๒.๑.๓ หลักธรรมเกี่ยวกับพุทธจริยาและพุทธคุณ

 dharma    2 มิ.ย. 2554

พุทธอัตถินัตถิภาวปัญหา ๗๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง
หรือไม่
อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง แม้ตัวเราและบุคคลอื่นจะไม่เคยเห็น แต่มีเหตุที่
สามารถเป็นเครื่องพิสูจน์คือ โลกุตรธรรม ๙ ประการ ๗๔ ซึ่งเป็นธรรมขั้นสูงสุดพ้นวิสัยที่คน
ธรรมดาสามัญจะพึงคิดเห็นได้เอง บุคคลผู้ที่มีบารมีอันเต็มเปี่ยม และมีสติปัญญาแก่กล้า
เท่านั้น จึงจะสามารถตรัสรู้ธรรมเหล่านั้นได้ เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว นำเอาธรรมเหล่านั้นมา
ประกาศเผยแผ่ให้พุทธบริษัทได้รู้แจ้งเห็นจริงตาม จึงเป็นเครื่องยืนยันว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง
เปรียบเหมือนแม่น้ำอูหานที ๗๕ ที่ป่าหิมพานต์แม้ตัวบุคคลและบรรพบุรุษของเขาจะไม่เคยเห็น
แต่แม่น้ำก็มีอยู่จริง
พุทธานุตตรภาวปัญหา ๗๖ พระนาคเสนตอบปัญหาเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะยิ่ง
เกินกว่าพระองค์
อธิบายว่า แม้บุคคลผู้ไม่เคยพบเห็นพระพุทธเจ้า แต่เมื่อฟังคำสั่งสอนของพระองค์
หรือพบเห็นพระพุทธสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และที่ปรินิพพานแล้ว ก็ทำให้ได้รับความสุข
กายสุขใจ จึงสามารถรู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง เหมือนคนที่ยังไม่เคย
เห็นทะเล เมื่อมีคนพูดถึงทะเลก็จะรู้สึกตรงกันว่า ทะเลมีความกว้างใหญ่ไพศาลสุดที่จะ
พรรณนา ยากที่จะหยั่งถึง เพราะแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ สาย คือ (๑) คงคา (๒) ยมุนา (๓) อจิรวดี
(๔) สรภู(๕) มหี ย่อมไหลไปสู่มหาสมุทรอย่างไม่ขาดสาย ทำให้มหาสมุทรไม่พร่องหรือเต็ม
ขึ้นกว่าเก่า
พุทธานุตตรภาวชานนปัญหา ๗๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลอื่นจะรู้
หรือไม่ว่า ไม่มีใครยิ่งเกินกว่าพระพุทธเจ้า
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงเปิดเผยธรรม ที่กระทำให้พระองค์เป็นผู้เลิศเป็นผู้
ประเสริฐที่สุด ให้เป็นแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติตาม และผู้ที่ได้พบเห็นพระพุทธองค์ผู้ทรง
พุทธคุณ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมจริง เรื่องเคยมีมาแล้วว่า
พระติสสเถระเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ท่านเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในครั้งนั้น แม้ท่าน
มรณภาพไปนานแล้ว แต่กิตติศัพท์ของท่านยังคงปรากฏอยู่ เพราะลายมือที่ปรากฏอยู่ใน
หนังสือนั่นเอง ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะว่าพระธรรมเป็นสิ่งที่
พระองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
พุทธนิทัสสนปัญหา ๗๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เมื่อพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง
พระองค์ประทับอยู่ที่ไหนอธิบายว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่า
พระองค์ประทับอยู่ที่นี้หรือที่นั้น เหมือนเปลวแห่งกองไฟใหญ่ซึ่งลุกโพลงอยู่แล้วดับไป
ไม่สามารถชี้ได้ว่าเปลวไฟนั้นอยู่ที่นี้หรือที่นั้น เพราะเปลวไฟดับไปแล้ว ถึงความไม่มีบัญญัติ
พระพุทธองค์ทรงมีอยู่จริง แต่เพราะพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ จึงไม่สามารถชี้ได้ว่าประทับอยู่ที่ไหน ถึงอย่างนั้น ก็สามารถชี้ได้ด้วยธรรมกาย ๗๙ ซึ่งเป็น
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
ทวัตติงสมหาปุริสลักขณปัญหา ๘๐ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรง
ประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ๘๑ และรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ๘๒
จริงหรือไม่
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ รุ่งเรือง
ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดุจทองคำ มีพระรัศมีแผ่ออกจาก
พระวรกายประมาณวาหนึ่ง พระองค์ทรงมีพระลักษณะไม่เหมือนพระพระราชบิดาและ
พระราชมารดา เพราะเกิดจากบุญบารมีที่พระองค์ทรงอบรมสั่งสมมาตั้งแต่ในอดีต
แม้ธรรมดาบุตรจะต้องมีรูปร่างหน้าตาคล้ายบิดามารดาคนใดคนหนึ่ง หรือคล้ายทั้งสองคน
แต่พระพุทธเจ้าเป็นมหาบุรุษ เป็นบุคคลประเสริฐที่สุดในโลก จึงไม่จำเป็นต้องมีพระลักษณะ
คล้ายพระราชบิดาหรือพระราชมารดา เหมือนบัวที่เกิดจากเปือกตมแช่อยู่ในน้ำ ก็ไม่
จำเป็นต้องมีสีมีกลิ่น และมีรส เหมือนกับเปือกตมและน้ำที่บัวได้อาศัยเกิดขึ้นมา
พรหมจารีปัญหา ๘๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงเป็นพรหมจารี
แสดงว่าพระองค์ทรงเป็นศิษย์ของพระพรหมหรือไม่
อธิบายว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติอย่างพรหม ไม่ได้แสดงว่าพระองค์ทรง
เป็นศิษย์ของพรหม แต่ทรงมีฌาน หรือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรมเหมือนอย่างพรหม
เท่านั้น เหมือนช้างที่บางคราวร้องเหมือนนกกระเรียน ก็ไม่ได้แสดงว่าช้างเป็นศิษย์ของ
นกกระเรียน เพราะอาศัยเหตุที่มีเสียงร้องคล้ายคลึงกัน อีกอย่างหนึ่ง การที่พรหมเป็นผู้มี
ความรู้ ก็แสดงว่าพรหมเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิก
บาน
อุปสัมปันนปัญหา ๘๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง อุปสัมปทาของพระพุทธเจ้า
มีหรือไม่
อธิบายว่า การอุปสมบทเป็นเรื่องที่ดีเพราะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อุปสมบท
แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงผนวชเหมือนกัน แต่พระองค์ทรงผนวชที่โคนแห่งต้นโพธิ์พร้อมกับ
เวลาที่ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ การผนวชของพระองค์ไม่มีใครเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์
เหมือนพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เป็นพระบัญญัติที่สาวกไม่ควรล่วงละเมิดตลอดชีพ
อรูปววัตถภาวทุกกรปัญหา ๘๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรง
กระทำกิจที่บุคคลอื่นกระทำได้ยากยิ่งนัก
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทำกิจที่บุคคลอื่นกระทำได้โดยยากอย่างยิ่ง
เพราะพระองค์ตรัสจำแนกอรูปธรรม คือ จิตและเจตสิกทั้งหลายที่เป็นไปในอารมณ์อัน
เดียวกันว่า นี้ผัสสะ นี้เวทนา นี้สัญญา นี้เจตนา นี้จิต เปรียบเหมือนบุรุษตักน้ำมาจาก
มหาสมุทรแล้วชิมรสดูย่อมเป็นการยากที่จะรู้ว่า น้ำนี้มาจากแม่น้ำคงคา น้ำนี้มาจากแม่น้ำ
ยมุนา น้ำนี้มาจากแม่น้ำอจิรวดี น้ำนี้มาจากแม่น้ำสรภู น้ำนี้มาจากแม่น้ำมหี
พุทธอาจริยานาจริยปัญหา ๘๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่มี
อาจารย์ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก ๘๗ เพราะเหตุไร พระองค์จึง
ตรัสว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของพระองค์ ตั้งพระองค์ผู้เป็นอันเตวาสิกให้
เสมอกับตน และบูชาพระองค์ด้วยการบูชาอย่างดี ๘๘
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงหมายเอาความที่อาฬารดาบสกาลามโคตร เป็นอาจารย์
ของพระองค์เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้อาจารย์ของพระพุทธเจ้าในสมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้
มีอยู่๕ คน คือ
(๑) พราหมณ์๘ คน ๘๙ ที่ทำนายพระลักษณะ
(๒) สรรพมิตรพราหมณ์
(๓) เทวดาที่ยังพระโพธิสัตว์ให้เกิดความสังเวช
(๔) อาฬารดาบสกาลามโคตร
(๕) อุททกดาบสรามบุตร
อาจารย์เหล่านี้เป็นธรรมาจารย์ชั้นโลกิยะ ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้
พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยชอบด้วยพระองค์เอง ไม่มีอาจารย์ผู้สั่งสอนเพื่อให้แทง
ตลอดในโลกุตรธรรม และไม่มีใครยิ่งเกินกว่าพระองค์
สัพพัญญุตปัตตปัญหา ๙๐ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงละอกุศล
ธรรมได้ทั้งหมด หรือทรงละอกุศลธรรมได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยที่ยังมีบางส่วนเหลืออยู่
แล้วจึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งหมด ไม่ใช่ละได้เพียงบางส่วน
เท่านั้น พระองค์ทรงเคยเสวยทุกขเวทนาที่ถูกสะเก็ดศิลากระเด็นจากก้อนศิลาไปกระทบพระ
บาทจนทำให้พระโลหิตห้อในเมืองราชคฤห์ ๙๑ การเสวยทุกขเวทนาย่อมเกิดจากกรรม มีกรรม
เป็นมูลที่ตั้ง บุคคลเสวยเวทนาเพราะกรรมทีเดียว อนึ่ง บุคคลย่อมเสวยเวทนาด้วยเหตุ๘
ประการ คือ ๙๒
(๑) มีลมเป็นสมุฏฐาน
(๒) มีดีเป็นสมุฏฐาน
(๓) มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
(๔) ลม ดี เสมหะ ประชุมกันเข้า
(๕) ความแปรเปลี่ยนฤดู
(๖) การบริหารอิริยาบถไม่สม่ำเสมอเกิดขึ้น
(๗) ความเพียรพยายามของผู้อื่นเป็นสมุฏฐาน
(๘) กรรมวิบาก
เวทนาที่เกิดจากกรรมวิบาก และการบริหารอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ ย่อมไม่มีแด่
พระพุทธเจ้า เวทนาที่เกิดจากเหตุอย่างอื่นมีลมเป็นต้นเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ไม่อาจที่
จะปลงพระชนม์ชีพได้ เหมือนแผ่นดินใหญ่ที่ถูกขุด ก็ไม่ได้เกิดจากกรรมที่แผ่นดินกระทำไว้
ในกาลก่อน
ตถาคตอุตตริกรณียาภาวปัญหา ๙๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง กิจที่พระพุทธเจ้า
จะพึงกระทำทั้งหมด พระองค์ทรงกระทำให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยหรือไม่
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทำกิจทุกอย่างเสร็จสิ้นเรียบร้อย ตั้งแต่คราวที่
พระองค์ตรัสรู้ที่ควงแห่งต้นโพธิ์ จึงไม่มีกิจที่จะต้องกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก แต่การที่พระองค์
เสด็จออกหลีกเร้นอยู่ลำพังเพียงพระองค์เดียวตลอด ๓ เดือน ๙๔ เพราะการหลีกออกเร้นอยู่แต่
ผู้เดียวเป็นกิจที่มีคุณมาก แม้พระพุทธเจ้าทั้งปวงก็ทรงปฏิบัติเช่นนี้ จึงบรรลุความเป็น
พระสัพพัญญู และทรงหวนระลึกถึงการหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวว่า เป็นเหตุให้บรรลุคุณ
ความดีหลายอย่าง เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว จึงไม่ใช่กิจ
ที่จะต้องกระทำ หรือไม่ใช่การสร้างเพิ่มเติมกิจที่พระองค์ทรงเคยกระทำ แต่เพราะพระองค์
ทรงพิจารณาเห็นคุณพิเศษโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนบุรุษได้รับพรจากพระมหากษัตริย์แล้ว
ร่ำรวยโภคทรัพย์ก็หวนระลึกถึงพระคุณของพระองค์ว่าเป็นผู้ได้กระทำคุณแก่ตน จึงหมั่น
ไปสู่ที่บำรุงของพระองค์เนืองนิตย์
ภควโตปาทปัปปฏิกปติตปัญหา ๙๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเสด็จ
ไปที่ใด ๆ ก็ตาม จะมีแผ่นดินใหญ่ซึ่งไม่มีเจตนาปรับพื้นที่ให้ราบเรียบเสมอกัน คือ พื้นที่ลุ่ม
ย่อมฟูขึ้น พื้นที่ดอนย่อมยุบลง เพราะเหตุไร สะเก็ดศิลาที่ตกลงมาจึงกระทบพระบาท
ของพระองค์ แทนที่จะหลบหลีกออกจากพระบาท
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปที่ใด ๆ ก็ตาม จะมีแผ่นดินใหญ่ปรับพื้นที่ให้
ราบเรียบเสมอกัน ส่วนสะเก็ดศิลาที่ตกลงมากระทบพระบาทของพระองค์ไม่ได้ตกลงมาตาม
ธรรมดาของตน แต่ตกลงมาด้วยความเพียรพยายามของพระเทวทัตผู้ผูกอาฆาตในพระองค์
พระเทวทัตคิดจะกลิ้งศิลาใหญ่มีขนาดเท่าเรือนยอดให้ตกลงเบื้องบนพระองค์ จึงกลิ้งศิลาลง
ไป แต่มีภูเขาสองลูกผุดขึ้นจากแผ่นดินรองรับไว้ ทำให้กะเทาะแตกจากศิลาเพราะถูกภูเขาทั้ง
สองลูกกระทบกันเข้า เมื่อสะเก็ดศิลาจะตกลงไปก็ไม่มีการกำหนดสถานที่ ๆ จะตก จึงตกลงที่
พระบาทขององค์ เหมือนน้ำที่บุคคลเอาฝ่ามือรองไว้ ย่อมรั่วไหลออกตามระหว่างนิ้วมือ อนึ่ง
การที่สะเก็ดศิลาตกลงที่พระบาท ก็เพราะความที่พระเทวทัตเป็นผู้อกตัญญู เป็นคนกระด้าง
จะต้องได้รับผลของการกระทำคือ การเสวยทุกข์ต่อไป
คาถาภิคีติโภชนทานกถากถนปัญหา ๙๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้า
ไม่บริโภคโภชนะที่ได้มาด้วยการกล่าวคาถา เพราะเหตุไร เมื่อพระองค์จะทรงแสดงอนุบุพพี
กถาแก่บริษัท จึงทรงแสดงทานกถาก่อนแล้วแสดงสีลกถาภายหลัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดความ
เลื่อมใสตกแต่งทานถวายพระองค์
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยอาชีวปาริสุทธิธรรม หรือสุจริตธรรม
จึงไม่ทรงแสวงหาโภชนะที่ได้มาด้วยการกล่าวคาถา นำมาเป็นเครื่องเลี้ยงพระชนม์ชีพ
การเสวยโภชนะที่เกิดจากการขับพระคาถาย่อมไม่เป็นธรรม คือ ไม่เป็นจารีตประเพณีของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้พิจารณาเห็นรอบคอบอยู่ พระพุทธเจ้าย่อมบรรเทา คือ ห้ามเสีย
ไม่เสวยโภชนะที่พระองค์ขับแล้วด้วยพระคาถา ๙๗ ส่วนการดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วย
อาชีวปาริสุทธิธรรม เป็นจารีตประเพณีของพระพุทธเจ้า อนึ่ง การแสดงทานกถาก่อน นับเป็น
กิริยาของพระพุทธเจ้าที่จะยังจิตของทายกให้ยินดียิ่งในทาน และตั้งตนอยู่ในศีลเป็นลำดับ
ต่อไป เมื่อจิตของทายกอ่อนสนิท ก็จักตามถึงฝั่งแห่งสาคร คือ สังสารวัฏด้วยสะพานคือทาน
ด้วยเรือคือทาน เปรียบเหมือนบุคคลเมื่อให้สิ่งของแก่เด็กทารก ย่อมให้สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ
เสียก่อน เช่น กังหันน้อย ๆ รถน้อย ๆ ธนูน้อย ๆ เป็นต้น พวกเด็กทารกก็จะประกอบการงาน
ของตน ๆ ในภายหลัง พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนภูมิแห่งกรรมแก่ทายกด้วยอาการอย่างนี้ ทำให้
พระองค์ไม่ทรงต้องวิญญัติเพราะเป็นการสั่งสอนธรรม เพราะฉะนั้น การสั่งสอนธรรมด้วย
ทานกถา จึงไม่เป็นการกระทำวิญญัติคือ การออกปากขอวัตถุสิ่งของกับบุคคลผู้มิใช่ญาติ
และบุคคลผู้มิได้ปวารณาไว้ภควโตธัมมเทสนาอัปโปสุกตภาวปัญหา ๙๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีมาตั้ง ๔ อสงไขย กับอีกแสนกัลป์ เพื่อจะช่วยสัตว์โลกให้พ้น
จากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะเหตุไร เมื่อพระองค์ทรงบรรลุเป็นพระสัพพัญญูแล้ว จึงทรงน้อม
พระทัยไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อที่จะทรงแสดงธรรม ๙๙
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมเป็นสภาวะลึกซึ้ง ละเอียด สุขุม
และเป็นการยากที่บุคคลจะสามารถเห็นตามได้ตรัสรู้ตามได้จึงทรงมีพระทัยน้อมไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายยังยินดี
อยู่ในความอาลัย มีสักกายทิฏฐิตั้งมั่น แม้พระองค์จะทรงมีพระทัยน้อมไปเพื่อความเป็นผู้มี
ความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม แต่ก็ทรงคิดถึงการบรรลุธรรมของสัตว์
อยู่ตลอดเวลา เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลวิงวอน พระองค์จึงทรงแสดงธรรม เพราะ
พรหมเป็นที่นับถือของเทวดาและมนุษย์ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแสดงธรรมอย่าง
มาก เพราะเทวดาและมนุษย์จักนอบน้อม เชื่อถือ และน้อมใจไปตามพระธรรมเทศนา
ภควโตอัปปาพาธปัญหา ๑๐๐ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเป็นผู้
ประเสริฐที่สุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงยกย่องพระพากุละว่าเป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลาย ในด้านมีอาพาธน้อย ๑๐๑
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ควรที่ยาจกจะพึงขอ มีฝ่าพระหัตถ์อันทรงชำระแล้ว
ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุด ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอผู้รักษา และเป็นแพทย์ผู้เชือด
ลูกศร ๑๐๒ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งเกินกว่าโดยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณ
ทัสสนะ ทศพลญาณ ๑๐๓ จตุเวสารัชญาณ ๑๐๔ อัฏฐารสพุทธธรรม ๑๐๕ และฉฬาสาธารณญาณ ๑๐๖
พระองค์ทรงอาศัยพระญาณเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ในพุทธวิสัยโดยสิ้นเชิง จึงตรัสอย่างนั้น
ส่วนพระพากุละเป็นผู้มีอาพาธน้อยด้วยอำนาจแห่งอภินิหาร ในคราวที่ท่านเป็นดาบส
บำบัดรักษาพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และพระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมทั้งภิกษุอีกประมาณ
๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป ๑๐๗ จึงทำให้ท่านเป็นผู้มีอาพาธน้อย และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุทั้งหลายในด้านมีอาพาธน้อย พระพุทธเจ้าแม้จะทรงประชวร หรือไม่ทรงประชวร แม้จะ
ทรงถือธุดงค์ หรือไม่ทรงถือธุดงค์ ก็ไม่มีใครที่จะเสมอเหมือนพระองค์ สมดังที่พระองค์ทรง
ภาษิตไว้ในสังยุตตนิกาย ซึ่งเป็นดุจพระราชลัญจกรอันประเสริฐว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูป
หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม
มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์มี
ประมาณเท่านั้น” ๑๐๘
อนุปปันนมัคคอุปปาทปัญหา ๑๐๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงยัง
มรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ๑๑๐ เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า พระตถาคตพบมรรคเก่า ทางเก่า
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระราชดำเนินแล้วเนืองๆ ๑๑๑
อธิบายว่า พระพุทธพจน์แม้ทั้งสอง เป็นการตรัสโดยสภาพทีเดียว คือ พระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ พออันตรธานไป ก็ไม่มีใครจะสั่งสอนสืบต่อมา มรรคจึงชื่อว่าอันตรธานแล้ว
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาด้วยพระปัญญาจักษุทรงเห็นมรรคที่ชำรุด ทรุดโทรม ถูกความ
มืดปิดบังไว้ไม่เป็นที่สัญจร ที่พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระราชดำเนินเนืองนิตย์
เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า พระตถาคตพุทธเจ้าทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ
เหมือนมณีรัตนะที่ซ่อนอยู่ในระหว่างยอดเขา พอพระเจ้าจักรพรรดิองค์เก่าเสด็จสวรรคต
ก็เป็นอันสูญหายไป เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มณีรัตนะดวงนั้นก็ตก
เป็นของพระองค์ มณีรัตนะที่พระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่ทรงครอบครองไม่ใช่ดวงใหม่ที่สร้าง
ขึ้นมา แต่เป็นดวงเดิมที่ตั้งอยู่โดยปกติพอพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่เป็นผู้ถือครอบครอง
ก็ชื่อว่าเป็นผู้ยังมณีรัตนะดวงนั้นให้เกิดขึ้น
วัชฌาวัชฌปัญหา ๑๑๒ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง การบูชาที่ทายกกระทำแด่
พระพุทธเจ้าย่อมเป็นหมัน คือ ไม่มีผล จริงหรือไม่
อธิบายว่า พวกเดียรถีย์พูดกันว่า ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงยินดีการบูชาอยู่ ก็ชื่อว่า
ยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ยังเกี่ยวข้องอยู่ในโลกและยังเป็นผู้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
การบูชาพระพุทธเจ้าเช่นนั้นย่อมเป็นหมัน คือ ไม่มีผล แต่ถ้าพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน
แล้วไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก ออกไปจากภพทั้งปวงแล้ว การบูชาอย่างนั้น ก็ไม่สมควรย่อมเป็น
หมัน คือ ไม่มีผลเหมือนกัน เพราะพระองค์ไม่ทรงยินดีจริงอยู่พระพุทธเจ้าทรงดับกิเลสแล้ว
ไม่ทรงยินดีการบูชา ทรงละความยินดีและความยินร้าย ตั้งแต่คราวที่พระองค์ประทับอยู่ที่
ควงต้นโพธิ์ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงพระองค์ผู้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ เทวดาและมนุษย์ผู้ทำสักการะด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาโดยมุ่งถึงพุทธคุณ ย่อมได้
สมบัติ ๓ ประการ ๑๑๓ การบูชาจึงชื่อว่าไม่เป็นหมัน ผลของการบูชามีอยู่เหมือนเดิม
เหมือนกองไฟใหญ่แม้กำลังลุกโพลงอยู่ ก็ไม่ยินดีเชื้อเพลิงที่ใส่เข้าไป เมื่อกองไฟดับสงบลง
ก็ยิ่งไม่มีความยินดีแม้กองไฟดับลงสงบแล้ว แต่ไฟยังไม่สูญไปจากโลกนี้ บุคคลผู้ต้องการไฟ
นำเอาไม้มาสีกันเพื่อให้เกิดไฟ ย่อมทำกิจของตนได้ด้วยไฟนั้น
พุทธสัพพัญญุภาวปัญหา ๑๑๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงเป็น
พระสัพพัญญูจริงหรือ
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระองค์จะทรงเป็น
พระสัพพัญญูแต่พระญาณที่เป็นเหตุให้รู้เห็น ย่อมไม่ปรากฏแก่พระองค์อย่างฉับพลันทันที
เพราะพระสัพพัญญุตญาณเนื่องด้วยการนึก เมื่อทรงนึกแล้วย่อมรู้ได้ตามพุทธประสงค์
เหมือนต้นไม้แม้มีพวงผลห้อยย้อยอยู่เต็มต้น แต่ก็ไม่มีผลร่วงหล่นแม้เพียงผลเดียวในที่นั้น
เมื่อเป็นอย่างนั้น บุคคลไม่อาจกล่าวว่าต้นไม้ไม่มีผล ด้วยความบกพร่องที่ผลยังไม่ร่วงหล่น
เมื่อผลร่วงหล่นแล้ว บุคคลก็ย่อมได้ตามความปรารถนาเทวทัตตปัพพาชิตปัญหา ๑๑๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระเทวทัตใครเป็นผู้ให้บวช และเมื่อบวชเข้ามาแล้วจะทำลายสงฆ์พระพุทธเจ้าทรงรู้หรือไม่
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาคุณต่อสรรพสัตว์ และทรงเป็น
พระสัพพัญญูพระองค์ทรงโปรดให้พระเทวทัตบวช โดยที่ทรงทราบว่าพระเทวทัตบวชเข้า
มาแล้วจะทำลายสงฆ์พระองค์ทรงพิจารณาดูคติของพระเทวทัตด้วยพระสัพพัญญุตญาณ
ทอดพระเนตรเห็นพระเทวทัต ผู้จะสั่งสมกรรมซึ่งจะให้ผลในภพต่อ ๆ ไปอย่างไม่มีสิ้นสุด
หลุดจากนรกไปสู่นรก หลุดจากวินิบาตไปสู่วินิบาต สิ้นแสนโกฏิแห่งกัลป์เป็นอันมาก จึงทรง
ดำริว่า กรรมของพระเทวทัตจักไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเธอบวชแล้วก็จักทำกรรมนั้นให้มีที่สิ้นสุดได้
เมื่อเทียบกับกรรมก่อน ทุกข์ยังจักมีที่สิ้นสุดลง ทำให้เธอตกนรกสิ้นกัลป์หนึ่งเท่านั้น พระองค์
จึงโปรดให้พระเทวทัตบวช ด้วยพระมหากรุณาคุณ พระองค์จึงทรงชื่อว่า ทรงตีแล้วทรงทาให้
ด้วยน้ำมัน ทรงทำให้ตกเหวแล้วยื่นพระหัตถ์ประทาน ทรงฆ่าให้ตายแล้วแสวงหาชีวิตใหม่ให้
เพราะทรงก่อทุกข์ให้ก่อนแล้วจึงจัดสุขให้ในภายหลัง
ภิกขุปณามปัญหา ๑๑๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงมีความ
โกรธ เป็นผู้ ปราศจากกิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๑๑๗ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงประณาม
พระสารีบุตรเถระและพระมหาโมคคัลลานเถระกับทั้งบริษัท ๑๑๘
อธิบายว่า แม้พระพุทธเจ้าจะทรงประณามพระสารีบุตรเถระและพระมหา
โมคคัลลานเถระกับทั้งบริษัท แต่ไม่ได้ทรงประณามด้วยความโกรธ เพราะพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่ทรงมีความโกรธหรือความเลื่อมใส พ้นจากความเอ็นดูและความโกรธเคือง
พระเถระเหล่านั้นถูกพระองค์ทรงประณามขับไล่เพราะความผิดของตนที่กระทำแล้วทีเดียว
เปรียบเหมือนบุรุษบางคนก้าวพลาดสะดุดล้มลงที่รากไม้หรือก้อนหิน จะตำหนิว่าแผ่นดิน
โกรธตัวเองจึงทำให้ตนล้มลงไป ย่อมไม่สมควรที่จะกล่าวอย่างนั้น เพราะแผ่นดินไม่มีความ
โกรธหรือความเลื่อมใส พ้นจากความเอ็นดูและความโกรธเคือง ก็บุรุษนั้นพลาดล้มลงเองไม่มี
ใครทำให้ล้ม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงประณามขับไล่เพื่อให้พระเถระได้รับ
ประโยชน์เกื้อกูล ความสุข และความหมดจด ด้วยทรงประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านี้จักพ้นจากความ
เกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ด้วยอุบายอย่างนี้
สัพพัญญูสยปณามปัญหา ๑๑๙ พระนาคเสนตอบคำ ถามเรื่อง ภิกษุสงฆ์
มีพระสารีบุตรเถระและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นประธาน ถูกพระพุทธเจ้าทรงประณาม
เมื่อเจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมากับท้าวสหัมบดีพรหม แสดงพีชูปมาคือ เปรียบด้วยพืชอ่อน
และวัจฉตรณูปมาคือ เปรียบด้วยลูกโครุ่น ทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสยกโทษให้ ๑๒๐ พระองค์
ทรงทราบอุปมาเหล่านั้นหรือไม่ หรือพระองค์ทรงข่มเหง ทรงประณามเพราะไม่ทรงมีความ
กรุณา
อธิบายว่า พระตถาคตพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู พระองค์ทรงเลื่อมใส
อนุโมทนาสาธุการแก่เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม ทรงยกโทษให้
พระเถระด้วยอุปมาเหล่านี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นธรรมสามีคือ เจ้าของแห่งธรรม ไม่ใช่
เพราะทรงรู้ไม่เท่าทันถึงคติของคนเหล่านั้น เทวดาและมนุษย์ต่างก็น้อมนำเอาธรรม
ที่พระองค์ที่ทรงแสดงไว้ มาเปรียบถวายให้ทรงยินดี เหมือนสตรีนำทรัพย์ของสามีมาตั้ง
เรียงรายไว้เพื่อให้สามีเกิดยินดีเลื่อมใสในทรัพย์อันเป็นของตน
อุทรสังยมปัญหา ๑๒๑ พระนาคเสนตอบคำ ถามเรื่อง ภิกษุไม่พึงประมาท
ในบิณฑบาตที่ตนลุกขึ้นยืนรับอยู่ที่ประตูเรือน ๑๒๒ พึงเป็นผู้สำรวมท้อง เพราะเหตุไร
พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า บางครั้งพระองค์เสวยพระกระยาหารเสมอขอบปากบาตรนี้บ้าง
ยิ่งกว่านี้บ้าง ๑๒๓
อธิบายว่า พระพุทธพจน์ที่ว่าภิกษุพึงสำรวมท้อง เป็นเครื่องกล่าวโดยสภาวะ
คือ กล่าวเหตุไม่มีส่วนเหลือ กล่าวโดยนิปริยาย กล่าวเหตุตามความเป็นจริง ไม่ผิดแปลก
เป็นคำของฤาษีและมุนีทั้งหลาย เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระปัจเจก
พุทธเจ้า บุคคลผู้ไม่สำรวมท้องย่อมเป็นเหตุให้กระทำกรรมต่าง ๆ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์   


ที่มา : พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)

DT011129

dharma

2 มิ.ย. 2554
 เปิดอ่านหน้านี้  5322 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย