ผมเพิ่งจะหัดนั่งสมาธิมาได้ไม่กี่เดือน จุดเริ่มแรกก็ได้มีโอกาสไปบวช (ขาว) ที่วัดมา
และอ่านหนังสือ ทั้งสนใจด้านนี้ แต่เวลาทำสมาธิแล้วมีความรู้สึกเหมือน มันวู้บ (คล้ายควันโดนดูนเข้าเครื่องดูดฝุ่น อะไรทำนองนั้นเข้ามาที่ตัวเรา...แล้วมันรู้สึกเบา สบาย แต่ไม่ได้ลอยนะคับ เสียงที่เคยได้ยินมันเบามาก แต่เรายังรู้ว่าได้ยิน บางครั้งเรามีความรู้สึกว่า เราเหมือนลูกกลม ๆ กำลังลอยอยู่ในจักรวาล แต่มันไม่สว่างนะคับ ) ไม่รู้ว่ามันเป็นอารมณ์สมาธิ หรือ อุปาทาน รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะแนวทางให้ด้วยนะครับ ขอบคุณมากคับ
เป็นอาการของคนกำลังจะหลับครับ
เคลิ้มหลับในท่านั่งครับ
จิตไม่เป็นสมาธิครับ
จิตเป็นสมาธินั้นตามองเห็น หูได้ยินชัด ตาหูทำงานเป็นปกติ
แต่จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งที่เห็นและได้ยินนั้นครับ
จิตเป็นสมาธิคือต้องเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานครับ
เจริญในธรรมครับ
อย่างท่านเหล่าซือพูด
นั้นละครับอนุโมทนาครับ
ทุกเรื่องราวหากสงสัยในการปฏิบัติธรรมเชิญส่งเมล์ไปถามได้ครับที่ info@thammasil.com , www.thammasil.com
ที่ว่านั่งสมาธิแล้ววูบนั้น ต้องดูต่อไปน่ะค่ะ ว่าวูบแล้วเป็นยังไง
ถ้าวูบแล้วเคลิบเคลิ้มสติระลึกรู้ค่อย ๆ หายไป แสดงว่าจิตกำลังตกภวังค์ หรือบางท่านว่าเคลิ้มหลับไปก็เป็นได้ค่ะ
แต่ถ้าวูบแต่มีสติระลึกรู้ตลอด จะสุขก็รู้ ได้ยินก็รู้ สักแต่ว่ารู้ มิได้ตีความใดๆ ก็มีความเป็นไปได้ที่อารมณ์สมาธิกำลังแนบแน่นมากขึ้น ๆ
เมื่ออกจากสมาธิแล้วก็ให้พิจารณาขั้นตอนของการเข้าออกสมาธิเปรียบเทียบครั้งที่ผ่าน ๆ มานะคะว่าวางจิตแบบนี้แล้ว เป็นแบบนี้ วางแบบไหนจะเป็นอย่างไร ทำไปเรื่อย ๆ ก็จะเข้าใจได้ด้วยตนเองไปตลอดอ่ะค่ะ เพราะการมีสมาธิที่ถูกต้องและประกอบด้วยปัญญาแล้วก็จะเกิดประโยชน์มากทีเดียว และที่สำคัญในชีวิตระหว่างวันก็ลองพิจารณาการใช้ชีวิตอย่างไรให้เป็นสุขเปรียบเทียบกับสุขที่เกิดในสมาธิดู เพราะสุขอันเกิดจากสมาธิเป็นสุขอันละเอียดก็จริง แต่ก็เป็นของชั่วคราว ส่วนสุขอันปราศจากกิเลส คือโลภ โกรธ หลง เป็นสุขที่แท้จริงและไม่มีวันกลับกลายค่ะ
ผมไม่มีอาจารย์ ผมศึกษาทดลองเอง ก้ออยากแบ่งประสบการณ์ ผิดหรือ?
วิธีทำสมาธิมันมีวิธีเดียวหรือ?? คุณเคยทำวิธีไหนมาบ้างละ??
ผมนับพระพุทธเจ้า คำสอนของพระองค์ทุกอย่าง
แต่ผมนั่งมาแบบนี้ ก้อเท่านั้น
มันอาจจะผิด แต่ก้อบอกมาสิว่าผิดตรงไหน
ผมก้อพร้อมรับฟัง... ไม่ใช่ว่า มาลบแบบนี้
ถ้าผมผิดจริงผมก้อยอมรับให้ลบ แต่วิธีผมมันสอนให้ทำบาปหรือ?? ฆ่าคนหรือ??
ผมต้องการบอกถึงความสงบ สมาธิ ที่ผมประสบพบมา ไม่ได้บอกให้เชื่อถือ
แค่อยากให้รับรู้ หรือทดลอง
แต่คุณแน่ใจได้อย่างไร ว่าคุณถูกต้อง???
คุณถามผู้รู้ ผู้ปฏิบัติมาแล้วหรือยัง??? คุณนั่งสมาธิบ้างหรือป่าวทุกวันนี้???
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 18:07 น.] คำตอบที่ 6
ขอถามสักหน่อยนะ
1.วิธีที่ว่ามานี้เป็นวิธีที่ถูกหรือวิธีผิด ?
2.ชาวพุทธควรยึดถือวิธีนี้หรือวิธีของพระพุทธเจ้าดี ?
3.ชาวพุทธควรปฏิบัติตามถ้อยคำของคุณหรือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดี ?
4.คุณเป็นศาสดาหรือว่าพระสมณะโคดมเป็นพระศาสดา ?
วิธีผมมันเป็นแค่เศษเสี้ยวเท่านั้น
ไม่อาจไปเปรียบเทียบอะไรกับศาสนาได้หรอก
เป็นวิธีให้จิตสงบ เท่านั้น!!!
ไม่ได้มีนัยแฝงเลย...
ผมว่าคุณกำลังนอกเรื่องนะ...
คุณคิดว่าผมผิด ผมตรงไหนละ ตอบได้ไหม
ถ้าแค้นี้คุณไม่รู้ คุณก้อบอกไม่ได้หรอกว่าผมถูกหรือผิด
คุณเคยนั่งสมาธิไหมละ ผมว่าคุณไปถามอาจารย์คุณก่อนเถอะ ค่อยมาว่าผม
คุณคิดว่าผมผิด ผมตรงไหนละ ตอบได้ไหม
ถ้าแค้นี้คุณไม่รู้ คุณก้อบอกไม่ได้หรอกว่าผมถูกหรือผิด
การกำหนดความรู้สึกอยู่ที่หน้าอก จิตย่อมมีรูปขันธ์เป็นอารมณ์ มีกามสัญญาเกิดขึ้น สักกายะทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น สักกายะทิฏฐิย่อมมีได้ด้วยการทำสมาธิอย่างนี้ สมาธิของท่านเป็นมิจฉาสมาธิ ใครนำวิธีนี้ไปฝึกย่อมเดินผิดทางจากมรรคมีองค์ 8.
สัมมาสมาธิคือการละกามสัญญา ละสัญญาในรูปขันธ์ เจริญอนัตตาสัญญาอบรมจิตทำลายกิเลสสังโยชน์เป็นเบื้องหน้า
คุณเคยนั่งสมาธิไหมละ ผมว่าคุณไปถามอาจารย์คุณก่อนเถอะ ค่อยมาว่าผม
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 19:19 น.] คำตอบที่ 8
เคย ..!! ปัจจุบันบรรลุฌานสมาบัติ 8 พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบรมครูผู้เยี่ยมยอดของน้ำเค็ม.
๓. อากิญจัญญายตนะ
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณแล้วเพิก วิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการ ปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก ตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์
ผมหามาละ ทีแรกผมไม่รู้หรอกว่าที่ผมปฏิบัติคล้ายวิธีไหน แต่เดาว่าแนวนี้
คุณรู้จักไหม มันนอกเหนือพุทธตรงไหน???
...
คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า ผมไม่ได้หมายความว่า
ให้กำหนดจิตที่กลางหน้าอก แต่ให้จับความรู้สึกของจิตที่อยู่หน้าอก
คือไม่ให้ให้ตั้งมั่น แต่เพียงแค่ประคองไว้ ไม่ให้มันเตลิด
ผมให้ดูจิต ว่ามันจะวอกแวกไหม ใช้ความรู้สึกดูมัน
ไม่ได้กำหนด การที่จิตไม่วอกแวก ทุกอย่างก้อสงบ ก้อเท่านั้น...
ความรู้สึกตอนนั่งคือละทุกอย่าง ไม่สนใจอะไรรอบข้าง
ผมหามาละ ทีแรกผมไม่รู้หรอกว่าที่ผมปฏิบัติคล้ายวิธีไหน แต่เดาว่าแนวนี้
คุณรู้จักไหม มันนอกเหนือพุทธตรงไหน???
...
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 20:07 น.] คำตอบที่ 10
รู้จักดีด้วยแน่นอน
แต่ไม่ได้เดานะลงมือทำจริง ปฏิบัติจริง เห็นจริง
สมาธิไม่ใช่วิธีทำจิตให้สงบตามที่ท่านกล่าวอ้าง แต่เป็นวิธีทำจิตให้เป็นกุศล สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
.
คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า ผมไม่ได้หมายความว่า
ให้กำหนดจิตที่กลางหน้าอก
แต่ผมให้ดูจิตต่างหาก ว่ามันจะวอกแวกไหม ใช้ความรู้สึกดูมัน
ไม่ได้กำหนด การที่จิตไม่วอกแวก ทุกอย่างก้อสงบ ก้อเท่านั้น...
ความรู้สึกตอนนั่งคือละทุกอย่าง ไม่สนใจอะไรรอบข้าง
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 20:20 น.] คำตอบที่ 11
การตามดูจิต จิตเป็นนามขันธ์
การตามดูตามเห็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ย่อมพอกพูนสักกายะทิฏฐิให้มีให้เกิด
การที่กล่าวว่าวิธีสมาธิของท่านทำให้จิตใจไม่วอกแว็กย่อมเป็นไปไม่ได้.
คุณจะมาเอาอะไรกับผม
ผมก้อแค่คนฝึกนั่ง ให้สงบ...
เพราะผมต้องการความสงบ...
ผมเพียงบอกวิธีให้สงบแบบผม ซึ่งผมคิดว่าคงมีผิดบ้าง ถูกบ้าง
ผมไม่มีอาจารย์เหมือนใครๆหรอก
ผมก้อเหมือนเดิน หาทางออกในความมืด
แต่ที่พบทำ มันสงบ...
ความสงบ ไม่ใช่หรือที่เป็นก้าวแรกของสมาธิ ??
ความสงบ ไม่ใช่หรือที่เป็นก้าวแรกของสมาธิ ??
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 20:33 น.] คำตอบที่ 14
กุศลจิตเป็นก้าวแรกของสมาธิ
ความเห็นที่ 4 อธิบายเรื่อง "ภวังค์" ผิดค่ะ ภวังค์ไม่ได้หมายความว่าหลับ
การที่กล่าวว่าวิธีสมาธิของท่านทำให้จิตใจไม่วอกแว็กย่อมเป็นไปไม่ได้.
..............................................................................................
เป็นไปไม่ได้แล้ววิธีไหนที่เป็นไปได้ค่ะ
ขอให้มีทั้งเหตุและผลพร้อมวิธีที่ปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ
ให้แก่ผู้ที่เข้ามาอ่านให้เข้าใจถูกต้องด้วยค่ะ
ไม่ใช่โต้แย้งว่าท่านปฏิบัติไม่ถูก แต่ก็ไม่บอกวิธีที่ถูก
อย่างเมตตาธรรม
พระโยคาวจร DT08378 [25 พ.ย. 2551 20:50 น.] คำตอบที่ 17
กระทู้นี้เขาไม่ได้ถามวิธีการเจริญสัมมาสมาธิที่ถูกต้องว่าทำอย่างไร ?
ถ้าท่านต้องการรู้ให้ตั้งกระทู้ขึ้นมาใหม่
หรือค้นจากเว็ปธรรมะไทยก็ได้มีคนตอบวิธีที่ถูกต้องเอาไว้หลายกระทู้แล้ว
ผมว่าคุณน้ำเค็ม ไม่รู้จักคำว่า เมตตา นะ
ไม่รู้จักคำว่า ปล่อยวาง ...
สำหรับที่โต้เถียงกับคุณมา เพราะผมสงสัย ว่าทำไมต้องลบกระทู้ผม...
ผมไม่มีมีเจตนาจะบิดเบือนคำสอนพระพุทธองค์เลย
แค่นี้คุณก้อไม่รู้แล้ว...
หรืออาจรู้ แต่ก้อไม่ทำ เพราะคำตอบคุณมันแสดงออกอย่างนั้น
คำตอบของคุณน่ะ ไม่ได้สื่อถึงการบอกด้วยเมตตา
แต่มันสื่อถึงการเอาชนะ ... ผมคนนึงที่ไม่รู้ หรืออาจรู้ผิด ๆ
ทำไมคุณไม่บอกดี ๆ ล่ะ
แสดงธรรมน่ะ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าที่ไหนหรอก
หรือต้องที่วัดเท่านั้น ??
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 21:14 น.] คำตอบที่ 19
ใครเป็นคนต้องการเอาชนะกันแน่ก็ลองอ่านคำตอบของตนเองดูก่อนนะ.
มันอาจจะผิด แต่ก้อบอกมาสิว่าผิดตรงไหน
ผมก้อพร้อมรับฟัง... ไม่ใช่ว่า มาลบแบบนี้
ถ้าผมผิดจริงผมก้อยอมรับให้ลบ แต่วิธีผมมันสอนให้ทำบาปหรือ?? ฆ่าคนหรือ??
ผมต้องการบอกถึงความสงบ สมาธิ ที่ผมประสบพบมา ไม่ได้บอกให้เชื่อถือ
แค่อยากให้รับรู้ หรือทดลอง
แต่คุณแน่ใจได้อย่างไร ว่าคุณถูกต้อง???
คุณถามผู้รู้ ผู้ปฏิบัติมาแล้วหรือยัง??? คุณนั่งสมาธิบ้างหรือป่าวทุกวันนี้???
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 18:42 น.] คำตอบที่ 6
คุณเคยนั่งสมาธิไหมละ ผมว่าคุณไปถามอาจารย์คุณก่อนเถอะ ค่อยมาว่าผม
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 19:19 น.] คำตอบที่ 8
เพราะเมตตาจึงมาสนทนาด้วย เพียงเท่านี้ยังไม่ทราบอีกหรือ.
แรกสุดที่ผมโพสผมมีเจตนาบริสุทธิ์
แต่คุณกลับกล่าวหาว่า ผมจะมาทำตัวเป็นศาสดาคนใหม่...
ดังคำตอบที่ 7 ของคุณ ใครที่เริ่มมีปัญหาก่อน ?
..................
ขอถามสักหน่อยนะ
1.วิธีที่ว่ามานี้เป็นวิธีที่ถูกหรือวิธีผิด ?
2.ชาวพุทธควรยึดถือวิธีนี้หรือวิธีของพระพุทธเจ้าดี ?
3.ชาวพุทธควรปฏิบัติตามถ้อยคำของคุณหรือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดี ?
4.คุณเป็นศาสดาหรือว่าพระสมณะโคดมเป็นพระศาสดา ?
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 21:40 น.] คำตอบที่ 21
แสดงว่าตอนหลังและตอนนี้ท่านไม่มีเจตนาบริสุทธิ์แล้วใช่ไหม ?
.
จะได้บอกให้เว็ปมาสเตอร์ลบกระทู้นี้ทิ้ง
.
อ่ะนะ
อัตตาเต็มๆ
ยึดตัวถือตน
เอะอะก็จะลบ
ใช้อำนาจ...เฮ้อ
...................................
กระแสแห่งความเมตตาสามารถรับรู้ได้จากใจ
ข้อความอ่านแล้วจะรับรู้ได้ว่าถ้อยทีถ้อยอาศัย
เพราะยังไม่มีใครที่บรรลุรู้แจ้ง
ถือว่าเป็นการสนธนาธรรมกัน
ไม่มีใครผิดใครถูก
.....................................
หรือว่าเราผิดหว่า...ที่ไม่รู้จักสังรวมกายใจ
ขออภัยมาณ.ที่นี้ หากไปโดนอัตตาใคร
นึกได้อีกอย่าง
ถ้าผมเป็นคุณนะ
ผมจะไม่แจ้งลบตำตอบหรอก(ข้อความแรกสุดของผมที่หายไป)
แต่ผมจะตอบกระทู้
พร้อมทั้งบอกเหตุผล
ว่าผิดไปตรงไหนบ้าง ตรงไหนถูกบ้าง
ผมถือว่าผมให้เกียรติคนตอบกระทู้ทุกคนครับ
ทุกคนล้วนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน
อาจไม่ตรงกัน ตรงนี้แหละที่เราต้องมาแชร์กัน
ว่าทำไมถึงมองกันคนละมุมครับ
จบข่าว ผมเหนื่อยล่ะ คงไม่แสดงความเห็นอะไรไปอีกนานครับ
หากไม่เข้าใจ สักกายทิฏฐิ ก็ยากจะเข้าใจ เรื่องสัมมาสมาธิ
กระทู้นี้ ดีจริงๆ
ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓ ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข ที่เนื่องด้วยกาย
๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
อาการของฌานที่ ๓ นี้ เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้ เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่ มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว
..........................
ผมได้คำตอบแล้ว สิ่งที่ผมได้บอกให้เจ้าของกระทู้ปฏิบัติ คือข้อความบนนี้แหละครับ
คุณเหล่าซือ กับคุณ mina พูดไว้ดี พูดไว้ตรง พูดไว้ชอบแล้วล่ะครับ
สมาธิมีหลายระดับ
แต่ละระดับมันก้มีกำลังสมาธิที่"ใช้งาน"แตกต่างกัน
อย่างผมกำลังพิมพ์ถ่ายทอดความคิดอยู่ ผมก็ทำสมาธิเหมือนกัน
กล่าวคือมีสมาธิกับการเรียบเรียงความคิดคำพูด
ทีวีที่เปิดอยู่จะพูดอะไรอยู่ ผมก้ฟังไม่ได้ศัพท์ ใครทำอะไรผมก็ไม่ได้รับรู้ด้วย
เพราะสมาธิของผมมันถูกทำให้เหมาะกับงานชนิดนี้อยู่
สมาธิคือการทำให้จิตใจอยู่ในสภาวะที่เหมาะที่จะทำงานชนิดหนึ่งๆ
แต่คำว่า
งานชนิดหนึ่งๆ นั้นมันมีหลายงาน
แต่ละงานก้ใช้ระดับสมาธิแตกต่างๆกันไป
กระบวนวิธีที่เราทำให้มันสงบคือการทำสมถะ
เช่นการนับลูกประคำ การก้างเดินจงกรม การออกอริยาบทแบบหลวงพ่อเทียน
การรำไทเก๊ก หรือการทำอะไรก้ตาม
ถ้าทำให้ใจใันเกิดความสงบระงับจนเหมาะแก่การทำงานต่างๆ
เราเรียกว่าการทำสมถะทั้งสิ้น
แต่สมถะเป้นเพียงการเริ่มต้น
การทำให้จิตใจสงบเป้นเพียงจุดเริ่มต้น
แต่ความสงบก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน
เราอยากให้มันสงบยังไง มันก้สงบไม่นาน
เหมือนความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆนั่นแหละ ไม่เที่ยงเหมือกัน
อยากให้มันเที่ยงมันก็ไม่เที่ยง
บางคนคิดว่าความสงบคือที่สุด ที่ชอบ
ก็เลยแสงหาแต่ความสงบ
วิ่งเข้าหาแต่วัด เข้าแต่ห้องพระ
เจออะไรวุ่นวายก้รู้สึกร้อนรน อยู่ไม่ได้ ต้องหลีกหนีไปหาความสงบ
เสพติดความสงบ
ความสงบไม่ใช่ที่สุดของการทำสมาธิ
เพราะพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้เพราะเป็นคนที่ทำความสงบได้เก่งที่สุด ดีที่สุด นานที่สุด
ความสงบก็เป็นของไม่เที่ยง พอไม่สงบเราก็ทุกข์ใจอยากให้สงบ
ท่านตรัสรู้เพราะได้เฝ้าดูพฤติกรรม-กิจกรรมต่างๆของจิตใจ
จนท่านมองเห็นว่านี่แหละ พฟติกรรม-กิจกรรม ของจิตใจอย่างนี้แแหละเป็นเหตุแห่งทุกข์ จึงค้นพบสมุทัย
เช่นการที่จิตพยามหาความสงบ แต่ลงท้ายสงบมันก็ไม่เที่ยง
พอไม่ได้ความสงบมาครองก็ไม่พอใจเป้นทุกข์
แล้วจิตก้ควานหาแต่บัลลังก์เมฆ(ความสงบ)
ความสงบที่แท้จริงแล้วมันไม่มีใช่สัจจะธรรม เด๊่ยวสงบ เดี่ยวไม่สงบ
เดี่ยวสงบเกิด เดี๋ยวสงบดับ
สงบไม่มีอยู่จริงโดยปรมัตถ
ทั้งหมดเป้นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านเลยปล่อยให้จิตมันทำไปตามที่มันอยากจะทำ
แล้วท่านก้เฝ้ารู้เฝ้าดูไปเรื่อยๆ นับครั้งไม่ถ้วนที่จิตมันกระทำพฟติกรรมเดิมๆ
จนเวลาหนึ่ง ท่านสังเกตุพบว่า ที่แท้การที่จิตใจที่มันสอดส่ายไปหาอารมณ์ต่างๆนั่นแหละ เป้นเหตุแห่งทุกข์
แล้วมันสร้างทุกข์ขึ้น
ท่านเริ่มตรัสรู้เพราะท่านทราบความจริงข้อนี้
ความจริงไม่ใช่แค่ความสงบ
ลองเอาคำว่าอะไรก้ได้ไปแทนคำว่าสงบ
เช่น จิตแสวงหาความสุขใจ จิตแสวงหาความสะใจ
จิตแสวงหาอารมณ์รัก จิตแสวงหาความคิดต่างๆ จิตอยากรู้อยากเห้น
จิตอยากสงบ จิตอยากเห้นทะเล จิตอยากรวย จิตอยากนั่น อยากนี่
ซึ่งท่านๆคงสามารถเติมคำเอาเองได้
แต่ว่าไม่ท่านจะเติมคำให้พิศดารแค่ไหน
รูปแบบมันก้มีรูปแบบเดียว
คือจิตที่มีตันหาความอยาก แล้วสอดส่ายแสวงหาสิ่งต่างๆ
จิตมันหิวอาหาร
อาหารของจิตคืออารมณ์
มันแค่นั้น และนั่นเป็นเหตุแห่งทุกข์
ดังนั้น การมุ่งทำความสงบ
ก็เมหือนเราพยามให้จิตมันกินอาหารชนิดที่ชื่อว่าความสงบ
จนเสพติดความสงบ
จึงไม่ต่างอะไรกับการมุ่งปรนเปรอความสุขในปราสาทสามฤดู
หรือการมุ่งดัดตนอดอาหารให้เจียนตาย
มันเป้นความสุดโต่งทั้งนั้น
การทำสมาธิจึงไม่ใช่ "แต่เพียง" เพื่อความสงบ นั่นแค่ครึ่งทาง
เหมือนเราพยามกินอาหารไที่ไม่ปรุง ไม่แต่ง จืดๆ ชืดๆ
กินแล้วไม่สุข ไม่ทุกข์ เราเลยกินเพราะเราไม่อยากสุข ไม่อยากทุกข์
แต่พอกินนานๆ ชักติดอาหารประเภทจืดๆนี้
พอไม่ได้กิน ชักไม่เป้นสุข และเริ่มเป้นทุกข์ที่อยากจะกิน
แต่การกินอาหารประเภทจืดๆชืดๆไม่ปรุงไม่แต่งนี้ จัดว่าดี
เพราะช่วยให้มือใหม่หัดขับอย่างเราๆท่านๆ ไม่รู้สึกหวือหวาในการปฏิบัติธรรม
เพราะถ้าเราได้กินอาหารที่มันอร่อยระดับภัตาคาร คงยากที่เราจะปฏิบัติธรรม
ผู้ชายเราคงยากที่จะทำสมาธิในขณะที่มีนางแบบที่ถูกใจมาเต้นรูดเสาอยู่ข้างหน้า
มัน hardcore เกินกว่าที่จิตเราจะปฏิบัติธรรมได้
จิตมันคงเก้บเสื้อผ้าหนีตามอารมณ์กันกระเจิง
เราเลยต้องทำสมาธิ ซึ่งจัดว่าเป้นอาหารอ่อน เป้นกลาง ไม่ทำให้จิตหวือหวา
แต่ถ้าเรามุ่งทำแต่สมาธิแล้วคาดเอาแต่ความสงบ
ทำกี่ครั้งๆที่ครั้ง ก้เก็งเอาแต่ความสงบ
มันก็ติดอยู่แค่ครึงทาง
เราต้องมองให้เห้นว่า จิตกำลังเสวยอารมณ์สงบอยู่ แล้วพยามจะแช่อยู่
ไม่ต่างจากคนดูหนังฟังเพลง พวกนั้นก็หาอารมณ์มาเสวยเหมือนกัน
เราต้องก้าวข้ามขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
คือมองความจริงให้ออก มอง pattern ของจิตให้ออก
มันมีลูกไม้เดียวนี้แหละ มีมุกเดียวนี่แหละ
ไม่ว่าจิตจะทำอะไร ในวันหนึ่งๆ
มันก้มีรูปแบบเดียว ลูกไม้เดียว มุกเดียว แบบเดิมๆทุกครั้ง
ให้เฝ้ารู้ เฝ้าดู สังเกตุให้ออก
การทำสมาธิก็เหมือนกัน
ถ้าเรามุ่งติดอยู่กับสมาธิ
มันจะไม่มีทางเป้นฌานขึ้นมาได้ ไม่เกิดวิปัสนาขึ้นมาได้
เพราะเราพยามบงการให้มันเป้นสมถะตลอดเวลา
พอมันเริ่มแสดงสัจจะธรรมเช่นความไม่เที่ยงของความสงบ เราก้รีบแทรกแทรงทำให้มันสงบ
ไม่ปล่อยให้มันแสดงความจริงตามปกติธรรมดาของมัน
เราเลยไม่รู้เห้นตามจริง เลยไม่เห้นสัจจะธรรม
เห็นแต่สิ่งที่เราอยากเห็น แล้วก็ยึดถือว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป้นจริง
จึงมีพระสูตรว่าไว้ว่า (จับใจความได้ว่า)
สมถะเป็นเบื้องต้น มีวิปัสนาเป้นเบื้องปลาย
ถ้าพยามทำความสงบอยู่ มันก็จบแค่นั้น สุดทางแค่นั้น ไม่สามารถมองเห้น"สัจจะความจริง" ได้
แต่ความจริงข้อนี้ ไม่ใช่ว่าใครก็เห็นได้
ต้องมีกำลังสมาธิที่มากกว่าสมาธิการทำงาน พิมพ์
สมาธิระดับที่จะเอาไปทำงานที่เรียกว่าวิปัสนา ต้องเป้นขั้นอัปนาสมาธิ
ซึ่งพัฒนาเป้นฌานขึ้นมา จึงเกิดกระบวนการวิปัสนา
วิปัสนาก็มีหลายระดับเหมือนสมาธิที่มีหลายระดับ
อย่างผมยกมือขึ้นก้รู้ นี่ก้วิปัสนา
เห็นคนทะเลาะกันเกิดความสลดก้ทราบว่าเกิดความสลด นี่ก็วิปัสนา
ยุงกัดก้ทราบว่าเกิดเวทนาคือความรู้สึกถูกกัด เจ็บ คัน
ทราบว่าจิตใจไม่ชอบเวทนาอันนี้
เห้นความคันเกิดดับ เห้นความไม่ชอบความคันเกิดดับ
ก้ล้วนเป้นวิปัสนา
เพราะเรารู้ไปตามจริงว่าจิตกำลังทำอะไร
มีกายที่ถูกยุงกัดก้รู้ รู้รูป รู้กาย รู้ยุง รู้แขน (กายานุปัสนา)
รู้สึกคันเป้นเวทนาก้รู้ (เวทนานุปัสนา)
จิตไม่ชอบความคัน และเป้นทุกข์ (จิตตานุปัสนา)
เวทนาเกิดแล้วดับ, จิตที่ไม่ชอบความคันเกิดแล้วดับ ,เพราะเวทนาอันเป้นปัจจัยสิ้นไป จิตที่ไม่ชอบความคันจึงสิ้นไป ก้รู้ (ธรรมานุปัสนา)
แต่ในขณะเดียวกันที่ผมโดนยุงกัด
กับคนที่นั่งสมาธิจนลมหายใจหายไป หูไม่ได้ยิน กายไม่รู้สึก เพราะกำลังเกิดนิมิตต่างๆนาๆ
รู้ตัวอีกทีนั่งไปเป้นสิบขั่วโมง
กายานุปัสนาก็ไม่ได้ เพราะกายหาย ไมทราบว่ากายอยู่ไหน หายไปไหนสิบชั่วโมง
เวทนาที่เกิดในสิบชั่วโมงไปไหนก็ไม่ทราบเลย
จิตหลงเผลอไปตามนิมิต ก็เหมือนดุละครที่เราชอบๆเรื่องนึง
จิตมีความสุขไม่ทราบ จิตเป้นทุกข์ไม่ทราบ จิตกำลังเศ้ราหมองไม่ทราบ
จิตสนุกตื่นเต้นกับนิมิตที่พบก็ไม่ทราบ ไม่ทราบเลยว่าจิตในสิบชั่วโมงที่ผ่านมามันทำอะไรไปบ้าง จิตตานุปัสนาไม่มี
เมื่อไม่เห้นจิต ก้ย่ิอมไม่เห้นสัจจะธรรมความเป้นจริงที่จิตแสดง
ย่อมไม่เห็นธรรม ไม่เป้นธรรมนุปัสนา
นั่งให้สงบสัก 30 ปี ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา
ไม่ได้วิปัสนาเลยแม้แต่วินาทีเดียว
ก็เลยไม่ถึงฝั่ง
การรู้ไปตามความเป้นจริงที่เกิดขึ้นกับจิตใจ ไม่ว่าจะระดับไหนก็เรียกว่าวิปัสนาได้ทั้งนั้น
แต่คนที่จับหลักได้
ไม่ต้องนั่งสมาธิเลยก็ยังสำเร้จโสดาบันได้
มีมากมาย ทั้งปรากฏในพระคัมภีร์ และปัจจุบัน
ขอให้จับหลักให้ถูก จะไม่เสียเวลา
แต่ถ้าจับหลักผิด ได้แต่ความสงบ
-----------------------------------------------------
ความรู้เหล่านี้ แค่เล่าตามที่ทราบเฉยๆนะครับ
ไม่ควรจะเก้งว่าถูกผิด แล้วตัดสินว่าจะเชื่อ จะไม่เชื่อ
เล่าแบ่งกันฟังเฉยๆนะคับ
เพราะผมก็ไม่ทราบว่าถูก ว่าผิด
ทราบไปอย่างไร พูดไปอย่างนั้นครับ
ผมนับถือคุณ kamin กับ คุณ ddman มากครับ
(ที่ตอบกระทู้บ่อยและมีคำตอบให้ผมตาสว่าง)
ขอบคุณ ที่ทำให้ผมเข้าใจ หลักวิปัสสนา
สาธุ
kamin DT07919 [26 พ.ย. 2551 01:41 น.] คำตอบที่ 28
______________________________________________
โมทนาสาธุค่ะ แบบนี้สิค่ะ เมตตาธรรมจริงๆ
รับรู้สัมผัสได้เลยแห่งความเมตตา
ถ้อยทีถ้อยอาศัย
ไม่อวดอีโก้..ว่ามีภูมิธรรมมากมาย
แล้วมาข่มผู้ที่เริ่มต้นแบเบาะ
อ่ะนะ
อัตตาเต็มๆ
ยึดตัวถือตน
เอะอะก็จะลบ
ใช้อำนาจ...เฮ้อ
...................................
กระแสแห่งความเมตตาสามารถรับรู้ได้จากใจ
ข้อความอ่านแล้วจะรับรู้ได้ว่าถ้อยทีถ้อยอาศัย
เพราะยังไม่มีใครที่บรรลุรู้แจ้ง
ถือว่าเป็นการสนธนาธรรมกัน
ไม่มีใครผิดใครถูก
.....................................
หรือว่าเราผิดหว่า...ที่ไม่รู้จักสังรวมกายใจ
ขออภัยมาณ.ที่นี้ หากไปโดนอัตตาใคร
พระโยคาวจร DT08378 [25 พ.ย. 2551 22:33 น.] คำตอบที่ 24
อัตตา คืออุปาทานในขันธ์ 5 ว่าตัวว่าตน ว่าเราว่าของเรา
อัตตาไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ
อัตตาเกิดขึ้นและตั้งอยู่เพราะมีมูลเหตุ
มูลเหตุของอัตตาเป็นไฉน ?
ราคะหรือโลภะเป็นมูลของ อปุญญาภิสังขาร ฯลฯ อุปาทานคืออัตตาจึงเกิดขึ้น
โทสะเป็นมูลของ อปุญญาภิสังขาร ฯลฯ อุปาทานคืออัตตาจึงเกิดขึ้น
โมหะเป็นมูลของ อปุญญาภิสังขาร ฯลฯ อุปาทานคืออัตตาจึงเกิดขึ้น
ขณะตอบน้ำเค็มเจริญเมตตาฌาน จิตเป็นกุศล
ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ยึดเหตุผลอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ และเหตุคือมรรคมีองค์ 8 ในการวินิจฉัยอรรถธรรมเพื่อตอบกระทู้
อัตตาของน้ำเค็มขณะนั้นจึงไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีอกุศลมูลปรุงแต่ง
แต่ตัวท่านพระโยคาวจร DT08378 ต่างหากที่อกุศลมูลเป็นปัจจัยให้เกิดอัตตา
ที่อธิบายมานี้เพราะเมตตา ต้องการให้ทราบความจริงของสัจจธรรม
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
นึกได้อีกอย่าง
ถ้าผมเป็นคุณนะ
ผมจะไม่แจ้งลบตำตอบหรอก(ข้อความแรกสุดของผมที่หายไป)
แต่ผมจะตอบกระทู้
พร้อมทั้งบอกเหตุผล
ว่าผิดไปตรงไหนบ้าง ตรงไหนถูกบ้าง
ผมถือว่าผมให้เกียรติคนตอบกระทู้ทุกคนครับ
ทุกคนล้วนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน
อาจไม่ตรงกัน ตรงนี้แหละที่เราต้องมาแชร์กัน
ว่าทำไมถึงมองกันคนละมุมครับ
จบข่าว ผมเหนื่อยล่ะ คงไม่แสดงความเห็นอะไรไปอีกนานครับ
julonk DT08008 [25 พ.ย. 2551 23:26 น.] คำตอบที่ 25
น้ำเค็มก็ให้เกียรติและหวังดีต่อเจ้าของกระทู้เช่นกัน
ต้องการให้เจ้าของกระทู้นำความรู้ที่ถูกต้องไปศึกษาปฏิบัติ
ศาสนานี้เป็นศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
เว็ปนี้ยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
ไม่ได้ยึดความคิดเห็นของใคร ๆ อื่นมาเป็นสรณะแทนพระรัตนตรัย
ล้านคนก็ล้านความคิดเห็นที่แตกต่าง
เป็นอย่างนี้แล้วคนถามย่อมยากลำบากในการพิจารณาคำตอบ ว่าคำตอบไหนถูกต้อง
แต่พระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้วถูกต้องแล้ว ล้านคนมาตอบจึงต้องตอบในคำตอบที่ตรงกันทั้งล้านคำตอบ นั่นคือปฏิบัติตามพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
จะแชร์กันต้องแชร์คำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น
มุมที่มองก็มีมุมเดียวคือมุมที่ถูกต้อง และมองในมุมที่เหตุตรงกับผลเท่านั้น
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
.
หากไม่เข้าใจ สักกายทิฏฐิ ก็ยากจะเข้าใจ เรื่องสัมมาสมาธิ
กระทู้นี้ ดีจริงๆ
เช่นนั้น DT03623 [25 พ.ย. 2551 23:47 น.] คำตอบที่ 26
สาธุเจ้าค่ะ
สวัสดีเจ้าค่ะพี่เช่นนั้น
สบายดีนะเจ้าคะ ?
นานมากแล้วที่ไม่ได้สนทนากัน
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
ไม่ได้มาชวนทะเลาะกันนะครับ
วิธีตอบของคุณน้ำเค็มอ่านแล้ว
มีความรู้สึกเหมือนคุณพระโยคาวจร เลยจริงๆ
นาคราช DT07533 [26 พ.ย. 2551 08:26 น.] คำตอบที่ 34
ถามมาก็ตอบไปเจ้าค่ะ
ความเข้าใจเป็นเรื่องของท่านเจ้าค่ะ
เหตุผลของสัจจะธรรมอาจไม่เป็นที่ชื่นชอบก็ได้เจ้าค่ะ.
ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓ ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข ที่เนื่องด้วยกาย
๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
กายเป็นคูหา เป็นถ้ำเป็นที่อาศัยของจิต จิตอยู่ในกาย กายกับจิตเกิดมาพร้อมกัน ปุถุชนคนธรรมดาแม้บรรลุตติยฌานแล้ว จิตยังไม่อาจแยกออกจากกายได้เด็ดขาดเจ้าค่ะ.
จิตแยกออกจากายได้เฉพาะจิตของผู้มีฤทธิ์เท่านั้น
ปฐมฌานทำให้นิวรณ์ 5 สงบระงับไป ใช้เพื่อละกามสัญญา เจริญสัญญาในสมาธิ
ทุติยฌานทำให้วจีสังขารสงบระงับ เพราะละวิตก วิจารเสียได้ เจริญสัญญาในสมาธิอันละเอียดยิ่งขึ้น
ตติยฌานมีสติเป็นสุขอยู่ด้วยนามกาย คือจิตเป็นนายมีอำนาจเหนือร่างกายด้วยสุขสัญญา ยังไม่สามารถระงับกายสังขารได้ จิตยังแยกออกจากกายไม่ได้หรอกเจ้าค่ะ
การที่ผู้แต่งตำราเล่มนี้กล่าวว่า ฌาน 3 จิตแยกออกจากร่างกายได้เด็ดขาดจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะลมหายใจยังปรากฏอยู่บางเบา ลมหายใจเข้าออกเป็นกายสังขารเจ้าค่ะ ผู้แต่งตำรานี้เข้าใจผิดเจ้าค่ะ.
จตุตถฌานละสุขละทุกข์เสียได้ กายสังขารสงบระงับไปลมหายใจหยุด
แต่ก็เพียงกายสังขารสงบระงับไปเท่านั้นเจ้าค่ะ สงบระงับกับแยกออกจากกันมันคนละสภาวะธรรมกันเจ้าค่ะ
การทำกายและจิตให้แยกออกจากกันต้องด้วยมโนมยิทธิญาณศึกษาและปฏิบัติได้ตามในวิชชา 8 เจ้าค่ะ.
อาการของฌานที่ ๓ นี้ เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้ เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่ มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว
..........................
ผมได้คำตอบแล้ว สิ่งที่ผมได้บอกให้เจ้าของกระทู้ปฏิบัติ คือข้อความบนนี้แหละครับ
julonk DT08008 [26 พ.ย. 2551 01:38 น.] คำตอบที่ 27
ถ้าจะอ่าน อ่านพระไตรปิฎกดีกว่าเจ้าค่ะ
นำพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาปฏิบัติโดยตรงดีกว่าเจ้าค่ะ
นี่ก็เพราะน้ำเค็มมีเมตตาเจ้าค่ะ จึงมาตอบแนะนำเจ้าค่ะ.
ความหวังดี ที่ไม่ได้ดี
เรื่องความหวังดีนี้ บางทีถ้าขาดความพอดีในการใช้ ก็เสียหายมากกว่าได้ประโยชน์
เปรียบเทียบง่ายๆเหมือเราได้ค้นพบอาหารที่อร่อยมาก มีประโยชน์มาก มีคุณค่ามาก
เราก้นึกถึงคนนที่เรารัก ว่าเราอยากให้เขาได้กิน ซึ่งเป้นเรื่องดี
ดูเผินๆ ดูจะเป็นเรื่องดี
เราก็เลยพยามจะนำเสนออาหารดีๆ เหล่านั้นให้กับคนที่เรารัก
พยามจะให้เขากินให้ได้ เพราะตัวเราคิดว่าอาหารนี้มันดี อร่อย
เราคิดไปเองว่า เขาต้องการอาหารนี้
เราเลยพยามจะบังคับให้เขากิน
โดยไม่ได้สังเกตุความเป้นจริงตามธรรมชาติว่า
มันเป้นเรื่อง ลางเนื้อชอบลางยา นานาจิตตัง
เราว่าอร่อย เขาว่าไม่อร่อย
เราชอบเปรี้ยว เขาอาจจะไม่ชอบเปรี้ยวอย่างเรา
เราไม่อยากให้ใครมาบังคับจิตใจเราฉันใด ใจเขาก็อย่างเดียวกัน
ใจเราอย่างไร ใจเขาอย่างนั้น
ธรรมชาติของใจเราอย่างไร ธรรมชาติของใจเขาก็อย่างนั้น
การได้รู้ได้เห็นธรรมะนี้ แล้วเห็นประโยชน์ เห็นว่าเป้นของดี
จำเป้นต้องเผยแพร่ แผ่กระจายนั้น เป็นเรื่องดี
แต่ไม่ใช่การยัดเยียด
มันเหมือนเราเห้นว่าอาหารจานนี้ดี เราเห็นประโยชน์ เห้นคุณค่าของอาหาร
เราเลยพยามจะเผื่อแผ่ให้คนอื่นกิน
แต่ควมหวังดีของเรามันมากไปหน่อย เจอหน้าใครก็เอาอาหารกรอกปากเขาลงไปเลยทีเดียว
เพราะเราเชื่อไปของเราเองว่าสิ่งนี้ดี มีประโยชน์
และเราคิดไปว่า
เขาต้องการสิ่งนี้
แม้ว่าสิ่งที่พูดจะมีประโยชน์จริงๆ เป้นสัจจะธรรมจริงๆก้ตามที
หากแต่มันเดือดร้อนคนอื่น มันบังคับคนอื่น มันเป้นไปเพื่อแก้ไขคนอื่น
เขาไม่เอา เขาไม่รับ เราก็ไม่ควรพูด
เขาไม่อยากฟัง เราก็ไม่ควรพูด ไม่ควรไปสร้างความคิดขึ้นมาว่าเรามีหน้าที่ต้องพูด
อย่างผมเอง ก็เคยคิดว่าได้พบของดี ของวิเศษณ์ พยามจะเผื่อแผ่คนใกล้ตัว
แต่ก็พบความจริงอันหนึ่งว่า
ความสามารถในการรับได้ เข้าใจได้ ของคนนี้มันไม่เท่ากัน
จริตนิสสัยคนมันต่างกัน อัธยาศัยคนมันต่างกัน
ชอบต้มผัดแกงทอดไม่เหมือนกัน เปรี้ยวหวานมันเค็มไม่เหมือนกัน
บางคนชอบนั่งสมาธิ บางคนชอบเดินจรงกรม
บางคนชอบแก้ปัญหาด้วยการคิด
บางคนชอบแก้ความทุกข์ด้วยการหาความสุขมาทดแทน
วิธีการของธรรมะ มันไม่มีสำเร็จรูปมาตรฐานเหมือนนมกล่อง
ว่าดื่มทั้งกล่องนี้ได้โปรตีนเท่าไหร่ แคลเซียมเท่าไหร่
ธรรมะบทหนึ่งๆ พูดไปให้คนสิบคนฟัง สิบคนจะเข้าใจเหมือนกันนั้น เป็นไปได้ยาก
ต่อให้ทุกคนยินยอมพร้อมใจจะดื่มนมกล่อง แต่การดูดซึมก็ไม่เท่ากัน
บางคนที่กินเนื้อกินปลาตัวเล็กอยู่แล้ว แคลเซียมจากนมก็กลายเป้นตะกอนในปัสสาวะ ไม่ได้อะไรจากนม
แต่ปัญหาของเรื่อง อยู่ที่เราไม่รู้จักหน้าที่
เราเอาธรรมะไปแก้ไขคนอื่น ไม่ได้แก้ไขตัวเรา
เราสนใจแต่คนอื่นๆ
เบื้องหลังของการกระทำนี้คือตันหา
เราอยาก อยากได้ความดี อยากให้คนอื่นเป้นคนดี (อย่างที่เราคิดไปเองว่าควรจะเป้น)
ธรรมะเรื่องแรกที่พระพุทธเจ้าสอนให้ชาวโลก คือธรรมจักรกัปปวัตสูตร คือ คือส่วนสุดโต่งสองประการ และทางสายกลาง
ท่านสอนความพอดีเป้นเรื่องแรก
และธรรมะทั้ง 84000 เรื่องตลอด 45 ปีของพระองค์ ท่านสอนให้เราปฏิบัติธรรมด้วยความพอดี
มีความพอดีเป็นหลักสำคัญ
เมตตาก็เมตตาแต่พอดี ไม่เดือดร้อนตัวเอง
เช่นเห็นคนตกน้ำแต่เราว่ายน้ำไม่เป้น แต่ด้วยความไม่ประมานพอดี ก็เลยกลายเป็นสองศพ เป็นเมตตากรุณาที่ไม่พอดี ไม่รู้จักตน ไม่รู้จักหน้าที่และผลลัพธ์ ไม่มีสัปปุริสธรรม
การศึกษาธรรมะนั้น ต้องเป้นไปเพื่อบำบัดแก้ไขตัวเอง มีหน้าที่กับตัวเอง
วุ่นวายอยู่ในภายในจิตใจของตนเองเท่านั้น
หากใครพยามใช้ธรรมะเพื่อแก้ไขคนอื่น ก็ถือว่าหลงทาง ใช้ผิด ไม่รู้จักใช้
เราเห้นคนประเภทที่ชอบเอาธรรมะไปพยามแก้ไขคนอื่นๆแล้วก็ไม่ควรจะสมน้ำหน้า อาฆาตเขา
เพราะเขาอยู่ในข่ายน่าสงสารมากกว่า เพราะเข้าใจอะไรผิดๆ มีทิฐิผิดๆ
ลำพังความหลงผิดออกไปจากความจริงนี้มันก็มีโทษมากมายอยู่แล้ว
เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราต้องใช้อุเบกขา ในการกำกับดูและความเมตตา-กรุณา-มุทิตา ของเรา ให้มันมีความพอดี
เราต้องรู้จักทางสายกลางในการกำกับดูแลการใช้ธรรมะของเรา
ไม่อย่างนั้น เราเองเดือดร้อน ร้อนใจ เป้นทุกข์ คนอื่นก็เดือดร้อน
ต่างคนต่างทำตัวเป้นไฟเผากันให้มันมอดไหม้
เราบอกให้เขาหยุด แต่เราไม่หยุดเผาเขา เขาก้ร้อน เขาก็ไม่หยุด
เราไม่อยากให้ใครบังคับใจเราอย่างไร ใจคนอื่นก็แบบเดียวกัน
เราต้องหันมาแก้ไขฝ่ายที่แก้ได้ คือแก้ไขตัวเอง
ไม่ทำตัวเองให้มันเป้นปัญหาเป้นเชื้อเพลิงต่อไป
ผลที่ได้ทันทีคือตัวเราสงบจากไฟที่เผา
ใครเผาเรา เขาก็เผาเราได้ไม่นาน
แม้ว่าขาอยากจะเผาเรา โทสะมันก็มีไตรลักษณ์เหมือนกัน มันเสื่อมถอยด้อยสลายลงไปได้ แม้ว่าเขาจะจะเลี้ยงโทสะเอาไว้นานเท่าใด
แต่สุดท้ายมันก้มีเวลาดับของมัน
เราดับของเรา ของเขาเดี่ยวมันสิ้นเชื้อสิ้นปัจจัย มันก็ดับ
มันไม่จบเพราะเราอยากให้เขาดับก่อน อยากจะแก้ไขคนอื่น
เพราะเราไม่หมั่นสังเกตุธรรมชาติของใจเราว่าเป้นอย่างไร
ถ้าเราเข้าใจจิตใจเราแล้ว รู้ว่าแท้จริงเราโง่อย่างไร วนเวียนอยู่กับอะไร
เราก้จะเข้าใจคนอื่น ว่าใจเราอย่างไร ใจเขาก้คล้ายๆกัน ใจเขาใจเรา
มีอริยะสัจจแบบเดียวกัน
จะบังเกิดแต่ความสงสารเมตตาว่าต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
ส่วนการสนทนาธรรม มันเมหือนเทศกาลอาหาร
เราแลกเปลี่ยนเทคนิค วิธีการ ความรู้
ฉันชิมของเธอ เธอชิมของฉัน
ฉันชอบอย่างนั้นมากว่า ฉันชอบอย่างนี้มากกว่า
แต่ลงท้ายทุกคนมุ่งแต่จะทำอาหารที่เป้นประโยชน์มาแบ่งกันกิน แบ่งกันเรียนรู้
มุ่งหมายดีต่อกัน
ในที่สุดแล้ว ไม่ว่าเราจะกินอาหารแบบไหน ต้องได้ประโยชน์แบบเดียวกัน
ได้สารอาหารแบบเดียวกัน ได้แป้ง ได้โปรตีน ได้วิตามิน ได้้น้ำ ได้ไขมัน แบบเดียวกัน
ได้ปรมัตถะแบบเดียวกัน ในปริมาณพอดี ไม่มีโทษ
ถ้ากินแล้วมีโทษ คิดพูดทำแล้วมีคนเดือดร้อน หรือตัวเองเดือดร้อน
ก็พึงทราบได้ว่า มันเกิดความไม่พอดีผิดหน้าที่ขึ้นแล้ว
อาจจะไม่ใช้ว่าเราพูดผิด หรือพูดถูก
แต่อาจจะเป้นเพราะ ผิดที่ ผิดเวลา ผิดคน
สาธุ
ครับคุณ kamin ท่านกล่าวไว้ดีแล้ว
........................................................
ส่วนตัว ผมเลิกสนใจละครับ
เพราะขอวางอุเบกขา
อุเบกขา เอามาใช้กับกรณีแบบนี้สินะครับ
5 5 5 ผมไม่ซีเรียสครับ
พี่น้องทุกท่าน ขอยุติการสนธนาธรรม ไว้เพียงเท่านี้น้อ...
จะได้จบ ๆ สักที ไปนั่งสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ ลงมือปฏิบัติกันดีกว่า
ผิดถูกไม่สำคัญ ขอปฏิบัติ ความดีนั้นจะชี้ทางเราเองครับ
แรกความรู้แบบนี้สนุกดี มีหลายมุมมอง
.....................................................
พี่น้องทุกท่าน ขอยุติการสนธนาธรรม ไว้เพียงเท่านี้น้อ...
จะได้จบ ๆ สักที ไปนั่งสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ ลงมือปฏิบัติกันดีกว่า
.....................................................
สาธุครับ คุณjulonk
kamin DT07919 [26 พ.ย. 2551 14:38 น.] คำตอบที่ 37
..........................................................................
โมทนาสาธุค่ะ คุณรู้จักให้อุบายธรรมได้ตรงใจผู้อ่าน
..........................................................................
ผู้แต่งตำรานี้เข้าใจผิดเจ้าค่ะ.
น้ำเค็ม DT02176 [26 พ.ย. 2551 11:04 น.] คำตอบที่ 36
...............................................................................
คาดว่าคุณเจอกรรมปรามาสพระรัตนตรัยแล้วละ
คนป่วยไม่สบาย ปวดหัวตัวร้อน
ไปถามเพื่อน เพื่อนบอกว่าทาน ยาแก้ปวดท้องสิ เดี๋ยวก็หายปวดหัว
คนป่วย ไปพบหมอ หมอบอกว่า ต้องทานยาลดไข้แก้ปวดเดี๋ยวหมอจัดยาให้น๊ะ
คนป่วยได้รับยา กลับบ้าน เจอเพื่อนผู้หวังดี
เพื่อนผู้หวังดี ก็บอกว่า อย่าไปเชื่อหมอ เค้าไม่มีความรู้มากไปกว่าฉันหรอกฉันเคยกินยาแก้ปวดท้อง มันก็ยาเหมือนกันนั่นแหละ
อืมม์ ลางเนื้อชอบลางยา น๊ะ แล้วแบบนี้จะหายป่วยไม้ล่ะ
^U^**
ตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธองค์
ก็เคยเรียนรู้แต่ว่า ท่านตรัสสอนเสมอๆ ถึง อริยะสัจจ์ 4 มรรค ผล นิพพาน
โดยไม่ข้องแวะต่อทิฏฐิอันสุดโต่ง โดยให้ปฏิบัติเรียนรู้ในอริยมรรค อริยผลเพื่อปัญญาอันยิ่ง
อันยิ่ง นี่ ไม่ใช่ปัญญา พอดีๆ กล่าวคือเพื่อปัญญาอันทำลายกิเลสตัณหาโดยสิ้นเชิง
แม้แต่อรรถกถา หากขัดแย้งกับพระไตรปิฏก
อรรถกถาก็ยังตกไป
ถ้าการ บอกว่า ผู้แต่งตำราภายหลัง มีข้อความอันผิดสภาวะ และรับรองว่าถูกต้อง
ผู้ที่รู้ แต่รับรองอย่างนั้น เขาผู้นั้น ก็คงรับกรรมหนักที่กล่าวตู่พระพุทธองค์อย่างแน่นอน
.....สมาธิมีหลายระดับ
แต่ละระดับมันก้มีกำลังสมาธิที่"ใช้งาน"แตกต่างกัน
อย่างผมกำลังพิมพ์ถ่ายทอดความคิดอยู่ ผมก็ทำสมาธิเหมือนกัน
กล่าวคือมีสมาธิกับการเรียบเรียงความคิดคำพูด
ทีวีที่เปิดอยู่จะพูดอะไรอยู่ ผมก้ฟังไม่ได้ศัพท์ ใครทำอะไรผมก็ไม่ได้รับรู้ด้วย
เพราะสมาธิของผมมันถูกทำให้เหมาะกับงานชนิดนี้อยู่
สมาธิคือการทำให้จิตใจอยู่ในสภาวะที่เหมาะที่จะทำงานชนิดหนึ่งๆ .......
คนที่ปัญญาน้อย หลาย ๆ คน
อ่านคำบรรยายของท่านอาจรู้สึกดูดี
น่าซาบซึ้งใจ นั่นก็ด้วยปัญญาของโลกียะชน
เพราะจิตที่ท่านกล่าวบรรยายมาเป็นวิสัยแห่งกามภพ คือกามสมาธิของมนุษย์ปุถุชน
เป็นคุณภาพจิตระดับกามาวจรอกุศลจิต หรือกามาวจรกุศลจิต
ซึ่งเป็นจิตที่เล็ก เป็นจิตที่มีจิตอื่นยิ่งกว่า เป็นจิตที่ไม่หลุดพ้น
สมาธิเป็นสมาธิตามกำลังแห่งกามาวจรเท่านั้น ไม่สามรถจำเพิ่ม รู้เพิ่มได้มากขึ้นเพราะจิตเล็ก
การรับรู้ด้วยสัญญาและวิญญาณกระทำได้ทีละน้อย ๆ อย่าง ไม่อาจรับรู้ได้ทั้งหมด
จำก็จำทีละเรื่องสองเรื่อง รู้ก็รู้ทางตา หู ทีละทางสองทาง เมื่อจำทางใดรู้ทางใด จำเป็นต้องลืมสิ่งอื่นก่อน ต้องไม่จำสิ่งอื่นที่ผ่านมาเสียก่อนจึงจะจำสิ่งใหม่ได้ การรับรู้ก็ต้องรับรู้เพียงเรื่องที่เกิดขึ้นทีละเรื่อง ๆ จึงจะรู้เรื่องใหม่สิ่งใหม่ได้ในปัจจุบันขณะเท่านั้น
สมาธิที่ท่านฝึกมาจึงเป็นสมาธิที่อิงกามสัญญา อิงอาศัยขันธ์ 5 ที่เป็นกามาวจรแห่งโลกียะบุคคลเป็นที่ตั้งเป็นที่เกิดของสมาธิ
ต่างกับสัมมาสมาธิที่น้ำเค็มฝึกฝน
เพราะน้ำเค็มไม่ยินดียินร้ายต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธัมมารมณ์ ละนามรูปคือขันธ์ 5 เข้าสู่ปฐมฌาน - จตุตถฌาน
เมื่อจิตเป็นสมาธิย่อมมองเห็นสว่างรอบตัวเอง เห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ตามสมควรแก่ฐานะ
เสียงต่าง ๆ ได้ยินชัดเจนแจ่มใสกว่าปกติธรรมดาทุกสัพพเสียง
สติบริสุทธิ์ระลึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นอดีตอนาคตได้
อรรถธรรมที่เป็นมัคคผลย่อมระลึกได้ไม่ติดขัด ไม่มีขีดจำกัด
เพราะฌานสมาบัติในสัมมาสมาธิเป็นจิตที่ใหญ่ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า เป็นจิตที่หลุดพ้น เป็นจิตที่ตั้งมั่น มีอำนาจ ควรแก่การงาน
สมาธิจึงมีคุณภาพต่างกันอย่างนี้.
.....ฯลฯ....
จึงมีพระสูตรว่าไว้ว่า (จับใจความได้ว่า) สมถะเป็นเบื้องต้น มีวิปัสนาเป้นเบื้องปลาย
ถ้าพยามทำความสงบอยู่ มันก็จบแค่นั้น สุดทางแค่นั้น ไม่สามารถมองเห้น"สัจจะความจริง" ได้
แต่ความจริงข้อนี้ ไม่ใช่ว่าใครก็เห็นได้
ต้องมีกำลังสมาธิที่มากกว่าสมาธิการทำงาน พิมพ์
สมาธิระดับที่จะเอาไปทำงานที่เรียกว่าวิปัสนา ต้องเป้นขั้นอัปนาสมาธิ
ซึ่งพัฒนาเป้นฌานขึ้นมา จึงเกิดกระบวนการวิปัสนา
วิปัสนาก็มีหลายระดับเหมือนสมาธิที่มีหลายระดับ
อย่างผมยกมือขึ้นก้รู้ นี่ก้วิปัสนา
เห็นคนทะเลาะกันเกิดความสลดก้ทราบว่าเกิดความสลด นี่ก็วิปัสนา
ยุงกัดก้ทราบว่าเกิดเวทนาคือความรู้สึกถูกกัด เจ็บ คัน
ทราบว่าจิตใจไม่ชอบเวทนาอันนี้
เห้นความคันเกิดดับ เห้นความไม่ชอบความคันเกิดดับ
ก้ล้วนเป้นวิปัสนา
เพราะเรารู้ไปตามจริงว่าจิตกำลังทำอะไร
มีกายที่ถูกยุงกัดก้รู้ รู้รูป รู้กาย รู้ยุง รู้แขน (กายานุปัสนา)
อย่างนี้เรียกกามสัญญาเจ้าค่ะไม่ใช่กายยานุปัสสนา เพราะยังพัวพันอยู่กับรูปขันธ์ ทำให้สักกายทิฏฐิมีได้.
รู้สึกคันเป้นเวทนาก้รู้ (เวทนานุปัสนา)
อย่างนี้ก็ไม่เรียกเวทนานุปัสสนา เพราะทำให้สักกายทิฏฐิมีได้ เพราะถ้ารับรู้ได้อยู่ ก็แสดงว่า อภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายมีอยู่ในจิตท่าน .
จิตไม่ชอบความคัน และเป้นทุกข์ (จิตตานุปัสนา)
อย่างนี้ก็ไม่เรียกจิตตานุปัสสนา เพราะทำให้สักกายทิฏฐิมีได้ เพราะถ้ารับรู้ได้อยู่ ก็แสดงว่า อภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายมีอยู่ในจิตท่าน.
เวทนาเกิดแล้วดับ, จิตที่ไม่ชอบความคันเกิดแล้วดับ ,เพราะเวทนาอันเป้นปัจจัยสิ้นไป จิตที่ไม่ชอบความคันจึงสิ้นไป ก้รู้ (ธรรมานุปัสนา)
อย่างนี้ก็ไม่เรียกธัมมานุปัสสนา เพราะทำให้สักกายทิฏฐิมีได้ จิตท่านยังมีอภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายอยู่ ต้องละอภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายออกจากใจ เพราะถ้ารับรู้ได้อยู่ ก็แสดงว่า อภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายมีอยู่ในจิตท่าน.
เวทนาดับ ดับแล้วเกิดใหม่ได้เพราะอกุศลมูลยังมีเป็นปัจจัยอยู่
ยังมีชีวิตอยู่ตราบใด รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ยังมีอยู่ตราบนั้น ขันธ์ 5 เกิดแล้วดับ ไม่ได้หมายความว่าดับแล้วดับเลย แต่เกิดแล้วดับ ดับแล้วเกิดอีก ขันธ์ 5 จึงดำรงค์อยู่โดยอาการที่เกิดแล้วดับดับแล้วเกิดซ้ำ ๆ ตลอดอายุขัย.
สมถะเป็นเบื้องต้น มีวิปัสนาเป็นเบื้องปลาย เจริญอย่างไร ???
น้ำเค็มเจริญอย่างนี้
1.พิจารณากายนี้โดยความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ตามรู้ไม่ตามดูกาย ละอภิชชาคือความยินดี ละโทมนัสคือความยินร้ายในโลก เจริญอนัตตาสัญญาเข้าสู่ปฐมฌาน - จตุตถฌาน ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา และละสัญญาในความเป็นตัวตนคือนานัตสัญญา เจริญอรหัตตมัคคซ้ำ ๆ บ่อย ๆ อย่างนี้เรียกว่ากายานุปัสสนา เป็นการเจริญฌานเป็นโลกุตตระ ไม่ข้องในโลก ไม่ข้องในกามาวจร
2.พิจารณาเวทนานี้โดยความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ตามรู้ไม่ตามดูเวทนา ละอภิชชาคือความยินดี ละโทมนัสคือความยินร้ายในโลก เจริญอนัตตาสัญญาเข้าสู่ปฐมฌาน - จตุตถฌาน ละรูปสัญญา ปฏิฆะสัญญา และละสัญญาในความเป็นตัวตนคือนานัตตสัญญา เจริญอรหัตตมัคคซ้ำ ๆ บ่อย ๆ อย่างนี้เรียกว่าเวทนานุปัสสนา เป็นการเจริญฌานเป็นโลกุตตระ ไม่ข้องในโลก ไม่ข้องในกามาวจร
3.พิจารณาจิตทั้งปวงนี้โดยความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ตามรู้ไม่ตามดูจิตใด ๆ ละอภิชชาคือความยินดี ละโทมนัสคือความยินร้ายในโลก เจริญอนัตตาสัญญาเข้าสู่ปฐมฌาน - จตุตถฌาน ละรูปสัญญา ปฏิฆะสัญญา และละสัญญาในความเป็นตัวตนคือนานัตสัญญา เจริญอรหัตตมัคคซ้ำ ๆ บ่อย ๆ อย่างนี้เรียกว่าจิตตานุปัสสนา เป็นการเจริญฌานเป็นโลกุตตระ ไม่ข้องในโลก ไม่ข้องในกามาวจร
4.พิจารณาธรรมทั้งปวงนี้โดยความเป็นอนัตตา ไม่ตามรู้ไม่ตามดูธรรมที่เป็นโลกียะ ละอภิชชาคือความยินดี ละโทมนัสคือความยินร้ายในโลก แต่เลือกเอาธรรมที่เป็นโลกุตตระคือมรรคมีองค์ 8 เป็นที่ตั้งเป็นที่เจริญ แล้วเจริญอนัตตาสัญญาเข้าสู่ปฐมฌาน - จตุตถฌาน ละรูปสัญญา ปฏิฆะสัญญา และละสัญญาในความเป็นตัวตนคือนานัตตสัญญา เจริญอรหัตตมัคคซ้ำ ๆ บ่อย ๆ อย่างนี้เรียกว่าธัมมานุปัสสนา เป็นการเจริญฌานเป็นโลกุตตระ ไม่ข้องในโลก ไม่ข้องในกามาวจร.
การเจริญสติปัฏฐาน 4 ในกาย เวทนา จิต และธรรมของน้ำเค็ม จึงเจริญโดยความเป็นอรหัตตมัคค ไม่ใช่โลกียะเจ้าค่ะ
ความรู้เหล่านี้ แค่เล่าตามที่ทราบเฉยๆนะครับ
ไม่ควรจะเก้งว่าถูกผิด แล้วตัดสินว่าจะเชื่อ จะไม่เชื่อ
เล่าแบ่งกันฟังเฉยๆนะคับ
เพราะผมก็ไม่ทราบว่าถูก ว่าผิด
ทราบไปอย่างไร พูดไปอย่างนั้นครับ
kamin DT07919 [26 พ.ย. 2551 01:41 น.] คำตอบที่ 28
ขนาดตัวท่านเองยังไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองบรรยายมาเสียยืดยาวนี้ ผิดหรือถูก
สิ่งที่ทราบมาเป็นโลกียะหรือโลกุตตระก็ยังไม่ทราบ ไม่แน่ใจ
สิ่งที่บรรยายมาควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อดี
อย่างนี้จะไม่กลายเป็นภาระหนักแก่เจ้าของกระทู้หรือเจ้าค่ะ ???
แต่ก็ได้ผลเหมือนกันมีคนมาอนุโมทนาสาธุยินดีในการบรรยายความของท่าน
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
.........
คุณน้ำเค็มครับ
เราคงเคยเห็นพระพุทธรูปกันหลากหลายรูปแบบ
บางองค์นั้นวิจิตรเลย ทรงเครื่องอย่างกษัิตร์ ยังไงเสียเราก้รูปว่านี่คือพระพุทธรูป
่บางองค์ที่ถูกทำลาย ไม่ครบองค์ประกอบ เราก็ยังรู้ว่านี่คือพระพุทธรูป
บางองค์ใหญ่ยักษ์อย่างตึก เกินความเป็นจริง เราก้ยังรู้ว่านี่คือพระพุทธรูป
บางองค์ถูกปั้นขึ้นโดยคนตาบอด ไม่มีความสมส่วน ไม่สวยงาม แต่เราก้ยังรู้ว่านี่คือพระพุทธรูป
เวลาตัดสินว่า องค์ไหนมีความเป้นพระพุทธรูปนั้น เพราะเราเข้าใจปรมัตถบัญญัติ
แม้แต่เหลือแค่ฐาน พระไม่อยู่แล้ว เรายังรู้ว่านี่คือพระพุทธรูป
คำว่า วิปัสนา หรือแม้แต่คำใดๆก้ตาม
มันมีความหมายโดยปรมัตถะของมันอยู่
เขาใช้คำว่า"อรรถ"
แต่เรื่องที่ว่า
บางคนเขา จะยินยอมที่จะเรียกวัตถุชิ้นหนึ่งว่าพระพุทธรูปนั้น
เขาก้มีกำหนดในใจเขาว่าต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้
บางคนแม้ตัววัตถุมีลักษณะครบ เขาก็จะยังไม่นับถือว่าเป็นพระพุทธรูป ตราบจนกว่าจะทำพิธีพุทธาภิเศก
ถ้าเราเข้าใจปรมัตถะของคำว่าพระพุทะรูป
เราจะสามารถแยกแยะได้ว่านี่คือพระพุทธรูปอย่างละเอียด อย่างหยาบ อย่างวิจิตร อย่างพอใช้
เคยเป็นพระพทธรูปมาก่อนหรือเปล่า
หรือแม้แต่การมองเห้นว่าวัสดุอย่างใด สามารถนำมาทำพระพุทธรูปได้หรือไม่
เห้นอย่างนี้ ถึงเรียกว่าเข้าใจว่าพระพุทธรูปแปลว่าอะไร
คำว่ารู้เห็นไปตามจริง (วิปัสนา)
มันใช้ได้ตั้งแต่การดุลมหายใจ นับลูกประคำ ดูทีวี
ไปจนถึงการวิปัสนาในระดับฌานขั้นต่างๆ
แม้แต่เมื่อเข้าสู่กระแสพระนิพพานแล้ว เราก้ยังทำอย่างเดิมไปจนเข้านิพพาน
คือรู้ไปตามจริง ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้
อย่างนี้ก็ไม่เรียกธัมมานุปัสสนา เพราะทำให้สักกายทิฏฐิมีได้
จิตท่านยังมีอภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายอยู่
ต้องละอภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายออกจากใจ
เพราะถ้ารับรู้ได้อยู่ ก็แสดงว่า อภิชชาและโทมนัสคือความยินดียินร้ายมีอยู่ในจิตท่าน.
เวทนาดับ ดับแล้วเกิดใหม่ได้เพราะอกุศลมูลยังมีเป็นปัจจัยอยู่
ยังมีชีวิตอยู่ตราบใด รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ยังมีอยู่ตราบนั้น
ขันธ์ 5 เกิดแล้วดับ ไม่ได้หมายความว่าดับแล้วดับเลย แต่เกิดแล้วดับ ดับแล้วเกิดอีก
ขันธ์ 5 จึงดำรงค์อยู่โดยอาการที่เกิดแล้วดับดับแล้วเกิดซ้ำ ๆ ตลอดอายุขัย.
น้ำเค็ม DT02176 [27 พ.ย. 2551 11:37 น.] คำตอบที่ 45
สาธุเจ้าค่ะ
เห้นอย่างนี้ ถึงเรียกว่าเข้าใจว่าพระพุทธรูปแปลว่าอะไร
คำว่ารู้เห็นไปตามจริง (วิปัสนา)
มันใช้ได้ตั้งแต่การดุลมหายใจ นับลูกประคำ ดูทีวี
ไปจนถึงการวิปัสนาในระดับฌานขั้นต่างๆ
แม้แต่เมื่อเข้าสู่กระแสพระนิพพานแล้ว เราก้ยังทำอย่างเดิมไปจนเข้านิพพาน
คือรู้ไปตามจริง ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้
kamin DT07919 [27 พ.ย. 2551 13:10 น.] คำตอบที่ 46
คุณขมิ้น kamin DT07919 คะ
คำว่ารู้เห็นไปตามจริง (วิปัสนา)
ตามที่ท่านเข้าใจ นั่นท่านเข้าใจเอาเองของท่านเจ้าค่ะ
ไม่ใช่ความเข้าใจของน้ำเค็มเจ้าค่ะ
คำว่าวิปัสสนาของน้ำเค็มคือปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในธรรมเพื่อให้เกิดอริยะมัคคอริยะผลเจ้าค่ะ
ไม่ใช่ตามรู้ไปเสียทุกเรื่องแล้วเรียกว่าว่าวิปัสสนาไปหมดเจ้าค่ะ
ความต่างในเรื่องนิรุตติของเราต่างกันเจ้าค่ะ
ความรู้ใดปัญญาใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอริยะมัคคอริยะผล
ไม่เป็นไปเพื่อทางแห่งอริยะมัคคอริยะผลน้ำเค็มไม่จัดสิ่งที่รู้หรือตามรู้นั้นว่าเป็นวิปัสสนาให้พร่ำเพรื่อเจ้าค่ะ
น้ำเค็มยึดสภาวะธรรมตามพระไตรปิฎกเป็นหลักเจ้าค่ะ
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.
[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
อาจจะไม่ใช้ว่าเราพูดผิด หรือพูดถูก
แต่อาจจะเป้นเพราะ ผิดที่ ผิดเวลา ผิดคน
kamin DT07919 [26 พ.ย. 2551 14:38 น.] คำตอบที่ 37
คำตอบของน้ำเค็มไม่ได้มีเจตนาหลักอยู่ที่จะไปแก้ไขใครเจ้าค่ะ
แต่เจตนาหลักอยู่ที่แก้ไขมัคคให้ตรงกับผลเจ้าค่ะ
แก้ไขให้คนเดินทางจากอริยะมัคคไปสู่อริยะผลเจ้าค่ะ
แก้ไขให้คนเดินทางออกจากโลกียะไปสู่โลกุตตระเจ้าค่ะ
แก้ไขให้คนยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งเจ้าค่ะ
คำตอบของน้ำเค็มกล่าวถูกมัคคถูกผล
จึงถูกที่ ถูกเวลา ถูกคน เสมอเจ้าค่ะ
ขอขอบคุณคุณขมิ้น kamin DT07919 ที่มาร่วมสนทนาในเว็ปธรรมะไทยแห่งนี้เจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
เคย ..!! ปัจจุบันบรรลุฌานสมาบัติ 8
น้ำเค็ม DT02176 [25 พ.ย. 2551 20:05 น.] คำตอบที่ 9
คุณลืมนำเจโตฯมาใช้หรือเปล่า หากคุณได้จริง
ให้ธรรมแก่คนควรดูด้วยว่าเค้ารับได้แค่ไหน
อ่ะนะ ปัญญาเราคงแค่โลกียะ ไม่ถึงโลกุตตระ
..........................................................
วัดกันจุดสุดท้ายของชีวิตละกัน
พระนิพพานคือที่สูงสุด
แค่..ทานก็ถึงพระนิพพานได้
อ่ะนะ.....วัดกันตอนตายแล้วกัน
ผู้ที่หวังโลกุตระธรรมแล้ว ย่อมไม่เห็นว่าตนเองปฏิบัตตนได้ดีกว่าคนอื่น
ไม่เป็นคนพูดจายกตนข่มท่าน เห็นตนว่าดีแล้ว
เมื่อปฏิบัติฝึกฝนจิตของตนเองอยู่นั้น ก็สละเวลาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว
ไม่กล่าวโจษโทษแก่คนอื่น
ควรดูและโจษโทษแก่ตนเองให้ดี
และหมั่นฝึกฝนจิตตนเองอยู่เสมอ
จะได้ไม่เป็นคนที่ลืมตน
........................................
เคย ..!! ปัจจุบันบรรลุฌานสมาบัติ 8
น้ำเค็ม DT02176 [25 พ.ย. 2551 20:05 น.] คำตอบที่ 9
คุณลืมนำเจโตฯมาใช้หรือเปล่า หากคุณได้จริง
ให้ธรรมแก่คนควรดูด้วยว่าเค้ารับได้แค่ไหน
อ่ะนะ ปัญญาเราคงแค่โลกียะ ไม่ถึงโลกุตตระ
..........................................................
พระโยคาวจร DT08378 [27 พ.ย. 2551 19:34 น.] คำตอบที่ 50
ไม่ได้ลืมเจ้าค่ะ
มีความชำนาญด้วยเจ้าค่ะ
สมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่เจโตวิมุติเจ้าค่ะ
จะบรรลุเจโตวิมุติต้องเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันก่อนเป็นอันดับแรก
1.เจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อนิวรณ์ 5 และกามสัญญา เข้าสู่ปฐมฌาน
2.ละวิตก วิจาร เพื่อเข้าไปตัดความตรึกและความรำคาญ อันเป็นที่ตั้งของสักกายะทิฏฐิ เข้าสู่ทุติยฌาน
3.ละปีติ เพื่อละสัญญาอันหยาบจากสมาธิในทุติยฌาน เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกด้วยนามกาย เข้าสู่ตติยฌาน
4.ละสุขละทุกข์ก้าวลงสู่สุขสัญญาและละหุสัญญา เพื่อทำสติให้บริสุทธิ์ จิตเป็นจิตที่บริสุทธิ์ขาวรอบเป็นจิตที่ตั้งมั่น มีอำนาจ อ่อน ควรแก่การงาน เข้าสู่จตุตถฌาน
5.ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา และละนานัตตสัญญา เข้าสู่อากาสานัญจายตนฌาน
6.ละอากาสานัญจายตนสัญญา เข้าสู่วิญญานัญจายตนฌาน เพื่อบรรลุอรูปสมาธิอันละเอียด
7.ละวิญญานัญจายตนสัญญา เข้าสู่อากิญจัญญายตนฌาน เพื่อละกามราคะและปฏิฆะในจิต
8.ละอากิญจัญญายตนสัญญา เข้าสู่เนสัญญานาสัญญายตนฌาน เพื่อทำสัญญาอันหยาบไม่ให้เกิดขึ้น และเพื่อทำสัญญาอันละเอียดให้ดับไป เจริญอรหัตตมัคคมีเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นบาท ตั้งความปรารถนาด้วยจตุตถฌานอันประกอบอรหัตตมัคคและเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาน้อมจิตไปสู่ความดับบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ เจ้าค่ะ.
อ่ะนะ.....วัดกันตอนตายแล้วกัน
พระโยคาวจร DT08378 [27 พ.ย. 2551 19:35 น.] คำตอบที่ 51
น้ำเค็มคงไม่อาจประมาทในธรรมของพระสมณะโคดมแบบท่านหรอกเจ้าค่ะ
ฝึกจิตปฏิบัติธรรมกันตอนเป็น ๆ นี่แหละเจ้าค่ะ
ตอนที่ขันธ์ 5 ยังแข็งแรงนี่แหละเจ้าค่ะ
เพราะนานไปกิเลสท่านอาจแก่กล้าเกินสมถะวิปัสสนาจะทำลายได้เจ้าค่ะ
อีกอย่างนะเจ้าค่ะ คนตายแล้วไม่มีจิตใจเจ้าค่ะ
ทำอะไรไม่ดีเอาไว้ในตอนเป็น ๆ มีชีวิตอยู่เอาไว้มาก ตายแล้วโอกาสนิพพานของท่านริบหรี่อย่างยิ่งเจ้าค่ะ
เจริญสมถะและวิปัสสนาเสียเดี๋ยวนี้เถอะเจ้าค่ะ
อย่ารอตอนตายแล้วอยู่เลยเจ้าค่ะ
ด้วยเมตตาฌานเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
พระโยคาวจร DT08378 [27 พ.ย. 2551 20:25 น.] คำตอบที่ 52
ยังไม่ได้ยกตนข่มผู้ใดเลยนี่เจ้าคะ
มีแต่แนะนำมัคคผลให้ผู้อ่านทั้งนั้น
จิตเป็นกุศลเต็มเปี่ยมเจ้าค่ะ
ไม่ได้แนะนำสิ่งผิด ๆ ให้ใครด้วยเจ้าค่ะ
เจริญเมตตาฌานตลอดเจ้าค่ะ.
ผู้มีปีติในธรรม
มีใจผ่องใสแล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุข
บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมยินดีในธรรม
ที่พระอริยะเจ้าประกาศแล้ว
ในกาลทุกเมื่อ
บัณฑิตละจิตข้อง.. ในตน
หมั่นฝึกดวงกมล... ผ่องแผ้ว
ละลังเลสับสน และบ่วง บาปเวร
ประมาทธรรมละแล้ว.... จิตตั้งในฌาน
สังโยชน์ที่ละแล้ว.. กาลใด
จิตละกิเลสไป หมดแล้ว
ย่อมตัดซึ่งหลงไหล...... วัฏฏะ ผูกพัน
ขันธ์ดับเพราะจิตแผ้ว.... เมื่อนั้นสุขเต็ม
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
สาธุ สำหรับการแสดงเกี่ยวกับ
กามสมาธิ และ อริยะสมาธิ
ชัดเจนดีครับ
สาธุครับ ใน คห.คุณ น้ำเค็ม DT02176 [27 พ.ย. 2551 11:37 น.] คำตอบที่ 45
แยกแยะสภาวะธรรมตามอรรถะ ธรรมได้ชัดเจน ขอบคุณครับ
*****
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑
อรรถที่นำมาไม่ดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมา ไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เลือนหายแห่งสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
ย่อมเป็น ไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
ธรรมรักษาครับ
มาโปรด
คุณน้ำเค็มครับ
การวิปัสนาในความหมายของคุณน้ำเค็มนั้น หรือของผมก้ตาม
มันไม่ได้มีติดตัวกันมาแต่เกิด
เราไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความรู้ในการวิปัสนา
แต่เรา"เฝ้าดูเฝ้ารู้จิตใจของเราไปตามจริง" มาตั้งแต่เดินจงกรม หรือทำอานาปานสติครั้งแรก
จึงพาเรามาถึงการวิปัสนา
สมาธิแบบโลกียวิสัยที่มีการเฝ้ารู้เฝ้าดูไปตามจริงนี่แหละถึงจะมีโลกุตรสมาธิได้
เหมือนครั้งหนึ่ง เราเป็นเด็ก วันนี้เป็นผู้ใหญ่
แต่ไม่ได้หมายความว่า เราเป็นคนละคน
ผมพยามอธิบายคำว่าวิปัสนา ว่าเหมือน การบวกลบคุนหาร
ไม่ว่าคณิตศาสตรืฟิสิกส์หรือสมการอะไรมันจะยากเย็นซับซ้อนแค่ไหนก้ตาม
มันไม่พ้นหลักชองการ รวมกันเข้า หักออก เพิ่มในจำนวนที่เท่ากัน และการแบ่งในจำนวนที่เท่ากัน
บวกลบคุนหาร
ขายข้องธรรมดาๆ จนถึงสร้างจรวดไปอวกาศ เราก้ใช้หลักสี่อย่างนี้
นี่คืออรรถของคณิตศาสตร์
แต่แน่นอนว่า การบวกลบคุณหารแบบขายของธรรมดาๆ ก็เรียกอย่างหนึ่ง มีชื่ออย่างหนึ่ง
บวกลบคุณหารในแบบสร้างจรวดไปอวกาศ
มันก็มีความซับซ้อนในรุปแบบอย่างนึงจึงมีชื่ออย่างหนึ่ง
ความแตกต่างระหว่างพระพุทธเจ้า กับศาสดาอื่น อาจารย์อื่น ในยุคของพระพุทธเจ้า
คือพระพุทธเจ้า "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง" จึงตัรสรู้ได้
ปล่อยจิตใจมันแสดงความจริงแล้วเฝ้าดูไปอย่างนั้นจนทราบอย่างละลุปรุโปร่งในความจริงเหล่านั้น
หากปราศจากการกระทำที่เรียกว่า "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
เราก็ไม่มีพระพุทธเจ้าหรอกครับ เรามีแต่คนที่ทำสมาธิถึงขั้นพรมเท่านั้นเอง
วิปัสนา คือสิ่งที่มีแต่เฉพาะพระพุทธเจ้า ไม่มีในศาสดาอื่น
แต่แน่นอนล่ะ วิปัสนาที่จะพาเข้านิพพาน
ต้องเป็นวิปัสนาในระดับฌาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
พระองค์จึงบัญญัิตลงไปให้ชัด ว่านี่คือวิปัสนา ที่จะพาเขานิพพาน
ถ้าคุณน้ำเค็มพยามจะเข้าใจผมมากพอ คงจะพบว่าผมได้พูดเอาไว้ชัดเจนแล้วในความคิดเห็นที่ 28 ว่า
วิปัสนามันเกิดตอนไหน ผมกล่าวว่า
"..... สมาธิระดับที่จะเอาไปทำงานที่เรียกว่าวิปัสนา ต้องเป้นขั้นอัปนาสมาธิ
ซึ่งพัฒนาเป้นฌานขึ้นมา จึงเกิดกระบวนการวิปัสนา
วิปัสนาก็มีหลายระดับเหมือนสมาธิที่มีหลายระดับ ..."
ซึ่งไม่ได้มีความขัดหรือแย้งอะไรกับคุณน้ำเค็มเลย
พูดง่ายๆว่า หลักการ "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง" นั้น
เมื่อมันอยู่ในระดับฌาน เราจึงเรียกว่าวิปัสนา
แต่อรรถของมัน มีมาตั้งแต่เราเดินจงกรม หรือนั่งดุลมหายใจแล้วครับ
หากปราศจากการ "เฝ้่ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
มันไม่พาพระพุทธเจ้าข้ามผ่านชั้นพรม จนขึ้นไปถึงนิพพานได้้หรอกครับ
วิปัสนูกิเลสที่เกิดในอริยะชน ก้เกิดจากการที่ทำอะไรมากไปกว่าการ
"เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
ดังนั้น การทำวิปัสนา โอยอรรถของมัน ไม่ใช่ว่าทำแล้วจะได้นิพพาน
ไม่ใช่ 1+1 แล้วได้สอง
คุณน้ำเค็มทำวิปัสนามากี่ครั้งแล้วครับ ทำไมยังไม่ถึงนิพพาน
ทำไมต้องกลับไปกลับมา ย้อนไปย้อนมา ทำจนนับครั้งไม่ถ้วน กว่าจะละความเห้นว่ากายเป็นของตนได้
หากใช้วิปัสนาไม่เป็น หากไม่ เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง
ท่านก็ไม่มีวันเข้านิพพานได้ ใช่หรือไม่ครับ
------------------------------------------------------
ส่วนเรื่องสมาธิแบบโลกีย และ แบบสมาธิโลกุตร นั้น
การพูดอะไรเพื่อให้เขาทราบ เข้าใจ ในสิ่งที่เราพูด
เราก้ต้องพยามจะพูดในแบบที่
เขาเข้าใจ
ไม่ใช่เราเข้าใจคนเดียว แล้วสักแต่จะพูด เพื่อบอกว่าตัวฉันนั้นรู้ ฉันนั้นถูกต้อง
เหมือนคนที่เข้าใจเรื่อง กุศลจิต อกุศลจิต เป็นสังขตธรรม
พอเจอคนทำบุญเก้าวัด ใส่บาตรสลึงที่วางเรียงกันเป้นร้อย
เผากงเต๊ก ท่องชื่อพระพุทธเจ้าเพื่อขึ้นสวรรค์ฯ
คนคนนั้นก็ขยะแขยงแหนงหน่าย รังเกียจว่าเขานั้นโง่งมงาย
หนักหน่อยก็คอยเพ่งโทษเขา คอยปรามาสเขาว่าไม่ถูก ไม่ดี
บางทีก็เข้าไปขัดขวางการปรุงกุศลจิตของเขา
จนลืมไปว่า "บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งโลกนี้โลกหน้า"
นี่คือเราพยามเอาตัวเรา ไปเทียบกับเขา
ว่าเธอต้องเข้าใจอย่างฉัน จึงจะถูก
อย่างเธอเข้าใจนั้นผิด
มันไม่มีถูกผิดหรอกครับ
เขารับได้แค่นั้น รู้ได้แค่นั้น
เราก็ต้องพูดในแบบที่เขารับได้ รู้ได้
จึงจะเรียกว่ารู้จักสอน รู้จักคน รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักงาน
คนที่หยั่งทราบว่าสอนไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านก้เงียบ
ถ้าคุณจะสอนหลานให้เป้นคนดี
คุณจะอ่านนิทานอิสปที่เป้นเรื่องโกหกอุปโลกขึ้นมาให้เด็กฟัง
หรือจะอ่านพระอภิธรรมให้หลานฟังครับ
ถ้าจะเอาความถูกต้องในมาตรฐานของคนบางแบบ
คงต้องอ่านอภิธรรมอันเป้นปรมัตถธรรมให้เด็กฟัง
อย่างนั้นถูกต้อง ไม่ผิดเลย
แต่ถ้ารู้จักพูด รู้จักสอน รู้จักถ่ายทอด ต้องเลือกนิทานอิสป
และรู้จักสอนด้วยการเลือกพูดบางอย่าง
เลือกไม่พูดบางอย่าง
พูดในสิ่งที่เขาจะเข้าใจ
ไม่ใช่พูดในสิ่งที่เราเข้าใจ
ไม่งั้นมันเหมือนคนที่กำลังปิดถนนอยู่จนคนเดือดร้อน
แล้วประกาศว่า "สิง่ที่ฉันทำนี้เป็นความดี ฉันกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ขอโทษด้วยที่ฉันจำเป้นต้องทำให้เธอเดือดร้อน
แต่เห็นใจฉันเถอะ เข้าใจฉันเถอะ ฉันอยากทำความดี และฉันเชื่อเหลือเกินว่าเธอต้องการสิ่งนี้แน่นอน"
หากปราศจากการกระทำที่เรียกว่า "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
เราก็ไม่มีพระพุทธเจ้าหรอกครับ เรามีแต่คนที่ทำสมาธิถึงขั้นพรมเท่านั้นเอง
วิปัสนา คือสิ่งที่มีแต่เฉพาะพระพุทธเจ้า ไม่มีในศาสดาอื่น
แต่แน่นอนล่ะ วิปัสนาที่จะพาเข้านิพพาน
ต้องเป็นวิปัสนาในระดับฌาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
พระองค์จึงบัญญัิตลงไปให้ชัด ว่านี่คือวิปัสนา ที่จะพาเขานิพพาน
ข้อนี้เป็นความเข้าใจผิดของท่านเจ้าค่ะ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีสติบริสุทธิ์ด้วยจตุตถฌาน "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
ตามรู้ตามดูแบบท่านกล่าวมาในเวลาปฐมยามและมัชฌิมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณคือระลึกชาติได้
และทรงบรรลุจุตูปปาตญาณคือรู้จักจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย จิตของของพระองค์ยังไม่ได้หลุดพ้นเพราะ "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง" นั้นเจ้าค่ะ
แต่ในเวลาปัจฉิมยามพระองค์ทรงเห็นอริยะสัจ 4 ทรงเลือกอริยะสัจ 4 เจริญมรรคมีองค์ 8 จึงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเจ้าค่ะ .
ถ้าคุณน้ำเค็มพยามจะเข้าใจผมมากพอ คงจะพบว่าผมได้พูดเอาไว้ชัดเจนแล้วในความคิดเห็นที่ 28 ว่า
วิปัสนามันเกิดตอนไหน ผมกล่าวว่า
"..... สมาธิระดับที่จะเอาไปทำงานที่เรียกว่าวิปัสนา ต้องเป้นขั้นอัปนาสมาธิ
ซึ่งพัฒนาเป้นฌานขึ้นมา จึงเกิดกระบวนการวิปัสนา
วิปัสนาก็มีหลายระดับเหมือนสมาธิที่มีหลายระดับ ..."
ซึ่งไม่ได้มีความขัดหรือแย้งอะไรกับคุณน้ำเค็มเลย
พูดง่ายๆว่า หลักการ "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง" นั้น
เมื่อมันอยู่ในระดับฌาน เราจึงเรียกว่าวิปัสนา
แต่อรรถของมัน มีมาตั้งแต่เราเดินจงกรม หรือนั่งดุลมหายใจแล้วครับ
หากปราศจากการ "เฝ้่ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
มันไม่พาพระพุทธเจ้าข้ามผ่านชั้นพรม จนขึ้นไปถึงนิพพานได้้หรอกครับ
วิปัสนูกิเลสที่เกิดในอริยะชน ก้เกิดจากการที่ทำอะไรมากไปกว่าการ
"เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
ดังนั้น การทำวิปัสนา โอยอรรถของมัน ไม่ใช่ว่าทำแล้วจะได้นิพพาน
ไม่ใช่ 1+1 แล้วได้สอง
คุณน้ำเค็มทำวิปัสนามากี่ครั้งแล้วครับ ทำไมยังไม่ถึงนิพพาน
ทำไมต้องกลับไปกลับมา ย้อนไปย้อนมา ทำจนนับครั้งไม่ถ้วน กว่าจะละความเห้นว่ากายเป็นของตนได้
ปัญญาคนจะเฉียบคมทำลายกิเลสสังโยชน์ได้หมดสิ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับมรรคหรือวิธีการเพียงประการเดียวเจ้าค่ะ ยังมีองค์ประกอบที่เป็นกุศลธรรมอื่น ๆ ที่ต้องแก่กล้าพร้อมมูลด้วยเจ้าค่ะ เช่นองค์ฌาน 5 อินทรีย์ 8 อินทรีย์ 3 พละ 7 อธิบดีในอิทธิบาท 4 ลักขณูปณิชฌาน ฯลฯ และอีกตั้งหลายองค์ประกอบเจ้าค่ะ ไม่ได้บรรลุธรรมกันง่าย
การแข่งขันกีฬาชิงแชมป์ ต้องฝึกฝนฉันใด
การบรรลุมัคค 4 ผล 4 ย่อมต้องฝึกฝนการเจริญอรหัตตมัคคบ่อย ๆ ให้ตรงทางแม่นยำเสียก่อน ฉันนั้นเจ้าค่ะ.
หากใช้วิปัสนาไม่เป็น หากไม่ เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง
ท่านก็ไม่มีวันเข้านิพพานได้ ใช่หรือไม่ครับ
คาดว่าน้ำเค็มเข้าใจท่านพอสมควรเจ้าค่ะ
น้ำเค็มเลือกที่จะรู้เลือกที่จะดูเจ้าค่ะ
สิ่งใดควรกำหนดรู้เรากำหนดรู้เจ้าค่ะ
สิ่งใดควรละเราละเจ้าค่ะ
สิ่งใดควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เราทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งเจ้าค่ะ
สิ่งใดควรเจริญเราเจริญเจ้าค่ะ
รับรองไม่ใช่มัวเฝ้ารู้ เฝ้าดู ตามรู้ตามดูตามเป็นจริงไปทั้งหมดเจ้าค่ะ
นี่คือความแตกต่างกันแห่งเหตุและผลเจ้าค่ะ
ท่านต้องแยกแยะ ต้องเลือกจิตที่เป็นเหตุที่เป็นผลเจ้าค่ะ
ท่านต้องทราบด้วยว่าขณะ"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
จิตของท่านเป็นจิตชนิดใด โลกียะหรือโลกุตตระ
เป็นมัคคหรือเป็นผล
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตเหตุแห่งกามาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตผลแห่งกามาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตเหตุแห่งรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตผลแห่งรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตเหตุแห่งอรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตผลแห่งอรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
และถ้าเลือกเจริญจิตอริยมัคค แล้วได้ผลอะไร ?
ถ้าเลือกเจริญจิตอริยผล แล้วได้ผลอะไร ?
มีสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างหลากหลายเจ้าค่ะ
มีทั้งประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์แก่มัคคผลนิพพานเจ้าค่ะ
นี่คือจุด นี่คือประเด็นที่ต้องการให้ท่าน และท่านผู้อ่านได้เข้าใจและคำนึงถึงในการเจริญสมถะวิปัสสนา.
------------------------------------------------------
ส่วนเรื่องสมาธิแบบโลกีย และ แบบสมาธิโลกุตร นั้น
การพูดอะไรเพื่อให้เขาทราบ เข้าใจ ในสิ่งที่เราพูด
เราก้ต้องพยามจะพูดในแบบที่เขาเข้าใจ
ไม่ใช่เราเข้าใจคนเดียว แล้วสักแต่จะพูด เพื่อบอกว่าตัวฉันนั้นรู้ ฉันนั้นถูกต้อง
เหมือนคนที่เข้าใจเรื่อง กุศลจิต อกุศลจิต เป็นสังขตธรรม
พอเจอคนทำบุญเก้าวัด ใส่บาตรสลึงที่วางเรียงกันเป้นร้อย
เผากงเต๊ก ท่องชื่อพระพุทธเจ้าเพื่อขึ้นสวรรค์ฯ
คนคนนั้นก็ขยะแขยงแหนงหน่าย รังเกียจว่าเขานั้นโง่งมงาย
หนักหน่อยก็คอยเพ่งโทษเขา คอยปรามาสเขาว่าไม่ถูก ไม่ดี
บางทีก็เข้าไปขัดขวางการปรุงกุศลจิตของเขา
จนลืมไปว่า "บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งโลกนี้โลกหน้า"
นี่คือเราพยามเอาตัวเรา ไปเทียบกับเขา
ว่าเธอต้องเข้าใจอย่างฉัน จึงจะถูก
อย่างเธอเข้าใจนั้นผิด
น้ำเค็มสามารถแสดงธรรมให้หมาะแก่คนบางเจ้าค่ะ แต่กับคนบางคนก็ไม่สามารถ และเลือกแนะนำเฉพาะบางคน ไม่มีความคิดที่จะไปสอนใครแนะนำใครทุกคนเจ้าค่ะ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ท่านเข้าใจผิดเจ้าค่ะ
น้ำเค็มเลือกเจ้าค่ะ เมื่อเลือกธรรมมาเจริญเป็นย่อมเลือกคนที่ให้เจริญด้วยเจ้าค่ะ.
มันไม่มีถูกผิดหรอกครับ
เขารับได้แค่นั้น รู้ได้แค่นั้น
เราก็ต้องพูดในแบบที่เขารับได้ รู้ได้
จึงจะเรียกว่ารู้จักสอน รู้จักคน รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักงาน
คนที่หยั่งทราบว่าสอนไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านก้เงียบ
ถ้าคุณจะสอนหลานให้เป้นคนดี
คุณจะอ่านนิทานอิสปที่เป้นเรื่องโกหกอุปโลกขึ้นมาให้เด็กฟัง
หรือจะอ่านพระอภิธรรมให้หลานฟังครับ
ไม่อ่านนิทานให้หลานฟังเจ้าค่ะ เพราะเริ่มต้นก็ผิดทางเสียแล้วเจ้าค่ะ
แต่เลือกเอาอภิธรรมมาสอนเจ้าค่ะ สอนตามภูมิปัญญาของหลานเจ้าค่ะ เริ่มต้นให้ถูกทางเลยเจ้าค่ะ
หลานแบเบาะทำให้หลานอารมณ์สดชื่นแจ่มใส
จิตหลานอย่างนี้เป็นกามาวจรกุศลตายตอนนั้นตายขณะนั้นก็ไปสู่สุคติภพเจ้าค่ะ
นี่อภิธรรมเจ้าค่ะ ไม่ได้ยากอย่างที่ท่านคิดและเข้าใจเจ้าค่ะ สอนน้อยสอนมากก็เรียกสอนอภิธรรมเจ้าค่ะ
หลานกำลังช่างเจรจา สอนหลานให้ให้ทาน มีเมตตาต่อคนอื่นเป็นนิจ
จิตหลานเป็นกุศลเช่นกันเจ้าค่ะ นี่ก็อภิธรรมเช่นกันเจ้าค่ะ
หลานโตพอประมาณตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไปสามารถเจริญสมถะวิปัสสนาได้แล้วเจ้าค่ะ
ยังรูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และอริยมัคคอริยผลให้เกิดขึ้นแก่หลานได้เจ้าค่ะ
บอกแนวทางแก่หลานให้ฝึกฝนได้แล้วเจ้าค่ะ เพราะหลานอายุขนาดนี้รู้ความแล้วเจ้าค่ะ
นี่ก็อภิธรรมเจ้าค่ะ การสอนอภิธรรมคือการปฏิบัติให้ตรงอภิธรรมเจ้าค่ะไม่ใช่การบรรยายอภิธรรมเจ้าค่ะ
นี่ก็เป็นความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกันระหว่างท่านและน้ำเค็มเจ้าค่ะ
ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้ ย่อได้ขยายได้เจ้าค่ะ ไม่มีอะไรน่ากังวลเจ้าค่ะ.
ถ้าจะเอาความถูกต้องในมาตรฐานของคนบางแบบ
คงต้องอ่านอภิธรรมอันเป้นปรมัตถธรรมให้เด็กฟัง
อย่างนั้นถูกต้อง ไม่ผิดเลย
แต่ถ้ารู้จักพูด รู้จักสอน รู้จักถ่ายทอด ต้องเลือกนิทานอิสป
และรู้จักสอนด้วยการเลือกพูดบางอย่าง
เลือกไม่พูดบางอย่าง
พูดในสิ่งที่เขาจะเข้าใจ
ไม่ใช่พูดในสิ่งที่เราเข้าใจ
นั่นเพราะท่านไปคิดแทนคนอื่นเขา
เอาปัญญาท่านไปวัดขนาดภูมิปัญญาคนอื่นเขาเกินไปกระมังเจ้าคะ
คิดแทนว่าคนนี้ต้องรู้แค่นี้ คนนั้นต้องรู้แค่นั้น
ปล่อยความคิดให้เป็นธรรมดา ปัญญาธรรมดากลมกลืนกับความต้องการของเขา
เพียงชักนำเขาให้ตรงมัคคตรงผลก็เพียงพอแล้วเจ้าค่ะ
เพราะถ้าเราเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมถูกต้อง
เราจะมองออกว่าเราจะชักนำคนตรงหน้าไปสู่ธรรมอะไรได้บ้าง
บางคนเราชักนำไปสู่กุศล แต่เขาจะไปอกุศลเราก็เลิก
บางคนเราชักนำไปสู่ฌานสมาบัติ 8 แต่เขายินดีแค่ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตา เป็นกามาวจรกุศล ก็ยังดีแล้วแต่เขา
บางคนเราชชักชวนเจริญฌานเป็นโลกุตตระ แต่อินทรีย์ไม่แก่กล้า ทำไม่ไดไปไม่ถึงก็ต้องเพาะบ่มอินทรีย์กันไปเรื่อย ๆ
น้ำเค็มจึงเลือกทั้งธรรมและเลือกทั้งคนเจ้าค่ะ ไม่เลือกเอามาทั้งหมดหรอกเจ้าค่ะ.
ไม่งั้นมันเหมือนคนที่กำลังปิดถนนอยู่จนคนเดือดร้อน
แล้วประกาศว่า "สิง่ที่ฉันทำนี้เป็นความดี ฉันกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ขอโทษด้วยที่ฉันจำเป้นต้องทำให้เธอเดือดร้อน
แต่เห็นใจฉันเถอะ เข้าใจฉันเถอะ ฉันอยากทำความดี และฉันเชื่อเหลือเกินว่าเธอต้องการสิ่งนี้แน่นอน"
kamin DT07919 [28 พ.ย. 2551 16:12 น.] คำตอบที่ 58
ตอนนี้ท่านฟุ้งซ่านออกนอกเส้นทางธรรมเส้นทางกุศลแล้วเจ้าค่ะ
" กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลจงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
จักเป็นผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป "
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
สิ่งใดควรกำหนดรู้เรากำหนดรู้เจ้าค่ะ
สิ่งใดควรละเราละเจ้าค่ะ
สิ่งใดควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เราทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งเจ้าค่ะ
สิ่งใดควรเจริญเราเจริญเจ้าค่ะ
....ฯลฯ...
น้ำเค็ม DT02176 [28 พ.ย. 2551 18:19 น.] คำตอบที่ 59
โมทนาอีกครั้งครับคุณน้ำเค็ม
พระธรรมวินัยที่ทรงแสดง ทรงแสดงเหตุ...และผล
ทำเหตุ กามาวจรกุศล...ผล คือ กามาวจรกุศล(วิบาก)
ทำเหตุ รูปาวจรกุศล.....ผลคือ รูปาวจรกุศล(วิบาก)
ทำเหตุ อรูปาวจรกุศล....ผลคือ อรูปาวจกรกุศล (วิบาก)
ทำเหตุ อริยมัคค์.........ผลคือ อริยผล
หากไม่ศึกษาและปฏิบัติตามคำภีรพระไตรปิฎก ก็จะแยกแยะไม่ออกว่า
เหตุที่กระทำอยู่นั้น ทำเหตุอะไร ผลที่ได้รับเป็นอะไร..
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มี อรรถจะพึงนำไปว่า พระ- *สุตตันตะมี อรรถนำไปแล้ว ๑
(..หมายถึง การกล่าวสิ่งที่เป็น เหตุ ว่านั้นเป็น วิบาก(ผล))
คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มี อรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะ มีอรรถที่จะพึงนำไป ๑
(..หมายถึง การกล่าวสิ่งที่เป็น วิบาก(ผล) ว่านั้นเป็น เหตุ )
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มี อรรถจะพึงนำไป ว่า พระ- สุตตันตะมี อรรถที่จะพึงนำไป ๑
(..หมายถึง การกล่าวสิ่งที่เป็น เหตุ ว่านั้นเป็น เหตุ)
คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มี อรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมี อรรถอันนำไปแล้ว ๑
(..หมายถึง การกล่าวสิ่งที่เป็น วิบาก(ผล) ว่านั้นเป็น วิบาก(ผล))
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำนวพนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่อถาคต
*********
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการ โดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ
ที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
ที่จะพึง ละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น?
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระ อริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรม อันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยัง ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการ อยู่
...ฯลฯ..
เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเรา ไม่มีอยู่
หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง
หรือว่า เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรา นี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของ แน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้ เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบ สัตว์ไว้คือทิฏฐิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.
(กามาสวะ = อาสวะคือกาม / ภวาสวะ = อาสวะคือภพ / อวิชชาสวะ = อาสวะคืออวิชชา / ทิฏฐาสวะ = อาสวะคือทิฏฐิ )
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควร มนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
.....ฯ..อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น .
๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร?
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวม
แล้วด้วยความสำรวม ในจักขุนทรีย์อยู่
ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ นั้น ผู้สำรวมจักขุนทรีย์อยู่อย่างนี้. ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในโสตินทรีย์อยู่ ... ฆานินทรีย์อยู่ ... ชิวหินทรีย์อยู่
กายินทรีย์อยู่ .. ในมนินทรีย์อยู่ ก็ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมใน มนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวม ในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร
...ฯลฯ........
ติดตามศึกษาต่อที่ ..สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ธรรมรักษาครับ
เป็นดังนั้น ก็ขออนุโมทนาครับ
ท่านต้องทราบด้วยว่าขณะ"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
จิตของท่านเป็นจิตชนิดใด โลกียะหรือโลกุตตระ
เป็นมัคคหรือเป็นผล
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตเหตุแห่งกามาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตผลแห่งกามาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตเหตุแห่งรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตผลแห่งรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตเหตุแห่งอรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
"เฝ้่ารู้ เฝ้าดู จิตผลแห่งอรูปาวจรไปตามจริง" แล้วได้ผลอะไร ?
และถ้าเลือกเจริญจิตอริยมัคค แล้วได้ผลอะไร ?
ถ้าเลือกเจริญจิตอริยผล แล้วได้ผลอะไร ?
น้ำเค็ม DT02176 [28 พ.ย. 2551 18:19 น.] คำตอบที่ 59
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
"จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"
...หากปราศจากการกระทำที่เรียกว่า "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
เราก็ไม่มีพระพุทธเจ้าหรอกครับ เรามีแต่คนที่ทำสมาธิถึงขั้นพรมเท่านั้นเอง
วิปัสนา คือสิ่งที่มีแต่เฉพาะพระพุทธเจ้า ไม่มีในศาสดาอื่น....
kamin DT07919 [28 พ.ย. 2551 16:12 น.] คำตอบที่ 58
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
"จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"
kamin DT07919 [29 พ.ย. 2551 04:23 น.] คำตอบที่ 62
ดูกันชัด ๆ ศึกษาให้เข้าใจ พิจารณาให้แยบคาย ย่อมได้ความรู้และประโยชน์
" จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์ "
"เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง" ตามที่ท่านปฏิบัติ จิตย่อมซัดส่ายออกนอกอริยะมัคคไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด จิตเป็นโลกียะ นั่นคือความฟุ้งซ่านด้วยโมหะ การปฏิบัติอย่างนี้ เป็นการนำจิตไปพัวพันกับนามรูป เป็นการทำให้จิตส่งออกนอก ท่านต้องสำรวมมนินทรีย์คือสำรวมใจให้ตั้งอยู่ในอริยะมัคค 4 โดยเฉพาะเจริญอรหัตตมัคคเนือง ๆ
" เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง " การปฏิบัติอย่างนี้เรียกว่า " จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์ "
การปฏิบัตินี้เป็นสิ่งที่ควรละ
ท่านต้องสำรวมมนินทรีย์คือสำรวมใจให้ตั้งอยู่ในอริยะมัคคทั้ง 4 โดยเฉพาะเจริญอรหัตตมัคคเนือง ๆ
.
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ".
การเจริญอรหัตตมัคคในปัจจุบันขณะไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน ชื่อว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง คือการเห็นอรหัตตมัคคจิตในปัจจุบันขณะ ท่านต้องเจริญสมถะวิปัสสนาละนามรูป อรหัตตผลจิตย่อมเกิดตามในอนาคต อรหัตตผลจิตเป็นนิโรธ
การเห็นอริยะมัคค 4 เป็นมรรค คือการที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง
การเห็นอริยะผล 4 เป็นนิโรธ
โดยที่สุดแม้เห็นกุศลจิตที่เป็นโลกียะ ก็ชื่อว่ามรรค
เห็นกุศลวิบากจิตที่เป็นโลกียะ ก็ชื่อว่านิโรธ เพราะดับบาปอกุศลธรรม กุศลธรรมเจริญ
" จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ "
.."เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง " คือจิตส่งออกนอกอรหัตตมัคค เป็นสมุทัยคือตัณหา มีผลเป็นทุกข์
เจริญฌานเป็นโลกุตตระคืออรหัตตมัคค เป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธคืออริยะผล-อรหัตตผล
ผู้มีปัญญาไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย (.."เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง " )
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึงด้วยกังวล
สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ยังมาไม่ถึง
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ ( อรหัตตมัคค )
ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน
บุคคลนั้นเมื่อรู้แจ้งธรรม ( อรหัตตมัคค ) นั้นแล้ว
ควรเจริญธรรมนั้นไว้เนือง ๆ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
...หากปราศจากการกระทำที่เรียกว่า "เฝ้ารู้ เฝ้าดู ไปตามจริง"
เราก็ไม่มีพระพุทธเจ้าหรอกครับ เรามีแต่คนที่ทำสมาธิถึงขั้นพรมเท่านั้นเอง
วิปัสนา คือสิ่งที่มีแต่เฉพาะพระพุทธเจ้า ไม่มีในศาสดาอื่น....
kamin DT07919 [28 พ.ย. 2551 16:12 น.] คำตอบที่ 58
*******
น่าเสียดาย และเสียหายต่อผู้ที่ใฝ่ธรรม แต่กลับไปยึดถือทิฏฐิของ
ผู้แต่งตำราพุทธศาสน์ในยุคหลังๆ โดยไม่ตรวจสอบจากพระไตรปิฎกให้ชัด
พระพุทธเจ้ามิได้ยึดถือ แต่ไม่ได้รังเกียจ หรือปฏิเสธิ สมาธิอันไปสู่รูปพรหมเลย
คห. ที่ปฏิเสธิเป็นทิฏฐิของอาจาริยวาทรุ่นหลังๆปลูกฝังกันโดยแท้ จึงสอนตามๆกันมา
เพราะสมาธิอันนำไปสู่พรหมนั้น เป็นขั้นตอนหนึ่ง ที่ต้องไปถึง แล้วให้ "ละ" เสีย เข้าสู่ขั้นตอน
วิปัสสนาต่อไป จึงจะได้สภาวะของการ "เห็นตามความเป็นจริง" (ในความหมายนี้)
มิใช่เห็นแบบปุถุชน จิตอันเต็มประกอบกามฉันทะ กามทิฏฐิ
ประหนึ่ง การขึ้นชั้นสูงสุด ก็ต้องผ่านบันไดขั้นผ่านมา แต่ มิได้ให้หยุดอยู่
บันได้ขั้นใดขั้นหนึ่ง... หากไม่มีบันได จะขึ้นไปสู่ชั้นสูงสุดได้หรือไม่?
นี่คือการเปรียบเทียบให้เข้าใจ
เพราะสัมมาสมาธินั้น เป็นกำลัง เป็นบาทฐาน ซึ่งในพระสูตรมากมายแสดงไว้
เหลือที่จะกล่าว แต่กลับไม่ตรวจสอบ กลับยึดสิ่งที่อาจาริยวาท บอกต่อๆกัน
สอนต่อๆกันไป ... แท้นั้นเป็นมติของท่าน ... แล้วสัทธรรมอันสำคัญเล่า...?
เหล่าท่านทำตกหายไปไหน?.......ทำไมไม่ตรวจสอบ ทวนทบในพระไตรปิฎกซึ่ง
เป็นคำสอนผ่านตรงโดยตรง.....เหล่าท่านศึกษาก่อนนำไปสู่ปฏิบัติเข้าถึงที่สุด
หรือยังหนอ ????????
เทวสูตร
[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงถาม
ท่านทั้งหลายเช่นนี้ว่า
ดูกรอาวุโส พระสมณโคดมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ จะเข้าถึงพรหมโลกหรือ
ท่านทั้งหลายเมื่อถูกถามเช่นนี้ พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ มิใช่หรือ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า จึงได้ตรัสต่อไปว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายอึดอัด ระอา รังเกียจ ด้วยอายุทิพย์ ด้วยวรรณะทิพย์ ด้วยสุขทิพย์ ด้วยยศทิพย์ ด้วยอธิปไตยทิพย์
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แต่ท่านทั้งหลายควรอึดอัด ระอา รังเกียจ ด้วยกายทุจริต ด้วยวจี ทุจริต ด้วยมโนทุจริตก่อนทีเดียว ฯ
( อย่าได้รู้สึกอึดอัด ระอา รังเกียจใน กุศลวิบาก(ผล)เลย
แต่ให้อึดอัด ระอา รังเกียจ อกุศลกรรมก่อน)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3029&Z=3037&pagebreak=0
ว่าด้วยผัสสะต่างๆ
[๖๒] คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ผัสสะได้แก่ จักขุ สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส (สัมผัส ทางนามคือใจ) ปฏิฆสัมผัส (สัมผัสทางรูป) สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะ เป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้อง พร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ.
คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่ง ผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ
ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=29&A=487&Z=1310&pagebreak=0
พระพุทธเจ้ามิได้ยึดถือ แต่ไม่ได้รังเกียจ หรือปฏิเสธิ สมาธิอันไปสู่รูปพรหมเลย
คห. ที่ปฏิเสธิเป็นทิฏฐิของอาจาริยวาทรุ่นหลังๆปลูกฝังกันโดยแท้ จึงสอนตามๆกันมา
เพราะสมาธิอันนำไปสู่พรหมนั้น เป็นขั้นตอนหนึ่ง ที่ต้องไปถึง แล้วให้ "ละ" เสีย เข้าสู่ขั้นตอน
วิปัสสนาต่อไป จึงจะได้สภาวะของการ "เห็นตามความเป็นจริง" (ในความหมายนี้)
มิใช่เห็นแบบปุถุชน จิตอันเต็มประกอบกามฉันทะ กามทิฏฐิ
nangsida DT0999 [29 พ.ย. 2551 13:59 น.] คำตอบที่ 64
-----------------------------------------------------------------------------
ท่านอาจจะจะเข้าใจผมผิดไปนิดหนึ่ง
ผมคิดว่าเราเข้าใจตรงกัน
ผมกล่าวว่า เพราะพุทธเจ้า "เหนือขึ้นไปอีก" กว่าศาสดาอื่น โดยเฉพาะในยุคของท่าน
เพราะท่านรู้จักปล่อยให้ความจริงมันเป้นไปตามธรรมชาติของมัน
แล้วท่านก้เฝ้ารู้ เฝ้าดูไปอย่างนั้น
ตรงที่ท่าน nangsida ใช้คำว่า .."ละ" นั่นแหละครับ
แต่มันมีความแตกต่างบางๆตรงนี้นิดนึง
การ .."ละ" นี้ ละเพราะมันเกิดความดับ เราเห็นความดับ เห็นความจริงที่ว่ามันดับ
มันดับเอง เปลี่ยนเอง เป้นไปของมันเอง
เราจึงละโดยจำนน ไม่ได้ใส่เจตนาว่าจะละ
ถ้าท่านใส่เจตนาว่าจะละ ก็จะเป็นการแทรกแทรงความจริง บงการความจริง แก้ไขความจริง
ไม่ทราบว่าเราเข้าใจตรงกันไหมครับ
ส่วนเรื่องทิฐินี้
ไม่ต้องห่วงว่าผมเป็นคนยึดถือทิฐิ
ผมอาจจะหยิบยกทิฐิต่างๆมายึดถือ
แต่ถ้าปฏิเวธไม่ตรงตามพระไตรปิฏก
ผมก็พร้อมจะเปลี่ยนความคิดเห็นเสมอ
ผมทำอย่างนั้นอยู่เนืองๆ จึงเจริญขึ้นมาได้
ครูอาจารย์สอนไว้แล้วว่า พระคัมภีร์นั้น ไม่มีผิดเพี้ยนแม้แต่คำเดียว
แต่มันขึ้นอยู่กับคนเข้าใจ ว่าเข้าใจได้แค่ไหน
อย่างคำว่า อริยะสัจจ 4 ที่อยู่ในหนังสือเรียนมาตั้งแต่สมัยประถม มัธยม
เราท่องได้ เราจำได้ เรารู้จักอริยัสัจ ???? ว่าคืออะไร จากหนังสือเรียน
ถามว่าเราเข้าใจเรื่องอริยสัจผิด ใช่หรือไม่ ... มันก็ไม่ใช่
ถามว่าเราเข้าใจถูกหรือ ... ก็คงไม่ใช่อีก
มันไม่ใช่ทั้งเข้าใจผิด ไม่ใช่ทั้งเข้าใจถูก ไม่ใช่ทั้งไม่เข้าใจ
แต่เป้นระดับของความเข้าใจ กล่าวคือปัญญา
ส่วนเรื่องความเข้าใจผิดของคน มันเป้นเรื่องปกติธรรมดา
ถ้าตั้งมั่นว่าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญก็ต้องพร้อมแก้ไำข
ต้องปฏิบัติเพื่อความรู้จักทุกข์ รู้จักละเหตุแห่งทุกข์
เป็นไปเพื่อความสละละวาง ไม่มี ไม่ถือ ไม่เอา ไม่เป็น ไม่อะไรทั้งนั้น
เฝ้ารู้ เฝ้าดู ความจริง ที่เกิดขึ้นจริง ไปตามจริง
ย่อมชื่อไม่หลงทาง
แต่มันมีความแตกต่างบางๆตรงนี้นิดนึง
การ .."ละ" นี้ ละเพราะมันเกิดความดับ เราเห็นความดับ เห็นความจริงที่ว่ามันดับ
มันดับเอง เปลี่ยนเอง เป้นไปของมันเอง
เราจึงละโดยจำนน ไม่ได้ใส่เจตนาว่าจะละ
ถ้าท่านใส่เจตนาว่าจะละ ก็จะเป็นการแทรกแทรงความจริง บงการความจริง แก้ไขความจริง
ไม่ทราบว่าเราเข้าใจตรงกันไหมครับ
kamin DT07919 [29 พ.ย. 2551 15:28 น.] คำตอบที่ 66
***************
ขอแสดงเจตนามุฑิตาต่อท่าน ที่มีศรัทธา ฝึกฝนเพื่อความดับนั้น
ในข้อความที่ท่านกล่าวนั้น เข้าใจในความคิดของท่านดี เพราะเคยผ่าน คห.นี้มาแล้ว
ผ่านการ "เฝ้าดูความดับ" "เฝ้าดูตามความเป็นจริง" ในนัยยะเดียวกับของท่าน
ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้รับการชี้แนะจากกัลยาณมิตร และศึกษา ในพระไตรปิฎก
จึงรู้ว่า ได้เข้าใจความหมายของ "ความดับ" และ "ความเป็นจริง" แบบนี้ว่าเป็นการทำ
วิปัสสนานั้น ..ผิดเพี้ยนไปอย่างยิ่งจาก ความหมายของพระธรรมวินัยที่ทรงแสดง
ความดับ ที่เข้าใจแต่แรกๆนั้น. เป็นความดับของไตรลักษณ์ เป็นสามัญลักษณ์(ทั่วไปอยู่แล้ว) คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป. นี้เป็นวัฏฏะ เพราะตราบใดยัง "ดับที่เหตุ(แห่งทุกข์) ไม่ได้ ก็ยังเป็นวัฏฏะสังสารนั่นเอง
จิตก็เป็นไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างรวดเร็ว มิอาจจับ รู้ได้ ตามได้ทันตามความเป็นจริงได้
ด้วยจิตของปุถุชนอันประกอบไปด้วย กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง
เหล่านี้คือ ไตรลักษณ์...ถามว่า ดับแบบไตรลักษณ์นี้ ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นนิตย์แล้วนี้
รู้แล้วดับกิเลสได้หรือ?
นี้คือการดับ เหตุแห่งทุกข์ จริงหรือ ??
หากตามรู้ ตามดูด้วยจิตเป็นกามาวจรกุศล หรือ กามาวจรอกุศล นั้นสามารถดับ
ทุกข์ได้จริงหรือ???
ถามว่า เหล่านี้ คือการ "ทำเหตุแห่งการดับทุกข์" หรือการ
"ทำเหตุแห่งทุกข์" กันแน่เล่า ?? ท่านโปรดโยนิโสฯเถิด
จิตอันไม่ถึงพร้อมด้วย การสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลทั้งหลายนั้นเป็นได้ทั้ง
กามาวจรกุศล และ กามาวจรอกุศล ยังติดข้องอยู่ในกามฉันทะ สักกายะทิฏฐิ
ด้วยว่ายังมีเหตุให้เกิดสักกายะทิฏฐิอยู่ด้วยกามสัญญานั้น จึงยังมีตัวเราอยู่
เพราะเราเป็นผู้เสวยอยู่ในอารมณ์ ที่ตามรู้ตามดูนั่นหละ
คุณภาพจิตเช่นนี้ ไม่ใช่คุณสมบัติในการทำ "เหตุ" แห่งการเจริญมรรค-ผล เลย
และหากการตามรู้ ตามดูความจริง(นัยยะของท่าน) มรรคมีองค์8 ในอริยสัจจ๔นั้น
พระองค์ทรงตรัสไว้ทำไมเล่า ???
จิตที่สามารถตามรู้ ตามดูความเป็นจริงได้ เป็นจิตของเหล่าอริยะบุคคลเท่านั้น
(ท่านเหล่านั้นทำเหตุดับแล้ว ละสักกายทิฏฐิได้จึง ไม่มีเรา ไม่ตัวเราเป็นผู้เสวย
ไม่มีตัวเราเป็นผู้เสพอารมณ์)
การดับทุกข์ ไม่ใช่การใช้ความเพียรในการเฝ้า การตามดูจิตชนิดใดก็ได้..แต่เป็นการเพียรสร้างจิต หรือเปลี่ยนคุณภาพจิตชนิดใดต่างหากที่ควรต้องกระทำ(ปฏิบัติ)
เพราะจิตที่เกิด ดับนั้น ล้วนเป็น ได้ทั้ง จิตเหตุ และ จิตผล ทั้งสิ้น
การตามรู้ ตามเฝ้าดู(นัยยะท่าน)นั่นก็เท่ากับ จิตตามดูทุกข์ (จิตเหตุ)
ผลคือ ทุกข์เป็นวิบาก(จิตผล) . เช่นนี้ ก็ทุกข์อยู่นั้นเอง เป็นวัฏฏะสืบไป
เหมือนการนั่งดูดาย ไม่ขวนขวาย เป็นดั่งความเพียรอันไม่ชอบ (ไม่ถูก) แล้วจะมีประโยชน์อย่างไรเล่า???
เราจึงต้องสร้าง กระทำ(ความเพียรชอบ) ใน อริยะมัคคให้เกิดต่างหาก มิใช่นั่งรอดูสิ่ง
ที่ไม่ใช่มัคคมันเกิด ดับอยู่อย่างนั้น ด้วยเพราะเข้าใจเอาว่ามันจะดับได้เอง
..ส่วนเหล่าปุถุชนต้องเจริญอริยะมรรค เป็นไปเพื่อการ "ทำเหตุดับ "
โดย การ "ละ" สภาวะที่เกิดขึ้นนั้นโดยลำดับๆ ไป ไม่ติดมั่น ยึดมั่นในปุญญาภิสังขารทั้งหลาย(จิตที่ปรุงแต่งบุญ)
ปฏิบัติได้จิตเป็นรูปาวจรกุศล ก็ละไปสู่ อรูปาวจรกุศล แล้วกระทำจิตสังขารดับด้วย
สัญญาเวทยิตนิโรธ...นี้คือการทำเหตุแห่งการ"ดับ" (อาสวะ บรรลุมรรคผล)
ก็ทรงแสดงไว้
หรือ ปฏิบัติได้จิตเป็น รูปาวจรกุศล แล้วยกจิตสู่การพิจารณาในไตรลักษณ์ ด้วยกำลัง
แห่งสัมมาสมาธิ บรรลุมรรคผล ก็ทรงแสดงไว้
เหล่านี้ ล้วนเป็นสมาธิ วิปัสสนา ที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกันในจิตมรรค ผล
โปรดศึกษาจากพุทธพจน์เถิดท่าน ----> ยกบางบท ดังนี้
[url]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=2825&w=สักกายทิฏฐิ[/url]
[url]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=9452&w=สักกายทิฏฐิ[/url]
ต้องขออนุโมทนาคุณ nangsida ด้วยนะครับ
ผมนั้นยังมีจิตปุถุชนอยู่ ไมไ่ด้เกิดโสดาปัติมรรคอย่างท่านและคุณน้ำเค็ม
หมายถึงว่า ผมไม่เห็นในแบบที่ท่านเห็น จึงไม่ทราบว่าจะเข้าใจกันได้อย่างไร
เห็นว่าป่วยการที่จะอธิบายอริยจิตให้ปุถุชนทราบ
ยิ่งต้องพยามทำความเข้าใจอริยะจิตด้วยพระคัมภีร์ด้วยแล้ว ยิ่งพาให้งงไปกันใหญ่
ผมคิดว่าผมรองรับความรู้อันนี้ไม่ได้ มันเกินปัญญาของผม
แต่ประเด้นที่ผมกำลังพยามจะชี้ตลอดเวลาคือการตามรู้ ตามดู ไปตามจริง เป็นหลักการที่มีอรรถอย่างกว้าง
ใช้ได้ทั้งกับสมาธิธรรมดาๆ
และเท่าที่เข้าใจจากการศึกษาจากครูอาจารย์นั้น มันเป็นหลักที่ใช้จนถึงนิพพาน
ตัวอย่างง่ายๆของจิตปุถุชนอย่างผมก็เช่น
เวลาผมมอารมณ์ใดๆบังเกิด.... รู้ทันว่ามีอารมณ์เกิด ...จึงเกิดความรู้สึกตัว(สติ)...อารมณ์จึงดับ
ที่อารมณืเกิดเพราะจิตส่งออกนอกไปรับข้อมูลมาแล้วปรุงเป็นความทุกขืสุขขึ้น
หลวงปู่ดุลย์พูดว่า "จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย มีผลเป้นทุกข์"
ส่วนการมีสติ หมายถึงมีสิง่หนึ่งเป็นผู้ถูกเฝ้าดู และมีสิ่งหนึ่งเป้นผู้เฝ้าดู
เมื่อสองสิ่งมีอยู่พร้อมกัน เรียกว่าจิตเห็นจิต คือการมีสติเกิด
จึงเข้าใจที่หลวงปู่ดุลย์พูดว่า "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"
จิตเห็นจิตคือสติ มีสติเกิดขั้น จึงเกิดนิโรธคือความดับทุกข์
แต่แน่นอน สติแบบแอบใส่เจตนาเล็กๆนี้มันเป้นสติของปุถุชน
เป็นสติที่หลับอยู่ และพยามกระตู้นให้ตื่นด้วยอุบายนี้
เมื่อตื่นแล้ว ก้ยังงัวเงีย รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ก้ต้องแอบใส่ไปเรื่อยๆ
จนมันตื่นดี มีกำลัง ทำงานเองโดยอัตโนมัติ รู้หน้าที่ ก็เป้นอันไม่ต้องแอบใส่เจตนาแล้ว
เมื่อสติที่แท้ ทำงานแล้วโดยอัตดนมัติ
มันจึงทำหน้าที่รู้ทันเหตุแหง่ทุกข์ โดยปกติอัตดนมัติ
และพัฒนาศักยภาพขึ้นไปเรื่อยๆเอง
ผมเข้าใจอย่างนี้
เหล่านี้คือ ไตรลักษณ์...ถามว่า ดับแบบไตรลักษณ์นี้ ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นนิตย์แล้วนี้
รู้แล้วดับกิเลสได้หรือ?
นี้คือการดับ “เหตุแห่งทุกข์” จริงหรือ ??
หากตามรู้ ตามดูด้วยจิตเป็นกามาวจรกุศล หรือ กามาวจรอกุศล นั้นสามารถดับ
ทุกข์ได้จริงหรือ???
ถามว่า เหล่านี้ คือการ "ทำเหตุแห่งการดับทุกข์" หรือการ
"ทำเหตุแห่งทุกข์" กันแน่เล่า ?? ท่านโปรดโยนิโสฯเถิด
nangsida DT0999 [29 พ.ย. 2551 19:25 น.] คำตอบที่ 68....
---------------------------------------------------------------------
หากท่านได้เห็นอะไรนานๆ เห็นประจำ เห้นเรื่องเดิมๆ
เห็นแล้วเห็นอีก นับครั้งไม่ถ้วน
ท่านจะ"เกิดความหน่ายคลายกำหนัดขึ้น"ใช่หรือไม่ครับ
จิตแสดงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เนืองๆ
แล้วเราเฝ้ารู้เฝ้าดูอยู่เนืองๆ จนหน่าย
และในชีวิตจริงของเรา โดยเฉพาะเวลาท่านไม่ได้เข้าฌาน
ท่านจะห้ามตาไม่ให้เห็นรูป..ได้อย่างไร
ท่านจะห้ามหูไม่ให้ได้ยิน ได้อย่างไร
ห้ามร้อน ห้ามหนาว ได้อย่างไร
ท่านห้ามจิตไม่ใช้บริการจากอายตนะได้อย่างไร
ท่านห้ามไม่ได้เลย
แต่ท่านไม่เอาสิ่งที่รับรู้มาจากอายตนะและมโนทวารนั้น มาปรุงแต่ง... เพราะอะไร?
เพราะท่านหน่ายแล้ว วางแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว ท่านหน่ายชนิดที่ไม่เอาอีกแล้ว
จิตที่ใช้บริการจากอายตนะ และจิตที่ใช้บริการจากมโนทวาร
จึงเพียงแต่เป็นกริยาจิตตามปกติธรรมชาติ
ไม่เกิดวงจรปฏิจสมุปบาทขึ้นอีก
ผมทราบอย่างนี้ครับ
การตามรู้ ตามเฝ้าดู(นัยยะท่าน)นั่นก็เท่ากับ จิตตามดูทุกข์ (จิตเหตุ)
ผลคือ ทุกข์เป็นวิบาก(จิตผล) . เช่นนี้ ก็ทุกข์อยู่นั้นเอง เป็นวัฏฏะสืบไป
เหมือนการนั่งดูดาย ไม่ขวนขวาย เป็นดั่งความเพียรอันไม่ชอบ (ไม่ถูก) แล้วจะมีประโยชน์อย่างไรเล่า???
nangsida DT0999 [29 พ.ย. 2551 19:25 น.] คำตอบที่ 68....
---------------------------------------------------------------------
ที่ตามดู ไม่ได้ตามดุทุกข์
แต่ตามดูไตรลักษณ์ที่จิตมันแสดง 1 (จิตเกิดดับ)
และดูพฤติแห่งจิตที่มันแสดงให้ดู 1 (จิตที่สอดส่าย)
สองอย่างนี้คือสัจจะธรรมที่จิตมันแสดงตลอดเวลา และเราเฝ้าดุตรงนี้
เฝ้าดูจนเกิดความหน่าย
หน่ายจนรับไม่ไหว
จึงละวาง
แล้วไม่เอาอีก สุขไม่เอา ทุกข์ไม่เอา
รับทราบไปเฉยๆ
เราจึงต้องสร้าง กระทำ(ความเพียรชอบ) ใน อริยะมัคคให้เกิดต่างหาก มิใช่นั่งรอดูสิ่ง
ที่ไม่ใช่มัคคมันเกิด ดับอยู่อย่างนั้น ด้วยเพราะเข้าใจเอาว่ามันจะดับได้เอง…
nangsida DT0999 [29 พ.ย. 2551 19:25 น.] คำตอบที่ 68....
---------------------------------------------------------------------
"สรรพสิ่ง"มีความดับเป็นปกติครับ
เฝ้าดูหรือไม่ มันก็มีธรรมชาติของความเกิดดับเป็นปกติครับ
ที่ดูนั้น เราดูสัจจธรรมที่มันแสดงให้ดู
ส่วนเรื่องความเพียร
ความจริงเราต้อง ไม่พัก - ไม่เพียร จึงจะถูกครับ
เพียรเมื่อไหร่ก็เป็นส่วนสุด
พักเมื่อไหร่ก็เป็นส่วนสุด
จิตที่สามารถตามรู้ ตามดูความเป็นจริงได้ เป็นจิตของเหล่าอริยะบุคคลเท่านั้น
nangsida DT0999 [29 พ.ย. 2551 19:25 น.] คำตอบที่ 68....
---------------------------------------------------------------------
ดังนั้น จึงขอให้ท่านอธิบายการปฏิบัติว่า ทำอย่างไรจิตปุถุชน จึงจะเป็นจิตอริยะขึ้นมาได้
เพราะมันป่วยการที่จะอธิบายจิตอริยะให้ปุถุชนฟัง
โดยเฉพาะการพยามอธิบายว่าวิปัสนาแบบอริยชน เขาทำอย่างไร
มันเหมือนว่า ท่านมีอาหารอย่างหนึ่งที่ผมไม่เคยชิมมาก่อน
แล้วท่านพยามจะทำให้ผมเข้าใจว่า รสชาด มันเป้นอย่างไร
ผมคิดว่าท่านพูดไปอย่างไร ผมก็ไม่มีวันเข้าใจได้
ท่านควรจะแนะผมในลักษณะที่ว่า ทำอย่างๆรผมจึงจะได้ชิมรสชาดนั้น
กล่าวคือ ทำอย่างไร ผมจะมีจิตอริยะได้
เมื่อนั้น เราอาจจะพูดกันสองสามคำก็เข้าใจแล้ว
บางที อาจจะไม่ต้องพูดกันสักคำ ก็เข้าใจสิ่งเดียวกัน ก็เป็นได้
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ครับ
ต้องขออนุโมทนาคุณ nangsida ด้วยนะครับ
ผมนั้นยังมีจิตปุถุชนอยู่ ไมไ่ด้เกิดโสดาปัติมรรคอย่างท่านและคุณน้ำเค็ม
หมายถึงว่า ผมไม่เห็นในแบบที่ท่านเห็น จึงไม่ทราบว่าจะเข้าใจกันได้อย่างไร
เห็นว่าป่วยการที่จะอธิบายอริยจิตให้ปุถุชนทราบ
ยิ่งต้องพยามทำความเข้าใจอริยะจิตด้วยพระคัมภีร์ด้วยแล้ว ยิ่งพาให้งงไปกันใหญ่
ผมคิดว่าผมรองรับความรู้อันนี้ไม่ได้ มันเกินปัญญาของผม
แต่ประเด้นที่ผมกำลังพยามจะชี้ตลอดเวลาคือการตามรู้ ตามดู ไปตามจริง เป็นหลักการที่มีอรรถอย่างกว้าง
ใช้ได้ทั้งกับสมาธิธรรมดาๆ
และเท่าที่เข้าใจจากการศึกษาจากครูอาจารย์นั้น มันเป็นหลักที่ใช้จนถึงนิพพาน
ในเมื่อท่านบอกว่ามันเกินปัญญาของผม แล้วท่านยืนยันได้อย่างไรว่า แนวทางการปฏิบัติของท่านมันเป็นหลักที่ใช้จนถึงนิพพาน จะไม่เป็นการตู่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรอกหรือ ???.
ตัวอย่างง่ายๆของจิตปุถุชนอย่างผมก็เช่น
เวลาผมมอารมณ์ใดๆบังเกิด.... รู้ทันว่ามีอารมณ์เกิด ...จึงเกิดความรู้สึกตัว(สติ)...อารมณ์จึงดับ
ที่อารมณืเกิดเพราะจิตส่งออกนอกไปรับข้อมูลมาแล้วปรุงเป็นความทุกขืสุขขึ้น
หลวงปู่ดุลย์พูดว่า "จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย มีผลเป้นทุกข์"
จิตส่งออกนอก ท่านต้องจำกัดวงจำกัดขอบเขตให้ชัดเจน ว่าจิตส่งออกนอกจิตอะไร ???
เพราะท่านรับรู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดในสิ่งนั้น
ในเมื่อท่านกล่าวถึงความเป็นปุถุชน จิตของท่านคือกามาวจรกุศล หรือกามาวจรอกุศล เพราะแนวทางปฏิบัติตามที่ท่านเสนอแนะมาของพระอาจารย์ปราโมทย์ คือไม่เอาฌาน ไม่เอาสมาธิ ไม่เอาสัมมาสมาธิ เอาแต่สติจากจิตกามาวจรด้วยกำลังปัญญากามาวจรของมนุษย์ แล้วบอกว่านี่คือแนวทางการปฏิบัติของท่านมันเป็นหลักที่ใช้จนถึงนิพพาน คำสอนนี้ไม่กลายเป็นคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้าหรอกหรือ ???
คำว่าสติที่ท่านมีที่ท่านบอกว่ามี แท้จริงแล้วไม่ใช่องค์ธรรมที่เป็นสติ สติเป็นองค์ธรรมที่เป็นกุศล ไม่เกิดในอกุศลจิตขณะที่ท่านฟุ้งซ่านด้วยอำนาจโมหะ จึงกล่าวได้ว่าท่านเข้าใจเรื่องสติไม่ถูกต้อง สิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านเป็นองค์ธรรมที่เรียกว่าสัญญา เจ้าค่ะ
เมื่อจิตท่านเป็นกามาวจรอกุศล ถึงแม้ไม่ส่งออกนอกจิตอกุศลย่อมให้ผลเป็นทุกข์อยู่ดี
ท่านต้องขีดวงเอาไว้ก่อนว่า จิตจะไม่ส่งออกนอกอะไร
1.ไม่ส่งออกนอกกามาวจรกุศลด้วยกำลังมนุษย์ปุถุชน
2.ไม่ส่งออกนอกรูปฌาน 4 หรืออรูปฌาน 4
3.หรือไม่ส่งนอกนอกอริยะมัคค 4
ที่ถูกต้อง ท่านต้องขีดวงเอาไว้อย่างนี้เสียก่อน
1.จิตส่งออกนอก กามาวจรกุศล ให้ผลเป็นทุกข์เพราะกามาวจรอกุศล
2.จิตส่งออกนอก รูปาวจรกุศล ให้ผลเป็นทุกข์เพราะกามาวจรอกุศลและกามาวจรกุศล.
3.จิตส่งออกนอก อรูปาวจรกุศล ให้ผลเป็นทุกข์เพราะกามาวจรอกุศล กามาวจรกุศล และรูปาวจรกุศล
4.จิตส่งออกนอกโลกุตตระกุศลคืออริยะมัคค 4 ให้ผลเป็นทุกข์เพราะกามาวจรอกุศลกามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศล
ท่านต้องแยกแยะให้ชัดเจน
ส่วนการมีสติ หมายถึงมีสิง่หนึ่งเป็นผู้ถูกเฝ้าดู และมีสิ่งหนึ่งเป้นผู้เฝ้าดู
เมื่อสองสิ่งมีอยู่พร้อมกัน เรียกว่าจิตเห็นจิต คือการมีสติเกิด
จึงเข้าใจที่หลวงปู่ดุลย์พูดว่า "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"
จิตเห็นจิตคือสติ มีสติเกิดขั้น จึงเกิดนิโรธคือความดับทุกข์
จิตเห็นจิตอะไร ตรงนี้ท่านก็ต้องแยกแยะให้ชัดเจน
1.ขณะที่ท่านทุกข์กายทุกข์ใจ จิตของท่านเป็นกามาวจรอกุศล จิตของท่านเห็นจิตอกุศลของตนเองอย่างแจ่มแจ้ง จิตอกุศลนั้นไม่ว่าท่านจะเห็นหรือไม่เห็นมันก็ให้ผลเป็นทุกข์เสมอ ทุกข์เพราะขันธ์ 5 ที่บาปนั้นปรุงแต่ง แต่ท่านกลับกล่าวว่ามันเป็นมรรค ให้ผลเป็นนิโรธ อย่างนี้แสดงว่าท่านเข้าใจพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ดุลย์ผิดพลาดไป
2.ขณะที่ท่านสุขกายสุขใจปลาบปลื้มใจด้วยกามาวจรกุศล ขณะให้ทาน รักษาศีล หรือเห็นคนอื่นได้ดีแล้วปลื้มปีติยินดีด้วย จิตของท่านเป็นกามาวจรกุศล จิตของท่านเห็นจิตกามาวจรกุศลของตนเองอย่างแจ่มแจ้ง จิตกามาวจรกุศลนั้นไม่ว่าท่านจะเห็นหรือไม่เห็นมันก็ให้ผลเป็นทุกข์เสมอ ทุกข์เพราะขันธ์ 5 ที่บุญนั้นปรุงแต่ง ต้องเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ แต่ท่านกลับกล่าวว่ามันเป็นมรรค ให้ผลเป็นนิโรธ อย่างนี้ก็แสดงว่าท่านเข้าใจพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ดุลย์ผิดพลาดไป
3.ขณะที่ท่านสุขกายสุขใจปลาบปลื้มใจ มีปีติ สุข อุเบกขาในฌานสมาบัติ 8 ด้วยรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 จิตของท่านเป็นรูปาวจรกุศล หรือ อรูปาวจรกุศล จิตของท่านเห็นจิตรูปาวจรกุศลจิต หรือ อรูปาวจรกุศลจิต ของตนเองอย่างแจ่มแจ้ง จิตอกุศลนั้นไม่ว่าท่านจะเห็นหรือไม่เห็นมันก็ให้ผลเป็นทุกข์เสมอ ทุกข์เพราะขันธ์ 5 ที่บุญนั้นปรุงแต่ง หรืออาเนญชาภิสังขารนั้นปรุงแต่ง ต้องเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ แต่ท่านกลับกล่าวว่ามันเป็นมรรค ให้ผลเป็นนิโรธ อย่างนี้ก็แสดงว่าท่านเข้าใจพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ดุลย์ผิดพลาดไป
4.จิตต้องเห็นจิตอริยะมัคคจิต 4 เจ้าค่ะ จึงจะเป็นมรรค ให้ผลเป็นนิโรธ.
แต่แน่นอน สติแบบแอบใส่เจตนาเล็กๆนี้มันเป้นสติของปุถุชน
เป็นสติที่หลับอยู่ และพยามกระตู้นให้ตื่นด้วยอุบายนี้
เมื่อตื่นแล้ว ก้ยังงัวเงีย รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ก้ต้องแอบใส่ไปเรื่อยๆ
จนมันตื่นดี มีกำลัง ทำงานเองโดยอัตโนมัติ รู้หน้าที่ ก็เป้นอันไม่ต้องแอบใส่เจตนาแล้ว
จิตทุกชนิด มีผัสสะ มีเวทนา มีสีญญา มีเจตนา เป็นองค์ธรรมประกอบหลักทุกชนิดของจิตเป็นปกติอยู่แล้วเจ้าค่ะ ไม่แอบใส่เจตนา เจตนามันก็มีอยู่แล้วเจ้าค่ะ
ขึ้นอยู่กับว่าเจตนาที่ใส่นั้น ใส่ไปด้วยอวิชชาหรือด้วยกิเลส หรือใส่ไปด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสเจ้าค่ะ
จิตท่านฟุ้งซ่าน เป็นโมหะจิตประกอบด้วยอุเบกขา มีสัญญาและเจตนาว่าจะเฝ้ารู้ เฝ้าดู อย่างนี้เรียกว่าท่านแอบใส่เจตนาไปด้วยอวิชชาหรือด้วยกิเลส หรืออกุศลมูลนั่นเอง
จิตแบบนี้สติเกิดไม่ได้ เกิดแต่สัญญาและท่านเข้าใจว่าสัญญานี้คือสติ คนละสภาวะธรรมกันเจ้าค่ะ สติไม่เกิดในอกุศลจิตเจ้าค่ะ .
เมื่อสติที่แท้ ทำงานแล้วโดยอัตดนมัติ
มันจึงทำหน้าที่รู้ทันเหตุแหง่ทุกข์ โดยปกติอัตดนมัติ
และพัฒนาศักยภาพขึ้นไปเรื่อยๆเอง
ผมเข้าใจอย่างนี้
kamin DT07919 [30 พ.ย. 2551 02:36 น.] คำตอบที่ 69
สิ่งที่ท่านเข้าใจเป็นอัตโนมัติเพราะอวิชชา เป็นอัตโนมัติเพราะกิเลสเจ้าค่ะ ไม่ได้อัตตโนมัติเพราะปัญญาญาณเครื่องทำลายกิเลสเจ้าค่ะ
มนุษย์คนธรรมดาก็เกิดพร้อมมากับความสามารถตรงนี้แบบนี้อยู่แล้วเจ้าค่ะ เพราะมันเป็นคุณสมบัติปกติของจิตอยู่แล้ว ใคร ๆ ก็รู้ได้คิดได้จำได้เจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ .
หากท่านได้เห็นอะไรนานๆ เห็นประจำ เห้นเรื่องเดิมๆ
เห็นแล้วเห็นอีก นับครั้งไม่ถ้วน
ท่านจะ"เกิดความหน่ายคลายกำหนัดขึ้น"ใช่หรือไม่ครับ
แพทย์และพยาบาล คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยมีโรคประจำตัวในโรงพยาบาลจำนวนมาก คนเหล่าเหล่านี้ต่างเห็นคนทุกข์ ต่างเห็นทุกข์ของตนเองอยู่เป็นนิจ เห็นเรื่องเดิม ๆ ทุกวัน เห็นแล้วเห็นอีก นับครั้งไม่ถ้วน เขาทั้งหลายเหล่านั้นเกิดความเบื่อหน่ายได้เองจริง ไหม ???
ทำไมแพทย์พยาบาลยังมีคู่ครอง ปรารถนาในคู่ครองและทรัพย์สินเงินทองกันอยู่อีก ???
หรือว่าน่าจะมีสิ่งใหอื่นมาจูงใจให้เบื่อหน่ายกันแน่ ???.
จิตแสดงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เนืองๆ
แล้วเราเฝ้ารู้เฝ้าดูอยู่เนืองๆ จนหน่าย
ทำอย่างนี้สักร้อยปีก็ไม่มีวันเบื่อหน่ายได้ ถ้าเบื่อหน่ายได้จริง ป่านนี้ท่านต้องออกจากเรือนไปสู่เพศบรรพชิต แสวงหาโมกขธรรมไปแล้ว
การจะเบื่อหน่ายได้ต้องฟังธรรม ศึกษาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ต้องฝึกจิต ต้องอบรมจิตด้วยปัญญาให้เป็นไปเพื่อความเบื่อความหน่ายเนือง ๆ จึงจะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาได้ เพราะกามาวจรอกุศล และกามาวจรกุศลจิต มีนิวรณ์ 5 ครอบงำกั้นจิต ปัญญาญาณเครื่องทำลายกิเลสเกิดขึ้นไม่ได้ เห็นก็เพียงเบื่อ ๆ อยาก ๆ เท่านั้น ไม่ได้เบื่อหน่ายแล้วละโลกียะไปเลย เพราะปัญญาไม่ถึงขั้นไม่ถึงระดับ
มีลูกมีหลานต้องสอน มีจิตต้องอบรมเจ้าค่ะ.
และในชีวิตจริงของเรา โดยเฉพาะเวลาท่านไม่ได้เข้าฌาน
ท่านจะห้ามตาไม่ให้เห็นรูป..ได้อย่างไร
ท่านจะห้ามหูไม่ให้ได้ยิน ได้อย่างไร
ห้ามร้อน ห้ามหนาว ได้อย่างไร
ท่านห้ามจิตไม่ใช้บริการจากอายตนะได้อย่างไร
ท่านห้ามไม่ได้เลย
แต่ท่านไม่เอาสิ่งที่รับรู้มาจากอายตนะและมโนทวารนั้น มาปรุงแต่ง... เพราะอะไร?
เพราะท่านหน่ายแล้ว วางแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว ท่านหน่ายชนิดที่ไม่เอาอีกแล้ว
จิตที่ใช้บริการจากอายตนะ และจิตที่ใช้บริการจากมโนทวาร
จึงเพียงแต่เป็นกริยาจิตตามปกติธรรมชาติ
ไม่เกิดวงจรปฏิจสมุปบาทขึ้นอีก
ผมทราบอย่างนี้ครับ
kamin DT07919 [30 พ.ย. 2551 03:20 น.] คำตอบที่ 70
1.ยังมีขันธ์ 5 อยู่ยังมีอาตยะอยู่ แม้เข้าฌานหรือไม่เข้าฌานผัสสะก็เกิดขึ้นเป็นปกติ ไม่มีใครห้ามการผัสสะได้
แต่ผู้ที่ฝึกจิตดีแล้ว อบรมจิตด้วยปัญญาดีแล้ว เขาไม่ได้คิดห้ามผัสสะเจ้าค่ะ
แต่เขาห้ามใจไม่ให้หวั่นไปด้วยอำนาจของผัสสะ
น้ำเค็มก็ห้ามใจไม่ให้หวั่นไหวไปตามอำนาจของผัสสะเจ้าค่ะ
กระทำในสิ่งที่ควรกระทำ ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
ใช้ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสเป็นองค์ประกอบในชีวิตประจำวัน
ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างนี้เจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
ที่ตามดู ไม่ได้ตามดุทุกข์
แต่กายจิตขณะนั้นมันเป็นทุกข์เพราะขันธ์ 5 จิตขณะนั้นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ หรือเสวยทุกข์ด้วยวิบากแห่งอกุศล เพียรนั่งตามดู เพียรกระทำสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อการตรัสรู้ ที่ถูกต้องคือต้องเพียรละอกุศลจิตนั้นไม่ให้ตั้งอยู่ได้เจ้าค่ะ แต่นี่ท่านเพียรให้อกุศลจิตตั้งอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อที่จะดูมัน.
แต่ตามดูไตรลักษณ์ที่จิตมันแสดง 1 (จิตเกิดดับ)
เพียรยังจิตให้เป็นกามมาวจรกุศลจิตเสียก่อนก็เห็นไตรลักษณ์ได้
เพียรยังจิตให้เป็นรูปาวจรกุศลจิตเสียก่อนก็เห็นไตรลักษณ์ได้
เพียรยังจิตให้เป็น อรูปาวจรกุศลจิตเสียก่อนก็เห็นไตรลักษณ์ได้
เพียรยังจิตให้เป็นโลกุตตระกุศลจิตคือมัคคจิต 4 เสียก่อนก็เห็นไตรลักษณ์ได้เจ้าค่ะ
.
และดูพฤติแห่งจิตที่มันแสดงให้ดู 1 (จิตที่สอดส่าย)
เพียรยังจิตให้เป็นกุศล จนถึงให้เป็นโลกุตตระกุศลจิตคือมัคคจิต 4 เสียก่อนก็เห็นจิตที่ซัดส่ายได้เจ้าค่ะ.
สองอย่างนี้คือสัจจะธรรมที่จิตมันแสดงตลอดเวลา และเราเฝ้าดุตรงนี้
วัน ๆ ท่านหมดเวลาไปกับการเพียรดู กามาวจรอกุศลจิต
ในขณะที่พระพุทธเจ้าสอนให้เพียรละจิตบาปอกุศล ท่านกลับไม่ละ
เพียรยังกามาวจรกุศลให้เกิด เพียรยังรูปาวจรกุศล เพียรยังอรูปาวจรกุศลจิต เพียรยังมัคคจิต 4 ที่ยังไม่เกิดให้เกิด ที่เกิดแล้วเพียรสั่งสมให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์
แต่ท่านไม่เพียร ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เอาแต่เฝ้าดูกามาวจรอกุศลอยู่อย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า.
เฝ้าดูจนเกิดความหน่าย
ต้องใช้ปัญญาอบรมให้มันหน่ายมันจึงจะหน่ายเจ้าค่ะ.
หน่ายจนรับไม่ไหว
จิตยังเป็นกามาวจรอยู่ตราบใดแม้จะหน่ายบ้าง แต่ปัญญาที่จะหน่ายเกิดในจิตในใจไม่ได้เจ้าค่ะ จิตท่านเล็กเกินไป .
จึงละวาง
ในเมื่อจิตท่านเป็นปุถุชน เป็นกามาวจร ไม่อาจสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายได้เลย ท่านจะเอาคุณภาพ เอาคุณสมบัติของจิตอะไรไปละวางได้เล่า ???
จะละวางต้องจิตปฐมฌานกุศลขึ้นไปเท่านั้น.
แล้วไม่เอาอีก สุขไม่เอา ทุกข์ไม่เอา
ต้องการอย่างนั้น ประสงค์อย่างนั้น ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะจิตกามาวจรเป็นจิตที่เล็ก เป็นจิตที่ไม่หลุดพ้น ทุกข์ย่อมท่วมทับท่านชาติแล้วชาติเล่า เพราะจิตท่านเป็นจิตทุกขสมุทัย ประสงค์จะได้ดังประสงค์ท่านต้องเปลี่ยนให้เป็นจิตอริยะมัคคเสียก่อน.
รับทราบไปเฉยๆ
รับทราบเฉย ๆ ตามที่ท่านประสงค์ ทำได้ก็ด้วยอำนาจอุเบกในจิตกามาวจรเท่านั้น อุเบกขาด้วยอกุศลจิตที่ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน รับทราบด้วยวิญญาณขันธ์ที่เจือด้วยปัญญาเล็กน้อยในกามาวจรอกุศลจิตเท่านั้น ไม่มีประโยชน์แก่การตรัสรู้เจ้าค่ะ ไม่มีกำลังพอที่จะประหารกิเลสได้ จึงได้แค่รับทราบรับรู้อยู่อย่างนั้นนั่นเอง.
"สรรพสิ่ง"มีความดับเป็นปกติครับ
แต่ดับแล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่ เกิดแล้วดับ ดับแล้วเกิด ถ้าเหตุปัจจัยยังไม่ถูกกำจัด เพราะว่าดับแล้วไม่ได้ดับขาดสิ้นไปเลย เพราะมันเป็นอยู่เป็นไปด้วยการเกิดดับ.
เฝ้าดูหรือไม่ มันก็มีธรรมชาติของความเกิดดับเป็นปกติครับ
ตรงนี้ใช่ แต่ดูเพื่อรู้แค่นี้ยังไม่พอ ต้องสร้างมัคคจิตผลจิตขึ้นมาเจ้าค่ะ.
ที่ดูนั้น เราดูสัจจธรรมที่มันแสดงให้ดู
สัจจะแห่งไตรลักษณ์ในเมื่อรู้แล้วเข้าใจแล้ว ดูต่อไปจะมีประโยชน์อะไร
สัจจะธรรมที่ควรดู ที่ควรรู้ ที่ควรศึกษา ไม่ใช่สัจจะแห่งไตรลักณ์ สัจจะที่ควรดูคือ
1.จิตใดเป็นผล มีผลเป็นทุกข์
2.จิตใดเป็นเหตุเป็นสมุทัย ให้ผลเป็นทุกข์
3.จิตใดเป็นผล ให้ผลเป็นสุข
4.จิตใดเป็นเหตุ ให้ผลเป็นสุข ให้ผลเป็นนิโรธตามที่ท่านต้องการ นี่จึงควรดูควรเจริญ
นั่นอริยสัจ 4 แห่งจิต ที่เกิดกับจิต นี่สิจึงน่าดู ดูแล้วไม่ใช่ดูเฉย ๆ แต่ให้เลือกสิ่งที่ดูนั้น
จิตใดไม่มีประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ตลอดกาลนานให้รีบละ ไม่ใช่นั่งทนดู
จิตใดมีประโยชน์ เป็นไปเพื่อความสุขตลอดกาลนาน เป็นไปเพื่อมัคคผลนิพพานจิตนั้นท่านพึงเลือกเจริญ เลือกรักษาให้มั่นคง.
ส่วนเรื่องความเพียร
ความจริงเราต้อง ไม่พัก - ไม่เพียร จึงจะถูกครับ
เพียรเมื่อไหร่ก็เป็นส่วนสุด
พักเมื่อไหร่ก็เป็นส่วนสุด
kamin DT07919 [30 พ.ย. 2551 03:40 น.] คำตอบที่ 71
1.เพียรเจริญรูปฌานจิต อรูปฌานจิต หรืออริยะมัคคจิต ไม่ใช่ความเพียรที่สุดโต่งแน่นอน เพราะเพียรในสิ่งที่เป็นกุศลให้เต็มเปี่ยม ให้ผลเป็นสุข จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
2.พักจิตอยู่ในรูปาวจรกุศลวิบากจิต พักจิตอยู่ใน อรูปาวจรกุศลวิบากจิต พักจิตอยู่ในโลกุตตระกุศลวิบากจิตคืออริยะผลจิต 4 ไม่ใช่ความเพียรที่สุดโต่งแน่นอน เพราะเพียรในสิ่งที่เป็นกุศลให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายในสมาบัติเหล่านี้
ที่ถูกต้องคือท่านต้องรู้จักเลือกพักเลือกเพียรให้เป็นสัมมาวายามะคือความเพียรชอบเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ .
คุณน้ำเค็มครับ เราคุยกันไม่รู้เรื่องหรอก
ในเมื่อคุณพยามจะอธิบายอริยะสภาวที่คุณดำเนินอยู่ ให้ปุถุชนอย่างผมฟัง
ไม่มีทางจะคุยกันรู้เรื่องได้
แต่ขออย่างหนึ่งว่า ครูอาจารย์ที่ผมนับถือนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิง่ที่ผมพูด
ผมรับรู้มาอย่างไร เข้าใจอย่างไร ผมก้พูดไปอย่างนั้น
ผมอาจจะเข้าใจสิ่งที่ท่านสอนผิดก็ได้
ผมจึงใช้คำว่า "ผมเข้าใจอย่างนั้น" .. .."ผมทราบอย่างนั้น" .."ผมเชื่ออย่างนั้น" เสมอๆ
อีกประการหนึ่งคือ ปูมการสื่อสารของเราค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก
เหมือนคลื่นคนละช่อง
ความหมายใดที่คุณพยามจะสื่อให้ผมทราบ ผมก้ไม่เข้าใจจริงๆ ถอดรหัสไม่ได้
ส่วนความหมายใดที่ผมอยากจะสื่อให้คุณทราบ คุณก้ตีความไปอีกอย่างหนึ่ง
จึงกล่าวว่า เหมือนคลื่นคนละช่อง
สัญญานภาพไม่ชัด สัญญานเสียงก้ไม่ชัด จุดประสงค์ในการสื่อสารก็แตกต่างกัน
เลยสื่อสารกันไม่ประสบความสำเร็จ
อีกเรื่องที่สำคัญมาก
ถ้าหากว่าท่านสงสัยแนวคำสอนครูอาจารย์ท่านใด ท่านสามารถสนทนาธรรมกับครูอาจารย์เหล่านั้นได้
โดยเฉพาะว่าท่านอาจารยืปราโมทย์ยังมีชีวิต
เรื่องที่ผมพูด คือ เรื่องที่ผมเข้าใจ
ผมมีสติปัญญาจำกัด อาจเข้าใจผิด อาจคลาดเคลื่อน
และเป็นความเห็นของคนคนเดียว
ไม่ใช่ว่าผมเป้นตัวแทนครูอาจารย์ ไม่ใช่ว่าผมพูดในนามท่านเหล่านั้น
ผมพูดไปตามความเข้าใจของผม และสื่อสารไปตามความสามารถที่มี
อยากให้เข้าใจอย่างนั้นครับ
kamin DT07919 [30 พ.ย. 2551 17:34 น.] คำตอบที่ 77
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
อนุโมทนาด้วยครับคุณน้ำเค็ม
เป็นกระทู้ที่ดี มีประโยชน์มากจริงๆ เจ้าค่ะ
ขออนุโมทนากุศลธรรมทานครั้งนี้แก่น้ำเค็มด้วยเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมทุกท่าน เจ้าค่ะ
ขอบพระคุณท่านน้ำเค็ม สาธุ คห.ที่60 และผู้เจริญธรรมทุกท่าน
ทิฏฐินั้นเหมือนดั่งศร เหมือนดั่งปฏักเมื่อปักแล้ว ย่อมยากที่จะถอนออก ย่อมกระทำความเพียรอันประกอบด้วยทิฏฐินั้น
พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบไว้อย่างชัดเจนแล้ว คงเป็นอยู่เช่นนั้นแล
โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
กามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะ
กาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม
ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากามโยคะ กามโยคะเป็นดังนี้
ก็ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความ เร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ ในภพ ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าภวโยคะ กามโยคะ ภวโยคะเป็นดังนี้
ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความ เร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิ ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ
นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้
ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความ เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความ ไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้
..ฯลฯ...
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่ สงสาร ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอก อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
เจริญในธรรมทุกท่าน
พี่น้ำเค็ม ขอบคุณมาก ที่ชี้ชัดและเมตตา
ประโยชน์ที่ต้องการให้เข้าใจ ผมได้เข้าใจจนซึ้งแล้ว
ลองทำตามที่ลำดับขั้นที่เมตตา อาจจะไม่สมบูรณ์กระท่อนกระแท่น แต่ก็จะอดทน
ผมลองดูตั้งแต่ สี่ทุ่มครึ่ง ไปรู้สึกตัวอีกที ตีสามครึ่ง คิดว่าคงหลับ แต่เอ๊ะ มีพระมาด้วย สนุกดี
คงต้องเป็นแบบนี้ซินะ เหตุต้องละ ผลจึงหยุด ถึงจะหมด ใช้กรรมหมดก็จบกัน
ทำแทบตาย เพียรแต่ภายนอก
ขอบคุณครับ
ผมอาจจะเข้าใจช้านิดหน่อย แต่ก็ยินดีในความรู้ที่ควรฟัง
ขอขอบพระคุณทุกคำตอบ มากครับ ผมจะน้อมนำไป ไตร่ตรอง ลองทำ และนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ....สาธุ....
เสียเปล่าสำหรับคุณ Kamin !!
ยังย้ำที่จะแสดงสิ่งที่ไม่ใช่สัทธรรมของพระศาสดาอยู่
โดยไม่ได้รับการศึกษาที่ถูกต้อง มากล่าวมั่ว ถึงอบายเชียวนะครับ
เพราะทำให้คนอื่นหลงผิดไปกับคุณ
โดยเฉพาะ
"อีกประการหนึ่ง ในพระพุทธประวัติก็มีมากมายที่เขาสำเร็จอริยมรรคได้โดยไม่ต้องนั่งสมาธิเข้าฌาน
แต่ก้ต้องยอมรับท่านเหกล่านั้นได้บรมครูในการสอน
แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเขาไม่ได้เข้าฌาน "...
kamin DT07919 [2 ธ.ค. 2551 22:52 น.] คำ
แสดง คห.โดยไม่มีความรู้ในพุทธศาสนาเลย น่าสลดใจสำหรับผู้ที่เป็นพุทธมามักกะ
เมื่อครั้งสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ ล้วนบำเพ็ญเพียร สั่งสมบารมี เป้าหมายคือ
เป็น"พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" จึงต้องบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ 4 อสงไขยแสนกัป (หลังจากได้รับการพยากรณ์แล้ว)
ท่านมีกำลังของฌานอยู่แล้วหลายภพครับ ที่ไม่บรรลุ เพราะ เป้าหมายของพระองค์คือ
เป็น "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ซึ่งต้องบำเพ็ญบารมีจนที่สุดของโพธิญาณ ปํญญญอัน
หาที่สุดไม่ได้
พระองค์ไม่ได้มุ่งเป็นพระอรหันต์เท่านั้นครับ ซึ่งบำเพ็ญสั่งสมไม่กี่กัปก็ได้บรรลุอรหันต์
เมื่อเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เข้าสำนักของอาฬารดาบส อุทกดาบส ก็สำเร็จฌานชั้นสูง
ได้อย่างรวดเร็ว เพราะพระองค์เคยบำเพ็ญมาก่อน(ในอดีต) แต่ฌานนั้น ไม่ประกอบ
ด้วย "สัมมาทิฏฐิ" จึงไม่ใช่มรรค แต่เป็นบาทเป็นกำลัง(กุศล)
จากนั้น พระองค์ก็มาบำเพ็ญทุกข์กิริยาอย่างหนัก ก็ยังไม่บรรลุ จึงย้อน
รำลึกเมื่อครั้งอายุ 8 พรรษา นั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ แล้วทำปฐมฌานได้ มีความ
สงบระงับ มีความผ่องใส่ พระองค์จึงเห็นว่า วิธีบำเพ็ญนี้ไม่ใช่ทางที่จะบรรลุจึงเลิก
อดอาหาร ทำทุกข์กิริยา ดูลำดับขั้นของการบรรลุสัมโพธิญาณ ครับ
"[๔๗] ดูกรพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์แน่วแน่ ดูกรพราหมณ์ เรานั้นสงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในกายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะมีปีติสิ้นไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและ เสวยสุขด้วยกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยสาวกทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
[๔๘] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ. เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกชาติ หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็น อันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้ว ได้มาเกิดในภพนี้. เราย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้ว ในปฐมยาม แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.
ทรงบรรลุวิชชาในราตรีทั้ง ๓
[๔๙] เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เรานั้นเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ดังนี้. เรานั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยาม แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.
[๕๐] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มี ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้ว ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้แล้ว ความ สว่างก็เกิดขึ้นเหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.
***จากสุตตปิฎก ๔
ลำดับการบรรลุโพธิญาณ มีแสดงไว้หลายแห่ง
หากไม่ได้ศึกษาอย่างถูกต้อง การแสดง คห.ก็มั่วไป เป็นความประมาทต่อตนอย่างยิ่ง
ครับผม
มีสหายธรรมยก พระสูตร ทำลิงค์ไว้ให้คุณอ่านหลายแห่ง แต่คุณกลับไม่มีฉันทะและ
ความเพียร
การฝึกฌาน ต้องประกอบด้วย "สัมมาทิฏฐิ" ครับ จึงไม่ใช่ฌานแบบฤาษี
ในพระสูตรมากมายเหลือจะหยิบยกมาให้อ่านนั้น แสดงไว้ล้วนให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงฌาน
ส่วนพระอาจารย์ที่ปัจจุบันสอนกันนั้น ท่านเป็นพระป่าก็มี พระปฏิบัติก็มาก ท่านเหล่านั้น
ได้ฌานกันแล้วครับ แต่มาสอน คฤหัสผู้บริโภคกามผู้ไม่ได้ออกบวช ไม่ได้
ประพฤติพรมหจรรย์อย่างท่าน ท่านก็สอนให้ดูอะไร ต่อมิอะไรไป
แต่ขอให้อยู่ในศีล สำรวมกาย วาจา เหล่านี้ ถือเป็น คห.ของท่านบ้าง เป็นทิฏฐิบ้าง
ไม่ขอวิจารณ์ครับ
บุญรักษาครับ
สาธุ..ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ชี้ทางให้...
ขออนุโมทนาบุญกับทุก ความรู้ที่แต่ละท่านได้แบ่งปัน
แต่ผม ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเลยครับ
กับการนั่งสมาธิของคุณ kamin T-T
ผมพยายามอ่านไปๆมาๆ หลายๆรอบแล้ว
แต่ก็ยัง มีความสับสนอยู่ ว่าผมควรจะนั่งแล้วคิดแบบไหนดี
หรืออาจจะเป็นเพราะ เมื่อก่อนไม่ค่อยสนใจเรื่องธรรมะ
พอมีปัญหา เรื่องเรียน เรื่องครอบครัว ก็หันมาพึ่งธรรมะ
เลยทำให้ไม่สามารถเข้าใจอะไรได้ ง่ายๆ
แต่ก็จะพายามเข้าใจให้ได้ครับ ขอบคุณมากคร้าบ
[๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัด นิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้นเล่า ฯ
....
ถ้าภิกษุเจริญสัมมาสมาธิแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่ เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิเล่า ฯ
...
[๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข ที่ถึงสมาธิ ๑
สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ ฯ
[๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข เกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ ๑ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิด แต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ ฯ
---
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม
มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง
ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ
เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ
ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น
***
ยกมานี้เพียงไม่ถึงเสี้ยวหนึ่งนะครับที่ทรงแสดงไว้
ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อฌาน โดยละทิ้งมรรคอีก 7 ประการประกอบนะครับ
แต่ยกมาเพื่อให้รู้ว่า ผู้กล่าวว่า ฌาน ไม่ต้องกระทำ ไม่ใช่มรรค นั้น โปรดไปศึกษา
ใหม่ และให้ถูกต้องครับ ไม่เช่นนั้น ตัวเองไม่ได้ประโยชน์แล้ว จะพาลพาคนอื่นๆ
ไม่ได้ประโยชน์ไปด้วย บาปครับผม
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0
บุญรักษาครับ
มิจฉาทิฏฐิทั้งคู่เลย...
ขอขอบพระคุณ คุณ Kamin ครับ