พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๖.ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
   พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยานั่งสมาธิ มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ ( กระดูก ) และพระนหารุ ( เส้นเอ็น ) ปรากฏ

ความเป็นมาของปางบำเพ็ญทุกรกิริยาิ
   พระบรมโพธิสัตว์ทรงศึกษาจนสำเร็จสมาบัติ ๗ จากสำนักอาฬารดาบสและสมาบัติ ๘ จากสำนักอุทกดาบส อุทกดาบสได้ตั้งพระบรมโพธิสัตว์ไว้ในตำแหน่งอาจารย์เสมอด้วยตนเอง แต่พระบรมโพธิสัตว์เห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาออกจากสำนัก ทรงแสวงหาหนทาง ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจน ไปทั่วพระวรกาย จะลุกขึ้นก็เซล้มลงไปแทบสิ้นพระชนม์


๗.ปางทรงพระสุบิน
   พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน วัดปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย พระพาหา ( ต้นแขน ) ขวาแนบกับพื้น ยกหลังพระหัตถ์ขึ้นแนบพระหนุ ( คาง ) งอนิ้วพระหัตถ์แนบกับพระปราง ( แก้ม ) หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย เป็นกิริยาบรรทมหลับในลักษณะสีหไสยาสน์

ความเป็นมาของปางทรงพระสุบิน
   ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะทรงเห็นว่ามิใช่หนทางแห่งพระโพธิญาณ ทรงเปลี่ยนมาใช้มัชฌิมาปฏิปทา หรือ การปฏิบัติโดยทางสายกลาง จึงเสด็จออกบิณฑบาตดังเดิม ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ เข้าใจว่า บัดนี้ พระบรมโพธิสัตว์ได้ละความเพียรแล้วหันมาบริโภคอาหารดังเดิม ไหนเลยจะพบธรรมวิเศษได้ จึงพากันเดินทางจากไป พระบรมโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตมาจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ขณะบรรทมทรงปัญจมหาสุบิน ( ฝัน ) เป็นบุพนิมิตรมหามงคล ๕ ประการ เมื่อตื่นบรรทมพระบรมโพธิสัตว์ทรงทำนายมหาสุบินนิมิตรด้วยพระองค์เอง ทรงทราบว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงเบิกบานพระทัยเป็นอย่างยิ่ง


๘.ปางรับมธุปายาส
   พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส วัดปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ แบพระหัตถ์ทั้งสองยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยารับถาดข้าวมธุปายาส บางแบบอยู่ในพระอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท

ความเป็นมาของปางรับมธุปายาส
   เช้าวันเพ็ญวิสาขะ หรือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ( ปีระกา ) อันเป็นวันครบรอบพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ของพระบรมโพธิสัตว์ นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง แห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้นำถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาส มาแก้บนต่อรุกขเทวดาที่ต้นไทรใหญ่ ครั้นแลเห็นพระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โคนต้นไทร ทรงรัศมีออกจากพระวรกายแผ่ซ่านไปทั่วปริมณฑล เข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดา จึงนำข้าวมธุปายาสไปถวายพร้อมกับถาดทองคำ พระองค์ทรงแบพระหัตถ์ทั้งสองออกรับถาดข้าวมธุปายาส


๙.ปางเสวยมธุปายาส
   พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาส วัดปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ ประคองถาดมธุปายาส

ความเป็นมาของปางเสวยมธุปายาส
   เมื่อนางสุชาดาทูลลากลับไปแล้ว พระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกจากร่มไทร ทรงถือถาดข้ามธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงพระวรกาย ( อาบน้ำ ) แล้วประทับริมฝั่งแม่น้ำ หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก ทรงแบ่งข้าวมธุปายาส ออกเป็น ๔๙ ส่วน แล้วปั้นเป็นก้อน ๔๙ ก้อน แล้วเสวยจนหมด ถือเป็นอาหารทิพย์ที่จะคุ้มได้ถึง ๔๙ วัน ในการเสวยวิมุตติสุขภายหลังการตรัสรู้


๑๐.ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด
   พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาด วัดปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) คุกพระชานุ ( เข่า ) ทั้งสองกับพื้น พระหัตถ์ซ้ายวางที่พระเพลา ( ตัก ) ข้างซ้าย เป็นอาการค้ำพระวรกายให้ตั้งมั่น ทอดพระเนตรลงต่ำ พระหัตถ์ขวาอยู่ในพระอิริยาบถยื่นถาดไปข้างหน้า

ความเป็นมาของปางเสี่ยงบารมีลอยถาด
   หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำเนรัญชรา พร้อมกับทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำ แม้นว่าไม่ได้สำเร็จสมประสงค์ ขอให้ถาดลอยล่องไปตามกระแสน้ำ" พุทธประวัติกล่าวว่า ถาดนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป จนถึงวังน้ำวนแห่งหนึ่ง จึงจมลงสู่นาคพิภพ ไปกระทบกับถาดสามใบของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์พญานาคราชซึ่งกำลังนอนหลับอยู่ในนาคพิภพได้ยินเสียงถาดกระทบกัน จึงทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลกมนุษย์อีกพระองค์หนึ่งแล้ว ( ในกัปปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าภัทรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๔ ทรงพระนามว่า "พระสมณโคดมพุทธเจ้า" )

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
 ปางที่ ๑-๕ ปางที่ ๑๑-๑๕
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย