พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๖๖.ปางโปรดพกาพรหม์
   พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืนบนเศียรพกาพรหมซึ่งประทับบนหลังโคอุสุภราช พระหัตถ์ทั้งสองวางทาบบนพระเพลา ( ตัก ) บางแบบพระหัตถ์ประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ

ความเป็นมาของปางโปรดพกาพรหม
   ท้าวพกาพรหมมีความเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธองค์โปรดให้ท้าวพกาพรหมแสดงฤทธิ์โดยให้ไปซ่อนตัว แต่ไปซ่อนที่ใด พระพุทธองค์ก็ทรงทราบ ต่อมาพระพุทธองค์ทรงทำปาฏิหาริย์อันตรธารหายไป และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ได้ยินแต่พระสุรเสียง และทรงตรัสว่ากำลังเดินจงกรมอยู่บนเศียรของท้าพกาพรหม ท้าวพกาพรหมหมดทิฐิมานะ จึงตั้งใจฟังธรรมเทศนาจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน


๖๗.ปางพิจารณาชราธรรม
   พระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางคว่ำอยู่บนพระชานุ(เข่า) ทั้งสองข้าง

ความเป็นมาของปางพิจารณาชราธรรม
   วันหนึ่งในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปราศรัยเรื่องชราธรรมกับพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ บัดนี้เราชราภาพล่วงกาลผ่านวัยจนพระชนมายุล่วงเข้า ๘๐ ปีแล้ว กายของตถาคตทรุดโทรมเสมือนเกวียนชำรุดที่ต้องซ่อม ต้องมัดกระหนาบให้อยู่ด้วยไม้ไผ่ อันมิใช่สัมภาระแห่งเกวียนนั้น ดูก่อนอานนท์ เมื่อใดตถาคตเข้าอนิมิตเจโตสมาธิ ตั้งจิตสงบมั่น คือ ไม่ไห้มีนิมิตใดๆ เพราะไม่ทำนิมิตทั้งหลายไว้ในใจ ดับเวทนาบางเหล่าเสียและหยุดยั้งอยู่ด้วยอนิมิตสมาธิ เมื่อนั้นกายแห่งตถาคตย่อมผ่องใส มีความผาสุก สบายตลอดกาย ดูก่อนอานนท์ เพราะธรรมคือ นิมิตสมาธิธรรมนั้นมีความผาสุก ฉะนั้นท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกราะ มีธรรมเป็นที่พึ่งทุกอิริยาบถเถิด"


๖๘.ปางปลงอายุสังขาร
 
    พระพุทธรูปปางปลงอายุสังขาร วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุ(เข่า) บางแบบวางหงายบนพระเพลา(ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นทาบที่พระอุระ(อก) เป็นอาการลูบพระวรกาย

ความเป็นมาของปางปลงอายุสังขาร
    เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ ปาวาลเจดีย์ มารมาทูลอาราธนาให้ปรินิพพาน เมื่อพระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาร ก็เกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ พระอานนท์บังเกิดความพิศวงในบุพพนิมิตจึงทูลถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอัศจรรย์นี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ได้ปลงอายุสังขารแล้ว ต่อแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน จะปรินิพพาน พระอานนท์จึงทูลอาราธนาให้ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัปหนึ่งเพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก พระพุทธองค์ตรัสว่าได้ทรงแสดงโอฬาริกนิมิตถึง ๑๖ ครั้ง แต่พระอานนท์มิได้ทูลอาราธนาให้ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ต่อ และบัดนี้พญามารได้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานแล้ว พระพุทธองค์ได้สละแล้ว จะนำสิ่งนั้นกลับมาอีกด้วยเหตุใด


๖๙.ปางนาคาวโลก
    พระพุทธรูปปางนาคาวโลก วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยเยื้องมาข้างหน้าวางไว้ที่พระเพลา(ตัก)ด้านซ้าย พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระองค์ตามปกติ บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยมาข้างหน้า พระหัตถ์ขวาห้อยลงตามปกติ เอี้ยวพระวรกายผินพระพักตร์เหลียวไปข้างหลัง บางแบบพระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ(อก)

ความเป็นมาของปางนาคาวโลก
    วันหนึ่งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ พรรษาแล้ว ทรงนำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากรุงเวสาลี พร้อมรับสั่งว่า การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา คือ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย การตรัสเช่นนี้ถือเป็นมรณญาณ เป็นลสงบอกให้ทราบว่าพระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพานแล้ว และทรงทราบด้วยพระญาณว่า แม้มหาชนทั่วไปก็ไม่อาจเห็นเมืองเวสาลีอีก เพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน กองทัพของพระเจ้าอชาตศัตรูจะเข้ายึดเมืองเวสาลีเพราะกษัตริย์ลิจฉวีไม่ได้ตั้งมั่นในอาปริหานิยธรรมที่พระพุทธองค์ประทานสำหรับใช้ปกครองร่วมกัน ซึ่งเคยต้านทัพของพระเจ้าอชาตศัตรูไว้ได้ถึง ๒ ครั้ง การทอดพระเนตรครั้งนี้ เรียกว่า "นาคาวโลก" คือการเหลียวมองอย่างพญาช้าง สถานที่นี้มีผู้สร้างเจดีย์เอาไว้เรียกว่า "นาคาวโลกเจดีย์"


๗๐.ปางทรงรับอุทกัง
   พระพุทธรูปปางทรงรับอุทกัง วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา(ตัก) พระหัตถ์ขวาทรงบาตรวางบนพระชานุ(เข่า) เป็นกิริยายื่นบาตรออกรับอุทกัง คือ รับน้ำ

ความเป็นมาของปางทรงรับอุทกัง
  เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนทะ นายจุนทะได้จัดภัตราหารอันประณีตไว้ถวายพร้อมสุกรมัททวะ หลังจากที่เสวยภัตตาหารของนายจุนทะแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงพระประชวรโรคโลหิตปักขัณทิกาพาธ แต่ก็เสด็จไปยังเมืองกุสินารา ระหว่างทางทรงกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงรับสั่งให้พระอานนท์นำน้ำมาถวาย พระอานนท์กราบทูลว่า มีเกวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่มข้ามแม่น้ำไป ทำให้น้ำขุ่นไม่ควรเสวย และเชิญเสด็จไปยังแม่น้ำอีกสายที่อยู่ใกล้ๆ แต่ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปนน้ำมา พระอานนท์ทูลทัดทานถึง ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๓ จึงทำตามพระบัญชา เมื่อพระอานนท์นำบาตรไปตักน้ำมาถวาย น้ำกลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัวเป็นอัศจรรย์ พระพุทธองค์จึงเสวยน้ำนั้น

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
ปางที่ ๖๑-๖๕ปางที่ ๗๑-๗๓
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย