT07907] 13 ธ.ค. 2551 18:13 น.





สวัสดีครับ


การจะไม่ยินดียินร้ายนั้นเราต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้ดีเสียก่อนครับ
ไม่ใช่เราจะไปไม่ยินดียินร้ายไปเสียทุกเรื่อง

ปัญหาที่เราต้องเจออยู่บ่อย ๆ ในที่บ้านหรือที่ทำงาน บางอย่างเราต้องสนใจเราต้องใส่ใจ จะวางเฉยไม่ยินดีไม่ยินร้ายไปเสียทุกเรื่องไม่ได้ ต้องระดมความคิด ต้องระดมผู้คนมาช่วยแก้ปัญหา เพราะถ้ายิ่งปล่อยปัญหาไว้นาน ๆ อาจกลายเป็นเรื่องบานปลายจนไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้เลยก็อาจเป็นได้


เมื่อมีปัญหาใดเข้ามา อย่างน้อยก็มีประโยชน์หลายประการ
1.ทดสอบภูมิปัญญาเราว่ามีมากน้อยแค่ไหน มีปัญญาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้หรือไม่ ?
2.ทดสอบอารมณ์จิตของเราว่าจิตใจเราหวั่นไหวไปในทางใด โลภไหม ? โกรธไหม? ฟุ้งซ่านลังเลไหม?
3.ทดสอบความจริงใจของเพื่อนร่วมงานว่าเป็นเพื่อนแท้หรือเพื่อนเทียมของเรา ?
4.ทดสอบคุณภาพจิตใจเราว่าในสถานการณ์อย่างนี้เราจะเอาชนะอารมณ์ตนเองและแก้ปัญหาได้อย่างไร ? จิตเราเป็นกุศลหรือไม่ ?
5.ฯลฯ


ปัญหาที่มากระทบเราจัดการกับมันได้ 4 ลักษณะดังนี้
1.สิ่งใดควรกำหนดรู้เราก็แค่กำหนดรู้เท่านั้นพอ
2.สิ่งใดควรละ สิ่งใดไม่ควรยินดียินร้าย สิ่งนั้นเราละ เราไม่ควรยินดียินร้ายกับมัน เช่นเหตุให้ทุกข์ร้อนใจเราละ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ ลาภ ยศ สรรเสริญเราไม่ควรยินดียินร้าย
3.สิ่งใดที่ควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เราต้องรีบทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง จะได้แก้ไขปัญหาให้สำเร็จได้ทันท่วงที
4.สิ่งใดควรเจริญ เราเจริญ เช่นการแบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การเป็นผู้มีศีล การเป็นผู้สำรวมกาย วาจา ใจ การเจริญปัญญาศึกษาค้นคว้า การฝึกจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องกระทำให้มาก ๆ เป็นสิ่งที่ต้องเจริญเอาไว้เนือง ๆ ใครทำได้อย่างนี้ก็จะมีแต่คนรักคนชม




การจะไม่ยินดียินร้ายต้องระบุมาก่อนว่าเป็นปัญญาลักษณะใด จึงจะตอบได้ว่าจะจัดการกับปัญหานั้นในแนวทางใดครับ



เจริญในธรรมครับ.



การไม่ยินดียินร้าย...การไม่ยึดติด.. การปล่อยวาง ..การไม่ยึดมั่นถือมั่น...ล้วนเป็นผลที่ต้องเกิดขึ้นจากเหตุ .. ไม่มีใครสั่งจิตใจได้ ห้ามไม่ได้..ผลธรรมทั้งหลาย เกิดจากเหตุปัจจัย ดังนั้นเมื่อมีเหตุมีปัจจัยเขาก็ต้องเกิดขึ้น หากหมดไป ไม่มีเสียซึ่งเหตุปัจจัย เขาก็ย่อมหมดไปเป็นธรรมดา
ดังนั้น ความจำเป็นจึงจะต้องกล่าวแนะวิธีที่จะสร้างเหตุสร้างปัจจัย เพื่อที่ให้เกิดผลคือ การไม่ยินดียินร้าย ..ความคลายความยึดมั่น การปล่อยวาง..นั่นเอง ได้แก่ การพิจารณาอารมณ์ที่กำลังกระทบนั้นให้ถูกตรงกับ ความเป็นจริงของเขา ต้องเห็นถูกต้อง สติและปัญญานั่นเองจึงเกิดมาเพื่อทำการงานในการรู้เห็นตามความเป็นจริง อย่างนี้ได้

แล้วอะไรหนอ เป็นเหตุของ ปัญญา?

ตอบว่า ต้องมีการฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นเหตุใกล้ มีการพบหากัลยาณมิตร มีการตั้งตนไว้ชอบ เป็นอาทิ... เมื่อฟังธรรรมที่ประกอบเหตุผลแล้ว แล้วย่อมเกิดการพิจารณารู้ตามความเป็นจริง ปัญญาย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างนี้ คือ การฟังธรรม เป็นปัจจัยใหญ

เหมือนคนอยู่ในที่มืด เห็นเชือกแล้วคิดว่า เป็นงู เกิดกลัวขึ้นมาแล้ว ..ก็สำคัญว่า เห็นเป็นงูอยู่อย่างนั้น จะให้คลายกลัวได้อย่างไร จะสั่งให้ปล่อยวางได้หรือ? สั่งใจไม่ได้เลย
แต่เมื่อปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเหมือนได้พบแสงสว่าง รู้และเห็นในสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นความจริง ก็เห็นว่าเป็นเชือก ไม่ใช่งู คราวนี้ ไม่ต้องสั่งใจหรอก เมื่อมีปัญญา มีแสงสว่างเกิดขึ้นย่อมรู้ถูกต้อง ใจก็ไม่บิดเกลียว ย่อมปล่อยวางของเขาเอง ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่น เลิกใส่ใจอารมณ์นั้นๆ ไม่เห็นเป็นสาระอีกต่อไป..นี่ผลอย่างนี้ ย่อมเกิดด้วยเพราะเหตุอย่างนั้นทีเดียว

การรู้ตัว รู้ความจริง เป็นเรื่องของสติสัมปชัญญะ เกิดขึ้นเองไม่ได้เหมือนกัน ต้องฝึก ต้องทำความเข้าใจให้ดี เห็นประโยชน์ แล้วก็ฝึก ให้เกิดความชำนาญเป็นปัจจัย ฝึกบ่อยๆ
ขณะที่ใจรู้เรื่อง ก็เดือดร้อนเพราะไม่รู้ตัว ไม่รู้ความจริงตรงนั้น..เรื่องที่คิดถึงก็ไม่มีจริงสักหน่อย จบไปแล้วเป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตที่คิดนึกเอาเองบ้าง คิดถึงเรื่องที่ไม่จริงทั้งนั้น ก็พาใจเดือดร้อน..กลับมารู้เนื้อรู้ตัว รู้ที่ตัวบ่อยๆ ไม่รู้เรื่องนอกตัว ก็เป็นการสร้างเหตุปัจจัยเพื่อการปล่อยวาง


กิเลสมีมาก เขาก็ต้องมาบ่อย มามาก นี่เป็นเรื่องธรรมดา..สติปัญญามีน้อย เขาก็เกิดได้น้อย เป็นธรรมดาอีกเช่นกัน..ก็ต้องฝึกไว้บ่อยๆเป็นปัจจัยเท่านั้นเอง จะหวังทำมากๆก็ไม่ถูกต้อง เพราะจะเดือดร้อนเหมือนกันในยามไม่ได้ผลดั่งใจ






อะไรที่เป็นความสุขใจ ทุกข์ใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจ แม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ กับความพอใจ ไม่ชอบใจในเรื่องการกิน การอยู่ การใช้จ่ายกับสิ่งที่รัก หากเราร้จักสังเกตและวางความเป็นกลางได้ หรือความไม่ยินดียินร้ายในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้เป็นประจำแล้ว เมื่อเราได้มีโอกาสเจอเรื่องที่ใหญ่ ๆ หรือสำคัญ ๆ ในชีวิต เราก็จะมีความเคยชินกับการทำความรู้สึกธรรมดากับเรื่องเหล่านั้นได้ง่ายมากขึ้นนะคะ

อย่าคิดว่าเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญนะคะ ความจริงทุกอย่างต้องเริ่มเข้าใจจากสิ่งเล็ก ๆ เนี่ยแหละค่ะ..


การไม่ยินดียินร้าย ท่านเรียก อุเบกขาครับ..

อุเบกขา = การวางเฉย จิตเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย (ยกตัวอย่างเกี่ยวกับ การนินทา สรรเสริญ) ก็จะได้ ดังนี้

- การวางเฉยแบบไม่รู้ คือไม่ได้ยิน ไม่รู้ ไม่เห็น ดั่งนี้เรียกว่า วางเฉยด้วยความไม่รู้จริง แต่ที่จริงเขาสรรเสริญ เขานินทาอยู่ เพียงแต่ไม่รู้ ไม่ได้ยิน ไม่ทราบว่าเขานินทาอยู่เท่านั้น

- การวางเฉยด้วยความรู้ คือ ได้รู้ ได้เห็น ได้ยินเขานินทา สรรเสริญ แต่ทนอยู่ได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เพราะมีขันติ ความทนทาน ความอดทนเป็นที่ตั้ง

- การวางเฉยด้วยปัญญา อันการวางเฉยลักษณะนี้ต้องเกิดจากความรู้ การประพฤติ ปฎิบัติ “การพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล เห็นสัจจะความจริง (โยนิโสมนสิการ)”ในโลกธรรมแปด ที่ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ต้องประสพ ไม่ยกเว้นให้ใครป็นพิเศษ

การจะปฏิบัติธรรมหมวดนี้ ต้องมีขันติ ต้องเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม โทษกรรมหรือปลงลงในกรรมให้ได้ ถึงเราจะเดือดร้อนเพราะการกระทำของเขา แต่กรรมชั่วที่เขากระทำนั้น ก็เป็นกรรมของเขาเอง ไม่ใช่กรรมของเรา

เมื่อคิดได้ดั่งนี้แล้ว เมื่อประสพโลกธรรมแปด การวางอุเบกขา การวางใจเป็นกลาง การวางเฉย ก็ง่าย ก็สะดวก ไม่ติดขัด

เจริญธรรม



จิต ไม่ยินดี ยินร้าย นั้นเป็นทั้งทางปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติ แบบนี้ครับ

สิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเราเลือกที่จะนำมากำหนดรู้
รู้จักเลือกที่จะละวางครับ รู้จักเลือกที่จะทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง แล้วเข้าสู่ทำให้เจริญ
ยิ่งขึ้น ผลจิตนี้เป็น อุเบกขา จิตนี้ ไม่เกาะเกี่ยวกับ กามตัณหา ถือว่าเป็น กุศลจิต
จัดอยู่ในขั้นของปัญญาญาณ

แต่

ยังมี อุเบกขา ที่ปฏิบัติ และผล ที่เกิดจากโมหะ(หลง) ก็มีครับ ต้องแยกแยะให้ออก
ที่เขาเรียกว่า อุเบกขาโง่ เช่น เพราะไม่รู้ชัด เพราะมิจฉาทิฏฐิ เพราะแกล้งไม่รับรู้ ฯ

อุเบกขา เพราะพิการ(ผลของบาป) คือ เพราะตาบอดจึงไม่เห็น เพราะหูหนวกเพราะไม่ได้ยิน เพราะปัญญาอ่อน ฯ
อุเบกขา แบบนี้ ไม่ใช่อุเบกขาในทางปัญญาครับ


 4,199 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย