จิตดีจิตชั่ว

 wasawaum    

ช่วยอธิบายเรื่องจิตด้วยครับ จิตคืออะไร คุณสมบัติพื้นฐานของจิตเหมือนกันทุกดวงไหม ทำไมมีจิตดีจิตชั่วคนจะดีไม่ดีทำไมมีส่วนประกอบของการอบรมด้วย จิตแรกเริ่มดีหรือชั่วหรือมีทั้งดีและชั่ว ถ้าจิตแรกเริ่มเราเป็นจิตชั่วสามารถฝึกให้ดีได้ไหม




ลักษของจิตและ การทำงานของจิต


จิตมีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการ คือ

๑. อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลง (เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา
๒. ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป)
๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด จะบังคับให้หยุดการเกิดดับก็ไม่ได้

สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ รูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายอันได้แก่ รูป จิตและเจตสิก ย่อมจะต้องมีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งหมด


นอกจากจิตจะมีลักษณะสามัญตามที่กล่าวมาแล้ว

จิตยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (วิเสสลักษณะ) อีก ๔ ประการ คือ



๑. มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
๒. เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
๓. มีการเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย เป็นผล
๔. มีอดีตกรรม ทวาร อารมณ์และเจตสิก เป็นเหตุให้จิตเกิดขึ้น


การทำงานของจิตจะเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ในพระสูตรตอนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มีใจความว่า ยากที่จะนำสิ่งอื่น ๆ ทั้งหลายในโลก มาเปรียบเทียบกับความเกิดดับอันรวดเร็วของจิต เพราะจิตเกิดดับ ๆ รวดเร็วกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตจะเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ หรือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ดวง (หนึ่งล้านล้านดวง)

ที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย เพราะจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อจากนั้นจิตดวงที่ ๒ ก็จะเกิดขึ้นติดต่อกันแล้วก็ดับไปอีก เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ
ดังในภาพ



เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป >>> เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป




(ความจริงจิตเป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างสัณฐาน ที่เขียนเป็นดวงกลม ๆ นั้น เป็นการสมมุติเพื่อให้เข้าใจง่ายเท่านั้น)


ภาวะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันเป็นกระแสนี้ท่านเรียกว่า สันตติ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับกระแสน้ำ ที่ประกอบไปด้วยอณูของน้ำเล็กๆ เรียงติดต่อกันเป็นสาย ขณะที่กระแสจิตไม่ออกมารับรู้เรื่องราว (อารมณ์) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ภวังคจิตซึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษารูปนาม ในภพปัจจุบันไว้มิให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุจากภพนี้ แม้ในขณะหลับสนิท (ไม่มีการฝัน) หรือสลบไป ก็จะมีภวังคจิต เกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลา อารมณ์ของภวังคจิต เป็นอารมณ์ที่สืบเนื่องมาจากเหตุปัจจัยในอดีตภพ


เมื่อใดก็ตามที่จิตออกมารับรู้เรื่องราวทางประตู (ทวาร) ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อนั้นจิตจะขึ้นสู่วิถีซึ่งเรียกว่า วิถีจิต และเมื่อสิ้นสุดแต่ละวิถี ก็จะมีภวังคจิตที่คอยรักษาภพชาติเกิดคั่นอยู่ทุกครั้ง แต่เราจะไม่รู้สึกตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมานั้น เกิดขึ้นรวดเร็วมาก แม้แต่แสงไฟจากหลอดไฟฟ้า ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีการกระพริบ (เกิด-ดับ) ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยความเร็วเพียง ๕๐ ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น เราก็ยังไม่สามารถสังเกตเห็น การกระพริบของแสงไฟได้เลย ดังนั้น จิตซึ่งมีการเกิดดับอย่างรวดเร็วถึงประมาณ ๑ ล้าน ๆ ครั้งต่อวินาที * จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมเราถึงไม่สามารถที่จะรู้สึกได้

อนุมานว่าการลัดนิ้วมือ (การงอนิ้วเข้ามาหาฝ่ามือ) ใช้เวลาประมาณ ๑ วินาที


จิตกับอารมย์

หากกล่าวโดยสรุปก็คือ จิต เป็นผู้รู้ อารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกรู้

คำว่า “อารมณ์” ในที่นี้หมายถึง เครื่องยึดหน่วงจิต อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดนึก มิได้มีความหมายดังที่ใช้กันทั่วไป เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย หรือมิได้หมายถึงสภาพนิสัยใจคอ เช่น อารมณ์เย็น อารมณ์ร้อน อารมณ์โรแมนติก อารมณ์ขัน เป็นต้น

จิตที่เกิดแต่ละขณะ จะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ในขณะที่เราดูโทรทัศน์ จิตที่เห็นภาพทางตา กับจิตที่ได้ยินเสียงทางหู เป็นคนละขณะกัน ขณะที่เห็นภาพ ก็จะไม่ได้ยินเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงก็จะ ไม่เห็นภาพ แต่เพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก จึงทำให้เราแยกไม่ออก และเข้าใจผิดว่า การเห็นและการได้ยินนั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จริง ๆ แล้วจิตแต่ละขณะ จะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เพื่อความชัดเจน ในเรื่องจิตกับอารมณ์ ขอให้พิจารณาการรับอารมณ์ของจิต ทางทวาร หรือประตู หรือช่องทางที่จิต
จิต ออกมารับอารมณ์ทั้ง ๖ ช่องทาง ดังนี้
ทางตา จิตทำหน้าที่เห็น สิ่งที่เห็น คืออารมณ์ของจิต
ทางหู จิตทำหน้าที่ได้ยิน เสียงที่ได้ยิน คืออารมณ์ของจิต
ทางจมูก จิตทำหน้าที่รู้กลิ่น กลิ่นที่ได้รับ คืออารมณ์ของจิต
ทางลิ้น จิตทำหน้าที่รู้รส คืออารมณ์ของจิต
ทางกาย จิตทำหน้าที่รู้การสัมผัสถูกต้อง สภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ที่สัมผัสถูกต้อง คืออารมณ์ของจิต
ทางใจ จิตทำหน้าที่รู้สึก, คิด, นึก สิ่งต่างๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่รู้สึก คิด นึก คืออารมณ์ของจิต





จิตจะว่างจากอารมณ์ไม่ได้ เมื่อจิตเกิดขึ้นทุกครั้ง จะต้องมีอารมณ์ให้รู้เสมอ จิตคือตัวรู้ อารมณ์คือตัวถูกรู้ ถ้าไม่มีตัวถูกรู้ ตัวรู้ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการรู้ ก็ย่อมจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ อยู่ควบคู่กันด้วยเสมอไป

จิตและอารมณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละทวาร มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ดังนี้
ทวารทั้ง ๖ ชื่อของจิตที่เกิด
ทางแต่ละทวาร ชื่อของอารมณ์ที่ปรากฏทางแต่ละทวาร
จักขุทวาร = ตา จักขุวิญญาณ รูปารมณ์ = สิ่งที่เห็น
โสตทวาร = หู โสตวิญญาณ สัททารมณ์ = เสียงที่ได้ยิน
ฆานทวาร = จมูก ฆานวิญญาณ
คันธารมณ์ = กลิ่นที่ได้รับ
ชิวหาทวาร = ลิ้น ชิวหาวิญญาณ รสารมณ์ = รสที่ได้รับ
กายทวาร = กาย กายวิญญาณ โผฏฐัพพารมณ์ = สภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ที่สัมผัสถูกต้อง
มโนทวาร = ใจ มโนวิญญาณ ธัมมารมณ์ = สิ่งต่าง ๆ หรือ เรื่องราว ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางใจ




รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ ๖ ทวาร ๖ วิญญาณ ๖

สภาพรู้ทั้งหลายมี จิต เป็นผู้รู้ แต่ปุถุชนทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เราเห็น,เราได้ยิน,เรารู้กลิ่น,เรารู้รส, เราเย็น, เราร้อน, เรารู้สึก, เราคิดนึก ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว สภาพรู้ทั้งหลายนี้เป็นจิต ไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาวธรรม ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว หาแก่นสาร หาเจ้าของ หาตัวตนมิได้เลย มีแต่ “จิต” กับ “อารมณ์” เท่านั้น ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เพราะไม่รู้ความจริงเช่นนี้ จึงหลงผิดคิดว่าเป็นเรามาตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และเพราะมีเรานี่แหละ จึงได้มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอด เพราะมี “เรา” นี่แหละจึงมีความรู้สึก เหมือนกับแบกโลกไว้ทั้งโลก ถ้าเอา “เรา” ออกเสียได้ก็จะรู้สึก เหมือนกับว่ากำลังยืนอยู่เหนือโลก



จิตคืออะไร

จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น

จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์

จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

สถานที่เกิดของจิต มีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ
. ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูป
ที่ปรากฏทางตา
จิตนี้มีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จักขุ = ตา)
. ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียง
ที่ปรากฏทางหู
" โสตวิญญาณ (โสต = หู)
. ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่น
ที่ปรากฏทางจมูก
" ฆานวิญญาน (ฆาน = จมูก)
. ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รส
ที่ปรากฏทางลิ้น
" ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา = ลิ้น)
. ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึก
ต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย
" กายวิญญาณ
. ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก
นึก คิด ทางใจ
" มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)



ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

http://buddhism-online.org/Section02A_03.htm


สาธุครับท่าน *8q*




ช่วยอธิบายเรื่องจิตด้วยครับ

1. จิตคืออะไร ?

จิตคือวิญญาณขันธ์ แต่ต้องเกิดร่วมเกิดพร้อมกับรูปขันธ์ในกามภพ และรูปภพ และเกิดร่วมเกิดพร้อมกับเจตสิกธรรม 3 ได้แก่ เวทนาขัน์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
ในอสัญญีสัตว์ มีแต่รูปขันธ์ ไม่มีจิต
ส่วนในอรูปภพ มีขันธ์ 4 ไม่มีรูปขันธ์ จิตประกอบด้วย วิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์.




2.คุณสมบัติพื้นฐานของจิตเหมือนกันทุกดวงไหม ?

เหมือนกันตรงมีวิญญาณขันธ์เหมือนกัน ต่างกันตรงเจตสิกธรรมที่คุณภาพต่างกัน และต่างกันตรงประเภทของจิตว่าเป็นจิตที่เป็นเหตุ หรือจิตที่เป็นผล

จิตชั่วที่เป็น เหตุ.ประกอบด้วยกามสัญญา เรียกว่า อกุศลจิต
จิตชั่วที่เป็น ผล.ประกอบด้วยกามสัญญา เรียกว่าอกุศลวิบากจิต

จิตดีที่เป็น เหตุ.แต่ประกอบด้วยกามสัญญา เรียกกามาวจรกุศลจิต
จิตดีที่เป็น ผล.แต่ประกอบด้วยกามสัญญา เรียกกามาวจรกุศลวิบากจิตได้แก่จิตมนุย์และเทวดา

จิตดีที่เป็น เหตุ.แต่ประกอบด้วย รูปสัญญาสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกรูปาวจรกุศลจิต
จิตดีที่เป็น ผล.แต่ประกอบด้วย รูปสัญญาสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกรูปาวจรกุศลวิบากจิต

จิตดีที่เป็น เหตุ.แต่ประกอบด้วย อรูปสัญญาสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกอรูปาวจรกุศลจิต
จิตดีที่เป็น ผล.แต่ประกอบด้วย อรูปสัญญาสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกอรูปาวจรกุศลวิบากจิต

จิตดีที่เป็น เหตุ.แต่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกโลกุตตระกุศลจิต ( อริยะมัคคจิต 4 )
จิตดีที่เป็น ผล.แต่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกโลกุตตระกุศลวิบากจิต ( อริยะผลจิต 4 )
.




3.ทำไมมีจิตดีจิตชั่ว ?

เพราะกระทำเหตุที่ดีหรือชั่วมาก่อน
จิตจะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับภพที่สัตว์นั้น ๆ เกิด
อบายภพ จิตที่เกิดเป็นเหตุจิตชั่วและผลจิตที่ชั่ว
ในภพสัตว์เดรฉานและมนุษย์อาจมีทั้งเหตุจิตและผลจิตชั่วหรือดีก็ได้

เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม และพรหมพระอนาคามี 4 ภพนี้มีแต่จิตดีทั้งเหตุจิตและผลจิต


ทำดีย่อมได้จิตที่ดี
ทำชั่วย่อมได้จิตที่ชั่ว.





4.คนจะดีไม่ดีทำไมมีส่วนประกอบของการอบรมด้วย ?

เพราะการอบรมคือเหตุปัจจัยให้เกิดจิตดีหรือจิตชั่ว
อบรมด้วยปัญญาในการตั้งอยู่ในทาน ศีล และเมตตาธรรม ย่อมได้จิตที่ดี
อบรมด้วยกิเลส หรือกิเลสอบรมจิตแทนปัญญา หรือมีปัญญาแต่ไม่ใช้ ใช้กิเลสแทน จิตที่ได้ก็เป็นจิตที่ชั่ว.





5.จิตแรกเริ่มดีหรือชั่วหรือมีทั้งดีและชั่ว ?

จิตแรกเริ่มดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับภพที่เกิด
อบายภพ 4 จิตแรกเริ่มเป็นจิตชั่ว
มนุษย์โลก จิตแรกเริ่มเป็นจิตดี
เทวโลก จิตแรกเริ่มเป็นจิตดี
พรหมโลก จิตแรกเริ่มเป็นจิตดี
อรูปพรหมโลก จิตแรกเริ่มเป็นจิตดี
อริยะภูมิหรือโลกุตตระภูมิ จิตแรกเริ่มเป็นจิตดี คือมัคคจิต 4
.



6.ถ้าจิตแรกเริ่มเราเป็นจิตชั่วสามารถฝึกให้ดีได้ไหม ?
โดย : wasawaum [DT07534] 21 ต.ค. 2551 11:33 น.


ได้ ๆ
อบายภพ เปลี่ยนเป็นจิตชั่วเป็นจิตดีได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนกุศลที่หมู่ญาติหรือมิใช่ญาติอุทิศให้ แต่เป็นฌานจิตและอริยะมัคคจิต อริยะผลจิตไม่ได้
สัตว์เดรฉานสามารถเจริญกามาวจรกุศลจิตได้ เช่นสุนัข ช้าง ม้า เสือโคร่ง ยินดีเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสงฆ์ เปลี่ยนเป็นจิตชั่วเป็นจิตดีได้ด้วยกุศลจิตของตนเอง แต่เป็นฌานจิตและอริยะมัคคจิต อริยะผลจิตไม่ได้

มนุษย์ เป็นจิตดีอยู่แล้ว แต่คนส่วนมากมักเปลี่ยนจิตดีให้เป็นจิตชั่ว
มนุษย์ที่เป็นบัณฑิตย่อมเปลี่ยนจิตชั่วให้เป็นจิตดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่นกามาวจรกุศล ฌานกุศลจิต โลกุตตระฌานกุศลจิต ( มัคคจิต 4 )

เทวดา เปลี่ยนจิตดีคือกามาวจรให้เป็นจิตดียิ่งขึ้น ได้แก่ฌานจิตและโลกุตตระฌานจิต

รูปพรหม เปลี่ยนจิตดีคือรูปาวจรให้เป็นจิตดียิ่งขึ้น คืออริยะมัคจิต 4 อริยะผลจิต 4

อรูปพรหม เสวยอรูปาวจรกุศลวิบากจิตเป็นจิตดี แต่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ในภพนั้นเพราะปรุงแต่งด้วยอาเนญชาภิสังขาร เปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อหมดอายุขัยจุติและปฏิสนธิมาเป็นมนุษย์

อริยะภูมิเบื้องต้น 3 เป็นจิตดี เปลี่ยนเป็นอรหัตตมัคคและอรหัตตผลได้ตามลำดับ


ขออนุโมทนาในส่วนแห่งกุศลจิตของทุก ๆ ท่านด้วยนะ
.



 4,062 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย