พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๑.ปางประสูติ
   ประติมากรรมพุทธประวัติปางประสูตร วัดพรหมวงศาราม กรุงเทพมหานคร พระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาทรงเหนี่ยวกิ่งสาละ พระบรมโพธิสัตว์อยู่อิริยาบถยืน พร้อมด้วยบรรดาข้าราชบริพาร บางแบบมีพระพรหม พระอินทร์ และเหล่าเทวดาล้อมอยู่ด้วย
ความเป็นมาของปางประสูติ
   พระบรมโพธิสัตว์จุติจากดุสิตเทวโลก เสด็จปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่ได้เสด็จกลับไปคลอดที่กรุงเทวหะ ซึ่งเป็นบ้านเกิดตามธรรมเนียม ครั้นเสด็จถึงลุมพินีวันซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวหะ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (วันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) ในเวลาใกล้เที่ยง พระนางก็ประสูติพระราชโอรส ณ โคนต้นสาละ ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ เมื่อประสูติพระราชกุมารก็อยู่ในอิริยาบถยืนหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จย่างพระบาทไป ๗ ก้าว มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ ๗ ดอก แล้วทรงกล่าววาจาอันองอาจว่า "เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้การเกิดใหม่มิได้มี"


๒.ปางมหาภิเนษกรมณ์
   ประติมากรรมพุทธประวัติปางมหาภิเนษกรมณ์ วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ เกาะหลังม้าตามเสด็จ ขาม้าทั้ง ๔ ขา มีท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ประจำอยู่ นำพระองค์เหาะข้ามกำแพงพระนครออกไปด้วยปาฏิหารย์

ความเป็นมาของปางมหาภิเนษกรมณ์
   พระราชกุมาร ทรงพระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์ทรงได้รับคำทำนายจากดาบสและพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพระเวทว่าจะเสด็จออกบรรพชา และตรัสรู้ธรรมเป็นศาสดาเอกของโลก เมื่อทรงเจริญวัย ทรงศึกษาศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการจนสำเร็จ ทรงอภิเษกกับพระนางพิมพา และมีพระโอรสพระนามว่า ราหุล เจ้าชายสิทธัตถะทรงตระหนักถึงทุกข์จากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ซึ่งย่ำยีสรรพสัตว์โดยไม่ยกเว้น จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จหนีออกบรรพชา โดยเสด็จขึ้นหลังม้ากัณฐกะและมีนายฉันนะตามเสด็จ


๓.ปางตัดพระเมาลี
   ประติมากรรมพุทธประวัติปางตัดพระเมาลี (มวยผม) วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนพระแท่นพระหัตถ์ซ้ายทรงรวบพระเมาลีไว้ พระหัตถ์ขวาทรงพระขันค์ทำอาการทรงตัดพระเมาลี มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะอยู่ด้านหลัง

ความเป็นมาของปางตัดพระเมาลี
   เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าพระเมาลีไม่สมควรแก่เพศบรรพชิต จึงทรงตัดออกด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นพระเกศาก็ปรากฏยาวประมาณ ๒ องคุลี ม้วนกลมเป็นทักขิณาวัฏ (เวียนขวา) ทุกๆเส้น และคงอยู่อย่างนั้นตราบถึงดับขันธปรินิพพาน แล้วทรงจับพระเมาลีขว้างขึ้นไปบนอากาศ อธิฐานว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้ ก็ให้พระเมาลี จงตั้งอยู่ในอากาศ อย่าได้ตกลงมา แม้นมิได้ตรัสรู้สมความประสงค์ ขอให้พระเมาลีตกลงสู่พื้นพสุธา" พระเมาลีนั้นได้ประดิษฐานลอยอยู่บนอากาศสูงประมาณ ๑ โยชน์ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) อัญเชิญพระเมาลีไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรคชั้นดาวดึงส์ ฆฏิการพรหมได้นำเครื่องอัฐบริขาร คือสิ่งจำเป็นสำหรับบรรพชิตมาน้อมถวาย แล้วอัญเชิญพระภูษาเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ไปบรรจุไว้ ณ ทุสเจดีย์ในพรหมโลก


๔.ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
   พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวายกขึ้น ตั้งฝ่าพระหัตถ์เสมอพระอุระ ( อก ) เบนฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้าย อันเป็นกิริยาสำรวมจิตอธิษฐานเพศบรรพชิต

ความเป็นมาของปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์จนมาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา จึงเสด็จลงจากหลังม้า ประทับเหนือหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ รับสั่งแก่นายฉันนะว่า พระองคักบรรพชาถือเพศเป็นบรรพชิต ณ ที่นี้ ให้นำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร เจ้าชายสิทธัตถะทรงตั้งพระทัยว่า เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะเสด็จกลับมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติ


๕.ปางปัจจเวกขณะ
   พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะ วัดปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร ที่วางอยู่บนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ ( อก ) ทอดพระเนตรลงต่ำ

ความเป็นมาของปางปัจจเวกขณะ
   หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะ หรือ พระบรมโพธิสัตว์ ได้บรรพชาแล้ว ได้เสด็จไปเสวยสุขจากการบรรพชา ณ ป่ามะม่วงนามว่า อนุปิยอัมพวัน โดยเว้นการเสวยพระกระยาหาร ๗ วัน ด้วยอิ่มในสุขจากการบรรพชา ในวันที่ ๘ ได้เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงราชคฤห์ แล้วเสด็จมาประทับ ณ บัณฑวบรรพต ทอดพระเนตรอาหารซึ่งปะปนกันในบาตรแล้วเสวยไม่ลง เพราะเคยเสวยแต่อาหารที่ประณีต จึงได้เตือนพระองค์เองว่า "บัดนี้เราเป็นบรรพชิต ต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ ไม่มีสิทธิ์เลือกอาหารตามใจชอบ การบริโภคอาหารของผู้แสวงหาสัจธรรมนั้น ก็เพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด ไม่มีจุดประสงค์อื่น นอกจากแสวงหาทางหลุดพ้นเท่านั้น" แล้วจึงเสวยภัตตาหาริ

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
 หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางที่ ๖-๑๐
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย