พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๓๖.ปางอุ้มบาตร
   พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอวมีบาตรวางอยู่ที่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง

ความเป็นมาของปางอุ้มบาตร
   หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงเวสสันดรชาดกแล้ว พระประยูรญาติต่างถวายนมัสการทูลลากลับสู่พระราชสถาน แต่ไม่มีใครทูลนิมนต์พระพุทธองค์ให้รับภัตตาหารเช้าเลย โดยเข้าใจเอาเองว่า คงเสด็จไปเสวยภัตตาหารในพระราชนิเวศน์ ครั้นถึงรุ่งเช้า พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปางก่อนเมื่อเสด็จมาประทับ ณ พระนครของพุทธบิดา ได้เสด็จบิณฑบาตเพื่อโปรดมหาชน พระพุทธองค์จึงเสด็จออกบิณฑบาตตามพุทธประเพณี


๓๗.ปางโปรดพุทธบิดา
   พระพุทธรูปปางโปรดพุทธบิดา วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าประคองบาตร พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์

ความเป็นมาของปางโปรดพุทธบิดา
   เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จบิณฑบาตในพระนคร พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นว่าเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติของพระโอรสกษัตริย์ พระพุทธองค์ตรัสอธิบายว่าเป็นพุทธประเพณี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตและที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตต่างก็ดำรงชีพด้วยอาหารบิณฑบาต จากนั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนาอริยวังสิกสูตรแก่พุทธบิดา ความว่า เป็นบรรพชิตไม่ควรประมาทในอาหาร ผู้ประพฤติสุจริตธรรม ย่อมประสบสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต เมื่อจบพระธรรมเทศนา พุทธบิดาก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน และกราบทูลอาราธนา พระพุทธองค์พร้อมพระสงฆ์สาวกให้เสด็จไปรับอาหารบิณฑบาต ณ พระราชนิเวศน์ พระเจ้าสุทโธทนะ บรรลุอรหันผลในเวลาต่อมา


๓๘.ปางรับผลมะม่วง
 
    พระพุทธรูปปางรับผลมะม่วง วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิพระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาถือผลมะม่วง หงายหลังพระหัตถ์ไว้บนพระชานุ ( เข่า )

ความเป็นมาของปางรับผลมะม่วง
    ณ กรุงราชคฤห์ มีเศรษฐีผู้หนึ่งนำบาตรไม้จันทร์แดงไปแขวนไว้สูง ๖๐ ศอก พร้อมประกาศว่า ถ้าพระอรหันต์มีจริง ขอให้แสดงฤทธิ์เหาะมาเอาบาตรนี้ไปเถิด หากพ้น ๗ วัน แล้วไม่มีผู้ใดกระทำได้ ตนจะถือว่ามิได้มีพระอรหันต์ในโลกพระปิณโฑลภารทวาชะได้เหาะไปนำบาตรมา มหาชนทั้งหลายอยากชมปาฏิหาริย์ จึงติดตามมาจนถึงพระเวฬุวันมหาวิหาร เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ จึงตรัสตำหนิพร้อมมีคำสั่งห้ามพระสาวกแสดงปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ประกาศว่าพวกตนจะแสดงปาฏิหาริย์ แข่งกับพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศว่า จะทรงแสดงพระปาฏิหาริย์ ณ คัณฑามพฤกษ์ ( ต้นมะม่วง ) ณ กรุงสาวัตถี พวกเดียรถีย์ จ้างพวกนักเลงโค่นต้นมะม่วงจนหมดสิ้น เว้นแต่ที่ปลูกอยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อ คัณฑะ ได้ถวายผลมะม่วงสุกผลหนึ่งแด่พระพุทธองค์ พระอานนท์ได้นำมะม่วงผลนั้นทำน้ำปานะถวาย


๓๙.ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
    พระพุทธรูปปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) บนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสองวางบนดอกบัวที่รองรับ พระชานุ ( เข่า ) ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) จีบนิ้วพระหัตถ์

ความเป็นมาของปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยน้ำปานะเสร็จ ทรงรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ลงบนปากหลุม เม็ดมะม่วงก็เจริญเติบโตออกผลเต็มต้นเป็นอัศจรรย์ ต้นมะม่วงนั้นมีชื่อว่า คัณฑามพฤกษ์ ตามชื่อของนายคัณฑะ พระพุทธองค์ทรงเนรมิตจงกรมแก้วในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ( อ่านว่า ยะ - มะ - กะ - ปา - ติ - หาน ) หรือการทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่าง ๆ คือ มีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมา จากส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือ มี ๖ สีสลับกัน เมื่อกระทบกับสายน้ำมีแสงสะท้อนสวยงามมาก ทรงเนรมิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงให้พุทธเนรมิตแสดงพระอาการสลับกันกับพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงยืน พระพุทธเนรมิตก็เสด็จจงกรม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจงกรม พระพุทธเนรมิตก็ทรงยืน เมื่อทรงตั้งปัญหาถามพระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้ สลับกันไป พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์สลับกับการแสดงพระธรรมเทศนา พุทธบริษัททั้งหลายเกิดความเลื่อมใสและได้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก


๔๐.ปางโปรดพุทธมารดา์
   พระพุทธรูปปางโปรดพุทธมารดา วัดพระปมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ( ตัก ) บางแบบวางบนพระชานุ ( เข่า ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) จีบนิ้วพระหัตถ์ บางแบบงอนิ้วพระหัตถ์

ความเป็นมาของปางโปรดพุทธมารดา์
   หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา ๓ เดือน เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดาซึ่งไปบังเกิดเป็นเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต เพื่อตอบแทนพระคุณ ท้าวสักกเทวราชมีความปิติยินดี รีบป่าวประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้มาฟังพระธรรมเทศนา ในที่สุดพุทธมารดาได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
 ปางที่ ๓๐-๓๕ ปางที่ ๔๑-๔๕
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย