ถึงผู้ภาวนาทุกๆท่าน
หลังจากที่ข้าพเจ้าคิดอยู่นานหลายปี เกี่ยวกับการภาวนา ปรารถนาเพื่อพ้นทุกข์ แต่ในทางของฆราวาสนั้นเป็นทางแคบ จะภาวนาอย่างไรนั้นก็คงจะทำได้ไม่เต็มที่ บัดนี้เห็นแล้วว่าโอกาศเหมาะนักที่จะสละความสุขทางโลกทั้งหลาย เพื่อออกบวช ในวัดป่า ต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง ตั้งใจเพื่อว่า เวลาที่เหลืออยู่จะได้ภาวนาอย่างเต็มที่ ให้ถึงที่สุดของธรรม ตามแต่บุญวาสนาที่มี ก่อนลมหายใจจะหมด เพราะข้าพเองก็ไม่แน่ใจว่าต่อไปเหตุการณ์ต่างๆจะเปลียนแปลงไปอย่างไรบ้าง ขอให้ท่านนักภาวนาทั้งหลาย จงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และบุญกุศลที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า จงได้รับถึงท่านทั้งหลายทึ่มีจิตกุศลด้วยกันทั้งหมด........เทอญ
ขออนุโมทนา สาธุการ กับท่านด้วย
บุญจงช่วย ให้กระทำ สำเร็จผล
พระไตรรัตน์ จงสว่าง กลางกมล
เกิดมัคคผล ภูมิสี่ ที่ต้องการ
ขอให้ได้ อาจารย์ดี ที่สอนตรง
ไม่สอนหลง ผิดทางแท้ แก่ตัวท่าน
สอนตามมรรค แปดองค์ ตรงนิพพาน
และตัวท่าน ฝึกได้งาม ตามมรรคจริง
" จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใดอบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จักมีมาแต่ที่ใดเล่า ? "
ขออนุโมทนาสาธุการกับการก้าวไปสู่สมณะเพศของท่านเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
ขออนุโมทนาด้วยครับ
ขอร่วมอวยพรให้ท่านได้พบที่สุดแห่งพุทธรรมได้ในเร็ววันครับ อนุโมทนาสาธุ
ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
อนุโมทนาครับ: dhammajakr
ขอให้ความตั้งใจท่านสมประสงค์
ขออนุโมทนาด้วยครับ
ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
ข้าพเจ้ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่หลายๆท่านร่วมกัน อนุโมทนา ผลบุญผลกุศลในครั้งนี้ วันนี้เป็นวันทำงาน วันสุดท้ายของข้าพเจ้า เข้ามาเคลียร์งาน และเก็บข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติ แต่ก็ยังมีไม่มากเท่าไหร่ หาก กัลยาณมิตร ท่านใด มีหนังสือที่พอเป็นความรู้ทั้งทางด้าน ปริยัติ และ ปฎิบัติ ขอช่วยเเนะนำด้วย เพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้ศึกษาอย่างเต็มที่ และจะได้สอนให้คนทั่วไปเขาแจ้งในพระพุทธศาศนาด้วย ขออนุโมทนาสาธุการ
ปริยัติและปฏิบัติที่ถูกต้องคือญาณ 73 ประการเหล่านี้เจ้าค่ะ .
1.ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง]
2. ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล]
3. ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ]
4. ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม]
5. ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการพิจารณา]
6. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบันเป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
7. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสนาญาณ[ญาณในความเห็นแจ้ง]
8. ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ[ญาณในการเห็นโทษ]
9. ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ
10. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ
11. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ
12. ปัญญาในการระงับประโยคเป็นผลญาณ
13. ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ
14. ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ
15. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ]
16. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร]
17. ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา]
18. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ]
19. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
20. ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้]
21. ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา]
22. ปัญญาในการละ เป็น ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ]
23. ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ [ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว]
24. ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ [ญาณในความว่าถูกต้อง]
25. ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
26. ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
27. ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
28. ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
29. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่]
30. ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ]
31. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ]
32. ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็น อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ]
33. ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก]
34. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ]
35. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ
36. ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน]
37. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา]
38. ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ
39. ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม]
40. ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ
41. ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ
42. ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป]
43. ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง]
44. ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี]
45. ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ]
46. ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิต]
47. ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน ความหลีกไปด้วยญาณ]
48. ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์]
49. ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ]
50. ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจากนิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
51. ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ]
52. ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน]
53. ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้]
54. ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ
55. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย]
56. ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ
57. ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ
58. ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น นิโรธญาณ
59. ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ
60. ทุกขญาณ [ญาณ ในทุกข์]
61. ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์]
62. ทุกขนิโรธญาณ [ญาณในความดับทุกข์]
63. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับทุกข์]
64. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ
65. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
66. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
67. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
68. อินทริยปโรปริยัติญาณ [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย]
69. อาสยานุสยญาณ [ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย]
70. ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์]
71. มหากรุณาสมาปัตติญาณ
72. สัพพัญญุตญาณ
73. อนาวรณญาณ
ญาณเหล่านี้รวมเป็น 73 ญาณ ในญาณทั้ง 73 นี้ ญาณ 67 [ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก
ญาณ 6 [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ .
ศึกษารายละเอียดที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากพระไตรปิฎกออนไลน์เจ้าค่ะ
[url] http://www.tipitaka.com/tipitaka31.htm [/url]
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
ขออนุโมทนา...สาธุ...ครับ
อนุโมทนาด้วยค่ะ
อนุโมทนา ด้วยครับ ปรารถนาสิ่งใดในทางที่ดีทางที่ชอบ ขอให้ได้สิ่งนั้นนะครับ
ขออนุโมทนาด้วยครับ ขอให้สำเร็จในธรรมที่ยังไม่สำเร็จครับ สาธุ
4,111