ช่วยบอกทีครับ

 af14761    

คือผมยังอยู่ชั้นม.ปลายครับ ไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมอย่างพวกพี่ๆ ถ้าผมจะฝึกเองต้องทำอย่างไรบ้างครับรบกวนช่วยบอกเป็นข้อๆที่ละขั้นตอนด้วยคับ
แล้วการปฏิบัติธรรมมีอะไรบ้างครับ

(ปล.คำบาลีบางคำผมไม่เข้าใจนะครับ กรุณาช่วยแปลด้วยครับ)

เพราะผมอ่านกระทู้อื่นมีปัญหาเรื่องนี้มากครับขอบคุณครับ   




การปฏิบัติธรรมก็คือ เป็นการชำระกิเลสอารมณ์เศร้าหมองออกจากจิต เพื่อให้เห็นความจริงต่าง ๆ ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ แนวการปฏิบัติธรรมมีอยู่ 2 ส่วนก็คือการเจริญสมถะและวิปัสสนา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การทำสมาธิ และการเจริญปัญญาค่ะ ทั้งสองส่วนมีความสำคัญพอ ๆ กัน ต้องทำควบคู่กันไป เพราะทั้งสองส่วนจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้เจริญก้าวหน้าไปได้ด้วยดี

ในส่วนของสมาธิ อันนี้มีหลายสำนักสอนกันมากมาย เราอาจเลือกทำที่เราถนัดนะคะ หรือว่าง่าย ๆ เราก็กำหนดลมหายใจก็ได้ หายใจเข้ารู้ชัด หายใจออกรู้ชัด ทำได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะลมหายใจอยู่กะตัวเสมอค่ะ

ส่วนของปัญญา จะขอละเอียดนิดนึง จะอธิบายในส่วนของสติปัฏฐาน 4 คือการมีฐานที่ตั้งของสติอยู่ 4 ส่วน
1. กาย เป็นการเอาสติไปรับรู้อิริยาบทต่าง ๆ ของกาย ซึ่งจะมีได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเช่นตาเห็นรูปก็รู้ชัดว่าเห็น เดินก็รู้ว่าเดิน คือขาที่กำลังก้าว หูได้ยินเสียง รับประทานอาหารลิ้มรส เปรี้ยว เผ็ด เค็ม ร้อน กายสัมผัส รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง แรก ๆ การรับรู้จะดูยาก ๆ ซึ่งมันจะหยาบ ๆ หน่อย แต่เมื่อความเคยชินมีขึ้น ไหวตรงไหน กระเพื่อมตรงไหนก็รู้หมดน่ะค่ะ
2. เวทนา เวทนาก็คือความรู้สึก สุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ โกรธ พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ เอาสติมารู้ไปเรื่อย ๆ เมื่อเกิดความรู้สึกเหล่านี้ขึ้นในใจ
3. จิต เอาสติไปดูที่จิต คือเมื่อเวลาความคิดเกิด ให้ตามดูรู้ไปเรื่อย ๆ
4. ธรรม เอาสติไปพิจารณาดูธรรม เช่น จิตเกิดความคิด ก็รู้ชัดว่าเป็นกุศล มิใช่กุศล ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ หรือพิจารณาธรรม ตามที่ได้ยินได้ฟังมา เป็นต้น

การมีสติในส่วนนี้ ก็เป็นไปเพื่อความรู้ชัดในความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งปวง หรืออาจตามกฎข้อใด ๆ ในไตรลักษณ์ คือ รู้ชัดว่าสิ่งทั้งปวงล้วนเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และมิใช่ตัวตน เช่น เมื่อสติดูที่ลมหายใจ ก็พึงพิจารณาไปเองว่า เมื่อหายใจเข้า ก็ย่อมต้องหายใจออก เรามิอาจหายใจเข้าเพียงอย่างเดียวได้ หรือ เมื่อเกิดสุขที่ได้ของใหม่มา เราดีใจ แต่เมื่อได้สิ่งนั้นกับเราซักพักแล้ว ความดีใจก็หายไป เมื่อเจอเหตุการณ์อื่น ๆ อีก ก็อาจจะบังเกิดความไม่พอใจได้บ้าง นี้ก็จะเห็นชัดว่า สุข ทุกข์ ล้วนไม่เที่ยง หรือ เมื่อสติไปดูจิตที่คิด เมื่อคิดเรื่องนี้เสร็จ ก็คิดเรื่องนั้นต่อ จิตนี้ก็มิได้มีแก่นสารใด ๆ ล้วนเกิด ๆ ดับ ๆ ตามสภาพที่ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ไปกระทบ ส่วนธรรม ก็เป็นการพิจารณาข้อที่เหลือหลังจากเอาสติไปจับกับกาย เวทนา จิต แล้วเหมือนกันน่ะค่ะ

การเอาสติมาตามรู้ในกาย เวทนา จิต ธรรม จะทำให้เราเห็นชัด รู้ชัดในความจริงของสิ่งทั้งปวงที่พระพุืธเจ้าทรงค้นพบ ว่าสิ่งทั้งปวงล้วนเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตน เมื่อพิจารณาได้ดังนี้ จิตจะค่อย ๆ พิจารณาถอดถอนความยึดมั่น ถือมั่นในตัวตนเรา ร่างกายเรา จิตเรา ความคิดเรา เพราะเมื่อทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง ทุกอย่างก็ย่อมเป็นทุกข์ และหาเอาความเป็นตัวตนมิได้ กิเลสทีีมีอยู่ในตัวเรา ก็จะถูกถอดถอนจากความสำคัญมั่นหมาย เช่นจากความรู้สึกที่ปกติเรามักโกรธจากความไม่ได้ดั่งใจ เราอาจจะเริ่ม ๆ เห็นแล้ว ว่าอะไร ๆ มันก็เป็นได้ มันก็เกิดได้ มันไม่เที่ยง แล้วธรรมชาติความโกรธนั้นก็จะค่อย ๆ คลายไปเอง เท่านี้ก็เท่ากับจบกระบวนการน่ะค่ะ

แต่ความลึกซึ้งในการมองเห็นในการระลึกรู้ แรก ๆ อาจจะค่อนข้างหยาบหน่อย แต่เมื่อเราดูไปเรื่อย ๆ บ่อยขึ้น ๆ ความละเอียดลึกซึ้งจะค่อย ๆ เกิดกับจิตใจเจ้าของเอง จิตแย้มคิดเพียงนิดเดียวก็เห็น กายที่ไหวเพียงเล็กน้อยก็รู้ตลอด สติจะค่อย ๆ แนบแน่นอยู่จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไปหมด คือรู้ทันไปหมด และกิเลสต่าง ๆ เมื่อจิตที่ฝึกมาดีเต็มขั้นภูมิแล้ว ก็จะถูกถอดถอนไปเองได้โดยธรรมชาติเลยอ่ะค่ะ

การอธิบายเรื่องนี้ให้รวดเดียวจบจะดูงงๆ ซักเล็กน้อยนะคะ แต่เป้าหมายก็เพื่อถอดถอนความมียึดมั่นถือมั่นในตัวตน ถอดถอนกิเลสออกจากจิต ยังไงต้องค่อย ๆ ลองปฏิบัติดูน่ะค่ะ ถึงจะรู้ได้ด้วยใจเอง การที่บอกนำไปก่อนว่าขั้นตอนจะเป็นอย่างนี้ๆ เราอาจเข้าใจได้บ้าง แต่ความเข้าใจจริง ๆ แล้ว เมื่อเจอเหตุการณ์ใด ๆ มากระทบที่จิต เราจะรู้ได้ด้วยจิตตนเองเลยว่า เราเห็นสิ่งที่เกิดกับใจเหล่านั้นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องที่มี ที่เกิดอยู่แล้วเป็นประจำ เป็นธรรมชาติ แล้วจะเห็นว่าใจจะเป็นสุขได้กับทุก ๆ เรื่องที่เราเจอเลยล่ะค่ะ

อีกเรื่องหนึ่งคือเราก็ต้องฝึกฝนสมาธิควบคู่กันไปด้วยค่ะ เพราะเมื่อพิจารณาอะไรเราจะสามารถรู้แจ้งแทงตลอดได้ เหมือนมีดที่ถูกลับมาดีอ่ะค่ะ

ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามเพิ่มเติมได้นะคะ คำบอกเล่ามันดูลัดสั้น แต่ปฏิบัติจริงเมื่อเจอกับกิเลสแล้ว คนส่วนใหญ่มักแพ้อ่ะค่ะ ที่เหลือเมื่อเจอกิเลสอะไรหลัก ๆ บางทีใจจะเห็นเลยว่าถอดถอนจากความยึดไม่ได้เสียที อันนี้ก็ต้องแก้ไปทีละข้ออ่ะค่ะ ( แต่อยากเลิกยึดก็ไม่ได้นะคะ ก็เป็นกิเลสเหมือนกัน) คือเราก็ค่อย ๆ พิจารณาไปเรื่อย ๆ อ่ะค่ะ เดี๋ยวจะมีคำตอบให้กับใจเอง

อนุโมทนานะคะ ยังเรียนอยู่เลย สนใจปฏิบัติแล้ว.. ปฏิบัติธรรมทำได้ทุกสถานที่ ทุกเวลานะคะ ไม่ต้องคิดว่ามีเวลา ไม่มีเวลา ดูไปเรื่อย ๆ อ่ะค่ะ ความจริงจะค่อย ๆ ปรากฎให้ใจเจ้าของยอมรับเอง


• บทสวดมนต์วันพระ เปิดฟังและสวดมนต์ทุกวัน ชีวิตดีขึ้นเหมือนมีปาฏิหาริย์ [บทสวดมนต์พร้อมคำอ่าน]

• อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ

• พระครูภาวนารังสี ( เปลื้อง วิสฏฺโฐ ) วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา (2445 - 2536)

• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล

• ดุจ... ขอนไม้ที่ลอยน้ำ

• เผชิญความตายด้วยใจสงบ

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย