เราจะผิดเรรื่องความสัตย์หรือไม่ในกรณีต่อไปนี้

 Ao015    

.ถ้าเราตกลงเอาเงินให้เพื่อนยืมว่าอาทิตย์หน้าจะเอามาให้ยืม แต่ในระหว่างนั้นเราได้รู้มาว่าเพื่อนคนนั้นยืมแล้วมักจะไม่คืนใคร แล้วเราก็ไม่ให้ยืม
2.ถ้าเราพนันบอลกับเพื่อนไว้ แล้วไม่จ่ายค่าพนันบอล
3. ถ้าเราสัญญากับมารดาไว้ว่าเราจะทำเกรด 4.00 ให้ได้ ซึ่งพยายามเต็มที่แล้วเกรดไม่ถึง
4.ถ้าเรานัดเพื่อนไว้ว่าพรุ่งนี้จะไปเที่ยว แต่พอถึงเวลาดังกล่าวเรามีธุระด่วนทำให้ไปไม่ได้ เราจึงโทรไปบอกว่าไม่ได้ไป แบบนี้เรียกว่า เราผิดสัจจะหรือไม่

   




แล้วแต่เจตนาครับ ถ้ารู้ตัว ตั้งใจ ก็ถือว่าผิดคำสัตย์ทุกข้อครับ
(ถ้าถามว่าผิดคำสัตย์ไหมนะ)


การมองเรื่องกรรมนั้น เรามองแบบหักลบกลบหนี้ / มองภาพรวม
ไม่ได้

เหมือนเรากินอาหารเข้าไปทีละคำ
ผลของการกินข้าวเข้าไปแต่ละคำ ก้มีสารอาหารตามที่กิน
แต่ถ้ามีคำหนึ่ง..เกิดมีสารพิษปนมาในช้อนนั้น เช่นผักมีสารพิษ
เราก้ย่อมได้รับสารพิษจากการกระทำ(กินคำนั้น) ของเรา

จะเห้นได้ว่า
- กรรม-ผลของกรรม ...ก็เรื่องหนึ่ง (การกระทำใดๆ ย่อมมีผลของการกระทำ).
- คนทำกรรม - ความรู้สึกบุญบาป... ก็เรื่องหนึ่ง
- คนทำกรรม - มีเจตนา หรือ ขาดเจตนา... ก็เรื่องหนึ่ง


กรรม-ผลของกรรม ...
คนทำกรรม - เจตนา หรือ ขาดเจตนา


- การกระทำทั้ง 4 ข้อของเรา มันมีผลเสมอครับ
การกระทำใดๆ ย่อมมีผลของการกระทำ
เราไม่คืนค่าบอล มันต้องมีผลลัพธ์
เราบอกว่าเราจะให้เงินยืม วันนั้น วันนี้ แต่เราไม่ให้ มันก้มีผลลัพธ์ บางทีอาจจะมีคนอดตาย บางทีเขาอาจจะเอาคำสัตย์ของเราไปให้คำสัตย์เจ้าหนี้ของเขาว่าวันนั้น วันนี้ จะมาชดใช้
ถ้าเราผิดคำ เขาย่อมอาฆาตแค้นเรา


- ถ้าเราไม่เจตนา ถ้ามันเป้นเหตุสุดวิสัยเหลือกำลัง หรือเป็นความเผลอเรอ
แต่มันก็ได้เกิดการผิดคำพูดขึ้นมาแล้ว เช่น ลืมนัด
ธรรมชาติคนรักษาคำพูดต้องพยามแก้ไขสถานการณ์ ต้องหาทางบรรเทาความเสียหาย
แต่ถ้าเราไม่แก้ไขบรรเทา ก็แปลว่าเรามีเจตนาผิดคำพูด



คนทำกรรม - ความรู้สึกบุญบาป

- บุญบาปนี้ มันจะมากหรือน้อย แล้วแต่จิตจะปรุง
อย่างเราเบี้ยวค่าบอล เราไม่รู้สึกผิดบาปอะไร
แต่ทำให้คนที่รอเกรด 4.0 ของเรานี้ผิดหวังมาก
บาปบุญ เป็นเรื่องของใจล้วนๆ


-----------------------



ถ้าเราหัดเป้นคนไม่รักษาคำพูดบ่อยๆ
นานเข้ามันจะเป้นความเคยชิน (ยังพอแก้ได้)
นานเข้าๆมันจะกลายเป้นนิสัย (เริ่มแก้ยาก)
นานเข้าๆมันจะกลายเป็นสันดาน (แทบแก้ไม่ได้แล้ว หรือแก้ไม่ได้อีกแล้ว)

โทษของคนไม่รักษาคำพูดคือจะไม่ได้รับความเชื่อถือ
จะประกอบกิจการงานใดก้จะไม่มีใครให้ความร่วมมือ
อาภัพบริวาร เพราะไม่มีคนนับถือ
อาภัพทรัพย์ เพราะทำกิจการอะไรก็ไม่มีคนอยากจะคบค้าด้วย ไม่มีใครให้ความเชื่อถือ

คนเรามักจะอ้างความชอบธรรมความถูกต้องในการที่จะผิดศีลเสมอครับ
มันแค่ช่วยให้เรารู้สึกผิดบาปน้อยลง
แต่ไม่รู้ตัวว่ากำลังบ่มเพาะนิสัยอยู่ บ่มเพาะความเสื่อมอยู่

ดังนั้น ต้องรักษาศีลครับ อะไรผิดศีลเราไม่ทำ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด
พระพุทธเจ้าท่านอ่านสัตว์โลกออก อ่านความเป้นมนุษยืของเราออก เลยวางหลักอย่างนั้นเอาไว้

ถ้ารักษาศีล ซึ่งเป้นธรรมะหัวข้อหนึ่งแล้ว
ธรรม ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมครับ







• วัดดาวดึงษาราม

• ๘ พุทธสถานที่สำคัญ ในสมัยพุทธกาล

• ปลุกมันขึ้นมาฆ่า (สัญชีวชาดก)

• ๒๙.ปางห้ามญาติ

• บรรยายธรรมแก่นักเรียน สอนนั่งสมาธิ โดย #พระอาจารย์ต้น #ธรรมนาวา #dhammanava ๒๒/๐๗/๒๕๖๕

• ๔๑.ปางเปิดโลก

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย