๒.๑.๓ หลักธรรมเกี่ยวกับพุทธจริยาและพุทธคุณ/ต่อ

 dharma    2 มิ.ย. 2554

ประพฤติผิดในกาม กล่าวเท็จ ดื่มน้ำเมา หรือกระทำอนันตริยกรรม ๑๒๔ แต่บุคคลผู้สำรวมท้อง
ย่อมบรรลุเหตุแห่งคุณธรรม มีการตรัสรู้จตุราริยสัจ ชำนาญในจตุปฏิสัมภิทา อัฏฐสมาบัติ
และฉฬภิญญา บำเพ็ญสมณธรรมอย่างสิ้นเชิง การที่พระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารเสมอ
ขอบบาตรบ้าง หรือยิ่งกว่านั้นบ้าง เพราะพระองค์มีกิจที่ทรงกระทำแล้ว มีกิริยาสำเร็จแล้ว
มีประโยชน์สำเร็จแล้ว มีกาลเป็นที่สุดแล้ว ห้ามกิเลสได้แล้ว เป็นพระสัพพัญญูผู้เป็นเอง
เป็นการตรัสหมายเอาเฉพาะพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น
อิทธิปาทพลทัสสนปัญหา ๑๒๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง อิทธิบาท ๔
ประการ ๑๒๖ สามารถทำให้บุคคลผู้เจริญ กระทำให้มาก มีอายุดำรงอยู่ตลอดกัลป์หนึ่งบ้าง เกิน
กัลป์หนึ่งบ้าง เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน ๑๒๗
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า อิทธิบาท ๔ ประการ อันตถาคตเจริญ กระทำให้มาก
กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสมไว้แล้ว ปรารภดีแล้ว หากตถาคตยัง
ทรงมุ่งหวัง พึงดำรงพระชนม์อยู่ได้กัลป์หนึ่งบ้าง เกินกว่ากัลป์หนึ่งบ้าง ๑๒๘ พระองค์ตรัสอย่าง
นั้น เพราะจะทรงสรรเสริญกำลังแห่งอิทธิบาท ไม่ใช่จะทรงสรรเสริญกำลังของพระองค์
เหมือนพระราชามีม้าอาชาไนยที่มีฝีเท้าเร็ว เชาว์ไวดุจลม เมื่อพระองค์จะทรงอวดกำลังของม้า
อาชาไนย จึงตรัสในท่ามกลางมหาชนว่า ม้าประเสริฐตัวนี้เมื่อต้องการจะเที่ยวไป พึงเที่ยวไป
ตลอดแผ่นดินที่มีน้ำในสาครเป็นที่สุด กลับมาในที่นี้เพียงชั่วพริบตาเดียวเท่านั้น เพื่อแสดง
ความว่องไวของม้าที่มีปรากฏอยู่ ไม่ใช่แสดงถึงความว่องไวของพระองค์ในท่ามกลางมหาชน
อนึ่ง พระพุทธเจ้าไม่มีความต้องการด้วยภพทั้งปวง เพราะทรงพิจารณาเห็นภพ คติ และกำเนิด
ทั้งปวงเสมอด้วยคูถ จึงไม่ทรงอาศัยกำลังแห่งฤทธิ์เพื่อทรงกระทำความยินดี หรือความพอใจ
ในภพทั้งหลายต่อไป
ฐปนียพยากรณปัญหา ๑๒๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงมี
อาจริยมุฏฐิ ๑๓๐ ในธรรมทั้งหลาย ๑๓๑ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาที่
พระมาลุงกยบุตรทูลถาม
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าไม่มีความลับและไม่ปิดบังความรู้เหตุที่พระองค์ไม่ทรง
พยากรณ์ปัญหาของพระมาลุงกยบุตร ไม่ใช่จะทรงกระทำด้วยความไม่รู้ หรือโดยการปิดบัง
ซ่อนเร้นไว้แต่เพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น และเป็นไปเพื่อ
การถกเถียงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้มีอยู่๔ ประการ คือ ๑๓๒
(๑) เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาควรตอบโดยนัยเดียว
(๒) วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรแยกตอบ
(๓) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม
(๔) ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดตอบ
พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาที่ควรงดนั้น (ฐปนียปัญหา) แก่พระ
มาลุงกยบุตร และปัญหานั้นควรงดเพราะเหตุหรือการณ์เพื่อจะแสดงปัญหาไม่มีเพราะฉะนั้น
ปัญหานี้จึงควรงดไว้อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่เปล่งวาจาที่ไม่มีเหตุไม่มีการณ์
ภควโตลาภันตรายปัญหา ๑๓๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พุทธเจ้าทรงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ๑๓๔ เพราะเหตุไร พระองค์เมื่อเสด็จไปบิณฑบาตที่บ้าน
พราหมณ์ชื่อปัญจสาละจึงไม่ได้วัตถุอะไร ๆ
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านพราหมณ์ปัญจสาละ แต่ไม่ได้
วัตถุอะไร ๆ ทรงแต่บาตรเปล่าเสด็จออกจากบ้านนั้น ๑๓๕ เพราะเหตุแห่งมารผู้มีบาปเข้าสิง
พราหมณ์และคฤหบดีจึงทำให้พระองค์ไม่ได้อาหารบิณฑบาต อย่างไรก็ตาม แม้มารจะมีฤทธิ์
ดลใจชาวบ้านไม่ให้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้า แต่ก็ยังมีกำลังวิเศษน้อยกว่ากำลังของ
พระองค์ เพราะอกุศลจะมีกำลังมากกว่ากุศลด้วยเหตุเพียงเท่านั้นก็หาไม่เปรียบเหมือนบุรุษ
จะนำเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าจักรพรรดิแต่ถูกทหารผู้รักษาประตูห้ามไม่ให้เข้าไป
โดยการบังคับและขู่เข็ญ ทำให้เขาเกิดความกลัวต่ออาชญา จึงนำเครื่องบรรณาการกลับไป
พระเจ้าจักรพรรดิจะชื่อว่าเป็นผู้มีกำลังน้อยกว่าทหารผู้รักษาประตูก็หาไม่ ก็อันตรายมีอยู่ ๔
ประการ คือ
(๑) อทิฏฐันตราย อันตรายด้วยความไม่เห็น
(๒) อุททิสสกตันตราย อันตรายกับโภชนะที่บุคคลกระทำไว้แล้วเฉพาะ
(๓) อุปักขตันตราย อันตรายกับวัตถุที่บุคคลเตรียมไว้แล้ว
(๔) ปริโภคันตราย อันตรายในวัตถุเครื่องใช้สอย
มารกระทำอันตรายด้วยความไม่เห็น และไม่ได้กระทำเฉพาะพระพุทธเจ้าพระองค์
เดียวเท่านั้น แม้ชนที่มาในวันนั้นก็ไม่ได้โภชนะเหมือนกัน เพราะถ้าบุคคลจะพึงกระทำ
อันตรายกับเครื่องบริโภคที่บุคคลเตรียมไว้ถวายพระพุทธเจ้าด้วยความริษยา ศีรษะของเขาพึง
แตกออกเป็นร้อยส่วน หรือพันส่วน
สัพพสัตตานังหิตจรณปัญหา ๑๓๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้านำสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลออก เข้าไปตั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์เพราะเหตุไร
พระองค์จึงทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร ๑๓๗ ซึ่งเป็นเหตุทำให้โลหิตอุ่นพุ่งออกจากปากของ
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ผู้กำลังฟังพระสูตรอยู่
อธิบายว่า ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นในกาย จนทำให้โลหิตอุ่นพุ่งออกจากปากของ
ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของพระพุทธเจ้า แต่เกิดขึ้นเพราะการกระทำของ
ภิกษุนั่นเอง ความผิดที่ภิกษุกระทำ คือ การปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย เมื่อพระองค์จะทรงแสดง
ธรรมไม่ทรงกระทำความเอ็นดูและความโกรธเคือง เพราะทรงพ้นจากความเอ็นดูและความ
โกรธเคือง บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในธรรมย่อมตรัสรู้ได้ส่วนผู้ปฏิบัติผิดย่อมตกไป ไม่สามารถที่
จะบรรลุมรรคผล เปรียบเหมือนบุรุษสั่นต้นมะม่วง หรือต้นชมพู่ผลไม้ที่มีขั้วมั่นคงย่อมไม่
หลุดจากต้น ส่วนผลไม้ที่มีโคนก้านเน่า มีขั้วเปราะบางก็จะร่วงหล่นจากต้นไป หากพระองค์
ทรงคำนึงถึงความสูญเสียบริษัท ย่อมไม่อาจที่จะยังสัตว์ให้ตรัสรู้ได้เพราะฉะนั้น บุคคลผู้
สมควรจะตรัสรู้ย่อมตรัสรู้ด้วยอมตธรรม ส่วนบุคคลผู้ไม่สมควรก็ย่อมตกไปจากอมตธรรม
เสฏฐธัมมปัญหา ๑๓๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด
เพราะเหตุไร คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันจึงกราบไหว้ภิกษุสามเณรที่ยังเป็นปุถุชน
อธิบายว่า โลกุตรธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ๑๓๙
คฤหัสถ์แม้เป็นพระโสดาบันก็ต้องกราบไหว้ ลุกขึ้นยืนรับภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชน
เพราะภิกษุสามเณรประกอบด้วยสมณกรณธรรม ๒๐ ประการ ๑๔๐ และเพศอันอุดม ๒
ประการ ๑๔๑ อีกอย่างหนึ่ง ภูมิของภิกษุเป็นภูมิใหญ่ไพบูลย์ ไม่มีภูมิอื่นเสมอโดยปริยาย
คฤหัสถ์ผู้เป็นโสดาบันเมื่อบรรลุพระอรหัตย่อมมีคติ๒ อย่าง คือ (๑) จะต้องปรินิพพาน (๒)
จะต้องบวชเป็นภิกษุในวันนั้น
ตถาคตัสสอเภชชปริสปัญหา ๑๔๒ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้ามี
บริษัทที่ไม่แตกแยกกัน ๑๔๓ เพราะเหตุไร ภิกษุ๕๐๐ รูป จึงถูกพระเทวทัตทำลายคราวเดียวกัน
อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามีบริษัทที่พร้อมเพรียงกัน ใคร ๆ ไม่สามารถที่จะทำลายได้
ก็ภิกษุ๕๐๐ รูป ถูกพระเทวทัตทำลาย ๑๔๔ โดยการแยกหมู่แยกคณะออกไปต่างหาก เหตุนั้น
เกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งเหตุเป็นเครื่องทำลาย เพราะเมื่อเหตุเป็นเครื่องทำลายมีอยู่ ใคร ๆ ก็อาจที่
จะถูกทำลายได้ทั้งนั้น แม้มารดาบิดาย่อมแตกกันกับบุตรธิดา หรือบุตรธิดาย่อมแตกกันกับ
มารดาบิดาได้ แม้พี่ชายน้องชายย่อมแตกกันกับพี่สาวน้องสาว หรือพี่สาวน้องสาวย่อมแตก
กันกับพี่ชายน้องชายได้แม้แต่เรือที่ต่อขึ้นด้วยไม้ต่าง ๆ ก็ย่อมแตกกันด้วยกำลังแห่งคลื่นทะเล
ที่ซัดเข้าใส่เพราะฉะนั้น การจะให้บริษัทของพระพุทธเจ้าถูกบุคคลอื่นทำลายนั้น ไม่ใช่ความ
ประสงค์ของวิญญูชน ไม่ใช่การนึกน้อมพระทัยของพระพุทธเจ้า และไม่ใช่ความพอใจของ
บัณฑิตที่ต้องการจะให้เป็นเช่นนั้น
ภิกขุคณอเปกขปัญหา ๑๔๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงมี
พระประสงค์จะเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือให้ภิกษุสงฆ์ยึดพระองค์เท่านั้นเป็นหลัก ๑๔๖
เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า พระศรีอาริยเมตไตรยจักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
และจะทรงบริหารสงฆ์หลายพันรูป เหมือนตถาคตทรงบริหารสงฆ์หลายร้อยรูปในบัดนี้ ๑๔๗
อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงดำเนินแบบอย่างตามบริษัท มีแต่บริษัทที่ดำเนิน
รอยตามพระองค์ แม้พระวาจาของพระองค์ที่ตรัสว่าเรา ว่าของเรา ก็เป็นแต่เพียงการสมมติ
เท่านั้น เพราะวาจานี้มิใช่เป็นพระวาจาโดยปรมัตถ์พระพุทธองค์ทรงปราศจากความรัก ความ
เยื่อใยโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะไม่ทรงมีความยึดถือว่าเรา ว่าของเรา แต่ก็ยัง
ทรงมีความยึดเหนี่ยวในสรรพสัตว์ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ แต่ก็ไม่ได้เพ่ง
พิจารณาว่าสัตว์เหล่านี้เป็นของเรา เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง
โดยแท้แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงคำนึงว่าสัตว์เหล่านี้เป็นของเราวัตถุคุยหนิทัสสนปัญหา ๑๔๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง การสำรวมกาย วาจา
และใจ เป็นการดีการสำรวมในที่ทั้งปวงก็เป็นการดี ๑๔๙ เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงทรง
แสดงพระคุยหฐาน คือ อวัยวะอันเร้นอยู่ในฝักแก่เสลพราหมณ์ ๑๕๐ ในท่ามกลางบริษัท ๔
อธิบายว่า บุคคลผู้เกิดความสงสัยในพระพุทธเจ้า พระองค์ก็จะทรงแสดง
พระวรกายที่มีส่วนเปรียบด้วยอวัยวะนั้นด้วยฤทธิ์เพื่อจะให้เขาได้รับรู้และหายสงสัย บุคคลที่
อยู่ในที่นั้น จะไม่มีใครเห็นอวัยวะอันเร้นอยู่ในฝักของพระองค์เสลพราหมณ์เท่านั้นที่
สามารถมองเห็นได้ด้วยพุทธปาฏิหาริย์ที่ทรงแสดงพระฉายด้วยฤทธิ์เปรียบเหมือนบุรุษผู้
เจ็บป่วยบางคนมีญาติมิตรมาแวดล้อมเฝ้าดูอาการ แม้เขาจะได้รับทุกขเวทนาสักเพียงใด แต่
ญาติมิตรก็มองไม่เห็นเวทนาของเขา เขาเสวยทุกขเวทนาอยู่แต่เพียงผู้เดียว พระพุทธเจ้าไม่ได้
ทรงแสดงอวัยวะที่จะพึงซ่อนเร้นด้วยอวัยวะจริง แต่ทรงแสดงพระฉายด้วยฤทธิ์เพื่อเป็นการ
โปรดเสลพราหมณ์ให้ได้บรรลุธรรม เพราะสัตว์ที่ควรตรัสรู้ จะตรัสรู้ได้ด้วยอุบายที่พระองค์
ทรงประกอบขึ้น
ตถาคตผรุสวาจานัตถีติปัญหา ๑๕๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเป็นผู้
มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ไม่ทรงมีวจีทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาโดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นอย่ารู้
วจีทุจริตของเรา ๑๕๒ เพราะเหตุไร เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะความผิดของ
พระสุทิน จึงทรงร้องเรียกด้วยวาทะว่าโมฆบุรุษ ซึ่งเป็นวาจาหยาบ ๑๕๓
อธิบายว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงร้องเรียกพระสุทินด้วยวาทะโมฆบุรุษ พระองค์
ไม่ได้ทรงร้องเรียกด้วยจิตอันโทษประทุษร้าย และไม่ได้ทรงร้องเรียกด้วยเหตุคิดจะข่ม
หรือกระทำการอวดอ้างอำนาจ แต่ทรงร้องเรียกด้วยลักษณะตามที่ปรากฏเป็นจริง คือ บุคคลผู้
ไม่อาจตรัสรู้อริยสัจ ๔ ในอัตภาพนี้ ความเป็นบุรุษของเขาก็ชื่อว่าเป็นสภาพว่างเปล่า หรือเขา
สนใจที่จะกระทำแต่กิจอย่างอื่นให้สำเร็จ โดยไม่สนใจที่จะนำตนเองให้พ้นจากความทุกข์
เพราะฉะนั้น กิริยาที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำย่อมไม่เป็นกิริยาเสียหาย และเมื่อจะทรงกระทำก็
ทรงกระทำด้วยอาการที่เหมาะสม มนุษย์และเทวดาย่อมละอายต่อพระองค์อย่างยิ่ง ด้วยการฟัง
ด้วยการเห็น ด้วยการเข้าไปหา และด้วยการนั่งใกล้ที่ยิ่งขึ้นไปกว่าการได้เห็น วาจาของ
พระองค์แม้จะหยาบ แต่ก็มีประโยชน์ประกอบด้วยพระกรุณา และยังเป็นเครื่องละกิเลส
เหมือนยาที่มีรสเฝื่อนขมบุคคลรับประทานแล้ว ย่อมกำจัดความเจ็บป่วยของสัตว์ได้
วัณณภณนปัญหา ๑๕๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เมื่อบุคคลพวกอื่นกล่าวยกย่อง
พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สาวกไม่ควรปลาบปลื้มใจ หรือกระหยิ่มใจ ๑๕๕
เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญพระองค์ตามความเป็นจริง
พระองค์ทรงดีพระทัย และยังตรัสระบุพระคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปอีก
อธิบายว่า เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงสภาวะที่มีลักษณะพร้อมทั้งรส ตามความ
เป็นจริงที่ไม่คลาดเคลื่อน ที่มีความเป็นของจริงแท้แห่งพระธรรม จึงตรัสก่อนว่า เมื่อบุคคล
อื่นกล่าวยกย่องพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ภิกษุไม่ควรปลาบปลื้มใจ หรือกระหยิ่มใจ
และตรัสอีกว่า เมื่อเสลพราหมณ์กล่าวสรรเสริญพระคุณตามความเป็นจริง พระองค์ยังตรัสย้ำ
ระบุพุทธคุณแก่เสลพราหมณ์ยิ่งขึ้นไปอีกว่า พระองค์เป็นพระราชาอยู่แล้ว คือ เป็นพระธรรม
ราชาผู้ยอดเยี่ยม ยังจักรที่ไม่มีใคร ๆ หมุนไปได้ ให้หมุนไปได้ ๑๕๖ การที่พระองค์ตรัสอย่างนี้
ไม่ได้ตรัสเพราะเหตุแห่งลาภ เพราะเหตุแห่งยศ เพราะเหตุแห่งฝักฝ่าย หรือเพราะความเป็นผู้
ต้องการอันเตวาสิก แต่ตรัสด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยความกรุณา และด้วยอำนาจแห่ง
ประโยชน์เกื้อกูลว่า เสลพราหมณ์และมาณพ ๓๐๐ คน จักตรัสรู้ธรรมโดยอุบายอย่างนี้
โพธิสัตตัสสธัมมตาปัญหา ๑๕๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระราชมารดา
พระราชบิดาของพระโพธิสัตว์แน่นอนแล้ว การตรัสรู้ก็แน่นอน อัครสาวกก็แน่นอน พระราช
โอรสก็แน่นอน อุปัฏฐากก็แน่นอน เพราะเหตุไร พระโพธิสัตว์จึงทรงเลือกมหาวิโลกนะ ๘
ประการ ๑๕๘ ก่อนที่จะประสูติ
อธิบายว่า การที่พระโพธิสัตว์ทรงเลือกมหาวิโลกนะ ๘ ประการ ถือว่าเป็นธรรมดา
ของพระโพธิสัตว์เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลจะไปยังสถานที่ ๆ ไม่เคยไปไม่เคยมา ก็ต้องตรวจดู
ก่อนแล้วจึงไป หรือบุคคลจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่เคยกระทำมาก่อน ก็ต้อง
พิจารณาก่อนแล้วจึงทำ เมื่อพระโพธิสัตว์จะหยั่งลงสู่ตระกูล ก็ต้องพิจารณาดูก่อนว่า ตระกูลนี้
เป็นตระกูลกษัตริย์ หรือเป็นตระกูลพราหมณ์
โลมกัสสปปัญหา ๑๕๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า
เสวยพระชาติเป็นมนุษย์เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ๑๖๐ เพราะเหตุไร เมื่อคราวที่พระองค์
เสวยพระชาติเป็นโลมกัสสปฤาษี ๑๖๑ เห็นนางจันทวดีกัญญา จึงฆ่าสัตว์เป็นจำนวนมากเพื่อบูชา
มหายัญ
อธิบายว่า โลมกัสสปฤาษีเป็นผู้มีสัญญาวิปลาส ฆ่าสัตว์เพื่อบูชามหายัญด้วยอำนาจ
แห่งราคะ ไม่ได้มีเจตนาฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นปกติก็คนที่ฆ่าสัตว์เป็นปกติมีอยู่๘ จำพวก คือ
(๑) คนกำหนัดย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งราคะ
(๒) คนโกรธเคืองย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งโทสะ
(๓) คนหลงย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งโมหะ
(๔) คนถือตัวย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งมานะ
(๕) คนโลภย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งความโลภะ
(๖) คนขาดแคลนทรัพย์ย่อมฆ่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพ
(๗) คนพาลย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งความไม่รู้
(๘) พระราชาย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย
บาปที่บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านกระทำแล้ว ย่อมไม่มีโทษมากทั้งในปัจจุบันและใน
สัมปรายภพ คนบ้าที่กระทำความผิดจะต้องโทษประหารชีวิต โทษนั้นก็จะเหลือเพียงแค่ถูก
โบยและถูกเนรเทศเท่านั้น การถูกโบยและถูกเนรเทศ ถือว่าเป็นโทษของคนบ้า เพราะเหตุนั้น
คนบ้าที่กระทำความผิดจึงไม่มีโทษ เป็นผู้ที่ยังพอแก้ไขได้ต่อไป โลมกัสสปฤาษีมีความสำคัญ
ผิด มีจิตฟุ้งซ่านกำหนัดแล้ว พร้อมทั้งได้เห็นนางราชกัญญาชื่อจันทวดีจึงทำให้สามารถฆ่า
สัตว์บูชามหายัญด้วยจิตฟุ้งซ่านและมัวเมา ต่อมาภายหลังโลมกัสสปฤาษีกลับได้สติมีจิตเป็น
ปกติตามเดิม จึงออกบวชยังอภิญญาให้เกิด เป็นผู้เข้าสู่พรหมโลกในกาลนั้น
ฉัททันตโชติปาลอารัพภปัญหา ๑๖๒ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระโพธิสัตว์
เสวยพระชาติเป็นพญาช้างชื่อฉัททันต์จับนายพรานช้างด้วยหมายใจว่า เราจักฆ่ามัน พอเห็นผ้า
กาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ทั้ง ๆ ที่ได้รับทุกขเวทนา แต่ก็ยังเกิดสัญญาขึ้นว่า
บุคคลผู้ทรงธงชัยแห่งพระอรหันต์ สัตบุรุษไม่ควรฆ่า ๑๖๓ เพราะเหตุไร พระโพธิสัตว์
เมื่อเสวยพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ จึงด่าบริภาษพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยวาจา
หยาบคาย ๑๖๔
อธิบายว่า การด่าและการบริภาษของโชติปาลมาณพ เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งชาติ
และตระกูล เพราะเขาเกิดในตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
มารดาบิดาญาติพี่น้องเป็นผู้นับถือพระพรหม พราหมณ์เท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐสูงสุด จึงเกลียด
ชังบรรพชิต ต่อมาโชติปาลมาณพเข้าไปนับถือพระพุทธเจ้า รู้ทั่วถึงคุณของพระองค์เป็นราว
กะเด็กผู้บวชในพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้า ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้วเข้าสู่
พรหมโลก
ภควโตราชปัญหา ๑๖๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเป็นพราหมณ์
ผู้ควรแก่การขอ ๑๖๖ เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสกะเสลพราหมณ์ว่า พระองค์เป็นพระราชา ๑๖๗
อธิบายว่า ธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลทั้งปวงพระพุทธเจ้าทรงลอย ทรงละ ทรงเลิก
ถอนแล้ว ธรรมเหล่านั้นถึงความฉิบหาย สิ้นไป ดับไป เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้รับ
การขนานพระนามว่าพราหมณ์ ก็พราหมณ์ออกจากภพและคติทั้งปวง พ้นจากมลทิน
และละออง เป็นผู้เลิศประเสริฐสุด แม้พระพุทธเจ้าก็ออกจากภพและคติทั้งปวง พ้นจากมลทิน
คือกิเลส เป็นผู้ประเสริฐสูงสุด คำว่า พราหมณ์ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พระนามที่พระราชบิดา
พระราชมารดา หรือบุคคลอื่นตั้งให้ แต่เป็นพระนามที่มีในที่สุดแห่งวิโมกข์ เพราะพระนาม
นั้น ปรากฏเกิดขึ้นพร้อมกับการขจัดมารและเสนาแห่งมาร การบรรลุสัพพัญญุตญาณ
ที่โคนแห่งไม้โพธิ์ ส่วนบุคคลผู้ให้กระทำความเป็นพระราชาสั่งสอนคนทั้งโลกชื่อว่า
พระราชา พระพุทธเจ้าทรงให้กระทำความเป็นพระราชาโดยธรรมในหมื่นโลกธาตุ สั่งสอน
โลกกับทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
จึงขนานพระพระพุทธจ้าว่า พระราชา
ทวินนังพุทธานังโลเกอุปปัชชนปัญหา ๑๖๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เป็นไป
ไม่ได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติพร้อมกันในโลกธาตุ
เดียวกัน ๑๖๙
อธิบายว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงธรรมมีในฝักฝ่ายแห่ง
ปัญญาเครื่องตรัสรู้๓๗ ประการ ๑๗๐ เมื่อตรัสก็ตรัสอริยสัจ ๔ เมื่อให้ศึกษาก็ให้ศึกษาใน
ไตรสิกขา เมื่อพร่ำสอนก็พร่ำสอนเพื่อการปฏิบัติในความไม่ประมาท หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมทรง
พระคุณของพระพุทธเจ้าไว้ได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองจะพึง
เสด็จอุบัติ หมื่นโลกธาตุนี้ก็ไม่อาจจะทรงไว้ได้ พึงขยับเขยื้อน หวั่นไหว เอนไป ทรุดลง
จนไม่สามารถจะทรงอยู่ได้ อนึ่ง ถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในขณะเดียวกัน
ความวิวาทจะพึงเกิดขึ้นแก่บริษัทว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา จะทำ
ให้บริษัทแตกออกเป็น ๒ ฝ่าย และถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในคราวเดียวกัน
ก็จะเป็นการขัดแย้งกันกับคำที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศ เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด วิเศษที่สุด
สูงสุด ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีผู้เปรียบได้ ไม่มีผู้ทัดเทียม เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้า
เสด็จอุบัติในโลกพระองค์เดียว จึงเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะความที่
พระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูเป็นคุณอันยิ่งใหญ่
เวสสันตรปัญหา ๑๗๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์
พระราชทานพระโอรสและพระเทวีเหมือนกันหมด หรือว่าพระเวสสันดรพระองค์เดียว
เท่านั้นที่พระราชทาน และเมื่อจะพระราชทาน ได้พระราชทานโดยความเห็นชอบของ
พระโอรสและพระเทวีหรือไม่
อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์พระราชทานพระโอรสและพระเทวีเหมือนกัน
หมดทุกพระองค์ ไม่ใช่แต่พระเวสสันดรเท่านั้น และเมื่อพระเวสสันดรพระราชทาน พระเทวี
ก็ทรงยินยอมตามพระเวสสันดร ส่วนพระโอรสและพระธิดาทั้งสองคร่ำครวญอยู่ เพราะความ
ที่ยังเล็กไม่รู้เดียงสา ถ้าทั้งสองพระองค์จะพึงรู้ว่าเป็นประโยชน์ก็จะอนุโมทนา และจะไม่ทรง
คร่ำครวญ พระโพธิสัตว์ทรงกระทำกิจที่ทำได้ยากอย่างยิ่งอย่างนี้ จึงทำให้กิตติศัพท์ของ
พระองค์ฟุ้งขจรไปในหมื่นโลกธาตุ เหล่าเทวดาและมนุษย์ ครุฑ นาค ยักษ์ ต่างสรรเสริญใน
ภพของตนโดยสืบทอดกันมา แต่เมื่อกิตติศัพท์ของพระโพธิสัตว์สืบทอดมาถึงในยุคสมัยของ
พวกเราในปัจจุบัน พวกเราก็สรรเสริญพระองค์เชิงค่อนขอดว่า การบริจาคพระโอรสและ
พระเทวีเป็นสิ่งที่พระโพธิสัตว์ได้พระราชทานโดยชอบ หรือพระราชทานโดยมิชอบ
พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีปัญญาละเอียด สามารถรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง แสดงให้เห็นถึง
คุณธรรม ๑๐ ประการ คือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่โลภ
(๒) ความเป็นผู้ไม่มีอาลัย
(๓) การบริจาค
(๔) การละกิเลส
(๕) ความเป็นผู้ไม่เวียนมาอีก
(๖) ความเป็นผู้สุขุม
(๗) ความเป็นผู้ใหญ่
(๘) ความเป็นผู้อันบุคคลรู้ตามได้โดยยาก
(๙) ความเป็นผู้อันบุคคลได้โดยยาก
(๑๐) ความเป็นผู้มีธรรมรู้แล้วหาบุคคลอื่นผู้เช่นกับด้วยพระองค์ไม่ได้
บัณฑิตยกย่องสรรเสริญพระเวสสันดร ที่ทรงบริจาคทานอันยิ่งในหมื่นโลกธาตุ
ซึ่งทำให้พระองค์ตรัสรู้และเป็นผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลกในกาลบัดนี้ ก็เมื่อบุคคลจะให้
ทานควรพิจารณาก่อนแล้วจึงค่อยให้แก่พระทักขิไณยบุคคล แต่ยังมีทานบางอย่างที่จัดว่า
ไม่เป็นทานในโลกนี้ ๑๗๒ และบุคคลผู้ให้ทานเหล่านี้จักไปสู่อบายภูมิ อีกอย่างหนึ่ง
พระเวสสันดรทรงสละพระโอรสและพระธิดาทั้งสองแก่พราหมณ์ ด้วยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์๒ ประการ คือ (๑) หนทางแห่งทานของเราจักไม่เสื่อมสูญ เมื่อลูกน้อยทั้งสองถึง
ความลำบากด้วยรากไม้ผลไม้ในป่า พระอัยกาจักทรงเปลื้องเหตุแห่งความลำบากนี้
(๒) พระองค์ทรงทราบดีว่า ไม่มีใครที่จะใช้งานทารกทั้งสองเยี่ยงทาสได้และพระอัยกา
จักทรงไถ่ทารกทั้งสองนี้ไว้ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระเวสสันดรก็จักกลับเข้าสู่เมืองตามเดิม
ทุกกรการิกปัญหา ๑๗๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ทรง
กระทำกิจที่ทำได้ยากเหมือนกันหมด หรือว่าพระโคดมโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้น ที่ทรง
กระทำกิจที่ทำได้ยาก
อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ไม่มีกิจที่ทรงกระทำได้ยาก พระโคดม
โพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงกระทำกิจที่ทำได้ยาก เพราะความมีประมาณต่างกัน
ระหว่างพระโพธิสัตว์กับพระโพธิสัตว์ย่อมมีโดยเหตุ๔ ประการ คือ
(๑) กุลเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งตระกูล
(๒) ปธานเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งการบำเพ็ญเพียร
(๓) อายุเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งอายุ
(๔) ปมาณเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งความประมาณ
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่มีความมีประมาณต่างกันในเพราะรูป ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จตุเวสารัชชญาณ ๑๗๔ ทศพลญาณ ๑๗๕ อสาธารณญาณ ๖ ๑๗๖
พุทธญาณ ๑๔ ๑๗๗ และพุทธคุณทั้งสิ้น เพราะทุกพระองค์เป็นผู้เสมอเหมือนกันโดยพุทธธรรม
เหตุที่พระโคดมโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญทุกกรกิริยา ตั้งแต่การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์จนถึง
การอบรมพระญาณให้มีความแก่กล้า โดยที่ไม่ต้องรอให้พระญาณแก่กล้าก่อนแล้วจึงเสด็จ
ออกมหาภิเนษกรมณ์ เพราะทรงพิจารณาเห็นเรือน คือ สตรีเป็นของวิปริตจึงทำให้เกิดความ
เดือดร้อนพระทัย อีกทั้งเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารคิดจะมาบรรเทาความไม่สบายพระทัยของ
พระองค์ว่า ท่านอย่ากระสันขึ้นเลย ในวันที่เจ็ดแต่วันนี้ จักรรัตนะอันเป็นทิพย์จักปรากฏ
แก่ท่าน คำของเทวดาแทนที่จะบรรเทาความกระสันวุ่นวายพระทัย กลับทำให้พระองค์สลด
พระทัยยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่กำลังลุกโชนอยู่ ถูกเติมเข้าไปด้วยเชื้อเพลิง คือ
ไม้แห้ง ยิ่งลุกโพลงมากขึ้น เพราะเหตุนั้น พระโคดมโพธิสัตว์จึงทรงกระทำกิจที่ทำได้ยาก
อนุมานปัญหา ๑๗๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้ามีอยู่จริงหรือ
อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง แม้คนในปัจจุบันจะไม่เคยเห็นพระองค์หรือ
อาจารย์ของคนเหล่านั้นจะไม่เคยเห็น แต่ก็ไม่เป็นเหตุทำให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง
เหตุที่ทำให้บุคคลเชื่อแน่ว่าพระองค์มีอยู่จริง เพราะเครื่องพุทธบริโภคทั้งหลายที่พระองค์ผู้
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคยใช้สอยมีอยู่ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์๗ อริยมรรค ๘ เพราะฉะนั้น โลกพร้อมทั้งเทวโลก
จึงเชื่อแน่ว่าพระองค์มีอยู่จริง บุคคลพึงทราบโดยเหตุโดยปัจจัย โดยนัย โดยอนุมานนี้
เปรียบเหมือนปฐมบรมมหากษัตริย์ของราชวงศ์มีอยู่จริง แม้พระมหากษัตริย์ในปัจจุบันจะไม่
เคยทอดพระเนตร หรือปุโรหิต เสนาบดี อำมาตย์ผู้วินิจฉัยจะไม่เคยเห็น แต่ก็ไม่ทำให้เชื่อว่า
ปฐมบรมมหากษัตริย์นั้นไม่มีอยู่จริง เพราะเครื่องราชูปโภคของปฐมบรมกษัตริย์ ที่ทรงเคยใช้
สอยยังปรากฏอยู่ คือ เศวตฉัตร มงกุฎ ฉลองพระบาท วาลวีชนี พระขรรค์แก้ว จึงเชื่อแน่ว่า
ปฐมบรมกษัตริย์นั้นมีอยู่จริง โดยการอนุมานอย่างนี้จากการศึกษาผู้วิจัยได้พบว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง ซึ่งปรากฏตามหลักฐานเป็น
เครื่องพิสูจน์หลายอย่าง ตามเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคล พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่มีลักษณะ
พิเศษเหนือกว่าบุคคลธรรมดา อันเกิดจากการบำเพ็ญพระบารมีเป็นเวลาตั้ง ๔ อสงไขยยิ่งด้วย
แสนกัลป์จึงทำให้พระองค์มีพระลักษณะไม่เหมือนทั้งพระราชบิดาและพระราชมารดา
พระพุทธเจ้าทรงประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อต้องการยังประโยชน์เกื้อกูล
ให้เกิดขึ้นแก่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์แม้จะถูกบุคคลภายนอก
พระพุทธศาสนามุ่งทำลายและทำร้าย ก็ไม่ทรงท้อพระทัยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
กลับทำให้พระคุณของพระองค์ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่มหาชน และเป็นการเพิ่มศรัทธา
ปสาทะในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เมื่อมหาชนหมดความสงสัยในพุทธจริยา ย่อมเชื่อมั่น
ในพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และมหากรุณาคุณ ปุถุชนคนมีปัญญาเบาบางอาจคิดว่า
พุทธจริยาบางอย่างไม่สอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ แต่เมื่อพิจารณาใคร่ครวญ
ด้วยเหตุผลอย่างดีแล้ว ย่อมรู้ว่าเป็นการยังประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นกับมหาชนโดยแท้
หลักธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ทรงแสดงไว้ เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า
พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการสมมติเพื่อให้คนเชื่อเท่านั้น พระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาที่ทนต่อการพิสูจน์มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ปัจจุบันก็ยังมีการพิสูจน์กันอยู่
ตลอดเวลา เป็นการพิสูจน์ด้วยการศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติธรรม ผลของการศึกษา
เล่าเรียนและปฏิบัติเป็นอย่างไร บุคคลผู้ที่ผ่านวิธีการดังกล่าว ก็คงจะได้รับรู้ถึงผลเป็นอย่างดี
พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดงและบัญญัติไว้ถือว่าเป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา
แทนพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสกะพระอานนท์ว่า พวกเธออย่าพึงเห็นอย่างนี้ว่า ปาพจน์ ๑๗๙
มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไปแล้ว ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ๑๘๐ นี้เป็นเครื่อง
แสดงให้เห็นว่าพระศาสดายังคงปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้   


ที่มา : พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)

DT011129

dharma

2 มิ.ย. 2554
 เปิดอ่านหน้านี้  5321 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย