คำถามเก่า ๆ ของคุณภูวนาถ 5 ตุลาคม 2550 ธรรม หรือ ธรรมมะ คืออะไร ?

 มหาราชันย์   1 ธ.ค. 2553

ธรรม หรือ ธรรมะ ในความหมายของพระพุทธเจ้าคืออะไรครับ

เท่าที่ได้รับรู้ ได้อ่าน หรือได้ยินคำว่า ธรรม

อย่างเช่น ......

เข้าวัดฟังธรรม พุทธธรรม
คนธัมมะ ธัมโม
จริยธรรม คุณธรรม สัจธรรม .................. ฯ

ถ้าดูจาก ในพจนานุกรม
ธรรม ธรรมะ น. คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หรักประพฤติปฎิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม
.......................ความถูกต้อง กฎ สิ่งทั้งหลาย สิ่งของ .............ฯ

สังเกตุได้ว่า คำว่า

ธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่ดี

แล้วทำไมพระองค์ท่านถึงกล่าวว่า
ธรรมะ ทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

ธรรมหรือธรรมะ ทั้งหลายมีอยู่ก่อนแล้ว ก่อนท่านจะตรัสรู้
ธรรม ...... อนัตตา

ขอความรู้จากทุกๆท่านครับ คำว่า ธรรม ในความหมายของพระพุทธองค์คืออะไรครับ ?






ภูวนารถ [58.136.196.204][ วันศุกร์ ที่ 5 ตุลาคม 2550 เวลา 20:12 น. ]



 
เชิญทุกท่านร่วมสร้างปัญญาบารมีกันนะครับ



เจริญในธรรมครับ. 




คำถามคือ ธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่ดีแล้วทำไมพระองค์ท่านถึงกล่าวว่า
ธรรมะ ทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ?

ผมขอตอบว่า....เพราะธรรมทั้งหลายที่พระองค์กล่าวถึงนั้น หมายถึง นามขันธ์ 4 รูปขันธ์ 1 รวมๆแล้วเรียกว่าขันธ์ 5
ในขันธ์ 5 นั้น ประกอบไปด้วย 1.รูปขันธ์ 2.เวทนาขันธ์ 3.สัญญาขันธ์ 4.สังขารขันธ์ 5.วิญญาณขันธ์
พระพุทธองค์ถามพระปัญจวัคคี ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป...(เวทนา,สัญญญา, สังขาร, วิญญาณ)เที่ยง หรือไม่เที่ยง?
ภิกษุ.....ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า?
ภิกษุ....เป็นทุกข์พระเจ้าข้า
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือไม่ที่จะยึดมั่นถือมั่น ว่านั่นเป็นเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิกษุ...ไม่ควรพระเจ้าข้า....

ธรรมทั้งหลาย...หรือขันธ์ 5 เหล่านี้ มีความเป็นไตรลัีกษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา ตามเหตุปัจจัย
จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุผลอย่างนี้เองครับ




อนุโมทนากับคุณ preeda ค่ะ เห็นด้วยกับความเห็นว่า ธรรม หมายถึง ขันธ์ 5
และขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น และการที่เราจะละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์5 ได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพจิต โดยเจริญมรรค 8 ค่ะ





ธรรม คือหลักความจริง เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เพื่อให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์




คำว่า ธรรม ในความหมายของพระพุทธองค์คืออะไรครับ ?

ผมขอตอบว่า ธรรมในความหมายของพระพุทธองค์หมายถึง
อกุศลธรรม(เหตุชั่ว) อกุศลอัพยากตา(อกุศลวิบาก)
กุศลธรรม(เหตุดี) กุศลอัพยากตา(กุศลวิบาก)

สรุปว่า ธรรมะก็คือขันธ์เหตุ ขันธ์ผลหรือจิตเหตุ จิตผล ทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล ครับ




สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

คำถามนี้จริง ๆ แล้วท่านผู้อ่านทุกท่านได้เคยฟังคำตอบกันมาบ่อยมากครับ

ก็ตอนไปงานศพ ฟังพระสวดอภิธรรมนั่นแหละครับ พระท่านได้บอกว่าธรรมะในศาสนานี้หมายถึงสิ่งใด ธรรมะคืออะไรกันอยู่แล้ว

แต่ในปัจจุบันพระท่านสวดตกหล่นไป 1 ประโยคคำถามครับ
ในความจริงพระท่านสวดว่า

กะตะเม ธัมมา ? แปลว่าธรรมะเป็นไฉน? หรือธรรมะคืออะไรนั่นเอง .

แต่พระในสมัยนี้ตอนสวดได้ตัดคำถามออกไป
พอเริ่มต้นท่านก็ตอบเลยว่า...


กุสลา ธัมมา..... ธรรมเป็นกุศล
อกุสลา ธัมมา..... ธรรมเป็นอกุศล
อัพยากะตา ธัมมา..... ธรรมเป็นอัพยากกะตาคือผลหรือวิบากแห่งกุศลหรืออกุศลนั้น

แล้วถามต่ออีกว่า
กะตะเม ธัมมา กุสลา ?......ธรรมเป็นกุศลเป็นไฉน ?? . .

แล้วสวดตอบต่อไปว่า....

ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง ฯลฯ...... ได้แก่กามาวจรกุศลจิต .

ยัสมิง สะมะเย รูปาวจรัง กุสะลัง จิตตัง .....ได้แก่รูปาวจรกุศลจิต

ยัสมิง สะมะเย อรูปาวจะรัง กุสะลัง จิตตัง..... ได้แก่อรูปาวจรกุศลจิต

ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง กุสะลัง จิตตัง .....ได้แก่โลกุตตระกุศลจิตคือมัคคจิต 4 ดวง คือโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค

ส่วนกามาวจรกุศลวิบาก
รูปาวจรกุศลวิบาก
อรูปาวจรกุศลวิบาก
และผลจิตคือโสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล และอรหัตตผล
เป็นอัพยากตาธรรม
ผลคือวิบากแห่งมัคค



เพราะฉะนั้นหลักใหญ่ของธรรมะในพระพุทธศาสนา
พูดหรือแสดงเรื่องจิต หรือเรื่องขันธ์ 5 นั่นเอง

ธรรมะในพระพุทธศาสนาก็คือ จิต หรือ ขันธ์ นั่นเอง.

เพราะจิตรวมถึงขันธ์ 4 ได้แก่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ คือ ธรรมที่เป็นจิต
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ คือ เจตสิก

จิตและเจตสิกเกิดร่วมเกิดพร้อมกันเสมอ

กุศลจิต หรือ ขันธ์ที่เป็นกุศล เราเรียกว่า " ธรรมะ "

ส่วน อกุศลจิต หรือ ขันธ์ที่เป็นอกุศล เราเรียกว่า " อธรรม "

นี่คือ ธรรมะ และ อธรรม ตามความหมายในพระพุทธศาสนา
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตลอด 45 พรรษา


ธรรมะคือจิตครับ หรือคือองค์ธรรม / สภาวะธรรมที่เป็นกุศลที่เกิดขึ้นในจิตครับ

การปฏิบัติธรรมก็คือการฝึกจิตหรือสร้างจิตให้เป็นกุศลนั่นเอง
โดยที่สุดแล้ว ธรรมะ คืออรหัตตผลจิต หรือขันธ์ที่เป็นอรหัตตผลนั่นเอง
และเป็นธรรมรัตนะที่เรากราบไหว้บูชากันอยู่ในทุกวันนี้

โดยการปฏิบัติธรรมเราจะเน้นไปที่มัคคจิตและผลจิต อันเป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เพื่อการดับขันธ์ปรินิพพาน เพื่อการไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีก

เพราะฉะนั้นโลกุตตรกุศลจิต(มัคคจิต) และโลกุตตรผลจิต(วิบากแห่งมัคค) คือธรรมะในคำสอนของพระพุทธศาสนา


รวมเป็นธรรมะ 9 ประการ มัคค 4 ผล 4 และนิพพาน 1


พระผู้มีพระภาคเจ้า คือผู้บรรลุอรหัตตผลจิต

พระองค์ทรงตรัสว่า " ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต "

ก็หมายถึงว่าใครก็ตามที่บรรลุ อรหัตตผลจิต ได้

บุคคลนั้นชื่อว่าได้เห็นธรรม และได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า .


ไม่ใช่การเห็นพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า



หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงพอจะเข้าใจนะครับ ..



เจริญในธรรมครับ.




สังเกตุได้ว่า คำว่า
ธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่ดี

แล้วทำไมพระองค์ท่านถึงกล่าวว่า
ธรรมะ ทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

ธรรมหรือธรรมะ ทั้งหลายมีอยู่ก่อนแล้ว ก่อนท่านจะตรัสรู้
ธรรม ...... อนัตตา

ขอความรู้จากทุกๆท่านครับ คำว่า ธรรม ในความหมายของพระพุทธองค์คืออะไรครับ ?

ภูวนารถ [58.136.196.204][ วันศุกร์ ที่ 5 ตุลาคม 2550 เวลา 20:12 น. ]

ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนากับท่านมหาราชันย์.... ด้วยนะครับ
ได้นำคำถามของท่านภูวนารถ กลับมาให้ร่วมกันวิสัชชนา จากคำถาม

"คำว่า ธรรม ในความหมายของพระพุทธองค์คืออะไรครับ ? "


กับประโยคนำก่อนคำถามที่ว่า

"สังเกตุได้ว่า คำว่า
ธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่ดี

แล้วทำไมพระองค์ท่านถึงกล่าวว่า
ธรรมะ ทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

ธรรมหรือธรรมะ ทั้งหลายมีอยู่ก่อนแล้ว ก่อนท่านจะตรัสรู้
ธรรม ...... อนัตตา"


จากการที่แยกข้อสังเกตุของท่านภูวนารถที่ให้ข้อมูลมา ผมคิดว่าผู้ถามท่านนี้กำลังสับสนสาเหตุเนื่องจากท่านจำพุทธพจน์ เพี้ยนไปครับที่ถูกต้องพระองค์ทรงตรัสว่า

"สัพเพ สังขารา อนิจจา" กับ "สัพเพ ธรรมา อนัตตา"

คือสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง กับ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ครับและ

พระองค์ไม่ได้ตรัสว่าธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่า ขันธ์ทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่นครับ ตามที่คุณ Preeda ยกบางส่วนของอนัตตลักขณสูตร มาแสดงให้ดูครับ(คำตอบที่ 1) ซึ่งตรงนี้เราต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนนะครับเราจึงจะไปพิจารณา ตามคำถามที่ว่า จริงๆ แล้วธรรมะในศาสนานี้คืออะไร


....จากที่มีโอกาสได้อ่านพระไตรฯ มาบ้าง.. มีความรู้สึกว่าพระองค์ท่านตรัสและสอนแต่ในเรื่องของจิตใจของมนุษย์เท่านั้นพระองค์ไม่ได้สอนหรือแสดงแนวทางปฏิบัติตนเองนอกเหนือไปจากการพัฒนาจิตใจของตัวเองหรือบุคคลล้วนๆ ครับ จากปุถุชนผู้มีกิเลสหนาและสังโยชน์ร้อยรัดไปเป็นอริยะบุคคลทั้ง 4 ระดับ ที่มีกิเลสเบาบางหรือไม่มีเลย หรือปลดเปลี้องสังโยชน์ได้ทั้ง 3,5และ10 จนบรรลุอรหันตผล

....ดังนั้นคำถามที่ว่าธรรมะคืออะไร? สำหรับในศาสนานี้ จึงคิดว่าต้องเกี่ยวเนื่องด้วยจิตเท่านั้น จึงสรุปเหลือเพียงว่า อกุศลจิต หรือ อธรรม กับ กุศลจิตหรือธรรม และสิ่งที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มทั้งสองได้เรียกว่าเป็น อัพยกตธรรม แต่ไม่ใช่ธรรมที่เป็นกลาง เพราะไม่มีจริงตามที่เราเข้าใจกันสาเหตุคือจิตใจของเรามีได้แค่ เป็นกุศล กับ เป็นอกุศลเท่านั้นเอง.... ไม่สามารถเป็นได้ทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน

....นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังทรงจำแนกแจกแจงธรรมสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายไว้.... กล่าวคือ ทรงเอาจิตใจของคนๆ หนึ่ง มาตีแผ่ว่ามีการทำงานอย่างไร....โดยได้แยกการทำงานของจิตใจเราๆ ออกมาในรูปของขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร.... วิญญาณ..... (ซึ่งตรงนี้ไม่ขอลงรายละเอียด) พระองค์ตรัสว่าเหล่านี้เป็นธรรมชาติของจิตใจคนๆ หนึ่ง การที่คนๆ หนึ่งจะก่อเหตุเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ขึ้นกับธรรมชาติ 4 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ซึ่งจะทำงานร่วมกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้.... ส่วนรูปขันธ์ มีรายละเอียดพอสมควร เพราะมีทั้ง รูปภายในและรูปภายนอ หยาบ ละเอียด แต่มีข้อพึงสังเกตุว่า รูปนั้นมีอยู่ข้างนอกแต่เกิดขึ้นภายในหรือที่ใจของเรา......

....จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขอแสดงเป็นทัศนะ ในเบื้องต้น เนื่องจากจะมองไปตรงไหน ก็มีรายละเอียดเต็มไปหมด....

เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน




สาธุ...กับคำอธิบายของท่านมหาราชันย์ และท่านคหบดีครับ






มหาราชันย์ นำนิยาม แห่ง "ธรรม" มา
ไขปริศนา ให้ได้เห็น เด่นอักษร
ปัจจุบันนิยาม ทั้งร้อยแก้ว และบทกลอน
ห่างคำสอน ห่างความหมาย ของพุทธองค์

พระองค์ตรัส ตลอดกาล นานมาแล้ว
ให้ฝึกจิต หลุดจากแร้ว จากความหลง
จากความโลภ จากความโกรธ ให้ปลดปลง
ตั้งจิตให้ มั่นคง ไม่คลอนแคลน

ตรัสกี่ครั้ง เรื่องทุกเรื่อง มิพ้นจิต
ที่สถิต ในเรือนกาย หลายกัปแสน
ดังนั้น ธรรม มิได้ไกล หมายดินแดน
แต่คีอแก่น คือขันธ์ คือจินตนา (จิต)

ปฏิบัติธรรม ก็คีอ การปฏิบัติ
ที่เด่นชัด คือทำจิต ชิดหรรษา
ทั้งปราโมทย์ ยินดี หรีอ ปรีดา
ในกุสลา ต่างภูมิภพ ประสบพลัน

ขออนุโมทนา ซร้องเสียง สาธุการ
มหาราชันย์ ที่จาร งานสร้างสรรค์
ก่อประโยชน์ ต่อผู้อ่าน เอนกอนันต์
ไม่หลงทาง ไปกัน ห่างจากมรรค

เจริญในธรรม เจ้าค่ะ









อนุโมทนาสาธุ...




สมมุติ เพื่อ วิมุติ จริงๆ ครับ
อนุโมทนา สาธุครับ...





 เปิดอ่านหน้านี้  5612 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย